ผู้เขียน หัวข้อ: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม  (อ่าน 9466 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #30 เมื่อ: ก.ย. 11, 2013, 09:10 AM »
0
คำถามที่เจ็ด
   ถาม  ใครคือ  เอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์  เราจะรู้จักกันจากชื่อได้ไหม?   และวิลายะฮ์นี้ได้มาโดยการสืบเชื้อสายกระนั้นหรือ?
   ตอบ  เอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์  คือ  บ่าวของอัลลอฮ์ที่ซอและฮ์  ซึ่งเราได้ขอความสันิสุขจากอัลลอฮ์ให้แก่เขาในทุก ๆละหมาดนั้นคือในทุกครั้งที่เราอ่านตะซะฮุด  ได้แก่ บรรดานะบีๆ  อะลัยหิมุซซอลาตุวัสสลาม  บรรดาผู้ที่อยู่ในเรือของนะบีนูห์  บรรดาผู้ที่ร่วมอุดมการณ์เดียวกันกับท่านนะบีมูซาและนะบีอีซา  บรรดาผู้ที่มีความฉลาดปราดเปรื่อง (รอซิดูน)  ตลอดจนบรรดาผู้เลื่อมใสในระยะเวลาถัดมา  และบรรดาผู้รู้จากประชากรของท่นนะบี ศ้อลฯ  ทั้งหมดที่กล่าวมานี้  รวมถึงบรรดาผู้เจริญรอยตามท่านเหล่านี้คือเอาลิยาอ์  ซึ่งไม่มีสิ่งใดที่พวกเขากลัว  และหวาดผวาเลยแม้แต่น้อย
   เงื่อนไขของการเป็นวะลีนั้น  คือ อีหม่านและตักวาดังปรากฏในอัล-กุรอานว่า
اَلَّدِيْنَ آمَنُوْا وَكَانُوْا يَتَّقُوْنَ
   ความว่า  “บรรดาผู้ที่อีหม่านนั้น  พวกเขาเป็นผู้ที่มีความยำเกรง  และอัศศอลาฮียะห์  เพื่อเป็นผู้แทนของท่านศาสดา ศ้อลฯ
وَاللهُ يَتَوَلَّى الصَّالِحِيْنَ
   ความว่า “อัลลอฮ์(ซ.บ.)  ทรงปกครองบรรดาผู้ที่ซอและฮ์”
   คำว่า “ซอและฮ์ ณ.ที่นี้หมายถึง  “อัซซ่อลาฮี่ยะฮ์”  คือความสมดุลซึ่งจะต้องเป็นบ่าที่เป็นนักเผยแผ่  เป็นทายาทผู้รับมรดกจากศาสดา  เป็นผู้ให้ประโยชน์แก่สังคม ฯลฯ
أَنَّ الأرْضَ يَرِثُها عِبَادِيَ الصَّالِحُوْنَ
   ความว่า  “แท้จริง  ผืนแผ่นดินนั้น  เป็นมรดกของบ่าวฉันที่ซอและฮ์
   การกำหนดผู้ที่มีคุรสมบัติแห่งวิลายะห์ครบว่าเป็นวะลีนั้น  มิได้ขัดกับคำสอนของอิสลามตามที่ข้าพเจ้ารู้จัก  ดังที่บรรดานักวิชาการ อัล-ฮาดีสได้เรียกผู้รายงานฮาดีสตามคุรสมบัติของท่านเหล่านั้น  ส่วนที่เข้าใจว่า  วิลายะฮ์เป็นตำแหน่งที่สืบทอดทางเชื้อสายนั้น  เป็นเรื่องที่ไม่มีในตะเซาวุฟ
   จริงๆ แล้วความหมายของคำว่า  วิลายะฮ์นี้มีมากดังเช่นที่อัลกุรอาน และอัล-ฮาดีสพูดถึงวิลายะฮ์  ทั้งเอาลิยาอุ๊รเราะห์มาน  และเอาลิยาอุซซัยตอน

ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #31 เมื่อ: ก.ย. 11, 2013, 09:11 AM »
0
คำถามที่แปด
   ถาม  เพราะอะไรชาวซูฟี  จึงให้ความสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับ
ก.   สุสาน (กุโบร)
ข.   ระลึกถึงวันเกิด
ค.   เอาบ่ารอกัตจากคนตาย
อยากทราบว่ามีหลักฐานจากอัล-กุอาน  หรืออัล-ฮาดีสหรือไม่?
ตอบ  ชาวซูฟีมิได้หมดหวังหรือสิ้นหวังใด ๆ จากคนตาย  (เหมือนกาเฟรสิ้นหวังจากชาวกุโบร)  ชาวซูฟีเชื่อว่า  ความตายนั้นเป็นเพียงระหนึ่งแห่งการเดินทางของมนุษย์สู่พระผู้อภิบาล  คนตายในทัศนะของพวกเขามีชีวิตอยู่ในบัรซะคียะห์ (ช่วงเวลาระหว่างชีวิตในโลกนี้และโลกหน้า)  คนตายมีความผูกพันที่แน่นแฟ้นกับคนเป็น  ดังมีฮาดีสจากท่านร่อซู้ล ศ้อลที่กล่าวถึงการตอบรับสลามของคนตาย  เมื่อผู้ที่ไปเยือนกุโบร  ให้สลามแก่พวกเขา  อีกทั้งยังรู้จักและจำผู้ที่ไปเยือนได้อีกด้วย
ดังที่ท่านนะบี  ศ้อลฯ  เคยให้สลามแก่ชาวกุโบรและยังเคยพูดจากับคนตายที่อัล-ก่อลีบในสงครามบดัรดังปรากฏในฮาดีสหลายฮาดีสด้วยกัน   และในอัลกุรอานกล่าวว่า
                
   ความว่า “และคนที่ตายมรณะสัขขี  ได้แจ้งข่าวดีให้บรรดาผู้ที่ยังไม่ตายที่อยู่เบื้องหลังของพวกเขาว่าไม่ต้องกลัว  และไม่ต้องโศกเศร้า”   ซูเราะห์ อาละอิมรอน 170
ดังนั้น  คนตายกับคนเป็นจึงมีความผูกพันกันอย่างต่อเนื่อง  มิฉะนั้นแล้ว  การขอดุอาหรือการให้สลามก็เป็นการกระทำให้แก่ก้อนหิน?  (ไม้ท่อน)  และนอกจากนั้นท่านร่อซู้ล ศ้อลฯ  ยังไปเยี่ยมคนตายในกุโบรบ่าเกี๊ยะและให้สลามแก่บรรดาคนตายเหล่านั้น  ตลอดจนพูดจาและขอดุอาให้แก่คนตายเหล่านั้นด้วย
ท่านอิหม่ามอิบนุกอยยิม  อัลเญาซียะฮ์ (ศิษย์ของอิบนุตัยมียะฮ์)  ผู้แต่งหนังสือชื่ออัรรูห์  ซึ่งได้บรรยายถึงทัศนะต่างๆ ของชาวซูฟีเป็นสำคัญสำหรับเรืองการมีชีวิตหลังจากตาย  ตลอดจนความผูกพันระหว่างดวงวิญญาณกับคนเป็น  และอิบนิอะบีดุนยาก็ได้เขียนตำราที่มีประโยชน์อย่างยิ่งเกี่ยวกับเรืองนี้เช่นกัน
ชาวซูฟีเชื่อมั่นว่า  คนที่มีคุณสมบัติเป็นวะลีในดุนยาดวงวิญญาณของเขา  เมื่อเขาตายไปแล้ว  ก็ยังคงเป็นวะลีอย่และยังผูกพันอยู่กับกุโบรของเข  ดังที่นะบีเคยให้สลามแก่ชาวกุโบร  และชาวกุโบรก็ตอบรับสลามโดยเหตุนี้  จงให้เกียรติชาวกุโบรก็ตอบรับสลามโดยเหตุนี้  จึงให้เกียรติชาวกุโบรที่ซอและฮ์ทั้งหลามีรายงานกล่าวว่า  ท่านนะบี ศ้อลฯ  เคยเอาก้อนหินวางไว้ที่กุโบรของซอฮาบะฮ์บางท่าน  อย่างเช่น ท่านอุษมาน บิน มัซอูน ร่อดิยั้ลฯ  และกล่าวว่า  เพื่อฉันจะได้จำกุโบรของเขาได้  ฮาดีสนี้เป็นฮาดีสหลังจากที่ท่านอะลีได้เกลี่ยพื้นผิวกุโบรให้เรียบ  จึงแสดงว่าอนุญาตให้ทำเครื่องหมายไว้ที่กุโบรเพื่อเป็นสัญลักษณ์ทั้งนี้หากไม่เกินขอบเขต  โดยมีจุดประสงค์ที่จะมาซียาเราะฮ์บ่อยๆ  ตลอดจนขออุอา  และตามแบบอย่าง  รวมถึงทำกุศลให้แก่ผู้ตายนั้นๆ
ยิ่งไปกว่านั้น  ยังอนุญาตให้โยกย้ายคนตายจากกุโบรหนึ่งไปยังอีกกุโบรหนึ่งที่ดีกว่าได้  ดังท่านญาบิรและท่านอื่นๆ  ได้รายงานไว้
บรรดานักวิชาการกล่าวว่า  ความเหมาะสมต่าง ๆ นั้น เป็นไปตามสิ่งแวดล้อมและจะเปลี่ยนไปตามสภาพของสิ่งแวดล้อม  เช่นเดิมนั้น  ท่านอีได้เกลี่ยกุโบรให้เรียบ  ก็เพราะในช่วงนั้นกลัวว่าจะเป็นชิริก  เนื่องจากอีหม่านของผู้คนยังไม่แน่นแฟ้นพอ  และเมื่อการยอมรับในอัลลอฮ์ได้อยู่ในหัวใจของผู้คนแล้ว  จึงได้อนุญาตสิ่งที่เคยห้าม
ข.    สำหรับการระลึกถึงวันเกิด  โดยมีการเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดขึ้นถึงแม้ในสมัยแรกจะไมมีรูปแบบเช่นในสมัยหลังๆ  ซึ่งมีทั้งในรูปที่ยอมรับได้และรูปที่ยอมรับไม่ได้ก็ต้องพิจารณา  กล่าวคือ  หากมีรูปแบบที่ยอมรับไม่ได้มาก  ก็เห็นควรให้ยุติเสีย  เพื่อรักษาไว้ซึ่งความถูกต้อง  แต่ผู้ที่ไม่เห็นด้วยก็มักจะกล่าวแต่เพียงบางรูปแบบที่ยอมรับไม่ได้  มิได้มองรูปแบบอื่นเลย
ท่านแรกที่เฉลิมฉลองวันเกิดของท่านนะบี ศ้อลฯ คือ กษัตริย์อัล-มัซ๊อฟฟัร  กษัตริย์แหงเมืองอิรบิล  ในอิรัคโดยความเห็นชอบของอัล-อีหม่ามอะบีย์  ซามฮ์  ตลอดจนบรรดาผู้รู้ในสมัยนั้น แล้วในสมัยฟาติมีย์ก็ได้มีการปรับปรุง  หรือพัฒนารูปแบบให้กว้างขวางขึ้นเรื่อย ๆ
บรรดานักวิชาการของเราได้เอาหลักฐานการจัดเมาลิดนี้  จากการที่อัลลอฮ์ได้ให้ความสำคัญต่อวันเกิดวันตาย  ตลอดจนวันที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนะบีไว้สองครั้งในอัล-กุรอาน  โดยครั้งแรกกล่าวโดยอัล-กุรอานแลครั้งที่สองเมื่อเล่าถึงนะบีอีซา ดังนี้
         
ความว่า “เราขอประสาทความสันติสุขให้แก่เขาในวันประสูติ วันตายและวันที่ได้รับการแต่ตั้ง”                             
ซูเราะห์มัรยัม โองการที่ 15
         
ความว่า “และขออัลลอฮ์ได้ประทานความสันติสุขประสบแด่ฉัน  ในวันประสูติของฉัน  วันตายของฉัน  และวันที่ฉันได้รับการแต่งตั้ง”   ซูเราะห์มัรยัม  โองกรที่ 33
จึงชี้ให้เห็นว่า  วันเกิดนั้นเป็นวันสำคัญเบื้องอัลลอฮ์หรือเป็นวันที่อัลลอฮ์ถือว่ามีความสำคัญ
และยังพบว่า  ท่านร่อซูล ศ้อลฯ ยังทำการถือบวชในวันจันทร์เป็นประจำทุกๆ สัปดาห์  เมื่อมีผู้ถามถึงเหตุผล  ท่านตอบว่า  เป็นวันเกิดของฉันและเป็นวันที่ฉันได้รับวะฮีครั้งแรกจากอัลลอฮ์  ดังกล่าวนี้มีบันทึกอยู่ในอัล-ฮาดีส
จากหลักฐานดังกล่าว  แสดงว่า  ท่านร่อซูล  ศ้อลฯ  ระลึกถึงวันประสูติของท่านเพื่อเป็นการขอบคุณอัลลอฮ์  ซุบฮ์ฯ  ในทุกสัปดาห์ครั้งหนึ่งด้วยการถือบวช  และบางครั้งก็ด้วยกิจกรรมความดีอย่างอื่นที่ซึ่งสะดวกที่จะกระทำจริงๆ แล้ววันประสูตินั้น ก็เป็นวันหนึ่งจากวันต่าง ๆ ของอัลลอฮ์  ที่แต่ละวันท่านร่อซูล ศ้อลฯ  ท่านก็ให้ความสำคัญทั้งนั้น เช่น ในวันอาซูรอ และวันที่เกี่ยวข้องกับท่านหะซันและหุเซน  เป็นสำคัญสำหรับวันที่ท่านทำฮัจย์ครั้งสุดท้าย  ท่านได้เชือดอูฐถึง 63 ตัว ซึ่งเท่ากับอายุของท่าน  ทั้งหมดที่กล่าวมานี้และที่นำมากล่าวในตอนต้น  ย่อมเกินพอที่จะนำมาเป็นหลักฐานว่า  การระลึกถึงวันเกิดนั้น  เป็นเรื่องที่ศาสนาให้การสนับสนุน  (มัชรูอียะฮ์)  ทั้งนี้เนื่องจากเป็นวันที่ควรรำลึกสิ่งที่ดีที่มีประโยชน์ต่างๆ มากมาย อีกทั้งเป็นวันที่ควรแก่การศึกษา  ทั้งในด้านสังคม  และวัฒนธรรม ฯลฯ  และยังเป็นวันที่มีโอกาสได้มารวมกัน  ทำความรู้จักมักคุ้นซึ่งกันและกัน  หาทางให้ความช่วยเหลือกันให้มีตักวา  รู้จักลู่ทางทางเศรษฐกิจ  ทำบุญทำกุศล  รวมตลอดไปจนถึงเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปสู่แนวทางที่มีการพัฒนาไปในทางที่ดี  จากลักษณะดังกล่าวนี้ถือได้ว่าเป็นตลาดแห่งความดี  มีทั้งประโยชน์  นานัปการ  ซึ่งหลักการเดิมของศาสนา ตลอดจนหลักการทั่วๆ ไปก็มิได้ปิดทางแต่อย่างใด  และยังมีอัล-กุรอาน  กล่าวในเชิงสนับสนุนว่า

ความว่า  “และเรามิได้ส่งท่านมาเพื่ออื่นใด  นอกจากเพื่อให้เกิดความผาสุกแก่โลกทั้งผอง”
ซึ่งพระองค์ก็ได้ใช้ให้เราดีใจในเกียรติคุณ  และเราะห์มัตของท่านนะบี ศ้อลฯ ดังอัลกุรอานกล่าวว่า....

ความว่า  “จงกล่าวเถิด ด้วยเกียรติคุณแห่งอัลลอฮ์หรือเราะห์มัตของพระองค์  การดังกล่าวนั้นให้พวกเขาจงดีใจกันเถิด”
อันการระลึกถึงวันประสูติของท่านนะบี  ศ้อลฯ  ด้วยการอิบาดะฮ์หรือสิ่งที่เป็นคุณงามความดีทั้งปวงนั้น จริง ๆ แล้วก็คือ  การแสดงออกถึงความดีใจในเราะห์มัติของอัลลอฮ์  จึงเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา
นอกจากนั้น  พวกเราทุกคนยังถูกบัญชาใช้ให้แสดงออกซึ่งความขอบคุณในเนี๊ยะมัต  และก็คงต้องยอมรับกันว่า  การที่อัลลอฮ์ท่านได้แต่งตั้งหรือส่งนะบีมายังพวกเรานั้น  เป็นเนี๊ยะมัตที่ยิ่งใหญ่  ดังนั้น  การระลึกถึงเนี๊ยะมัตอันยิ่งใหญ่นี้  จึงเป็นลักษณะหนึ่งของการขอบคุณเนี๊ยะมัตเป็นสิ่งที่อัล-กุรอานบอกกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า  เป็นวาญิบ(เป็นความจำเป็น)
ดังกล่าวนี้  จึงย่อมที่จะอนุมานถึง  การรำลึกถึงวันเกิดของบรรดาเอาลิยาอุ้ลลอฮ์ได้เช่นกัน
และก็ย่อมที่จะกำหนดเป็นทฤษฎีลงไปได้ว่า  “มิใช่สิ่งที่ไม่เคยปรากฏในยุคสมัยแรกๆ นั้น เป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม)หากไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าต้องห้าม”  มิฉะนั้นแล้วจะไม่มีอะไรอนุญาต (หะล้าล) ในชีวิตของเราหลงเหลืออยู่เลย
และหากจะมีสิ่งใดที่เกินเลยไปกว่าความเหมาะสม  ก็เป็นหน้าที่ที่ทั้งชาวซูฟีหรือผู้คนทั่วๆ ไป  ต้องร่วมกันรับผิดชอบทั้งดุนยาและอาคิเราะฮ์

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #32 เมื่อ: ก.ย. 11, 2013, 09:42 AM »
0


น่าสนใจมากค่ะ...เอาไว้จะกลับมาอ่านต่อ...อินชาอัลลอฮฺ

"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #33 เมื่อ: ก.ย. 11, 2013, 03:04 PM »
0
คำถามที่เก้า
   ชาวซูฟีกล่าวว่า  จำเป็นต้องมีครู(เชค)  เพื่อผู้ศึกษา (มุรีด)  จะได้ถึงผู้อภิบาลและกล่าวว่า  ใครไม่มีครูชัยตอนก็จะเป็นครูของเขา  อยากทราบว่าเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องหรือไม่?
   ตอบ  โอ้ลูกที่รัก  ทัศนะของซูฟีดังกล่าวนี้  สอดคล้องกับความเป็นจริงตามหลักการทางศาสนา  ตลอดจนหลักการอื่นๆ  อีกทั้งโดยการวิเคราะห์หรือทดสอบหรือสัมผัสก็ได้บทสรุปเช่นเดียวกัน
   สำหรับในทางศาสนานั้น  อัล-กุอานกล่าวว่า.....

   ความว่า  “จงถามผู้รู้”

ความว่า  “จงถามผู้เชียวชาญ”

ความว่า  “และสำหรับทุก ๆ พวกนั้น  มีผู้ชี้นำ”
       
ความว่า  “พวกเหล่านั้น  คือ  บรรดาผู้ที่ได้รับทางนำจากอัลลอฮ์ด้วยการที่พวกเขาได้รับทางนำนั้น  ฉันตามพวกเขา”  ซูเราะห์  อัล-อันอาม  โองการที่ 90

ความว่า  “แท้จริงในร่อซูลุลลอฮ์นั้น  เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับพวกท่าน”  และฮาดีสกกล่าวว่า...

ความว่า  “พวกเขาไม่ถามกันหรือ  แท้จริงยาแห่งความโง่นั้น  คือ ถาม”
ดังนั้น  จึงจำเป็นต้องมีผู้ชี้นำ  ผู้เป็นแบบอย่างผู้รับผิดชอบ  ผู้มีสำนึกและผู้เชียวชญหนทางเพื่อจักได้ไปสู่อัลลอฮ์  เพื่อจะได้ฮิจเราะฮ์สู่พระองค์
มิได้พิจารณาดอกหรือว่า   ทำไมนะบีมูซาจึงต้องแสวงหาผู้ชี้แนะ  เพื่อมูซาจะได้ปฏิบัติตาม  ดังปรากฏในซูเราะห์  อัล-กะฮ์ฟิ  และมูซามีมารยาทอย่างไรกับผู้ชี้แนะ
คนที่จะเป็นนักท่องจำอัล-กุรอาน  จำเป็นต้องศึกษาจากนักอ่านที่ถูกต้อง  ที่ชำนาญในหลักการอ่านและปฏิบันตามคำสอนในอัล-กุรอานหากผู้ประสงค์จะจดจำอัล-กุรอาน  ไม่มีผู้ชี้แนะ  แน่นอนเขาจะไม่สามารถอ่านได้ถูกต้อง  หรือปฏิบัติตามคำสอนได้ถูก  ในการศึกษาวิชาศาสนาหรือภาษาตลอดจนความรู้ทางดุนยา  ทั้งที่สอนให้เกิดความคิดหรือการปฏิบัติ  แม้แต่งานอาชีพต่างๆ ก็ต้องอาศัยผู้เชียวชาญ  บอกถึงขั้นตอน  และเคล็ดลับต่างๆ  ดังนั้น  หากใครไม่มีครู  เขาต้องเป็นบุคคลที่หลงใหล  แล้วซัยตอนก็จะเป็นครูให้แก่เขา  ซึ่งมันจะทำให้อารมณ์ของเขาเป็นพระเจ้าของเขา  และในที่สุดเขาก็พินาศ
ในการผลิตหรืออุตสาหกรรมใด ๆ หากไม่มีครู  หมายถึงผู้รู้ให้การแนะนำ  ก็จะทำไม่ถูก  ไปได้ไม่ดีและอาจพินาศล้มละลายไปได้
ด้วยเหตุนี้  จึงจำเป็นต้องมีผู้ชี้นำสู่อัลลอฮ์  อันได้แก่  อีหม่ามเป็นผู้ชี้แนะ  พร้อมกับปกป้องคุ้มกัน  โดยเปิดเผยเล่ห์เพทุบายของซัยตอนทั้งในเรื่องของอิบาดะฮ์  และอื่น ๆ  รวมถึงความสับสน  ความต้องการของชีวิตและหัวใจ  ซึ่งอาจเป็นอันตรายรุนแรงกว่าการเป็นกุฟรเสียอีก
โอ้ลูกรัก  จงพิจารณาตำแหน่งอีหม่ามซึ่งกำลังนำละหมาด  และจงพิจารณาร่อซูลกับญิบรีล?
ด้วยเหตุนี้  ผู้อวุโสแห่งประชาชาตินี้  จึงสืบทอดความรู้จากผู้อาวุโสในแต่ละยุคแต่ละสมัย  เป็นอย่างนี้สืบต่อกันมา  ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในด้านวิชาการ  หรือการสืบสาวราวเรื่อง(สืบสายรายงาน)  รวมถึงการมุบายะอะฮ์(การรับสัตยาบัน)
ในสมัยนี้  การที่จะศึกษาชั้นสูงในระดับปริญญาเอกนั้น  ก็ต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อร่วมเดินไปพร้อมๆ กับเรา  ต่อสู้กับเราบนถนนแห่งการศึกษา

ความว่า  “คนตาบอดกับคนตาดีนั้น  ไม่เท่ากัน (ไม่เหมือนกัน)”
มีทฤษฎีทางวิชาการอยู่บทหนึ่ง  กล่าวว่า “อย่าเอาความรู้จากกระดาษ  แม้จะเป็นอัล-กุรอาน”  เพราะกระดาษก็คือแผ่นที่รวบรวมสิ่งพิมพ์หรือข้อเขียนโดยไม่มีผู้ชี้แนะ  ซึ่งในมัศนะทางวิชาการถือว่าเสี่ยงต่อความผิดพลาดสูงมาก
ลองพิจารณาอีกสักเรื่องนั่นคือ  ท่านร่อซูลได้รับการแต่งตั้งมายังมวลมนุษย์และญิบรีลได้ลงมายังบรรดานะบีๆ เพื่อชี้แนะ และแนะนำแนวทางที่เที่ยงตรง
ลูกรัก  ลูกต้องไม่ลืมว่า  การที่วิญญาณของศิษย์กับครูได้พบกัน  และแลกเปลี่ยนความรักซึ่งกันและกัน  มีเจตนามณ์เหมือนกัน  การซึมซับคนสองคนด้วยความรัก  โดยมีเจตนาเพื่ออัลลอฮ์มีอิทธิพลททางวิญญานสูงในทัศนะของนักวิชาการทั้งในอดีตและปัจจุบัน
และในเมื่อการสืบต่อเป็นไปอย่างต่อเนื่อง  ก็ย่อมหมายถึงมีความพิสดารแฝงอยู่  ซึ่งนักตะเซาวุฟเรียกว่า...............(หน้า39 บรรทัด14)  หมายถึง  บารอกัตในการสืบต่อ  แม้ว่าในเรื่องนี้ บรรดาผู้ที่ไม่มีความรู้จะไม่ยอมรับก็ตามจงพิจารณาดูโองการที่ว่า.......

ความว่า  “และเป็นผู้เชิญชวนสู่อัลลอฮ์  ด้วยอนุมัติของพระองค์”
ณ. จุดนี้ คือจุดเริ่มต้นของการสืบต่อเจตนารมณ์ซึ่งเป็นความเจริญ(บารอกัต)  แล้วก็สืบต่อกันไปประดุจสายโซ่ที่คล้องเกี่ยวต่อเนื่องกันไป
ข้าพเจ้าเข้าใจว่า  ตามที่กล่าวมาอย่างสั้น ๆ นี้คงจะเป็นการเพียงพอแล้ว อินชาอัลลอฮ์  แต่หากยังไม่เป็นการเพียงพอ  ก็จงพิจารณาโองการนี้

ความว่า  “แท้จริงท่านไม่อาจชี้แนะ(ให้ฮิดายะฮ์)  แก่ผู้ท่านรักได้”

ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #34 เมื่อ: ก.ย. 11, 2013, 03:06 PM »
0
คำถามที่สิบ
ก.   ศาสนามีหุก่มอย่างไร  กับการเต้น  ตีกลองและการแสดงอิริยาบถที่ไม่เหมาะสมในวงซิเกร?
ข.   เปลี่ยนนามของอัลลอฮ์?
ค.   กล่าวซ้ำคำว่า “ฮุวะ”  หรือคำว่า “อาฮ์”?
ง.   เปล่งเสียงว่า “ฮา อาฮ์ อาฮ์  หรือ ฮาฮ์ ฮาฮ์”?
จ.   มีกฏให้ผู้กล่าวซิเกรนึกว่าครูอยู่ข้างหน้า?
ฉ.   สารภาพผิด  และสิ่งพึงตำหนิกับครู?
ตอบ  คำถามทั้งหมดที่ถามนี้ ดูประหนึ่งท่านคิดว่า  ข้าพเจ้าเป็นผู้นำทางความคิดในเรื่องของศาสนนาแห่งยุคนี้เลยทีเดียว  อีกทั้งยังเข้าใจได้ว่าข้าพเจ้าคือหนึ่งจากบรรดาผู้อนุรักษ์ศาสตร์แขนงนี้  ก็ต้องขอให้อัลลอฮ์ได้ตอบแทนท่านในความเข้าใจที่ดีงามของท่านที่จะได้มาซึ่งผลานิสงค์อันยิ่งใหญ่
ข้าพเจ้า  อัลฮัมดุลิลแลฮ์  เป็นที่รู้จักตัวอง  เป็นผู้ที่ไม่ลำพองในตำแหน่งหรือเกียรติยศ  แต่ก็มิได้เป็นผู้ที่ปฏิเสธความประเสริฐต่าง ๆ ที่อัลลอฮ์ได้ประทานให้
ข้าพเจ้าเคยร่วมในกิจกรรมที่สำคัญ ๆ ของซูฟีหลายครั้ง  ข้าพเจ้าได้พลีความสามารถอย่างเต็มที่โดยเฉพาะข้าพเจ้าจะให้ความร่วมมือ  สนับสนุนในกิจกรรมทั้งปวงที่ข้าพเจ้ามั่นใจว่าเป็นสิ่งที่อัลลอฮ์(ซ.บ.)พอพระทัย  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของตะเซาวุฟ เรื่องอื่นๆ ของอิสลาม  ตลอดจนเรื่องของประเทศชาติ  และอัลฮัมดุลิ้ลแลฮ์ ข้าพเจ้าก็ยังมีอุดมการณ์อันแน่วแน่เช่นนี้
ข้าพเจ้าได้เคยให้ความสำคัญเป็น  พิเศษเกี่ยวกับการอนุรักษ์และทำนุบำรุงแนวทางของซูฟี  ได้รณรงค์ในเรื่องนี้จนรัฐบาลอียิปต์รับรองสถานภาพข้าพเจ้าได้ตั้งองค์กรขึ้นเพื่อบูรณะแนวทางของซูฟีภายใต้การอำนวยการของผู้ว่าราชการกรุงไคโร  และข้าพเจ้าก็ร่วมอยูในองค์กรดังกล่าวในฐานะผู้เรียกร้องและผู้เชี่ยวชาญที่ว่าด้วยกิจกรรมของซูฟี  และได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งโดยการนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศาสนสมบัติ  แล้วข้าพเจ้าได้รวบรวมต่อรีเกาะฮ์ต่าง ๆ ของซูฟีขึ้นในลักณะของสมาคม  โดยมีครู(เชค)  จากต่อรีเกาะฮ์ต่างๆ มากกว่าหกสิบท่านเข้าร่วม  และได้ใช้มัสยิดอิหม่ามอัล-หุเซนเป็นที่ตั้งของสมาคม
นี่คือการเคลื่อนไหวอย่างเป็นระบบครั้งแรกของซูฟี  จนเป็นที่ยอมรับของสภาแห่งชาติ
และด้วยความคุ้มครองของอัลลอฮ์(ซ.บ.)  รัฐบาลอียิปต์ได้เห็นถึงประโยชน์นานัปการบนพื้นฐานของจดหมายเปิดผนึกของข้าพเจ้าดังได้กล่าวมาแล้วจนทำให้รัฐบาลเริ่มตระหนักถึงชาวซูฟี  ทั้งนี้หลังจากมีอายุยืนยาวมาด้วยความวิบาก  จึงนับว่าเป็นก้าวใหม่ซึ่งสำคัญที่ทำให้ตะเซาวุฟเริ่มมีการพัฒนา  เริ่มมีการขัดเกลา  และเริ่มมีการปรับปรุง
อนึ่ง  การเต้น การตีกลองหรืการรองทำเพลงหรือการดีดสีตีเป่าที่นำมาประกอบคนที่เรียกกันว่า “หะละกอตุซซิกริ”  หรือวงการซิเกรนั้น  ไม่มีอยู่ในศาสนาของอัลลอฮ์(ซ.บ.)  และไม่มีนักวิชาการท่านใดมีทัศนะในเชิงแย้งเลย กล่าวคือเป็นมติโดยเอกฉันฑ์ว่าการร้องรำทำเพลงในการซิกรนั้น  ไม่มีในอิสลาม  หากแต่มันคือสิ่งแปลกปลอมที่สอดแทรกเข้ามาในตะเซาวุฟจึงจำเป็นต้องถือว่า  เป็นสิ่งที่เสียหายไม่ถูกต้อง
ท่านเชค  อิบนุลฮาจ  ได้กล่าวไว้ใน “มัค่อลัซซัรอิซซะรีฟ”  ว่า อัลลอฮ์ทรงประณาม(ตำหนิ) มุซริกีน  ที่กระทำการดังกล่าวไว้ว่า
                 
ความว่า “พวกเขามิได้ทำการสักการะใด ๆ ณ ไบตุลลอฮ์  นอกจากการ โห่ร้อง และการตบมือ” ดังน้นพวกท่านจงชิมการลงทัณฑ์อันเนื่องจากความพยศของพวกท่าน
ทั้งสองอย่างนี้  คือ  ส่วนประกอบของการร้องรำทำเพลงหรือการดีดสีตีเป่า
ดังนั้น  การร้องรำทำเพลงหรือการดีดสีตีเป่าประกอบการซิเกร  จึงเป็นมหรสพ  หากเรานำมาเป็นเรื่องของศาสนา  ก็เท่ากับอุตริกรรมในศาสนาของอัลลอฮ์ซึ่งพระองค์ทรงกล่าวว่า....

ความว่า  “และพวกท่านจงอย่าสนใจบรรดาผู้ที่เอาศาสนาของพวกเขาเป็นมรหรศพ 
ซูเราะห์ อัล-อันอาม และอัล-อะรอฟ
อัลลอฮ์ท่านจะไม่ใช้ให้ละทิ้งการกระทำใด ๆ ที่เป็นสื่อแห่งความใกล้ชิดต่อพระองค์  และไม่ว่าข้อห้ามใด ๆ ถูกย้ำหรือกล่าวซ้ำ  ย่อมแสดงให้เห็นว่า  เป็นสิ่งที่พระองค์กริ้ว  ผู้ที่ฝ่าฝืนหรือละเมิดมาก
เราสักการะต่อพระองค์ตามที่พระองค์ได้ทรงบัญญัติไว้  และก็มีวิธีการมากมายที่ให้ความสุนทรีย์แก่อารมณ์  อันการทำอิบาดะฮ์นั้นต้องทำจริง ๆ อัลลอฮ์ท่านทรงกล่าวว่า...
                   •                   
ความว่า  “และเราไม่ได้สร้างท้องฟ้าและแผ่นดินตลอดจนสิ่งที่อยู่ระหว่างทั้งสองนั้นอย่างสนุกสนานและหากเราจะเอามาเป็นของเล่น (มีภรรยา มีบุตร)  แน่แท้  เราก็ต้องเอามัน (สรวงสวรรค์)  มาไว้ที่เรา  หากเราคือผู้กระทำมัน  แต่เราได้อาความถูกต้อง (อีหม่าน)  ขว้างลงบนความผิด (กุฟร)  จนมันสยบ  แล้วมันก็สูญสิ้น”
ซูเราะห์  อัล-อัมบิยาอ์ 16-18
ดังนั้น  ใครก็ตามต้องการทำเล่น ๆ ก็จงทำให้ห่างไกลจากอิบาดะฮ์และตะเซาวุฟ
และเพื่อพระพักตร์แห่งพระองค์  และเพื่อความจริงในซาตของพระองค์เราได้ทุ่มเทความพยายามเพื่อปรับปรุง  และ  ทำนุบำรุงวงจรของซูฟี
และขอยืนยันว่า  บรรดาเชค (ครู) ของแนวทาง (ต่อรีเกาะฮ์)  ต่างๆ  ที่ร่วมสมัย  ได้มีการปรึกษาหารือกันหลายต่อหลายครั้ง  ในที่สุดก็มาสนเท่ห์กันตรงจุดเสื่อมหรือกิจกรรมอันแปลกปลอมนี้  ซึ่งต่างมีความเข้าใจตรงกันว่า  นั่นคืออารมณ์  และนั่นคือรูปลักษณ์หนึ่งของความโฉดเขาลา  และก็ไม่มีมติที่เป็นรูปธรรมใด ๆ  ออกาจากการปรึกษาหารือ  ราวกับว่าความแหลกเหลวดังกล่าวมันมิได้เกิดขึ้น
สำหรับการขับร้องหรือการร้องเป็นทำนอง  หากไม่เป็นการละเมิดและเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้เราพบว่า  มีที่มาจากซุนนะฮ์ที่ซอเฮี๊ยะห์ดังปรากกในบุคคอรีย์และท่านอื่น ๆ ว่า  ท่านนะบี ศ้อลฯ  ในคั้งที่ร่วมก่อสร้างมัสยิดนะบะวีย์นั้น  ท่านได้ร้องเพลงหรือกล่าวเป็นทำนองว่า  “วัลลอฮิ  หากไม่มีอัลลอฮ์  เราจะไม่ได้รับทางนำ”  หรือพวกเราขอรับทางนำนั้น  เป็นการขับร้องเป็นทำนองที่ชาวอาหรับนิยมกันในสมัยนั้น  โดยขับร้องกันเช่นนี้จนจบก่อซีดะฮ์
และดังมีรายงานว่า  ท่านนะบี ศ้อลฯ  ได้กล่าวถ้อยคำดังกล่าวประสานเสียงกับบรรดาซออาบะฮ์  ทั้งในการก่อสร้างมัสยิดและหรือการขุดสนามเพาะและในวาระอื่น ๆ และท่านก็เคยได้ยินอับดุลลอฮ์ บิน ร่อวาฮะ  ขับร้องซึ่งท่านก็ไม่ได้ทักท้วงหรือตำหนิแต่อย่างใด
มีรายงานที่ดาวาตุรว่า  ท่านศาสดา ศ้อลฯ ได้ฟังการขับร้องของบรรดาผู้ต้อนรับในตอนที่ท่านเดินทางเข้าสู่นครมะดีนะฮ์  และยังเคยฟังผู้หญิงนะซัรให้ตีกลองและร้องเพลง  และยังมีบันทึกว่า  ท่านเคยฟังการขับลำนำในทำนองอาหรับโบราณอีกทั้งยังเคยฟังทำนองต่าง ๆ ของอาหรับ  ซึ่งขับร้องเป็นทำนองปลุกศรัทธา(ห่างไกลสิ่งต้องห้ามหรือหะรอม)  และการฟังทำนองการขับร้องดังกล่าวนั้นบางครั้งอยู่ในมัสยิดของท่าน  จนมีความรู้สึกซึมซับในถ้อยทำนองซึ่งก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่งของมนุษย์ที่มีความสมบูรณ์  เสียงที่มีความสุขทำนองนี้จะเป็นเสียงที่เราจะได้ฟังกันในสวรรค์  นั่นคือเสียงจากพระผู้เป็นเจ้า
และเป็นที่น่าสังเกตว่าทำไมท่านร่อซูล ศ้อลฯ จึงเลือกบิล้าลเป็นผู้อะซาน  และชาวอาหรับก็พยายามลอกเลียนแบบเสียงของเขา เช่น อะบีบะห์ ซูเราะห์  ซึ่งเป็นผู้อะซานคนหนึ่งในสมัยท่านนะบี ศ้อลฯ
ท่านนะบี ศ้อลฯ เคยได้ยินเสียงของอิบนิมัสอู๊ดแล้วกล่าวว่า  ที่จริงนี่เป็นเสียงปี่ลักษณะหนึ่งจากวงค์วานของดาวูด  ดังปรากฏในอัซซอฮีฮัยน์
ท่านนะบี ศ้อลฯ  ทรงอ่านกุรอานอย่างเป็นท่วงทำนองจนหัวจของเหล่าซอฮาบะฮ์มารวมกัน(กำหัวใจ)  โดยต่างนึกกันว่า  ถ้าท่านนะบี ศ้อลฯ  จะเพิ่มจังหวะและทำนองให้ซึ้งมากยิ่งขึ้นก็จะยิ่งประทับใจ
อัลลอฮ์(ซ.บ.)  ทรงกล่าวว่า

ความว่า  “แท้จริงเสียงที่น่าเกลียดที่สุดนั้นคือเสียงของลา”
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้  ก็มากพอแล้วที่จะวิเคาะห์ได้ว่า  การดำริสิ่งที่ยกระดับวิญญาณของผู้คนให้ละเอียดอ่อนผูกพันอยู่กับอัลลอฮ์เสมอ ๆ  นั้นเป็นเรื่องดี
นักวิชาการระดับสูงของอัซฮัรบางท่านกล่าวว่าใครไม่มีความรู้สึกที่สุนทรีย์  เมื่อมีโอกาสได้นำชีวิตไปสัมผัสกับชายทะเล  โดยเฉพาะเมื่อได้อยู่ใต้ร่มไม้หรือได้ยินเสียงนกเสียงการ้อง  หรือได้อยู่ใกล้ดอกไม้หรือได้บรรยากาศหอม ๆ  ในสภาพที่นึกถึงสวรรค์ชั้นฟิรเดาส์ของพระองค์  เขาคนนั้นก็ไม่แตกต่างไปจากลาโง่ตัวหนึ่ง
ส่วนการเปลี่ยนพระนามอันไพจิตรของอัลลอฮ์ในวงซิเกร  นักวิชาการตะเซาวุฟ  ต่างมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า  เป็นสิ่งต้องห้าม(หะรอม)
เป็นความพอเพียงแล้วที่พระองค์ได้กล่าวไว้ในอัล-กุรอาน  โองการที่ว่า......
โองการอาจจะคลาดเคลื่อน
ความว่า  “และสำหรับอัลลอฮ์นั้น  พระองค์มีพระนามอันไพจิตร (อยู่เก้าสิบเก้าพระนาม)  พวกท่านจงเรียกพระองค์ตามชื่อนั้น ๆ  และจงเมินบรดาผู้ที่เฉไฉจากความถูกต้องในการเรียกชื่อพระองค์ (ดังที่พวกมุชริกีนกล่าวว่า อัลลาต์นั้นมาจาก อัลลอฮ์  อัลอุซซามาจากคำว่า  อะซีซ  และ  อัลมะนาตมาจากคำว่า  อัล-มันนาน)  ในวันอาคีเราะฮ์พวกเขาจะได้รับการตอบสนองตามที่พวกเขาได้กระทำ”
ซูเราะห์ อัล-อ๊ะร๊อฟ  โองการที่ 197
โองการนี้ใช้ในการทำซิเกร  พร้อมกับห้ามอย่างเด็ดขาดในการที่จะเปลี่ยนชื่อของพระองค์  และได้เตือนว่า  ผู้ที่เปลี่ยนแปลงจักต้องถูกลงทัณฑ์ในความชั่วที่ได้กระทำ
การเปลี่ยนนามหรือชื่อนั้น  หมายถึงการเรียกพระองค์ว่า  ฮา ฮา หรือ เฮ เฮ  หรือ อาฮ์  อาฮ์  หรืออื่น ๆ  ที่ฟังแล้วไม่ใช่ชื่อของพระองค์ซึ่งไม่มีผู้ที่เข้าใจในศาสนา  คนใดของซิเกรหรือเรียกพระองค์กันอย่างนั้น
แต่อาการเรียกหาที่เกิดขึ้นเองนั้น  มิใช่สิ่งที่ผิด  เพราะนั่นเป็นส่วนหนึ่งจากผู้ที่  ปากกาจะไม่บันทึกความผิด
โดยเหตุนี้จึงต้องแยกให้ชัดเจน
และการเรียกชื่อของพระองค์เป็นอย่างอื่นหรือเพี้ยนไป  เช่นเรียก  อัลลอฮ์  อุลลอฮ์  หรืออัลลอฮ์  หรืออ่านยาวให้สั้น  อ่านสั้นให้ยาว  ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งต้องห้ามทั้งสิ้น
   ข.  สำหรับการเรียกว่า  ฮุวะ, ฮูวะ  ซึ่งคำนี้เป็นคำสรรพนามบุรุษที่สามดังปรากณในอัล-กุรอานมากมายเช่น

ความว่า  “อัลลอฮ์  คือ  ผู้ที่ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากเขา  (พระองค์)”

ความว่า  “พระองค์ผู้มีชีวิต  ไม่มีพระเจ้านอกจากพระองค์”
ท่านอิหม่ามฟัครุรอซีย์  ได้กล่าวในคำอธิบายซูเราะฮ์ อัล-ฟาตีฮะไว้อย่างละเอียดว่า  คำว่า  ฮุวะ  อาจเป็นนามหนึ่งของอัลลอฮ์  โดยได้นำหลักฐานมาประกอบประมาณยี่สิบหลักฐาน  ซึ่งในเรื่องนี้  ข้าพเจ้าเห็นด้วย
ปัญหาที่เกี่ยวกับคำว่า “ฮุวะ” นี้  เป็นปัญหาที่ขัดแย้งกันอยู่  กล่าวคือมีทัศนะเป็นสอง  มีหลักฐานทั้งสองทัศนะ  จึงเป็นปัญหาที่ต่างก็มีหลักฐานด้วยเหตุนี้  จึงไม่เป็นการยุติธรรมที่จะปรักปรำหรือตำหนิทัศนะที่เราไม่เห็นด้วย  เพราะเขาก็มีหลักฐาน  สรุปแล้วปัญหาปลีกย่อยทั้งหมดมีทัศนะที่แตกต่างกัน  กล่าวคือ  มีคิลาฟซึ่งมีทฤษฎีระบุว่า  “เมื่อในเรื่องใดมีความกำกวม  ก็จะเอามาเป็นหลักฐานไม่ได้”

ค.  ส่วนคำว่า  อาฮ์  นั้น อีหม่ามอัซซาซิลีย์  (อบุ้ลหะซัน)  ตลอดจนบรรดาสานุศิษย์  เช่น อะบิ้ลอับบาส  อัลมุรซีย์  อิบนุอะตออุลลอฮ์  และท่านเชค อัล-หะนะฟีย์  แม้ในตำราค้นคว้าของซาซิลีย์เช่น  กิดร่อตุ้ลอัซรอร  อัล-มาฟากิร  และอัล-ล่าตออิฟ  ไม่ปรากฏเป็นซิเกรในทัศนะของท่านเหล่านี้  นอกจากผู้อาวุโสชาวซาซิลียะฮ์  บางท่านในรุ่นหลัง ๆ ที่กล่าวว่าคำนี้เป็นซิเกร
เป็นไปได้ว่า  หลักฐานที่เด่นที่สุดในเรื่องนี้  คือบันทึกของอัล-มัรฮูมอัซเชค  อัซซ่อวาฮิรีย์  เชคอัซ-ฮัรในอดีต  และบันทึกของอัลมัรฮูมอัซเชคอิมรอนอัซซาซิลีย์  ในยุคปัจจุบันนี้
บรรดาผู้ที่ซิเกรด้วยคำนี้  ต่างยอมรับกันว่า  การซิเกรด้วยคำนี้  มีผลสูงมากซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จาการทดสอบ  และสัมผัสโดยตรง  ดังนั้น  จึงจะปรักปรำหรือชมเชยอย่างหนึ่งอย่างใดยังมิได้  จนกว่าจะได้ศึกษาจากหลักฐานเสียก่อน
ชาวซาซิลีย์ที่ไม่ซิเกรด้วยคำนี้ก็มีเช่น  หิซอฟียะฮ์ฮามีดียะฮ์  มูฮัมมะดียะฮ์  และผู้ที่ซิเกรด้วยคำนี้ก็มี เช่น อัล-ฟาซิยะฮ์  อัซซาซิลียะฮ์
สำหรับบิดาของข้าพเจ้า  ท่านไม่ปรักปรำ  และก็ไม่ชมเชย  ไม่สนับสนุน  ท่านกล่าวว่า  ข้าพเจ้าไม่มีคำสั่งใช้ให้ซิเกรด้วยคำนี้  และก็ไม่มีคำสั่งห้ามมิให้ซิเกรด้วยคำนี้
จริง ๆ แล้ว  เราเป็นผู้เจริญตาม  เราจะไม่ตำหนิผู้ที่ซิเกรด้วยคำนี้เมื่อเขามีหลักฐาน  และเราก็จะไม่ตำหนิผู้ที่ไม่ซิเกรด้วยคำนี้  เมื่อเขามีหลักฐาน
ง.  สำหรับในเรื่องของเงื่อนไขที่ว่า ศิษย์(มุรีด)  ต้องนึกถึงเชค (ครู)ด้วยนั้น  พวกเขากล่าวกันว่า  จุดมุ่งหมายสำคัญที่ให้นึกอย่างนั้น  ก็ต้องการรวบรวมพลังและขจัดความสับสนหรือความนึกคิดเรื่องอื่น ๆ  โดยพยายามทุ่มเทหัวใจ  นึกถึงแต่สิ่งที่ดี  เป็นการเตรียมใจยึดหัวใจ  มันเป็นเพียงสะพานชั่วคราวเพื่อที่จะเตรียมเข้าสู้พระผู้อภิบาล  ซี่งเมื่อรวบรวมสมาธิให้อยู่กับครูอยู่กับนะบีได้แล้ว  ทั้งครูและนะบีก็จะผลักดันให้มุรีดสู่อัลลอฮ์  นี่เป็นเพียงขั้นตอนโดยเริ่มจากากรนึกถึงสิ่งที่ไม่จีรัง  ไปยังสิ่งที่จีรัง  นี่คือจุดมุ่งหมายของพวกเขา
การนึกถึงรูปครูมิได้เป็นเงื่อนไข  แต่เป็นเพียงผลจากการทดลองที่ควรกระทำเท่านั้น  โดยเหตุนี้จึงมีเชคเป็นจำนวนมากไม่กล่าวถึงเรื่องนี้
อย่างไรก็ดี  ในเรื่องนี้มีการวิเคราะห์ที่ละเอียดอ่อนและลึกซึ้งมาก
ดังกล่าว  จึงเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเพื่อก้าวสู่การตะอับบุด  และใช้เวลาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
อันการนึกถึงนะบี ศ้อลฯ  และเชคในขณะซิเกรนั้นเหมือนกับผู้ละหมาดที่นึกถึงสวรรค์ นรก  มนุษย์  ญิน  สภาพวันมะห์ซัร  ตลอดจนความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ์  ซึ่งการนึกถึงในสิ่งเหล่านี้  ไม่ได้ทำให้เสียละหมาด  และก็ไม่ถูกประณามว่านอกรูปแบบ  หรือเป็นกาเฟร
จ.  ในการที่มุรีด (ลูกศิษย์)  ยอมรับกับเชค (ครู)  ว่าตนมีความผิดนั้นก็ไม่ได้เป็นเรื่องหะรอมแต่อย่างใดตัวท่านเองเวลาท่านไปหาหมอ  ท่านก็ไปบอกอาการต่าง ๆ ของท่านให้หมอฟัง เชค (ครู)นี้  เขาเป็นครูของท่านเป็นครูของวิญญาณท่าน  ท่านจงถามแนวทางรักษาโรคทางวิญญาณจากเขาโรคดังกล่าวนั้นคือนัฟซูเลาวามะฮ์  ซึ่งคำนี้เป็นภาษาอัล-กุรอาน
ในฮาดีสมีปรากฏว่า  ผู้คนได้ไปหาท่านนะบี ศ้อลฯ  แนได้ทำอย่างนั้น  อย่างนี้ดังเช่นเรื่องของมาอิซหรือเรื่องของอัล-ฆอมิดียะฮ์  เขาทั้งสองมาสารภาพผิดต่ร่อซูล ศ้อลฯ  เคยชี้แจงในความผิดของผู้สารภาพนั้นหรือว่าทำไปเถิด  อัลลอฮ์ทรงรักท่าน  อัลลอฮ์ทรงให้อภยท่าน  โดยธรรมชาตินั้นมนุษย์ต้องการคำชี้นำ  ต้องการคำตักเตือน

ความว่า  “ศาสนา  คือการชี้นำ  และการตักเตือน
อัลลอฮ์มิได้กล่าวไว้หรือว่า

ความว่า  “พวกท่านจงถามผู้มีความรู้”
อีกทั้งบรรดาอายะฮ์ต่าง ๆ ในอัล-กุรอาน  ต่างแสดงว่า  บรรดามุมินหรือมิใช่มุมิน  ต่างก็มาหาท่านนะบี  ศ้อลฯ  เพื่อนำเรื่องราวต่าง ๆ มาบอกบ้างและเพื่อขอให้ท่านชี้แจงบ้าง  เช่น โองการต่อไปนี้

ความว่า  “เมื่อบรรดาผู้ศรัทธา  ในโองการต่าง ๆ ของเรา  ได้มายังท่าน ท่านจงกล่าวว่า  สะลามุนอะลัยกุ้ม (สันติแด่พวกท่าน)”
และโองการอื่นอีกมากมาย  ซึ่งทั้งหมดนั้น  ย้ำให้ไปหาคนดีมีคัณธรรมเพื่อขอให้เขาช่วยแนะนำ  ซึ่งในการนี้ก็ต้องอธิบาย  และแหดงออกถึงความต้องการให้เขาช่วยแนะนำ  ซึ่งในการนี้ก็ต้องอธิบาย  และแสดงออกถึงความต้องการให้ผู้มีคุณธรรมนั้นได้รู้  ซึ่งก็คล้ายกับการไปสารภาพผิดให้เชค  หรือครูให้รู้  เพื่อหาแนวทางสูความพอพระทัยของอัลลอฮ์(ซ.บ)
ข้าพเจ้าไม่เห็นว่า  เป็นเรื่องที่ต้องห้ามแต่อย่างใดที่มุรีด (ลูกศิษย์)  จะขอให้เชค (ครู)  ช่วยแนะนำตักเตือนในการทำผิดของเรา  ในอัล-กุรอานมีกล่าวว่า

ความว่า  “และการงานของพวกเขา ก็คือการปรึกษาหารือในหมู่พวกเขา”  ข้าพเจ้าเข้าใจว่า เท่าที่กล่าวมานี้  คงเป็นการพอเพียงแล้ว
และหากจะมีการโต้แย้งว่า  นี่เป็นการขออภัยในลัษณะเดียวกันกับบางศาสนาที่สาสนิกชนได้ไปสารภาพผิดกับผู้นำทางศาสนา  จริง ๆ แล้วมีความแตกต่างกัน  กล่าวคือ  พวกเขายึดมั่นกันว่า  ลำพังการยอมรับหรือสารภพผิดก็เป็นการเปลื้องโทษแล้ว  หมายถึงเพียงการสารภาพผิดกับโป๊ป  ก็หมายถึงได้รับอภัยแล้ว  แต่ ณ ที่นี้ เชค (ครู)  จะเป็นผู้แนะนำให้ผู้กระทำผิดได้กระทำในสิ่งที่อัลลอฮ์จะให้อภัย  เป็นการเตาบะฮ์  การอิสติฆฟาร  การทำซอดาเกาะฮ์  การทำอิบาดะฮ์  แล้วก็ให้ขอจากอัลลอฮ์เพียงพระองค์เดียว  ซึ่งหากพระองค์รับก็ได้รับอภัย  แต่หากไม่รับก็ยังไม่ได้รับการให้อภัย  นี่เป็นความแตกต่างระหว่างการมีชิริก  กับการมีเตาฮีด

ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #35 เมื่อ: ก.ย. 11, 2013, 03:08 PM »
0
คำถามที่สิบเอ็ด
   ก.  ศาสนามีหู่ก่มอย่างไร  กับการนอบน้อม  และตะวัซซุล  (ทำเป็นสื่อ)  กับบรรดาชาวกุโบร
   ข.  การพึ่งเชค  ทั้งๆ  ที่ผู้เป็นที่พึ่ง  คือ  อัลลอฮ์
   ค.  เมาลิดที่มีสิ่งต้องห้ามปะปน
ตอบ
   ก.  การตะวัซซุลยังอัลลอฮ์  ด้วยสิ่งที่  หรือผู้ที่เป็นที่รักนั้นเป็นปัญหาเก่าแก่  ซึ่งทั้งสมัยชาวสลัฟ  และคอลัฟ  ต่างก็มีทัศนะแย้งกัน  กล่าวคือ  มีทั้งฝ่ายที่ยอมรับและฝ่ายที่ปฏิเสธ  ผู้ที่มีทัศนะในเชิงปฏิเสธ  ก็เช่น  ท่านเชคอิบนุตัยมียะฮ์  ส่วนผู้ที่ทัศนะเชิงเห็นด้วย เช่น  ท่านเชคอิบนุหะญัร  และอิหม่ามเซากานีย์  โดยเฉพาะตามที่ท่านได้กล่าวไว้ใน  อัดดุรรุนนะดีด  ท่านเซากานีย์  ท่านนี้เป็นผู้รู้ระดับอวุโส  ของชาวสลัฟ  ส่วนท่านอีหม่ามอาลูซีย์นั้น  ท่านได้อธิบายเรื่องนี้ไว้ละเอียดมาก
   ศาสนาอิสลามยอมรับในเรื่องตะวัซซุล  ส่วนความขัดแย้งที่มีอยู่นั้นเฉพาะในเรื่องสำนวน  และวิธีการ  และเป้าหมาย  ในที่นี้ไม่สามารถนำหลักฐานมากล่าวได้ขอให้ท่านค้นคว้าได้จากหนังสือของข้าพเจ้าชื่อ  อัล-วาซีละฮ์  ซึ่งมีรายละเอียดกล่าวไว้มากมาย
   ความสำคัญอยู่ตรงที่  ต้องมุ่งการขอไปยังอัลลอฮ์เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น  การกล่าวหรือนึกตะวัซซุลต่อสิ่งใด ๆ นั้น  เป็นการยืนยันในความมุ่งหมาย  และเป็นการยอมรับในความบกพร่องที่มีต่ออัลลอฮ์
   และเนื่องจากตัวผู้ขอเองมิได้เป็นผู้ที่อัลลอฮ์ท่านจะรับดุอาเสมอไปจึงได้ตะวัซซุลต่อสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงรับการขอดุอา  ทั้งนี้โดยหวังว่า  ดุอาที่ขอไปนั้นจะไม่ถูกปฏิเสธ
   การขอก็มาจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และขอต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.)  ทั้งในตอนเริ่มและตอนจบ  เช่นขอว่า  “โอ้อัลลอฮ์(ซ.บ.)  ขอได้โปรดประทาน........และ..........โดยตะวัซซุลต่อท่านด้วยกับ........”  เช่นนี้  ไม่ถือว่าเป็นความผิด  และไม่ถือว่าเป็นชิริกแต่อย่างใดดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่  อีหม่าม  หะซันอัล-บันนาเห็นด้วย
   การตะวัซซุลนั้น  มิได้เป็นวายิบ  แต่เป็นเพียงสิ่งที่ทุกคนพึงจะเลือกกระทำได้  โดยเงื่อนไขว่า  บันปลายของการขอนั้น  มิใช่ขอจากมนุษย์  ไม่ว่าจะเป็นคนเป็นหรือคนตาย  ดังนั้น  หากใครผิดไปขอจากมนุษย์  เขาก็เป็นคนที่น่าเวทนา  ซึ่งควรได้รับการชี้แจงและช่วยเหลือ
   ที่จริงนั้น  ไม่ว่าจะโง่กันขนาดไหน  เขาก็ยอมรับอย่างเด็ดเดี่ยวว่าอัลลอฮ์เป็นผู้บันดาล  มนุษย์เป็นเพียงวะซีละฮ์  ซึ่งมิได้มีอิทธิพลใดๆ  ต่ออัลอฮ์เลย  จึงไม่เรียกว่าเป็นผู้สิ่งสภาพจากการเป็นมุสลิม  เมื่อปากกาพาไป  หรือลิ้นพาไป  เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ  ซึ่งต้องยอมรับว่า  ไม่มีการยับยั้งความผิดพลาดของตัวเองได้หมด
   ในเรื่องนี้มีหลักฐานอยู่มากมาย  ซึ่งสำนักพิมพ์มะญัลละฮ์  มุสลิมได้เคยพิมพ์เป็นเล่มใช้ชื่อว่า “ก่อตอยา  อัลวะซีละฮ์ วัล-กุบุร”
   ปัญหาปลีกย่อยนั้น  มีคิล๊าฟกันทั้งนั้น  แม้การกระดิกนิ้ว  ในตอนอ่านตะซะฮุด  ดังนั้น  สิ่งที่มันเป็นความสะดวกสำหรับผู้อื่น  มันก็ย่อมสะดวกสำหรับเรา  ทั้งนี้หากมีเอกภาพในแนวทางเดียวกัน
   ข.  ผู้ที่พึ่งเชคนั้น  จริง ๆ แล้ว  ก็คือศึกษาหาความรู้จากเชค  ขอคำแนะนำจากเชค  และให้เชคช่วยขอดุอาให้จริง ๆ แล้ว  อาการซึมซับ  และอิทธิพลจากคนที่สนิทหรือคนรัก  หรือคนที่เคารพนั้น  สัมมพันธ์และสร้างขวัญตลอดจนกำลังใจให้แก่กันได้
   เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ล่อแหลมมาก  ไม่มีใครเข้าใจได้ลึกซึ้ง  นอกจากผู้ที่มีปัญญาเท่านั้น
   ค.  สำหรับเมาลิดในปัจจุบันนั้น  มีทั้งสิ่งที่เป็นศาสนา  หมายถึงศาสนาสนับสนุน  และศาสนาปฏิเสธการอรรถาธิบายในเรื่องนี้อย่างครบวงจรนั้นต้องอาศัยข้อมูลมากมาย  ซึ่งสามารถค้นคว้าได้จากหนังสือในแนวนี้

ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #36 เมื่อ: ก.ย. 11, 2013, 03:09 PM »
0
คำถามที่สิบสอง
   ก.  ศาสนามีข้อชี้ขาดอย่างไรกับการเดินขบวนของชาวซูฟี  ตลอดจนการเต้นและการตีฉิ่ง  ตีกลองประกอบ
   ข.  ธงประจำคณะ
   ค.  การแต่งกายประจำคณะ
   ง.  การสวมสายสะพาย
   ฉ.  การโพกผ้าสาระบั่นที่มีสีหลากสี


ตอบ
   ก.  กลอง  ปี่  แตร  ตลอดจนการเต้นและการโห่ร้องน้น  เราได้อธิบายมาแล้วว่าเป็นสิ่งต้องห้าม(หะรอม)  โดยมติของปวงปราชญ์  เป็นการเล่นที่ผิด  ศาสนาไม่อนุญาต  (อีกทั้งมิใช่สิ่งที่มนุษย์ที่พรั่งพร้อมด้วยปัญญาพึงกระทำ)
   ส่วนการเดินเป็นแถวเป็นขบวนนั้น  เคยมีรูปแบบมาแล้ว  ในวันที่อัลลอฮ์ได้ประกาศถึงความสมบูรณ์แห่งศาสนา  โดยบรรดามุสลิมีนได้จัดขบวนเป็นสองแถวแถวหนึ่งมี  ท่านอุมัร บิน อัล-ค๊อตต๊อบเป็นหัวหน้า  และอีกแถวหนึ่งมี  ท่านฮัมซะอ์  บินอับดุลมุตตอลิบเป็นหัวหน้าขบวนได้เดินไปยังถนนหนทางและหุบเขาต่าง ๆ ทั่วมักกะฮ์  โดยเปล่งเสียง  “ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮุ อัลลอฮุอักบัร  ด้วย  และก็มีขบวนจากชาวเมืองมะดีนะฮ์เดินกล่าวตักบีรในยามค่ำของวันอีด  และมีขบวนของผู้บำเพ็ญฮัจย์  กล่าวตัลบียะฮ์นอกจากนั้น  บรรดาผู้แทนที่ไปทำการเผยแผ่อัล-อิสลามก็กล่าวตักบีร  และตะฮ์ลีลกันเป็นคระ  ทั้งหมดนี้คือ  ตัวอย่างหรือที่มาซึ่งการเดินขบวนของชาวซูฟี
   ข.  สำหรับธง  การเดินทัพหรือการนำกองทัพสู่สมรภูมิ  ในสมัยแรก  ของอิสลามก็นำด้วยผู้ถือธง  จนกระทั่งเมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่เก้าได้นำทัฟมาทำสงครามกับชาวคิมยาต  อีหม่ามชาวซูฟีผู้ยิ่งใหญ่คือ  ท่านเชค อะบุ้ล  หะซัน อัซซาซิบีย์  จึงได้เรียกร้องให้ผู้คนเข้าสู่แนวรบเพื่อทำการผลักดันและต่อสู้กับกองทัพของพระเจ้าหลุยส์  ได้มีการตีกลองสงคราม  จนบรรดาผู้นำศาสนาในสมัยนั้นได้เข้ามาร่วมทำศึกกับฝ่ายศัตรูในครั้งนั้นอย่างพร้อมเพรียงกัน  ซึ่งมีซุลตอนุลอุละมาอ์  อิซซุดดีน  บิน  อับดุสศลาม,  อีหม่ามผู้รายงานหะดีส  ซะกียุดดีน  อัล-มุนซิรีย์  (ผู้แต่งอัตตัรฆีบ  วัตตัรฮีบ)  และมะกีนนุดดีน,  อิบนุดะกีกิ้ลอีด์  และบรรดาผู้คนจากชนบท,  อิบนุซซอลาฮ์  อิหม่ามแห่งอุละมาอ์วิชาอุศูล  และท่านอื่น ๆ รวมทั้งบรรดาประชาชนทุกหมู่เหล่าด้วย
   สำหรับอะบุ้ลหะซัน  ซึ่งตาบอดนั้น  ท่านได้ออกสู้รบด้วยความทรหดโดยมีกองทัพนับพันออกไปร่วมผลักดันกองทัพฝรั่งเศส   พวกเขาพลีชีวิตและทรัพย์สินเพื่อร่วมกันปกป้องอธิปไตยของพวกเขาโดยทุกหัวเมืองหรือทุกกลุ่มจะมีธงประจำหัวเมือง  หรือประจำกลุ่มซึ่งนักรบทั้งหลายก็จะอยู่ภายใต้ธงประจำกลุ่มของตนและเมื่อได้รับชัยชนะในการต่อสู้ครั้งนั้น  โดยจับพระเจ้าหลุยส์และนักรบไว้ในฐานะเชลยศึก  ได้คุมขังไว้ที่บ้านของอิบนุลุกมาน (เป็นชาวซูฟี)  ที่เมืองมัมซูเราะฮ์  (ปัจจุบันยังคงมีอยู่แต่ได้ปรับปรุงให้เป็นพิพิธภัณฑ์)
   และแต่ละกลุ่มก็ได้เก็บรักษาธงประจำกลุ่มไว้เพื่อเป็นบ่ารอกัต  และเป็นการระลึกถึงประวัติศาตร์แห่งการต่อสู้ของพวกเขา  แล้วชาวซูฟีบางท่านก็ได้ให้เป็นมรดกสืบต่อแก่ผู้ใกล้ชิด  และบ้านเมืองของเขา  จนกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งกลุ่ม  ได้เปลี่ยนโฉมจากความเดิมไปเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้อารมณ์ของตัวเอง  เป็นสำคัญสำหรับในตอนที่ระดับความเชื่อถือของผู้คนที่มีต่อแนวทางนั้ลดถอยลง
   ค.  สำหรับการแต่งกายที่ไม่เหมือนใครนั้น  ก็ไม่เคยพบว่ามีวะลีย์ของอัลลอฮ์ท่านได้กระทำอย่างนั้นซึ่งเป็นการแต่งกายที่แปลกไปจากผู้อื่นซึ่งมีหะดีษกล่าวว่า

   ความว่า  “ใครแต่งกายด้วยอาภรณ์ที่แปลกหรือเด่น  อัลลอฮ์ก็ให้เขาแปลกหรือเด่นด้วยการแต่งกายนั้นๆ”
   ชาวซูฟีที่บริสุทธิ์  เขาจะไม่สนใจ (ห่างไกล)  กับสิ่งเล็กน้อยนี้  สำหรับท่าน อุมัร ร่อดิยั้ลฯ  ที่สวมใส่   المرقعة   นั้น  ท่านได้สวมใส่เพื่อเพื่อโชว์เหมือนกับที่ผู้อื่นสวมใส่
   ง.  ส่วนการสวมใส่สายสะพายนั้น  วันหนึ่งข้าพเจ้าได้ถามคนซอและห์คนหนึ่งที่สวมสายสะพายซึ่งมีเขียนข้อความถึงต่อรีเกาะฮ์ที่เขาสังกัดอยู่ฉันถามเขาว่า  ท่านครับ  หากท่านใส่สายสะพายนี้เพื่อให้อัลลอฮ์ท่านรู้จักตัวอ่านดีกว่าท่านรู้จักตัวเองเสียอีกแต่หากท่านสวมใส่เพื่อให้มนุษย์รู้จักท่าน  ท่านก็เป็นผู้ที่อวดซึ่งหมิ่นต่อการเป็นชิริกมาก  เมื่อชายผู้นั้นได้ฟังก็จึงถอดสายสะพายนั้นออกแล้วกล่าวว่า

ความว่า  “ท่านได้ช่วยให้ฉันหลุดพ้น  ซึ่งอัลลอฮ์(ซ.บ.)  จะช่วยให้ท่านหลุดพ้นจากความผิด”
   ดังนั้น  โอ้  พวกพ้องของฉันทั้งหลายที่รู้  เขาต่างรู้กันว่า  มันเป็นเรื่องอันตราย  มันเป็นการโอ้อวดที่มีความผิดอันมหันต์
   สำหรับการโพกผาสาระบั่นที่มีสีหลากสีนั้นไม่ปรากฏหลักฐานว่าท่านร่อซู้ล ศ้อลฯ  ได้โพกอื่นจากสีขาวนอกจากสีดำที่ท่านโพกอยู่สองวันคือวันอุฮุด  และฮุเนน  ในตอนที่มุสลิมพ่ายแพ้  แล้วบรรดาพวกซาตานก็ประกาศว่า  ร่อซูล ศ้อลฯได้เสียชีวิตแล้ว ท่านร่อซูล ศ้อลฯ ได้โพกผ้าสีดำดังกล่าวเพื่อเป็นการลวงตาพวกเหล่านั้น  และเพื่อเป็นการยืนยันในคำเท็จที่พวกมุชริกีนนำมาอ้าง  จึงชี้ให้เห็นว่า  ท่านโพกสีดำด้วยเหตุนั้น  และในเวลานั้น  ดังนั้นนักวิชาการต่างมีมัศนะที่สอดคล้องกัน
   หลังจากนั้น  ชาวชีอะฮ์ได้นำมาโพกเมื่อไว้ทุกข์การตายของท่านหุเซนและพวกอับบาซียูนก็ได้โพกเพื่อเหตุผลบางประการ
   สำหรับคำอ้างที่ว่า  สีเหลือง  เป็นเครื่องหมายของมะลาอีกะฮ์ในสงครามบะดัรนั้น  ไม่มีหลักฐานททางวิชาการระบุถึง
   ส่วนใหญ่รายงานว่า  ท่านร่อซูล  ศ้อลฯ  โพกด้วยสีขาวเหมือนเมฆหมอก  ส่วนที่กล่าวถึงสีผ้าสาระบั่นสีสันอื่น ๆ นั้น  ล้วนเป็นฮาดีสที่เชื่อไม่ได้  อ่อนมากหรือเป็นฮะดีสเมาดั๊วะ  ซึ่งจะเอามาเป็นหลักฐนไม่ได้โดยเฉพาะชาวซูฟีนั้น  พวกเขาถือว่า  สิ่งใดที่ไม่มีหลักฐานแข็งแรงพอนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม(หะรอม)
   และแม้จะมีรายงาน ซอฮาบะฮ์ผู้อาวุโส  อย่างเช่น อะบาดุญานะ   และแม้จะมีรายงาน ซอฮาบะฮ์ผู้อาวุโส  อย่างเช่น อะบาดุญานะฮ์  ท่านมีผ้าสาระบั่นสีแดง  ซึ่งท่านเรียกมันว่า  สาระบันแห่งความตาย  ท่านโพกมันในตอนที่ประจัญบานกับฝ่ายศัตรู  และเมื่อถูกถาม  ท่านตอบว่า  เพื่อบรรดามุสลิมีนจะฮ์  ท่านมีผ้าสาระบั่นสีแดง  ซึ่งท่านเรียกมันว่า  สาระบันแห่งความตาย  ท่านโพกมันในตอนที่ประจัญบานกับฝ่ายศัตรู  และเมื่อถูกถาม  ท่านตอบว่า  เพื่อบรรดามุสลิมีนจะได้จำฉันได้  เมื่อฉันได้รับเกียรติให้สิ้นชีพในสมรภูมิรบ(มรณสัขขี)  จะสังเกตเห็นว่าท่านมิได้โพกเพื่อโอ้อวด  หรือโพกเพื่อเกียรติยศทั้ง ๆ ที่ จริง ๆแล้ว ท่านร่อซูล ศ้อลฯ มิทรงชอบผ้าสีแดงที่ไม่มีลายเป็นเส้น ๆ
   สำหรับสาระบั่นสีเขียวนั้น  ผู้ที่นำมาโพกเป็นคนแรก  คือ  ซุลต่าน ซะบาน บิน หุเซน อิบนุมูฮัมมัดบิน กอลาวูน  ในสมัยหุกมุ้ลมะมาลิก  โดยได้เจาะจงการโพกสีดังกล่าวเฉพาะผู้คนภายในครอบครัว  ทั้งนี้ด้วยเหตุผลบางประการดังที่อัล-อะดาวีย์ได้กล่าวไว้ในมะซาริกุ้ลอันวาร  และท่านซัลลันญี่ได้กล่าวไว้ใน  นูรุ้ลอับซอร  ซึ่งปรากฏว่าในเรื่องนี้  บรรดาอุละมาอ์มีทัศนะในเชิงคัดค้าน
   ดังนั้น  ใครก็ตามใช้ผ้าที่มีสีสันต่าง ๆ เป็นปกติวิสัย  ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร  แต่หากเป็นการใช้เพื่อสักการะ (ตะอับบุด)  หรือเพื่อสังกัดอยู่ในแนวทางหนึ่งทางใด  ก็ไม่มีกุรอานหรือฮาดีสตอนใดสนับสนุน  เพราะการใช้ทำนองนั้น  อาจเป็นความคลั่งไคล้ (ตะอัซซุบ)  ซึ่งท่านนะบี ศ้อลฯ  กล่าวว่า......
لَيْسَ مِنا من دَعَاإِلى عَصَبِيةٍ
ความว่า  “ไม่ใช่พวกเรา  ผู้ที่เรียกร้องให้เกิดความคลั่งไคล้”  ก็เป็นการยกย่องตัวเอง  และเป็นการโฆษณาถึงเกียรติยศ  อัล-กุรอานกล่าวว่า....

   ความว่า  “และพวกท่านอย่าชมเชยตัวเอง”
   และก็อาจจะมีเหตุผลเพื่อสักการะ  ซึ่งการสักการะนั้น  ให้กระทำตามที่ศาสนากำหนดไว้เท่านั้น
   และก็อาจจะเข้าใจว่าเป็นบ่าร่อกัต  ซึ่งก็จะไม่มีบ่าร่อกัตในสิ่งใด ๆ นอกจากที่อัลลอฮ์(ซ.บ.)และร่อซูล ศ้อลฯเสนอไว้
   ดังนั้น  การใช้ผ้าสีดังกล่าวต้องใช้โดยปกติวิสัยที่ชอบสีนั้น  เพื่อจะได้ไม่มีความผิด  ทั้งนี้หากชอบสีนั้นแต่ก็ต้องไม่ได้เพื่อโอ้อวด  หรืออื่นใดที่อัลลอฮ์(ซ.บ.)  และร่อซูล ศ้อล ฯ ทรงกริ้ว

ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #37 เมื่อ: ก.ย. 11, 2013, 03:13 PM »
0
คำถามที่สิบสาม
   ถาม  ศาสนามีข้อตัดสินอย่างไรกับความเชื่อที่ว่าเชคบางท่านสามารถล่วงรู้ถึงสิ่งเร้นลับ  ทั้งๆ ที่อัล-กุรอานก็ยืนยันว่า  แม้ร่อซูล ศ้อลฯ  ก็ไม่อาจรู้สิ่งเร้นลับได้
   ตอบ  ในเรื่องนี้ไม่ควรถามอย่างมีเงื่อนงำเพราแท้จริงสิ่งเร้นลับนั้นมีสองประเภท  คือ.-
      1.  غَيْبٌ حَقِيْقي   
      2.  غَيْبٌ مَجَازِي
   ประการแรกหมายถึง  สิ่งเป็นความรู้  ซึ่งอยู่ในคลังแห่งความรู้ของอัลลอฮ์ซึ่งไม่มีใครรู้ได้  นอกจากพระองค์เพียงองค์เดียว
   ประการที่สองหมายถึง  สิ่งที่อัลลอฮ์เปิดเผยให้ผู้ที่พระองค์ต้องการให้รู้ได้รับรู้  ได้แก่ความรู้ที่มะลาอีกะฮ์  และญิบรีลเป็นผู้นำมา  เช่นความรู้เกี่ยวกับคืนลัยละตุ้ลกอดัร  เป็นต้น
   ตามความหมยประการที่สองนี้ เชน  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งส่วนใดของจักรวาล  ผู้ที่สนใจก็จะรู้  ส่วนผู้อื่นก็จะไม่รู้
   สำหรับประการแรกนั้น  อัลลอฮ์ (ซ.บ.)  เท่านั้นที่รู้

   ความว่า  “และ ณ พระองค์นั้น  มีกุญแจแห่งสิ่งเร้นลับ  ซึ่งไม่มีผู้ใดรู้ถึงมันนอกจากพระองค์เท่านั้น”
   และในบางครั้ง  พระองค์ก็จะให้ร่อซูลของพระองค์บางท่านรู้  ทั้งนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนการเป็นร่อซูลของพวกเขา
              
ความว่า  “ผู้ทรงรู้เรื่องเร้นลับ  และไม่เปิดเผยความเร้นลับนั้น  แก่ผู้ใดนอกจากแก่ร่อซูลบางท่านที่พระองค์ยินดีให้รู้”
โองการกุรอานซูเราะห์ อัล-ญิน 27
   ดังเช่นนะบีอีซาได้แจ้งแก่ประชากรในสิ่งที่พวกเขากิน  และสิ่งที่พวกเขากักตุนไว้ในบ้านของพวกเข
   และดังเช่นที่ร่อซูล ศ้อลฯ  ได้บอกเราถึงสัญลักษณ์แห่งการเป็นนะบีของท่านในเรื่องปรากฏการณ์  และเหตุการณ์ต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นในชีวิตของงท่านและหลังจากที่ท่านวะฝาตแล้ว  ซึ่งก็เป็นไปตามที่ท่านกล่าวทุกประการ
   มีคนบางคนเป็นคนของอัลลอฮ์  ที่เรียกว่า  อะฮ์ลุลลอฮ์  ดังมีฮาดีสที่ซอเฮี๊ยะห์ระบุไว้  ซึ่งบางคนอัลลอฮ์ (ซ.บ.ป  ได้ให้เขาได้รู้สิ่งเร้นลับทั้งในแง่หะกีกีย์และมะญาซีย์  ทั้งนี้ก็โดยความโปรดปรานของพระองค์  ดังปรากฏในอัลกุรอานว่า......

   ความว่า  “พระองค์ทรงรู้สิ่งที่อยู่เบื้องหน้าและเบื้องหลังของพวกเขาพวกเขาไม่รู้ในสิ่งที่พระองค์รู้นอกจากเป็นบางสิ่งที่พระองค์ประสงค์ให้รู้เท่านั้น”
   หมายถึงอัลลอฮ์ (ซ.บ.)  ท่านได้ทรงโปรดปรานต่อคนบางคนบางคนเป็นพิเศษให้ได้รู้บางอย่างจากอาณาจักรแห่งความรู้ของพระองค์  ไม่มีใครจู้ได้ด้วยความสามารถ  ของตนเอง  หรือด้วยความปรารถนาของตนเอง  นอกจากอัลลอฮ์ท่านจะมีพระประสงค์ให้รู้เท่านั้น  ดังที่มีกล่าวในอัล-กุรอานว่า......
                              
ความว่า  “จงกล่าวเถิด  ฉันไม่มีอำนาจให้คุณและให้โทษแก่ตัวฉันนอกจากเป็นไปโดยอัลลอฮ์ทรงประสงค์และมาดแม้นฉันรู้สิ่งเร้นลับ  แน่นอนฉันก็คงรวบรวมสิ่งที่ดีไว้ได้มากมาย  และคงจะไม่มีความเลวร้ายใด ๆ มาสัมผัสแก่ฉันได้  ฉันนี้หาใช่ใครไม่  นอกจากเป็นผู้ตักเตือน  และผู้แจ้งข่าวประเสริฐแก่บรรดาผู้ศรัทธา”
อัล-อ๊ะร๊อฟ 188
   หมายถึง  ฉันไม่รู้อะไรเลย  นอกจากสิ่งที่ผู้อภิบาลของฉันได้สอนฉันและได้เปิดเผยให้แก่ฉัน  และโองการทำนองนี้ยังมีอีกมากมาย  ซึ่งทั้งหมดนั้นคือ    اَلْغَيْبُ الْحَقِيْقي   
   ส่วน   الغَيْبُ الْمَجَازِي   นั้นก็คือ  ส่วนหนึ่งจากความรู้ที่มาจากพระองค์  ซึ่งมิใช่เป็นความรู้ที่ปิด  ซึ่งในเรื่องนี้  ท่านอีหม่ามอัล-อะลูซีย์ได้จำแนกไว้อย่างละเอียดและมีประโยชน์มาก
   ส่วนหนึ่งจากความรู้ดังกล่าวก็คือ  การใช้ชัยตอน  หรือใช้ญิน  หรือการมีจิตอันบริสุทธิ์  ไม่นึกสิ่งใดนอกจากอัลลอฮ์  ซึ่งสิ่งเหล่านี้  คือสภาพของวะลีของอัลลอฮ์

ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #38 เมื่อ: ก.ย. 11, 2013, 03:14 PM »
0
คำถามที่สิบสี่
   ถาม  อ้างกันว่า  บรรดาเชค (ครู)  นั้น  ไม่มีความผิด  กล่าวคือ  ได้รับการคุ้มครองในเรื่องความผิดจากอัลลอฮ์
   ตอบ  คำว่า  อิศมะฮ์  หรือผู้ที่ได้รับความคุ้มครองให้คลาดแคล้วหรือไม่มีความผิดนั้น  คือนะบี ๆ ของอัลลอฮ์เท่านั้น  สำหรับอื่นจากนะบี ๆ  หากได้รับความคุ้มครองไม่ให้มีความผิด  เขาก็คือนะบี  แต่ไม่มีนะบีหลังจากท่านนะบีมูฮัมมัดแล้ว  และก็ไม่มีใครที่จะอ้างว่าตนได้รับความคุ้มครองจากอัลลอฮ์ให้ไม่มีความผิดนอกจากชาวขีอะฮ์  ที่ต่างเข้าใจว่า  ผู้นำของพวกเขาได้รับสิทธิอันนี้  สำหรับชาวซูฟีที่เฉลียวฉลาดนั้น  เขาไม่เข้าใจกันว่าเชคหรือครูของเขาไม่มีความผิด  ดังนั้น  ซูฟีที่ลุ่มหลงหรือหลงใหลไม่อยู่ในครรลองนั้น  จะนำมาพิจารณาไม่ได้
   พวกเขาได้บันทึกจาก  อะบี อัล-หะซัน  อัซซาซิลีย์ว่า......

   ความว่า  “อัลลอฮ์ได้ทรงเทิดวะลีของพระองค์ด้วยการ (หิฟซิ)  รักษาเหมือนกับได้เทิดนะบีของพระองค์ด้วยการ (อิศมะฮ์)  คุ้มครองไม่ให้มีความผิด”
   ความแตกต่างระหว่างหิฟซิ  และอิศมะฮ์นั้น  ชัดเจนมาก  เพราะอิศมะฮ์นั้น  อัลลอฮ์ประทานให้ในลักษณะให้เปล่าหรือให้เป็นรางวัล  ส่วนหิฟซินั้นต้องใช้ความพยายาม  มันคือผลพวงของการวิเคราะห์  การระมัดระวังและความสำรวม

   ความว่า  “อัลลอฮ์ (ซ.บ.)  เป็นผู้รักษาที่ดีที่สุด  พระองค์มีรักมากกว่าความรักของบรรดาผู้ที่มีความรักทั้งหลาย”
   จริง ๆ แล้ว  บรรดาผู้ที่คลั่งไคล้หรือบ้าคลั่งนั้นมีอยู่ในทุกนิกายและทุกศาสนา  ซึ่งความผิดที่เกิดขึ้นนั้นมันคือความผิดที่เขาทำ  มิใช่ความผิดของศาสนาหรือนิกายที่เขาสังกัด
 คำถามที่สิบห้า
   ถาม  หลักการว่าอย่างไร  ในการสืบสันติวงศ์หรือรัชทายาท  ที่บรรดาเชค(ครู)  ได้ให้ลูกหลานในตระกูลสืบต่อ
   ตอบ  หากในครอบครัวของเชคมีผู้ที่สามารถแบกรับภาระในการเผยแพร่เชิญชวนในเรื่องที่ถูกต้องต่อไปได้  ก็ไม่เป็นที่ต้องสงสัยว่า  ผู้ที่มีความสามารถนั้นย่อมมีสิทธิในการนั้น  ดังในอัล-กุรอานกล่าวว่า.....

   ความว่า  “แท้จริงอัลลอฮ์ได้ให้เกิดวงศ์วานของอิบรอฮีม  และวงศ์วานของอิมรอน  เหนือชาวโลกทั้งหลาย  (เป็นลูกหลานปกครองกันต่อ ๆ ไป)”
   นะบีอิบรอฮีมนั้น  เป็นบิดาของบรรดานะบี ๆ ทั้งหมด  กล่าวคือ  นะบีทั้งหมดนั้นเป็นคนในตระกูลเดียวกัน  ดังนั้น  ไม่ว่าจะเป็นทางปัญญาหรือทางศาสนามิได้คัดค้านในเรื่องนี้  ทั้งนี้  หากเป็นผู้ที่รับผิดชอบอะมานะฮ์นั้นได้
   ท่านนะบีสุลัยมาน  ก็ได้สืบทอดต่อให้แก่นะบีดาวูดดังกล่าวว่า....

   ความว่า  “สุลัยมานได้สืบต่อให้ดาวูด”
   และในซอเฮี๊ยะห์กล่าวว่า......

   ความว่า  “ใครที่ฉันเป็นเมาลาของเขา  ดังนั้นอะลีย์เป็นเมาลาของเขา”
   
   ความว่า  “บรรดามุมินูน  และมมินาตนั้น  ต่างเป็นวะลีซึ่งกันและกัน”
   หากผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนั้นไม่มีคุณสมบัติ  เช่นไม่เหมาะสม  ก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องต่อการที่จะให้ดำรงตำแหน่งนั้น  ซึ่งไม่เพียงแต่ศาสนเท่านั้นที่จะกำหนดหลักพิจารณาไว้อย่างนั้น  แม้สังคมมนุษย์  ความรู้สึกของมนุษย์ก็ไม่ยินดีที่จะให้สังคมมีผู้นำที่ไม่เหมาะสม
          
ความว่า  “ในเมื่อได้เป่าสังข์วันนั้น  ก็จะไม่คำนึงถึงเชื้อสายในหว่างพวกเขา  และก็จะไม่มีการสอบถามกัน”
ซูเราะห์อัลมุอ์มินูน 102
   ลองพิจารณา ณ ทีนี้  ถึงนะบีนูฮ์  และลูกชายตลอดจนฟิรอูน  และภรรรยาของเขา

ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #39 เมื่อ: ก.ย. 11, 2013, 03:15 PM »
0
คำถามที่สิบหก
   ถาม  คนที่เป็นวะลีนั้น  เพราะเขาสถาปนาตัวเองหรือเมื่อคนอื่นเรียกว่าเป็นวะลีกระนั้นหรือ?  ทั้ง ๆ  ที่วะลีนั้นเป็นความเร้นลับอย่างหนึ่งระหว่าบ่าวและผู้อภิบาลของเขา
   ตอบ  ได้อธิบายมาแล้วถึงวิลายะฮ์ว่า  คือ  ผู้ที่มีคุณสมบัติ  มีอะลามัตครบวงจร  ซึ่งแปลว่าใครมีคุณสมบัติครบ  ผู้นั้นก็เป็นวะลีของอัลลอฮ์  ดังหลักฐานจากอัล-กุรอานที่ว่า.....

   ความว่า  “พึงรู้ว่า  แม้จริงวะลี ๆ  ของอัลลอฮ์นั้นพวกเขาไม่กลัว  พวกเขาไม่โศกเศร้า  พวกเขาคือผู้ที่มีศรัทธา  และเป็นผู้ที่มีความยำเกรง(ตักว่า)”
   เมื่อมีอิหม่าน  มีตักวา  และมีความเหมาะสม  ก็เรียกว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติครบที่เรียกว่า  วิลายะฮ์  ดังนั้นอีหม่าน  ตักว่า  และความเหมาะสมจึงเป็นเครื่องหมายของวิลายะฮ์มนุษย์พึงรู้จักได้  และเมื่อใครมีคุณสมบัติครบดังได้กล่าวนี้  เขาก็จะเป็นผู้ที่มีความสุขุม  น่าเกรงเป็นผู้ที่มีบ่าร่อกัตดังมีฮาดีสกล่าวว่า.....

   ความว่า  “แท้จริงอัลลอฮ์นั้น  เมื่อพระองค์ทรงรักบ่าวคนใด  พระองค์ก็จะเรียกญิบรีลมาบอกว่า  ฉันรักบ่าวคนนั้น  แล้วญิบรีลก็จะรักด้วย  แล้วก็จะบันทึกให้เขาซึ่งการยอมรับ  หรือรับรองทั้งบนผืนแผ่นดินนี้และบนฟากฟ้า”
   ผู้ที่เป็นวะลี  หรือมีลักษณะของวิลายะฮ์นั้น  ต้องเป็นผู้ที่มีสมองสมบูรณ์มีความเข้าใจในศาสนาของอัลลอฮ์ถูกต้องชัดเจน
   การที่เรียกคนบางคนว่าเป็นวลี  โดยที่เขาแสดงน  หรืออวดอ้างหรือแสดงท่าทางด้วยการแต่งกายเฉพาะ  มีการใช้ชีวิตเฉพาะ  โดยมิได้มีองค์ประกอบหรือคุณสมบัติตามที่ปรากฏในอัล-กุรอาน  นั่นคือ วะลีย์ของซัยตอน  ไม่ว่าจะแสดงท่าทีอย่างไรจะไม่เป็นผู้พิชิตแม้ว่ามนุษย์ทั้งหมดและญินอีกทั้งหมดจะรวมกันเชื่อถือในตัวเขาก็ตาม  เพราะการมีผู้เชื่อถือหรือปฏิบัติตามมาก ๆ นั้น มิใช่หมายถึงผู้นั้นเป็นวะลี  บึงพิจารณาว่ามีใคร  หรือที่จะมีสมุนหรือผู้ถือตามมากกว่าอิบลีส

ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #40 เมื่อ: ก.ย. 11, 2013, 03:16 PM »
0
คำถามที่สิบเจ็ด
   ถาม  ศาสนาว่าอย่างไรกับการที่อ้างกันว่าบรรดาวะลี ๆ  จะให้ความช่วยเหลือ (ซะฟาอะฮ์)  ต่อผู้ที่ปฏิบัติตามเขา  อีกทั้งจะอยู่ร่วมกับเขาในกุโบรตอนที่ผู้ตามเขากำลังถูกสอบสวน?
   ตอบ  การที่มุมินกับมุมินจะชะฟาอะฮ์  (ช่วยเหลือ)  ซึ่งกันและกันในวันกิยามะฮ์นั้น  เป็นเรื่องที่ไม่มีการขัดแย้ง  หมายถึง  เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ดังนั้น  เพียงการเป็นอิสลามด้วยกัน  ก็ย่อมซะฟาอะฮ์กันได้แล้ว  หากจะมีอะไรพิเศษยิ่งไปกว่าการเป็นอิสลามเฉย ๆ  ก็ย่อมยิ่งซะฟาอะฮ์กันได้

   ความว่า  “ไม่มีใครให้ความช่วยเหลือได้  นอกจากได้รับอนุมัติจากพระองค์”
   เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้  ที่บรรดากลุ่มตอรีเกาะฮ์  บางกลุ่มสนับสนุนและเชื่อกันว่า  เชคของเขาจะเข้าไปช่วยเหลือเขาในกุโบรด้วย  มีผู้ที่ทำลายอะลิ้ลหะซันอัซซาซิบีย์  ได้เคยสร้างความนิยมให้แก่เขา  โดยอ้างว่าเขาสามารถช่วยเหลือสานุศิษย์ได้ถึงในหลุมศพ  เป็นคำนิยมหรือยกย่องในแบบกระแทกกระทั้น  และเชคซูฟีรายอื่น ๆ  ก็เคยถูกเชือดเฉือนด้วยวิธีการเดียวกันนี้อีกหลายท่าน  มันเป็นเรื่องที่ไม่กินในปัญญา  และไม่มีหลักฐาน
   ข้าพเจ้าเคยถามผู้ที่เชื่อแบบหลงใหลคนหนึ่งว่า  หากสานุศิษย์ของเชคประมาณสิบคนตายในสถานที่ต่าง ๆ กัน  ซึ่งตายในเวลาเดียวกัน  ก็หมายถึงพวกเขาจะต้องถูกสอบสวนในเวลาเดียวกัน  เชคของท่านจะไปอยู่เป็นเพื่อนกับสานุศิษย์คนไหนในกุโบร?   หรือว่ามะลาอิกะฮ์มุงกัรและนะกีรจะรอจนกว่าเชคได้เสร็จภาระจากสานุศิษย์ที่ตายรายอื่น ๆ เสียก่อน (ผู้ที่มีความเข้าใจทำนองนั้น  เป็นผู้โอหัง  อวดดี  เคารพครูแบบหูหนวกตาบอดถือครูเป็นเทพเจ้า)
   ไม่มีหลักฐานจากอัล-กุรอานและอัล-ฮาดีส  ไม่ว่าจะเป็นหลักฐานใด ๆ  ที่พอจะให้เข้าใจได้ก็ไม่มีนักวิชาการของเราบางท่านถึงกับกล่าวว่าใครเชื่อดังกล่าวเขาลื่นตกไปอยู่ในกลุ่มกาเฟรที่บูชาเทวรูป
   มันคือที่มาของความเจ็บปวดอย่างหนึ่งที่ทำให้เนื้อแท้ของเจตนาอันบริสุทธิ์ของตะเซาวุฟต้องเกิดการสับสนปนเป  เมื่อได้มีการโจมตีหรือใส่ร้ายเกิดขึ้นในรูปนี้
   มีสิ่งตีพิมพ์บางฉบับ  โจมตีในลักษณะยกขึ้นให้สูง  แล้วโยนทิ้ง  ทำให้ภาพพจน์ของความถูกต้องพลอยคลอนแคลนและสกปรกไปด้วย  หนังสือบางเล่มถึงกับตีพิมพ์ว่า  “อัลลอฮ์คือหนึ่งในสาม”  จงพิจารณาเถิดบรรดาผู้มีปัญญาทั้งหลาย

คำถามที่สิบแปด
   ถาม  ทำไมชาวซูฟีจึงให้ความสำคัญเรื่อง  ตู้บริจาคเพื่อการนะซัร  เราเกือบไม่พบว่า  ไม่มีตู้ในลักษณะนี้อยู่ที่สุสานของคนสำคัญ ๆ  เลย
   ตอบ  การนะซัรที่ถูกต้องนั้น  เป็นเรื่องที่ศาสนาบัญญัติไว้  ดังที่ท่านนะบี ศ้อลฯ  กล่าวว่า

   ความว่า  “และใครนะซัรว่า  จะตออัลต่ออัลลอฮ์จงให้เขาตออัต  และใครนะซัรว่า  จะทรยศต่ออัลลอฮ์อย่าให้เขาทรยศ”
   และอัลลอฮ์ (ซ.บ.)ทรงกล่าวว่า.....
 
ความว่า  “และจงให้พวกเขาปฏิบัติให้สมบูรณ์ซึ่งนะซัรของพวกเขา”
ซูเราะห์  อัล-ฮัจย์ 29

และอัลลอฮ์(ซ.บ.)กล่าวว่า.....
                
ความว่า  “และอันใดที่พวกท่านบริจาคเป็นทานหรือที่นะซัรไว้  แล้วได้ปฏิบัติให้สมบูรณ์การนั้น  อัลลอฮ์ (ซ.บ.)ท่านทรงรู้  พระองค์  จะทรงตอบแทนให้  และสำหรับผู้ที่ททรยศนั้น  ไม่มีใครให้วามช่วยเหลือเขาได้”
ซูเราะห์อัล-บากอเราะฮ์  270
   การนะซัรนี้  มีมาตั้งแต่ซารีอะฮ์ของนะบีท่านก่อน ๆ  ดังที่ปรากฏเกี่ยวกับเรื่องของมัรยัม  และมารดาของนางในซูเราะฮ์อาละอิมรอน
   นะซัรนั้น  แต่เดิมเป็นนะซัรเพื่ออัลลอฮ์

   ความว่า  “และใครนะซัรเพื่ออื่นจากอัลลอฮ์  แน่แท้เขาเป็นผู้ตั้งภาคี”
   คือได้กระทำเหมือนพวกตั้งภาคี  แม้ว่าจะยังไม่ถือหลุดออกจากศาสนาก็ตาม  เมื่อเข้าใจถึงเจตนารมณ์ของการนะซัรแล้ว  ก็ย่อมเข้าใจได้ว่าการนะซัรเพื่อหนทางแห่งการเผยแผ่  กล่าวคือ  เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่คณะผู้เผยแผ่  หรือเพื่อหนทางแห่งความดีอื่น ๆ ที่นำผลประโยชน์กลับสู่พี่น้องมุสลิม  ถือว่าผู้นะซัรย่อมได้รับกุศล
   แต่วิธีรวมนะซัร  และผลได้จากการนั้น  ตลอดจนการนำไปใช้จ่ายดังเช่นที่กระทำกันในปัจจุบัน  จะสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายหรือเจตนารมณ์ของการนะซัรหรือไม่?  เป็นเรื่องทีต้องพิจารณา
   ส่วนมากแล้วจะนำประดยชน์จากนะซัรนั้น  ไปเป็นของกระทรวงสาธารณสมบัติ  ซึ่งบางครั้งก็ไม่เป็นไปตามความประสงค์ของผู้นะซัร  และไม่เป็นไปตามจุดประสงค์ของศาสนา
   ในกรณีที่ผู้นะซัรไม่มีความเข้าใจ  เช่นมีกว่าวในการนะซัรว่า  นะซัรนี้สำหรับซัยยิด  อัล-บะดะวีย์หรือนะซัรสำหรับอัซซัยยิดะห์ซัยนับ  เราต้องเขาใจว่า  มันหมายถึงนะซัรเพื่ออัลลอฮ์และภาคผลของนะซัรนั้นสำหรับบะดะวีย์หรือซัยยิดะฮ์  จะกล่าวว่า  เขาเป็นซิริก  หรือกุฟรไมได้  จึงได้ความว่า  จุดมุ่งหมายในการนะซัรของเขาถูกต้อง  แต่ได้ใช้คำพูดที่ผิด
   เรายังคงจำกันได้ว่า  สะอั๊ด  ร่อดิยั้ลฯ  เมื่อเขาได้ขุดบ่อน้ำเรียบร้อยแล้วเขาได้กล่าวว่า  นี่สำหรับอุมมุซะดิน  โดยท่านร่อซูล ศ้อลฯ  ตลอดจนบรรดาซ่อฮาบะฮ์  มิได้กล่าวอะไรแก่เขา  เนื่องจากมีเจตนาที่ดี  และก็เป็นไปตามสำนวนของภาษาศาสตร์ของอาหรับอีกด้วย  นั่นคือ  ตัดมุด๊อฟ  อันหมายถึง (นี่เป็นของผู้อภิบาลของอุมมุซะดิน)  ดังนั้น  ผู้ที่กล่าวว่า (นี่เป็นของซัยยิด  อัลบะดะวีย์  หรือซัยยิดะห์  หรือหุเซน) เขาหมายถึง  นะซัรต่อผู้อภิบาลของซัยยิดหรือซัยยิดะฮ์หรือหุเซน)  เพียงแต่ไม่ได้พูดออกมาเท่านั้น  ดังเช่นที่เกิดขึ้นกับซะดุนนอะบีวะกอศ  และฮาดีสที่ว่า.....

   ความว่า  “แท้จริงงานต่าง ๆ  นั้น ขึ้นอยู่กับเจตนา (มิใช่อยู่กับคำพูด)”
   ทั้งหมดที่กล่าวมานี้  เป็นเรื่องปลีกย่อยที่ต้องอาศัยการวิเคราะห์  ซึ่งแน่นอน  ย่อมมีทัศนะและความคิดเห็นที่แตกต่างกัน  และก็จะเป็นเช่นนี้ไปจนถึงวันกิยามะฮ์ไม่มีใครแม้แต่คนเดียวในโลกนี้  ที่จะถือตามแนวทางหนึ่งทางใด  พร้อมกับเข้าใจว่า  แนวทางนั้นเป็นแนวทางสู่นรก
   ข้าฯ  ขอให้สิ่งที่ข้าฯ  ได้ใช้ความพยายามนี้เป็นกุศล  และขอได้โปรดอภัยให้แก่ข้าฯ  หากมันเป็นความผิดแน่นอน  นั่นมิใช่สิ่งที่ปรารถนา  พระองค์ผู้ททรงให้อภัยและรักใคร่ต่อปวงบ่าวเสมอ

คำส่งท้าย
ผมได้ถอดควาวมหนังสือ อัตตเซาวุฟ อัล-อิสลามีย์   ของท่านเชค มูฮัมหมัดซะกี อิบรอฮีมเล่มนี้เสร็จเมื่อเวลา 15.00 น.  ของวันศุกร์ที่ 15  รอมดอน  ฮ.ศ. 1409  ขออัลลอฮ์ (ซ.บ.)  ได้ประทานผลานิสงค์ในเจตนาดีของข้าฯ  และอภัยในเจตนาร้ายอันมีให้แก่ข้าฯ  และขอให้คุณความดีอันพึงมีจากการถอดความหนังสือนี้  จงเป็นของอาเยาะฮ์ของข้าฯ  และพี่น้องมุสลิมโดยทั่วไป

ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #41 เมื่อ: ก.ย. 18, 2013, 06:23 AM »
0
อัสสลามุอลัยกุม
อายะห์กุรอานไม่ปรากฏ
มีต้นฉบับภาษาอาหรับขอลงเพิ่มเติม
أبجدية التصوف
للرائد العارف بالله تعالى
الشيخ محمد زكى إبراهيم
رائد العشيرة المحمدية


السؤال الأول
1.   ما هو المقصود بالتصوف الإسلامى ؟
1.   وهل مورس هذا التصوف فى عهد رسول الله e ؟
2.   ولماذا يختلفون فى تعريف التصوف ؟
3.   ولماذا يختلفون فى تحديد مصادره ؟
* * *
الجواب :
1.   المقصود بالتصوف الإسلامى ، يعرف من تعريفاتة كثيرة :
التى تتلخص كلها فى أن :
" التصوف هو : التخلى عن كل دَنِى ، والتحلى بكلى سَنى "
سلوكاً إلى مراتب القرب والوصول ، فهو إعادة بناء الإنسان ، وربطه بمولاه فى كل فكر ، وقول ، وعمل ، ونية ، وفى كل موقع من مواقع الإنسانية فى الحياة العامة " .
ويمكن تلخيص هذا التعريف فى كلمة واحدة ، هى : ( التقوى ) فى أرقى مستويات الحسية ،والمعنوية .
فالتقوى عقيدة ، وخٌلق ، فهى معاملة الله بحسن العبادة ، ومعاملة العبادة بحسن الخلق ، وهذا الاعتبار هو ما نزل به الوحى على كل نبى ، وعليه تدور حقوق الإنسانية الرفيعة فى الإسلام .
وروح التقوى هو ( التزكى ) و ] قد افلح من تزكى [  " سورة الأعلى ، الآية : 14 .
 و ] قد أفلح من زكاها [ " سورة الشمس ، الآية : 9 ".
2.   وبهذا المعنى تستطيع أن تستيقن بأن التصوف قد مُورس فعلاً فى العهد النبوى ، والصحابة ، والتابعين ، ومن بعدهم .
وقد امتاز التصوف مثلاً بالدعوة ، والجهاد ، والخلق ، والذكر ،والفكر ، والزهد فى الفضول ، وكلها من مكونات التقوى ( أو التزكى ) وبهذا يكون التصوف مما جاء به الوحى ، ومما نزل به القرآن ، ومما حثت عليه السنة ، فهو مقام ( الإحسان ) فيها ، كما أنه مقام التقوى فى القرآن والإحسان فى الحديث : مقامُ الربانية الإسلامية ، يقول تعالى : ] كونوا ربانيين بكا كنتم تعلمون الكتاب بما كنتم تدرسون [ " سورة آل عمران ، الآية : 79 .
هذا هو التصوف الذى نعرفه ، فإذا كان هناك تصوف يخاف ذلك ، فلا شأن لنا به ، ووزره على أهله ، ونحن لا نُسأل عنهم فــ " كل امرئ بما كسب رهين " والمتصوف شئ ، والوفى شئ آخر .
3.   أما الاختلاف فى تعريف التصوف، فهو راجع إلى منازل الرجال فى معارج السلوك ، فكل واحد منهم ترجم أساسه فى مقامه ، وهو لا يتعارض أبداً مقام سواه ؛ فإن الحقيقة واحدة ، وهى كالبستان الجامع ، كلٌ سالك وقف تحت شجرة منها فوصفها  ، ولم يقل إنه ليس بالبستان شجرٌ سواها ومهما اختلفت التعريفات ، فإنها تلتقى عند رتبة من التزكى والتقوى : أى الربانية الإسلامية ، أى ( التصوف ) على طريق الهجرة إلى الله ] ففروا إلى الله إنى لكم منه نذير مبين [ " سورة الذرايات ، الآية 50 – وقال : ] إنى مهاجر إلى ربى [  " سورة العنكبوت ، الآية : 26 " .
فالواقع أنها جميعاً تعريف واحد ، يُكمل بعضه بعضاً .
4.   أما الاختلاف فى تحديد مصادر التصوف ، فدسيسة من دسائس أعداء الله ؛ فالتصوف كما قدمنا " ربانية الإسلام " ، فهو عبادة ، وخلق ، ودعوة ، واحتياط ، وأخذ بالعزائم ، واعتصام بالقيم الرفيعة ، فمن ذا الذى يقول : إنه هذه المعانى ليست من صميم الإسلام ؟
إنها مغالطات ، أو أغالط نظروا فيها إلى هذا الركام للدخول على التصوف من المذاهب الشاذة ، أو الضالة ، ولم ينظروا إلى حقيقة التصوف .
والحكم على الشىء بالدخول عليه / غلطٌ أو مغالطة .
والحكم على المجموع بتصرف أفراد انتسبوا إليه صدقاً أو كذباً : ظلم مبين ..
وهل من المعقول أن يترك المسلمون إسلامهم مثلاً لشذوذ طائفة منهم تشرب الخمر ، أو تمارس الزنا ، أو تحلل ما حرم الله ؟
وهل عملُ هؤلاء يكون دليلاً على ان الإسلام ليس من عند الله ؟! .... شيئاً من التدبر أيها الناس !!! .
* * *
السؤال الثانى
1.   من هو الصوفى ؟
2.   وبماذا يمتاز عن عامة المسلمين ؟
3.   وهل هناك فرق بينه وبين التقى ، أو المؤمن ، أو المسلم ، أو الصديق ؟
4.   وإذا لم يكن هناك فرق ، فلماذا الإصرار على استخدام الاصطلاح ؟
الجواب :
1.   تستطيع أن تعرف الصوفى الحق ، بأنه المسلم النموذجى ، فقد اجمع كافة أئمة التصوف على أن التصوف هو الكتاب والسنة ، فى نقاء وسماحة واحتياط ، وشرطه أئمة التصوف فى مريديها أخذاً من قوله تعالى : ] ولكن كونوا ربانيين بما كنتم تعلمون الكتاب وبما كنتم تدرسون [ " سورى آل عمران ، الآية 79 "
والعلم هنا أولاً : علم الدين بدعامتيه " الكتاب والسنة " ، ثم هما بدورهما منبع كل علم إنسانى نافع ، على مستوى كافة الحضارات ، وتقدم البشرية ، مقتضى تطور الحياة .
فالتصوف إذن هو : ربانية الإسلام الجامعة للدين والدنيا ( قال الشيخ شهاب الدين أبو حفص عمر بن محمد السهرودى رحمه الله تعالى : " إن الصوفى من يضع الأشياء فى مواضعها ويدبر الأوقات ، والأحوال كلها بالعلم ، يقيم الخلق مقامهم ، ويقيم أمر الخلق مقامه ، ويَستر ما ينبغى أن يُستر ، ويُظهر ما ينبغى أن يظهر ، ويأتى بالأمور من مواضعها بحضور عقل ، وصحة توحيد ، وكمال معرفة ، ورعاية صدق وإخلاص " { راجع الخطط التوفيقية لــ " على باشا مبارك رحمه الله تعالى جـ1 ص90 طبع المطبعة الأميرية سنة 1305 هـ } .
ومن هنا جاء قول أئمة التصوف ، وفى مقدمتهم ( الجنيد ) : " من لم يَحصل علوم القرآن والحديث ، فليس بصوفى " ،وأجمع على ذلك كل ائمة التصوف ، من قبل ومن بعد ، وتستطيع مراجعة نصوص أقوالهم عند القشرى ، والشعرانى ، ومن بينهما ، ومن بعدهما .
2.   أما الامتياز عن عامة المسلمين ؛ فالقاعدة الإسلامية هنا هى المل ؛ فإذا عمل الصوفى بمقتضى ما تتمين عليه كقدوة وداعية ، امتاز بمقدار جهده ، شأن كل متخصص وإلا فهو دون كل الناس إذا انحرف أو شذ ، بل إن تجاوز .
فالصوفية يجعلون خلاف الأولى فى مرتبة الحرام اتقاءً للشبهات ، واستبراءٌ للعرض والدين "ومن نصوص الحديث – كما فى الفتح الكبير قوله e :
{ الحلال بٍٍٍِِين والحرام بين ، وبينهما أمور متشبهات لا يعلمها كثير من الناس ، فمن اتقى الشبهات فقد استبرأ لعرضه ودينه ، ومن وقع فى الشبهات وقع فى الحرام ، كراع يرعى حول الحمى يوشك أن يواقعه ، ألا وإن لكل مَلك حمى ، ألا وإن حمى الله تعالى فى أرضه محارمه ، الا وإن فى الجسد مضغة إذا صلحت صلح الجسد كله ، وإذا فسدت فسد الجسد كله ، ألا وهى القلب ] . " رواه الأربعة ، والبخارى ومسلم " .
وهم يعرفون كيف أن السلف كانوا يتركون تسعة أعشار الحلال : خوف الوقوع فى الحرام ، فهم يؤمنون بهذا ، ويحاولون العمل به .
والله تعالى يقول : ] ولكل درجات مما عملوا [ " هو من كلام سيدنا عمر " ، فهم يؤمنون بهذا ويحاولون العمل به .
3.   أما مسألة الفرق بين الصوفى ، والمسلم ، والمؤمن ، والتقى :
فأن الإسلام شرع لنا تعريف الناس بخصائصهم ، وذكرهم بما يميزهم عن غيرهم ، وقد ذكر الله المهاجرين والأنصار بخصيصتهم : تعريفاً ، وهم مسلمون مؤمنون أتقياء ، وذكر رسول الله e بلالاً الحبشى ، وصهيباً الرومى ، وسلمان الفارسى بما يميزهم من الألقاب ، وهم مسلمون مؤمنون أتقياء .
وذكر القرآن من المسلمين أصنافاً : الخاشعين ، والقانتين ، والتائبين ، والمتصدقين ، والعادين ، والخامدين ، والسائحين وغيرهم ، وكلهم من أهل ] لا إله إلا الله [ .
إذن ، فذكر إنسان بخصيصة عُرف  بها عند الناس ، سنة قرآنية ونبوية ، وما دامت هذه الطائفة ، قد عرفت باسم الصوفية لسبب أو لآخر ، فليس بدعاً أن تُدعى بهذا الاسم .
ثم لماذا كل هذه الزوبعة هنا ، ولا تكون هناك زوبعة حين يقال (سلفية) ؟! ـو (أزهرية) ، أو (وهابية) ، أو (شافعية) ، أو (مالكية) ، أو(حنبلية) ؟! وهل كان فيما مضى ( جمعية كذا – أو جماعة كذا ) ؟
أرايت أن الأمر كان أهون من أن يكون سؤالاً ، لولا المذهبية المدمرة ، والتعصب الموبق 1؟
* * *
السؤال الثالث
ما رأيكم فيما يوجه للتصوف من اتهام بأنه يعود فى أصوله الأولى للبوذية ؟ والمجوسية ؟ والرهبانية ... ألخ ؟
الجواب :
قدمت أن التصوف الإسلامى ، هو الربانية ، فهو : إيمان وعمل ، وعبادة ، ودعوة ، وأخلاق ، وبر مطلق . وهو إرادة وجه الله فى كل قول وعمل ، أو نية ، أو فكر ، دنيوى أو أخروى ، وهو التساوى بالبشرية إلى مستوى الإنسانية الرفيعة ، فهو وحى من الوحى ، وهو الدين كل الدين ؛ لأنه بهذا الوصف ( طلب الكمال ) ، وطلبُ الكمال فرض عين ، وهو علاج لأمراض النفوس ، وما من إنسان إلا وهو مبتلى بجانب – قل أو كثر – من النقص الذى نسميه : مرض النفس ، أو الخلقُ ، وإنما جاءت رسالات السماء كلها لعلاج هذه الأمراض النفسية والخلقية أول ما تعالج فى بنى أدم .
ولما كان التصوف قد تخصص فى هذا الجانب ، كان طلبهُ فرضاً شرعياً ، وعقلياً ، وإنسانياً واجتماعياً – حتى يوجد الإنسان السوى الذى به تتسامى الحياة ، وتتحقق خلافة الله على أرضه ، وينتشر الحب والسماحة بين الناس ، وتأخذ الحضارة والتقدمية روحهما الإيمانى المحقُق لمراد الله .
وأدلة ذلك جميعاً مما لا يغيب عن صغار طلبة العلم ، ومما تزخر به علوم الكتاب والسنة .
ولا أعرف أن الكتاب والسنة نقلاً عن المجوسية ، والبوذية والرهبانية شيئاً أبداً ، وأنما هو الغل المورث للتهم الكواذب ، وتضليل خلق الله .
أما إذا كان المراد بالتصوف فى السؤال ، هو هذه الفلسفات الأجنبية عن العقيدة والشريعة ، فهذا باب آخر ، لا علاقة له بتصوف أهل القبلة ، والاحتجاج بهؤلاء علينا فيه تلبيس الحق بالباطل ، ثم إن أخذ البرىء بذنب المجرم : فعلة دنيئة .
على أن الذين اشتهروا بهذا الجانب الفلسفى ، ممن ينسبون إلى التصوف ، عدد محدود ، قد لا يجاوز العشرة ، وسواء قبلت فلسفتهم التأويل والتوجيه – ولو من وجه ضعيف – أو لم تقبل ، فهؤلاء ، وقد أصبحت كتبهم بما فيها من الأفكار أشبه بنواويس الموتى : تُعرض – إذا عُرضت – للزينة ، او التاريخ والعبرة ، فليس بين صوفية عصرنا من يرى رأيهم ، او يذهب مذهبهم ، سواء على ظاهره ، أو على تأويله .
وأين فكرٌ الجماهير من العمال والفلاحين ، وأنصاف المتعلمين ، أو حتى كبار المثقفين ، من كتب هؤلاء وألغازهم وأحاجيهم ؟!
هذا وإذا أمكن الحصول على الكتب وعلى والوقت ، وليس المر كذلك ، ولا شك أن الوقوف عند هذا الجانب فى هذا العصر : نوع من البحث الأثرى ، عن الحفريات المجهولة ، فى سراديب الرموس والأجداث : عصبية وحمية .
والغاضبون على التصوف جميعاً يحتجون بهؤلاء ، وقد انتهى أمر هؤلاء ، فقد كانت مذاهبهم شخصية ، لا تجد طريقها إلى الجماهير ، لحاجتها إلى استعدادات وقابليات ومدارك ، ومنطق لا يوافق لدى الكافة ومؤاخذة الخلف بفعل السلف- لو سلمنا جدلاً بأنهم سلف – أمر بعيد عن العلم والعدل .
والحكم على الكل بذنب البعض – لو سلمنا بهذه البعضية – أمر بعيد عن العلم والعدل .
ولو أننا إخواننا ( خصوم التصوف ) . نظروا إلى الواقع الفعلى . فكافحوا معنا منكرات العصر ومبتدعاته ، من نحو : الطبل ، والزمر ، والرقص ، وتحريف أسماء الله ، وغير ذلك من مناكر المواد ، والتجمعات العامة ، وأخذوا طريق التعاون بالحسنى ، والدعوة بالحكمة ، لكان هذا أدنى إلى الصواب وأهدى سبيلاً ، عند الله والناس .
أما حملتهم على هؤلاء الموتى ، ممن جنحوا إلى الفلسفة ، فاستئساد على الرمم ، وصيال فى غير مجال ، ومبارزة مع الهواء الطلق ؛ فهؤلاء الموتى ، ما يملكون الدفع عن أنفسهم ، وليس من ورائهم وراث يدافع عنهم ، إلا – إذا وجد – لمجرد التصويب وإحسان الظن بأهل القبلة ، أو لمجرد الثقافة والتاريخ .
وهنا أقر بملء الثقة واليقين ، أنًّ كل ما جاء منسوباً إلى التصوف مما يخالف الكتاب والسـنة ، مهما كان مصـدره ، فليس – فيما نرى – من ثمرة الإسـلام بوصـفه مقام ( الإحسان ) الذى سجله الحديث النبوى المشهور ، كما قدمنا ،وهو فى تساميه أبعد من لهو الفلسفة وعبثها ، وإن تأولت .
* * *

ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #42 เมื่อ: ก.ย. 18, 2013, 06:28 AM »
0
السؤال الرابع

ثابت أن المسلمين لم يعرفوا التصوف ، إلا بعد ثلاثة قرون من انتشار الإسلام .
1.   فهل يحتاج الإسلام إلى التصوف ؟
2.   هل التصوف يضيف جديداً إلى الإسلام ؟
3.   وما هو الفرق بين الزهد الإسلامى والتصوف ؟
الجواب :
من الذى قال بأن المسلمين لم يعرفوا التصوف إلا بعد القرون الثلاثة الأولى ؟
هذه مجازفة : ليست بعلمية ، ولا تاريخية ، وليس لها سند ، فإذا كان المراد بأنهم لم يعرفوا لفظ التصوف إلا بعد القرون الثلاثة، فليس هذا بصحيح أيضاً ( هذا الذى قالوه : إنما من كلام ابن تميمة رحمه الله تعالى ، قال فى كتابه " الصوفية والفقراء " :
" الحمد لله : أما لفظ الصوفية ، فإنه لم يكن مشهوراً فى القرون الثلاثة الأولى وإنما اشتهر التكلم به بعد ذلك .
وقد نقل التكلم به من غير واحد من الأئمة والشيوخ كالإمام أحمد بن حنبل ، وأبى سليمان الدرانى ، وغيرهما .
وقد روى عن سيفان الثورى أنه تكلم به ، وبعضهم يذكر ذلك عن الحسن البصرى .
وتنازعوا فى المعنى الذى أضيف إليه الصوفى ؛ فإنه من أسماء النسب كالقراشى ، والمدنى ، وأمثال ذلك ، فقيل : إنه نسبة إلى أهل الصفة ، وهو غلط ؛ لأنه لو كان كذلك لقيل : صُفّى .
وقيل : إنه نسبة إلى الصف المقدم بين يدى الله ، وهو أيضاً غلط ، فإنه لو كان كذلك لقيل : صَفُىٌ .
وقيل : نسبة إلى صوفة بن أُد بن طابخة قبيلة من العرب كان يجاورون بمكة من الزمن القديم ، ينسب إليهم النساك " إلى آخر ما قال) .
فقد اثبت مؤرخو اللغة وغيرهم أن هذا اللفظ كان عندما اشتهروا بالخشونة والرجولة ، ولبس الصوف ، والاستعداد للجهاد ، فإن تصوف المسلمين : دعوة إلى القوة ، والحرية ، والمساواة ، والتكافل ، والإخاء ، والتوحيد ، ومعالى الأمور ، لبناء شخصية المسلم المتكامل ، وكان عهد التدوين قد بدأ بمن كتب الحديث فى عهد رسول e ، وظل ينمو حتى ازدهر فى أواخر القرن الأول ، وأوائل الثانى ، بتحرير الحديث والفقه ، والتفسير ، واللغة ، وما إلى ذلك .
( وقال ايضاً بعد كلام :
" ... والصواب أنهم مجتهدون فى طاعة الله ، كما اجتهد غيرهم من أهل طاعة الله ؛ ففيهم السابق المقرب بحسب اجتهاده ، وفيهم المقتصد الذى هو من أهل اليمين ... " إلى آخر ما قال رحمه الله تعالى ، فراجعه هناك ." ) 
أما إذا كان المراد بأن مادة التصوف وحقيقته وأصوله وموضوعه لم تُعرف إلا بعد هذه المدة ، فالخطأ هنا يستحيل إلى خطيئة ، فمادة التصوف من حيث العبادة ، والخلق – على أوسع معانى العبادة والخلق – موجود مشهودة فى الكتاب والسنة ، شأن بقية مواد علوم الدين ، فإذا لم يكن لفظ ( التصوف ) موجوداً فى هذا العقد ، فقد كانت العبادات والأخلاق ، وتربية النفس ، ووسائل العفة بالله ، والارتفاع بإنسانية الإنسان ، كل هذه مسجلة فى دين الله ، وهى التصوف ( سماه الناس كذلك ) كل هذه مسجلة فى دين الله ، وهى التصوف ( سماه الناس كذلك ) فالاسم حادث ، والمادة قديمة بقدم الكتاب والسنة ، شأن بقية علوم الدين سواء بسواء .
ولم يكن هذا بدعاً  ، فلم يكن فى هذا العهد علم باسـم ( الفقه ) ولا باسم ( الأصول ) ولا باسم ( مصطلح الحديث ) ، ولا غير ذلك من علوم الدين ، ولكن المادة كانت موجودة بين دفتى الكتاب والسنة . فلا دٌونت العلوم ، ورٌسمت القواعد والمصطلحات ، أطلقت الأسماء حسبما رجحته الظروف الواقعية آنذاك .
وإذن ، فلماذا ننكر تسمية التصوف ، ولا ننكر تسمية بقية علوم الدين ، والشأن واحد !؟
ثم لماذا ننكر تسمية (التصوف) ولا ننكر تسمية (التسلف) ؟!
مزيد بيان التصوف :
فى " لسان العرب " لابن منظور يقول : " الصوف : للضأن ، والصوفه أخص ... ثم قال : والصوفة : كل من ولى شيئاً من عمل البيت الحرام وهو الصوفان .... وصوفة ... أبو حى من مضر ، كانوا يخدمون الكعبة فى الجاهلية ن وهى أعظم ما يولى يومئذ " ... ثم قال :
" وصوفة حى من تميم كانوا يجيزون الحاج فى الجاهلية من منى فيكونون أول من يدفع يقال فى الحج : أجيزى صوفة ... " .
وفى هذا المعنى يقول ابن الجوزى : أنبأنا محمد بن ناصر ، عن أبى اسحق إبراهيم بن سعد الحبال ، قال : قال أبو محمد بن سعيد الحافظ ، سألت  وليد بن القاسم : إلى أى شئ ينسب الصوفى ؟ فقال : كان قوم على دين إبراهيم فى الجاهلية يقال لهم : صوفة ، انقطعوا إلى الله عز وجل ، وقطنوا الكعبة ، فمن شبه بهم فهم الصوفية .
ثم قال : فهؤلاء المعرفون بصوفة ، ولد الغورث بن مر ، بن أخى تميم .
وفى المعجم الوسيط : " صَوف فلاناً : "جعله من الصوفية ، و"تصوف فلاناً " صار من لصوفية . " والتصوف " طريقة سلوكية قوامها التقشف والتحلى بالفضائل ،لتزكو النفس وتسمو الروح . " وعلم التصوف " مجموعة المبادئ إلى يعتقدها المتصوفة ، والآداب التى يتأدبون بها فى مجتمعاتهم وخلواتهم . و " الصوفى " من يتبع طريقة التصوف " .
وهكذا يتأكد : أن كلمة التوصف عربية قديمة ، فى لغة العرب ، فمن ارجعها إلى (سوفيا) اليونانية ، فقد جهل وانحرف وقلد العميان ، ومن أدعى إنها بدعة محدثة ، كان أشد جهلاً وانحرافاً ؛ فالتصوف أخلاق ، وعبادة ، ودعوة ، وجهاد ن وسلوك ، فهو وحى من الوحى ودين من الدين .
إن كلمة صوفى بعيدة كل البعد – من حيث المعنى – عن التأثر باليونان ، فقد عرفت واستعملت قبل نهاية القرن الثانى الهجرى ، حيث أطلقت على أبو هاشم الكوفى ( المتوفى سنة 150هـ ) ، وإن هذا النوع من التصوف وليد لحركة الإسلام ذاته ، وإن العرب استمدوا أول علمهم بفلسفة أرسطوطاليس " الذى نقل إلى العربية ، من شرح الأفلاطونية الحديثة ، وليس كتاب " أثولوجيا أرسطوطاليس " الذى نقل إلى العربية حوالى 840 م إلا ملخصاً لمذهب الأفلاطونية الحديثة . ويؤيد هذا الاتجاه المحقق من واقع التاريخ " عباس محمود العقاد " فى كتابة " الفلسفة القرآنية " حيث يقول : " لكن التصوف فى الحقيقية غير دخيل فى العقيدة الإسلامية ؛ لأنه – كا فلنا فى كتابنا – " أثر العرب فى الحضارة الأوربية " : مبثوث فى آيات القرآن الكريم ، مستكن بأصوله فى عقائده الصريحة . فالمسلم يقراً فى كتابه أن ] ليس كمثله شئ وهو السميع البصير [ " سورة الشورى ، الآية : 11 " فيقراً خلاصـة العلم الذى يعلمه دارس الحكمة الإلهية ، ويقر فى كــتابه ] ففروا إلى الله إنى لكم منه نذير مبين [ " سورة الذاريات : الأية 50 " فيعلم ما يعلمه تلاميذ المتصوفة البوذيين حين يؤمنون بأن ملابسة العالم تكاد تكون سعادة الروح ، وأن الفرار منه ، أو الفرار إلى الله : هو باب الجنة ... فالمسلم : الذى يقرأ الآيات – هو مطبوع على التصوف والبحث عن خفايا الآثار ودقائق الحكمة .
2.   أما : هل الإسلام يحتاج إلى التصوف ؟ فإذا كان الشىء يحتاج إلى نفسه ، جاز أن يقال : إن الإسلام يحتاج إلى التصوف .
الإسلام انقياد ظاهرى ، لا يتم إلا بالانقياد الباطنى ، وإلا كان نفاقاً .
والانقياد الباطنى هو : الإيمان بوصفه عملاً من أعمال القلب ، التى نسميها " التصوف " ، فليس التصوف شيئاً غير الإسلام ، حتى يقال :
إنه يحتاج إليه ، او يستغنى عنه ، إنما التصوف هو ذروة الدين كله  ، مقام " الإحسان " : التقوى ، والتزكية ، والربانية ، كما قدمنا ، فهو الغاية والثمرة التى لا تتاح إلا لسالك مريد موفقًّ ذَواق .
وهكذا نجد : أن السؤال الذى يقول : هل التصوف يضيف جديداً إلى الإسلام سؤال غير وارد ، والإجابة عليه واضحة فى الرد على الشطر السابق .
أين هذا السؤال من قوله تعالى :  ]اليوم أكملت لكم دينكم وأتممت عليكم نعمتى ، ورضيت لكم الإسلام ديناً [ " سورة المائدة ، الآية : 2 "
أن التصوف الحق هو : الإسلام فى اعلى مستوياته .
ومن اعجب العجب من بعضهم أن يكتب أنه يقبل أوصاف الشكر والصب والورع والزهد والذكر والفكر ، من كتب المتمسلفة ، ولا يقبلها من كتب المتصوفة ، تعصباً وغلاً للذين آمنوا
أما الفرق بينه وبين الزهد الإسلامى : فإن الصوفى أكبر من زاهد فى الدنيا ؛ لأن الزاهد إنما يزهد فى الدنيا ، وهى لا شئ ، فالزهد فى الدنيا زهد فى لا شئ ، والزاهد فى ( لا شئ ) غافل أو جاهل ، لكن زهد الصوفى منصب على كل ما يبعده عن الله ، على أى وضع يكون ، أما كل ما يكره بالله ( ولو على المال ) فليس هو بزاهد فيه .
دخل صوغى على أحد الخلفاء ، فحدثه ، فأجازه الخليفة بما لم يكافئ بمثله أحداً قبله : فاعتذر الصوفى عن قبول عطية الخليفة ، فاندهش الخليفة قائلاً له : ما أزهدك !! قال الصوفى : بل أنت أزهد منى يا أمير المؤمنين .
قال : كيف ؟
قال : لأننى أزهد فى الدنيا ، وهى لاشىء ، وأنت تزهد فى الآخر ، وهى كل شئ . "وهو نوع من التبكيت الواضح "
الزهد عند الصوفية : أن تكون الدنيا فى يده ، لا فى قلبه ، لأن الزاهد ( غير الصوفى ) تاجر ، يحرم نفسه من متع الدنيا ، ليعوضها أضعافاً فى الآخرة ، ولا كذلك الصوفى الذى لا يحرم نفسه متعة أحلها الله ، إلا إذا حجبته عن الله .
وهذا أبو الحسن الشاذلى t ، كان صاحب تجارات ومزارع ، وهذا شمس الدين الدمياطى ، كان تاجراً من أثرى علماء الصوفية ، وهو الذى بنى برج دمياط من ماله الخاص فى عهد السلطان الغورى ، وهذا الليث  بن سعد ، فقيه مصر ، وأمام زهادها ، كان أثرى أهل عصره . ولم تمنع هؤلاء أموالهم أن يكونوا أزهد الناس فى الدنيا إذا شغلتهم عن الله عز وجل . ولكنهم لم تشغلهم بعد ، بل كانت طريقهم إليه عز وجل !!
وهكذا يتضح  أن سحق الشخصية بالزهد المادى ، والتبتل البشرى مما لا تعرفه قوانين التصوف الإسلامى .
وقد كان من أعيان الزاهدين من الصحابة : بلال ، وسلمان ، وأبو ذر ن وتميم الدارى ، أول من جلس فى مسجد رسول الله e  أيام عمر يذكر الناس بالله فى يوم الجمعة .
فإنما الزهد فى حده المحدود ، مما جاء عن كثير من الصحابة والتابعين وتابعيهم كما أسلفنا .
وفى صدر هؤلاء جميعاً زهد ( العمرين ) ابن الخطاب ، وابن عبد العزيز بعد سيدنا رسول الله e ؛ فقد كانت الدنيا فى أيديهم ، ولم تكن فى قلوبهم ، فاستغنوا برب الدنيا عن الدنيا وما فيها ومن فيها .
إن الذى يملك هو الذى يملك ، وهو الذى يزهد ، أما الذى لا يملك ، ففى أى شئ يزهد ؟!

ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซูฟี ในมุมมองอิสลาม
« ตอบกลับ #43 เมื่อ: ก.ย. 18, 2013, 06:30 AM »
0
السؤال الخامس
بم تعلل فضيلتكم كون شيوخ التصوف من الفرس ، وأحفاد المجوس ، فى العصر الإسلامى ؟ وكيف تعلل ازدهار التصوف فى القرن السابع ، وما بعده بين العرب والمنتسبين إلى رسول الله e  ؟
الجواب :
ليتك يا ولدى لم توجه إلى هذا السؤال العنصرى الذى لا يرضاه الله ولا رسوله ، أو لم تقرأ  قوله تعالى : ] إن أكرمكم عند الله أتقاكم [ " سورة الحجرات ، الآية : 13 . وقوله تعالى : ] إنما المؤمنون إخوة [ وقوله e : " لا فضل لأبيض على احمر ، ولعربى على عجمى إلا بالتقوى " " وفى رواية ذكرها ابن كثير فى تفسيره لقوله تعالى : ] إن أكرمكم عند الله أتقاكم : ] يا أيها الناس ، وأن الله تعالى قد أذهب عنكم غبية بالجاهلية وتعظمها بآبائها ، فالناس رجلان : رجل يرتقى كريم على الله ، ورجل فاجر شقى هين على الله [ إلى آخر الحديث الذى رواه أبن أبى حاتم [ " . وقوله e " إن الله أذهب عبية الجاهلية وفخرها بالآباء ؛ مؤمن تقى ، وفاجر شقى ،أنتم لآدم وآدم من تراب . وقوله e ، وقد تمعر وجهه غضباً : " ليدعن أقوام بأقوام إنما هم حطب من حطب جهنم ، أو ليكونن أهون على الله من الجعلان التى تدفع بأنفها النتن " ومن نصوصه : ( لينتهين أقوام يفتخرون بآبائهم الذين ماتوا إنما هم فحم جهنم ، أو ليكونن أهون على الله من الجعل الذى يدهده الخراء بانفه . إن الله أذهب عنكم عبية الجاهلية فخرها بالآباء ؛ إنما هو مؤمن تقى ، وفاجر شقى ، الناس كلهم نو آدم ، وآدم من تراب " رواه الترمذى .
ألم يأتك أن سيدنا رسول الله e ألحق به سيدنا سلمان الفارسى ، فقال : " سلمان منا أهل البيت " – ألم يرسل الله رسوله للناس كافة بشيراً ونذيراً ؟!
إنها حمية الجاهلية ، يرددها ببغاوات البشر ، بلا تدبر ، ولا بينة ، وهل جاء الإسلام للعرب وحدهم ، فاغتصبه منهم غيرهم ، فأصبحوا منبوذين ؟!
لم هذه الشعوبية ، والعنصرية الكريهة ، التى ينكرها الإسلام ، وتنكرها الإنسانية الشريفة ؟!
أليس الإمام البخارى ، والترمذى ، والنسائى ، وابن ماجه ، والطبرانى ، والبيقهى ، والاكثرية الغالبة من رجال الحديث ، كلهم من غير العرب ، وكذلك طائفة من أكبر المفسرين ، كالزمخشرى ، والنيسابورى ، ، وطائفة من أكبر علماء البلاغة ، كالجرجانى ، والتفتازانى !؟    من هو طارق بن زياد ، وموسى بن نصير ، هذان الموليان القائدان الفاتحان ، اللذان أسسا للإسلام  مجداً تاريخياً ، لا يمحوه الزمان ؟
من هو ابو حنيفة النعمان ؟ اليس كان من الموالى ، ولولاه ما كان لبنى تيم الله ذكر ولا فخر " أبو حنيفة من الأفغان ، قالوا من كابل "
يا ولدى : إمام مصر الليث بن سعد ، أصله من ( أصبهان ) ، أمام أهل السنة ، احمد بن حنبل ، أصله من ( مرو ) والإمام المفسر الطبرى ، أصله من ( طبرستان ) ، والشعبى علامة التابعين وغمامهم ، كانت أمه من ( جلولاء ) ، والحسن البصرى ، الكوكب الفرد ، ، كان أبوه من ( ميسان ) .
وهذه علاّمة اللغة سيبويه ، فارسى الأصل ، والأمام الكسائى ، فخر اللغة العربية ، أصله من فارس ، وتلميذه الإمام الفراء من الديلم ، ثم أن إبن مسكويه وابن سينا ، والفارابى ، كانوا فرساً أعجمين .
اسمع يا ولدى : فقيه مكة ، عطاء بن رباح ، وفقيه الشام : مكحول ، وفقيه الجزيرة : ميمون بن مهران ، وفقيه خراسان : الضحاك بن مزاحم ، وفقيها البصرة والكوفة : إبراهيم النخعى وابن سيرين ، كل أولئك ليسوا من العرب أصلاً ، ولكنهم برزوا فى جوانب العلم والفكر والمعرفة والدين ؛ كانوا الأئمة بكل ما فى اللفظ من معنى يتجدد ولا يفنى .
إنما يتفاضل الناس بالأحلام " العقول " ، لا بالأرحام ، والناس عند الله سواسية كأسنان المشط ، والله يقول : ] و لا تنسوا الفضل بينكم [ " سورة البقرة : الأية : 237 " ولقد أمر رسول الله  e أسامة بن زيد ( مولاه ) على جيش كان فيه أبو بكر وعمر . وعندما أراد عمر أن يستخلف قال : " لو كان سالمُ مولى حذيفة حياً لوليته !! " .
تأمل هذا الموقف الخطير .
ا ولدى ها هام أهل العلم : لا يكادون يذكرون ابن عمر ذكروا معه مولاه نافعاً ، ولا يكاد يذكر أنس بن مالك ، إلا ومعه مولاه ابن سيرين . ولا يكاد يذكر ابن عباس ، إلا ومعه مولاه عكرمة . ولا يكاد يذكر أبو هريرة إلا ومعه مولاه ابن هرمز .... وما اكثر هذه الامثلة فى الإسلام .
لقد\ أطلت عليك – عامداص فى هذا المجال – يا ولدى ؛ فإن هذه الشعوبية هى التى كانت مسمار النعش فى وحدة الإسلام ، والتى انتهت بما يسمى زوراً " النهضة العربية " وهى التى قصمت ظهر الخلافة ، وشتت العرب أوزاعاً وشيعاً ودويلات هزيلة متناحرة باسم العروبة ، والقومية ، التى تٌستخدم الآن بلا وعى ولا تدبر .
ولنرجع إلى سؤالك فى تعليل كون بعض الشيوخ الصوفية اوائل من الفرس ؛ فهؤلاء الناس اجتهدوا فى هذا الجانب ، كما اجتهد غيرهم ممن ذكرنا أسماءهم ، فاستحقوا التقديم والإمامة كمسلمين ، فإذا قيل :
إنهم فعلوا ذلك ليحطموا الإسلام من الداخل ، فهذه قضية ، إذا فرضنا نهوض دليلها فى واحد  ، فلن ينهض هذا الدليل فى كل واحد . وفى كل طائفة طيب وخبيث ، والحلال بين والحرام بين ، ولو طبقنا قاعدة سوء الظن بالفرس ، أو بغير العرب عموماً ، لأذهبنا ثلثى علوم الإسلام ، ولكان أول ما ننبذه كتاب البخارى ، ومن والاه ، فهل هذا منطق يقول به إنسان سوى أو قاض منصف ؟ ( ألا يظن أولئك أنهم مبعثون . ليوم عظيم ) " سورة المطففين : الإية 4 ، 5 " أولا يذكرون قول الله تعالى : ] وقالوا ما لنا لا نرى رجالاً كنا نعدهم من الأشرار [ " سورة : ص : الآية 62 ."
إن من إحفاد المجوس : من خدم الإسلام أصدق الخدمات فى الثقافات والعلوم ، والفتوحات والفنون ... وراجع إن شئت من حضرنا ذكرهم وأسلفناه، ومن ورائهم صف شريف طويل معروف ، لم نشر إليه ، وهؤلاء شــأنهم – بالضبط شـأن كبار الصحابة ( وقد كانوا – أى الصحابة – من المشركين ) .
أما تعليل ازدهار التصوف فى القرن السابع ، وما بعده بين العرب ، والمنسوبين  بحق أو بباطل إلى رسول الله y فإن هذا السؤال يحتاج إلى تكملة : هى أن هذا الازدهار فى هذا القرن وما قبله ، كان بين العرب وغيرهم ، وكان هذا نتيجة لطبيعة الأشياء ؛ فإن تطور الدعوة الصوفية وامتدادها ، كان قد أهل الكثيرين للزعامة والاجتهاد فى هذا الوقت ، كثمرة للتفاعل ، والتطور فيما سبق هذا الزمان .
فمثلاً : نجد من صوفية القرن السابع أمثال أبى الحسن الشاذلى ، وأحمد البدوى . وابن دقيق العيد ، ومجد الدين القشيرى ، وزكى الدين المنذرى – ونجد من قبلهم فى القرن السادس أمثال أحمد الرفاعى ، وأبى مدين . ونجد فى القرن الخامس ، أمثال الغزالى ، وعبد القادر الجيلانى . وفى الثالث والرابع أمثال : الجنيد ، والشبلى ، ومن قبلهم ذو النون المصرى ، وأبو يزيد . ومن قبلهم الحسن المصرى ، وسفيان الثورى ، ومالك بن دينار ، وإبراهيم بن أدهم والفضيل بن عياض ، وشقيق البلخى ، وحاتم الأصم – بكل ما فى تواريخهم من صدق وكذب ، وأصيل ودخيل .
أضف إلى ذلك موضوع التطور والامتداد ، وقابلية البيئة ، بما كان من الحروب الصيلبيية والتترية والمغولية ، واضطراب عاصمة الخلافة ببغداد ، ومثل هذه الظروف بطبعها تدفع الناس إلى الله تلقائياً ، وقد جربنا نحن أخيراً فى العاشر من رمضان ، فمن أجل هذا وما هو منه ، أو يتعلق به ، كان هذا الازدهار الذى تشير اليه .

 

GoogleTagged