อย่าหลงกับคำอธิบายแบบขอไปที
อย่าหลงกับคำอธิบายแบบขอไปที แก้ตัว หาทางออก เพราะถ้าเรายังไม่สามารถแยกออกระหว่าง 1. คำอธิบายที่มีเหตุผลถูกต้องตามกระบวนการใช้เหตุผลจริงๆ โดยมีหลักฐานที่ตรงๆกับเรื่องนั้นๆมายืนยันเพื่อเป็นการอธิบายให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น กับ 2. การอธิบายแบบขอไปทีหาทางออกให้กับตนเอง เป็นการสร้างคำอธิบายขึ้นมาเอง ทึกทักคำอธิบายขึ้นมาเอง โดยปราศจากหลักฐาน เพราะถ้าไม่ทำเช่นนั้น ความเชื่อหรือจุดยืนของตนเองจะถูกทำลาย ถูกหักล้างในที่สุด
เพราะฉะนั้นเราจะต้องแยกให้ออก เพราะถ้าเรายังแยกไม่ออก จะไม่มีความหมายเลยในการแสวงหาสัจธรรมความจริง แม้แต่ในบริทบของต่างศาสนิกก็เช่นกัน เขาก็จะอ้าง หรือสร้างคำอธิบายขึ้นมาเพื่อหาทางออกให้กับจุดยืนหรือความเชื่อของตนเอง สุดท้ายเราก็จะไม่สามารถแยกแยะหรือรู้ได้เลยว่า อะไรคือสัจธรรมความจริงกันแน่ และอะไรคือความเท็จ เพราะยังไม่สามารถแยกแยะได้ระหว่างคำอธิบายทั้งสองประเภทที่ได้กล่าวไป
เหตุการณ์ที่ค้านกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น จะต้องถูกอธิบาย ชี้แจง โดยใช้หลักฐานอธิบายไม่ใช่ใช้การทึกทักเอาเองเพื่อหาทางออก เช่น การที่ท่านอาลีได้ตั้งชื่อลูกๆตนเองด้วยชื่อของบรรดาผู้ที่ชาวชีอะฮฺเกลียดชัง เช่น อบูบักร อุมัร อุสมาน อาอิชะฮฺ ชีอะฮฺต้องตอบด้วยหลักฐานให้ได้ว่า ถ้าท่านอาลีเกลียดชังคนเหล่านี้จริง แล้วทำไมท่านจึงได้ตั้งชื่อลูกๆของท่านด้วยชื่อของท่านเหล่านี้ด้วย แต่ถ้าไม่สามารถอธิบายได้อย่างถูกต้องโดยไม่ทึกทักเอาเอง นั่นก็หมายความว่า คำกล่าวอ้างของชีอะฮฺเป็นสิ่งที่ผิดพลาด
แม้แต่การสาบานของชีอะฮฺก็สามารถถือเป็นการตะกียะฮฺได้ เพราะฉะนั้นเราต้องถามชีอะฮฺก่อนว่า มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ในฝ่ายคุณไหมว่า ถ้าใครสาบานเท็จแล้วจะเห็นผลทันตา ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องสาบาน เพราะมันไม่สามารถพิสูจน์อะไรได้ว่าคุณพูดจริงหรือเท็จ เพราะคุณสามารถทำการตะกียะฮฺได้ แต่ถ้าคุณอ้างว่า ถ้าใครสาบานเท็จ ก็จะเห็นผลทันตา ถ้าเช่นนั้น ผมขอพิสูจน์ โดยขอสาบานว่า อบูบักร อุมัร อุสมาน และท่านหญิงอาอิชะฮฺเป็นชาวสวรรค์ อย่างแน่นอน ขอถามชีอะฮฺว่าผมพูดจริงหรือเท็จ ถ้าผมพูดเท็จเช่นนั้น คุณจะเห็นผลที่จะเกิดขึ้นกับผมทันตา แต่ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้น นั่นแสดงว่า ผมพูดจริง และพิสูจน์ไปโดยปริยายว่าชีอะฮฺพูดเท็จ
1. มีความจริงอย่างหนึ่งได้เกิดขึ้นมาแล้ว (เช่นเหตุการณ์ เอ ) และ มีความจริงอีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องกันที่จะสามารถนำมาใช้อธิบายอีกเหตุการณ์ เอ ได้ เพื่อให้เกิดความกระจ่างหรือขจัดความสงสัย หรือสิ่งที่ดูเหมือนจะขัดแย้งกัน
2. มีความจริงอย่างหนึ่งได้เกิดขึ้นมาแล้ว (เช่นเหตุการณ์ เอ ) และ มีสิ่งที่ถูกทึกทักขึ้นมาเอง หรือ สร้างคำอธิบายขึ้นมาเอง โดยปราศจากหลักฐานใดๆที่จะเกี่ยวข้องกัน ที่สามารถที่จะถูกนำมาใช้อธิบายเหตุการณ์ เอ ได้
3. มีความจริงอย่างหนึ่งได้เกิดขึ้นมาแล้ว (เช่นเหตุการณ์ เอ ) และก็มีความจริงอีกอย่างหนึ่งได้เกิดขึ้น แต่ไม่มีความเกี่ยวข้องอะไรกันที่จะสามารถถูกนำมาใช้อธิบายเหตุการณ์ เอ ได้ แต่ถูกสร้างภาพหรือวางเงื่อนไขเอาเอง หรือโยงเอาเอง ว่าเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน และสามารถสนับสนุนกันได้ ทั้งๆที่ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย
ถ้าใครก็ตามที่ทำในสิ่งที่ข้อ 2 และ 3 กล่าว ก็จะถือว่าไร้ซึ่งความเป็นวิชาการ และเชื่อถือไม่ได้ ตามหลักการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง แต่เราจะเห็นได้ในหลายๆกรณีว่า พี่น้องชาวชีอะฮฺมักจะทำในสิ่งที่ได้กล่าวเอาไว้ในข้อที่ 2 และ 3 เพื่อเป็นการหาทางออกให้กับความเชื่อของตนเองที่ได้รับพิสูจน์ว่าผิดพลาดหรือขัดแย้งกันเอง ซึ่งถ้าเรามีโอกาสพูดคุยกับพวกเขาแล้ว เราจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
เราจะต้องแยกให้ออกในสิ่งต่อไปนี้:
1. มีความจริงอย่างหนึ่งได้เกิดขึ้นมาแล้ว (เช่นเหตุการณ์ เอ ) และ มีความจริงอีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องกันที่จะสามารถนำมาใช้อธิบายอีกเหตุการณ์ เอ ได้ เพื่อให้เกิดความกระจ่างและขจัดความสงสัย
2. มีความจริงอย่างหนึ่งได้เกิดขึ้นมาแล้ว (เช่นเหตุการณ์ เอ ) และ มีสิ่งที่ถูกทึกทักขึ้นมาเอง หรือ สร้างคำอธิบายขึ้นมาเอง โดยปราศจากหลักฐานใดๆที่จะเกี่ยวข้องกัน ที่สามารถที่จะถูกนำมาใช้อธิบายเหตุการณ์ เอ ได้
3. มีความจริงอย่างหนึ่งได้เกิดขึ้นมาแล้ว (เช่นเหตุการณ์ เอ ) และก็มีความจริงอีกอย่างหนึ่งได้เกิดขึ้น แต่ไม่มีความเกี่ยวข้องอะไรกันที่จะสามารถถูกนำมาใช้อธิบายเหตุการณ์ เอ ได้ แต่ถูกสร้างภาพหรือวางเงื่อนไขเอาเองว่าเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน ทั้งๆที่เปล่าเลย
ถ้าใครก็ตามที่ทำในสิ่งที่ข้อ 2 และ 3 กล่าว ก็จะถือว่าไร้ซึ่งความเป็นวิชาการ และเชื่อถือไม่ได้ ตามหลักการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง
และเราจะต้องแยกให้ออกระหว่าง:
1. ถ้าเรื่องหนึ่งๆไม่ได้รับการอธิบายแล้ว ก็จะไม่มีอะไรเสียหาย และไม่มีผลแต่อย่างใด เช่น ศาสนิกถามว่าทำไมพระเจ้าสร้างมนุษย์ให้มีนิ้วมือ และนิ้วเท้า อย่างละ 10 นิ้ว หรือ ทำไม พระเจ้าต้องสร้างมนุษย์มาให้มีรูปร่างอย่างที่เป็นอยู่
2. ถ้าเรื่องหนึ่งๆไม่ได้รับการอธิบายแล้ว ก็อาจจะไม่มีผลอะไรมาก โดยจำไม่ทำให้จุดยืนของคนๆหนึ่งต้องถูกหักล้างหรือถูกทำลายไป แต่อาจจะทำให้เกิดความไม่ชัดเจน หรือข้อสงสัยคาใจอะไรบางอย่าง เช่น ทำไมพระเจ้าอนุญาตให้ผู้ที ภรรยาได้ถึง 4 คน ทำไมพระเจ้าจึงปล่อยให้เกิดความชั่วมากมายเต็มไปหมดในโลก ทำไมพระเจ้าไม่ห้าม และคำถามอื่นๆ ในประเภทนี้ ซึ่งถ้าไม่ตอบหรือตอบไม่ได้ ก็จะไม่มีผลทำให้หลักฐานที่ยืนยันว่าพระเจ้ามีอยู่จริงเป็นโมฆะ เพราะมันไม่เกี่ยวข้องอะไรกัน
3. ถ้าเรื่องหนึ่งๆไม่ได้รับการอธิบายอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการแล้ว ก็จะมีผลต้องทำให้จุดยืนหรือความเชื่อของคนๆหนึ่งต้องถูกทำลาย หรือ ถูกหักล้างไป และจะทำให้จุดยืนหรือความเชื่อนั้นๆเป็นโมฆะในที่สุด ทั้งนี้เพราะเกิดความขัดแย้งกัน และสิ่งใดก็ขัดแย้งกันเองสิ่งนั้นไม่สามารถเป็นจริงได้ เช่น ข้อความที่หลังจากได้อธิบายไปแล้วด้วยหลักฐานในเรื่องเดียวกันที่เกี่ยวข้อง ก็จะเกิดความชัดเจนและขจัดสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นความขัดแย้งกันไปได้ เช่น ข้อความที่ว่า “ พระผู้เป็นเจ้านั้นทรงเมตตาเสมอ และทรงเมตตาต่อทุกสรรพสิ่ง แต่กระนั้นก็ตาม กลับมีความชั่วร้าย เกิดขึ้นมากมายเต็มไปหมด มีคนจำนวนมากต้องทุกข์ทรมานอันเนื่องมารจากสาเหตุต่างๆ ต่างศาสนิกที่ไม่เชื่อในพระเจ้าอาจจะถามว่า แล้วพระเจ้าภาษาอะไร ถึงได้เป็นอย่างนี้ ” ซึ่งสามารถอธิบายด้วยหลักฐานได้ดังนี้:
“ เราจะต้องให้พระผู้เป็นเจ้าเป็นเจ้าเป็นผู้ตอบคำถามเองว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น และเรามาดูกันว่าคำตอบที่ได้มาจะขจัดสิ่งที่ดูเหมือนจะขัดแย้งกันเองได้หรือไม่ คำตอบก็คือ ยกตัวอย่างเช่น อาจารย์คนหนึ่งมีลูกศิษย์ 50 คน และเมื่อถึงวันสอบ ทุกคนก็ต้องทำข้อสอบ ถามว่าอาจารย์ต้องการให้นักเรียนทุกคนสอบผ่านหรือไม่ แน่นอนต้องการ และถามว่า อาจารย์รู้หรือไม่ว่าการสอบตกทำให้เกิดความทุกข์กับนักเรียน แน่นอนรู้ ในขณะที่อาจารย์คนนั้นกำลังคุมห้องสอบอยู่ เห็นโดยตลอดว่า นักเรียนคนไหน กากบาทข้อที่ผิด คำถามก็คือ ถ้าอาจารย์ต้องการให้นักเรียนทุกคนสอบผ่านจริง แล้วทำไมไม่ช่วยนักเรียนโดยบอกว่าอย่ากาข้อนั้น เพราะมันผิด... ถ้าอาจารย์ทำเช่นนั้น การสอบ ก็จะไม่ใช่การสอบอีกต่อไป และที่เรียกว่าเป็นการทดสอบก็จะไม่มีความหมายไปโดยปริยาย เช่นกัน พระเจ้าได้สร้างมนุษย์มาก็เพื่อการทดสอบ ตายเมื่อไหร่ก็หมดเวลาสอบ และหนึ่งในข้อสอบก็คือ สิ่งต่างๆที่จะมาประสบกับมนุษย์แต่ละคนโดยสิ่งนั้นทำให้มนุษย์ได้รับความทุกข์ใจ หรือ ทุกข์ทรมาน แต่กระนั้นมันก็ไม่ได้ทำให้คำว่าพระเจ้ามีความเมตตาต่อทุกสิ่งต้องเป็นโมฆะไป เพราะพระเจ้าก็เมตตามนุษย์ในเรื่องต่างๆมากมาย” เมื่อได้รับการอธิบายเช่นนี้แล้ว ก็ทำให้สิ่งที่ดูเหมือนจะขัดแย้งกันได้ถูกขจัดไป
หรือ เรื่องๆหนึ่งที่เกิดขึ้น หรือ ข้อความหนึ่ง ที่ไม่ว่าจะอธิบายอย่างไรก็ไม่สามารถขจัดข้อขัดแย้งออกไปได้ ถึงแม้ว่าจะอธิบายด้วยหลักฐานก็ตาม ทั้งนี้เพราะหลักฐานที่ได้นำมาอธิบายนั้น มันไม่เกี่ยวข้องอะไรกันโดยตรง อันจะเป็นผลทำให้ความขัดแย้งกันนั้นได้ถูกขจัดออกไป เช่น ข้อความที่ว่า “พระเจ้าเป็นอยู่ชั่วนิรันดร พระเจ้าทรงรอบรู้ทุกสรรพสิ่ง พระเจ้าไม่ทรงเหนื่อย หรือหลับนอน” และ ข้อความหรือเหตุการณ์ที่กลับชี้ชัดว่า “ พระเจ้ามีการเกิด ไม่รอบรู้ทุกสิ่ง เหนื่อย และ มีการหลับนอน” ตรงนี้ขัดแย้งกันอย่างแน่นอน หรือถ้าเป็นในบริบทของชีอะฮฺ ก็คือ เหตุการณ์ที่ท่านอาลีนั้นให้การยอมรับการเป็นคอลีฟะฮฺของท่านอบูบักร แถมยังชื่นชมท่าน อบูบักรหลายครั้งด้วยกัน ซึ่งชีอะฮฺไม่สามารถนำหลักฐานที่เกี่ยวข้องกันในเรื่องนี้มาอธิบายได้ เพื่อที่จะขจัดความขัดแย้งให้หมดไปได้ ขัดแย้งในที่นี้ก็คือ สิ่งที่ท่านอาลีได้กระทำออกมาหรือพูดออกมานั้น ขัดกับความเชื่อสำคัญของชีอะฮฺ ที่ว่าท่าน อบูบักรนั้น มาแย่งชิงตำแหน่งการเป็นคอลีฟะฮฺของท่านอาลี และถือว่าเป็นการเฟร ซี่งเป็นเป็นเช่นนี้แล้ว จึงทำให้ความจริงปรากฎออกมาว่า ความเชื่อของชีอะฮฺนั้นผิดพลาด และถ้าชีอะฮฺจะกล่าวออกมาในทำนองว่า “ ที่เราเชื่อว่าอบูบักรนั้น มาแย่งชิงตำแหน่งการเป็นคอลีฟะฮฺของท่านอาลี และถือว่าเป็นการเฟร นั้น เราก็เชื่อด้วยหลักฐาน” นั้นก็ชัดเจนว่า หลักฐานของชีอะฮฺขัดแย้งกันเอง และสิ่งใดก็ตามที่เป็นสัจธรรมความจริง สิ่งนั้นจะต้องไม่มีความขัดแย้งกันเอง และชีอะฮฺไม่มีสิทธิที่จะนำเอาความเชื่อตัวเองมาอธิบายเหตุการณ์ที่ขัดแย้งกันเองนี้ได้ โดยการสร้างคำอธิบายแบบขอไปทีขึ้นมาเพื่อหาทางออกให้กับตนเอง เพราะการกระทำเช่นนี้เป็นการกระทำที่ผิดพลาดในกระบวนการวิเคราะห์ แต่ชีอะฮฺจะต้องนำหลักฐานที่ตรงๆเรื่องมาให้ได้ว่าเพื่อที่จะอธิบายว่าทำไมท่านอาลีถึงได้ยอมรับ และชื่นชมท่านอบูบักร โดยจะต้องไม่นำเอาหลักฐานเชื่อมโยงเอาเองมา ที่ไม่ตรงเรื่อง