แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - Bayhan

หน้า: [1] 2
1
รู้มั้ย..ไม่เพียงซื้อเสียงเท่านั้นที่ห้าม..หาเสียงก็ห้าม
عن أبي سعيدعبدالرحمن بن سمرة رضي الله عنه قال لي رسول الله صلى الله عليه وسلم ..ياعبدالرحمن بن سمرة لاتسأل الأمارة فاءنك اءن أعطيتهاعن غير مسألة أعيت عليها وان أعطيتهاعن مسألة وكلت أليها ...متفق عليه
ความว่า..จากอบีสะอี๊ด อับดุรเราะห์มาน บินสะมุเราะฮ์ กล่าวว่า..ท่านรอซุ้ล ศ็อลฯ ได้กล่าวว่า โอ้อับดุรเราะห์มาน บันสะมุเราห์ ท่านอย่าขอเป็นผู้นำ เพราะแท้จริงท่านนั้น หากท่านได้รับตำแหน่งการเป็นผู้นำโดยมิได้ขอ ท่านจะได้รับความช่วยเหลือในการนั้้น และหากท่านได้รับมันมาโดยการขอ ท่านก็จะถูกวางเฉยต่อตำแหน่งนั้น (หมายถึง ไม่มีใครช่วยเหลือและปฎิบัติตาม)

2

          กำลังรอคอยติดตามข่าวสารเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้อยู่ครับ  แล้วไม่มีข่าวสารอะไรใหม่บ้างเลยหรือครับ เพราะว่าหลายๆคน(รวมทั้งผมด้วย)ก็กำลังรอติดตามข่าวสารและข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหนังเล่มดังกล่าวนี้อยู่เป็นระยะๆครับ...วัสสลามุอะลัยกุม



          ครับพวกเราเองก็กำลังรอข่าวสารเหมือนกัน  บรรดาสานุศิษย์ได้ต้นฉบับครับ  แต่รอลุ้นอยู่ว่าจะได้ได้อิญาซะฮ์ต้นฉบับที่ได้รับการตรวจทานด้วยหรือไม่  หรือว่าต้องสั่งเป็นหนังสือโดยตรง โดยสั่งทางไปรษณีย์

3
 salam

          ความคืบหน้าตอนนี้ไม่มีอะไรมากมาย  ที่ทราบมาคืออยู่ในช่วงการตรวจทาน  ซึ่งผมได้มีโอกาสดูบทนำฮิกัม ที่ได้รับการตรวจทานแล้ว  จากหน้า 2-3 ครับ  มีดังนี้ครับ

หน้า 2


          หนังสือฮิกัมและผู้ประพันธ์

          ปราชญ์ผู้ประพันธ์หนังสือฮิกัมคือท่านอิมาม  ผู้มีฉายาว่า  ตาญุดดีน  มีนามว่า  อะห์มัด  บิน  มุฮัมมัด  บิน  อับดุลการีม  มีชื่อรองว่า  อิบนุอะฏออิลและฮ์  เป็นชาวอิสกันดารีย์  แห่งอียิปต์  เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 709  ท่านเป็นหนึ่งในบรรดาปราชญ์ชั้นนำในศตวรรษที่ 7  ท่านได้ศึกษาวิชาฟิกฮ์  ตัฟซีร  ฮะดีษ  ภาษาอาหรับ  และวรรณคดี  จากบรรดาคณาจารย์มากมายในอียิปต์   ใน(เส้นทางชีวิตสาย) วิชาการนั้น ท่านมุ่งเน้นขัดเกลาจิตใจโดยร่ำเรียนจากปราชญ์อาวุโสสองท่าน  คือท่านอิมามอะบูลอับบาส อัลมุรซีย์  อะห์มัด  บิน อุมัร (ฮ.ศ.616-686)  ผู้เลื่องชื่อลือนามในด้านวิชาความรู้  เป็นผู้มีคุณธรรมและยำเกรง  ท่านเสียชีวิตในปี ฮ.ศ. 686 ส่วนอาจารย์อีกท่านคือ  ชัยค์ อะบุลฮะซัน อัลชาซุลลีย์  อะลี  บิน อับดิลลาฮ์ (ฮ.ศ.593-656)  ซึ่งเป็นแกนนำของฏ่อรีเกาะฮ์อัชชาซุลลียะฮ์  ท่านเสียชีวิตในปี ฮ.ศ. ที่ 656. 1

          หลังจากอาจารย์ของท่าน  คือ อะบุลอับบาส อัลมุรซีย์  เสียชีวิต  ท่านอิบนุอะฏออิลและฮ์ได้รับสืบทอดเป็นทายาททางวิชาการ  เรียกร้องและดำเนินตามแนวทางอาจารย์ของท่านในการขัดเกลาจิตใจและปลดปล่อยผู้คนทั้งหลายจากอารมณ์ใฝ่ต่ำ  ท่านเป็นผู้ที่โด่งดังในด้านวิชาฟิกห์ก่อนหน้านั้นแล้ว  โดยท่านได้สอนวิชาฟิกห์ที่อัลอัซฮัร  มีบรรดาสานุศิษย์ระดับแนวหน้ามากมายที่ได้ร่ำเรียนวิชาความรู้จากท่าน  เช่น  ท่านอิมามตาญุดดีน อัศศุบกีย์ (ฮ.ศ. 727-771) และท่านอิมามอัลก่อรอฟีย์(ฮ.ศ. 626-684)    เป็นต้น. 2


----------------------------------------------
 1 ดู อัลลามะฮ์ ชัยค์ มุฮัมมัด สะอีด ร่อมะดอน อัลบูฏีย์, อัลฮิกัม อัลอะฏออียะฮ์  ชัรห์ วะ ตะห์ลีล (ดิมิชก์: ดาร อัลฟิกร์, ฮ.1422), เล่ม 1 หน้า 8-9.
 2 ดู มุฮัมมัด สะอีด ร่อมะดอน อัลบูฏีย์, หนังสือบทนำอัลฮิกัม อัลอะฏออียะฮ์ เล่ม 1, หน้า 9. อะบุลวะฟา อัลฆุนัยมีย์ อัตตัฟตาซะนีย์, อิบนุอะฏออิลและฮ์ วะตะเซาวุฟุฮู (อัลมิศร์: มักตะบะฮฺ อัลแองจิโล่ อัลมิศรียะห์, ฮ. 1389), หน้า 24.


หน้า 3


          ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุฮะญัร  อัลอัสก่อลานีย์ (ฮ.ศ.773-852) ได้กล่าวว่า  “ท่านอิบนุอะฏออิลและฮ์ได้นั่งบนเก้าอี้สอนที่ญาเมี๊ยะอฺอัลอัซฮัร  ด้วยคำพูดที่ทำให้เย็นใจและท่านได้ประสมประสานคำพูดของปราชญ์ซูฟีย์ด้วยคำพูดของสะละฟุศศอลิห์และศาสตร์วิชาต่างๆ  ดังนั้นท่านจึงมีสานุศิษย์ผู้เจริญรอยตามมากมายและเอกสัญลักษณ์อันดีงามนั้นได้อยู่บนท่านแล้ว”3 

          อนึ่ง  คำว่า “อัลฮิกัม”  เป็นพหูพจน์มาจากว่า “อัลฮิกมะฮ์”  หมายถึง  “วิทยปัญญาหรือองค์ความรู้แห่งศาสตร์ตะเซาวุฟ”  เป็นถ้อยคำที่สั้นและรวบรัดแต่ความหมายลึกซึ้งและกว้างขวางซึ่งได้กลั่นกรองมาจากกิตาบุลลอฮ์และซุนนะฮ์ของท่านร่อซูลุลอฮ์ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  อัลฮิกัม เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ ที่ได้บันทึกฮิกัมไว้กว่า 260 ฮิกัม ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายจนกระทั่งบรรดาปราชญ์มากมายในทุกยุคสมัยต่างทำการอรรถาธิบายเป็นร้อยเล่มเพื่อความศิริมงคลและมีส่วนร่วมในการรับใช้หลักวิชาตะเซาวุฟหรือหลักอัลเอี๊ยะห์ซาน

          ฮิกัมอิบนุอะฏออิลและฮ์ได้ประมวลเนื้อหาไว้ 3 หมวดด้วยกัน

          1. หมวดที่ว่าหลักเตาฮีดและการป้องกันมิให้มุสลิมมีภาคีที่ซ่อนเร้น (ชิริกคอฟีย์) ภายในจิตใจ
          2. หมวดที่ว่าด้วยการขัดเกลาการปฏิบัติและการปรับสภาวะจิตใจให้มีอัคลาคที่ดีงาม
          3. หมวดที่ว่าด้วยการยกระดับจิตใจให้อยู่ในตำแหน่งที่สูง

          ท่านอิมามอิบนุอะญีบะฮ์กล่าวว่า “หนังสือฮิกัมนี้ได้รวมไว้ซึ่งเนื้อหาที่อยู่ในตำราต่างๆ ของเหล่าปราชญ์ซูฟีย์พร้อมเพิ่มความกระจ่างและทำให้ถ้อยคำสั้นลง  แนวทางของฮิกัมที่ท่านอิบนุอะฏออิลและฮ์ดำเนินอยู่นี้เป็นแนวทางของหลักเตาฮีดต่ออัลเลาะฮ์  โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้ใดทำการปฏิเสธและตำหนิได้  และไม่มีคุณลักษณะที่น่าสรรเสริญใดเว้นแต่ฮิกัมจะสวมใส่มันเหล่านั้นให้แก่ผู้สนใจ และไม่มีคุณลักษณะที่เลวนอกจากจะขจัดมันออกไปจากตัวเขา” 4

          ตะเซาวุฟและอัลเอี๊ยะห์ซาน

          บางกลุ่มอาจจะกล่าวว่า  การศึกษาและเรียนฮิกัมคือการมุ่งสู่ตะเซาวุฟ  ทั้งที่ตะเซาวุฟเป็นสิ่งสอดแทรกและอุตริขึ้นมาในอิสลาม  ดังนั้นตะเซาวุฟจึงเป็นส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ์ที่ท่านร่อซูลุลลอฮ์


----------------------------------------------
  3 ดู อิบนุ ฮะญัร อัลอัสเกาะลานีย์, อัดดุร็อร อัลกามินะฮ์ (ม.ป.ท.: ฮัยดัรอาบาด, ฮ.ศ. 1357), เล่ม 1 หน้า 274.
  4 ดู อะห์มัด บิน มุฮัมมัด อิบนุ อะญีบะฮ์, อีกอซุลฮุมัม ฟีชัรหิลฮิกัม, ตะห์กีก: มุฮัมมัด อับดุลกอดิร นัสซ็อร. (ไคโร: ดารุญะวาเมี๊ยะอัลกะลิม, ม.ป.ป.), หน้า 25.

4

 salam

คุณสับสน  เข้าใจหลักการอิสลามแล้วครับ  การกล่าววิจารณ์แนวทางวะฮาบี  ไม่ใช่เป็นการนินทา  เราไม่ได้เจาะจงผู้ใด  ดังนั้นไม่สมควรถือสำคัญตนเองที่ว่า  ใครวิจารณ์วะฮาบีนับว่าเป็นการนินทากินเนื้อคนอื่นนั้น  ถือว่าไม่เข้าใจเรื่องการนินทาตามที่กิตาบุลลอฮ์และซุนนะฮ์ได้ระบุเอาไว้ 

น่าแปลกอีกเหมือนครับ  วะฮาบีนั้นเวลาพูดพาดพิงคนอื่น  ก็คิดว่าตนเองเรียกร้องสัจธรรม  แต่เวลาคนอื่นวิจารณ์บ้าง ก็หาว่านินทาและฟิตนะฮ์



5
salam

ถ้าหากว่าได้อยู่ในบรรยากาศ หากไม่เข้มแข็งจริงก็จะคล้อยตามแน่ไม่นาน ขนาดผมไปละหมาดมัสยิดวาฮาบี(ลองไปละหมาดญุมอะห์) เวลายกมือผมยกคนเดียว
บรรดาครูๆและเด็กเขาหันมาดูเลยอ่ะ (เวลาแบบนี้แหละจะทำให้เราไม่กล้าในครั้งหลัง จนชินไป)


พวก*******ที่หันมามองเชิงตำหนิในการยกมือของดุอาของคุณ ☆-มูสังผู้ยิ่งใหญ่-☆ ผมคิดว่าเหมือนกับ******กำลังหันมาจ้องมองคุณอยู่  เพราะการยกมือขอดุอาเป็นการแสดงถึงความต่ำต้อยและความทาสบ่าวต่ออัลเลาะฮ์ (อิซฮารอุบูดียะฮ์) ซึ่งดีกว่าการงอมืองอเท้าไม่ยอมยกมือ เพราะชัยฏอนมันจะรังเกลียดมุสลิมที่แสดงถึงความนอบน้อม ความต่ำต้อย และความเป็นทาสบ่าวต่ออัลเลาะฮ์

6


 salam

แค่มีฮะดีษรับรองว่า  ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทำการเช็ดศีรษะบนผ้าโพกศีรษะของท่านในการอาบน้ำละหมาด  ก็ถือว่าเพียงพอแล้วที่ยืนยันว่า การโพกศีรษะเป็นซุนนะฮ์และเป็นสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้กระทำแบบอย่างเอาไว้ในแง่ของอัคลาคหรือคุณลักษณะของท่าน

แล้วก็น่าแปลกอีกครับ  สิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้ทำเจาะจงเอาไว้  วะฮาบีก็จะไม่ทำเพราะบางทีคิดว่ามันเป็นซุนนะฮ์ตัรกียะฮ์(การทิ้งที่เป็นซุนนะฮ์)  แต่เวลาผ้าโพกสารบั่น  นบี(ซ.ล.)กระทำแบบอย่างเอาไว้ชัดเจน  วะฮาบีกลับบอกว่าไม่ได้บุญ

เหมือนกับ  วะฮาบีมีหลักการที่ว่า  สิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)กระทำแล้ววะฮาบีนำกระทำด้วย  ถือว่าได้บุญ แต่สิ่งใดที่ท่านนบี(ซ.ล.)กระทำ แต่วะฮาบีไม่กระทำ ถือว่าไม่ได้บุญ




7
นี่คือหนังสืออ้างอิงที่ผมได้รับมาจากบังอัลอัซฮะรีย์ทางข้อความส่วนตัว เอามาให้ดูเรียกน้ำย่อยก่อน  loveit:

--------------------------------------------------------------------------
บรรณานุกรม


บรรณานุกรมต้นฉบับหนังสือฮิกัมฉบับค้นคว้าภาษาไทยที่มีอยู่ที่ผมมีดังนี้ครับ

1. อัลกุรอานุลกะรีม

2. อิมามอัลบุคอรีย์ , ซอฮิห์อัลบุคอรีย์ , ตีพิมพ์ที่มักตะบะฮ์อัศศ่อฟา ไคโร , ตีพิมพ์ปี ฮ.ศ. 1423 , ตะห์กีก มะห์มูด บิน อัลญะมีล , ตีพิมพ์ที่ครั้ง 1

3. อิมามอันนะวาวีย์ , ชัรห์ซอฮิห์มุสลิม , ตีพิพม์ที่มุอัซซะซะฮ์อัลมุคตาร ไคโร , ตีพิมพ์ปี ค.ศ.  2001  , ตะห์กีกโดย ริฎวาน ญาเมี๊ยะอฺ ริฎวาน , ตีพิมพ์ครั้งที่ 1

4. อิมามอัตติรมีซีย์ , สุนันอัตติรมีซีย์ , ตีพิพม์ที่ดารุลฮะดีษ ไคโร อียิปต์ , ตีพิมพ์ปี ฮ.ศ. 1419 , ตะห์กีกโดยด็อกเตอร์ มุศตอฟา มุฮัมมัด ฮุซัยน์ อัซซะฮะบีย์ , ตีพิมพ์ครั้งที่ 1

5. อัลฮาฟิซฺ อะบิลอุลา อับดุรเราะฮ์มาน บิน อับดุรร่อฮีม อัลมุบาร่อกุฟูรีย์ , หนังสือตั๊วะห์ฟะตุลอะห์วะซีย์ บิชัรหฺ ญาเมี๊ยะอฺอัตติรมีซีย์ , ตีพิมพ์ที่ ดารุลฮะดีษ ไคโร , ตีพิมพ์ปี ฮ.ศ. 1421, ตีพิมพ์ครั้งที่ 1

6. อัลลามะฮ์ มุฮัมมัด ชัมชุลฮักก์ อัลอะซีม อาบาดีย์ , เอานุลมะบูดชัรห์สุนันอะบีดาวูด , ตีพิพม์ดารุลฮะดีษ  ไคโร อียิปต์ , ตีพิมพ์ปี ฮ.ศ. 1422 , ตีพิมพ์ครั้งที่ 1

7. อัลฮาฟิซฺ อิบนุมาญะฮ์ , หนังสือสุนันอิบนุมาญะฮ์  , ตีพิมพ์ที่ดารุลฮะดีษ  ไคโร , ตีพิมพ์ปี ฮ.ศ. 1419 ,ตะห์กีก มุสตอฟา มุฮัมมัด ฮุซัยน์  อัซซะฮะบีย์ , ตีพิมพ์ครั้งที่ 1

8. อัลฮาฟิซฺ อัลกุฏออีย์ , หนังสือมุสนัดอัชชิฮาบ , ตีพิมพ์ มุอัซซิซะฮ์ อัรริซาละฮ์ เบรุต , ตีพิมพ์ปี ฮ.ศ. 1047 , ตะห์กีกโดย ฮัมดีย์ บิน อับดุลมะญีด ตีพิมพ์ครั้งที่ 2

9. อิมามอันนะวาวีย์ , หนังสืออัลอัซการ , ตีพิมพ์ที่ ดารุลบะยาน อัลอะรอบีย์ , ตีพิมพ์ปี ค.ศ. 2006 , ตะห์กีกโดยอะบูลฟัฎล์ อัลดิมยาฏีย์ , ตีพิมพ์ครั้งที่ 1

10. อะบุลกอเซ็ม อัลกุชัยรีย์ , หนังสืออัรริซาละฮ์อัลกุชัยรียะฮ์ , ตีพิมพ์ดารุลกุตุบอัลอิลมียะฮ์ , ตีพิมพ์ปีที่ 1422 , ตะห์กีกโดย อิมามอับดุลฮะลีม มะห์มูด และชัยค์ มะห์มูด บิน อัชชะรีฟ , ไม่ระบุครั้งการตีพิมพ์

11. อิมามอับดุลวะฮ์ฮาบ  อัชชะอฺรอนีย์  , หนังสืออัลยะวากีต วัลญะวาฮิร , ตีพิมพ์ที่  อัลอัซฮะรียะฮ์ อัลมิสรียะฮ์ , ตีพิพม์ปีที่ ฮ.ศ. 1305

12. อิมามอับดุลวะฮ์ฮาบ  อัชชะอฺรอนีย์  , หนังสือละฏออิฟุลมินัน วัลอัคล๊าก , ตีพิมพ์ที่  อัลมัฏบะอะฮ์อัลมัยมะนียะฮ์  อียิปต์ , ตีพิมพ์ปี ฮ.ศ. 1312

13. อิมามอะห์มัด บิน มุฮัมมัด  อิบนุอะญีบะฮ์ อัลฮะซะนีย์ , หนังสืออีกอซุลฮิกัม ฟี ชัรหิลฮิกัม , ติพิพม์ดารุญะวาเมี๊ยะ อัลกะลิม ไคโร , ไม่ระบุปีการตีพิมพ์ , ตะห์กีกโดย ด็อกเตอร์ มุฮัมมัด อับดุลกอดิร นัสซ็อร

14.ชัยคุลอิสลาม อับดุลลอฮ์  อัชชัรกอวีย์ , หนังสืออัลมินะหุลกุดซียะฮ์  อะลัลฮิกัมอัลอะฏออียะฮ์ , ตีพิพม์ที่มุสตอฟา อัลบาบี อัลหะละบีย์ , ตีพิพม์ปี ฮ.ศ. 1358 , ตะห์กีก ชัยค์ อะห์มัด สะอัด อะลี

15. อิมามอับดุลลอฮ์ อัลยาฟิอีย์ , หนังสือนัชริลมะฮาซินอัลฆอลียะฮ์ , ตีพิมพ์ที่  ดารุลกุตุบ อัลอะร่อบียะฮ์  อียิปต์ , ตีพิพม์ปีที่ ฮ.ศ. 1329

16. ชัยค์มุฮัมมัด บิน มุศฏอฟา อิบนุ อะบีลอุลา , หนังสือชัรหฺฮิกัม มินอะฏออิลและห์ , ตีพิมพ์มักตะบะฮ์อัลญุนดีย์ , ไม่ระบุปีในการตีพิมพ์

17. ศาสตราจารย์ อับดุลฟัตตาห์ หุซัยนีย์ อัชชัยค์  , หนังสือดิรอซาต ฟีอุศูลิลฟิกห์ , ไม่ระบุสำนักพิมพ์ ,   ตีพิมพ์ปี ฮ.ศ. 1416  ไม่ระบุครั้งการตีพิพม์

18. อัลลามะฮ์ ด็อกเตอร์  มุฮัมมัด สะอีด  รอมะดอน อัลบูฏีย์ , อัลอะฏออียะฮ์  ชัรห์ วะ ตะห์ลีล ตีพิมพ์  ดารุลฟิกร์  ดิมัชก์ , ตีพิมพ์ปี  ฮ.ศ. 1422 ,ไม่ระบุครั้งการตีพิพม์

19. อัลลามะฮ์ ด็อกเตอร์  มุฮัมมัด สะอีด  รอมะดอน อัลบูฏีย์ , หนังสือ อัลอินซาน มุค็อยยัร อัม มุซัยยัร , ตีพิมพ์ดารุลฟิกร์ , ตีพิมพ์ปี ฮ.ศ. 1429 

20. ศาสตราจารย์อะบุลวะฟา อัลฆุนัยมีย์ อัตตัฟตาซะนีย์ , อิบนุอะฏออิลและฮ์ วะตะเซาวุฟุฮู , ตีพิมพ์มักตะบะฮ์ อัลแองจิโล่ อัลมิสรียะฮ์ , ตีพิพม์ปี ฮ.ศ. 1389 , ตีพิมพ์ที่ครั้งที่ 2

21. อัลลามะฮ์ ชัยค์ อะลี อัลบัยยูมีย์ , หนังสืออัลฮิดายะฮ์ ลิลอินซาน อิลัลกะรีม อัลมันนาน , ไม่ระบุสำนักพิมพ์ , ตีพิพม์ปี ฮ.ศ. 1424 , ตะห์กีกโดย มุฮัมมัด อิบรอฮีม มุฮัมมัด ซาลิม , ไม่ระบุครั้งการตีพิพม์

22. ชัยคุลอิสลาม อัลฮาฟิซฺ อิบนุ ฮะญัร อัลอัสเกาะลานีย์ , หนังสืออัดดุร็อร อัลกามินะฮ์ , ตีพิมพ์ ฮัยดัรอาบาด , ตีพิมพ์ปี ฮ.ศ. 1357

23. อิมามอัลบาญูรีย์ , ฮาชียะฮ์อัลอิมามอัลบาญูรีย์ อะลาเญาฮะเราะฮ์อัตเตาฮีด , ตีพิมพ์ที่ดารุสลาม , ตีพิมพ์ อียิปต์ปี ฮ.ศ. 1429 , ตะห์กีก อัลลามะฮ์ ด็อกเตอร์ อะลี ญุมะฮ์ อัชชาฟิอีย์ , ตีพิพม์ครั้งที่ 4

24. อัลลามะฮ์ ชัยค์ มุฮัมมัด บิน อะห์มัด ซัรรูก , อัลฮิมอัลอะฏออียะฮ์ บิชัรห์ ซัรรูก , ตีพิมพ์ดารุลกุตุบอัลอิลมียะฮ์  ตีพิมพ์ปี ฮ.ศ. 1424 , ตะห์กีกโดย ร่อมะดอน บิน มุฮัมมัด บิน อะลี อัลบัดรีย์ , ตีพิพม์ครั้งที่ 1

25. อิมามอิบนุอะฏออิลและฮ์ , หนังสืออัตตันวีร  ฟี  อิสก็อต  อัตตัดบีร , ตีพิมพ์ที่ดารุลบัยรูต  ดิมัชก์ , ตีพิมพ์ปี ฮ.ศ. 1423 , ตะห์กีกโดยมุฮัมมัด อะมีน อับดุลฮาดี อัลฟารูกีย์  , ตีพิพม์ครั้งที่ 2

26. อิมามอิบนุอะฏออิลและฮ์ , หนังสือละฏออิฟุลมินัน, ตีพิพม์ที่ ละฏออิฟุลมะอาริฟ , ไม่ระบุปีการตีพิพม์ , ตะห์กีกโดย   อิมาม อับดุลฮะลีม มะห์มูด , ตีพิพม์ครั้งที่ 2

27. อิมามอิบนุอะฏออิลและฮ์, หนังสือตาญุลอุรูส  อัลฮาวี ลิตะฮ์ซีบ อันนุฟูส , ตีพิมพ์ที่ดารุลมักตะบีย์ ดิมัชก์ ซีเรีย , ตีพิมพ์ปี ฮ.ศ. 1429 , ตะห์กีกและอธิบายโดย ด็อกเตอร์มุฮัมมัด นัจญฺด๊าด อัลมุฮัมมัด , ตีพิพม์ครั้งที่ 2

28. ด็อกเตอร์ อับดุลมุนอิม อัลหัฟนีย์ , หนังสือมั๊วะญัม มุสต่อละหาด อัศศูฟียะฮ์ , ตีพิมพ์ที่ดารุลมัยซะเราะฮ์ เบรุต , ตีพิมพ์ปี ฮ.ศ. 1407 , ตีพิพม์ครั้งที่ 2

29. ด็อกเตอร์ อับดุลมุนอิม อัลหัฟนีย์ , หนังสือเมาซูอะฮ์อัศศูฟียะฮ์ , ตีพิมพ์ที่ มักตับมัดบูลีย์ , ตีพิมพ์ในปี ฮ.ศ. 1424, ตีพิพม์ครั้งที่ 1

30. ด็อกเตอร์มุฮัมมัด อับดุลเลาะฮ์ อัลก็อดฮาด และ ด็อกเตอร์เอี๊ยะห์ซาน ษะนูน อัษษามีรีย์ , หนังสือร่อซาอิล มินัตตุร็อษอัศศูฟีย์ ฟีลุบซิลคิรเกาะฮ์ , ตีพิมพ์ที่ ดารุรรอซีย์ , ตีพิมพ์ปี ฮ.ศ. 1423, ตีพิพม์ครั้งที่ 2

31. อัลฮาฟิซฺ อิบนุ กะษีร , หนังสือซ็อฟวะฮ์ อัซซีเราะฮ์อันนะบะวียะฮ์ , ตีพิมพ์โดยกระทรวงสาธารณะสมบัติแห่งอียิปต์ , ตีพิมพ์ปี ฮ.ศ. 1424 , ตีพิพม์ครั้งที่  3

32. อะบูมุฮัมมัด อับดุลมาลิก  อิบนุฮิชาม , หนังสือมุคตะซ็อร ซีเราะฮ์อิบนุฮิชาม , ตีพิมพ์โดยกระทรวงสาธารณะสมบัติแห่งอียิปต์ , ตีพิมพ์ปี ฮ.ศ. 1424 , ตีพิพม์ครั้งที่ 7

33. อิหม่าม อัชชัยค์ อับดุลกอดิร  อัลญีลานีย์  , หนังสืออัลฟัตหุรร็อบบานีย์  , ตีพิมพ์ที่ บูล๊าค อียิปต์ ,ตีพิพม์ ปีที่ ฮ.ศ. 1302 , ตีพิพม์ครั้งที่ 1

34. ชัยค์ อิบรอฮีม  อัซซัมฮูดีย์ มักตะบะฮ์อัลอิมามมาลิก , หนังสือสะอาดะตุดดาร็อยน์ ฟิดร็อดดิอะลัลฟิรก่อตัยน์ อัลวะฮาบียะฮ์วัมุก็ลลิดะฮ์อัซซอฮิรียะฮ์ , ตีพิมพ์ที่มักตะบะฮ์อัลอิมามมาลิก, ตีพิมพ์ปี ฮ.ศ. 1426 , ตีพิพม์ครั้งที่ 1

8
salam

กำลังจะแซว ว่าให้แจกในงานวะลีมะฮฺ ของผู้เขียนเลย  ;D

ดีครับ  พรุ้งนี้มีเรียนฮิกัมตอนหลังซุฮ์ริพอดี  จะขึ้นพูดนำเสนอแบบเฮฮาเรียกน้ำย่อยก่อนเริ่มจะสอนครับ  สมมติว่าฮิกัมนี้หากเจ้าบ่าวเขียนแล้วเจ้าสาวตรวจทาน  ก็คงเข้าทางสำหรับแจกงานวะลีมะฮ์  ผมคิดว่า ฮิกัมฉบับที่ 2 พวกเราน่าจะได้ฟรีกันน่ะครับ เป็นการเผยแผ่แนวทางตะเซาวุฟไปในตัว  อินชาอัลเลาะฮ์  เน้นของฟรีไว้ก่อน ฮูฮูฮู

9
ผ่านไป1สัปดาห์ มูรีดคงเขียนหนังสือโต้หนังสือนี้ 555

เพราะในบทนำต้นฉบับที่กระผมมีอยู่นั้น  ระบุไว้ว่า

ท่านอิมามอิบนุอะญีบะฮ์ได้กล่าวว่า "แนวทางของฮิกัมที่ท่านอิบนุอะฏออิลและฮ์ได้ดำเนินอยู่นี้  เป็นแนวทางของหลักเตาฮีดต่ออัลเลาะฮ์  โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้ใดปฏิเสธและตำหนิได้  และจะไม่ปล่อยให้แก่ผู้สนใจมีคุณลักษณะที่น่าสรรเสริญนอกจากฮิกัมนี้จะสวมใส่มันให้แก่เขา และไม่มีคุณลักษณะที่เลวนอกจากฮิกัมนี้จะขจัดมันออกไปจากตัวเขา" อัลลามะฮ์ อิบนุ อะญีบะฮ์ , หนังสืออีกอซุลฮิกัม ฟีชัรหิลฮิกัม , หน้า 25.

อนึ่ง หนังสือฮิกัมฉบับอธิบายภาษาไทยนั้น  ดำเนินอยู่ตามหลักกิตาบุลลอฮ์และซุนนะฮ์  และทางผู้เขียนพร้อมที่จะตอบโต้ชี้แจงกลับไปได้ทุกเวลามิเช่นนั้นหนังสือนี้จะไม่ออกมาหรอก  ดังนั้นการโต้หนังสือฮิกัมนั้น  ต้องมีความเข้าใจในตะเซาวุฟเชิงฮิกัมอย่างละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อน  ไม่งั้นจะกลายเป็นการปล่อยไก่ตัวใหญ่  อาจถูกจับเชือดมาทำต้มข่าไก่เสียของเปล่า ๆ เหมือนกับคุณยาซีน แกละมงคล ที่เขียนเรื่อง "รู้ทันตับลีฆ" แล้วอ้างพาดพึงถึงหลักซูฟีย์แบบไม่รู้จริง  ท่านอิบนุกอยยิม ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ ได้กล่าวไว้มิใช่หรือว่า "วิชาตะเซาวุฟนั้นจะไม่เหมาะสมนอกจากกับบรรดาจิตที่มีเกียรติเท่านั้น" ฏ่อรีกุลฮิจญะร่อตัยน์ หน้า 260-261

หวังว่าคุณอิลฮามคงเข้าใจน่ะครับ

10
โฆษณาหนังสือให้อัสฮารีหรือเปล่านั้น

อย่าคิดลึกเลยเถิดครับ คุณอิลฮาม  กระผมไม่ได้มีเจตนาเช่นนั้นหรอกครับ  เพียงแค่อยากจะบอกถึงความสำคัญของหลักอัลเอี๊ยะห์ซานหรือหลักตะเซาวุฟที่คนทั่วไปมองข้ามเท่านั้นเอง  เพราะการบอกว่ารักแต่ไม่รู้จักแก่นแท้ของเอี๊ยะห์ซาน  ถือว่ารักหลอก ๆ น่ะครับ  และคนที่รู้หลักเอี๊ยะห์ซานบ้านเราก็มีเยอะไม่ใช่แค่อ่านหนังสือฮิกัมหรอกครับ

ดังนั้นการละหมาดเพราะรักอัลเลาะฮ์ดีกว่าละหมาดเพราะอยากได้สวรรค์ของอัลเลาะฮ์


ฟังไป ถือเสียว่าช่วยให้มีกำลังใจจะละหมาดเยอะๆ

เมื่อเราเป็นทาสหรือเป็นบ่าวของอัลเลาะฮ์อย่างแท้จริง (อับดุลลอฮ์)  ไม่ใช่เป็นทาสหรือบ่าวของสวรรค์(อับดุลญันนะฮ์) ต้องไม่นำฮะดีษเมาฏั๊วะมาเป็นกำลังใจในการละหมาดตะรอวิฮ์นะครับ  เพราะการซิกรุลอฮ์อย่างสม่ำเสมอ  จนกระทั่งจิตใจของเขามีความผูกพันอยู่กับอัลเลาะฮ์  จนเกิดความรักต่อพระองค์มานั้นแหละ  เป็นกำลังใจที่มาขับเคลื่อนให้เราละหมาดเยอะ ๆ น่ะครับ

11
รีวะยะห์ของท่านหญิงอาอีชะห์นั้น(ร.ฮ)ไม่ได้หมายถึงละหมาดตารอวีฮคับแต่เป็นละหมาดตะฮัจญุดคับ อัลลามะห์อิบนีตัยมียะห์เองก็กล่าวว่าไม่มีหลักฐานจากนบี(ซ.ล)ว่าละหมาดตารอวีฮกี่รอกาอัต แล้วพวกซ่าลาผี! เขาเอาที่ไหนคับ8รอกาอัต


ไม่เพียงแค่นั้นน่ะครับ  ฮะดีษของท่านหญิงอาอิชะฮ์นั้น  ยังมีปราชญ์ฟิกฮ์ท่านอื่น ๆ บอกว่ามันเป็นหลักฐานของละหมาดวิติรอีกด้วย  ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ว่า  ละหมาด 8 ไม่ใช่ละหมาดตะรอวิฮ์ 

ผมเคยละหมาดในมัสยิดของประเทศอียิปต์ในช่วง 10 วันสุดท้าย ในช่วงละหมาดอีชาอฺเสร็จก็ทำละหมาดตะรอวิฮ์กัน  แต่เมื่อถึงหลังเที่ยงคืน  พวกเขาก็ตั้งญะมาอะฮ์ละหมาดกิยามุลลัยล์(ตะฮัจญุด) 8 ร่อกะอัต และวิติรอีก 3 ร่อกะอัตจนถึงเวลาทานซะฮูร  ที่พวกเขาละหมาดกิยามุลลัยล์(ตะฮัจญุด) 8 ร่อกะอัต ใน 10 คืนสุดท้ายนั้น เพราะเอาหลักฐานมาจากฮะดีษของท่านหญิงอาอิชะฮ์ (ร.ฏ.)นี้แหละครับ

ดังนั้นใครที่ละหมาด 8 ร่อกะอัตหลังอีชาอฺ  ก็อย่าเรียกว่าตะรอวิฮ์ครับ  เพราะมันไม่ใช่ตะรอวิฮ์  แต่เป็นละหมาดในยามค่ำคืนที่ท่านนะบี(ซ.ล.)ได้กระทำในเดือนรอมะดอนและอื่นจากเดือนรอมะดอนเท่านั้นเองครับ


12
salam

ทุก ๆ การเสนอแนะของสมาชิกนั้น  ทางผู้จัดทำรูปแบบเล่มกำลังเข้ามาดูข้อแนะนำของพี่น้องอยู่น่ะครับ  เพื่อจะได้นำไปดำเนินการอย่างเป็นทางการ


13
ไม่ใช่มูรีดที่ต้องเปิดตัวไปเสียทุกเรื่อง

salam

ทราบมาว่า ทำหนังสือฮิกัมนี้  ทางคณะผู้จัดทำตั้งใจจะแจกฟรีกันมากกว่าเพื่อเผยแผ่วิชาความรู้  แต่ก็คงต้องขายแหละครับเพื่อจะได้ดูมีคุณค่าสำหรับผู้ซื้อสักหน่อย  ทว่าราคาคงไม่แพงแน่นอน  ดังนั้นเรื่องการแถลงข่าวเปิดตัว (น่าจะเป็นการพูดเล่นของคุณ QorTuBah มากกว่าที่พูดเรื่องการเปิดตัว) แต่คงไม่มีมั้งครับเพราะไม่ใช่วิสัยของบังเขา


14
salam

เมื่อฮะดีษเมาฏั๊วะ  ก็นำมาใช้ไม่ได้น่ะ  จะอ้างเหตุผลว่าต้องการให้คนอยากได้บุญเท่านั้นเท่านี้  มันไม่บังควรน่ะครับ  คำว่า "อยากได้เท่านั้นเท่านี้ตามที่ฮะดีษเมาฏั๊วะได้ระบุไว้ทั้ง 30 วันนั้น" รังแต่ให้คนทั่วไปละหมาดด้วยนัฟซูความยากได้โน้นได้นี่  ทำไมไม่ปลุกจิตใจสำนึกพวกเขาให้รักอัลเลาะฮ์ล่ะ  ทำไมไม่สอนให้คนทั่วไปเข้าใจถึงความเย็นตาเย็นใจในละหมาดที่เขาได้เห็นอัลเลาะฮ์ขณะละหมาดล่ะ ดังนั้นเมื่อเราสามารถทำให้พวกเขา รักอัลเลาะฮ์ได้  ทำให้พวกเขาอร่อยกับตัวละหมาดได้  ทำให้จิตใจของพวกเขาอร่อย มีความเบิกบานใจกับการละหมาดได้  แน่นอนว่าพวกเขาจะไม่ทำละหมาดเพราะอยากได้สวรรค์  พวกเขาจะไม่อยากได้อะไรในการทำละหมาด  นอกจากต้องการใกล้ชิดอัลเลาะฮ์ก็พอ  เมื่อเป็นเช่นนั้น  ฮะดีษเมาฏั๊วะดังกล่าวจึงไร้ความหมายลงไปทันทีในบัดดล

อันนี้ต้องเป็นคนที่รู้จริงในหลักอัลเอี๊ยะห์ซานครับ  ถึงจะทำให้คนทั่วไปเข้าใจได้


15
salam

คิด ๆ ดูแล้วแปลกน่ะ  บรรดาซอฮาบะฮ์ทั้งหมดที่ตามนะบี(ซ.ล.)มากกว่าพวกเรา  ดันไปละหมาดตะรอวิฮ์ 20 หรือว่าละหมาด 8 มีตัวบทมีข้อบ่งชี้ไม่เด็ดขาดเพียงแค่ตีความว่าเป็นตะรอวิห์

และที่น่าสังเกตอีกอย่าง  ท่านหญิงอาอิชะฮ์ (ร.ฏ.) พูดเองว่าละหมาดยามค่ำคืนทั้งเดือนรอมะดอนและอีก 11 เดือนที่ไม่ใช่รอมะดอนนะบี(ซ.ล.)ทำแค่ 8 แสดงว่าละหมาด 8 นี้ไม่ใช่ละหมาดพิเศษที่เป็นเอกลักษณ์ของเดือนรอมะดอน 

ข้อสังเกตอีกอย่างนึง  ถ้าหากตะรอวิฮ์ที่พิเศษเฉพาะเดือนรอมะดอนมี 8 รอกะอัตจริง  เหตุใดท่านหญิงอาอิชะฮ์จึงไม่กล่าวคัดค้านหรือเสนอแนะบรรดาซอฮาบะฮ์ทั้งหลายในฐานะมารดาแห่งศรัทธาชนว่า  "พวกท่านทำ 20 ไม่บังควรน่ะ เพราะนะบี(ซ.ล.) ทำแค่ 8 " แต่ท่านหญิงอาอิชะฮ์ไม่เคยคัดค้านเลย  นั่นแสดงว่า ละหมาด 8 รอกะอัตไม่ใช่ละหมาดพิเศษสำหรับรอมะดอนเป็นการเฉพาะ

ปัจจุบันนี้คนส่วนมากจะลุกขึ้นมาละหมาดตะฮัจญุดกันก็น้อยแล้ว  เพราะนัฟซูจะชักนำให้นอนบนเตียงนุ่ม ๆ กันดีกว่า  ถ้าหากเราเอาจิตใจหรือนัฟซูมาวัดกันในเรื่องละหมาด 20 กับละหมาด 8 ละก็  ผมว่านัฟซูจะชอบให้ละหมาด 8 เพราะสบายกว่าเยอะ  จำนวนร่อกะอัตน้อยกว่า  ส่วนละหมาด 20 นั้นจำนวนร่อกะอัตมากและละหมาดนานต้องกุ้มเงยสุยูดกันหลายครั้ง  พอพูดอย่างนี้คนละหมาด 8 ก็อีเซ็มขึ้นทันที  เพราะไปหากล่าวหาว่า เขาใช้นัฟซูทำละหมาด   ก็เลยปกปิดนัฟซูตนเองว่า  ฉันตามนบี(ซ.ล.) ก็เลยดูดีขึ้นเป็นกอง  แต่อัลเลาะฮ์ทรงรู้ดีถึงจิตใจเราครับว่า  เราจะเอานัฟซูในขับเคลื่อนให้ละหมาด 20 หรือละหมาด 8

แต่บรรดาซอฮาบะฮ์เขาไม่ใช้นัฟซูละหมาดอย่างแน่นอน  เพราะละหมาด 20 กันเกือบทั้งคืนเพราะอร่อยในการเข้าเฝ้าอัลเลาะฮ์  ส่วนคนที่นำละหมาดตะรอวิห์ 20 แบบเร็ว ๆ นั้น ระวังว่ามันจะเป็นการขับเคลื่อนโดยนัฟซู  เพราะนัฟซูมันอยากทำให้เสร็จเร็ว ๆ เพราะไม่อยากเข้าเฝ้าอัลเลาะฮ์นาน ๆ


หน้า: [1] 2