ผู้เขียน หัวข้อ: ช่วยนำเสนอ เรื่องทำบุญเจ็ดวัน  (อ่าน 9615 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

แสวงหา

  • บุคคลทั่วไป

การทำบุญเจ็ดวัน คือะไร  ทำเพื่ออะไรครับ  และมันไปค้านกับการรวมตัวที่บ้านทายาทผู้ตายที่พวกญาฮิลียะฮ์ทำกันหรือเปล่าครับ?  ช่วยอธิบายให้ผมเข้าใจด้วยครับ  ขอบคุณมาก  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เม.ย. 13, 2011, 02:41 PM โดย Al Fatoni »

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
ทำบุญเจ็ดวัน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธ.ค. 23, 2006, 01:58 PM »
0
بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم

اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ اَلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ

การทำบุญ หมายถึง การที่น้องมุสลิมีนได้รว่มกันทำอาหารเลี้ยงเพื่อเป็นทานซอดาเกาะฮ์แก่ผู้ตายนั่นเอง และบรรดาพี่น้องมุสลิมได้รวมตัวกันทำการอ่านอัลกุรอาน ซิกรุลเลาะฮ์ กล่าวตะฮ์ลีล อิสติฆฟาร และทำการดุอาอ์ให้แก่มัยยิด ซึ่งดังกล่าวย่อมเป็นประโยชน์และเป็นผลบุญไปถึงมัยยิดอย่างแน่นอน อินชาอัลเลาะฮ์

ส่วนการกระทำในรูปแบบของพวกญาฮิลียะฮ์นั้น  ในหนังสือ อิอานะฮ์ อัฏฏอลิบีน ได้กล่าวรูปแบบของอาหรับเอาไว้ว่า

فى العرف الخاص فى بلدة لمن بها من الأشخاص إذا إنتقل إلى دار الجزاء وحضر معارفه وجيرانه العزاء، جرى العرف بأنهم ينتظرون الطعام، ومن غلبة الحياء على أهل الميت يتكلفون التكليف التام، ويهيئون لهم أطعمة عديدة، ويحضرونها لهم بالمشقة الشديدة

"ถือเป็นประเพณีที่เฉพาะ ในเมืองหนึ่งเมื่องใดแก่บรรดาบุคคลต่างๆ ที่อยู่เมืองนั้นๆ เพราะเมื่อมีผู้ที่กลับไปสู่โลกแห่งการตอบแทน(กลับไปสู่ความเมตตาของอัลเลาะฮ์) บรรดาคนรู้จักและบรรดาเพื่อนบ้านก็จะมารวมตัวกัน(ที่บ้านครอบครัวผู้ตาย)เพื่อจะทำการปลอบใจ ประเพณีนี้ก็มีอยู่ว่า พวกเขาเหล่านั้นจะรอรับประทานอาหารกัน และเนื่องจากความละอายอย่างยิ่งที่มีต่อครอบครัวผู้ตาย พวกเขาจึงรับภาระในค่าใช้จ่ายแบบเสร็จสรรพ แล้วครอบครัวผู้ตายก็ทำการตระเตรียมอาหารให้แก่พวกเขาหลายอย่าง และครอบครัวผู้ตายก็นำอาหารเหล่านั้นมาให้กับพวกเขาด้วยความลำบากอย่างที่สุด" ดู เล่ม 2 หน้า 228

ดังนั้น  การกระทำในรูปแบบของพวกญาฮิลียะฮ์ก็คือ  เมื่อมีคนตายผู้คนก็จะไปรวมตัวกันที่บ้านครอบครัวผู้ตาย  และนั่งรอรับประทานอาหารที่ครอบครัวผู้ตายทำให้   ซึ่งดังกล่าวนั้น  เป็นบิดอะฮ์มักโระฮ์  ตามทัศนะของปวงปราชญ์  แต่เราต้องช่วยเหลือครอบครัวมัยยิดด้วยการทำอาหารให้พวกเขาให้อิ่มในหนึ่งวันและหนึ่งคืนเป็นอย่างน้อย

ส่วนกรณีทำบุญเพื่อเป็นทานซ่อดาเกาะฮ์แก่มัยยิดนั้น  ก็อีกประเด็นหนึ่ง  คือการที่บรรดามุสลิมีนช่วยกันทำอาหารเลี้ยงเพื่อเป็นทานซอดาเกาะฮ์แก่มัยยิด การทำทานซอดาเกาะฮ์แก่มัยยิดนั้น  ไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบปรุงแล้ว  แต่อยู่ในรูปแบบวัตถุดิบก็ได้  เช่น ข้าวสาร  เป็นต้น  และไม่มีหลักฐานใดที่ห้ามทายาททำทานซอดาเกาะฮ์ให้แก่ผู้ตายของพวกเขา

ส่วนกรณีทำบุญเป็นทานซอดาเกาะฮ์ให้แก่ผู้ตายเจ็ดวันนั้นเพราะสาเหตุดังนี้  คือ

 ท่านอัล-หาฟิซฺ อิบนุ หะญัร อัล-อัสเกาะลานีย์ ได้ทำการรายงาน จากท่านอิมามอะหฺมัด โดยที่ท่านอิมามอะหฺมัด ได้รายงานไว้ใน หนังสือ อัซซุอฮ์ดฺ ว่า

سفيان قال ، قال طاووس : إن الموتى يفتنون فى قبورهم سبعاَ وكانوا يستحبون أن يطعموا عنهم تلك الأيام

" ท่านซุฟยานกล่าวว่า ท่านฏอวูสกล่าวว่า แท้จริงบรรดาผู้ตายนั้น พวกเขากำลังถูกสอบถามในกุบูรของพวกเขา ถึง 7 วัน และบรรดาซอฮาบะฮ์มีความชอบที่จะทำการเลี้ยง(ให้)อาหารแทนจากพวกเขา ในเจ็ดวันดังกล่าว" ท่าน ชัยค์ อัลอะซ่อมีย์กล่าวว่า สายรายงานหะดิษนี้ قوى (มีน้ำหนัก) ดู หนังสือ อัลมะฏอลิบ อัลอาลิยะฮ์ บิ ซฺะวาอิด อัลษะมานียะฮ์ เล่ม 1 หน้า 199

ท่านอิมามอัสศะยูฏีย์(ร.ฏ.) ได้กล่าวรายงานเช่นกันว่า

ذكر الرواية المسندة عن طاوس : قال الإمام أحمد بن حنبل رضى الله عنه فى كتاب الزهد له : حدثنا هاشم بن القاسم قال : حدثنا الأشجعى عن سفيان قال ، قال طاووس : إن الموتى يفتنون فى قبورهم سبعاَ وكانوا يستحبون أن يطعم عنهم تلك الأيام

"กล่าวสายรายงานถึงท่าน ฏอวูส ซึ่งท่านอิมามอะหฺมัด บิน ฮัมบัล (ร.ฏ.) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัซซุฮฺดิ ของท่านว่า ได้เล่าให้เราทราบโดย ฮาชิม บิน อัลกาซิม เขากล่าวว่า ได้เล่าให้เราทราบโดย ท่านอัลอัชญะอีย์ จากท่านซุฟยาน เขากล่าวว่า ท่านฏอวูส กล่าวว่า "ท่านซุฟยานกล่าวว่า ท่านฏอวูสกล่าวว่า แท้จริงบรรดาผู้ตายนั้น พวกเขากำลังถูกสอบถามในกุบูรของพวกเขา ถึง 7 วัน และบรรดาซอฮาบะฮ์มีความชอบที่จะทำการเลี้ยง(ให้)อาหารแทนจากพวกเขา ในเจ็ดวันดังกล่าว" ดู หนังสือ อัลหาวีย์ ฟี อัลฟะตาวา เล่ม 2 หน้า 216 ดารุลฟิกร์ ตีพิมพ์ 2004 - 1424 ฮ.ศ

ท่านอิมามอัสศะยูฏีย์(ร.ฏ.) ได้กล่าววิจารณ์สายรายงานว่า

رجال الإسناد الأول رجال الصحيح وطاوس من كبار التابعين ، قال أبو نعيم فى الحلية : هو أول الطبقة من أهل اليمن ، وروي عنه أنه قال : أدركت خمسين من أصحاب رسول الله صلى الله عليه وسلم ، ورى غيره عنه قال : أدركت سبعين شيخاً من أصحاب رسول الله صلى الله عليه وسلم قال ابن سعد : كان له يوم مات بضع وتسعون سنة . وسفيان - هو الثورى - وقد أدرك طاوسا فإن وفاة طاوس سنة بضع عشرة ومائة فى أحد الأقوال ، ومولد سفيان سنة سبع وتسعين إلا أن أكثر روايته عنه بواسطة . والأشجعى اسمه عبيد الله بن عبيد الرحمن ، وبقال ابن عبد الرحمن

"บรรดานักรายงานของสายรายงานแรกนั้น เป็นนักรายงานที่ซอฮิหฺ และท่านฏอวูส ก็เป็นตาบิอีนระดับอาวุโส , ท่านอบูนุอัยม์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลฮิลยะฮ์ ว่า ท่านฏอวูสคือนักรายงานระดับชั้นต้น ๆ ของเยเมน และอบูนุอัยม์ได้รายงานจากเขาว่า "ข้าพเจ้าได้พบบรรดาซอฮาบะฮ์ของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ถึง 50 ท่าน" และบุคคลอื่นจากท่านอบูนุอัยม์ได้รายงานจากท่าน ฏอวูส ซึ่งเขากล่าวว่า "ข้าพเจ้าได้พบกับบรรดาซอฮาบะฮ์ร่อซูลุลเลาะฮ์ระดับอาจารย์ถึง 70 ท่าน" , ท่านอิบนุ สะอัด กล่าวว่า "ท่านฏอวูสเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 90 กว่าปี" และท่านซุฟยาน - อัษเษารีย์ - นั้น แท้จริงเขาได้พบกับท่านฏอวูส เพระท่านฏอวูสเสียชีวติในปีที่ 110 กว่า ๆ ซึ่งเป็นหนึ่งจากหลายคำกล่าว(ที่ได้ยืนยันไว้) และท่านซุฟยานเกิดในปีที่ 97 แต่ว่า ส่วนมากของการรายงานของท่านซุฟยานจากท่านฏอวูสนั้น ด้วยการมีสื่อกลาง และท่านอัลอัชญะอีย์ มีนามว่า อุบัยดุลเลาะฮ์ บุตร อุบัยดุรเราะหฺมาน ซึ่งถูกเรียกในนาม อิบนุ อับดุรเราะห์มาน" ดู หนังสือ อัลหาวีย์ ฟี อัลฟะตาวา เล่ม 2 หน้า 216 ดารุลฟิกร์ ตีพิมพ์ 2004 - 1424 ฮ.ศ

ท่านอิมามอัสศะยูฏีย์(ร.ฏ.) ได้กล่าวอีกว่า

إذا تقرر أن أثر طاوس حكمه حكم الحدبث المرفوع المرسل وإسناده إلى التابعى صحيح كان حجة عند الأئمة الثلاثة أبى حنيفة ، ومالك ، وأحمد مطلقا من غير شرط ، وأما عند الإمام الشافعى رضي الله عنه فإنه بحتج بالمرسل اعتضد بأحد أمور مقررة فى محلها ، منها مجىء أخر أو صحابي بوافقه ، والإعتضاد ههنا موجود فإنه روي مثله عن مجاهد ،و عن عبيد بن عمير

"เมื่อได้รับการยืนยันแล้วว่า การรายงานของท่านฏอวูสนั้น ฮุกุ่มของมันคือ ฮุกุ่มหะดิษมัรฟั๊วะอฺมุรซัล และสายรายงานของมันก็คือ ไปยังตาบิอีนนั้น ถือว่าซอฮิหฺ อีกท้งเป็นหลักฐานตามทัศนะของอิมามทั้ง 3 คือ อิมามอบูหะนีฟะฮ์ , อิมามมาลิก , อิมามอะหฺมัด บิน หัมบัล โดยไม่มีข้อแม้และเงื่อนไขใด ๆ และสำหรับอิมามชาฟิอีย์(ร.ฏ.) นั้น ท่านจะทำการอ้างหลักฐานด้วยกับหะดิษมุรซัลที่ได้รับการสนับสนุน ด้วยหนึ่งจากบรรดาประการต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้ในเรื่องของมัน ส่วนหนึ่งคือ มีสายรายงานอื่นรายงานมาอีก และมีซอฮาบะฮ์ให้ความเห็นพร้องกับมันด้วย และการสนับสนุน ณ ที่นี้ ก็มี เพราะแท้จริง ได้ถูกรายงานเหมือนกับท่านฏอวูส ที่มาจากท่านมุญาฮิด และจากท่านอุบัยด์ บิน อุมัยร์" ดู หนังสือ อัลหาวีย์ ฟี อัลฟะตาวา เล่ม 2 หน้า 220

ท่านอิมามอัสศะยูฏีย์(ร.ฏ.) ได้กล่าววิจารณ์สายรายงานว่า

وأثر طاوس شاهد قوى له يرقيه إلى مرتبة الصحة

"สายรายงานของท่านฏอวูสนั้น มีผู้รายงานอื่นที่มีน้ำหนักมาสนับสนุน โดยยกระดับมันไปสู่ระดับขั้นซ่อฮิหฺ" ดู หนังสือ อัลหาวีย์ ฟี อัลฟะตาวา เล่ม 2 หน้า 220 ท่านอิมามอัสศะยูฏีย์(ร.ฏ.) ได้กล่าวว่า

ويكون الحديث اشتمل علي أمرين : أحدهما أصل إعتقادى وهو فتنة الموتي سبعة أيام ، والثاني حكم شرعى فرعي وهو إستحباب التصدق والإطعام عنهم مدة تلك الأيام السبعة كما استحب سؤال التثبيت بعد الدفن ساعة

"หะดิษของท่านฏอวูสนี้ ได้ครอบคลุมถึง 2 ประการ ประแรก คือหลักฐานทางด้านการยึดมั่น คือบรรดาผู้ตายจะถูกสอบถาม 7 วัน ประการที่สอง คือชอบที่จะให้ทำการบริจาคท่าน และให้อาหาร แทน(เป็นทาน)มัยยิด ในช่วงระยะเวลา 7 วัน เสมือนกับที่พวกเขาชอบที่จะดุอาอ์ขอให้มัยยิดมีคำตอบที่มั่นคงหลังจากฝังช่วงเวลาหนึ่ง" ดู หนังสือ อัลหาวีย์ ฟี อัลฟะตาวา เล่ม 2 หน้า 222

ท่านอิมามอัสศะยูฏีย์(ร.ฏ.) ได้กล่าวว่า

ويحتمل أثر طاوس أمرا ثانيا وهو إتصال الجملة الأولى أيضاً لأن الإخبار عن الصحابة بأنهم كانوا يستحبون الإطعام عن الموتي تلك الأيام السبعة صريح فى أن ذلك كان معلوما عندهم وأنهم كانوا يفعلون ذلك لقصد التثبيت عند الفتنة فى تلك الأيام وإن كان معلوما عن الصحابة كان ناشئا عن التوقيف كما تقدم تقريره ، وحينئذ يكون الحديث من باب المرفوع المتصل لا المرسل لأن الإرسال قد زال وتبين الإتصال بنقل طاوس عن الصحابة

"หะดิษของท่านฏอวูสนั้น ถูกตีความในแง่มุมที่สอง คือ มีสายรายงานที่ติดต่อกันที่อยู่ในหมวดแรก(คือ มุรฟั๊วะมุรซัล) เช่นกัน เพราะบรรดาหะดิษที่รายงานจากบรรดาซอฮาบะฮ์นั้น คือ แท้จริง พวกเขาชอบที่ทำให้อาหารเป็นทานแก่บรรดาผู้ตายในช่วง 7 วันดังกล่าว ซึ่งเป็นความชัดเจนแล้วว่า สิ่งดังกล่าวนั้น เป็นที่รู้กันดีตามทัศนะของพวกเขา(ซอฮาบะฮ์) และบรรดาซอฮาบะฮ์ก็ได้กระทำสิ่งดังกล่าว เพื่อให้มีความมั่นคงในขณะที่มีการสอบถาม(ในกุบูร) ในช่วง 7 วันดังกล่าว และถ้าหากเป็นสิ่งที่รู้กันดีจากซอฮาบะฮ์แล้วนั้น ก็ย่อมเกิดขึ้นมาจากหลักฐานมายืนยัน เสมือนที่ได้ทำการยืนยันผ่านมาแล้ว และในขณะดังกล่าวนั้น หะดิษของท่านฏอวูสจึงเป็นหะดิษ มัรฟั๊วะมุตซิล(หะดิษที่อ้างอิงไปยังท่านนบีได้) ไม่ใช่หะดิษมุรซัล เพราะการเป็นหะดิษมุรซัลนั้นได้ หมดไปแล้ว และการมีสายรายงานที่ต่อเนื่องย่อมประจักษ์ชัดแล้ว ด้วยการถ่ายทอดของท่านฏอวูสจากบรรดาซอฮาบะฮ์" ดู หนังสือ อัลหาวีย์ ฟี อัลฟะตาวา เล่ม 2 หน้า 223 

ท่านอัล-หาฟิซฺอิบนุ หะญัร อัลฮัยตะมีย์ กล่าวว่า

ومن ثم صح عن طاووس أيضاً أنهم كانوا يستحبون أن يطعم عن الميت تلك الأيام وهذا من باب قول التابعى كانوا يفعلون ، وفيه قولان لأهل الحديث والأصول ( احدهما) أنه أيضاً من باب المرفوع وأن معناه كان الناس يفعلون ذلك فى عهد النبى صلى الله عليه وسلم ويعلم به ويقرأعليه (والثانى) أنه من باب العزو غلى الصحابة دون إنتهائه غلى النبى صلى الله عليه وسلم وعلى هذا قيل أنه اخبار عن جميع الصحابة فيكون نقلا عن الإجماع وقيل عن بعضهم ورجحه النووى فى شرح مسلم وقال الرافعى مثل هذا اللفظ يراد به أنه مشهوراً فى ذلك العهد من غير نكير... فإن كنت لم كرر الإطعام سبعة أيام دون التلقين ، قلت لأن مصلحة الإطعام متعدية وفائدة للميت أعلى إذ الإطعام عن الميت صدقة وهى تسن عنه إجماعاً

" ได้มีสายรายงานที่ซอฮิหฺเช่นกัน จากท่าน ฏอวูส ว่า บรรดาซอฮาบะฮ์นั้น ได้ทำการเลี้ยง(ให้)อาหารแทนจากมัยยิด ใน 7 วันดังกล่าว และคำกล่าวนี้ เป็นคำกล่าวของตาบิอีย์ ได้ยกอ้างถึงบรรดาซอฮาบะฮ์ว่าพวกเขาได้กระทำสิ่งดังกล่าว และในคำกล่าวของตาบิอีย์นี้ มีอยู่ 2 ทัศนะด้วยกันจากคำกล่าวของนักปราชญ์หะดิษและอุซูลุลฟิกห์

1. คำกล่าวของตาบิอีย์นี้ (คือท่านฏอวูส) อยู่ในบทการรายงานที่ มัรฟั๊วะ คือไปถึงสมัยของท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งความหมายของมันก็คือ บรรดาซอฮาบะฮ์ทั้งหลายได้กระทำการเลี้ยง(ให้)อาหาร ในสมัยของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) โดยที่ท่านร่อซูลทราบในสิ่งดังกล่าว หรือมีการบอกให้ท่านนบี(ซ.ล.)ทราบ

2. คำกล่าวของตาบิอีย์นี้ คือท่านฏอวูส อยู่ในเรื่องของการอ้างถึงการกระทำของบรรดาซอฮาบะฮ์เท่านั้น โดยไม่ถึงท่านนบี(ซ.ล.) เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงกล่าวได้ว่า คำกล่าวของตาบีอีย์(คือท่านฏอวูส) เป็นการบอกเล่าจากบรรดาซอฮาบะฮ์ทั้งหมด ดังนั้น คำกล่าวของท่านฏอวูสนี้จึงเป็นการ ถ่ายทอดถึงมติของบรรดาซอฮาบะฮ์ และบางทัศนะกล่าวว่า ถ่ายทอดเพียงบางส่วนของซอฮาบะฮ์ ซึ่งเป็นทัศนะที่อิมามอันนะวาวีย์ได้ให้น้ำหนักเอาไว้ใน ชัรหฺมุสลิม และอิมามอัรรอฟิอีย์ ได้กล่าวไว้เช่นเดียวกัน ซึ่งจุดมุ่งหมายก็คือ การเลี้ยง(ให้)อาหารนั้น เป็นสิ่งที่แพร่หลายในสมัยของซอฮาบะฮ์ดังกล่าว โดยไม่ได้ถูกตำหนิแต่ประการใด...หากท่านกล่าวว่า เพราะเหตุใด การเลี้ยง(ให้)อาหารถึงต้องทำซ้ำกันถึง 7 วัน โดยที่ไม่ต้องอ่านตัลกีน 7 วัน ฉันขอกล่าวว่า เพราะผลประโยชน์ของการเลี้ยง(ให้)อาหารนั้น มันมีประโยชน์สูงกว่าและแผ่ไปถึงมัยยิดได้มากกว่า เพราะการเลี้ยง(ให้)อาหารแทนจากมัยยิดนั้น เป็น ซ่อดาเกาะฮ์(บริจาคทาน) ซึ่งมันเป็น สุนัติ โดยมติเอกฉันท์... " ดู หนังสือ อัล-ฟะตาวา อัล-ก๊อบรอ อัลหะดีษะฮ์ ของท่านอิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย์ เล่ม 2 หน้า 30 - 31

ท่านอิมามอัสศะยูฏีย์ได้กล่าวว่า

 وَلْنَخْتِمِ الكِتَابَ بِلَطَائِفَ :الأُوْلَى : أَنَّ سُنَّةَ الإِطْعَامِ سَبْعَةُ أَيَّامٍ بَلَغَنِيْ أَنَّهَا مُسْتَمِرَّةٌ إِلَى الآنَ بِمَكَّةَ وَالْمَدِيْنَةَ فَالظَّاهِرُ أَنَّهَا لَمْ تُتْرَكَ مِنْ عَهْدِ الصَّحَابَةِ إِلَي الآنَ وَأَنَّهُمْ أَخَذُوْهَا خَلَفًا عًنْ سَلَفٍ إِلَى صَدْرِ الأَوَّلِ ورَأَيْتُ فِى التَّوَارِخِ كَثِيْرًا فِىْ تَرَاجِمِ الأَئِمَّةِ يَقُوْلُوْنَ : وَأَقَامَ النَّاسُ عَلَى قَبْرِهِ سَبْعَةَ أَيَّامٍ يَقْرَؤُوْنَ القُرْاَنَ ، وَأَخْرَجَ الْحَافِظُ الْكَبِيْرُ أَبُوْ القَاسِمِ بْنُ عَسَاكِرَ فِىْ كَتَابِهِ الْمُسَمَّي تَبْيِيْنِ كَذْبِ الْمُفْتَرِيْ فِيْمَا نُسِبَ إِلَى الإِمَامِ أَبِى الْحَسَنِ الأَشْعَرِىِّ سَمِعْتُ الشَّيْخَ الْفَقِيْهَ أَبَا الْفَتْحِ نَصْرَ اللهِ بْنَ مُحَمَّدٍ بْنِ عَبْدِ الْقَوِىِّ اَلْمَصِيْصِيِّ يَقُوْلُ : تُوُفِّىَ الشَّيْخُ نَصْرُ بْنِ إِبْرَاهِيْمِ الْمُقَدِّسِىُّ فِىْ يَوْمِ الثُّلاَثَاءِ التَّاسِعِ مِنَ الْمُحَرَّمِ سَنَةَ تَسْعِيْنَ وَأَرْبَعِمِائَةٍ بِدِمَشْقَ وَأَقَمْنَا عَلَى قَبْرِهِ سَبْعَ لَيَالٍ نَقْرَأُ كُلَّ لَيْلَةٍ عِشْرِيْنَ خَتْمَةً

"เราาจงจบท้ายบท ด้วยเกล็ดความรู้ที่ละเอียดละออ คือ ประการที่หนึ่ง สุนัตให้อาหาร(เป็นทาน) ในช่วง 7 วัน ซึ่งได้ทราบถึงข้าพเจ้าว่า การที่สุนัตให้อาหารเป็นทานแก่มัยยิด ยังคงมีการปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่องจากถึงปัจจุบัน ณ ที่นครมักกะฮ์และนครมะดีนะฮ์ ดังนั้น ที่ชัดเจนแล้ว คือ การสุนัตให้อาหาร(เป็นทานแก่มัยยิด)นั้น ไม่เคยถูกทิ้งการกระทำมาเลยตั้งแต่สมัยของซอฮาบะฮ จวบจนถึงปัจจุบันและข้าพเจ้า(คืออิมามอัสศะยูฏีย์) ได้เห็น(ทราบ)จากบรรดาประวัติศาสตร์มากมายของบรรดานักปราชญ์ ซึ่งพวกเขากล่าวว่า "บรรดานักปราชญ์ได้ทำการอาศัยอยู่ที่กุบูรผู้เสียชีวติ 7 วัน เพื่อทำการอ่านอัลกุรอาน , ท่านอัลหะฟิซฺผู้อาวโส คือท่านอบู อัลกอซิม บิน อะซากิร ได้นำเสนอรายงานไว้ในหนังสือของท่านที่มีชื่อว่า "ตับยีน กัซบฺ อัลมุฟตะรีย์ ฟีมา นุซิบ่า อิลา อัลอิมาม อบี อัลหะซัน อัลอัชอะรีย์ ว่า ข้าพเจ้าได้ยินท่าน ชัยค์ ผู้เป็นนักปราชญ์ฟิกห์ คือ อบู อัลฟัตหฺ นัสรุลเลาะฮ์ บิน มุฮัมมัด บิน อัลดุลก่อวีย์ อัลมะซีซีย์ กล่าวว่า "ท่านชัยค์ นัสรฺ บิน อิบรอฮีม อัลมุก๊ออดิซีย์ ได้เสียชีวติในวันอังคารที่ 9 เดือน มุหัรรอม ปี ที่ 490 ณ นครดิมัชกฺ และเราได้ทำการอาศัยที่อยู่ที่กุบูรของเขา 7 คืน โดยเราทำการอ่านอัลกุรอานในทุก ๆ คืน ถึง 20 จบ" ดู หนังสือ อัลหาวีย์ ฟี อัลฟะตาวา เล่ม 2 หน้า 234
             
وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.พ. 13, 2009, 09:08 AM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: ทำบุญเจ็ดวัน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ก.พ. 20, 2008, 01:26 PM »
0

بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم

اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ اَلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ

บทความต่อไปนี้  คือการบันทึกเสวนาวิเคราะห์ถึงฮะดิษของท่านฏอวูส  ซึ่งเป็นการเสวนาในเว็บบอร์ดฟอรั่มของเว็บมุสลิมไทยในอดีต 

 ท่านอัล-หาฟิซฺ อิบนุ หะญัร อัล-อัสเกาะลานีย์ ได้ทำการรายงาน จากท่านอิมามอะหฺมัด โดยที่ท่านอิมามอะหฺมัด ได้รายงานไว้ใน หนังสือ อัซซุอฮ์ดฺ ว่า

سفيان قال ، قال طاووس : إن الموتى يفتنون فى قبورهم سبعاَ وكانوا يستحبون أن يطعموا عنهم تلك الأيام

" ท่านซุฟยานกล่าวว่า ท่านฏอวูสกล่าวว่า แท้จริงบรรดาผู้ตายนั้น พวกเขากำลังถูกสอบถามในกุบูรของพวกเขา ถึง 7 วัน และบรรดาซอฮาบะฮ์มีความชอบที่จะทำการเลี้ยง(ให้)อาหารแทนจากพวกเขา ในเจ็ดวันดังกล่าว" ท่าน ชัยค์ อัลอะซ่อมีย์กล่าวว่า สายรายงานหะดิษนี้ قوى (มีน้ำหนัก) ดู หนังสือ อัลมะฏอลิบ อัลอาลิยะฮ์ บิ ซฺะวาอิด อัลษะมานียะฮ์ เล่ม 1 หน้า 199

ท่านอิมามอัสศะยูฏีย์(ร.ฏ.) ได้กล่าวรายงานเช่นกันว่า

ذكر الرواية المسندة عن طاوس : قال الإمام أحمد بن حنبل رضى الله عنه فى كتاب الزهد له : حدثنا هاشم بن القاسم قال : حدثنا الأشجعى عن سفيان قال ، قال طاووس : إن الموتى يفتنون فى قبورهم سبعاَ وكانوا يستحبون أن يطعم عنهم تلك الأيام

"กล่าวสายรายงานถึงท่าน ฏอวูส ซึ่งท่านอิมามอะหฺมัด บิน ฮัมบัล (ร.ฏ.) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัซซุฮฺดิ ของท่านว่า ได้เล่าให้เราทราบโดย ฮาชิม บิน อัลกาซิม เขากล่าวว่า ได้เล่าให้เราทราบโดย ท่านอัลอัชญะอีย์ จากท่านซุฟยาน เขากล่าวว่า ท่านฏอวูส กล่าวว่า "ท่านซุฟยานกล่าวว่า ท่านฏอวูสกล่าวว่า แท้จริงบรรดาผู้ตายนั้น พวกเขากำลังถูกสอบถามในกุบูรของพวกเขา ถึง 7 วัน และบรรดาซอฮาบะฮ์มีความชอบที่จะทำการเลี้ยง(ให้)อาหารแทนจากพวกเขา ในเจ็ดวันดังกล่าว" ดู หนังสือ อัลหาวีย์ ฟี อัลฟะตาวา เล่ม 2 หน้า 216 ดารุลฟิกร์ ตีพิมพ์ 2004 - 1424 ฮ.ศ

หลักวิเคราะห์ฮะดิษ

อ้างอิงข้อความจาก : MPW.SO

1. สุฟยานรายงานแบบตะลีก (قال طاووس) ซึ่งการรายงานแบบตะลีกเป็นการรายงานแบบขาดตอน เป็นการตัดสายรายงานระหว่างผู้รายงานกับผู้ถูกพาดพิงออก ซึ่งบ่งบอกถึงความไม่ต่อเนื่องของสายรายงานอย่างชัดเจน

อ้างอิงข้อความจาก : al-azhary

สมมุติว่า  ท่านซุฟยานไม่ได้พบกับท่านฏอวูส  ตามทัศนะที่คุณยึดมั่นเพื่อทำการฮุกุ่มฏออีฟกับหะดิษฏอวูสดังกล่าว  โดยอ้างว่า  ใช้คำรายงานว่า قال  ซึ่งเป็นถ้อยคำตะลีก   และคุณก็ฮุกุ่มมันทันทีว่า ฏออีฟ 

คุณอย่าลืมว่า  ถ้อยคำรายงาน  قال  นั้น  เป็นถ้อยคำญัซม์(ชี้ถึงความมั่นใจ)  ซึ่งหากมีการยืนยันว่าทั้งสองได้พบกัน  ก็สามารถนำมาเป็นหลักฐานได้อย่างไม่ต้องสงสัย  หรือทั้งสองมีการขาดตอนเพียงเล็กน้อย (คือได้อยู่ในสมัยเดียวกัน เป็นต้น)  ก็สามารถนำมาเป็นหลักฐานได้   ดังนั้น  หากคุณบอกว่าสายรายงานขาดตอนจริง  ก็แค่สายรายงานขาดตอนแบบเล็กน้อยเท่านั้นเอง  เนื่องจากเป็นไปได้ว่าท่านซุฟยานมีโอกาสได้พบกับท่านฏอวูส

ดังนั้นการรายงานที่ใช้คำว่า قال  นี้  สามารถตีความได้ว่า ท่านซุฟยานได้ยินจากท่านฏอวูสและอาจจะไม่ได้ยินก็ได้   เนื่องจากสามารถตีความไปได้ว่าท่านซุฟยานอาจจะไม่ได้พบท่านฏอวูส    แต่ทว่าท่านอิมามอัสสะยูฏีย์  ได้ยืนยันว่า  ท่านซุฟยานได้พบท่านฏอวูส

ฉะนั้น  เรื่องการพบระหว่างท่านซุฟยานกับท่านฏอวูสและสายรายงานสามารถมีความต่อเนื่องได้  เนื่องจาก  นักปราญช์หะดิษส่วนมากมีทัศนะว่า

1.  นักรายงานมีความษิเกาะฮ์ (เชื่อถือได้) ได้รายงานจากคนหนึ่งที่มีความษิเกาะฮ์เช่นเดียวกัน  โดยใช้คำว่า قال   โดยเขาอยู่ร่วมสมัยเดียวกัน  มีความเป็นไปได้ที่จะพบหรือได้ยินหะดิษ  ดังนั้น  หะดิษจึงมีความต่อเนื่อง (ไม่ขาดตอน)  ถึงหากแม้นว่า  ไม่มีหะดิษใดเลยที่มาระบุว่าทั้งสองได้พบกันหรือพูดคุยกันและกัน

นอกจาก  2  สภาพการณ์ที่เป็นเหตุให้หะดิษมีการขาดตอน  คือ

1.1  มีหลักฐานบ่งชี้อย่างชัดเจนว่านักรายงานคนนี้ไม่ได้พบกับนักรายงานอีกคนหนึ่ง (เช่นระหว่างท่านซุฟยานกับท่านฏอวูส) หรือนักรายงานอีกคนหนึ่งไม่ได้เคยได้ยินจากนักรายงานอีกคนหนึ่งเลย  เช่น  นักรายงานคนนี้ได้กล่าวปฏิเสธด้วยตนเองว่า  ไม่ได้พบกับนักรายงานอีกคนหนึ่ง  หรือมีการยืนยันว่าทั้งสองไม่เคยอยู่อยู่ร่วมพร้อมกันเลย  หรือเมืองห่างไกลกันจนกระทั่งว่าไม่สามารถนึกคิดได้เลยว่าทั้งสองจะได้เจอกัน

1.2  นักรายงานมีลักษณะเป็นที่เลื่องลือว่ามีการตัดลีส

จากสิ่งที่ผมได้นำเสนอมานี้    ท่านซุฟยานกับท่านฏอวูส  มีสิทธิ์ที่จะได้เจอกัน   เพราะไม่มีหลักฐานใดมายืนยันว่าทั้งสองเป็นไปไม่ได้ที่จะได้เจอ    ,  ทั้งสองก็อยู่ในสมัยเดียวกัน ,  แม้เมืองกูฟะฮ์จะห่างกับเมืองเยเมน  แต่ปรากฏว่าท่านฏอวูสเองก็ได้รับสายรายงานจากนักหะดิษที่อยู่กูฟะฮ์  และยิ่งกว่านั้นยังมีการยืนยันว่า  ทั้งสองได้เจอกัน   แต่หากว่า  ทั้งสองไม่ได้เจอกันจริง  ก็เป็นเพียงการขาดตอนที่เล็กน้อย  ซึ่งหะดิษสามารถนำมาเป็นหลักฐานได้   โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีสายรายงานอื่นมาสนับสนุน

วัลลอฮุอะลัม   


อ้างอิงข้อความจาก : MPW.SO

2.2 ฏอวูสเป็นชาวเยเมน ในขณะที่สุฟยานเป็นชาวกูฟะฮฺ ในกรณีนี้เราไม่สามารถจะยืนยันถึงความเป็นไปได้ที่ทั้งสองจะพบเจอกัน นอกจากว่าจะมีการยืนยันว่าฏอวูสเคยเดินทางไปยังกูฟะฮฺในช่วงอายุของสุฟยานดังกล่าวเท่านั้น ส่วนความเป็นไปได้ที่สุฟยานจะเดินทางไปยังเยเมนในช่วงอายุก่อน 10 ขวบนั้น คงไม่ต้องพูดถึง เพราะทั้งอบูนุอิม และท่านอื่น ๆ ต่างระบุว่าสุฟยานเริ่มเดินทางออกจากเมืองกูฟะฮฺเมื่อปี 150 ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ฏอวูสได้เสียชีวิตไปแล้วถึง 40 กว่าปี

อ้างอิงข้อความจาก : al-azhary

คุณ MPW.SO กำลังพยายามทำการกีดกันให้ท่านฏอวูสกับท่านซุฟยานไม่ให้เจอกัน  และพยายามทำให้ในช่วง 9 ปี หรือ 12 ปี  นั้น  เป็นช่วงเวลาที่ท่านซุฟยานถูกกักบริเวนอยู่ในกูฟะฮ์  และกักบริเวนท่านฏอวูสอยู่ที่เยเมน  โดยไม่ให้ออกไปใหน  เพื่อจะตัดสินว่า  ท่านซุฟยานกับท่านฏอวูส ไม่มีโอกาสได้เจอกันหรืออยู่ร่วมกัน  หรือไม่สามารถรายงานกันได้เลย  และการที่ท่านซุฟยานถูกระบุว่าออกจากกูฟะฮ์นั้น  หมายถึง ออกจากกูฟะฮ์โดยไม่หวนกลับมา

หากมีนักรายงานคนหนึ่งเกิดหลังจากนักรายงานอีกคนหนึ่งถึง 2 ปี  จึงไม่สามารถรายงานกันได้  อันนี้พอฟังขึ้นครับและสายรายงานขาดตอนแน่นอน  แต่กรณีของท่านซุฟยานกับท่านฏอวูสอยู่ร่วมสมัยกันถึง 9 ปี หรือ 12 ปี  คุณก็พยายามที่จะทำให้ทั้งสองไม่พบกัน  เพราะจะฮุกุ่มว่าหะดิษมีการขาดตอน   ผมขอกล่าวว่า  หากขาดตอนจริง  ก็เพียงแค่ إنقطاع يسير  "ขาดตอนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น"  ซึ่งไม่มีผลในการที่จะฮุกุ่มฏออีฟหะดิษ  โดยเฉพาะกับท่านซุฟยานอัษเษารีย์ที่อยู่ร่วมสมัยของท่านฏอวูส

คุณ MPW.SO ไม่คิดบ้างหรือครับว่า  ท่านฏอวูสก็ออกเดินทางไปแสวงหาหะดิษ  และเป็นไปได้ที่ท่านได้เดินทางไปแสดงหาหะดิษที่กูฟะฮ์

ท่านฏอวูสมีอาจารย์ของท่านคนหนึ่งที่  زيد بن أرقم  (ซัยด์ บิน อัรกอม) ซึ่งท่านซัยด์ บิน อัรกอม นั้น  พำนักอยู่ที่กูฟะฮ์  และเสียชีวิตที่นั่น และท่านเองก็เป็นนักรายงานหรือเป็นสายสืบหะดิษของชาวกูฟะฮ์

ท่านฏอวูสมีอาจารย์ที่ชื่อ  عبد الله بن شداد بن الهاد  (อับดุลลอฮ์ บิน ชัดดาด บิน อัลฮาด)  ซึ่งท่านก็อยู่ที่กูฟะฮ์  และเป็นนักรายงานหรือเป็นสายสืบหะดิษของชาวกูฟะฮ์ (กูฟียีน)

ท่านฏอวูสมีอาจารย์ที่ชื่อ  عبد الله بن مسعود  ท่าน  อับดุลเลาะฮ์  อิบนุ  มัสอูด (ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ)  ซึ่งเป็นปรมาจารย์ของปราชญ์ตาบิอีนแห่งกูฟะฮ์

ท่านอัลมิซฺซีย์  กล่าวว่า

وقال الفريابي عن سفيان كان طاووس يجلس في بيته فقيل له في ذلك فقال حيف الأئمة وفساد الناس
     
"อัลฟิรยาบีย์ ได้กล่าว จากท่านซุฟยาน  ฏอวูสได้นั่งอยู่ที่บ้านของเขา  จึงถูกถามกับเขาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว  ท่านฏอวูสตอบว่า  บรรดาผู้นำมีความอธรรมและบรรดาผู้คนมีความเสื่อมโทรม"  ดู หนังสือ อัตตะฮ์ซีบ อัลกะมาล  หมวดท่านซุฟยาน อัษเษารีย์

ท่านอัลมิซฺซีย์  กล่าวว่า

حدثنا عمر بن شبة قال حدثنا أبو عاصم قال زعم لي سفيان قال جاء بن لسليمان بن عبد الملك فجلس إلى جنب طاووس فلم يلتفت إليه فقيل له جلس إليك بن أمير المؤمنين فلم يلتفت إليه

"ได้เล่าให้เราทราบโดย  อุมัร บิน ชับบะฮ์  เขากล่าวว่า  ได้เล่าให้เราทราบโดย อบูอาซิม  เขากล่าวว่า  ซุฟยานได้อ้างแก่ฉันว่า   บุตรของสุลัยมาน บิน อับดุลมาลิก  ได้นั่งข้างท่านฏอวูส  แต่ท่านฏอวูสไม่หันหน้าไปยังเขา  จึงถูกกล่าวแก่เขาว่า  บุตรของอะมีรุลมะอฺมินีนได้นั่งใกล้ท่าน  ดังนั้น ท่านฏอวูสก็ไม่หันหน้าไปหาเขา" ดู หนังสือ อัตตะฮ์ซีบ อัลกะมาล  หมวดท่านซุฟยาน อัษเษารีย์

ท่านอิมามอัสสะยูฏีย์  ซึ่งเป็นนักหะดิษระดับอะมีรุลมุอ์มิมีนและเป็นนักจำหะดิษและผู้รายงาน   ท่านหนึ่งของโลกอิสลามเอง   ก็ได้ยืนยันแล้วว่า

إلا أكثر روايته عنه بواسطة

"แต่ทว่าส่วนมากจากการรายงานของท่านซุฟยานจากท่านฏอวูสนั้นด้วยสื่อกลาง"  ( ดู  หนังสืออัลหาวีย์ ลิลฟะตาวา เล่ม 2 หน้า 216 )

จากคำกล่าวของอิมามอัสสะยูฏีย์   ได้ยืนยันแล้วว่า  ยังมีหะดิษอื่น ๆ อีกที่ท่านซุฟยานได้รายงานจากท่านฏอวูสและท่านซุฟยานได้รายงานจากท่านฏอวูสจริง   แต่ทว่าส่วนมากจะรายงานด้วยสื่อกลาง   นั่นคือการยืนยันของนักปราชญ์หะดิษ

ดังนั้น  คุณจะกีดกันไม่ให้ท่านฏอวูสเข้ากูฟะฮ์ย่อมไม่ได้ครับ  และท่านซุฟยานก็อยู่กูฟะฮ์   ไม่สามารถที่จะได้เจอกันกับฏอวูสสักครั้งหนึ่งเพื่อรายงานจากท่านฏอวูสเลยหรอครับ  ทั้งที่มีนักปราชญ์หะดิษยืนยันแล้วว่า  ท่านซุฟยานได้รายงานจากฏอวูสด้วยเช่นกัน  แต่ส่วนมากจะมีสื่อกลางรายงาน

วัลลอฮุอะลัม


อ้างอิงข้อความจาก : asan

ท่านอัซซะฮะบีย์ ได้กล่าวถึง ครูที่ถ่ายทอดหะดิษให้แก่ท่านซุฟยาน อัษเษารีย์ ในหนังสือ ซิยาร อะอฺลามินนุบะลาอ์ เล่ม  7 หน้า 175-177  ก็ไม่ปรากฏรายชื่อของ ฏอวูสอยู่เลย  โปรดดูข้างล่างนี้

الأسود بن قيس , وأشعث بن أبي الشعثاء , وأيوب السختياني , وبَهْزُ بن حكيم , وثور بن يزيد , وجامع بن شداد , وحبيب بن أبي ثابت وهو من كبار شيوخه , وحُميد الطويل , وخالد الحذّاء , ورَبيعة الرأي , وزياد بن عِلاقة وهو من كبار مشيخته , وأبو حازم : سلمة بن دينار , وسلمة بن كُهيل وهو من كبارهم , وسليمان الأعمش , وسليمان التيمي , وعاصم الأحول , وعبد الله بن سعيد المقبري , وعبد الله بن عون ، وعطاء بن السائب , وعكرمة بن عمار , وعمرو بن دينار , ومحمد بن المنكدر وهو من كبارهم , وهشام ابن عُروة , ويحيى بن سعيد الأنصاري , وأبو إسحاق السَّبيعي . ويقال إن عدد شيوخه ست مائة شيخ
........
เพราะฉะนั้น ท่านซุฟยาน ไม่ได้รับฟังหะดิษจากฏอวูสอย่างแน่นอน

อ้างอิงข้อความจาก : al-azhary

บังอะสันยกคำพูดของท่านอัซซะฮะบีย์ในการกล่าวถึง อาจารย์บางส่วนของท่านซุฟยาน เพียงแค่ 26 ท่าน  โดยไม่ได้กล่าวท่าน ฏอวูส เอาไว้  แล้วบังอะสันก็ฮุกุ่มเลยว่าท่านซุฟยานไม่ได้รับฟังหะดิษจากท่านฏอวูสเพราะท่านอัซซะฮะบีย์ไม่ได้กล่าวอาจารย์ของท่านซุฟยานไว้ใน 26 ท่าน  นั่นก็แสดงว่า  หากอาจารย์คนอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ 26 ท่านนี้ ก็แสดงว่า  ท่านซุฟยานไม่ได้ยินจากพวกเขา  ทั้งที่ท่านซุฟยานเองมีอาจารย์มากกว่า 26 ท่าน  และในช่วงท้ายนั้นบังอะสันไม่ได้สังเกตุหรอครับ  ท่านอัซซะฮะบีย์กล่าวไว้อย่างไร

 ويقال إن عدد شيوخه ست مائة شيخ

"ถูกกล่าวว่าจำนวนอาจารย์ของท่านซุฟยานมีถึง 600 คน"   

หรือว่า  อาจารย์ของท่านซุฟยานอีก  574  คนนั้น  ท่านซุฟยานไม่ได้ยินหะดิษจากพวกเขา  เนื่องจากท่านอัซซะฮะบีย์ไม่ได้กล่าวไว้??


อ้างอิงข้อความจาก : asan

น้องบ่าวครับ  ฏอวูสเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่ง แล้วท่านฎอวูสเป็นอาจารย์ลำดับที่เท่าไหร่หรือครับ  แล้วมีหนังสือเล่มใหน ที่ระบุว่า ฏอวูสได้ถ่ายทอดหะดิษแก่ท่านซูฟยาน ตัวต่อตัว  ?

อ้างอิงข้อความจาก : al-azhary

ใช่ครับท่านฏอวูสเป็นบุคคลสำคัญท่านหนึ่ง  แต่ท่านซุฟยานได้รายงานจากท่านน้อยซึ่งไม่เหมือนกับอาจารย์ท่านอื่น ๆ ของท่านซุฟยาน  จึงทำให้ท่านอัซซะฮะบีย์ไม่ได้ระบุชื่ออาจารย์คนสำคัญ ๆ ที่มีบทบาทในการถ่ายทอดหะดิษแก่ท่านซุฟยาน   และท่านซุฟยานมีอาจารย์ตั้ง 600  คน  หนึ่งในนั้นไม่ใช่ท่านฏอวูสเลยหรือครับ ?  อันเนื่องจากเหตุผลที่ว่า "ไม่มีหนังสือเล่มใดระบุว่าฏอวูสได้ถ่ายทอดหะดิษแก่ท่านซุยาน"  การที่เราไม่พบหนังสือระบุว่าฏอวูได้ถ่ายทอดหะดิษแก่ท่านซุฟยานนั้น  ไม่ได้หมายความว่า  ทั้งสองไม่มีสิทธิ์ได้เจอกัน    การอ้างเหตุผลที่ว่าไม่มีหนังสือเล่มใดระบุ   ไม่ใช่การอ้างหลักฐานในเชิงวิชาหะดิษที่จะนำมาอ้างว่าทั้งสองไม่ได้เจอกัน  และการที่เราไม่เจอนั้นไม่ใช่หมายความว่าไม่มี  เพราะหลักฐานที่เด็ดขาดที่มายืนยันว่าทั้งสองไม่ได้เจอกันก็คือ  "ท่านซุยานได้ปฏิเสธการเห็นท่านฏอวูสเอง"    และการที่เราจะทราบว่าท่านซุฟยานได้รายงานจากท่านฏอวูสหรือไม่นั้น  เรากลับไปหานักปราชญ์หะดิษมายืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าว

ท่านอิมามอัสสะยูฏีย์  ซึ่งเป็นนักหะดิษระดับอะมีรุลมุอ์มิมีนและเป็นนักจำหะดิษและผู้รายงาน   ท่านหนึ่งของโลกอิสลามเอง   ก็ได้ยืนยันแล้วว่า

إلا أكثر روايته عنه بواسطة

"แต่ทว่าส่วนมากจากการรายงานของท่านซุฟยานจากท่านฏอวูสนั้นด้วยสื่อกลาง"  ( ดู  หนังสืออัลหาวีย์ ลิลฟะตาวา เล่ม 2 หน้า 216 )

จากคำกล่าวของอิมามอัสสะยูฏีย์   ได้ยืนยันแล้วว่า  ยังมีหะดิษอื่น ๆ อีกที่ท่านซุฟยานได้รายงานจากท่านฏอวูสและท่านซุฟยานได้รายงานจากท่านฏอวูสจริง   แต่ทว่าส่วนมากจะรายงานด้วยสื่อกลาง   นั่นคือการยืนยันของนักปราชญ์หะดิษ

วัลลอฮุอะลัม


อ้างอิงข้อความจาก : asan

เมื่อท่านซุฟยานไม่ได้พบกับฏอวูส และเป็นไปได้ว่า ท่านซุฟยานได้ยินจากการบอกเล่าอีกที แต่ท่านไม่ระบุชื่อ แล้วไประบุชื่อฏอวูส เลย แบบนี้ก็เป็นรายงานลักษณะตัดลิส (คื่อ การอำพรางตัวบุคคล)เพื่อให้หะดิษน่าเชื่อถือ  น้องบ่าวพยายามที่จะอ้างเหตุผลเพื่อให้หะดิษนี้มีความชอบธรรม ในการทำบุญมัยยิต ครบรอบ 7 วัน ทั้งหะดิษนี้ ไม่เศาะเฮียะ

อ้างอิงข้อความจาก : al-azhary

การที่บังอะสันฟันธงว่าท่านซุฟยานไม่ได้พบกับท่านฏอวูสนั้น  เราต้องให้หลักหะดิษมายืนยัน   หากมีสายรายงานขาดตอนจริง  ก็ขาดตอนเพียงเล็กน้อย  ซึ่งถือว่าไม่มีผลทำให้หะดิษฏออีฟ   หากอ้างถึงเรื่องการตัดลีสของท่านซุฟยาน  ผมก็ได้อธิบายไปแล้ว   หากจะพูดถึงการเชื่อมต่อของสายรายงาน  ผมก็บอกไปแล้วว่าหากอยู่สมัยเดียวกันก็สามารถตีความได้ยินจากท่านฏอวูส   และนักปราชญ์หะดิษก็ได้ระบุไว้แล้วว่า  ท่านซุฟยานก็รายงานถึงท่านฏอวูส  แต่น้อย   หากพิจารณาถึงหะดิษอื่นมาสนับสนุนหะดิษของท่านฏอวูสให้ซอฮิห์  ก็จบประเด็นแล้วละครับ


อ้างอิงข้อความจาก : MPW.SO

2.3 ยิ่งกว่านั้นแม้แต่บรรดานักรายงานหะดีษที่ดังๆแห่งเมืองกูฟะฮฺเองที่เสียชีวิตหลังฏอวูสหลายท่าน ได้รับการยืนยันว่าสุฟยานไม่ได้รับรายงานหะดีษจากพวกเขาด้วย ดังคำยืนยันของอัลบุคอรีย์ต่อไปนี้

وقال البخاري سمعت بن المديني يقول سئل سفيان هل رأيت ابن أشوع قال: لا، قيل: فمحارب قال وأنا غلام رأيته يقضي في المسجد ( التهذيب ج4 رقم 199

อัลบุคอรีย์กล่าวว่า ฉันได้ยินอิบนุอัลมะดีนีย์เล่าว่า มีคนถามสุฟยานว่า ท่านเคยเห็นอิบนุอัชวะอฺหรือไม่? ท่านตอบว่า ไม่ มีคนถามอีกว่า แล้วมุหาริบละ ? ท่านตอบว่า ตอนที่ฉันยังเด็กๆ ฉันเห็นเขากำลังพิพากษาคดีความในมัสยิด

อ้างอิงข้อความจาก : al-azhary

ท่านซุฟยานได้รายงานจากท่าน อัลอัชวะอฺ  นะครับ  ท่านอัลหาฟิซฺอิบนุหะญัร กล่าวว่า

وعنه: سعيد بن مسروق الثوري وابنه سفيان بن سعيد

"ได้รายงานจากอัชวะอฺ โดย สะอีด บิน มุสรูก อัษเษารีย์ และบุตรชายของเขา คือ ซุฟยาน บิน สะอีด (อัษเษารีย์)"  ดู อัตตะฮ์ซีบ  หมวด สะอีด บิน อัมร์ บิน อัชวะอฺ


อ้างอิงข้อความจาก : MPW.SO

2.1  สุฟยานเกิดปี 97 ขณะที่ฏอวูสเสียชีวิตปี 106 ตามทัศนะที่มีน้ำหนักและถูกต้องดังคำยืนยันของอัซซะฮะบีและอัลหาฟิซอิบนุหะญัร ซึ่งหมายความว่าโอกาสที่สุฟยานจะพบเจอกับฏอวูสนั้นอยู่ในช่วงอายุเพียง 9 ปีเท่านั้น ซึ่งโดยปกติ เด็กอายุช่วงนี้ยังไม่มีการรับรายงานหะดีษ

อ้างอิงข้อความจาก : al-azhary

การเสียชีวิตของท่านฏอวูส  บ้างรายงานว่าปีเสียชีวิต 106  บ้างก็รายงานว่าเสียชีวิต ปีที่ 113  ขึ้นไปจนถึงปี 120   และคุณ MPW.SO ยึดทัศนะ 106  เพื่อให้ท่านซุฟยานอายุ 9 ขวบแล้วอ้างว่าอายุช่วงนี้ไม่มีการรับรายงานหะดิษ!   แต่เรายึดทัศนะปีเสียชีวิต 113 - 120 ฮ.ศ.  เพื่อให้ท่านซุฟยาน อายุ 16 - 23  ในการที่จะมีโอกาสพบท่านฏอวูส

แต่หากเราลองมาพิจารณาอายุ 9 ขวบในการที่คุณ  MPW.SO บอกว่าอายุช่วง 9 ขวบนี้ไม่มีการรับหะดิษ   ซึ่งความจริงแล้ว  ตามหลักวิชาหะดิษ  เด็กอายุ 5 ขวบก็สามารถได้ยินหะดิษได้แล้ว  เพราะอายุ 5 ขวบนั้น ถือว่ารู้เดียงสาแล้ว  โดยเฉพาะท่านซุฟยานอัษเษารีย์ซึ่งบิดาของท่านก็เป็นนักหะดิษเช่นเดียวกัน   ท่านอิมามอัลบุคอรีย์  ได้รายงานจาก มะห์มูด บิน อัรร่อเบี๊ยะอฺ  ซึ่งเขากล่าวว่า "ฉันได้ฟื้นคืนสติ  จากการพ่นน้ำครั้งหนึ่ง  ที่ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้พ่นมันจากน้ำในถัง  โดยฉันอายุได้ 5 ขวบ"  ดังนั้น ท่านอิมามอัลบุคอรีย์ได้ทำการตั้งหัวข้อบทหนึ่งที่ว่าด้วยเรื่อง ( باب متى يصح سماع الصغير )  "เมื่อใดที่เด็กสามารถได้ยินอย่างถูกต้อง"   

วัลลอฮุอะลัม 


อ้างอิงข้อความจาก : MPW.SO

2. สายรายงานของท่านซุฟยานนี้  ก็ไม่มีสายรายงานมาสนับสนุนในการยืนยันว่า  ถ้อยคำที่ชี้ถึงการได้ยินหะดิษนี้ของท่านซุฟยานจากท่านฏอวูส ซึ่งคำอ้างของอิมามสุยูฏีเป็นเพียงการคาดคะเนเท่านั้น  และการคาดคะเนของท่านไม่น่าจะถูกต้อง ด้วยเหตผลด้านพยานแวดล้อมดังนี้

อ้างอิงข้อความจาก : al-azhary

คำว่า  สนับสนุน  นั้น  ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานยืนว่าท่านซุฟยานได้ยินจากท่านฏอวูสเพียงอย่างเดียวเท่านั้น  เพราะหากแม้ว่าไม่มีหลักฐานยืนว่าไม่ได้ยินจากฏอวูสก็ตาม  ก็ไม่ใช่เป็นหลักการอ้างที่จะนำให้หะดิษนี้ตกไปเลยแม้แต่น้อย  และหะดิษที่นำมาสนับสนุน  ย่อมเป็นหะดิษอื่น ๆ ที่มาสนับสนุนสายรายงานของท่านซุฟยานจากฏอวูส  และผมหวังว่าคุณคงเข้าใจคำว่า " الشاهد "  "ตัวที่มาสนับสนุน" ตามหลักวิชาหะดิษ

ท่านอิมามอัสสะยูฏีย์ ได้กล่าวว่า

"ประเด็นปัญหา  การสอบถามคนตายในกุบูร 7 วัน  ซึ่งได้นำเสนอรายงานโดยบรรดาอิมามหลายท่านไว้ใหนตำราของพวกเขา  ท่านอิมามอะห์มัด บิน ฮัมบัล ได้นำเสนอรายงานไว้ในหนังสือ  อัซซุฮ์ดิ , ท่านอัลหาฟิซฺ อบู นุอัยม์ อัลอัสฟะฮานีย์  ได้นำเสนอรายงานไว้ในหนังสือ  อัลฮิลยะฮ์ ด้วยสายรายงานถึงท่านฏอวูส หนึ่งจากอุลามาอ์ชั้นนำของตาบิอีน , และท่านอิบนุ ญุรัยจ์  ได้นำเสนอรายงานไว้ใน มุซันนัฟของท่าน  ด้วยสายรายงานถึงท่านอุบัยด์ บิน อุมัยร์ - ซึ่งเขาอาวุโสกว่าฏอวูส -  ยิ่งกว่านั้น  เขายังถูกกล่าวว่าเป็นซอฮาบะฮ์  และได้อ้างอิงหะดิษต่าง ๆ โดยท่านอัลหาฟิซฺ ซัยนุดดีน อิบนุ ร่อญับ  ไว้ในหนังสือ อะฮ์วาลกุบูร  ด้วยสายรายงานถึงท่านมุญาฮิดและอุบัยด์ บิน อุมัยร์  ดังนั้น  ท่านอิบนุรอญับได้ตัดสินว่าสามรายงานนี้(คือ สายของท่านฏอวูส , มุญาฮิด , และท่านอุบัยด์ บิน อุมัยร์) ว่าอยู่ในฮุกุ่มขอหะดิษมุรซัลที่ยกอ้างไปยังท่านนบี"  ( ดู หนังสือ อัลหาวีย์ อัลฟะตาวา เล่ม 2 หน้า 215)

ท่านอิมามอัสสะยูฏีย์  กล่าวว่า

قال ابن جريج فى مصنفه عن الحارث بن أبى الحارث عن عبيد بن عمير قال : يفتن رجلان مؤمن ومنافق ، فأما المؤمن فيفتن سبعا ، وأما المنافق فيفتن أربعين صباحا

"ท่านอิบนุ ญุรัยจ์  ได้กล่าวไว้ในหนังสือ  มุซันนัฟของท่าน  จาก อัลหาริษ บิน อบีลหาริษ  จากท่านอุบัยด์ บิน อุมัยร์  ซึ่งเขากล่าวว่า   มีบุรุษสองประเภทที่จะถูกถาม(ในกุบูร) คือ ผู้ที่ศรัทธาและผู้ที่กลับกลอก(มุนาฟิก)  สำหรับผู้ที่ศรัทธานั้นจะถูกถาม 7 วัน  และผู้ที่กลับกลอก(มุนาฟิก) จะถูกถาม 40 วันตอนเช้า"   

ท่านอิมามอัสสะยูฏีย์  กล่าววิจารณ์ว่า

1. ท่านอุบัยด์ บิน อุมัยร์  คือ  อัลลัยษีย์  นักสุนทรพจน์ของมักกะฮ์   ท่านอิมามมุสลิม กล่าวว่า เขาได้เกิดในสมัยของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  และคนอื่น ๆ กล่าวว่า  เขาได้เห็นท่านนบี  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวนี้  ย่อมชี้ให้เห็นว่าเขาคือซอฮาบะฮ์

2.  สำหรับอัลหาริษ บิน อบีลหาริษ  เขาคือ  บุตรของ อับดุรเราะห์มาน  บิน อับดิลลาฮ์  บิน สะอัด  บิน  อบีซัยยาบ อัดเดาซีย์   ซึ่งอิมามอัลบุคอรีย์ได้รายงานจากเขาไว้ในหนังสือ  ค๊อลกุลอิบาด  และท่านมุสลิมก็ได้รายงานจากเขาไว้ในหนังสือซอฮิห์ของท่าน

3.  ท่านอิบนุญุรัยจ์ คือ อิมาม  อับดุลเลาะฮ์  บิน อับดุลอะซีซ  บิน ญุรัยจ์  อัลอะมาวีย์   ท่านอะห์มัดกล่าวว่า  เขาคือคนแรกที่ทำการประพันธ์ตำราต่าง ๆ ขึ้นมา   ท่านอิบนุ อุยัยนะฮ์ กล่าวว่า  ฉันได้ยินท่านอิบนุญุรัยจ์ กล่าวว่า  ไม่มีผู้ใดที่ทำการบันทึกวิชาการเช่นฉันเลย  และเขาได้รายงานจากบรรดาตาบิอีนมากมาย  เขาเสียชีวิตในปี 149 ฮ.ศ.  โดยมีอายุเกิน 100 ปี   (สรุปจากหนังสือ  อัลหาวีย์ ลิลฟะตาวา หน้า 216 - 613 )

ท่านอิมามอัสสะยูฏีย์  ได้กล่าวอธิบายอีกว่า

والإعتضاد ههنا موجود فإنه روى مثله عن مجاهد ، وعن عبيد بن عمير وهما تابعيان إن لم يكن عبيد صحابيا...وأما إذا قلنا بثبوت الصحبة لعبيد بن عمير فإن الحديث يكون مرفوعا متصلا من طريقه ، وأثر طاووس شاهد قوى له يرقيه إلى مرتبة الصحة

"ได้มีสิ่งที่มาสนับสนุนเกื้อกูลกันใน ณ (ที่หะดิษของท่านฏอวูส)นี้  เพราะได้มีการรายงานเหมือน(หะดิษฏอวูส)  จากท่านมุญาฮิด , และจากท่านอุบัยด์ บิน อุมัยร์  ซึ่งทั้งสองเป็นตาบิอีน  หากแม้นว่าท่านอุบัยด์ บิน อุมัยร์ ไม่ใช่ซอฮาบะฮ์ก็ตาม....แต่เมื่อเราได้กล่าวว่า  การเป็นซอฮาบะฮ์ได้มีการรับรองให้แก่ท่านอุบัยด์ บิน อุมัยร์จริง  ดังนั้น  หะดิษจึงอยู่ในฐานะยกอ้างถึงท่านนบีโดยมีสายรายงานสืบเนื่องจากหนทางรายงานของเขา(คืออุบัยด์ บิน อุมัยร์)   โดยที่  หะดิษของท่านฏอวูสนั้น  มีสายรายงานมาสนับสนุนที่มีน้ำหนัก  ซึ่งทำให้ยกระดับหะดิษของท่านฏอวูสให้อยู่ในระดับที่ซอฮิห์"  (สรุปจากหนังสือ  อัลหาวีย์ ลิลฟะตาวา หน้า 221 )

นั่นคือหลักพิจารณาหะดิษของ  อิมามอัสสะยูฏีย์  นักปราชญ์อัลหะดิษท่านหนึ่งที่อยู่ในตำแหน่งอะมีรุลมุอ์มินีนฟิลหะดิษ

وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ย. 29, 2008, 02:21 PM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: ทำบุญเจ็ดวัน
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ต.ค. 26, 2008, 09:21 PM »
0
بسم الله الحمن الرحيم

ตอบโดย อาจารย์ อะลี เสือสมิง

الحمد لله رب العالمين والصلاة والسلام على رسول الله وعلى آله وصحبه أجمعين  وبعد...؛

มาถึงเรื่องกินบุญบ้านคน ตาย (بواة ماكن كماتين)  มีคำฟัตวาของบรรดามุฟตีย์ในนครมักกะฮฺตอบเอาไว้ เช่น ชัยค์อะฮฺหมัด อิบนุ ซีนีย์ ดะฮฺลาน มุฟตีย์มัซฮับอัชชาฟิอีย์ในนครมักกะฮฺ และชัยค์ อับดุรเราะฮฺมาน อิบนุ อับดิลลาฮฺ ซิรอจญ์ อัลฮะนะฟีย์ มุฟตีย์นครมักกะฮฺ (ดู อิอานะตุตตอลิบีน เล่มที่ 2 หน้า 165,166)

ซึ่งทั้งสองท่านระบุว่าเป็นบิดอะฮฺ ในบางกรณีเป็นมักรูฮฺ และบางกรณีเป็นบิดอะฮฺ มักรูฮะฮฺ และบางกรณีก็เป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม) กล่าวคือต้องแยกเป็นกรณี ๆ ไป ซึ่งการแยกเป็นกรณี ๆ  นี้มีคำฟัตวาของ  ลัจญนะฮฺ อุละมาอฺปัตตานี (21 มกราคม 2516) ดังนี้ :-

1. ครอบครัวของผู้ตายทำอาหารเนื่องจากการตายเพื่อซอดะเกาะฮฺผลบุญไปยังผู้ตาย โดยพวกเขาไม่มีการเชิญ ฮุก่มคือ เป็นซุนนะฮฺโดยมติของสภานักวิชาการปัตตานี

2. ครอบครัวของผู้ตายทำอาหารและพวกเขานั้นเรียกผู้คนไปกินอาหารเนื่องจากมี เจตนาซอดะเกาะฮฺผลบุญ และอุทิศผลบุญในการรวมตัวนั้นยังผู้ตาย ฮุ่ก่มคือ ทำได้ เพราะเข้าข่ายในตัวบท “การเลี้ยงอาหาร” (إطعام) ซึ่งถูกใช้ในหะดีษของตอวู๊ซ ทั้งนี้เพราะการเลี้ยงอาหารนั้นครอบคลุมถึงการรวมตัวที่บ้านของผู้ตายหรือ ที่อื่น ๆ

3. ครอบครัวของผู้ตายทำอาหารที่บ้านของเขาหรือที่บ้านของผู้ตายในวันที่ตายหรือ ในวันอื่น ๆ เนื่องจากถือตามประเพณี มิได้เป็นไปเนื่องจากเจตนาอิบาดะฮฺและเจตนา (อุทิศ) ผลบุญไปยังผู้ตาย ฮุก่มคือ มักรูฮฺ โดยมติของสภานักวิชาการปัตตานี

4. ครอบครัวผู้ตายทำอาหารจากทรัพย์มรดกซึ่งยืนยันแน่นอนด้วยสิทธิ เช่น ลูกกำพร้าหรือเนื่องด้วยครอบครัวผู้ตายถูกบังคับให้ทำโดยไม่เต็มใจและไม่บริ สุทธิใจ ฮุก่มคือ ต้องห้าม (ฮะรอม) โดยมติของสภานักวิชาการปัตตานี (อ้างจาก علماءبسردرى فطانى  โดย أحمدفتحى الفطانى หน้า 238)

ซึ่งการออกฟัตวานี้เป็นผลมาจากข้อเขียนของ ชัยค์ อับดุลลอฮฺ บันดัง กะบง ในหนังสือของท่านที่ชื่อ الكواكب النيرات فى رداهل البدع والعادات ซึ่งท่านมีฟัตวาว่า การทำบุญบ้านคนตาย เป็นบิดอะฮฺมักรูฮะฮฺ ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าเจาะจงกระทำก็ถือเป็นบิดอะฮฺ มุฮัรร่อมะฮฺ (อ้างแล้ว หน้า 230)

والله أعلم

อ้างอิงจาก : การทำบุญเป็นทานแก่มัยยิด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ย. 29, 2008, 02:22 PM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged