แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - albazrah

หน้า: [1]
1
ส่งที่คุณ alazhary แสดงความคิดเห็นขยายความไว้นั้น ชัดเจน แล้ว ซึ่งจะเห็นได้ว่าข้อที่หนึ่งนั้น เป็นเรื่องเกียวกับจิตใจที่เราจะต้องให้ความสำคัญเป็ฯพิเศษ การที่เราจะมีความยุติธรรมในการหาความรู้นั้น สำคัญ แต่บ่อยครั้งเหลือเกินที่นัฟซูมักจะมามีส่วนในการหาความรู้นั้น ส่วนข้อที่สอง และสามนั้น ก็เกียวกับเรื่องของสติปัญญาและความหลักแหลม เราต้องมีศักยภาพในการแยกแยะสิ่งต่างๆ และเข้าใจให้ถูกเรื่องของมัน ปัญหาเกิดแน่นอนถ้าเราไม่แยกระหว่างเรื่องขัดแย้ง หรือความแตกต่าง ความแตกต่างนั้นเป็นซุนนะห์ของอัลลอฮฺ แต่ความขัดแย้งนั้นเราต้องพยายามรู้ให้ได้ว่า อันไหนคือสิ่งที่ถูกต้อง วัลลอฮุอะลัม

2
ถึงคุณ alazhary

السلام عليكم ورحمة الله وبركاته

ก็ขอบอกก่อนว่า เราไม่ได้ศึกษาหนังสือเล่มนี้จากอาจารย์คนไหน แต่อ่านอยู่คนเดียวนี่แหละ แล้วบางครั้งก็ไม่ค่อยเข้าใจ ก็เลยคิดว่าน่าจะมีการคุยกันจะได้ช่วยกันขยายความให้ได้ความหมายที่ลึกซึ้ง เพราะการเข้าใจในวิชานี้นั้น (ตะเศาวุฟ) จะมากน้อยลึกซึ้งแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความมุพยายามและการเปิดให้จากอัลลอฮฺ เราเองก็ไม่ได้มีความรู้อะไรมากมาย แต่สนใจในวิชานี้พอสมควร เพื่อการขัดเกลาตนเอง ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องร่วมกันศึกษาและอธิบายขยายความกัน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อที่เราจะได้เข้าใจฮักมัตต่างๆ ของอัลลอฮฺมากขึ้น

คุณเองมีโอกาสได้เรียนกับอาจารย์ผู้ทรงความรู้มากมาย เชื่อแน่ว่าคุณคงมีประสบการณ์และแง่คิดดีๆ มาเล่าให้พวกเราฟัง ก็ขอบคุณล่วงหน้า และขออัลลอฮฺทรงตอบแทน

อินชาอัลลอฮฺ จะเข้ามานำเสนอเรื่อยๆ ในโอกาสต่อๆ ไป

3
ขอนำเสนอเป็นคนแรกเลยละกัน

กออิดะห์ที่ 29:

إحكام وجه الطلب معين على تحصيل المطلب، ومن ثم كان حسن السؤال، نصف العلم، إذ جواب السائل على قدر تهذيب المسائل.

"รูปแบบในการแสวงหาที่ดีนั้นจะช่วยให้ได้มาซึ่งสิ่งที่แสวงหา ดังนั้นคำถามที่ดีจึงเป็นครึ่งหนึ่งของความรู้ เพราะคำตอบของผู้ถามนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่ามีการกลั่นกรองคำถามเพียงใด" (ถ้าแปลไม่ถูกความหมาย ผู้รู้ช่วยชี้แนะ)

وقد قال ابن العريف رحمه الله: "لابد لكل طالب علم حقيقي من ثلاثة أشاياء"
أحدها معرفة الإنصاف، ولزومه بالأوصاف
الثاني  تحرير وجه السؤال، وتجريده من عموم جهة الإشكال
الثالث تحقيق الفرق بين الخلاف والاختلاف

อิบนุลอะรีฟ ได้กล่าวว่า "จำเป็นต่อผู้ที่แสวงหาความรู้ที่แท้จริงที่จะต้องมี 3 ประการต่อไปนี้

หนึ่ง  รู้จักความยุติธรรมและรักษาไว้ซึ่งลักษณะต่าง ๆ

สอง  กำหนดประเด็นคำถาม และแยกออกจากประเด็นปัญหาที่เป็นแบบทั่วไป

สาม แยกระหว่าง "คิลาฟ" (ความขัดแย้ง) และ "อิคติลาฟ" (ความแตกต่าง) ได้ถูกต้อง"

قلت: فما رجع لأصل واحد، فاختلاف يكون حكم الله في كله ما أداه الله إليه اجتهاده، وما رجع لأصلين يبين بطلان أحدهما عند تحقيق النظر، فخلاف، والله أعلم

"ฉันขอกล่าวว่า (อะห์หมัด ซัรรูกฺ) สิ่งใดที่กลับไปหารากฐานอันเดียว มันคือ "อิคติลาฟ" ฮุก่มของอัลลอฮฺนั้นก็อยู่ในทุก ๆ ความแตกต่างนั้น เป็นสิ่งที่อัลลอฮฺชี้นำไปสู่การอิจติฮาดมัน และสิ่งที่กลับไปหารากฐานสองประการนั้น ซึ่งเมื่อมีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว  ก็จะประจักษ์ถึงความไม่ถูกต้องของอันใดอันหนึ่ง นั่นก็คือ "คิลาฟ" และอัลลอฮฺผู้ทรงรอบรู้ที่สุด"

หากการให้ความหมายผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยและขอให้ช่วยกันแก้ไข

พี่น้องมีความคิดเห็นอย่างไรกับกฎข้อนี้บ้าง ช่วยกันขยายความด้วย จะได้มีความลึกซึ้งและได้ประโยชน์ยิ่งขึ้น

4
بسم الله
السلام عليكم

พี่น้องท่านใดในที่นี้ศึกษาเกี่ยวกับหลักตะเซาวุฟของท่าน อะห์มัด ซัรรูกฺ บ้าง พอดีกำลังศึกษาอยู่ และคิดว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งในการทำความเข้าใจหลักการต่างๆ จึงอยากเสนอให้มีการดิสกัสแต่ละกออิดะห์ เพื่อร่วมแชร์ความรู้ ความเข้าใจตรงนี้ หากใครที่อ่านอยู่แล้ว ก็ขอให้นำเสนอกันเข้ามา จะเป็นประโยชน์ต่อผู้แสวงหา อัลฮักก์ อย่างแท้จริง อินชาอัลลอฮฺ

หน้า: [1]