แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - Asadullah

หน้า: [1] 2 3 4
1
salam...

[size=16pt]
มาแจ้งให้ทราบกันโดยทั่วหน้า.................. cool2:
วันพฤหัสที่ 8/7/53 นี้ที่มัสยิดกลางจ.ปัตตานี................... cool2:
จะมีการจัดโยรอูลามะอฺขึ้น โดยจะเริ่มตั้งแต่อัสรีจนถึงซุบฮี................. cool2:
พี่น้องที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงสามารถไปได้โดยทั่วกัน.......................... cool2:

[/size]



wassalam...

2
Allah humma inni as-alukan fauzafil godo ie
wanuzulash shuhada ie
wa ai shas su ada ie
wannas ra alan aa da ie


Allahum mayy alna hadee namuhtadee na ghay ra dolleen
walamudilleenasilman  li aau liya ikawa aduu wa
li aa da ikanuhib bubihub bikaman ahab bakawanu a di bi ada waa tikaman kha lafaka

3
 salam...

ถ้าขอผู้ใหญ่แต่งงานแล้วเขาไม่ให้................... cool2:
ไม่ต้องแต่งตลอดไปเลยจะผิดไหม................... cool2:
ช่วยตอบหน่อย...มีคนวานให้ถาม.................... cool2:


wassalam...

5
salam...



บทเรียนจากการรบ...ไม่รู้เขา–ไม่รู้เรา–ไฟใต้จึงไม่ดับ      PDF      Print      E-mail
Written by Administrator   
Sunday, 10 January 2010 11:13

พล.อ.หาญ ลีนานนท์
โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา

ขึ้นปีงบประมาณใหม่ (2553) มาได้ 3 เดือนเศษๆ แล้ว ผมได้พูดเป็นเชิงให้กำลังของรัฐบาล คือ พลเรือน ตำรวจ และทหาร (พตท.) ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความมั่นคงในการปราบปรามการก่อการร้ายที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (3 จชต.) ในบทเรียนจากการรบตอนที่แล้วว่า การปราบโจรก่อการร้ายนั้นถึงเวลาที่จะต้องทบทวน จะทำไปอย่างเก่าๆ ซ้ำๆ ซากๆ ไม่เป็นการสมควรอย่างยิ่ง

          เพราะ 6 ปีเศษแล้วไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ที่ 3 จชต.มีแต่การตาย บาดเจ็บ พิการ ของกำลังในสายงาน กอ.รมน.ภาค 4 สน.ที่เพิ่มขึ้น มีการใช้งบประมาณเพื่อการปราบปรามเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งงบประมาณนี้ก็มาจากภาษีหรือหยาดเหงื่อของคนไทยทั้งชาติ เป็นการลงทุนที่แลกกับการตาย บาดเจ็บของพลเมืองทั้งพุทธและมุสลิม และเจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมในขบวนการปราบโจรก่อการร้าย แต่ไม่มีผลงานที่พลเมืองมุสลิมต้องการ

          รัฐบาลจะลงทุนไปพัฒนาพื้นที่กี่หมื่นที่แสนล้าน พลเมืองมุสลิมเขาก็บอกว่าเขาไม่ได้รับอะไร พลเมืองมุสลิมต้องการความยุติธรรม ความเสมอภาคในกฎหมาย และโอกาสในการปกครองประเทศ มุสลิมต้องอยู่ในสังคมที่ทัดเทียมกับไทยพุทธ มิใช่เป็นพลเมืองชั้นสอง

          งบประมาณเป็นแสนๆ ล้านลงมาเพื่อพัฒนานั้น เคยถามพลเมืองมุสลิมหรือเปล่าว่าเขาต้องการหรือไม่ ยุทธศาสตร์การก่อการร้ายแนวใหม่ที่เรียกว่า "นี-โอเทอร์เรอริสซึ่ม" มีหลายข้อ มีอยู่ข้อหนึ่งคือการบ่อนทำลายเศรษฐกิจของรัฐบาล โจรฯจึงพูดว่า “เพราะ การก่อการร้ายของเรา จึงทำให้รัฐบาลต้องอนุมัติงบประมาณก้อนโตลงมา.......” แต่ก็ไม่มีรหัสใดๆ ให้ความหวังว่าจะแก้ปัญหาไฟใต้ได้

          คนใต้เขาเปรียบเทียบว่างบประมาณของรัฐบาลพอแจกไปก็เหมือนน้ำแข็งหลอดที่ถูก ดูดเรื่อยไปทุกครั้งเมื่อผ่านมือผู้ควบคุมโครงการ คนสุดท้ายคือชาวบ้านที่ได้รับโครงการเหลือแต่ไม้ ดูดแล้วมีรสหวานนิดๆ

          พลเมืองมุสลิมใน 3 จชต.จึงมิได้มีความสำนึกในคุณค่าของงบประมาณก้อนใหญ่ตามที่นักการเมืองหรือ ผู้รับผิดชอบความมั่นคงทางการทหารได้พร่ำบอกแก่ชาวบ้านหรือพลเมืองมุสลิมให้ เห็นความหวังดีและห่วงใยของชนชั้นปกครองที่มีต่อพลเมืองมุสลิมผู้ถูกปกครอง ซึ่งเขาก็ยังยืนยันว่าเขาไม่ได้รับอะไรตราบใดที่เขายังเป็นพลเมืองประเภทสอง ซึ่งในบทเรียนจากการรบตอนที่แล้วได้สรุปไว้อย่างชัดเจน และทิ้งท้ายไว้ตอนจบว่า การรุกทางการเมืองซึ่งเป็นการปฏิบัติหลักในทางการเมืองของรัฐบาลจะสำเร็จ เร็วหรือช้าหรือไม่สำเร็จเลย ย่อมขึ้นอยู่กับการปฏิบัติการทางการทหารของรัฐบาล ซึ่งจะได้เริ่มนำเสนอในบทเรียนนี้

          การปฏิบัติการทางทหารมิได้หมายความถึงแต่เฉพาะทหารที่สวมเครื่องแบบเท่านั้น แต่หมายรวมถึงพลเรือนที่ถืออาวุธทำหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคง เช่น อาสารักษาดินแดน (อส.) ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) อาสาสมัครทหารพราน (ทพ.) หน่วยปฏิบัติการพิเศษ (นปพ.) ของตำรวจ ตำรวจภูธรท้องถิ่น ตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) หรืออาจมีการจัดในรูปแบบอื่นๆ ที่เข้ามาทำหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันหรือปราบปรามการก่อการร้ายในสายงาน ของ กอ.รมน.

          เท่าที่ได้ติดตามการปฏิบัติการทางทหารของรัฐบาลตั้งแต่เกิดเหตุร้ายขึ้น ตั้งแต่ 4 มกราคม 2547 จนถึงบัดนี้ ได้เห็นจุดอ่อนหรือข้อด้อยของการปฏิบัติการของฝ่ายเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลที่ เรียกว่าพลเรือน ตำรวจ ทหาร หรือ พตท.ในสายงานของ กอ.รมน.ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความมั่นคงภายใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พอสรุปได้เรื่องใหญ่ๆ ดังนี้

          ประสิทธิภาพของกำลัง พลของฝ่ายเราที่ต่อสู้กับโจรก่อการร้าย

          ฝ่ายโจรฯตามที่ติดตามข่าวมีกำลังติดอาวุธเรียกว่า "อา ร์เคเค" และ "คอมมานโด" มีตัวเลขประมาณ 6,000–8,000 คน ส่วนฝ่ายเราในสายงาน กอ.รมน. มีกำลังประมาณ 10 เท่าของโจรฯ

          - เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการรบ

          โจรฯอาร์เคเคเป็นคนพื้นที่ ฝึก 1 เดือน ถ้าเป็นหน่วยคอมมานโดต้องเพิ่มอีก 1 เดือน ก็สามารถรับมือกับกำลังฝ่ายเราได้ ส่วนกำลังทหารของรัฐบาลที่เป็นแกนหลักของ พตท. มาจากทุกกองทัพภาคทั่วประเทศ ผลัดเปลี่ยนกำลังทุกปี และระหว่างปฏิบัติงาน 60 วัน ได้พัก 15 วัน แบบเดียวกับทหารอเมริกัน–ไทย ไปในสมรภูมิเกาหลีได้พักอาร์แอนอาร์ 15 วัน แต่ต้องทำงานในในสนามถึงครึ่งปีจึงจะได้พัก กองทัพบกไทยคงเห็นว่าทหารจาก ทภ. (กองทัพภาค) ต่างๆ เครียดจัดจึงให้พักเร็วขึ้น

          ข้อสังเกตก็คือทหารต่างถิ่นนั้นผลัดเปลี่ยนกำลังทุกปี แต่โจรฯอาร์เคเคไม่เคยเปลี่ยน ย่อมมีความชำนาญภูมิประเทศและการรบมากขึ้น อีกทั้งเป็นคนพื้นที่ ฝ่ายเรานั้นเมื่อผลัดเปลี่ยนกำลังก็ต้องศึกษากันใหม่ทั้งภูมิประเทศและศัตรู

          การฝึกโจรฯผลิตทหารอาร์เคเคฝึกเพียงเดือนเดียว มาสู้รบกับกำลังทหารของเราซึ่งใช้เวลาถึง 2 ปีจึงจะทำการรบได้สมบูรณ์แบบ ข้อได้เปรียบของโจรฯอาร์เคเค คือ การฝึกยิงของโจรฯนั้นใช้กระสุนจริง ใช้เป้ามีชีวิตเคลื่อนที่ของ พตท. ส่วนกำลัง พตท.นั้นฝึกยิงใช้เป้ากระดาษและเป็นเป้านิ่ง โจรฯจึงมีประสบการณ์ในการยิงที่ได้ผลมากกว่า

          โจรฯ ฝึกอาร์เคเคให้ "คิดเป็น–ใช้เป็น" ทำให้ทหารอาร์เคเคเพียง 6,000 คน สามารถหยุดการปฏิบัติของกำลัง พตท. ซึ่งมีมากกว่าถึง 10 เท่าให้หยุดนิ่ง ไม่มีผลงานที่เด่นชัดเมื่อเปรียบเทียบกับฝ่ายโจรฯ ซึ่งทำให้ฝ่ายรัฐบาลต้องสูญเสียชีวิตทั้งชาวบ้าน พลเรือน ตำรวจ ทหาร ร่วม 4,000 คนแล้ว บาดเจ็บอีกมากมาย รวมถึงทรัพย์สินทั้งทางราชการและของประชาชนชาวบ้านซึ่งไม่สามารถคิดเป็นเงิน ออกมาได้

          "คิดเป็น–ใช้เป็น" ของโจรฯ หมายถึง เมื่อติดอาวุธทางความคิดให้แล้วไปทำความสูญเสียให้เกิดแก่ฝ่ายรัฐบาลโดยไม่ ต้องรอฟังคำสั่ง ไปเริ่มเอง แต่ฝ่ายเรานั้นเมื่อเกิดเหตุต้องรายงาน รอฟังคำสั่ง (คิดเองไม่เป็น)

          - เอกภาพในการบังคับบัญชา

          พื้นที่เป้าหมายสำคัญที่เป็นพื้นที่แดงใน 3 จังหวัด คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีกำลังทหารจากกองทัพภาคที่ 1, 2, 3 เข้ามารับผิดชอบจัดตั้งเป็นหน่วยเฉพาะกิจ (ฉก.) ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ส่วนกำลังทหารของกองทัพภาคที่ 4 และกำลังทหารนาวิกโยธิน (พัน.น.ย. มีที่ตั้งอยู่ที่ จ.นราธิวาส) จัดกำลังเข้าเสริมหน่วยเฉพาะกิจเหล่านี้

          ข้อสังเกตประการแรกที่ฝ่ายการทหารทุกคนจะ ต้องไม่มองข้ามคือ กำลังทหารที่มาจากภาคอื่นของประเทศนั้นเป็นทหารต่างถิ่น ไม่คุ้ยเคยกับภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ที่สำคัญและเป็นแก่นของปัญหาที่ 3 จชต. เมื่อครบ 1 ปีก็ผลัดเปลี่ยนกำลัง จึงเป็นจุดอ่อนที่สำคัญทางทหารของกำลัง พตท.

          ข้อสังเกตประการที่สอง คือ กำลังทหารของ ทภ.4 ต้องจัดกำลังไปเสริม ฉก.ต่างๆ ไม่ทราบว่าเพราะเหตุใด ทั้งๆ ที่เป็นเจ้าของพื้นที่ย่อมรู้พื้นที่ รู้ปัญหาถึงรากหญ้า มทภ.4 (แม่ทัพภาคที่ 4) ต้องเป็นผู้รับผิดชอบหลักและรับผิดชอบโดยตรง มิใช่กองทัพบก ถ้า มทภ.4 ทำล้มเหลวก็ต้องย้าย มทภ.4 เสียทันที ดังเช่นที่อดีต มทภ.4 เคยถูกย้ายมาแล้ว 2–3 คนในปีเดียว แต่ละคนอยู่ได้เพียง 5–8 เดือน เพราะทำงานไม่เข้าตานายกฯ ในการปราบโจรฯก่อนการปฏิวัติ 2549

          แม่ทัพภาคนั้นสามารถคุมกำลังได้ 3–6 กองพล ถ้ากำลังโจรก่อการร้ายมีมากเกินกำลังที่จะรับได้ มทภ.4 ก็สามารถขอกำลังเพิ่มเติมไปยังกองทัพบกได้ กำลังที่ ทบ. ส่งมาก็ต้องมาขึ้นบังคับบัญชาหรือขึ้นควบคุมทางยุทธการกับ ทภ.4 ในสถานการณ์ปัจจุบัน ทบ.ส่งกำลัง มาให้ ทภ.4 จากกองทัพภาคต่าง ๆ ทภ.ละ 4 พัน.ร. แต่ส่ง รอง มทภ. (ยศ พล.ต.) จาก ทภ.ต่างๆ มาคุมกำลังของตน แม้จะสั่งการมาว่าให้ขึ้นบังคับบัญชากับ มทภ.4 แต่ รอง มทภ.ที่คุมกำลังของตนนั้นก็ต้องฟังจาก ผบ.ทบ. เพราะมอนิเตอร์อยู่ (เฝ้าฟัง) ตลอดเวลา

          มทภ.4 พล.ท.พิเชษฐ์ วิสัยจร เป็นแม่ทัพอยู่จึงไม่สามารถริเริ่มงานยุทธการและงานการรุกทางการเมืองใดๆ ให้เป็นฝ่ายรุกได้ พล.ท.พิเชษฐ์ฯ จึงทำได้แค่เพียงยุทธศาสตร์พอเพียงในหมู่บ้าน "เหลือง–เขียว" เป็นการป้องกันมิให้หมู่บ้านเหล่านี้กลายเป็นแดง จึงยากที่จะมองเห็นความสำเร็จตราบใดที่ยังมีโจรฯ คุมหมู่บ้านแดงอยู่ อิทธิพลโจรฯทำให้พื้นที่การปกครองของฝ่ายปกครองแคบลง เล็กลงทุกวัน จึงจำเป็นต้องยุติสงครามก่อการร้ายนี้ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว จะปล่อยให้คนที่รับผิดชอบทั้งนักการเมืองและนักการทหารระดับบนที่มักจะพูด ว่า “ต้องใช้เวลา” ในการแก้ปัญหา 3 จชต.นั้น พูดออกมาเพราะยังไม่เข้าใจ ไม่รู้เขาและไม่รู้เรา

          นอกจากนี้การใช้รองแม่ทัพจาก ทภ.ต่างๆ ลงมาคุมกำลังใน ทภ.ของตน ทำให้ มทภ.4 รู้สึกอึดอัดในการที่จะส่งกำสัง เรียกประชุมสั่งการไปยัง พัน.ร.ต่างๆ ที่มาขึ้นบังคับบัญชา เป็น “ทำนบ การบังคับบัญชา” ที่มองไม่เห็น การสื่อความคิดในทางยุทธการและการเมืองจากแม่ทัพลงไปถึง พัน.ร.ต่างๆ จึงไม่เป็นเอกภาพ ทำให้การปราบโจรฯ ตกอยู่ในความยืดเยื้อตามที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ การพูดว่าปัญหาภาคใต้สลับซับซ้อน มีปัญหา ต้องใช้เวลา ใช่ต้องใช้เวลา เพราะเราไม่เข้าใจปัญหาและไม่เข้าใจตัวเราเอง นี่คือโจทย์อันยิ่งใหญ่ของเรา

          ข้อสังเกตประการที่สาม กำลังทหารจาก ทภ.1, 2, 3 นั้นจัดมากองทัพละ 4 กองพัน (4 พัน.ร.) ควรใช้นายทหารระดับผู้บังคับการกรม (ผบ.กรม.ร.) เท่านั้นลงมาคุมกำลังใน ทภ.นั้นๆ แต่ต้องให้มาขึ้นบังคับบัญชากับ มทภ.4 น่าจะเป็นการเหมาะสมกว่า เป็นการฝึกให้ ผบ.กรม ให้ทำงานที่ยากและกว้างขึ้น ดีกว่าลดฐานะของรองแม่ทัพลงมาคุมงานในกรอบของ ผบ.กรม

          ข้อสังเกตประการที่สี่ การจัดกำลังเข้าทำการสู้รบกับโจรฯ ตามที่ ทบ.ควบคุมอยู่นี้ เป็นการจัดกำลังทำการรบที่แปลกที่สุด คือ เป็นการแข่งทำการรบในสมรภูมิที่มีลักษณะพิเศษ (ดังที่กล่าวไว้ในข้อสังเกตประการที่หนึ่ง) ระหว่าง ทภ.1, 2, 3 ซึ่งเป็นกำลังต่างพื้นที่ (ทหารต่างถิ่น) ส่วนกำลังทหาร ทภ.4 ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่นั้นจัดกำลังเข้าเสริม

          การผลัดเปลี่ยนกำลังของทหารต่างถิ่นทุกปี มีข้อเสียคือ กำลังพลทุกชั้นยศขาดการรับรู้สถานการณ์และการข่าวที่เปลี่ยนแปลงไปทุกวัน ต้องมาศึกษากันใหม่เกี่ยวกับโจรฯ ขีดความสามารถและยุทธวิธีของโจรฯ ภูมิประเทศสำคัญ แนวร่วมโจรฯ และพลเมืองมุสลิมในพื้นที่รับผิดชอบซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเอาชนะในสงคราม นี้ ปัจจัยบังคับเหล่านี้ต้องมาเรียน หรือเริ่มต้นกันใหม่หมด

          สำหรับกำลังพลทหารต่างถิ่น ซึ่งอย่างน้อยก็ต้องเสียเวลาไปแล้วในการปรับตัวให้รับรู้สถานการณ์ 2–3 เดือน จึงจะมีความเชื่อมั่นในการออกปฏิบัติการทางทหารได้ จึงเป็นข้อด้อยที่สำคัญของกำลังทหารของฝ่ายเราเมื่อต้องเผชิญกับทหารอาร์เค เคที่แข็งแกร่ง คร่ำหวอดในการรบอย่างต่อเนื่อง และเป็นเจ้าของบ้านครองภูมิประเทศสำคัญทุกซอกมุม จึงทำให้การปฏิบัติการทางการทหารของกำลัง พตท. ต้องตกเป็นฝ่ายรับมาโดยตลอด มีแต่สูญเสียเป็นประจำ

          ข้อสังเกตประการที่ห้า การจัดการบังคับบัญชาหน่วยเข้าทำการสับประยุทธ์กับกำลังทหารอาร์เคเคและ หน่วยคอมมานโดของขบวนการโจรก่อการร้ายบีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนทที่ 3 จชต.ของฝ่ายเรานั้นมีขั้นตอนมากมาย หัวโตอุ้ยอ้าย เช่นที่ระดับ กอ.รมน.ภาค 4 ทุกตำแหน่งของการบังคับบัญชามีรองถึง 3–4 คน มีเสนาธิการ ซึ่งต้องมี รอง เสธ.อีก 3 มีหัวหน้าสำนักงาน ฯลฯ

          ครั้นลงมาถึงหน่วยที่คุมกำลังทำการต่อสู้กับขบวนการโจรก่อการร้ายทั้งทางการ เมืองและทางการทหาร คือ กองบัญชาการผสม พลเรือน ตำรวจ ทหาร (พตท.) ตัว ผบ.พตท. มียศพลโท เท่ากับแม่ทัพภาคที่ 4 เนื่องจากยศ พล.ท. ใน ทภ.4 มีคนเดียว คือ มทภ.4 ความจริงแล้ว มทภ.4 ต้องเป็น ผบ.พตท.

          ได้พูดไว้ในตอนต้นแล้วว่า มทภ.4 นั้นมีขีดความสามารถควบคุมกำลังรบได้ถึง 6 กองพล ปัจจุบันนี้กำลังใน ทภ.4 มีเพียง 2 กองพลเท่านั้น การตั้ง ผบ.พตท. (ยศ พล.ท.) มานั่งคุมกำลังที่ทำการต่อสู้กับโจรฯ ทำให้ ทภ.4 ต้องขอยืมตัวนายทหารยศ พล.ท. มาจากกองทัพบก ตั้งกองบังคับการกำลัง พตท. ขึ้นอีก เป็นทำนบงานรองลงไปจาก บก.ทภ.4 ซึ่งไม่มีความจำเป็นใดๆ เลย

          สมัย ทภ.4 ปราบคอมมิวนิสต์ พื้นที่แดงมีทั้ง 14 จังหวัด โจรดาวแดงจัดตั้งฐานที่มั่นได้แต่ละจังหวัด 1–2 ฐานที่มั่นเป็นอย่างน้อย ฐานที่มั่นหมายถึง คอมฯ มีกฎหมายปกครอง, มีตำรวจ ทหารของตน แม้จะนอกกฎหมายแต่ชาวบ้านก็ต้องยอมเชื่อฟัง แม่ทัพภาคที่ 4 ก็ยังทำ “ใต้ ร่มเย็น” ได้สำเร็จ

          ปัจจุบันนี้สถานการณ์ที่ 3 จชต.นี้มีพื้นที่แดงเพียง 10 –12 อำเภอเท่านั้น ถามว่าทำไมต้องมี บก.พตท.แยกตัวไปจาก ทภ.4 หรือ กอ.รมน.ภาค 4 สน. ซึ่งความจริงแล้ว ผอ.รมน.ภาค 4 สน. ต้องเป็น ผบ.พตท.ด้วย

          ข้อสังเกตประการที่หก กำลังพลใน ทภ.4 ตั้งแต่พลทหาร นายทหารประทวนจนถึงสัญญาบัตร ขวัญตก เพราะเป็นเจ้าของพื้นที่แต่ไม่ได้เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการปราบโจรฯ ผมเคยสัมผัสกับนายทหารระดับ พ.อ., พ.อ.พิเศษหลายคน เขารู้จักป่า ภูเขา ลำธาร แม่น้ำ เนินหรือบรรดาภูมิประเทศสำคัญทางทหาร รู้หมู่บ้าน ตำบลที่เป็นแดงเมื่อ ฮ.บินผ่าน ปัญหาที่ถามก็คือ ทหารต่างถิ่นทั้งประทวนและสัญญาบัตรต่าง ๆ จะรู้ได้อย่างไรเมื่อมาอยู่ใหม่เพราะมีการผลัดเปลี่ยนทุกปี การจัดกำลังเข้าทำการรบของ ทบ. ในลักษณะนี้คือเอาทหารต่างถิ่นมาคุมพื้นที่วิกฤติในการปราบโจรฯ เป็นมาตั้งแต่ปี 2549

          ผลที่ได้ก็คือไม่ได้ผล นอกจากไม่ได้ผลแล้วยังผลาญชีวิตของข้าราชการ พลเรือน ตำรวจ และทหาร และพลเมืองพุทธ/มุสลิมอีกเกือบสี่พันชีวิต บาดเจ็บ พิการอีกต่างหาก และเมื่อพิจารณาถึงงบประมาณของชาติที่ต้องสูญเสียไปแต่ละปีจนบัดนี้รวม 5 ปี (ตั้งแต่ปี 2547 ถึงปี 2552) ใช้งบประมาณไปแล้วทั้งสิ้น 109,396 ล้านบาท นี่คือประเด็นสำคัญยิ่งที่ต้องทบทวนอย่างแรง

          คิดใหม่ทำใหม่ด้านการทหารเพื่อดับไฟใต้ในบทเรียนจากการรบบทนี้เป็นแค่เพียง ปฐมเหตุแห่งปัญหาที่ทำให้วิกฤติไฟใต้ยังไม่มอดดับ...

          ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้ยาวนานเพราะเราไม่ยอมรับรู้ปัญหา!

6
salam...


บทเรียนจากการรบ...โมเดลเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นแบบพิเศษ 4 จังหวัดชายแดนใต้     
Written by Administrator   
Monday, 01 March 2010 09:15

พลเอก หาญ ลีนานนท์

ได้เห็นข่าว นายถาวร  เสนเนียม  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะรัฐมนตรีที่รับผิดชอบแก้ปัญหาภาคใต้ แถลงในเวทีหนึ่งภายใต้หัวข้อ “รัฐบาลลดกระแสต้านใต้ คืนความเป็นธรรมรื้อคดี” แล้วรู้สึกสะท้อนใจ

          นายถาวร กล่าวว่า “…สิ่งที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนคือปัญหาความยุติธรรมซึ่งนายกรัฐมนตรีย้ำ ให้นำผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายจับคดีสำคัญมาตรวจสอบใหม่ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและต้องเอาผู้ที่กระทำผิดอย่างแท้จริงมาดำเนินคดี ให้ได้ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะอยู่ในปกครองของใคร และใครถูกใส่ร้ายก็จะให้ความเป็นธรรมด้วย.....”

          ความจริงเรื่องนี้ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พูดตั้งแต่เข้ารับหน้าที่และพูดต่อมาเป็นครั้งคราว ก็ไม่เห็นมีอะไร กระดุกกระดิกตอบสนองนโยบายนายกฯ ที่นายถาวรพูดอีกก็เป็นการพยายามทำนโยบาย ที่นายกฯพูดไว้ให้เป็นจริง เป็นการพูดหรือแถลงนโยบายการปฏิบัติที่จะทำต่อไปในอนาคต กลไกที่จะต้องดำเนินการระดับต่ำสุดคือ ตำรวจ ทหาร พยาน ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ของเหตุการณ์ต่างๆ ระดับเหนือขึ้นมาก็คืออัยการและศาล ซึ่งจะต้องดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม

          อย่างไรก็ดี การแถลงของนายถาวรนั้นไม่มีน้ำหนัก ไม่โดนใจคนมุสลิมผู้ถูกปกครองที่เป็น พลเมืองชั้นสองมาโดยตลอด สิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ความไม่ เสมอภาคในสังคมและกฎหมาย มุสลิมที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ถูกละเมิดมาโดย ตลอด

          ถ้านายถาวรหรือรัฐบาล (พรรคประชาธิปัตย์) มีความจริงใจที่จะลดกระแสต้านใต้จริงๆ หยิบเอาเรื่องที่โดนใจพลเมืองมุสลิมที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มาขึ้นป้ายไว้ สิครับ มีอยู่ 5–6 เรื่องซึ่งเคยเขียนลงมาแล้วแต่จำเป็นต้องย้ำอีกครั้งหนึ่งคือ

          (1) หะยีสุหลง โต๊ะมีนา ผู้นำทางศาสนา บิดา นายเด่น โต๊ะมีนา ถูกจับหายตัวไปตั้งแต่ปี 2491

          (2) ทนายความมุสลิม นายสมชาย นีละไพจิตร ถูก อุ้มหายตัวไปเมื่อ 4 มีนาคม 2547 (สำหรับนายสมชายนี้มิได้เป็นคนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่เป็นคนที่ทำคดีสำคัญให้กับมุสลิมทุกเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน จึงตกเป็นเป้าสังหารไปด้วย)

          (3) การตายหมู่ของมุสลิมในมัสยิดกรือเซะเมื่อ 28เมษายน 2547

          (4) การตายหมู่ของมุสลิม 78 คน กรณีจลาจลที่ตากไปและเสียชีวิตเนื่องจากไม่มีอากาศหายใจในการขนย้ายไป ปัตตานีที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร เมื่อ 25 ตุลาคม 2547

          (5) กรณีอิหม่ามยะผา กาเซ็ง ถูกฆ่าตายระหว่างถูกคุมตัวของทหาร ระหว่างสอบสวนที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส เมื่อ 20 มีนาคม 2551

          (6) การตายหมู่ของมุสลิม 10 คน ในมัสยิดอัลฟุรกอน บ้านไอร์ปาแย  ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อ 8 มิถุนายน 2552

          ทั้ง 6 เรื่องที่คัดมานี้คือทุกข์แสนสาหัสของพี่น้องพลเมืองมุสลิมที่เป็นญาติของ ผู้เสียชีวิต พวกเขารู้ว่าใครหรือผู้ถืออาวุธกลุ่มไหนสีอะไรที่เป็น ฆาตกร แต่เขาไม่มีโอกาสที่จะเปิดเผยกับใครเมื่อใด

          ถ้านายถาวร หรือนายกอภิสิทธิ์ มีความจริงใจหยิบมาสักเรื่อง รับรองว่าโดนใจมุสลิมแน่ๆ ขอแนะนำเรื่องที่ง่ายที่สุด คือเรื่องสุดท้ายของการฆ่าหมู่ในบ้านของพระเจ้า มัสยิดอัลฟุรกอน บ้านไอร์ปาแย เพราะเพิ่งจะเกิดเมื่อ 6–7 เดือนที่แล้ว และจับผู้ต้องสงสัยได้แล้ว หากรีบรุกดำเนินการโดยด่วนจะได้ตัว กลุ่มฆาตกรแน่นอน เลือกตั้งครั้งหน้าประชาธิปัตย์มาแน่นอน กระแสต้านใต้จะ หายไป เสียดายเวลา 1 ปีที่ผ่านมาประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคของคนใต้ แต่แก้ปัญหาใต้แบบ “โน้ง เหน่งโน้งแกระ” ไปวันๆ ไม่มีใครรู้จริง เอาจริง

          ทั้งนี้เพราะไม่รู้ว่าแกนของปัญหาที่แท้จริงนั้นคืออะไร อยู่ที่ไหน และจะแก้ปัญหาอย่างไร

          ไม่ว่าข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่พลเรือน ตำรวจ และทหาร (กองทัพ) ต่างก็ท่องพระบรมราโชวาทของพระเจ้าอยู่หัว “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ที่พระราชทานให้ แล้วก็ท่องเป็นนกแก้วนกขุนทอง ถ้าเป็นโจทย์ถามว่า “เข้าใจอะไร” ก็ตอบไม่ได้เพราะไม่รู้ว่าแก่นของปัญหาที่แท้จริงคืออะไร

          แก่นแกนของปัญหาที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นคือ ประวัติ ศาสตร์ ชาติพันธุ์ ประเพณี ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ที่ สำคัญของพลเมืองที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งเป็นมุสลิม (คนที่นับถือศาสนาอิสลาม) กลไกของรัฐที่เป็นชนชั้นปกครองจำเป็นต้องเข้าใจ ถึงแก่นของปัญหานี้อย่างแท้จริง จึงจะทำให้การเมืองและการปกครองที่สาม จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นไปอย่างสงบราบรื่น เพราะการเมืองคือความสัมพันธ์ ระหว่างชนชั้น นั่นคือความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองคือข้าราชการ พลเรือน ตำรวจ ทหาร และชนชั้นผู้ถูกปกครองคือพลเมือง

          ประชากรที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นส่วนใหญ่เป็นคนมุสลิม  75–95 เปอร์เซ็นต์

          ปรัชญาการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และ เพื่อประชาชน ดังนั้นเมื่อเราขึ้นไปบนอำเภอ ศาลากลาง โรงพัก (สถานีตำรวจภูธร)  ตามจังหวัดต่างๆ หรือเมื่อขึ้นไปที่สำนักงานราชการของจังหวัดต่างๆ ในส่วนภูมิภาค ก็น่าจะพบเห็นคนมุสลิมที่สวมกะปิเยาะห์ (หมวกขาวของผู้ชาย) หรือสวมฮีญาบ (ผ้าคลุมศีรษะของสตรี) เป็นหลักในการทำหน้าที่รับใช้ประชาชน พลเมืองมุสลิมของเขา

          เราเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยมาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2475  ถ้าแม้นว่าชนชั้นปกครองทั้งนักการเมืองและนักการทหารได้มีจิตสำนึกและยึด มั่นในปรัชญาประชาธิปไตยเป็นพื้นฐานในการปกครองและบริหารประเทศ จนถึงบัดนี้ นับได้เกือบ 80 ปีแล้ว ก็คงจะมีคนมุสลิมทั้งเพศหญิงและเพศชายเข้ามารับราชการในส่วนราชการ ต่างๆ ในส่วนภูมิภาคที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้นตามเปอร์เซ็นต์ของพลเมือง มุสลิม

          และถ้านักการเมืองและรัฐบาลเข้าใจถึงแก่นแกนของปัญหาที่กล่าวข้างต้นอย่าง แท้จริง ยอมให้มีการแก้พระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้ง ให้ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล  โดย อบจ. (องค์การบริหารส่วนจังหวัด) ของทั้ง 4 จังหวัด เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของรัฐบาลไทย เช่นเดียวกับ กทม. (กรุงเทพมหานคร) เมืองพัทยา และ อบจ. 75 แห่งทั่วประเทศ ถ้าเป็นแบบนี้พลเมืองซึ่งส่วนใหญ่เป็นมุสลิมในสี่จังหวัดชาย แดนภาคใต้ก็จะได้ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นคนมุสลิมที่มาจากการเลือกตั้ง โดยมือของพลเมืองมุสลิม สอดคล้องกับปรัชญาประชาธิปไตยที่ว่าการปกครองเป็น ของประชาชน

          เมื่อดูความจริงที่ปรากฏในการปกครองท้องถิ่นระดับล่างที่มาจากการเลือกตั้ง โดยตรงของประชาชนทั้งสามจังหวัด (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ก็จะพบว่าองค์กรปกครองท้องถิ่นคือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ของทั้ง 3 จังหวัดนั้นเป็นคนมุสลิมเสียเป็นส่วนใหญ่เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ยกเว้นในส่วนของปลัด อบต.จะเป็นการแต่งตั้งโดยทางราชการ (กระทรวงมหาดไทย) จึงมีทั้งคนพุทธและมุสลิม ด้วยเกรงว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ (เริ่มเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น พ.ศ.2545) การบริหารราชการตามระบอบใหม่จะสับสน จึงจำเป็นต้องให้ปลัด อบต. มาจากการแต่งตั้ง บัดนี้ล่วงเลยมา 8 ปีแล้ว น่าจะต้องมีการทบทวนเรื่องนี้ พี่น้องมุสลิมที่ได้รับการศึกษาระดับ สูงก็คงมีมากพอที่จะลงรับเลือกตั้งเป็นปลัดองค์กรปกครองท้องถิ่นได้ เพื่อเป็นตัวแทนพลเมืองมุสลิมในการปกครองตนเอง

          ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือจะเป็นสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในโอกาสต่อไปก็คือเรื่อง“การ เมือง” ถ้าเข้าใจ“การเมือง”อย่างถูกต้อง ก็จะเข้าถึงปัญหา จะได้ใจของพี่น้องมุสลิม ไม่ต้องเสียงบประมาณเป็นแสนๆ ล้าน และไม่ต้องเสียชีวิตของประชาชนพลเมืองทั้งพุทธมุสลิม ข้าราชการทหาร ตำรวจ อาสาสมัครต่างๆ เช่นปัจจุบัน การพัฒนาจะเกิดขึ้นโดยไม่ต้องใช้งบประมาณมากมายเช่นทุกวันนี้ ไม่มีการรั่วไหลเพราะเนื้องานไปถึงมือประชาชนเต็มเม็ดเงิน

          ข้อสังเกตการแก้พระราชบัญญัติเลือกตั้งให้สี่จังหวัดชายแดนภาค ใต้ คือ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของรัฐเช่นเดียวกับ กทม. และเมืองพัทยา ก็จะทำ ให้พลเมืองของทั้งสี่จังหวัดซึ่งส่วนใหญ่เป็นมุสลิมนั้นจะได้ผู้ปกครองคือ ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอ ณ ระดับจังหวัด และอำเภอตามลำดับเป็นคนมุสลิมเพื่อปกครองมุสลิมตามที่เขาเรียก ร้องมาหลายทศวรรษแล้ว เป็นการแก้ที่ไม่กระทบกระเทือนกับการแบ่งส่วนราชการของรัฐบาล ดีกว่าไปคิดรูปแบบขึ้นมาใหม่ เช่น มีผู้เสนอเรื่อง “นครปัตตานี” ซึ่งยากที่จะเป็นไปได้

          เมื่อปรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มุสลิมปกครองตนเองได้สำเร็จ จะต้องปรับการบรรจุให้มีคนมุสลิมเข้ามาทำหน้าที่ต่างๆ ทุกสาขาอาชีพ โดยเฉพาะสายงานที่สำคัญที่จะต้องดำเนินการอย่างเข้มงวดและจริงจังเพื่อรับ ใช้มุสลิมด้วยกัน เช่น ตำรวจ อัยการ ศาล ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐที่จะรักษาไว้ซึ่งความยุติธรรม ความเสมอภาค กันทางกฎหมาย ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชน

          6 ปัญหาทางการเมืองที่ค้างคาใจพลเมืองมุสลิมที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้ ยกมากล่าวไว้ในบทเรียนนี้ ผมได้เคยเสนอวิธีการแก้ปัญหาไว้แล้ว สรุปความว่าการแก้ปัญหาทางการเมืองนั้น รัฐบาลต้องรุกทางการเมืองต่อปัญหา ทั้ง 6 เรื่อง และควรหยิบปัญหาการฆ่าหมู่มุสลิม 10 คนในมัสยิดอัลฟุรกอนมาดำเนินการก่อน

          นี่คือการรุกทางการเมือง เป็นการปฏิบัติทางการเมืองที่ได้ผลเพราะเข้าใจถึง แก่นแกนของปัญหา แม้จะสำเร็จอีก 5 หรือ 10 ปีข้างหน้า มุสลิมก็จะพอใจและระลึกได้ว่าสิ่งที่พลเมืองมุสลิมต่อสู้มายาว นานนั้นเริ่มมองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์แล้ว และต้องรุกทุกวันโดยต่อ เนื่อง หยุดมิได้ ทำนองเดียวกับปัญหาอื่นๆ อีก 5 ปัญหาที่เหลืออยู่ก็ต้องสะสาง ตั้งระบบขึ้นบังคับให้รัฐบาลทุกรัฐบาลต้องทำ ต่อ มิใช่พอสิ้นรัฐบาลอภิสิทธิ์แล้วก็เลิกกัน ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ เริ่มกันใหม่

          แน่นอนบางเรื่องอาจจะต้องจบด้วยการเยียวยาระยะยาวต่อญาติพี่น้องของมุสลิม ผู้เสียชีวิต เพราะความคิดที่ผิดๆ ของกำลังที่ถืออาวุธ“สายเหยี่ยว” ก็อาจจะต้องทำใจด้วยกาลเวลาและด้วยการตอบแทนของรัฐบาลที่คุ้มค่าแก่ญาติพี่ น้องที่อยู่ข้างหลัง เพราะชีวิตนั้นซื้อไม่ได้ ความสมานฉันท์จะได้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน

          ส่วนราชการอื่น ๆ ของรัฐบาลทุกสายงาน บรรดาเจ้ากระทรวงต่างๆ ก็ต้องถือเป็นนโยบายหลักที่จะต้องปรับการบรรจุกำลังพลทุกสายงานให้มีคน มุสลิมเข้ามาเป็นข้าราชการในสัดส่วนที่เหมาะสมกับจำนวนพลเมืองมุสลิมที่ถูก ปกครองกับทางราชการที่เป็นฝ่ายปกครอง

          ประเด็นสำคัญคือศูนย์อำนาจของส่วนราชการต่างๆ ของบรรดาเจ้ากระทรวงทั้งหลายนั้นอยู่ในกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น เช่น อธิบดี กรมป่าไม้ ที่ดิน อุตสาหกรรม เกษตร ประมง สิ่งแวดล้อม ยุติธรรม ฯลฯ ซึ่งอยู่ห่างไกลจากปัญหาจริง ยากที่จะแก้ไขปัญหาได้ เมื่อแก้ระดับการปกครองท้องถิ่นให้พลเมืองรู้จัก ปกครองตนเองแล้ว ก็จะต้องแก้การกระจายอำนาจในการอนุมัติเรื่องต่างๆ ทุกสายงานที่กล่าวเป็นตัวอย่างข้างต้นนั้นด้วย  ตัวแทนของบรรดาท่านอธิบดีทุกสายงานของกระทรวงต่างๆ ต้องเป็นองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด ซึ่งมีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชา ซึ่งทั้งหมดมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน

          จึงถึงเวลาแล้ว ...ถึงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้พลเมืองมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาค ใต้มีสิทธิเสรีภาพในการปกครองตนเองด้วยการยกฐานะของ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล)  และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา (อ.จะนะ เทพา สะบ้าย้อย และนาทวี) เป็นเขตปกครองท้องถิ่นพิเศษ เช่นเดียวกับ กทม. และเมืองพัทยา แต่เพิ่มเติมด้วยข้อความในวรรคที่พูดถึงศูนย์อำนาจที่กุมไว้ ที่ส่วนกลาง (ระดับอธิบดี) ต้องกระจายลงไปให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้ถืออำนาจแทน

          ทุกคนทุกฝ่ายที่รับผิดชอบมักพูดจนคุ้นหูว่า ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องใช้เวลา แต่นั่นคือคำตอบของผู้ที่ไม่รู้ ปัญหาและวิธีแก้ปัญหา!

 

7
 salam...


บทเรียนจากการรบ...คิดใหม่ ทำใหม่ ด้านการเมืองเพื่อดับไฟใต้     
Written by Administrator   
Sunday, 13 December 2009 16:29

พลเอก หาญ ลีนานนท์

ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม 2552 เป็นต้นมาจนถึงเวลาที่เขียนอยู่นี้ คือ 12 พฤศจิกายน 2552 ประมาณ 3 สัปดาห์แล้ว เหตุการณ์ก่อการร้ายที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้สงบเงียบน่าแปลกใจ เมื่อสอบ ถามไปยังนายทหารที่เคยทำงานด้วยกันก็ได้รับคำตอบ ปัญหาคือน้ำท่วมโดยทั่วไป ทำให้การพบปะติดต่อประชุมหารือทำกันไม่ได้สะดวก สถานการณ์จึงดูเงียบๆ ฝ่ายเราอย่าประมาทหรือละเลยการปฏิบัติเป็นอันขาด

          ถึงเวลาของการทบทวนการปฏิบัติทั้งทางการเมืองและทางการทหาร เพราะเป็นการปฏิบัติของช่วงปีงบประมาณใหม่ 2553 ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2552 ไปสิ้นสุดเอา 30 กันยายน 2553 แม้จะเริ่มมาได้เดือนเศษๆ ก็คงไม่สายเกินไปหากกองทัพบกและกองทัพภาคที่ 4 จะคิดทบทวนถึงการปฏิบัติทั้งทางการเมืองและทางการทหารในการเอาชนะโจรก่อการ ร้ายในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งทั้งนี้หมายรวมถึงการกำหนดยุทธศาสตร์และยุทธวิธี การใช้กำลังพลเรือน ตำรวจ ทหาร เป็นไปอย่างถูกต้องหรือไม่อย่างไร

          เมื่อพูดถึงแนวทางในทางการเมืองและทางการทหารเพื่อต่อสู้กับโจรฯ และเอาชนะโจรก่อการร้าย หรือพูดในด้านหนึ่งก็คือยุทธศาสตร์และยุทธวิธีในการต่อสู้กับโจรฯ และเอาชนะโจรฯ ให้สำเร็จนั่นเอง

          แนวทางหรือยุทธศาสตร์ของฝ่ายเราคือ “การเมืองนำการท หาร” ไม่เปลี่ยนแปลง แต่เนื้อหาสาระในการปฏิบัติทั้งทางการเมืองและทางการทหารต้องมีการเปลี่ยน แปลงและแตกต่างจากแนวทางการปฏิบัติในปีงบประมาณ 2551 และ 2552 โดยสิ้นเชิง ซึ่งมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้

 

ด้านการเมือง

          การ ปฏิบัติการด้านการเมืองของฝ่ายรัฐบาล พลเรือน ตำรวจ ทหาร  = พตท. นั้น ต้องเน้นหนักในเรื่อง “การรุกทางการเมือง” จึงจะได้รับชัยชนะและได้รับความร่วมมืออย่างจริงใจจากประชาชนผู้ถูกปกครอง ที่เป็นมุสลิม การรุกทางการเมืองของฝ่ายเราจะทำให้พลเมืองมุสลิมมีความเท่าเทียมกับพลเมือง ไทยพุทธ มีความเสมอภาคกันในด้านกฎหมาย (ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน) และอยู่ในสังคมร่วมกันอย่างมีศักดิ์ศรี มุสลิมมิใช่พลเมืองชั้นสอง 

          ตัวอย่างการรุกทางการเมืองที่ควรหยิบยกขึ้นมาทำหรือปฏิบัติให้เห็นเป็น ตัวอย่างจริง  คือ ทางรัฐบาลต้องดำเนินการอย่างจริงจังตามกฎหมายในเรื่องที่เกิดการตายหมู่ของ พลเมืองมุสลิม 10 คนในมัสยิดอัลฟุรกอน บ้านไอร์ปาแย ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2552  ที่เรียกว่า "การฆ่าใน บ้านของพระเจ้า" เรื่องนี้เพิ่งเกิดเมื่อ 5–6 เดือนที่ผ่านมา ยังคงอยู่ในความทรงจำของชาวบ้านและตามข่าวก็ออกหมายจับผู้ต้องหาได้แล้ว น่าจะเป็นสื่อชักนำให้คลี่คลายปัญหาได้ต่อไปอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น และนำไปสู่การจับกุมกลุ่มฆาตกรได้หมด

          ถ้าแม้นว่าทางฝ่ายรัฐบาลได้ให้ความสำคัญและดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจัง ตามวิธีและขั้นตอนตามข้อกฎหมายต่างๆ เพื่อรักษาไว้ซึ่งกระบวนการยุติธรรม เกาะติดคดีนี้อย่างเหนียวแน่น แจ้งความคืบหน้าของการดำเนินการทุกระยะให้ประชาชนทราบทางสื่อ โดยเฉพาะพลเมืองมุสลิมที่เป็นเครือญาติของผู้ตาย ให้เขาเหล่านั้นได้รับรู้ว่าญาติของเขามิได้ตายฟรี ความยุติธรรมกำลังหยิบ ยื่นให้เขาและเกิดขึ้นแล้วโดยรัฐบาลนี้ ก็น่าจะทำให้ความรู้สึกของคนในพื้นที่ดีขึ้น

          เมื่อเรื่องการฆ่าหมู่ในมัสยิดอัลฟุรกอนเริ่มคลี่คลาย ฝ่ายพลเรือน ตำรวจ และทหาร ซึ่งเป็นชนชั้นปกครองก็จะมีความรู้สึกว่าได้รับความร่วมมือจากพลเมืองมุสลิม ซึ่งเป็นฝ่ายถูกปกครองในระดับที่ดีขึ้น ก็จะเป็นแนวทางหรือแสงสว่างให้เดินหน้าต่อไปในการค้นหาสันติสุขอย่างถาวรให้ เกิดขึ้นอย่างจริงจัง

          หากคลี่คลายปัญหาการตายหมู่ของพลเมืองมุสลิมในมัสยิดอัลฟุรกอนได้ นั่นคือการรุกทางการเมือง และเป็นชัยชนะทางการเมืองของรัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายปกครอง ฝ่ายรัฐบาลก็ยังมีเรื่องการตายหมู่ การตายของผู้นำศาสนา ฯลฯ อีกหลายเรื่อง เรื่องสำคัญๆ ก็ได้เขียนไว้แล้วในบทเรียนจากการรบตอนก่อนๆ แม้จะไม่สามารถแก้ได้หมดในเวลาอันรวดเร็ว และบางเรื่องก็ไม่สามารถแก้ได้เลย เพราะเป็นอดีตการปกครองที่เป็นเผด็จการเต็มรูปแบบ จำเป็นต้องปล่อยให้ผ่านไป ปล่อยให้เป็นภาระของการเยียวยาที่ต้องใช้เวลา เป็นแผลใจของญาติพี่น้องผู้เสียชีวิตไปอีกหลายชั่วคน และจะลืมหายได้สนิทและเร็วขึ้นเพียงใดก็ต่อเมื่อฝ่ายชนชั้นปกครองได้ทำการ รุกทางการเมืองอย่างต่อเนื่องและถูกต้อง และเกิดความสมานฉันท์ระหว่างพลเมืองพุทธ–มุสลิมอย่างถาวร

          เมื่อชนชั้นปกครองได้เข้าใจแก่นแท้ของปัญหาลึกลงไปถึงว่าปัญหาที่สามจังหวัด ชายแดนภาคใต้นั้นมิได้เกิดจากฝ่ายพลเมืองมุสลิมแต่เพียงฝ่ายเดียว หากแต่ชนชั้นปกครองฝ่ายไทยพุทธเราเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นบ่อเกิดของปัญหา เนื่องจากไม่เข้าใจพลเมืองมุสลิมที่เป็นฝ่ายถูกปกครอง ทำให้พลเมืองมุสลิมไม่ได้รับความเป็นธรรม ไม่มีความเท่าเทียมกันในสังคม ไม่มีความเสมอภาคในโอกาสที่จะปกครองตนเอง ความคิดรุนแรงที่ตกผลึกของนักการทหาร "สายเหยี่ยว" ของชนชั้นปกครองจึงทำให้เกิดการฆ่าหมู่ ทำให้พลเมืองมุสลิมตายหมู่หลายครั้งหลายคราวดังที่ได้กล่าวมาแล้วหลายครั้ง ความคิดเช่นนี้ต้องถูกกำจัดไปให้หมดสิ้นจากกำลังที่ถืออาวุธที่ทำหน้าที่ ปกครองพลเมืองมุสลิมที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะมุสลิมพร้อมที่จะสมานฉันท์เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ และมีความเท่าเทียมกันในสังคมทุกๆ ด้าน

          ดังนั้นการรุกทางการเมืองจะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อต้องกระทำต่อกำลังชน ชั้นปกครองพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่นิยมการแก้ปัญหาด้วยความรุนแรงหรือการฆ่า เพื่อมิให้เกิดเงื่อนไขสงครามดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ มิฉะนั้นแล้วการรุกทางการเมืองต่อพลเมืองมุสลิมแต่เพียงฝ่ายเดียวจะไม่ บังเกิดผลเลย

          เมื่อใดที่ฝ่ายปกครองคือ รัฐบาล (พลเรือน ตำรวจ ทหาร  = พตท.) เริ่มรุกทางการเมือง จะเห็นได้ชัดจากความร่วมมือของพลเมืองมุสลิมซึ่งค่อยๆ มีปรากฏเปิดเผยขึ้นเป็นรหัสบอกให้รู้ว่าพลเมืองมุสลิมยอมรับการดำเนินการของ ฝ่ายปกครอง การปฏิบัติการที่รุนแรงของแนวร่วมและ/หรือ ทหารอาร์เคเค/คอมมานโดจะเพลาลง เพราะไม่ได้รับการสนับสนุนจากพลเมืองมุสลิมในพื้นที่

          ดังนั้นเมื่อพิจารณาให้ถึงที่สุดแล้วจะพบว่าการรุกทางการเมืองนั้น น่าจะต้องเพ่งเล็งไปที่กลไกของรัฐ เมื่อปฏิบัติการใดๆ ที่เกี่ยวกับพลเมืองมุสลิม ต้องคำนึงอยู่เสมอ อย่าให้เกิดการแบ่งแยกหรือแตกต่างระหว่างพุทธกับมุสลิม เว้นอยู่อย่างเดียวคือศาสนา ซึ่งมีข้อปฏิบัติที่แตกต่างกัน สิ่งที่พึงระมัดระวังเป็นพิเศษคือเรื่องสิทธิมนุษยชน ความเป็นธรรมหรือความเสมอภาคกันทางกฎหมาย ความเสมอภาคในโอกาสที่จะอยู่ร่วมกันในสังคม

          เคยคิดกันบ้างหรือไม่ว่า พลเมืองในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นเป็นมุสลิม 75–95% ในแต่ละจังหวัด แล้วมีข้าราชการเป็นมุสลิมไม่ถึง 50% มีแต่ไทยพุทธเป็นส่วนใหญ่ แล้วเมื่อไรมุสลิมจะได้มีส่วนปกครองพวกเขาเองบ้าง

          นี่คือการแบ่งแยกที่สั่งสมหมักหมมกันมา หาคนความคิดก้าวหน้ามาแก้ไขแสนยากลำบาก ส่วนกำลังที่ถืออาวุธมีวินัย ทั้งตำรวจและทหาร ส่วนใหญ่ถูกครอบด้วยความคิด “สายเหยี่ยว” ประเทศที่กำลังพัฒนาเช่นบ้านเรา “สีเขียว” ก็เข้ามาควบคุมความมั่นคงของรัฐบาลดังที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ การตายหมู่ของคนมุสลิมหลายครั้งที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กรือเซะ, ตากใบ, ไอร์ปาแย) นั่นคือผลึกที่ตกค้างอยู่ในความคิดของคนถืออาวุธ เป็นปัญหาเรื้อรังที่พูดไม่ออกของรัฐบาลตราบใดที่ยังเป็นเผด็จการอยู่
การ สร้างกำลังพลให้มุสลิมปกครองมุสลิมเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมกับพลเมืองใน พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีแนวทางที่ขอนำเสนอดังนี้

          -  ข้าราชการพลเรือนทั่วไป เปิดรับสมัครเยาวชนมุสลิมที่สำเร็จการศึกษา ปวช., ปวส. หรือระดับปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ แล้วนำมาเข้าหลักสูตรอบรมพิเศษ 6 เดือนหรือไม่เกิน 1 ปี แล้วเข้าบรรจุเป็นข้าราชการแทนข้าราชการไทยพุทธในตำแหน่งต่างๆ ใช้เวลา 5–10 ปี อาจได้คนมุสลิมเข้ามาอยู่ในหน่วยนั้นๆ ประมาณ 50% ก็เป็นการเพียงพอก่อนในระยะต้น แล้วมาทบทวนกันอีกทีว่าได้ผลหรือมีข้อแก้ไขที่ต้องปรับปรุงหรือเปลี่ยน แปลงอย่างไร

          - ข้าราชการทหาร ตำรวจ ทั้งประทวนและสัญญาบัตรดำเนินการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนที่กล่าวข้าง ต้น และขอแนะนำเพิ่มเติม ควรนำหลักสูตรนายร้อยสำรองของกองทัพบก (ทบ.) เข้ามาประยุกต์ใช้ ต่อยอดผู้สำเร็จจาก ปวส. ปริญญาตรี ใช้เวลาเพียง 6 เดือน–1 ปี ก็เป็นการเพียงพอบรรจุเข้ารับราชการอายุราชการถึงยศพันเอก แล้วให้เกษียณราชการ

          - เพิ่มชั่วโมงเรียนศาสนาอิสลามในโรงเรียนรัฐบาล ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จากสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมงเป็นสัปดาห์ละ 12 ชั่วโมง (ปัจจุบันเด็กต้องไปเรียนศาสนาที่มัสยิดวันเสาร์ 6 ชั่วโม, อาทิตย์ 6 ชั่วโมง) และมีครูสอนศาสนาที่มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของพลเมืองมุสลิมในสาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นเครื่องจูงใจให้ผู้ปกครองมีทางเลือกให้การศึกษาบุตรหลานของตน เพราะได้ทั้งวิชาสามัญและวิชาเกี่ยวกับศาสนาที่เข้มข้น ทำให้เยาวชนมุสลิมมีโอกาสสอบเข้ารับราชการได้มากขึ้นเมื่อถึงโอกาส

          ถึงเวลาที่รัฐบาลต้องคิดและใคร่ครวญอย่างหนักในเรื่องการปกครอง (การเมือง) ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำอย่างไรและ/หรือมีแนวทางอย่างไร เพื่อทำให้พลเมืองมุสลิมมีความรู้สึกว่าเขามีส่วนในการปกครองพลเมืองมุสลิม ด้วยกันเอง และมีกฎหมายรองรับ

          กำลังพลสายกิจการพลเรือนของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ที่ทำงานการเมืองในระดับหมู่บ้าน ซึ่งมีเป้าหมายว่าจะเอาชนะกันที่หมู่บ้านนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ในหมู่บ้านแดงซึ่งมีประมาณ 200–250 หมู่บ้านทั้งสามจังหวัดนั้น อำนาจทางการเมืองตกอยู่ในเงื้อมมือโจรฯ เมื่อถึงเวลาเลือกตั้ง อบต. หรือ อบจ. โจรฯจะเป็นผู้บงการ ชี้นำ หรือกำหนดว่าพลเมืองผู้มีสิทธิจะต้องไปเลือกใคร แล้วบรรดาผู้ชนะเลือกตั้งเป็นสมาชิก อบต., อบจ. เหล่านี้ก็เป็นหัวคะแนนของ ส.ส. และ ส.ว.ในการเลือกตั้งใหญ่ทั่วไป

          การรู้จักรุกทางการเมืองของกำลังพลเรือน ตำรวจ และทหาร คือเครื่องมือที่จะทำให้การเอาชนะกันที่หมู่บ้านประสบความสำเร็จ ซึ่งจะเป็นการป้องกันมิให้โจรฯ หรือตัวแทนของโจรฯ เข้าไปนั่งชูคอในรัฐสภาอันทรงเกียรติได้

          การรุกทางการเมืองซึ่งเป็นหลักในการปฏิบัติทางการเมืองของฝ่ายรัฐบาลจะได้ผล เพียงใด และต้องใช้เวลาเนิ่นนานแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติการทางทหาร โอกาสและสถานการณ์ที่อำนวยให้การรุกทางการเมือง มิใช่ ปจว. (ปฏิบัติการทางจิตวิทยา) หรือการแจกงบประมาณไปพัฒนาพื้นที่ดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

          การปฏิบัติการทางการทหารเพื่อสนับสนุนการรุกทางการเมืองจะนำเสนอในบทต่อ ไป...โปรดคอยติดตามครับ

 

8
 salam...

ILHAM นี่เป็นชายหรือว่าหญิงอ่ะ...................... cool2:
เห็นชอบบ่น XoS ทิ้งตอนรายอบ่อย.................... cool2:
สับสนไปหมดเลยนะเนี่ย.................... cool2:

ตอนนี้ยังเข้าใจว่าเป็นชายอยู่................... cool2:

wassalam...

9
salam...

ขอแทรกนิดหนึ่ง............... cool2:
พึ่งรู้นะเนี่ยว่า XoS ไม่ใช่ผู้ชาย.................. cool2:
หลงเข้าใจมาตลอดว่าเป็นผู้ชาย.................. oh:

wassalam...

10
ไม่เลือกสถานที่ว่า  ไปภูเก็ตดีกว่าหรือพังงาดี ยะลาไม่ไป ไม่สวย น่ากลัว ฯลฯ 

ไม่เลือกคน ว่าเอาคนนี้ดี บ้านนี้ดีกว่า บ้านนั้นไม่อยากเข้าเด๋วโดนทืบ พวกนี้วัยรุ่น มันขี้เมา ขี้เกียจคุยกับพวกมันฯลฯ

ไม่เลือกเวลา ว่าวันนี้ใครจะทำอะไรก็ช่าง  เด๋วเดือนหน้าค่อยไปเชิญชวน


เพราะจริงๆแล้วเราสามารถดะวะกับทุกคนทุกเวลาทุกสถานที่ได้

 ท่านนบีไม่เลือกคน แม้แต่ผู้คนที่ต่อต้านในมักกะ  ไม่เลือกเวลาแม้แต่ในยามสงคราม ไม่เลือกสถานที่ แม้แต่ในทุ่งนา

ท่านก็ยังดะวะ ไม่เว้นกระทั่งในห้องนอนบนเตียง

salam...

อันนี้ راجيس อธิบายเคลียร์แล้วครับ.......สับสนอย่าสับสนกับสับสนเองนะครับ............. cool2:

งานดะวะห์ที่กำลังเดินอยู่นี้ไม่ได้เลือกคนเลือกเวลาเลือกสถานที่...................... cool2:
งานดะวะห์เข้าไปหมดครับ...จะเป็นคนรวยหรือคนจน...จะเป็นคนมีความรู้หรือไม่มีความรู้..................... cool2:
จะเป็นคนหนุ่มหรือเป็นคนแก่...จะเป็นคนผิวขาวหรือผิวสี...จะสปีกภาษาไหนๆก็แล้วแต่................. cool2:
จะมีลูก1หรือมีลูกโหล....จะมีเมีย1หรือมีเมีย4...จะเป็นขี้ยาหรือเด็กเรียน..................... cool2:
หรืออะไรก็แล้วแต่.......สรุปก็คือ............................. cool2:
ดะวะห์เข้าหมดครับ............................. cool2: cool2: cool2:

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น....การดะวะห์ที่ดีคือการทำดะวะฮฺด้วยฮิกมะฮฺด้วยกับอัคลากที่ดี..................... cool2:
หาใช่ไปบุกโวยวายถ่ายวีดีโอประจานชาวบ้านชาวช่องเขา เป็นต้น....................... cool2:

ซอฮาบะฮฺส่วนใหญ่ได้รับฮีดายะฮฺด้วยกับอัคลากที่ดีด้วยกับฮิกมะฮฺ........................... cool2:
หาใช่ด้วยการเชิญชวนไม่......มีเหมือนกัน...แต่เป็นส่วนน้อยเท่านั้น............... cool2:

แค่นี้ก่อนละกัน............................... cool2:

wassalam...






11

[/size]
และเลือกเราคนหนึ่งให้ออกในหนทางของอัลลอฮ (ซบ.) เพื่อให้พระองค์ได้ขัดเกลาหัวใจของเรา อย่างกับที่พระองค์ เคยขัดเกลาเหล่าบรรดาซอฮาบะฮ์ อามีน

salam...

ตากาซาวันที่ 5 ธันวานี้ครับ...4 เดือนและ40 วัน.............อินชาอัลลอฮฺ................... cool2:
หรือจะออกตอนโยรก็ได้....................... cool2:

wassalam...

12
 salam...

ดะวะอฺมักกียะหฺ.................... cool2:
ดะวะฮฺมะดานียะหฺ.................... cool2:

ออกไปในหนทางของอัลลอฮฺ......................... cool2:
รักษางานมากอมี............................ cool2:

wassalam...

15
อย่าลืมไปอิจติมะฮฺ 53 กันนะครับ 15 ,16 17 มกราคมนี้นะครับ  hehe

salam...

และอย่าลืมแพ็กกระเป๋าออก 4 เดือนไม่ก็ 40 วันด้วยนะคับ....อินชาอัลลอฮฺ.................. cool2: cool2: cool2:

wassalam...

หน้า: [1] 2 3 4