ผู้เขียน หัวข้อ: ให้ค่าจ้างเพื่อมาสอนอัลกุรอานได้หรือไม่?  (อ่าน 3187 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ al-firdaus~*

  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 5015
  • เพศ: หญิง
  • 可爱
  • Respect: +161
    • ดูรายละเอียด

:salam:

อยากทราบว่า ถ้าเราจะจ้างครูมาสอนอัลกุรอานที่บ้าน
โดยที่เขาไม่ได้ร้องขอค่าจ้าง แต่เราอยากให้เพราะต้องการให้ซอดาเกาะฮ์ (เป็นรายเดือน จนกว่าจะเรียนจบ) ทำได้หรือไม่?

ออฟไลน์ ฮุ้นปวยเอี๊ยง

  • رَبِّ زدْنِيْ عِلْماً
  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 994
  • เพศ: ชาย
  • وَارْزُقْنِيْ فَهْماً
  • Respect: +116
    • ดูรายละเอียด
หุก่มที่สอง : อนุญาตในการรับค่าตอบแทนในการเรียนการสอนอัลกุรอ่านและความรู้ศาสนา?

บรรดาอุลามาอ์ให้เหตผลในคำกล่าวของอัลลอฮ์ซุบฮานาฮุวะตาอาลาที่ ว่า




แท้จริงบรรดาผู้ที่ปิดบังหลักฐานอันชัดเจนและข้อแนะนำอันถูกต้องที่เราได้ให้ลงมาหลังจากที่เราได้ชีแจงมันไว้แล้วในคัมภีร์สำหรับมนุษย์นั้น ชนเหล่านี้แหละอัลลอฮ์จะทรงขับไล่พวกเขาให้พ้นจากความเมตตาของพระองค์ และผุ้สาปแช่งทั้งหลายก็จะสาปแช่งพวกเขาด้วย อัลบากอเราะฮ์ 159

       พวกเขาเห็นว่า ไม่อนุญาตในการรับค่าจ้างบนการเรียนการสอนอัลกุรอ่านและความรู้ศาสนา เพราะว่าอายะห์นั้นได้สั่งให้เปิดเผยความรู้และเผยแพร่มัน และจะต้องไม่มีการปกปิด และมนุษย์นั้นไม่สมควรได้รับค่าจ้างบนงานใดงานหนึ่งที่เขานั้นจะต้องปฏิบัติมันอยู่แล้ว เสมือนที่ไม่ควรได้รับค่าจ้างในการละหมาด เพราะว่ามันนั้นเป็นการ อิบาดะห์ (การปฏิบัติศาสนกิจ) และด้วยเหตดังกล่าวจึงฮะรอมในการเอาค่าจ้างในการเรียนการสอนอัลกุรอ่านหรือการเรียนการสอนศาสนา

      อื่นจากดังกล่าว บรรดาอุลามาอ์ในยุคหลังพวกเขาเห็น ความเพิกเฉยของมนุษย์ไม่มีการให้ความสำคัญต่อการเรียนศาสนา และพวกเขาหันไปหมกหมุ่นอยู่กับความเพลิดเพลินของโลกดุนยา บรรดาอุลามาอ์ยุคหลังได้มองถึงสาเหตดังกล่าวว่า มนุษย์นั้นหันเหจากการให้ความสำคัญต่อการเรียนอัลกุรอ่าน และจากบรรดาความรู้ศาสนาทั้งหมด และเป็นผลให้ไม่มีการรักษาอัลกุรอ่าน และทำให้ความรู้คับแคบ ด้วยเหตดังกล่าว พวกเขาจึงอนุญาตในการเอาค่าจ้างทั้งหลาย ยิ่งไปกว่านั้นส่วนหนึ่งจากพวกเขาอ้างว่าจำเป็นด้วยซ้ำ (วายิบ) เพื่อรักษาความรู้ศาสนาทั้งหลาย


อ้างจาก: ตัฟซีรอายะห์ติลอะห์กาม เชค มุฮัมหมัด อาลีย์ อัซซอบูนีย์ 1/106



ออฟไลน์ ฮุ้นปวยเอี๊ยง

  • رَبِّ زدْنِيْ عِلْماً
  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 994
  • เพศ: ชาย
  • وَارْزُقْنِيْ فَهْماً
  • Respect: +116
    • ดูรายละเอียด
อุลามาอ์ในยุคก่อนนั้นได้เห็นพ้องกันในการฮะรอมเอาค่าจ้างบนการเรียนการสอนศาสนา เพราะว่าความรู้นั้น คือ อิบาดะห์ (การประกอบศาสนกิจ) และการเอาค่าจ้างบนการอิบาดะห์นั้นไม่อนุญาต  loveit:

ออฟไลน์ al-firdaus~*

  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 5015
  • เพศ: หญิง
  • 可爱
  • Respect: +161
    • ดูรายละเอียด
ญะซากัลลอฮ์ค็อยรอนค่ะ loveit:

ออฟไลน์ al-firdaus~*

  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 5015
  • เพศ: หญิง
  • 可爱
  • Respect: +161
    • ดูรายละเอียด
จริงๆเค้าก็ไม่เอานะคะ ยืนยันไม่เอา แต่เราอยากให้เพื่อเป็นสินน้ำใจ และเป็นการซอดาเกาะฮ์ที่เค้ามาสอนให้ที่บ้าน
ให้แบบนี้ทำได้หรือไม่

ออฟไลน์ ฮุ้นปวยเอี๊ยง

  • رَبِّ زدْنِيْ عِلْماً
  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 994
  • เพศ: ชาย
  • وَارْزُقْنِيْ فَهْماً
  • Respect: +116
    • ดูรายละเอียด
เมื่อครูคนนั้นไม่ได้เอาค่าจ้าง เมื่อเราจะให้ก็ดี เป็นฮาดิยะห์ อย่าบอกว่าให้เป็นซอดาเกาะห์มันใช้กับคนอยากไร้ กับโต๊ะครูใช้ฮาดิยะห์ (กำนัล) ให้โต๊ะครูเอาไว้ซื้อกับข้าวหรือทำอย่างอื่น เพราะ ทุกอิริยาบทของโต๊ะครูเป็นอีบาดัตหมด ตั้งแต่รับประทาน การใช้ชีวิต ดุอาหมด ซุนนะห์ หมด อาม้าลเยอะแยะแต่ละวัน เราก็พลอยได้ผลบุญได้ความศิริมงคลกับครอบครัว เผลอๆโต๊ะครูขอดุอาให้อีกเพราะนิสัยคนซอและห์มักเป็นแบบนี่ ^^ บางทีเราขอช่วยให้เขาขอดุอาให้ บางคนขอจนกระทั่งอัลลอฮ์มอบให้ไม่ได้ขอหนเดียวนิสัยคนซอและห์บางคน ถ้าหากครูคนนั้นไม่เอาอีกผมจะเตรียมโทรถามกลับบ้านถึงเลขบัญชีธนาคาร ฮ่าๆๆๆ 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 19, 2012, 01:22 PM โดย Innocence »

ออฟไลน์ al-firdaus~*

  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 5015
  • เพศ: หญิง
  • 可爱
  • Respect: +161
    • ดูรายละเอียด
เมื่อครูคนนั้นไม่ได้เอาค่าจ้าง เมื่อเราจะให้ก็ดี เป็นฮาดิยะห์ อย่าบอกว่าให้เป็นซอดาเกาะห์มันใช้กับคนอยากไร้ กับโต๊ะครูใช้ฮาดิยะห์ (กำนัล) ให้โต๊ะครูเอาไว้ซื้อกับข้าวหรือทำอย่างอื่น เพราะ ทุกอิริยาบทของโต๊ะครูเป็นอีบาดัตหมด ตั้งแต่รับประทาน การใช้ชีวิต ดุอาหมด ซุนนะห์ หมด อาม้าลเยอะแยะแต่ละวัน เราก็พลอยได้ผลบุญได้ความศิริมงคลกับครอบครัว ถ้าหากครูคนนั้นไม่เอาอีกผมจะเตรียมโทรถามกลับบ้านถึงเลขบัญชีธนาคาร ฮ่าๆๆๆ  loveit:

มะอัฟๆค่ะ  ลืมคำว่า ฮาดียะฮ์ไปเรย แฮ่ๆ จริงๆตั้งใจจะใช้คำนี้แหละ
คำตอบนี้ฟังแล้วสบายใจมากๆ  คือตั้งใจให้แล้ว ก็เพื่อผลบุญ กลัวจะกลายเป็นบาปไป
เรืองบัญชีธนาคาร พูดได้คำเดียวว่า ...เซาะกราววววเจงๆ  hehe

ออฟไลน์ ฮุ้นปวยเอี๊ยง

  • رَبِّ زدْنِيْ عِلْماً
  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 994
  • เพศ: ชาย
  • وَارْزُقْنِيْ فَهْماً
  • Respect: +116
    • ดูรายละเอียด
ลื้อว่าใคร ความอดทนของอัวะอ์มีขีดจำกัดนะ ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ^__^

ออฟไลน์ al-firdaus~*

  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 5015
  • เพศ: หญิง
  • 可爱
  • Respect: +161
    • ดูรายละเอียด
โต๊ะครูซอบัรๆ loveit:

ออฟไลน์ ฮุ้นปวยเอี๊ยง

  • رَبِّ زدْنِيْ عِلْماً
  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 994
  • เพศ: ชาย
  • وَارْزُقْنِيْ فَهْماً
  • Respect: +116
    • ดูรายละเอียด
โต๊ะครูซอบัรๆ loveit:

มีเม้นต่อด้วย  loveit: ไม่ยอมๆจะฟ้องลวดพี่แอนนา (เดี๋ยวโดนดุ...โพสปั้ม  party:)

ออฟไลน์ WIND

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 220
  • เพศ: ชาย
  • MKM
  • Respect: +30
    • ดูรายละเอียด
assalamualaikum
ขอถามเพิ่มเติมครับ

ถ้าสมมุติผู้สอนกุรอานเดิมก็สอนโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน แต่เมื่อสอนสักพักมีคนมาฝากลูกให้เรียนจนพื้นที่บ้านของตนรับจำนวนของผู้เรียนไม่ไหว ผู้สอนจึงต้องเช่าบ้านเพิ่มอีกหลังเพื่อให้พื้นที่กว้างขึ้น

คำถามครับ : กรณีแบบนี้จะเก็บค่าเล่าเรียนได้หรือไม่ เนื่องจากผู้สอนจำเป็นต้องจ่ายค่าเช่าบ้าน ค่าไฟ และค่าน้ำ
Dua.....The weapon of believer

ออฟไลน์ Muftee

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด
:salam:

อยากทราบว่า ถ้าเราจะจ้างครูมาสอนอัลกุรอานที่บ้าน
โดยที่เขาไม่ได้ร้องขอค่าจ้าง แต่เราอยากให้เพราะต้องการให้ซอดาเกาะฮ์ (เป็นรายเดือน จนกว่าจะเรียนจบ) ทำได้หรือไม่?


บรรดานักนิติศาสตร์มีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องของ การให้ค่าจ้างแก่ผู้ครูผู้สอนอัล-กุรอานหรือสอนวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา อาทิเช่น สอนวิชาอัล-หะดีษ ,อัล-ฟิกฮฺ และวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา โดยแบ่งออกเป็น 3 ทัศนะ ด้วยกัน คือ..


ทัศนะที่หนึ่ง : มีความเห็นว่า อนุญาตสำหรับครูบาอาจารย์ในการรับค่าจ้าง ในการสอนอัล-กุรอานหรือสอนวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เมื่อได้ทำการตกลงกันระหว่างทั้งสองฝ่ายอย่างชัดเจน (ข้อตกลงระหว่างผู้ให้ค่าจ้างกับครูผู้สอน) นี่คือทัศนะของท่าน อัมมาร บิน ยาสิร และท่านสะอฺด บิน อะบีวักกอศ 

และแท้จริงท่านอะบูกุลาบะฮฺ ,ท่านอะฏออฺ และท่านมุอาวียะฮฺ อิบนุ กุรเราะฮฺ ก็อนุญาตให้ครูผู้สอนนั้นรับค่าจ้างได้ และเช่นเดียวกันนี่คือ ทัศนะหนึ่งจากถูกรายงานมาจากท่านอิบนุซีรีน ,ท่านอิบนุมุนซิร และท่านอะบูษูร

และท่านหะกัม บิน อุตัยบะฮฺ ได้กล่าวว่า “ฉันไม่เคยรู้เลยว่า จะมีใครคนใดคนหนึ่งที่รังเกียจในการเอาค่าจ้างของครูผู้สอน”

และนี่คือ ทัศนะที่ถูกชี้ขาดเอาไว้โดยปวงปราชญ์รุ่นหลังจากมัซฮับหะนะฟีย์ จากแนวทางการวินิจฉัยในมัซฮับของพวกเขา

และปราชญ์ในมัซฮับอัล-มาลิกีย์ก็อนุญาตเช่นเดียวกันในการให้ค่าจ้างแก่ครูผู้สอนอัล-กุรอาน แต่พวกเขาถือว่า ไม่สมควรในการจะให้ค่าจ้างแก่ครูที่สอนวิชาการศาสนาอื่นๆ นอกจากอัล-กุรอาน

และปราชญ์ในมัซฮับอัช-ชาฟิอีย์ ก็อนุญาตเช่นเดียวกันในการให้ค่าจ้างแก่ครูผู้สอนอัล-กุรอาน แต่ทว่าพวกเขาไม่อนุญาตให้ครูขอค่าจ้างจากการสอนวิชาการศาสนาของเขา นอกสะจากว่า ครูคนนั้นจะต้องเป็นครูที่ถูกเจาะจงตัวเอาไว้แล้วว่าต้องเป็นคนนี้ หรือถูกเจาะจงเอาไว้แล้วว่าคุณจะต้องสอนวิชานั้นวิชานี้ เป็นต้น

และเช่นเดียวกัน นี่คือทัศนะหนึ่งที่ถูกรายงานมาจากท่านอิมามอะหฺมัด และเป็นทัศนะของปราชญ์จากมัซฮับอัซ-ซอฮิรีย์


ทัศนะที่สอง : มีความเห็นว่า อนุญาตสำหรับครูบาอาจารย์ในการรับค่าจ้าง ในการสอนอัล-กุรอานหรือสอนวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เมื่อไม่ได้มีการตกลงหรือวางเงื่อนไขอะไรกันไว้ก่อนแล้ว (คือ รับเท่าที่เค้าให้มา ไม่ว่าเท่าไรก็ตาม) ซึ่งปราชญ์กลุ่มนี้ถือว่า เป็นความน่ารังเกียจในการที่จะมาตกลงล่วงหน้ากัน เพื่อเอาค่าจ้างในการสอนวิชาการศาสนา นี่คือ ทัศนะของท่านหะซัน อัล-บัศรีย์ ,ท่านฏอวูส ,ท่านอัล-นะคออีย์ และเป็นทัศนะหนึ่งจากท่านอิบนุซีรีน 

และท่านอิมาม อัช-ชะบีย์ กล่าวว่า “ครูผู้สอนนั้นจะไม่ถูกวางเงื่อนไขในการสอนของเขา (ในเรื่องค่าจ้าง) นอกจากเมื่อคนอื่นได้ให้ค่าจ้างแก่เขา ดังนั้น เขาก็จงรับมันไว้”

และท่านอิมามอะหฺมัด ได้กล่าวว่า “ครูผู้สอนนั้นจะไม่ร้องขอสิ่งใด และไม่วางเงื่อนไขใดๆ (ในเรื่องค่าจ้าง) ดังนั้น หากมีใครให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดแก่ท่าน ท่านก็จงรับมันไว้” และนี่คืออีกทัศนะหนึ่งของท่าน

ซึ่งปราชญ์ในกลุ่มนี้มีความเห็นว่า ไม่สมควรแก่ครูบาอาจารย์ในการที่จะวางเงื่อนไขหรือร้องขอสิ่งใดในเรื่องค่าจ้างจากคนอื่น แต่ทว่าหากใครที่ได้หยิบยื่นผลตอบแทนอะไรให้ ก็จงรับมันเอาไว้


ทัศนะที่สาม : มีความเห็นว่า ไม่อนุญาตให้เอาค่าจ้างหรือจ่ายค่าจ้างแก่ผู้ที่ทำการสอนอัล-กุรอานหรือสอนวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวกับศาสนา นี่คือ สิ่งที่รายงานมาจากท่านอุมัร ,ท่านอับดุลลอฮฺ บิน มุฆฟิล ,ท่านอับดุลลอฮฺ บิน ยะซีด ,ท่านอับดุลลอฮฺ บิน ชะกีก ,ท่านเอาวฟฺ บิน มาลิก ,ท่านเฎาะหาก บิน ก็อยสฺ ,ท่านอุลเกาะมะฮฺ ,ท่านอิมามอัซ-ซุฮรีย์ ,ท่านหะซัน บิน หัย ,ท่านอิสหาค ,ท่านชะรีหฺ และคือ ทัศนะของปราชญ์รุ่นก่อนในมัซฮับอัล-หะนะฟีย์


ทัศนะที่หนักแน่นที่สุด : ด็อกเตอร์ อับดุลฟัตตาหฺ มะหฺมูด อิดรีส หัวหน้าภาควิชานิติศาสตร์เปรียบเทียบ มหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร ผู้ที่ทำการค้นคว้าในเรื่องนี้ มีความเห็นว่า หลังจากที่ฉันได้ทำการค้นคว้าในเรื่องของหลักฐานและการโต้ตอบกันทางวิชาการของทัศนะจากปราชญ์ทั้ง 3 กลุ่ม ดังนั้น ฉันมีความเห็นว่าทัศนะที่หนักแน่นที่สุด คือ ทัศนะแรกที่กล่าวว่า “อนุญาตให้เอาค่าจ้างและจ่ายค่าจ้างให้กับครูผู้สอนอัล-กุรอานหรือสอนวิชาการต่างๆ ในศาสนาได้ คือ แนวทางของปราชญ์รุ่นหลังในมัซฮับอัล-หะนะฟีย์ และเป็นทัศนะหนึ่งที่ถูกรายงานมาจากท่านอิมามอะหฺมัด และเป็นทัศนะของปราชญ์ในมัซฮับอัซ-ซอฮิรีย์”


ดู ตำรา  ما ينفع الأموات من سعي الأحياء  โดย ด็อกเตอร์ อับดุลฟัตตาหฺ มะหฺมูด อิดรีส  หน้าที่ 231


วัลลอฮุ ตะอาลา อะลา วะ อะลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 20, 2012, 01:07 AM โดย Muftee »
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

ออฟไลน์ muhibbah

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 268
  • Respect: +7
    • ดูรายละเอียด
ผมเป็นคนนึงที่สอนกีรออาตีน้องคนนึงที่อยู่ใกล้ๆกับมหาลัย พ่อของน้องติดต่อทางชมรมให้ไปช่วยสอน แต่พอเอาเข้าจริงๆ เค้าให้ตังค์มา ก็ลำบากใจเหมือนกันครับ

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
อัสลามุอะลัยกุม วะเราะมาตุลลอฮฺ วะบารอกาตุ

อ่านกระทู้นี้แล้วทำให้นึกถึงครูที่สอนอัลกุรอ่านให้ขึ้นมาค่ะ
บรรยากาศแบบนั้น หาไม่ค่อยได้แล้วแถวๆบ้านในปัจจุบัน...

เมื่อก่อน...เรา(เด็กๆ)ในหมู่บ้านเดียวกันก็จะรวมตัวกัน
ไปอ่านอัลกุรอ่านที่บ้านครู ท่านจะสอนเราให้แบบตัวต่อตัว
แต่หากว่าใครอ่านตรงที่เดียวกันก็จะสอนด้วยกัน...

ใครอ่านผ่านท่องจำได้แล้ว ก็จะให้ขึ้นหน้าใหม่
หรือบทใหม่...ถ้าใครยังไม่จำก็ให้อ่านจนจำได้...
ถึงจะให้ผ่านไป...

ไม่ว่าใครก็ตามที่อ่านได้ถึงฟาติฮะเมื่อไหร่
ก็จะมีการเลี้ยงขนม ทำขนมไปกินร่วมกัน
เหมือนเป็นการฉลองที่เราก้าวไปได้อีกขั้นหนึ่ง...
และเหมือนเป็นการแสดงความยินดี...
เลยรู้สึกว่า การปฏิบัติเช่นนั้นมันมีฮิกมะฮ์ซ่อนอยู่

ครูที่สอนให้ท่านไม่เก็บเงินแม้แต่สตางค์แดงเดียวเลยค่ะ
ท่านบอกว่ามันวายิบสำหรับผู้รู้ต้องสอนผู้ไม่รู้...
ผู้รู้จะอยู่เฉยไม่ได้...และการสอนอัลกุรอ่านก็ได้บุญ
เพราะมันคือ อิบาดะฮฺค่ะ...อัลลอฮฺจะเพิ่มบุญให้
และเท่าที่เห็น ท่านไม่เคยขัดสนในการใช้ชีวิตเลยค่ะ...

เพราะท่านจะสอนอัลกุรอ่านตอนกลางคืน...
กลางวันท่านก็ทำมาหากินตามปกติ...

ชีวิตท่านช่วยเหลือผู้คนมาเยอะมาก...
เพราะท่านเป็นหมอที่ปรุงยาสมุนไพรรักษาอาการป่วย
ให้คนอื่นๆ ท่านเอาค่ายาน้อยมากค่ะ...
เป็นคนที่สมถะ ไม่ทะนงตน ไม่โลภ ไม่ใคร่อยากได้
ของๆใคร...ท่านจะมีพาหนะคู่ใจคือจักรยานคันเดียว
ที่จะพาท่านไปตลาด ตลอดเส้นทางที่ท่านปั่นจักรยานไป
จะมีคนในหมู่บ้านฝากให้ท่านซื้อของให้ประจำ
และท่านจะไม่ปฏิเสธใครเลย...นอกจากว่า
เกินความสามารถของท่านเท่านั้น...
แล้วท่านก็ทำเช่นนั้นเป็นกิจวัตร...

ตอนท่านเสีย ยังเสียดายอยู่เลยค่ะ ว่าอัลลอฮฺ
ได้เก็บผู้รู้ที่ข้าน้อยเคารพรักและนับถือไปอีกคน...

ที่ข้าน้อยกำลังจะสื่อก็คือ...

เงินอาจไม่ใช่ค่าตอบแทนเสมอไป...
เพราะค่าตอบแทนจากอัลลอฮ์ที่มาในรูปแบบอื่น
มันอาจมีค่ายิ่งกว่าเงินน่ะค่ะ...

ปล.ซอดาเกาะฮฺ...จะใช้กับ คนมีให้คนไม่มี
หรือคนมั่งมีให้กับคนยากไร้...

ส่วนฮาดิยะฮฺ...จะใช้กับของฝากของกำนัล

ซึ่งท่านนบีของเรา ท่านจะไม่กินของซอดาเกาะฮฺค่ะ...
(เป็นหนึ่งในคุณลักษณะของท่าน)
แต่ท่านจะรับของฮาดิยะฮฺ...

เพราะเห็นหลายคนใช้ผิด จนทำให้เกิดการเข้าใจผิดกัน

เนื่องจากเคยมีครั้งหนึ่ง ฝากซองไปให้เด็กกำพร้าที่เขมร
กับน้องที่ทำงานซึ่งเป็นชาวเขมร...โดยแบ่งเป็น 2 ซอง

บอกน้องเขาว่า ซองนึงนั้นซอดาเกาะฮฺให้แก่เด็กกำพร้า
และคนชราที่ยากไร้
ส่วนอีกซองเป็นฮาดิยะฮฺมอบให้น้องเพื่อใช้ในการเดินทาง
กลับบ้าน...และเพื่อมิตรภาพดีๆที่เรามีต่อกัน
ในช่วงเวลาหนึ่ง...

น้องเขาก็เลยเข้าใจ...ดังนั้นการสื่อสาร
และใช้คำจึงเป็นสิ่งสำคัญน่ะค่ะ...

ปล.2...ที่เขมรยังมีเด็กกำพร้าที่เป็นพีี่น้องมุสลิมเรา
เยอะมากเลยนะคะ...หากท่านใดมีโอกาสไปเที่ยวที่นั่น
ก็อย่าลืมนึกถึงเด็กๆเหล่านั้นด้วยนะคะ...

เพราะเราอยู่เมืองไทย เราจะทำเมื่อไหร่ตอนไหนก็ได้
แต่กับในต่างแดนเวลาไปเยือน อย่าลืมนะคะ...
ไม่ต้องมากมาย เอาแค่เท่าที่จะทำได้...
ก็นับว่า เป็นหนึ่งของการช่วยเหลือพี่น้องเราแล้วค่ะ...

เพราะเงินที่เราว่าน้อยสำหรับเรา
พอเปลี่ยนไปเป็นเงินตราของเขมร มันมากอยู่นะคะ...

หรือไม่เราจะฝากชาวเขมรที่เป็นพ่ีน้องมุสลิมเรา
ที่มาทำงานที่ไทยไปทำบุญที่เขมรยามที่เขากลับไปบ้าน
ก็ได้นะคะ...ไม่ต้องกลัวว่าเขาจะไม่ทำตาม
หรือแอบเอาเงินเราไปใช้จ่ายเสียเองเลยค่ะ...
เพราะเราตั้งใจจะทำบุญแล้ว...เราเหนียตทำบุญไปแล้ว...


การทำบุญหรือให้ของกำนัลใครนั้นขึ้นอยู่กับเหนียต
ถ้าเราเหนียตเพื่อให้มนุษย์ยกย่อง เราก็จะได้แค่นั้น
แต่ถ้าเราเหนียต ลิลลาฮิตะอาลา...
เราก็จะได้รับความเมตตาอันมากมายจากอัลลอฮฺ...
อย่างที่มนุษย์ไม่อาจจะให้เราได้เลย...

ขอใคร ไม่ยิ่งใหญ่เท่ากับขอกับอัลลอฮฺค่ะ...
เพราะอัลลอฮฺใหญ่สุด เป็นเจ้าของทุกสรรพสิ่ง...

เนื่องจาก...สิ่งใดถ้าอัลลอฮฺจะให้ใครขวางไม่ได้
และสิ่งใดถ้าอัลลอฮฺไม่ให้...ใครก็ให้ไม่ได้...

ช่วงท้ายๆนอกเรื่องไปนิด...ขออภัยด้วยนะคะ...

วัสลามค่ะ






"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ BasemDeen

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 260
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด

ปราชญ์ในมัซฮับอัช-ชาฟิอีย์ ก็อนุญาตเช่นเดียวกันในการให้ค่าจ้างแก่ครูผู้สอนอัล-กุรอาน แต่ทว่าพวกเขาไม่อนุญาตให้ครูขอค่าจ้างจากการสอนวิชาการศาสนาของเขา นอกสะจากว่า ครูคนนั้นจะต้องเป็นครูที่ถูกเจาะจงตัวเอาไว้แล้วว่าต้องเป็นคนนี้ หรือถูกเจาะจงเอาไว้แล้วว่าคุณจะต้องสอนวิชานั้นวิชานี้ เป็นต้น

ทัศนะที่หนักแน่นที่สุด : ด็อกเตอร์ อับดุลฟัตตาหฺ มะหฺมูด อิดรีส หัวหน้าภาควิชานิติศาสตร์เปรียบเทียบ มหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร ผู้ที่ทำการค้นคว้าในเรื่องนี้ มีความเห็นว่า หลังจากที่ฉันได้ทำการค้นคว้าในเรื่องของหลักฐานและการโต้ตอบกันทางวิชาการของทัศนะจากปราชญ์ทั้ง 3 กลุ่ม ดังนั้น ฉันมีความเห็นว่าทัศนะที่หนักแน่นที่สุด คือ ทัศนะแรกที่กล่าวว่า “อนุญาตให้เอาค่าจ้างและจ่ายค่าจ้างให้กับครูผู้สอนอัล-กุรอานหรือสอนวิชาการต่างๆ ในศาสนาได้ คือ แนวทางของปราชญ์รุ่นหลังในมัซฮับอัล-หะนะฟีย์ และเป็นทัศนะหนึ่งที่ถูกรายงานมาจากท่านอิมามอะหฺมัด และเป็นทัศนะของปราชญ์ในมัซฮับอัซ-ซอฮิรีย์”

myGreat:

 

GoogleTagged