แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - abu-khulus

หน้า: [1] 2 3 ... 5
1
 :salam:

กลุ่มอัสสาบิกูน โจมตีกลุ่มอิควานว่า มันหัจไม่ตรงกับสลัฟ คือ 1. ปรองดองกับกลุ่มบิดอะฮฺ 2. สนับสนุนและอยู่เบื้องหลังการโค่นล้มผู้นำ

ข้อหาแรก ผมมองว่าเพราะอะกีดะฮฺของอิควานไม่ตรงกับกลุ่มคนพวกนี้
และอิควานไปปรองดองกับกลุ่มที่พวกนี้โจมตี เช่น ศูฟี และญะมาอะฮฺตับลีฆ

ส่วนข้อที่สอง ใครมีความรู้ช่วยชี้แจงหน่อยครับ อยากทราบเหมือนกัน

2
ขอมาอัฟครับ โพสต์ VDO ไม่ได้ เข้าไปดูที่ลิงค์นี้ครับ http://www.youtube.com/watch?v=IR6A0wNBJgU

3
#Invalid YouTube Link#

 :salam:
เห็นเขาออกมาโต้แล้วนะ ช่วยชี้แจงด้วยครับ โดยเฉพาะคำพูดของอิหม่ามอัตติรมีซี เห็นคนกลุ่มนี้ชอบยกมา เพื่อยืนยันว่าสลัฟนั้นเขายืนยันความหมายของซีฟัตมุตาชาบิฮาตด้วย

ญะซากัลลอฮุค็อยร็อน


4
 :salam: คุณ Munir ตอนนี้ กลับไปทำงาน 3 จังหวัดภาคใต้เรียบร้อยแล้วครับ แต่เผื่อพี่น้องท่านใดต้องแวะหรือเข้ามาทำงานแถวสิงห์บุรี ก็เลยอยากให้ข้อมูลเพิ่มเติม อาจเป็นประโยชน์ครับ

ที่สิงห์บุรี มีมัสญิดอยู่หลังนึงที่ อ.เมือง แถวนั้นเรียกว่า "ดงมะขามเทศ" ครับ ชมชุนรอบๆ มัสญิดก็มีบ้านมุสลิม ซึ่งอาจปะปนอยู่กับบ้านคนพุทธด้วย ร้านอาหารมุสลิม ที่อยู่ใกล้มัสญิดก็พอมีบ้างนะครับ เช่น ร้านคุยกันข้าวมันไก่ เป็นร้านของนิจากมีนบุรีครับ (แต่ไม่ได้คลุมฮิญาบนะครับ ไม่ต้องตกใจ ถ้าไม่มั่นใจว่าเข้าถูกร้านรึเปล่า ก็ลองให้สลามก่อน)

แต่ถ้าใครมาแถว อ.อินทร์บุรี ก็มีพี่น้องมุสลิมอาศัยอยู่บ้างพอสมควร เช่น ในเขตเทศบาล ก็มีแผงขายเนื้อของมุสลิมอยู่เจ้าหนึ่ง เป็นแผงขายเนื้อวัวเจ้าเดียวในเขตเทศบาล แต่ร้านอาหารมุสลิมไม่มีนะครับ ถ้าพี่น้องท่านใด เกิดติดขัดเรื่องการเดินทางแถวนี้พอดี (ด้วยตักเดร) ก็แวะเข้ามาได้ครับ ยินดีให้ที่พักและอาหารตามอรรถภาพ (ไม่เกิน 3 วัน) อินชาอัลลอฮฺ


5
 :salam:

ส่อว่าจะมีปัญหาอีกแระ เหอๆ ค่อยๆ คุยกันครับ คุยเอาความรู้จะดีกว่านะ

ไม่ใช่ความรู้นะสิ --"  ... หาโอกาสทุกเม็ดที่จะได้ค้าขายมากกว่า
ไม่เห็นจำเป็นต้องแปะโฆษณาเวปตัวเองเลย ถ้าบริสุทธิ์ใจจริง

ขอมาอัฟอีกรอบ ขอยอมรับผิดแต่โดยดีกับความไม่รอบคอบของผมเอง ผมทราบดีครับว่า เวปไซต์นี้ไม่อนุญาติให้ลงโฆษณาหรือหาประโยชน์ใส่ตัว

เจตนาดั้งเดิมของผมนั้น เห็นว่าเนื้อหาบทความในเวป น่าจะให้ความรู้ใหม่เกี่ยวกับธุรกิจเครือข่ายกับอิสลาม จึงเขียนเพียงแค่เกริ่นนำไว้ในบอร์ด และแปะลิงค์ไว้ เพื่อให้พี่น้องตามเข้าไปอ่านเอง จะได้เจอบทความอื่นๆ ด้วย

ผมก็ไม่ได้พูดถึงธุรกิจของตัวเองไว้ในบทความจึงมองว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร

แต่เวปไซต์ของผมถูกสร้างมาในเชิงธุรกิจ จึงมีกลิ่นอายของการขายอยู่บ้าง มีเวปฟอร์มให้กรอกชื่อและอีเมล์เพื่อรับข่าวสาร รวมทั้งข้อความโน้มน้าว ก็เลยทำให้รู้สึกว่าเป็นการล่อให้เข้าไปติดกับ

เอาเป็นว่า...คราวหน้าขอแก้ตัว... หากมีบทความที่เป็นประโยชน์กับพี่น้อง ผมจะเอามาลงในเวปบอร์ดเลย และจะปรับเนื้อหาให้เหมาะสมกับการให้ความรู้ เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนความเห็นกันอย่างสบายใจ

ขอมาอัฟที่ทำให้เสียบรรยากาศ และทำให้พี่น้องบางท่านเสียความรู้สึก
 

6
 :salam:

ประเด็นคือการทำงานในดุนยาเพื่อให้ได้ทำอิบาดะฮ์ ไม่ใช่ทำงานในดุนยาเพื่อความสำเร็จในนั้น
แต่หากพี่น้องต้องการอย่างนั้น นั่นก็เป็นสิทธิของพี่น้องครับ
b][/size]

สำหรับผู้ศรัทธา การทำงานทุกอย่างในดุนยานั้น หากทำโดยสอดคล้องกับหลักการโดยมีเจตนาเพื่อเชื่อฟังอัลลอฮฺ มันก็เป็นการอิบาดะฮฺอยู่แล้ว ส่วนเรื่องการทำงานเพื่อหวังความสำเร็จในดุนยานั้น มันขึ้นอยู่กับว่าเราเข้าใจคำว่าความสำเร็จคืออะไรมากว่า

เจตนาของพี่น้องชัดเจนว่าต้องการโฆษณา ...
ถ้าอย่างนั้นก็ขอให้้บอกว่าโฆษณาตามเหนียตดังนั้น ไม่ใช่การตั้งกระทู้ถามเหมือนดังเหนียตของผู้ที่ต้องการความรู้ ..
มันเสียความรู้สึกครับพี่น้อง .... [/b]

ผมขออณุญาติแจ้งผู้ดูแลเวปบอร์ด ให้ลบกระทู้นี้ทิ้งเสียครับ ...
นอกเสียจากจะเปลี่ยนพฤติกรรมให้ตรงตามเหนียตนั้น
และขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ดูแลเวปบอร์ด ....

ผมรังเกียจพฤติกรรมปากอย่าง ใจอย่าง ... ครับ .. .ขอมะอัฟด้วย ...


ที่ผมตั้งกระทู้ในเชิงคำถาม เพื่อต้องการให้ช่วยแสดงความคิดเห็นครับ เพราะผมเองก็อยากจะทราบข้อมูลในแง่มุมอื่นๆ ที่ผมเองอาจไม่รู้ แต่พี่น้องท่านอื่นรู้ เพื่อจะได้ช่วยวิจารณ์ และตักเตือน

ยอมรับว่าบล็อกที่สร้างขึ้นนั้นเพื่อทำธุรกิจ แต่ต้องการจะชี้แจง และเผยแพร่ข้อมูลซึ่งมุสลิมจำนวนไม่น้อยยังไม่รู้ และเนื่องจากมันมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความรู้ศาสนา ผมจึงมาโพสต์ไว้เผื่อให้มีใครที่มีความรู้เข้าไปอ่านและวิจารณ์

ก็อัลหัมดุลลาฮฺ สำหรับการแสดงความคิดเห็นของพี่น้องบางท่าน

หากกระทู้นี้มันส่อไปในทางโฆษณา ดังท่าน Hidayah Seeker ว่าไว้ ก็ลบกระทู้นี้ออกไปเลยก็ได้ครับ และขอมาอัฟเป็นอย่างยิ่งที่ผมมาโพสต์ไว้ผิดที่


วัสสลาม

7
 :salam:

ยังหาไม่เจอเลยว่าเว็บนั้นบอกว่าฮะล้าลหรือฮะรอม

ผมนำเสนอเวปไซต์ข้างต้น เพื่อให้ี่พี่น้องได้เห็นอีกมุมมองหนึ่งของธุรกิจเครือข่าย ไม่ได้มีเจตนาจะมาชวนว่า "มาเถอะพวกเรา ทำธุรกิจเครือข่ายกัน"

เพราะธุรกิจทุกชนิดอยู่ในหมวดมุอามาลาต ซึ่งรากฐานเดิมคือฮาลาล นอกจากมีสิ่งฮารอมปรากฏอยู่ นักวิชาการส่วนใหญ่จึงมักจะตอบแบบเผื่ออีกด้านหนึ่งเสมอ เช่น ฮาลาล นอกจากมีรายละเอียดที่ฮารอม (ถ้าผมจำไม่ผิด อ.อารีฟีน เคยตอบปัญนี้ ซึ่่งก็ตอบคล้่ายๆ กัน)

รูปแบบการทำธุรกิจเครือข่ายแบบเก่าๆ จากอดีตถึงปัจจุบัน ได้สร้างภาพเสียหายแก่ธุรกิจเครือข่ายไว้มาก จนปัจจุบันนี้ คนแทบจะแยกไม่ออกแล้วว่า
อะไรคือ ธุรกิจเครือข่าย (ขายตรง) และอะไรคือแชร์ลูกโซ่ปิระมิด

เมื่อนึกถึงธุรกิจเครือข่ายคนส่วนใหญ่จึงมองว่าเป็นธุรกิจที่หลอกลวง เป็นธุรกิจที่กดขี่ (โดยเฉพาะคนที่เป็นดาวไลน์ชั้นล่าง)



มีการ์ตูนมาฝากนิดหน่อย http://ksama.exteen.com/20090715/entry


ขอบคุณสำหรับการ์ตูนครับ แต่เท่าที่ผมทราบ แผนธุรกิจของธุรกิจเครือข่ายขายตรงแบบหลายชั้น (MLM) บางแบบ ดาวไลน์สามารถแซงอัพไลน์ได้ครับ
ดาวไลน์สามารถมีตำแหน่งสูงกว่า และมีรายได้มากกว่า

แต่แน่นอน การที่ดาวไลน์โตขึ้นมันก็ย่อมช่วยดันอัพไลน์ให้สูงขึ้นด้วย (โดยที่อัพไลน์ยังมีตำแหน่งต่ำกว่าดาวไลน์) ซึ่งก็เป็นผลประโยชน์ที่เขาจะได้รับ อันเนื่องมาจากการเป็นคนชักชวนเข้ามาทำ อบรม, สอนงาน บริหาร และให้คำปรึกษา จนดาวไลน์สามารถทำธุรกิจได้ด้วยตนเอง

ยังงัยก็ฝากให้ลองติดตามอ่านบทความในเวปนี้ไปเรื่อยๆ ยังมีอีกหลายบทความที่ยังไม่ได้ลง อย่างน้อยพี่น้องจะำได้รู้กลโกงบางอย่างของธุรกิจเครือข่าย เป็นข้อมูลที่จะได้ระวังตัวเอง และบอกต่อคนอื่นด้วย

8
อัลหัมดุลิลลาฮฺ

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ beechern

วะอะลัยกุมุสลาม วะรอฮ์มะตุลลอฮ์ วะบะรอกาตุฮ์

ผมเคยสรุปประเด็นเรื่องนี้กับพี่น้องผู้ใจดีท่านนึง ที่เคยทำธุรกิจแบบนี้มาก่อน แล้วเข้าหาผู้รู้หลายๆครั้งหลายท่านด้วยความหวังจะได้รับคำตอบ ท่านสรุปให้ผมฟังดังนี้ครับ

1. สินค้าในเครือข่าย จะมีบางอย่างที่เป็น haram เราไม่ได้ขาย แต่ถ้าคนอื่นขาย เราก็จะได้ปันผล ผลลัพธ์คือ เป็นชุบฮาต

2. เป็นชุบฮาต ทำแล้วถ้าฮะรอม จะลงก็จะลงที่เรา แต่หากเราชวนคนอื่นทำ เราก็ชวนคนอื่นทำชุบฮาตด้วย
(เช่น ทำงานในโลตัส โลตัสขายเหล้า เงินที่ได้เป็นเงินเดือนเรา แต่เป็นของเราคนเดียว ส่วนเครือข่ายนั้นเราชวนคนอื่นไปทำด้วย)

3. การงานที่ชุบฮาต ทำแล้วมีสิ่งมารองรับ เช่น การกระทำที่ทำเพื่อศาสนา แต่อาจขัดหลักการศาสนาไปบ้าง แต่นั่นก็ทำเพื่อศาสนา เป็นสิ่งที่ยังสนับสนุนให้ทำต่อไป ส่วนการค้าขายนั้นไม่มีข้อยกเว้น เพราะไม่ใช่การทำเพื่อศาสนา
(เช่น ทำงานราชการที่เงินอาจมาจากภาษีเหล้าหรือดอกเบี้ย แต่เพื่อให้สังคมอิสลามเติบโต ก็ส่งเสริมให้ทำ)

4. ฮะดีษระบุในระหว่างสองสิ่ง สิ่งใดที่ทำแล้วสบายใจ กับไม่สบายใจ ให้เลือกทำในสิ่งที่สบายใจ แล้วละทิ้งในสิ่งที่ไม่สบายใจ

สุดท้าย สิ่งที่ทำให้ติดสินใจเลิกทำก็คือ ข้อที่ 4

วัลลอฮุอะอฺลัม

สินค้าชุบฮาตที่กล่าวถึงนี้ หมายถึง บริษัทธุรกิจที่มีทั้งผลิตภัณฑ์ฮาลาลและฮารอมปนกันใช่มั้ย? แต่ปัจจุบันนี้ ก็มีหลายบริษัทที่มีผลิตภัณฑ์ทั้งหมดฮาลาล (หมายถึงได้รับเครื่องหมายนะครับ) และบางบริษัทก็เป็นบริษัทที่ก่อตั้งโดยมุสลิม, ผลิตภัณฑ์ของมุสลิม

ประเด็นเรื่องสินค้าชุบฮาต จึงไม่ได้ครอบคลุมถึงสิ่งที่ทำให้ธุรกิจเครือข่ายทั้งหมดต้องชุบฮาต และฮารอมตามไปด้วย มันยังมีองค์ประกอบอีกหลายอย่างที่นอกเหนือจากนี้ ซึ่งน่าจะขยายความซักหน่อย

ส่วนของผมเพิ่มไปอีกข้อครับคือ เป็นการทำนาบนหลังคน อีกแบบหนึ่ง .. วัลลอฮุอะอฺ์ลัม

การทำนาบนหลังคนนั้น สามารถเกิดได้กับทุกธุรกิจที่วางเงื่อนไขให้ผู้ที่ทำงานใต้ล่างต้องแบกรับภาระมากหรือเงื่อนไขที่กดขี่ ในขณะที่คนด้านบนได้ประโยชน์แม้จะไม่ได้ทำอะไรเลย

ธุรกิจเครือข่ายโดยส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้ มีการโกหกและหลอกลวงมาก นักธุรกิจหน้าใหม่ส่วนใหญ่จะถูกทำให้เชื่อว่า การที่หาคนเข้ามาร่วมธุรกิจได้มากๆ นั้น จะทำให้ตัวเองรวย แต่ความเป็นจริงแล้ว คนที่รวยคือบริษัทและอัพไลน์ระดับสูง

ปัญหาสำคัญเกิดจากการทำธุรกิจให้มีความคล้ายกับแชร์ลูกโซ่ปิระมิด ซึ่งสุดท้ายแล้วคนที่อยู่ใต้ฐานล่างแทบจะไม่ได้ประโยชน์อะไร และส่วนใหญ่ต้องออกจากธุรกิจภายใน 3-6 เดือนแรกเท่านั้น (เพราะมีแต่รายจ่าย แต่รายได้น้อย)

การทำธุรกิจเครือข่ายสำหรับมุสลิมในปัจจุบันนี้ จึงเสี่ยงสำหรับคนที่ขาดความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจ ทั้งความรู้ทางศาสนาและความรู้ทางโลก

การขาดความรู้ทางศาสนาจะทำให้ไม่รู้ว่าสิ่งใดฮาลาลและสิ่งใดฮารอม ส่วนการขาดความรู้ทางโลกทำให้การทำธุรกิจล้มเหลว ขาดทุน และอาจมีหนี้เป็นของแถมด้วย

วัลลอฮุอะอฺลัม

9
 :salam:

ธุรกิจเครือข่าย หรือ MLM (Multi Level Marketing) เป็นธุรกิจที่มีการถกเถียงในหมู่นักวิชาการอิสลามมานานแล้ว ว่าเป็นธุรกิจที่อนุญาตให้มุสลิมทำได้หรือไม่



10
 :salam:

นี่เป็นการตอบคำถามของอ.อาลี เกี่ยวกับการอิสติวาเหนืออะรัชของอัลลอฮฺ ลองอ่านดูนะครับ แล้วพี่น้องมีความคิดเห็นอย่างไร

การอยู่เหนืออะรัชกับการบริสุทธิ์เหนือทิศและสถานที่ของอัลลอฮฺ
16.12.2010 14:32     
อัสสะลามุอะลัยกุม

จากที่อ.อาลี บรรยายหนังสืออะกีดะฮฺอัฏฏอฮาวียฺ เกี่ยวกับการอยู่เหนืออะรัชของอัลลอฮฺนั้น อ.อาลีได้อธิบายในเชิงว่า อัลลอฮฺทรงอยู่เหนืออะรัช และจำเป็นที่มุสลิมจะต้องเชื่อว่าอัลลอฮฺนั้น อยู่เหนือฟากฟ้า (ฟิสสะมาอฺ)

จากข้อความในหนังสืออะกีดะฮฺอัฏฏอฮาวียะฮฺอีกเช่นกันที่กล่าวว่า

"และพระองค์ทรงสูงส่งจากการจำกัดขอบเขต จุดหมาย องค์ประกอบ อวัยวะ และชิ้นส่วน ทิศทางทั้งหกไม่เกี่ยวกับพระองค์ ดังเช่นสิ่งอุตริทั้งหลาย" (คัดลอกจากหลักการศรัทธาตามแนวอะฮฺลุซซุนนะอฺวัลญะมาอะฮฺ (หนังสืออธิบายอะกีดะฮฺอัฏฏอฮาวียะฮฺ) โดยอัล-อิศลาหฺสมาคม หน้า 71)

ตกลงว่าการเชื่อว่าอัลลอฮฺทรงอยู่เหนืออะรัช กับการที่อัลลอฮฺทรงบริสุทธิ์จากทิศและสถานที่นั้น มันขัดแย้งกันหรือไม่?

ญะซากัลลอฮุค็อยร็อน

ตอบ : การอยู่เหนืออะรัชกับการบริสุทธิ์เหนือทิศและสถานที่ของอัลลอฮฺ
01.01.2011 15:23     
وعليكم السلام ورحمة الله و بركاته

คำตอบสำหรับสิ่งที่ถามมาก็ปรากฏอยู่ในหัวข้อคำถามนั่นแหล่ะครับ คือ พระองค์อัลลอฮฺทรงสูงส่งเหนือทุกสรรพสิ่ง พระองค์ทรงอยู่เหนืออะรัชซึ่งเป็นสิ่งถูกสร้างที่สูงที่สุด ในขณะเดียวกันพระองค์ก็ทรงบริสุทธิ์จากทิศทั้งปวงตลอดจนสถานที่ซึ่งไม่อาจห้อมล้อมพระองค์ได้ เพราะพระองค์ยิ่งใหญ่ไร้ขอบเขตจำกัดนั้นเอง!'

والله أعلم بالصواب

11
 :salam:

อยากให้อาจารย์ al-azhary ลองฟังการบรรยายเกี่ยวอัสมาอุลฮุสนาของเชครีฎอหน่อยครับ ผมเคยลองโหลดมาฟังแล้ว เชครีฎอกล่าวว่าหะดีษที่มีระบุพระนามทั้ง 99 พระนามของอัลลอฮฺนั้น นักวิชาการหะดีษกล่าวว่าไม่ซอเหี๊ยะหฺ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร? โดยเชครีฎอกล่าวว่า เนื้อหาหะดีษในส่วนท้ายนั้น เป็นพระนามของอัลลอฮฺที่ผู้รายงานหะดีษเป็นผู้รวบรวมเอง ไม่ได้เป็นส่วนของคำพูดของท่านนบี และมีประมาณยี่สิบกว่าพระนามที่ไม่น่าจะเป็นอัสมาอุลฮุสนาของอัลลอฮฺ จริงอยากให้อาจารย์ al-azhary ช่วยชี้แจงหน่อย

และในการบรรยายเกี่ยวกับพระนามอัลกุดดูสนั้น มีการกล่าวพาดพิงถึงแนวคิดอื่น (ซึ่งก็น่าจะเป็นแนวคิดของอะชาอิเราะหฺ แม้ว่าจะไม่กล่าวชื่อโดยตรง) โดยเฉพาะการกล่าวหาเรื่องอัลลอฮฺอยู่ในทุกสถานที่ การไม่มีทิศและเวลาของอัลลอฮฺ จึงอยากให้อาจารย์ช่วยตรวจสอบและชี้แจงหน่อย

ผมไม่ทราบว่าจะเป็นการรบกวนเวลาที่มีน้อยของอาจารย์ริเปล่า แต่ผมคิดว่าน่าจะมีการชี้แจงข้อมูลอีกด้านหนึ่งบ้าง ซึ่งผมเห็นว่าเว็ปไซต์ที่ชี้แจงแนวคิดแบบอะชาอิเราะห์นั้นมีน้อย จึงต้องขอรบกวนผู้รู้จากในเว็ปไซต์นี้

ญะซากัลลอฮุค็อยร็อน
 

12
 salam
อาจเป็นกระทู้เก่าเก็บแล้วนะครับ แต่อยากแลกเปลี่ยนข้อมูล

ผมก็เข้าใจครับว่าบุหรี่นั้น มีข้อตัดสินที่แตกต่างกันของอุละมาอฺ แต่พบว่าปัจจุบัน ทัศนะขององค์กลางอิสลามหลายๆ ประเทศจะออกฟัตวาไปในทางที่บุหรี่นั้น หะรอม แม้แต่ สำนักจุฬาฯของไทย ก็ออกฟัตวาว่าบุหรี่นั้นหะรอมเช่นกัน ถ้าจำไม่ผิด รู้สึกว่าจะออกฟัตวาตั้งแต่ปี 2547 แล้ว ส่วนหลักฐานในการตัดสินว่าหะรอม ส่วนใหญ่ใช้หลักฐานตามที่คุณ julee นำเสนอมานั้นแหล่ะครับ โดยส่วนตัวของผมเชื่อว่าที่ทัศนะของสำนักจุฬาฯ และประเทศอื่นๆ ตัดสินออกมาว่าบุหรี่หะรอม ก็เนื่องจากข้อมูลและหลักฐานงานวิจัยทางการแพทย์ ที่ยืนยันถึงส่วนประกอบที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์ที่พบในบุหรี่ รวมทั้งงานวิจัยที่ยืนยันว่าบุหรี่เป็นสาเหตุหลักและสาเหตุทางอ้อมของโรคร้ายแรงบางชนิด

หลายๆ ท่าน (ส่วนใหญ่มักเป็นคนที่ยังสูบอยู่) มักอ้างถึงคำตัดสินที่บอกว่าบุหรี่นั้นมักโระฮฺ โดยเอาไปกิยาสกับการกินหัวหอม กระเทียม สะตอ ฯลฯ ถ้าเราเอาข้อมูลปัจจุบันมาพูดกันจริง เราก็จะพบว่าการเอาบุหรี่ไปกิยาสกับการกินอาหารที่กล่าวมาข้างต้นนั้นไม่มีน้ำหนักเพียงพอ เพราะอาหารที่กล่าวมา (หัวหอม กระเทียม สะตอ ฯลฯ) นั้น มันเป็นไม่มีโทษอะไรต่อร่างกายของเรา ในทางตรงกันข้ามยังมีประโยชน์มากมายด้วย แต่มันมีข้อเสียคือกลิ่นที่รุนแรงสร้างความรำคาญต่อคนรอบข้าง และเป็นอุปสรรคเวลาจะทำอิบาดะฮฺบางอย่าง เมื่อนำมาเทียบกับบุหรี่ จะพบว่ามันไม่ได้มีข้อเสียแค่กลิ่นเหม็นน่ารำคาญเท่านั้น แต่มันยังเป็นพิษต่อร่างกายของเรา แถมยังเป็นอันตรายต่อคนรอบข้างอีกต่างหาก (เมื่อก่อนอาจจะกิยาสได้เพราะอุละมาอฺ ท่านยังไม่พบหลักฐานที่แน่ชัดเกี่ยวกับโทษภัยดังกล่าว แต่สำหรับอุละมาอฺปัจจุบัน คงต้องนำข้อมูลเกี่ยวกับโทษของบุหรี่มาพิจารณาด้วย)

ส่วนการที่บอกว่าร่างกายของแต่ละคนมีความต้านทานไม่เท่ากันนั้น ถามว่า เราแต่ละคนรู้หรือไม่ว่าร่างกายเราต้านทานได้แค่ไหน สูบแค่ไหนถึงไม่เป็นอันตราย สูบแค่ไหนถึงจะไม่เป็นโรค หรือถึงแก่ความตาย ผมว่าคงไม่มีใครสามารถบอกได้อย่างมั่นใจหรอกครับ การเอาประสบการณ์เพียงแค่ปีสองปี มาตัดสินว่าบุหรี่ไม่เป็นอันตรายต่อฉัน มันก็ไม่ได้หมายความว่า ปีหน้าร่างกายของคุณจะยังต้านทานสารพิษที่คุณนำเข้าสู่ร่างกายของคุณได้ แล้วเรารู้หรือไม่ว่าพี่น้องของเราที่กลับไปสู่ความเมตตาของอัลลอฮฺแล้ว อันเนื่องมากจากโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ นั้น อาจมีบุหรี่เป็นตัวเร่งด้วยก็ได้ เพราะพบว่าบุหรี่มีผลทางอ้อมต่อโรคบางชนิดด้วย

ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยต่อร่างกายของเรา ครอบครัวและคนรอบข้างเรา ซึ่งเป็นอะมานะฮฺที่อัลลอฮฺมอบหมายให้เราดูแลอย่างดี การเลิกสูบบุหรี่ก็คือตัวเลือกที่มีน้ำหนักที่สุด

วัลลอฮูอะอฺลัม

(เป็นความเข้าใจส่วนตัว ที่ตกผลึกมาจากข้อมูลหลายส่วน ผิดพลาดอย่างไร ขอให้ผู้มีความรู้ตักเตือนด้วยครับ..วัสตัฆฟิรุลลอฮฺ)


13
ความจริงข่าวนี้เป็นข่าวเก่าตั้งแต่ปี 2549 มาแล้ว ตอนนั้นผมก็ได้ยินข่าวนี้แว่วๆ เหมือนกัน แต่ไม่ได้ใส่ใจอะไรมาก ที่ขุดข่าวนี้ขึ้นมา เพราะตอนนี้ขายชาชักเป็นอาชีพเสริมอยู่ พออ่านเจอข่าวนี้เข้า ก็เลยไม่สบายใจ เพราะผงชาที่ใช้ชงขายตอนนี้ ก็เป็นยี่ห้อที่ติดโผอยู่ในชาที่ผสมสีไม่ได้มาตรฐานตามข่าวดังกล่าว ก็เลยอยากสอบถามข้อมูลจากพี่น้องในเวปช่วยพูดคุยแลกเปลี่ยนกันหน่อยครับ เพราะเท่าที่ทราบ ขณะนี้ชา 5 ยี่ห้อดังกล่าวก็ยังมีขายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะในสามจังหวัดชายแดนใต้ จึงไม่รู้ว่าเขามีการประชาสัมพันธ์และตักเตือนกันจริงจังแค่ไหน และอยากทราบว่าปกติแล้วประเทศมาเลเซียเขามีองค์กรกลางไหนที่ทำหน้าที่ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ยกตัวอย่างของไทย เราพอจะพิจารณาได้จากตรา อ.ย. ถ้ามีตรา อ.ย. ก็สบายใจได้ระดับหนึ่ง แล้วถ้าเป็นสินค้าของประเทศมาเลเซีย เราจะดูที่สัญลักษณ์ใดครับ ว่าผ่านการตรวจสอบจากองค์กรของรัฐบาลแล้วว่าได้มาตรฐาน ปลอดภัยต่อประชาชนผู้บริโภค

ชาที่ผมใช้อยู่เวลาที่บ้านผมส่งมาให้เขาจะแบ่งใส่ถุงเป็นกิโลฯ มาแล้ว ก็เลยไม่สามารถดูฉลากสินค้าได้ แต่พอจะรู้ว่าเป็นยี่ห้อใดเท่านั้น

 

14
 salam
อยากให้พี่น้องลองอ่านข่าวนี้ดูครับ

เตือนภัยประชาชน “ระวังชาผงผสมสี”

        กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบชาผงนำเข้าผสมสีผิดมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนตรวจดูมาตรฐาน อย. ที่ฉลาก
ก่อนซื้อ เพื่อป้องกันอันตรายจากสีที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
จากนโยบายการ เปิดตลาดการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA) ของประเทศไทย ทำให้มีสินค้าจากประเทศต่างๆ เข้ามาจำหน่าย
ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจมีสินค้าบางอย่างที่ด้อยคุณภาพหรือไม่ได้มาตรฐานก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะสินค้า
ประเภทอาหารซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคโดยตรง ดังนั้น เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยด้านสุขภาพให้แก่ผู้บริโภค
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพ ห้องปฏิบัติการเครือข่ายอาหารนำเข้าทั้งในส่วนกลาง ได้แก่
สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร และใน ส่วนภูมิภาค ได้แก่ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 14 แห่งทั่วประเทศ เพื่อรองรับระบบ
การควบคุมและมาตรการตรวจสอบอาหารนำเข้า รวมทั้งการศึกษาวิจัยคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยอาหารนำเข้า เพื่อนำข้อมูลและ
ผลการวิเคราะห์มาใช้ในการกำหนดหรือปรับปรุงมาตรฐานอาหาร และนำไปใช้ดำเนินการทางกฎหมายกับประเทศผู้ผลิต เช่น การทำลาย
สินค้า การส่งคืนสินค้ายังประเทศต้นทาง เป็นต้น

ในการนี้ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นหนึ่งในห้องปฏิบัติการเครือข่ายอาหารนำเข้าในส่วนภูมิภาค ได้ดำเนินการ
ประสานงานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในเขตพื้นที่ภาคใต้ เก็บตัวอย่าง ชาผงที่วางจำหน่ายตามท้องตลาด จำนวน 18 ตัวอย่าง
12 ยี่ห้อ เพื่อตรวจคุณภาพและความปลอดภัย ผลการตรวจวิเคราะห์พบว่า ตัวอย่างชาผง 10 ตัวอย่าง จำนวน 5 ยี่ห้อ ซึ่งผลิตในประเทศ
มาเลเซีย มีการใส่สี ทั้งนี้ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 196 (พ.ศ.2543) ว่าด้วยเรื่อง ชา กำหนดให้ชาเป็นอาหารที่กำหนด
คุณภาพหรือ มาตรฐาน และห้ามไม่ให้ใส่สีในชาและชาผงสำเร็จรูป ยกเว้นชาปรุงสำเร็จ (ชนิดเหลว) ซึ่งจะเข้าตามข้อกำหนด เรื่อง การใช้
สีผสมอาหารในอาหารประเภทเครื่องดื่ม ไอศกรีม ลูกกวาด และขนมหวาน ซึ่งอนุญาตให้ใช้สีผสมอาหารได้ตามปริมาณที่กำหนดไว้ใน
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 (พ.ศ. 2547) สำหรับตัวอย่างชาผงที่มีการใส่สีนั้น พบว่า ทุกตัวอย่างมีการใช้สีสังเคราะห์ ทั้งสีที่อนุญาตให้ใส่ในอาหารและสีที่ไม่อนุญาตให้ใส่ในอาหารมากกว่า 1 ชนิด และบางชนิดยังมีการใช้ในปริมาณมากโดยมีชาผงยี่ห้อต่างๆ ดังนี้
1.ชาผงยี่ห้อ Special blender Tea dust 999 พบสี Sunset yellow FCF, Azorubin, Tartrazine และ Orange II
2.ชาผงยี่ห้อ Finest ceylon Tea dust 666 พบสี Sunset yellow FCF, Azorubin, Tartrazine และ Orange II
3.ชาผงยี่ห้อ Finest ceylon Tea dust 999 พบสี Sunset yellow FCF, Tartrazine และ Orange II
4.ชาผงยี่ห้อ Racehorse พบสี Sunset yellow FCF, Azorubin และ Tartrazine
5.ชาผงตราขวาน พบสี Azorubin และ Tartrazine

ซึ่งตัวอย่างทั้งหมดเป็นชาผงที่ผลิตในประเทศมาเลเซีย ทั้งนี้ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สุราษฎร์ธานี ได้แจ้งผลการตรวจวิเคราะห์ให้
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในเขตพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งเป็นเครือข่ายของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในการให้ความคุ้มครองผู้บริโภค ทราบเพื่อดำเนินการต่อไปแล้ว

        ทั้งนี้ อันตรายจากสีผสมอาหารต่อผู้ที่มีสุขภาพปกตินั้น อาจเกิดอันตรายได้ 2 ทาง คือ
1.เกิดจากตัวสีเอง หากบริโภคในปริมาณที่มากหรือบ่อยครั้งสีจะไปเคลือบเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้น้ำย่อยอาหารออกมา
ไม่สะดวก ขัดขวางการดูดซึมอาหาร ทำให้ท้องเดิน น้ำหนักลด และอ่อนเพลีย
2. เกิดจากสารอื่นที่ปนเปื้อนจากกระบวนการผลิตสี ได้แก่ โลหะหนัก เช่น ตะกั่ว แคดเมียม สารหนู ปรอท พลวง โครเมียม เป็นต้น
สารเหล่านี้แม้จะได้รับในปริมาณเล็กน้อย แต่จะค่อยๆ สะสมในร่างกาย จนก่อให้เกิดโรคโลหิตจาง เนื้องอก และมะเร็งได้ นอกจากนี้
สีสังเคราะห์แต่ละชนิดยังมีอันตรายที่แตกต่างกันไป และมีความไวต่อผู้ที่มีโรคประจำตัว บางอย่างเป็นพิเศษด้วย เช่น สี Tartrazine (E102) : FD&C Yellow No.5 ให้สีเหลือง จะทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น ผื่นคัน บวมแดง กระตุ้นให้เกิดโรคหอบหืด และโรคลมชักใน
เด็กได้ ทั้งยังทำให้เกิดเนื้องอกที่ไทรอยด์ ทำลายโครโมโซม และทำให้ผู้ป่วยแพ้แอสไพรินได้ง่าย ถูกยกเลิกการใช้ในประเทศนอร์เวย์และ
ออสเตรีย สี Sunset yellow FCF (E110) : Orange yellow S FD&C Yellow No.6 ให้สีส้ม มีผลข้างเคียงทำให้เป็นโรคลมพิษ
โพรงจมูกอักเสบ เกิดอาการแพ้ เนื้องอกที่ไต และถูกยกเลิกการใช้ในประเทศนอร์เวย์ สี Azorubin (E122) : Carmoisine เป็นอนุพันธ์
ของ Coal tar ให้สีแดง มีผลกับผู้ที่เป็นหืดหอบและทำให้แพ้แอสไพริน ถูกยกเลิกการ ใช้ในประเทศนอร์เวย์ สวีเดน ออสเตรีย และสหรัฐ
อเมริกา สี Orange II ให้สีส้ม เป็นสีห้ามใส่ในอาหาร ผลการทดลองในต่างประเทศรายงานว่า ทำให้เกิดพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังใน
สัตว์ทดลอง ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นสารก่อมะเร็ง และหากได้รับในปริมาณมากจะทำให้เสียชีวิต

        จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า ชาผง นำเข้าที่มีการใส่สีสังเคราะห์ อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค
อีกทั้งยังผิดมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขอีกด้วย ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย ผู้บริโภคควรเลือกซื้อชาผงที่ได้รับอนุญาตจาก
คณะกรรมการอาหารและยาแล้ว โดยฉลากจะต้องแสดงข้อความเป็นภาษาไทย มีเครื่องหมาย อย. ระบุเลขสารบบอาหาร ชื่อและที่ตั้งของ
ผู้ผลิต วันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุ ส่วนประกอบสำคัญ ฯลฯ เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ต้องมีระบุไว้ ทั้งนี้ แม้ว่าผู้บริโภคจะไม่สามารถสังเกต
ความแตกต่างระหว่างชาผงที่ผสมสีกับชาผงที่ไม่ผสมสีด้วย ตาเปล่าได้ แต่เมื่อนำไปชงในน้ำแล้วพบว่า น้ำชามีสีสันที่ฉูดฉาดกว่าปกติหรือ
ผิดสังเกต ก็เป็นไปได้ว่าชาผงที่นำมาชงนั้นมีการใส่สีสังเคราะห์ ผู้บริโภคจึงควรระวังตนเอง นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงผู้ประกอบการที่ขาย
เครื่องดื่มชาชงก็ควรเลือกซื้อชาผงที่ได้รับการรับรองจาก อย. แล้ว เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
ข้อมูลจาก...ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ สุราษฎร์ธานี

http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/secretary/Homepage/pr/mass-news/mass-news_2549/november/17%20nov%2049.pdf
หรือ
http://www.ucancookthai.com/language-thai/th-recipes/th-desserts/content-th-thai-tea-ice-cream.htm



15
 salam

ตัวอย่างหะดีษเมาฎั๊วะในหนังสือคุณค่าอะมาล
(ผมไม่มีตัวบทภาษาอาหรับให้นะครับ ฝากพี่น้องที่มีความสามารถช่วยสืบค้นมาลงให้หน่อยนะครับ จะได้สมบูรณ์)

หะดีษที่ 38/หน้า 96
ตัวบทหะดีษ

.....
ความหมาย
“ท่านหญิงรูมาน (ภรรยาของอบูบักร) มารดาของท่านอาอีชะฮฺ เล่าว่า ครั้งหนึ่งท่านอบูบักรได้เห็นฉันเอนตัวไปมา (โดยไม่รู้สึกตัว) ในขณะที่กำลังละหมาด ท่านอบูบักร์ตวาดฉันอย่างแรง จนเกือบทำให้ฉันเลิกจากการละหมาดไปเลย (เพราะตกใจ) ต่อมาท่านก็กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรอซูลุลลอฮ์ (ศ็อลลอลลอฮุ อลัยฮิ วสัลลัม) ได้กล่าวว่า “เมื่อคนใดในพวกท่านยืนละหมาด เขาอย่าได้ยืนเอนเอียงไปมาเหมือนกับการเอนเอียงของพวกยะฮูดี แน่แท้การทำให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายสงบนิ้งในละหมาดนั้นเป็นส่วนหนึ่งของความสมบูรณ์ในละหมาด””
ตัครีจหะดีษ หาไม่พบ
ระดับของหะดีษ หะดีษเมาฎั๊วะ (อัลอัลบานีย์ในสิลสิละฮฺอัลอะหาดีษอัฎเฎาะอีฟะฮิวัลเมาฎูอะฮฺ : 2691)

อับดุลเลาะ  หนุ่มสุข และอับดุลเลาะ  การีนา 2547 ตัครีจตัวบทหะดีษในหนังสือคุณค่าของอะมาลของเชคคุลหะดีษ เมาลานา มูฮัมมัด ซะกะรียา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี หน้า 90-91

หะดีษที่ 86/หน้า 205
ตัวบทหะดีษ
....
ความหมาย
“ท่านบารีดะฮ์ (รอฎิยัลลอฮุ อันฮู) รายงานว่า ท่านรอซูล (ศ็อลลอลลอฮุ อลัยฮิ วสัลลัม) กล่าวว่า “ผู้ใดที่อ่านอัลกุรอาน เพื่อหากินในมนุษย์นั้น ในวันกิยามะฮ์ เขาจะเกิดในสภาพที่หน้าของเขาใหญ่โตรีแต่กระดูกไม่มีเนื้อติดอยู่เลย””
ตัครีจหะดีษ อัลบัยฮะกีย์ ในชุอฺบุลอีมาน (2625), อิบนุอาบีชัยบะฮฺ (1), (อิบนุเญาซีย์ 1/117-118)
ระดับของหะดีษ หะดีษเมาฎั๊วะ (อัลบัยฮะกีย์)
อับดุลเลาะ  หนุ่มสุข และอับดุลเลาะ  การีนา 2547 ตัครีจตัวบทหะดีษในหนังสือคุณค่าของอะมาลของเชคคุลหะดีษ เมาลานา มูฮัมมัด ซะกะรียา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี หน้า 115-116

หะดีษที่ 150/หน้า 480
ตัวบทหะดีษ
.....
ความหมาย
“ท่านเซด บิน อัรกอม (รอฎิยัลลอฮุ อันฮู) ได้รายงานว่า ท่านศาสดา (ศ็อลลอลลอฮุ อลัยฮิ วสัลลัม) ได้กล่าวว่า บุคคลที่กล่าว ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮ์ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ จะได้เข้าสวรรค์ มีบางคนสอบถามขึ้นว่า อะไรคือเครื่องหมายความบริสุทธิ์ใจ ท่านอธิบายว่า มันจะป้องกันผู้หนึ่งจากการกระทำในสิ่งที่ต้องห้าม””
ตัครีจหะดีษ อัฏฏอบรอนีย์ ในอัลเอาซัฎ (1257) และอัลกะบีร (5074)
ระดับของหะดีษ หะดีษเมาฏั๊วะ (อัลฮัยษะมีย์ในมัจมาอฺ อัซซะวาอิด : 1/18)
อับดุลเลาะ  หนุ่มสุข และอับดุลเลาะ  การีนา 2547 ตัครีจตัวบทหะดีษในหนังสือคุณค่าของอะมาลของเชคคุลหะดีษ เมาลานา มูฮัมมัด ซะกะรียา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี หน้า 157

หะดีษที่ 174/หน้า 509
ตัวบทหะดีษ

....
ความหมาย
“ท่านอุมัร (รอฎิยัลลอฮุ อันฮู) รายงานว่า ท่านศาสดา (ศ็อลลอลลอฮุ อลัยฮิ วสัลลัม) กล่าวว่า “เมื่อท่านศาสดาอาดัม (อลัยฮิสลาม) ได้ประกอบความผิดบาปนั้น (ด้วยเหตุนี้ท่านจึงถูกส่งลงมาอยู่ในโลกนี้ ท่านสะอื้นให้และสำนึกผิดอย่างมากมายเหลือเกินและวิงวอนขออภัยโทษต่อพระองค์ ในสภาพที่เช่นนี้ครั้งหนึ่ง) ท่านได้มองขึ้นไปยังฟากฟ้าและกล่าวว่า “โอ้อัลลอฮฺ ข้าพระองค์ขออภัยโทษต่อพระองค์ โดยผ่านทางมูฮำมัด (ศ็อลลอลลอฮุ อลัยฮิ วสัลลัม)  จากการนี้ท่านได้ถูกถามโดยผ่านทางวฮีย์ “ใครคือมูฮำมัด (ที่เจ้าต้องการให้มีการอภัยโทษโดยผ่านเขา) ท่านศาสดาอาดัมตอบว่า “โอ้พระผู้อภิบาล เมื่อพระองค์ได้ทรงสร้างข้าพระองค์ ข้าพระองค์ได้มองเห็น ณ เบื้องบัลลังก์ของพระองค์ (ชั้นฟ้าสูงสุด) มีข้อความจารึกไว้ว่า  “ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ มุฮัมมัดุรรอซูลุลลอฮ์” และ ณ บัดนั้นเองข้าพระองค์จึงคิดว่ามูฮำมัด (ศ็อลลอลลอฮุ อลัยฮิ วสัลลัม)  ต้องเป็นผู้ที่มีเกียรติสูงสุด ที่ชื่อของเขานั้นถูกกล่าวถึงพร้อมกับพระนามของพระองค์ วฮีย์ได้ถูกส่งลงมาอีกครั้งหนึ่ง (โดยการนี้ท่านศาสดาอาดัมจึงถูกแจ้งให้ทราบ) ว่า “เขานั้นเป็นศาสดาองค์สุดท้ายในมวลหมู่ศาสดาทั้งหลาย และจะเป็นผู้สืบสายมาจากเหล่ากอของเจ้าและถ้าหากเขามิได้ถูกสร้างขึ้นมาแล้วเจ้าก็จะมิได้ถูกสร้างขึ้นมาเช่นกัน””
ตัครีจหะดีษ อัฎฎอบรอนีย์ (6498), อัลฮากิม (4228), ด้วยสำนวนที่ต่างกัน
ระดับของหะดีษ หะดีษเมาฎั๊วะ (อํซซะฮะบีย์อ้างในอัลฮากิม)
อับดุลเลาะ  หนุ่มสุข และอับดุลเลาะ  การีนา 2547 ตัครีจตัวบทหะดีษในหนังสือคุณค่าของอะมาลของเชคคุลหะดีษ เมาลานา มูฮัมมัด ซะกะรียา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  หน้า 172

เอาลงให้ 4 หะดีษก่อนนะครับ อีกหะดีษนึงยังหาไม่เจอ (ตาลาย) ใครมีงานวิจัยเล่มนี้ ถ้าเจอช่วยลงให้หน่อยครับ

วัสสะลาม


หน้า: [1] 2 3 ... 5