ผู้เขียน หัวข้อ: ได้หรือไม่ เอานิทานมาเป็นคำสอนทางศาสน&#  (อ่าน 6223 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ read

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 130
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด

ศาสนาสอนไว้ว่าอย่าง เกี่ยวเรื่อง เรื่องเล่า นิทาน นิยาย ที่เกี่ยวกับศาสนา โดยไม่หลักฐาน จาก ศาสนา ( อัลกุรอ่าน ฮาดิษ สะลัฟ และ บรรดา อุลามะห์)

1) ทิ้งไป
2) เป็นข้อคิด คติเตือนใจ
3) เป็นคำสอนของศาสนา

แต่สำหรับผมแล้ว และ พี่น้องคนอื่น คงไม่เอา เรื่องเล่า นิทาน นิยาย ที่เกี่ยวกับศาสนา โดยไม่หลักฐาน จาก ศาสนา  
เป็นคำสอนของศาสนา เหมือนโต๊ะครูวาฮะบี ท่านหนึ่ง ได้กล่าวหาพี่น้องดะวะห์ไว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เม.ย. 13, 2011, 02:37 PM โดย Al Fatoni »

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
بسم الله الرحمن الرحيم

الحمد لله رب العالمين و الصلاة والسلام على سيدنا محمد وعلي اله وصحبه أجمعين

การเล่าเรื่องราว( قصة )ของบรรดาผู้มีคุณธรรมนั้น  เพื่อเป็นอุทาหรณ์และคติเตือนใจ ( موعظة ) ไม่เป็นสิ่งที่ต้องห้ามในศาสนา   เช่นหนังสือ (กิตาบอัตเตาวาบีน)  كتاب التوابين  ของท่านอิมาม อิบนุ กุดามะฮ์ ,  หนังสือ (กิตาบอัตเตาวาบีน) كتاب التوابين  ของท่าน อิมามอิบนุ อัลเญาซีย์  ได้เล่าเรื่องราวต่าง ๆ จากการเตาบะฮ์ของผู้มีคุณธรรมเพื่อมีเป็นคติเตือนใจ  ,  หนังสือ (บุสตานุอาริฟีน) بستان العارفين  ของท่านอิมาม อันนะวาวีย์  ก็มีเรื่องเล่าของปราชญ์ซูฟีย์ผู้มีคุณธรรม  เพื่อเป็นคติและแบบอย่างในการมุ่งทำอิบาดะฮ์และมุ่งบำบัดจิตใจโดยกลับไปสู่อัลเลาะฮ์ ตะอาลา  , หนังสือ (ตัซกิเราะฮ์ อัลเมาตา) تذكرة الموتى  ของท่าน อิมามอัลกุรฏุบีย์  ก็มีเรื่องเล่ามากมายเกี่ยวความตาย เพื่อเป็นคติเตือนใจ  โดยไม่มีนักปราชญ์แห่งโลกอิสลามท่านใดให้การตำหนิและโจมตีบรรดาหนังสือดังกล่าวเหล่านั้น

แต่ในทางตรงกันข้าม  หากเราได้อ่านและศึกษาหนังสือ (อิจญฺมาอ์ อัลญุยูช อัลอิสลามียะฮ์) إجتماع الجيوش الإسلامية  ของท่านอิบนุก๊อยยิม  ที่พยายามกล่าวยืนยันเรื่อง อะกีดะฮ์ที่ว่า "อัลเลาะฮ์ทรงนั่งอยู่บนบัลลังก์"  โดยหนังสือเล่มดังกล่าว  มีหะดิษเมาฏั๊วะ(หะดิษกุ)มากมาย  มีการอ้างสนับสนุนทัศนะของอุลามาอ์โดยมีสายรายงานที่ฏออีฟและเมาฏั๊วะมากมายเช่นกันในการยืนยันหลักอะกีดะฮ์ความเชื่อดังกล่าว  แต่ทำไมผู้รู้วะฮาบีย์เมืองไทยบางท่านนำตำราดังกล่าวมาอ้าง  โดยสนับสนุนการโจมตีหนังสือที่มีเรื่องเล่าของปราชญ์ผู้มีคุณธรรมเพื่อเป็นอุทาหรณ์และคติเตือนใจ 
 
والله أعلى وأعلم
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged