ผู้เขียน หัวข้อ: อัลเลาะฮ์จะทรงตอบรับดุอาแต่ตามที่พระองค์ทรงประสงค์ให้แก่เรา  (อ่าน 8339 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com

ท่านอิมาม อิบนุอะฏออิลแหละฮ์  กล่าวไว้ในหนังสือฮิกัมของท่านว่า

  لاَ يَكُنْ أَمَدُ تَأَخُّرِ الْعَطَاءِ مَعَ الإلْحَاحِ فِى الدُّعَاءِ مُوْجِباًَ لِيَأْسِكَ، فَهُوَ ضَمِنَ لَكَ الْإِسْتِجَابَةَ فِيْمَا يَخْتَارُهُ لَكَ، لاَ فِيْمَا تَخْتَارُهُ لِنَفْسِكَ، وَفِى الْوَقْتِ الَّذِيْ يُرِيْدُ لاَ فِى الْوَقْتِ الَّذِيْ تُرِيْدُ

“อย่าให้การประวิงเวลาจากการให้ทั้งที่มีการรบเร้าในการขอดุอาอ์นั้นทำให้ท่านสิ้นหวัง เพราะพระองค์ได้ประกันการตอบรับแก่ท่านแล้วในสิ่งที่พระองค์ทรงเลือกเฟ้นให้แก่ท่าน ไม่ใช่ในสิ่งที่ท่านเลือกให้กับตัวเอง และ (พระองค์ได้ประกันการตอบรับดุอาอ์)ในเวลาที่พระองค์ทรงประสงค์(จะให้)ไม่ใช่ในเวลาที่ท่านประสงค์(จะได้)”

ความหมายโดยสรุป

หากมีบุคคลหนึ่งกล่าวว่า  ฉันได้มอบหมายสิ่งต่างๆ ที่ฉันปรารถนาและต้องการจากโลกดุนยานี้ให้อยู่ในการประกันของอัลเลาะฮ์ตะอาลาและสัญญาที่พระองค์จะทรงประทานให้  ขณะเดียวกันนั้นฉันก็ได้สำทับการขอดุอาอ์ย้ำเข้าไปด้วย  แต่จนกระทั่งถึงวันนี้ดุอาอ์ของฉันยังไม่ได้รับการตอบสนองเลย  ทั้งที่ฉันเองก็ไว้วางใจในสัญญาของอัลเลาะฮ์เสมอ  ฉันได้รอคอยเป็นเวลานาน  แต่แล้วฉันก็ยังไม่ได้รับสิ่งที่ต้องการ  ซึ่งดังกล่าวนี้ท่านอิมามอิบนุอะฏออิลลาฮ์ ได้กล่าวตอบไว้ว่า:

“อย่าให้การประวิงเวลาจากการให้ทั้งที่มีการรบเร้าในการขอดุอาอ์นั้นทำให้ท่านสิ้นหวัง เพราะพระองค์ได้ประกันการตอบรับแก่ท่านแล้วในสิ่งที่พระองค์ทรงเลือกเฟ้นให้แก่ท่าน ไม่ใช่ในสิ่งที่ท่านเลือกให้กับตัวเอง และ (พระองค์ได้ประกันการตอบรับดุอาอ์)ในเวลาที่พระองค์ทรงประสงค์(จะให้)ไม่ใช่ในเวลาที่ท่านประสงค์(จะได้)”

แก่นแท้ของการขอดุอาอ์

การขอดุอาอ์หมายถึง  การวอนขอที่เกิดจากสภาวะของจิตใจที่มีความผูกพันอยู่กับอัลเลาะฮ์ตะอาลา  ซึ่งสภาวะจิตใจดังกล่าวนี้  จะเกิดขึ้นได้ด้วยเงื่อนไข 2 ประการ:

ประการที่หนึ่ง : หัวใจและความรู้สึกต้องอยู่ในสภาวะที่ผูกพันอยู่กับอัลเลาะฮ์ตะอาลา  โดยมีเงื่อนไขว่าทั้งสองต้องมีสภาวะที่นอบน้อมยอมจำนนและแสดงถึงความต้องการต่อพระองค์อย่างแท้จริง

ประการที่สอง :  ผู้ที่ทำการขอดุอาอ์  ต้องเริ่มด้วยการเตาบะฮ์ต่ออัลลอฮ์ตะอาลาจากบรรดาความผิดต่างๆ ที่เขาได้ก่อขึ้น และทำให้การเตาบะฮ์ที่จริงใจของเขานั้นเป็นตัวช่วยเหลือในการขอดุอาอ์

ดังนั้น  ถ้าหากเขาได้ทำการขอต่ออัลเลาะฮ์เพียงแค่กล่าวด้วยลิ้นแต่หัวใจและความรู้สึกของเขามุ่งแต่เรื่องอื่น ไม่มีความรู้สึกนอบน้อมยอมจำนนต่อพระองค์  ลักษณะดังกล่าวนี้  ไม่เรียกว่าเป็นการวอนขอดุอาอ์ตามหลักการของศาสนา  ฉะนั้นเมื่อเขาพยายามค้นหาบทดุอาอ์ต่างๆ จากตำราที่กล่าวขานกันว่า  ถ้าขอดุอาอ์บทนี้แล้ว  เขาจะได้อย่างนั้น  อัลเลาะฮ์จะทรงประทานให้อย่างนี้  แต่กระนั้นมันคงเหลือแค่ความฝันลมๆ แล้งๆ ที่อยู่ในความนึกคิดของเขา  หลังจากนั้นเขาก็ทำการร้องทุกข์และน้อยใจต่ออัลเลาะฮ์ตะอาลา  โดยกล่าวว่า  ฉันได้ทำการขอดุอาอ์แล้ว  แต่พระองค์ไม่ตอบรับดุอาอ์ของฉัน  แล้วไหนล่ะที่พระองค์ตรัสว่า

وَقَالَ رَبُّكُمُ ادْعُونِي أَسْتَجِبْ لَكُمْ

“และองค์อภิบาลของพวกเจ้าได้ตรัสว่า พวกเจ้าจงขอต่อข้าเถิด ข้าจะตอบสนองพวกเจ้าอย่างแน่นอน” [อัลฆอฟิร(อัลมุอฺมิน): 60]

เพราะฉะนั้น  บุคคลที่ยังคงทำการฝ่าฝืนต่ออัลเลาะฮ์ตะอาลา  แต่ในขณะเดียวกันได้มุ่งขอดุอาอ์ต่อพระองค์ที่เขากำลังฝ่าฝืนอยู่  แล้วเขาก็ขอให้พระองค์ประทานสิ่งต่างๆ ที่เขาต้องการ  ดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่าเขาเป็นคนที่ไร้ความคิด  ยิ่งกว่านั้น  เขายังปฏิบัติต่อพระองค์อย่างไร้มารยาทและไม่สมเหตุสมผลอีกด้วย

มารยาทในการขอดุอาอ์

ดังนั้น  เมื่อครบเงื่อนไขและระเบียบต่างๆ ทั้งหมดในการขอดุอาอ์  อัลเลาะฮ์ก็จะตอบรับดุอาอ์และให้บรรลุในสิ่งที่ท่านต้องการ  แต่ท่านจงระวังความคิดที่ว่า “การตอบรับหมายถึงอัลเลาะฮ์ทรงประทานให้ในทุกๆ อักษรที่ท่านได้ขอดุอาอ์”  แต่ทว่าความจริงการตอบรับดุอาอ์ที่อัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงสัญญาต่อปวงบ่าวของพระองค์นั้นย่อมมีความหมายที่ครอบคลุมและกว้างขวางกว่ายิ่งนัก

เช่น  ท่านได้ทำการขอดุอาอ์ต่ออัลเลาะฮ์ตะอาลา เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งหนึ่งโดยมีคุณลักษณะที่เฉพาะเจาะจงอย่างนั้นอย่างนี้  โดยท่านคิดว่าสิ่งต่างๆ ที่ขอ ได้รวมไว้ซึ่งเป้าหมายและความดีงามต่างๆ ที่ท่านต้องการแล้ว  แต่ทว่า  อัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงรอบรู้สิ่งเร้นลับทั้งในฟากฟ้าและแผ่นดิน  รอบรู้ถึงเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น   พระองค์ทรงรู้ว่าสิ่งที่ท่านขอและคิดว่ามันเป็นสิ่งดีนั้น  ความจริงแล้วมันอาจะไม่ดีอย่างที่คิดไว้ก็ได้  ยิ่งกว่านั้น  มันอาจจะกลับกลายเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามตามที่เราคาดหวังไว้  ดังนั้นอัลเลาะฮ์ตะอาลาก็จะทรงผันเปลี่ยนสิ่งที่ท่านได้เคยขอดุอาอ์ไว้  โดยมอบสิ่งที่ดีงามยิ่งกว่าตามที่พระองค์ทรงประสงค์จะให้เพื่อเมตตาเอ็นดูต่อท่านนั่นเอง  แล้วท่านก็จะรู้ว่าพระองค์ได้ทรงประทานความดีงามอย่างไม่เคยคาดคิดมาก่อน  นี้ก็คือความหมายจากคำตรัสของพระองค์ ความว่า

وَعَسَى أَن تَكْرَهُواْ شَيْئاً وَهُوَ خَيْرٌ لَّكُمْ وَعَسَى أَن تُحِبُّواْ شَيْئاً وَهُوَ شَرٌّ لَّكُمْ وَاللّهُ يَعْلَمُ وَأَنتُمْ لاَ تَعْلَمُونَ

“แต่บางทีพวกเจ้ารังเกียจสิ่งหนึ่ง โดยที่สิ่งนั้นอาจเป็นความดีสำหรับพวกเจ้าก็ได้ และบางทีพวกเจ้าชอบในสิ่งหนึ่ง โดยสิ่งนั้น อาจจะเป็นความเลวร้ายสำหรับพวกเจ้าก็ได้ และอัลเลาะฮ์ทรงรู้ โดยที่พวกเจ้าไม่รู้” [อัลบะกอเราะฮฺ: 216]

ด้วยเหตุนี้  ท่านอิมามอิบนุอะฏออิลลาฮ์ ได้กล่าวไว้ในฮิกัมของท่านว่า “เพราะพระองค์ได้ประกันการตอบรับให้แก่ท่านแล้วในสิ่งที่พระองค์ทรงเลือกเฟ้นให้แก่ท่าน”

เป้าหมายที่แท้จริงในการขอดุอาอ์อย่าสิ้นหวังในการขอดุอาอ์

ความผิดพลาดอีกประการหนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้คนบางส่วน   ก็คือ  เมื่อคนหนึ่งได้ทำการขอดุอาอ์ โดยได้กระทำตามเงื่อนไขครบถ้วน  คือมีการเตาบะฮ์ต่ออัลเลาะฮ์ตะอาลา  ส่งคืนสิทธิต่างๆ ที่ได้มาโดยมิชอบให้แก่เจ้าของ  ทำการขอดุอาอ์โดยมีความรู้สึกที่ตั้งใจและนอบน้อมต่อพระองค์  หลังจากนั้น  เขาก็หวังให้มีการตอบรับดุอาอ์ภายในระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง  แต่แล้วเวลาได้ล่วงเลยผ่านไป  เขาก็ยังเฝ้ารอการตอบรับจากอัลเลาะฮ์  แต่เมื่อเวลาผ่านไปอย่างยาวนานเขากลับไม่ถูกตอบรับดุอาอ์ในสิ่งต้องการ  ดังนั้น  เขาจึงมีความอึดอัดใจ  และกล่าวในใจว่า  นี่ฉันได้ขอดุอาอ์มาตั้งนานแล้วน่ะ  ทำไมยังไม่ถูกตอบรับให้แก่ฉัน!

ดังกล่าวคือความมัวหมองที่เกิดขึ้นกับหัวใจของมนุษย์  ซึ่งเป็นผลมาจากความอยากได้สิ่งที่มุ่งหวังไว้

ดังนั้น  อะไรคือข้อผิดพลาดในกรณีนี้?

ข้อผิดพลาดก็คือ  พวกเขาเหล่านั้นคิดว่าดุอาอ์ที่อัลเลาะฮ์ทรงบัญชาใช้ให้ขอนั้น  เป็นสื่อที่จะนำไปสู่เป้าหมาย  หมายถึง  อาศัยตัวของดุอาอ์มาเป็นสื่อเพื่อให้ได้รับในสิ่งที่ต้องการ หรือสิ่งที่เขามุ่งหวังให้เกิดขึ้น หรือนำตัวของดุอาอ์มาเป็นสื่อในการขอให้พ้นจากเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นภายภาคหน้า  ดังนั้นพวกเขาจึงเฝ้ารอคอยการตอบรับ  แต่แล้วโศกเศร้าเสียใจได้เกิดขึ้นหลังจากที่ได้ขอดุอาอ์แล้วไม่ได้รับการตอบสนอง  จนพวกเขาคิดไปว่าการขอดุอาอ์นั้นคงไม่มีประโยชน์เสียแล้ว! ความเบื่อหน่ายจึงเกิดขึ้น  เนื่องจากพวกเขาคิดว่า ดุอาอ์คือสื่อที่จะนำไปสู่เป้าหมาย  แต่พวกเขาหารู้ไม่ว่า  ความจริงแล้วดุอาอ์คือเป้าหมายในตัวของมันเองไม่ใช่นำมาเป็นสื่อเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ

ความจริงที่เราต้องยึดมั่นคือ  เป้าหมายของการขอดุอาอ์นั้น  คือ “อิบาดะฮ์”  ไม่ใช่เป็นสื่อเพื่อมาต่อรองให้ได้สิ่งที่ต้องการ  ยิ่งกว่านั้นเป้าหมายสำคัญของดุอาอ์เป็นการประกาศถึงความเป็นบ่าวที่มีต่ออัลเลาะฮ์ผู้ทรงสิทธิ์ในการปกครอง   และประกาศให้เห็นว่าบ่าวมีความต้องการไปยังผู้เป็นเจ้านายอยู่ทุกเวลาเพื่อทำการตอบสนองสิ่งต่างๆ ที่บ่าวต้องการ  ดังนั้นหน้าที่สำคัญยิ่งสำหรับบ่าวก็คือ การประกาศถึงความเป็นบ่าวทาสและพยายามเผยให้เห็นถึงความต้องการต่อพระองค์อยู่เสมอนั่นเอง

อย่าสิ้นหวังในการขอดุอาอ์

บางครั้งท่านอาจจะคิดไปว่า  อัลเลาะฮ์ทรงตรัสยืนยันว่าดุอาอ์นั้นจะอยู่พร้อมกับการตอบรับ  ไว้ในอายะฮ์ที่ว่า “และองค์อภิบาลของพวกเจ้าได้ตรัสว่า พวกเจ้าจงขอต่อข้าเถิด ข้าจะตอบสนองพวกเจ้าอย่างแน่นอน” [อัลฆอฟิร(อัลมุอฺมิน): 60] ซึ่งท่านอาจจะจินตนาการไปว่า  “การขอดุอาอ์นั้นมาจากท่าน  ส่วนพระองค์มีหน้าที่ตอบรับดุอาอ์ตามที่ท่านได้ขอ  ดังนั้นเมื่อดุอาอ์ไม่ถูกตอบรับ  แสดงว่าดุอาอ์นั้นคงไม่ดี!”  ซึ่งความจริงแล้ว  ความหมายของอายะฮ์มิใช่เป็นเช่นนั้น  เพราะอายะฮ์ดังกล่าวได้บ่งถึงสภาวะความเป็นบ่าวของมนุษย์ที่มีต่ออัลเลาะฮ์ตะอาลา  พระองค์ทรงตรัสว่า “พวกเจ้าจงขอต่อข้าเถิด”  ซึ่งเป็นคำสั่งใช้แบบเฉยๆ ไม่มีข้อแม้ใดๆ  พระองค์สั่งให้ขอดุอาอ์  เราก็น้อมรับมาปฏิบัติโดยมิได้เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขหรือสภาพการณ์ใดๆ  หลังจากนั้นพระองค์ทรงให้สัญญาว่า “ข้าจะตอบสนองพวกเจ้าอย่างแน่นอน” ซึ่งหมายถึงการตอบรับตามที่พระองค์ทรงประสงค์  และการตอบรับนั้นก็เพราะความเมตตาและความโปรดปรานของพระองค์ที่มีต่อปวงบ่าวเท่านั้น  มิใช่หมายถึง  อัลเลาะฮ์ได้สั่งใช้ให้ขอดุอาอ์โดยวางเงื่อนไขกับพระองค์เองว่าจะต้องทำการตอบรับดุอาอ์ตามที่ผู้ขอต้องการ  เพราะการสัญญาที่จะตอบรับตามที่บ่าวต้องการนั้นไม่ใช่ประหนึ่งสินค้าที่เขาจะได้รับเพื่อแลกกับการทุ่มเทขอดุอาอ์

ดังนั้น  การขอดุอาอ์กับการตอบรับจึงต้องแยกกัน  เพราะตัวของดุอาอ์เองนั้นเป็นอิบาดะฮ์ที่จำเป็นสำหรับบุคคลที่มีความรู้สึกว่าตนเองเป็นบ่าวของอัลเลาะฮ์  เขาจะต้องดำรงสิทธิความเป็นบ่าวต่อพระองค์ไว้โดยไม่คำนึงถึงผลที่จะได้รับ  นี่คือความหมายของวจนะของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า

اَلدُّعَاءُ هُوَ الْعِبَادَةُ

“ดุอาอ์นั้น คือ อิบาดะฮ์”รายงานโดยอัตติรมีซีย์, ฮะดีษที่ 3372, ท่านอัตติรมีซีย์กล่าวว่า ฮะดีษนี้ฮะซันซอฮิห์.

เมื่อดุอาอ์เป็นอิบาดะฮ์  การขอดุอาอ์ของเราจึงทำให้อัลเลาะฮ์ทรงโปรดปรานและพึงพอพระทัย  ดังนั้นด้วยความโปรดปรานและพึงพอพระทัยของพระองค์นี้แหละ  เป็นสาเหตุให้พระองค์ตอบรับดุอาอ์ตามที่พระองค์ทรงประสงค์นั่นเอง

เพราะฉะนั้น  เมื่อบ่าวคนหนึ่งได้ทำการขอดุอาอ์  เขาต้องไม่คิดว่า อัลเลาะฮ์จะต้องตอบรับสิ่งที่เขาต้องการ  แต่เราขอดุอาอ์เพราะว่าเป็นบ่าวผู้ต่ำต้อยที่ต้องวอนขอต่อพระองค์ในทุกสภาพการณ์  และพระองค์ก็จะทรงทำการตอบรับดุอาอ์ในเวลาที่พระองค์ทรงประสงค์ด้วยความเมตตาและความโปรดปรานของพระองค์  ดังนั้น  เราก็ต้องรอคอยการตอบรับโดยอย่าเบื่อหน่ายหรือกังวลใจ  เพราะการขอดุอาอ์และการรอคอยการตอบรับนั้นล้วนแต่เป็นอิบาดะฮ์ทั้งสิ้น  ยิ่งกว่านั้น  การขอดุอาอ์และการรอคอยความสัมฤทธิ์ผลจากอัลเลาะฮ์ย่อมเป็นหัวใจและวิญญานของอิบาดะฮ์  ด้วยเหตุดังกล่าวนี้  ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้กล่าวว่า

إِنْتِظَارُ الْفَرَجِ بِالصَّبْرِ عِبَادَةٌ

“การรอคอยความสัมฤทธิ์ผล (จากดุอาอ์) ด้วยความอดทนนั้นคืออิบาดะฮ์” รายงานโดยอัลกุฏออีย์  ฮะดีษที่ 46 และ 47, ดู อัลฮาฟิซฺ อัลกุฏออีย์, มุสนัดอัชชิฮาบ, เล่ม 1, หน้า 62-63.

ดังนี้ก็คือความหมายวรรคที่สองของฮิกัมอิบนุอะฏออิลลาฮ์ที่ว่า “และ(พระองค์ได้ประกันการตอบรับดุอาอ์)ในเวลาที่พระองค์ทรงประสงค์(จะให้)ไม่ใช่ในเวลาที่ท่านประสงค์(จะได้)”

วัลลอฮุอะลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ต.ค. 27, 2011, 05:03 PM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ vrallbrothers

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 498
  • ALLAH MAHA BESAR...
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
 salam

...เพราะการสัญญานั้นไม่ใช่ประหนึ่งสินค้าที่บ่าวจะได้รับอันเนื่องเขาได้ทุ่มเทราคาที่เป็นดุอาอ์

ราคาของดุอาอ์ที่เราผู้เป็นบ่าวได้ขอนั้นไม่อาจเทียบได้เลยกับความเมตตาและความโปรดปรานที่พระองค์จะทรงประทานให้แก่เรา mycry


เวลาเปรียบเสมือนคมดาบ...หากท่านไม่ตัดมัน มันจะตัดท่าน



ยะฮูดีใช้ระเบิดฟอสฟอรัส... เลวร้าย ป่าเถื่อนยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน

ออฟไลน์ ad-dalawy

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 193
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
salam

...เพราะการสัญญานั้นไม่ใช่ประหนึ่งสินค้าที่บ่าวจะได้รับอันเนื่องเขาได้ทุ่มเทราคาที่เป็นดุอาอ์

ราคาของดุอาอ์ที่เราผู้เป็นบ่าวได้ขอนั้นไม่อาจเทียบได้เลยกับความเมตตาและความโปรดปรานที่พระองค์จะทรงประทานให้แก่เรา mycry

หากไปเทียบกับความเมตตาของอัลเลาะฮ์  ก็ไร้ยางอายเลยทีเดียว

ออฟไลน์ นูรุ้ลอิสลาม

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1356
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
อัสลามุอะลัยกุ้มฯ

       ขอดุอาต่ออัลเลาะฮ์เยอะๆ  ไม่ใช่เพียงเพราะอยากได้ในสิ่งที่ขอ  แต่แค่ปรารถนาให้อัลเลาะฮ์ทรงพอใจอันเนื่องจากเราได้แสดงถึงความนอบน้อมยอมตนเป็นทาสบ่าวต่ออัลเลาะฮ์ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว  ดังนั้นแต่ละวันขอให้เราเป็นผู้วอนขอดุอาก็ อัลฮัมดุลิลลาฮ์
لا إله إلا الله محمد رسول الله

ออฟไลน์ ad-dalawy

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 193
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
การขอดุอาอ์หมายถึง  การวอนขอที่เกิดจากสภาวะของจิตใจที่มีต่ออัลเลาะฮ์ตาอาลา  ซึ่งสภาวะของจิตใจนี้  จะเกิดขึ้นได้ด้วยเงื่อนไข 2 ประการ :

ประการที่หนึ่ง : หัวใจและความรู้สึกต้องอยู่ในสภาวะที่ตื่นและทั้งสองต้องมีสภาวะที่น้อบน้อมยอมตนต่ออัลเลาะฮ์ตาอาลาอย่างแท้จริง

ประการที่สอง :  ผู้ที่ทำการขอดุอาอ์  ต้องเริ่มด้วยการเตาบะฮ์ต่ออัลลอฮ์ตาอาลาจากบรรดาความผิดต่าง ๆ ที่เขาได้ก่อขึ้น และจงทำให้การเตาบะฮ์ที่จริงใจของเขานั้นเป็นตัวช่วยเหลือในการขอดุอาอ์ของเขา

สงสัยว่านี่คือส่วนหนึ่งจากเงื่อนไขการขอดุอา :ameen:

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
ท่านอิมาม อิบนุอะฏออิลแหละฮ์  กล่าวว่า

 
เช่น  ฉันได้ทำการขอดุอาอ์ต่ออัลเลาะฮ์ตาอาลา
กับสิ่งหนึ่งโดยมีคุณลักษณะที่เฉพาะเจาะจงอย่างนั้นอย่างนี้ 
โดยฉันคิดว่าสิ่งต่าง ๆ ที่ขอ ได้มีการประกันสำหรับเป้าหมาย
และความดีงามต่าง ๆ ที่ฉันต้องการแล้ว 
แต่ทว่า  อัลเลาะฮ์ตาอาลาทรงรอบรู้สิ่งเร้นลับทั้งในบรรดาฝากฟ้าและแผ่นดิน 
รอบรู้เหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น   
พระองค์ทรงรู้ว่าสิ่งที่ฉันขอและคิดว่ามันเป็นสิ่งดีนั้น 
ความจริงแล้วมันอาจะไม่ดีจริงตามนั้น 
ยิ่งกว่านั้น  มันอาจจะกลับเป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม 
ดังนั้น อัลเลาะฮ์ตาอาลาก็ทรงผันเปลี่ยนสิ่งที่เราได้เคยขอไว้
ให้ได้รับความดีงามที่พระองค์ทรงประสงค์จะให้
เพราะเป็นความเมตตาเอ็นดูต่อฉัน 
โดยพระองค์ได้ทรงประทานความดีงามที่ฉันไม่เคยคาดคิดมาก่อน 
และนี้ก็คือความหมายจากคำตรัสของพระองค์ ความว่า

??????? ??? ??????????? ??????? ?????? ?????? ??????? ??????? ??? ?????????? ??????? ?????? ????? ??????? ???????? ???????? ????????? ??? ???????????


“วะอะซา อันตักร่อฮูชัยอัน วะฮู้ว่า ค็อยรุนละกุ้ม วะอะซา
อัลตุฮิบบู ชันอัน วะฮุ้ว่า ชัรรุลล่ากุ้ม วัลลอฮุยะละมุ้ วะอันตุ้ม ลาตะละมูน”

" แต่พวกทีพวกเจ้ารังเกียจสิ่งหนึ่ง โดยที่สิ่งนั้นอาจเป็นความดีสำหรับพวกเจ้าก็ได้
และบางทีพวกเจ้าชอบในสิ่งหนึ่ง โดยสิ่งนั้น
อาจจะเป็นความเลวร้ายสำหรับพวกเจ้าก็ได้
และอัลเลาะฮฺทรงรู้ โดยที่พวกเจ้าไม่รู้ " อัลบะกอเราะฮฺ 216

ดังนี้แหละ ที่ท่านอิมามอิบนุอะฏออิลและฮ์ ได้กล่าวไว้ในฮิกัมที่ว่า

"ดังนั้นพระองค์ได้ประกันการตอบรับให้แก่ท่านแล้ว
ในสิ่งที่พระองค์ทรงเลือกเฟ้นให้แก่ท่าน"


 salam

เช่นดังประโยคนี้ด้วยหรือเปล่าคะ...

"เมื่อใดที่อัลเลาะฮ์ให้ลิ้นของท่านวอนขอ 
ท่านจงรู้ไว้เถิดว่าพระองค์ประสงค์ที่จะให้แก่ท่าน"
(ฮิกัมอิบนุอะฏออิลลาฮ์)


และ...

"เมื่ออัลเลาะฮ์ทรงเปิดประตูความเข้าใจแก่ท่านในการไม่ให้สิ่งที่เราได้วอนขอ 
แน่นอน...การไม่ให้นั้นแหล่ะกลายเป็นการให้จากพระองค์อย่างแท้จริง"
(ฮิกัมอิบนุอะฏออิลลาฮ์)

loveit:

ญะซะกัลลอฮุคอยรอนผู้นำเสนอค่ะ...


วัสลามค่ะ


"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ AUZULODEEN

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 625
  • เพศ: ชาย
  • ทุกๆชีวิตต้องได้ลิ้มรสแห่งความตาย
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
แท้จริงเราเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์ และเราจะต้องกลับคืนไปสู่พระองค์

ออฟไลน์ al-firdaus~*

  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 5015
  • เพศ: หญิง
  • 可爱
  • Respect: +161
    • ดูรายละเอียด


ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้กล่าวว่า

إِنْتِظَارُ الْفَرَجِ عِبَادَةٌ

“อินตะซอรุล ฟะรอญิ อิบาดะฮ์”

"การรอคอยความสัมฤทธิ์ผล(จากดุอาอ์)นั้นคืออิบาดะฮ์"


  


เคยไหม...ที่เรายกมือขอดุอาอ์ แม้จะรู้ว่าคงไม่บังเกิดผลในทันทีทันใด
แต่เราก็มั่นใจในสิ่งที่เราดุอาอ์ไป  เพราะหัวใจเราเชื่อมั่นว่า อัลลอฮ์ทรงได้ยินในสิ่งที่เราขอ
นั่นก็เพียงพอแล้ว แค่พระองค์ทรงรับรู้ ก็อัลฮัมดุลิลละฮ์แล้ว

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด


ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้กล่าวว่า

إِنْتِظَارُ الْفَرَجِ عِبَادَةٌ

“อินตะซอรุล ฟะรอญิ อิบาดะฮ์”

"การรอคอยความสัมฤทธิ์ผล(จากดุอาอ์)นั้นคืออิบาดะฮ์"


 


เคยไหม...ที่เรายกมือขอดุอาอ์ แม้จะรู้ว่าคงไม่บังเกิดผลในทันทีทันใด
แต่เราก็มั่นใจในสิ่งที่เราดุอาอ์ไป  เพราะหัวใจเราเชื่อมั่นว่า อัลลอฮ์ทรงได้ยินในสิ่งที่เราขอ
นั่นก็เพียงพอแล้ว แค่พระองค์ทรงรับรู้ ก็อัลฮัมดุลิลละฮ์แล้ว


หลายครั้งที่รู้สึกเช่นนั้นค่ะ

...แม้หลายครั้งเราจะหวังและต้องการสิ่งที่วอนขอไปให้เกิดผล..
แต่เพราะเรารู้ว่า ไม่มีใครจะหยั่งรู้ในทุกสิ่งอย่างได้เท่ากับอัลลอฮฺ...
เราจึงมั่นใจว่า...อย่างไรแล้ว อัลลอฮฺนั้นทรงได้ยิน ทรงเห็น ทรงเข้าอกเข้าใจในทุกสิ่งอย่าง...
การรอคอยการตอบรับดุอาฮฺจากอัลลอฮฺในบางครั้ง จึงไม่ใช่การรอคอยเพื่อจะได้ในสิ่งที่ได้ขอไว้
แต่เป็นการรอคอยการตอบรับจากพระองค์ แม้สิ่งที่พระองค์ประทานให้มานั้น
จะมิใช่สิ่งที่เราได้ขอเอาไว้แต่เดิม...แต่เราก็พอใจ เพราะพระองค์ทรงตอบรับการวอนขอจากเรา...
เราจึงรู้ว่า...พระองค์ทรงได้ยินเรา ทรงมองเราอยู่...ความอบอุ่นในหัวใจก็จะบังเกิดขึ้น...
จะไม่มีการตัดพ้อใดๆต่อพระองค์หรือสิ้นหวังที่จะวอนขอต่อพระองค์อยู่ในหัวใจ...

เพราะความอ่อนแอและอารมณ์อ่อนไหวของเราในหลายๆครั้ง...ที่ทำให้เรามองข้ามสิ่งดีๆที่อัลลอฮฺประทานให้มา
แล้วไม่เห็นค่าในสิ่งนั้น...อาจเพราะเรามัวแต่มองสิ่งที่ผู้อื่นได้รับอยู่ จนลืมมองมาที่ตัวเราเอง...
เราจึงไม่ยอมพอใจกับสิ่งที่อยู่กับเรา...แล้วกลับพอใจในสิ่งที่อยู่กับผู้อื่น ทั้งๆที่สิ่งที่อยู่กับเรานั้น
มันดีต่อเรายิ่งกว่าที่เรามองหาไปยังสิ่งที่ปรากฏต่อผู้อื่นเสียอีก...



วัสลาม




"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

 

GoogleTagged