
ประเด็นร้อนแรงจริง ๆ ตอนเด็ก ๆ ผมเรียนระดับฟัรฎูอีน ท่องจำว่า รุก่นนิกาหฺ มี ๕ ประการ
๑. ต้องมีเจ้าบ่าว(ชาย)
๒. ค้องมีเจ้าสาว(หญิง)
๓. ต้องมีผู้ปกครองฝ่ายหญิง
๔. ต้องพยาน ๒ คน(ชาย) หรือ หญิง ๒ คนแทนชาย ๑ คน
๕ ต้องมีคำอิญาบ เกาะบูล
กรณีนี้ การแต่งงานครั้งแรก ไม่มีผู้ปกครองฝ่ายหญิง ถ้าความรู้ระดับผมก็ต้องบอกว่า การนิกาห์ ไม่เศาะหฺ
โตขึ้นหน่อย มีผู้มีความรู้สอนว่า ถ้าไปขอวะลีแล้ว ๓ ครั้ง แล้ววะลีไม่อนุญาต ทั้ง ๆ ที่ฝ่ายชายไม่ได้มีข้อเสียอะไร ก็ให้นิกาห์ได้ ผมก็รับทราบ
ต่อมาอีก อ่านพบในเวบนี้แหละว่า ถ้าเกรงว่าจะเกิดการซินา ก็ให้วะลีแต่งตั้งทำการนิกาหฺได้ ตามมัซฮับชาฟิอียฺ
๒ ข้อแม้หลังนี้ผมไม่รู้จริง ๆ ว่ามีหลักฐานจากอัลกุรฺอาน หรืออัลหะดีษ หรือเป็นมติของปวงปราชญ์ ผู้รู้ช่วยขยายความหน่อยได้ไหมครับ
เพราะผมเคยอ่านในหนังสือของ อ.ปราโมทย์ แย้มอุทัย ว่า ถ้าวะลีมีตัวตน(ไม่ใช่กรณีฝ่ายหญิงเป็นมุอัลลัฟ) แล้ววะลีไม่อนุญาต
การแต่งงานใช้ไม่ได้ไม่ว่าจะห่างสักเท่าไรก็ตาม ซึ่งผมค่อนข้างจะเห็นด้วย มิฉะนั้นก็จะเป็นจุดอ่อนให้คู่หญิงชาย-บางคน
ใช้เป็นข้ออ้างในการหนีออกจากที่อยู่ไปให้ไกล ๆ แล้วก็ไปนิกาหฺกัน ทำเหมือนกับวะลีไม่มีความหมาย ล้อเล่นกับบัญญัติของอัลลอฮฺ
ลองนึกถึงหัวอกเราที่เป็นพ่อของลูกสาวดูว่า ถ้าลูกสาวเราทำอย่างนี้ เราจะรู้สึกอย่างไร
ดังนั้น ถ้ามีหลักฐานจากอัลกุรอาน หะดีษ หรือมติปวงปราชญ์ ช่วยสอนผมหน่อย ผมจะได้ทำใจได้ ถ้าเกิดปัญหานี้กับตัวเอง
ถ้าผมเป็นอิมามแล้วคู่นี้มาปรึกษา ผมจะบอกให้เตาบัตตัวมาก ๆ ถ้ามีอำนาจก็จะเฆี่ยน แล้วเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ในการแต่งงาน
วัลลอฮุอะอฺละมุบิศเศาะวาบ วัสสลาม