แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - การ์ฟิลด์

หน้า: [1]
1
 :salam:

ถามว่า "ออกดะวะฮฺได้อะไรมั่ง?" คำถามล่อเป้าครับ ... แต่ถ้าถามว่า "ถ้าไม่ออก เราจะพลาดอะไรมั่ง?" อันนี้พอจะคุยได้




ผมคง ... ไม่ได้กินข้าวกับมือ บนผ้าปู นั่งกับพื้น

ผมคง ... ไม่รู้ว่าควรพูดอะไร? กับใคร? ที่ไหน? อย่างไร? หากไม่ได้เป็นมุตะกั้ลเล็ม

ผมคง ... ไม่รู้ว่าจะต้องตื่นมาขอดุอาอฺให้คนที่ชี้นิ้วด่าเราว่า "กาเฟร"

ผมคง ... ไม่ได้ทำอาด้าบนอนจนติดเป็นนิสัย แม้จะเรียนตัวบทแล้ว (ถึงแม้หลายครั้งจะทำเพราะลือว่า มัสยิดผีดุ  yippy: )

ผมคง ... ไม่ได้ทบทวนภาษาที่เคยรู้

ผมคง ... พูดเรื่องศาสนาเป็นภาษาไทยไม่รู้เรื่อง



และ อื่นๆ


...........................................................................................


มีคนบอกว่าจะสลับกันออกกับผมนี่หว่า  sad:  ทิ้งไว้นานเกินไปแล้วม้างงง  fouet:

2
สนทนาศาสนธรรม / RE
« เมื่อ: มี.ค. 16, 2007, 07:43 PM »
ขอบคุณนะครับที่ติดตามผลงาน พึ่งรู้ว่ามีคนติดตามด้วย ขอบคุณเจงๆ

ในเรื่องโต๊ะครูโคโยตี้ หลอกชาวบ้าน ผมก็ยังยืนยันเหมือนเดิมน่ะครับ เพราะว่าหลายๆ คนจบมาจากนอก แต่ก็มาหลอกชาวบ้านจริงๆ งานการไม่ทำครับ รับจ้างกินบุญบ้านคนตายอย่างเดียว แต่อีกไม่นานก็คงเปลี่ยนละครับ เพราะชาวบ้านเค้าไม่ได้โง่แล้ว เค้าเลิกกินหญ้ากันเรื่อยๆ แล้วครับ เค้ากินข้าวแล้ว


โห  ทำไม พูด จา โสโครก แบบเนี้ยะ  ... >:(








ท่านอิมาม อัช-ชาฟิอี ได้เขียนไว้ในกลอนบทหนึ่งความว่า…..

 เขาถามไถ่ ไยฉันเงียบ เมื่อถูกด่า               ถูกกล่าวหา ว่าร้าย ให้เสียหาย
 ฉันตอบไป ว่าถ้าโต้ จะบานปลาย              เพราะเปรียบได้ คล้ายกุญแจ เปิดถึงกัน
 การนิ่งเงียบ ต่อคนโง่ คนสามหาว           เป็นทางยาว สู่เกียรติ ที่ใฝ่ฝัน
 ทั้งรักษา ในศักดิ์ศรี เป็นเกราะกัน            ไม่หุนหัน ฉันสุนัข ที่จัญไร
 ท่านจงดู ราชสีห์ น่าเกรงขาม                 ทุกผู้นาม เกรงกลัว ได้ไฉน
 ไม่เคยเห่า เคยหอน ใส่ผู้ใด                     แล้วไซร้ไย จึงมีเกียรติ เป็นราชันย์
 แต่สุนัข ที่ปากกว้าง เที่ยวเห่าหอน           กลับถูกต้อน ถูกปา ให้อาสัญ
 ไม่เป็นที่ กลัวเกรง ก็ฉันนั้น                      ฉันจึงเงียบ เปรียบได้ คล้ายสิงโต



ชอบที่ท่านยกมาครับ :) ถ้ามีอีกรบกวนเอามาลงอ่านกันน่ะครับ ถ้ายกมาทั้งภาษาอาหรับเลย จะขอบคุณมากเลย  :D

3
อ้างถึง
ไม่เข้าใจอีกอย่างหนึ่ง ทำไม การเผยแพร่ไม่เริ่มที่ครอบครัวตัวอง หมู่บ้านตัวเอง ต. อ. จ. ของตัวเอง ให้มันเรียบร้อยก่อน

เรื่องการออกไปเผยแพร่ เป็นความเข้าใจอย่างหนึ่งเกี่ยวกับงานนี้จากทั้งคนนอก และผู้ที่ร่วมงานนี้เองบางส่วนครับ  :)  เป้าหมายที่แท้จริงของการร่วมคณะออกไปคือ "การปรับปรุงตนเอง" ... กอรีมุฮัมมัด ฎ็อยยิบ ซาฮิบ อาจารย์ใหญ่ของมหาวิทยาลัยอิสลาม เดียวบัน แคว้นยูปี อินเดีย และซูฟีย์คนสำคัญของกลุ่มเดียวบันดี จิซตีย์ กล่าวไว้ในหนังสือของท่าน "อิซลาฮีนัฟซ โอร ตับลีกี ญะมาอัต" (แปลเป็นภาษาอังกฤษใช้ชื่อว่า "Self Reformation & The Tablighi Jama'a" โดย เมาลานา ซอฮิร อิสฮาก)

"การปรับปรุงตนเอง(อิสลาฮฺ)สามารถทำได้สี่วิธี

๑. การอยู่่ร่วมกับคนดี 
๒. การใคร่ครวญ และตรึกตรองตนเอง
๓. การเชื่อโยงกับอัลลอฮฺ
๔. การมองความผิดของตนเอง จากการจับผิดของศัตรู

ซึ่งสี่อย่างนี้ สามารถหาได้ในงานการพยายามของเมาลานาอิลยาซนี้"



สิ่งแรกที่เมาลานาอิลยาซมีอยู่ในความคิดตอนเริ่มงานของท่านคือ "การทำให้มุสลิม เป็นมุสลิมที่ดีขึ้น" (จากหนังสือ The Faith Movement of Mawlana Ilyas : The Work and Thoughs of Ilyas โดย M. Anwar Haq ) แนวทางในการปรับปรุงตัวเองที่ท่านเลือกใช้คือ "การออกไปเห็นสภาพที่เกิดขึ้นของสังคม" หากเป็นหมู่บ้านที่มีความเคลื่อนไหวทางศาสนาแข็งแรงกว่า ก็นำไปปรับปรุงหมู่บ้านของตัวเอง หากไปเจอหมู่บ้านที่ไม่เข้มแข็ง ก็ปรึกษาหารือกัน ทำอย่างไรให้ดีขึ้น  :) ... นี่คือรูปแบบที่ท่านเมาลานาวางเอาไว้ครับ และทำอย่างได้ผลมาแล้ว



เรื่องการทำตัวให้มีประโยชน์แก่สังคมโดยการหาเงินเข้าสุเหร่า หรือการเปิดร.รสอนฟัรดูอีน ทางกลุ่มสนับสนุนอย่างเต็มที่ครับ :) คนถามอาจจะยังไม่ทราบว่าที่มันกัสมีการสอนศาสนาตั้งแต่พื้นฐานไปยังขั้นสูง เพื่อเตรียมตัวผู้เรียนให้กลับไปทำงานรับใช้สังคม ... ผมเห็นตัวอย่างมาแล้วครับ :) 


ในส่วนเรื่องอื่นๆที่คุณPareet กล่าวมา ผมมองว่าเป็นการกระทำของบุคคล :) ... ไม่เหมาะสมที่ผมคนนอกจะไปยุ่งเกี่ยวอยู่แล้ว


วัสลามครับ

4
อัสสลามมุอะลัยกุม ครับ


แต่ที่เห็นกลุ่มบุคคล ที่เป็นกลุ่มออก 3 วัน 7 วัน 40 วัน 4 เดือน นั่นนะมันคืออะไรครับ
มันถูกหลักศาสนาหรือเปล่า ลูกเมีย หมู่บ้าน เห็นมีแต่ผลกระทบที่ไม่ดี มันน่าจะมีการเผยแพร่ที่ดีกว่านี้


ประเด็นแบ่งเป็นสี่ส่วนครับ

๑. การออกสามวัน สี่สิบวัน สี่เดือนที่ว่าคืออะไร?

๒. ถูกต้องตามหลักศาสนาหรือไม่?

๓. ครอบครัวที่ห่างไป มีผลกระทบแค่ไหน?

๔. ลักษณะการเผยแพร่มีที่ดีกว่านี้มั้ย?





๑. การออกสามวัน สี่สิบวัน สี่เดือนที่ว่าคืออะไร?

การออกไปในลักษณะดังกล่าว เข้าใจว่าน่าจะหมายถึง งานการพยายามรูปแบบที่เมาลานาอิลยาซได้นำเสนอแก่ประชาชาตินี้ครับ เรื่องของเมาลานาอิลยาซ สามารถอ่านได้จากหนังสือ "เมาลานาอิลยาซ นักดะวะฮ์แห่งศตวรรษ" หรือไปที่ http://www.muslimthai.com/forum/index.php?topic=3109.0


จำนวนดังกล่าวไม่ใช่รูปแบบตายตัว สามารถยืดหยุ่นได้ตามความเห็นชอบของผู้รับผิดชอบในแต่ละท้องที่


 ... ทำไมต้องเป็นจำนวนดังกล่าว?

จำนวนสี่สิบวัน บันทึกโดยอับดุลรอซซ๊าก ในหนังสือซุนันของท่าน ในกิตาบบุ้ลญิฮาด บาบว่าด้วยเรื่อง การเฝ้าระวังเขตแดนของมุสลิม เล่ม๕ หน้า ๒๘ จากท่านยะซีด บิน อบรฮุบัยบ์ กล่าวว่า ชายคนหนึ่งได้มาหาท่านอุมัร (ร.ด.) ท่านถามว่า "เจ้าหายไปไหนมา?" เขากล่าวว่า "ฉันไปเฝ้าชายแดนมา" "ท่านไปนานเท่าไหร่?" เขาตอบว่า "สามสิบวัน" ท่านอุมัรจึงกล่าวแก่เขาว่า "จะดีกว่าหากท่านทำจนครบสี่สิบวัน" บันทึกทำนองนี้พบได้ใน กันซุ้ลอุมม้าล เล่ม๒. หน้า ๒๘๘

รายงานจากท่านอบูฮุรอบเราะฮ์เช่นกัน บันทึกโดยอับดุลร็อกซ๊าก และซะอี๊ดบินมันซูร (เป็นฮะดิษมุ๊ตตะซิ้ลจากอบูฮุรอยเราะฮ์) กล่าวว่า "ใครก็ตามที่ได้รับมอบหมายให้เฝ้าระวังเขตแดนมุสลิม และเขาอยู่จนครบเวลาสี่สิบวัน แท้จริงเขาได้ลุล่วงงานของเขาแล้ว"


สี่เดือน เช่น เรื่องราวของท่านอุมัร กับ ซัยยิดะฮ์ฮัฟเซาะฮ์ เกี่ยวกับคำถามที่ว่า "ผู้หญิงสามารถทนต่อการห่างหายไปของสามีได้นานเท่าไหร่?" ท่านหญิงกล่าวเป็นนัยยะว่า สามเดือน และเปลี่ยนเป็นสี่เดือน หาดูได้จากหนังสือ ฮะยาตุ้สซอฮาบะฮ์ โดยเมาลานา ยูซุฟ กานดะเลวีย์ กิตาบบุ้ลญิฮาด อ่านบทที่ว่าด้วยเรื่อง "การออกในหนทางของอัลลอฮ์เป็นเวลาสี่สิบวันติดต่อกันมากกว่าหนึ่งครั้ง" ที่มัรกัสอ่านกันทุกคืนครับ

ส่วนสามวัน ในสมัยท่านเมาลานาอิลยซ ไม่มีการออกลักษณะนี้ครับ :) แต่เพื่อความเหมาะสมจึงเพิ่มลงไปเท่านั้นเอง ... ยังมีออก 24 ชั่วโมง เจ็ดวัน หรือกระทั่ง1ปี ด้วยครับ ... ไม่ใช่สาระของกลุ่มเท่าไหร่ เพราะหากออกสี่เดือน แต่ไม่เกิดการปรับปรุงตัวเองในทางที่ดีขึ้ย ถือว่าล้มเหลวครับ ทางกลับกันกับคนที่ออกสามวัน แต่มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น :)




๒. ถูกต้องตามหลักศาสนามั้ย?


ในทุกๆส่วนของงานนี้มีตัวบทรับรอง แม้ว่าจะต่างรูปแบบกันจากที่ทำในสมัยนบี(ซ.ล) ทั้งนี้ต้องทดเวลาที่แตกต่าง บนสังคมที่แตกต่างไว้ในใจด้วยครับ :)

หากสนใจเรื่องนี้ต่อ รบกวนยกมาคุยเป็นข้อๆดีกว่าครับ :)




๓. ครอบครัวข้างหลัง มีผลกระทบมั้ย?

ส่วนนี้เป็นเรื่องของครอบครัวครับ  :) หากมีปัญหาจากการออกดะวะฮฺของผู้ชายที่บ้าน โดยมากผู้หญิงจะมาปรึกษากับภรรยาของผู้รับผิดชอบท้องที่นั้นๆ แล้วนำมาปรึกษากัน ... เท่าที่สังเกตดู คนภายนอกมองปัญหาของครอบครัวที่สามีออกดะวะฮฺ จะเป็นคล้ายๆกับคนต่างศาสนิกมองการคลุมฮิญาบของมุสลิมะฮฺเราเป็นเรื่องยาก ทั้งๆที่มันไม่ได้ลำบากอะไรเลยสำหรับมุสลิมะฮฺเรา :) ผมคงพูดถูกน่ะครับ :)





๔. ลักษณะการเผยแพร่มีที่ดีกว่านี้มั้ย?

เราต้องดูหลายๆเรื่องครับก่อนจะบอกว่าดีมั้ย :) ส่วนตัวแล้ว หากมองที่ผลของงานนี้ที่นำมาสู๋ประชาชาติอิสลาม ผมว่างานนี้ดีครับ




หน้า: [1]