1.) Kata Nama
หมายถึง คำที่ใช้เรียกสิ่งๆ หนึ่ง ทั้งที่อยู่สภาพที่เป็นรูปธรรม (Konkrit) และนามธรรม (Abstrak) หรือมีชีวิต (Hidup) และไม่มีชีวิต (Tak Hidup) ซึ่งโดยปกติแล้วจะใช้เรียกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งดังต่อไปนี้คือ
-
มนุษย์ (Manusia)
เช่น ibu (แม่), ayah (พ่อ), raja (ราชา), guru (ครู), murid (ลูกศิษย์) ฯลฯ
-
สัตว์ (Binatang)
เช่น burung (นก), kambing (แพะ), arnab (กระต่าย), ayam (ไก่), ikan (ปลา) ฯลฯ
-
สิ่งของ (Benda)
เช่น buku (หนังสือ), almari (ตู้), kolam (อ่างเก็บน้ำ), basikal (จักรยาน), meja (โต๊ะ) ฯลฯ
-
พืชพันธุ์ (Tumbuhan)
เช่น mawar (กุหลาบ), durian (ทุเรียน), kelapa (มะพร้าว), kubis (กะหล่ำปลี), cambu (ชมพู่) ฯลฯ
-
ความคิด (Pemikiran)
เช่น kaji (ศึกษา/วิจัย), pikir (คิด), renung (ไตร่ตรอง), analisa (วิเคราะห์), bicara (พิจารณา) ฯลฯ
-
ความเชื่อ (Kepercayaan)
เช่น Islam (อิสลาม), Buda (พุทธ), Kristian (คริสต์), Hindu (ฮินดู), Bahai (บาไฮ) ฯลฯ
-
ความรู้สึก (Perasaan)
เช่น suka (ชอบ), benci (เกลียด), cinta (รัก), marah (โกรธ), bimbang (ห่วงใย) ฯลฯ
-
รสชาติ (Rasa)
เช่น manis (หวาน), tawar (จืด), pedas (เผ็ด), pahit (ขม), masam (เปรี้ยว) ฯลฯ
ในภาษาไทยจะเรียกคำชนิดนี้ว่า
“คำนาม” นั่นเอง นอกจากนี้ Kata Nama ยังถือเป็นส่วนหลักของประโยคอีกด้วย
อนึ่ง เมื่อคำใดมี Kata Bilang (คำชี้จำนวน)
นำหน้าคำ หรือมี Kata Ganti Tunjuk (คำสรรพนามเจาะจง) คือคำ ini (นี้. นี่) หรือ itu (นั้น, นั่น)
ต่อท้ายคำ คำนั้นถือเป็น Kata Nama
นอกจากนี้ Kata Nama ยังจะถูกแยกย่อยออกมาเป็นอีกสามชนิดคำ ได้แก่
1.)
Kata Nama Am (คำนามสามัญ) 2.)
Kata Nama Khas (คำนามวิสามัญ) 3.) Kata Ganti Nama (คำสรรพนาม)
4.) Kata Bilangan (คำชี้จำนวน)
ซึ่งความหมายและรายละเอียดของแต่ละชนิดคำนั้น จะได้อธิบายเป็นการเฉพาะในลำดับถัดไป