แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - sookson

หน้า: [1]
1
ผมเข้าไปเจอมาเลยเอามาให้ดู ช่วยพิจารณาหน่อยครับ
ขอบคุณครับ
...
อัสสลามุอะลัยกุ้ม

การสัมผัสระหว่างชายหญิงไม่ทำให้เสียน้ำละหมาดครับ

إذا مس الرجل المرأة مباشرة ففيه خلاف بين أهل العلم ، هل ينتقض وضوؤه أم لا . والأرجح أنه لا ينقض الوضوء سواء كان مسه إياها بشهوة أو بدونها ، لأن النبي صلى الله عليه وسلم قبل بعض نسائه ولم يتوضأ ؛ ولأن هذا مما تعم به البلوى فلو كان ناقضاً لبينه النبي صلى الله عليه وسلم .
وأما قوله سبحانه في سورة النساء والمائدة : ( أو لامستم النساء ) فالمراد به الجماع في أصح قولي العلماء .


فتاوى اللجنة الدائمة 5/266

เมื่อผู้ชายสัมผัสผิวหนัง กับผู้หญิง ในประเด็นนี้ มีทัศนะที่ขัดแย้งกันระหว่างนักวิชาการ ว่า เสียน้ำละหมาดหรือไม่ และทัศนะที่มีน้ำหนักมากที่สุด คือ ไม่เสียน้ำละหมาด ไม่ว่าจะสัมผัสด้วยการมีอารมณ์ทางเพศหรือไม่ก็ตาม เพราะแท้จริง ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยจูบภรรยาของท่านบางคน โดยที่ท่านไม่ได้เอาน้ำละหมาดใหม่ และเพราะว่านี้คือ ส่วนหนึ่งจากข้อพิสูจน์โดยทั่วไป เพระหาก เสียน้ำละหมาด แน่นอนท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะต้องอธิบายมัน และสำหรับคำตรัสของอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ในซูเราะฮอันนิสาอฺ และซูเราะฮอัลมาอิดะฮ ที่ว่า (หรือ พวกเขาสัมผัสกับบรรดาผู้หญิง) ความหมายในที่นี้คือ การมีเพศสัมพันธ์ ในทัศนะที่ถูกต้องที่สุดของบรรดานักวิชาการ.
- ฟะตาวาคณะกรรมการถาวรฯ 5/266
............
อยากให้ดูเพิ่มเติม  http://www.az-sunnah.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=204

2
ก็แค่อยากรู้ความคิดเห็นของพวกบังเท่านั้น...เพราะมันเป็นปัญหาที่ไม่จบสิ้นสักทีเห็นพี่น้องมุสลิมแตกแยกกันแล้วปวดหัวทุกที  เมื่อไรจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันสักที
อยากฟังความคิดเห็นในเชิงวิชาการ...ไม่ได้มีเจตนาจะวิจารย์ใคร

3
มีความคิดเห็นอย่างไรกับข้อความต่อไปนี้ครับ....เพราะมันเป็นปัญหาที่ได้เกิดขึ้นเมื่อเร็วนี้ออกอีดอัฎฮาไม่ตรงกันไม่รู้ว่าไครผิดไครถูก...
...
(บทความเฉพาะกิจ)
?ออกอีดอีดิลอัฎฮา
ที่ไม่ต้องรอคำประกาศจากสำนักจุฬาราชมนตรี?
โดย อ. มุรีด  ทิมะเสน
ที่บ้าน, วันพฤหัสบดีที่ 28 ธันวาคม 2549
เนื่องด้วยปีนี้ (พ.ศ. 2549) เมืองไทยออกอีดอีดิลอัฎฮา 2 วัน นั่นคือวันเสาร์ที่ 30 ธ.ค. 49 และวันอาทิตย์ที่ 31 ธ.ค. 49 จึงสร้างความสับสนให้แก่พี่น้องมุสลิมในเมืองไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยพวกเขาตัดสินใจไม่ได้ว่าตนเองจะออกอีดอีดิลอัฎฮาวันไหนกันแน่? บางคนกล่าวว่า ฉันจะออกตามคำประกาศของประเทศซาอุดิอาระเบีย เพราะวันวุกุฟ ( وقوف )  หรือวันอะเราะฟะฮฺ ( عرفة  ) มีที่ประเทศซาอุดิอาระเบียเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ส่วนอีกใจหนึ่งก็ยังกังวลกับคำประกาศจากสำนักจุฬาราชมนตรีว่าด้วยความเชื่อเดิมที่ว่าต้องปฏิบัติตามผู้นำ สิ่งต่างๆ ข้างต้นเป็นความกังวลที่ทวีเพิ่มมากขึ้นในการออกอีดอีดิลอัฎฮาปีนี้ (2549) เป็นอย่างยิ่ง ผู้เขียน (มุรีด ทิมะเสน) ขอชี้แจงตัวบทหลักฐานที่เป็นข้อสรุปว่าเราจะได้ตัดสินใจว่าปีนี้ (2549) เราจะออกอีดอีดิลอัฎฮาวันไหนกันแน่?


     ประการแรก ท่านรสูลุลอฮฺสั่งใช้พวกเรา หมายถึงมุสลิมทั้งหมดออกอีดิลฟิฏริ ( عيدالفطر ) และอีดิลอัลอัฎฮา (عيدالأضحي ) โดยพร้อมเพรียงกัน

     ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า " صومكم يوم تصومون وفطركم يوم يفطرون وأضحاكم يوم تضحون " ความว่า "การถือศีลอดของพวกท่าน คือวันที่พวกท่านทั้งหลายถือศีลอด และวันอีดิลฟิฏริของพวกท่าน คือวันที่พวกท่านทั้งหลายออกอีดิลฟิฎริกัน และวันอีดิลอัฎฮา (หรือวันเชือด) ของพวกท่าน คือวันที่พวกท่านทั้งหลายออกอีดิลอัฎฮา (หรือเชือดสัตว์พลี) กัน"
     (บันทึกโดยอบูดาวูด หะดีษที่ 2324,บัยหะกีย์ หะดีษที่ 8300 และอัดดารุฎนีย์ หะดีษที่ 34)

     อีกหลักฐานหนึ่ง ท่านหญิงอาอิชะฮฺเล่าว่า " الفطر يوم يفطر الناس والأضحي يوم يضحي الناس " ความว่า "วันอีดิลฟิฏริ คือวันที่ผู้คนทั้งหลายออกอีดิลฟิฏริกัน และวันอีดิลอัฎฮาคือวันที่ผู้คนทั้งหลายออกอีดิลอัฎฮากัน"
     (บันทึกโดยอัดดารุฏนีย์ หะดีษที่ 31 และท่านอับดุรฺเราะซาก หะดีษที่ 7304)

     หลักฐานทั้งสองข้างต้นบ่งชี้ให้เห็นอย่างชัดเจน กล่าวคือท่านรสูลุลลอฮฺระบุว่าวันอีดิลอัฎฮาของพวกท่าน ก็คือวันที่พวกท่านทั้งหลายออกอีดิลอัฎฮา ประโยคที่ระบุว่า พวกท่านทั้งหลายออกอีดิลอัฎฮา หมายถึง ประชาชาติของมุสลิมทั้งหมดไม่พิจารณาว่ามุสลิมผู้นั้นจะอยู่ในประเทศใด,ดินแดนใด หรือเชื้อชาติใดก็ตาม, อีกทั้งท่านหญิงอาอิชะฮฺยังกล่าวไว้ว่า "วันอีดิลอัฎฮาคือวันที่ผู้คนทั้งหลายเขาออกอีดิลอัฎฮากัน" คำว่าผู้คนทั้งหลายก็หมายถึงประชาชาติมุสลิมทั้งหมดนั่นเอง เฉกเช่นท่านนบีเคยกล่าวว่า " صلوا كما رأيتموني أصلى " ความว่า "พวกท่านทั้งหลายจงนมาซเสมือนเห็นฉันนมาซ" (บันทึกโดยบุคอรีย์) หะดีษข้างต้นท่านนบีพูดกับนบรรดาเศาะหาบะฮฺ แต่มิได้หมายความว่าเฉพาะบรรดาเศาะหาบะฮฺเท่านั้นที่นมาซเหมือนการนมาซของท่านบีเท่านั้น แต่นั่นหมายรวมว่า มุสลิมทุกคนไม่ว่ามุสลิมผู้นั้นจะอยู่ประเทศไหน,ดินแดนไหน หรือเชื้อชาติไหนวาญิบจะต้องนมาซเสมือนการนมาซของท่านนบีมุหัมมัดทุกคนนั่นเอง

     ประการที่สอง วันอีดิลอัฏฮาต้องเป็นวันเดียวกัน เนื่องจากมีหะดีษระบุชัดเจนว่า วันอีดิลอัฎฮาเป็นวันสำคัญของมุสลิมทั่วโลก ดั่งหลักฐานต่อไปนี้

     ท่านอุกบะฮฺ บุตรของอามิรฺเล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า
     " يوم عرفة ويوم النحر وأيام التشريق عيدنا أهل الإسلام وهي أيام أكل وشرب " ความว่า "วันอะเราะฟะฮฺและวันนะหฺริและวันตัชรีก คือวันอีดของพวกเราชาวอิสลาม คือวันแห่งการกินและการดื่ม"
     (บันทึกโดยอบูดาวูด หะดีษที่ 2066 บทว่าด้วยการถือศีลอด,ติรฺมิซีย์ หะดีษที่ 704, นะสาอีย์ หะดีษที่ 2954, อะหฺมัด หะดีษที่ 16739 และอัดดาริมีย์ หะดีษที่ 1699) สถานะของหะดีษถือว่า เศาะหี้หฺ (صحيح) อ้างจากหนังสือ " صحيح سنن الترمذي" เล่ม 1 หน้า 407-408 ลำดับหะดีษที่ 773

     หะดีษข้างต้นท่านรสูลุลลอฮฺพูดไม่คลุมเครือ, ท่านรสูลกล่าวว่า "วันอะเราะฟะฮฺ" ซึ่งท่านรสูลมิได้กล่าวว่าวันที่ 9 ซุลหิญะฮฺ หากท่านรสูลกล่าวว่า วันที่ 9 ซุลหิจญะฮฺ เราอาจจะอ้างได้ว่า 9 ซุลหิจญะฮฺของประเทศใครประเทศมัน แต่นี้ท่านรสูลกล่าวชัดเจนว่า วันอะเราะฟะฮฺ ซึ่งวันอะเราะฟะฮฺบรรดาผู้ประกอบพิธีหัจญ์จะไปรวมตัวกันที่ทุ่งอะเราะฟะฮฺ บางคนจึงเรียกวันอะเราะฟะฮฺว่าวันวุกูฟ (وقوف คือการหยุดพำนัก) ก็มี, เมื่อท่านนบีบอกว่าวันอะเราะฟะฮฺ คำถามต่อมาคือ วันอะเราะฟะฮฺ หรือวันวุกูฟนั้นมีที่ไหนบ้าง? คำตอบคือ เมืองไทยไม่มีวันอะเราะฟะฮฺ หรือวันวุกูฟหรอกนะครับ มีแต่ที่ประเทศซาอุดิอาระเบียแห่งเดียวเท่านั้น ฉะนั้นเมื่อวันอะเราะฟะฮฺมีที่เดียวจึงไม่ต้องแปลกใจ เพราะเมื่อเป็นเช่นนั้นเราก็ต้องฟังการประกาศวันวุกูฟที่ประเทศซาอุฯ เท่านั้น โดยปีนี้ (2549) ทางรัฐบาลซาอุฯ ประกาศวันวุกูฟ หรือวันอะเราะฟะฮฺตรงกับวันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม 2549

      ประการต่อมา ท่านรสูลุลอฮฺพูดต่อว่า "วันนะหฺริ" คือวันเชือด วันเชือดคือวันอีดิลอัฏฮา หรือวันที่ 10 ซุลหิจะฮฺนั่นเอง ฉะนั้นเมื่อเรารู้ว่าวันอะเราะฟะฮฺเป็นวันใดวันถัดไปก็เป็นวันอีดิลอัฎฮา (ซึ่งปีนี้วันอีดิลอัฏฮาก็ตรงกับวันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม 49)

     ประการต่อมา ท่านรสูลุลลอฮฺพูดต่อว่า "วันตัชรีก" คือวันที่ 11,12 และ 13 ซุลหิจญะฮฺ ซึ่งเป็นวันที่ศาสนายังอนุญาตให้เชือดเนื้อกุรฺบานได้ (ซึ่งปีนี้ก็จะตรงกับวันที่ 31 ธ.ค. 49 และวันที่ 1 และ 2 มกราคม 2550)

     ประการต่อมา ท่านรสูลุลลอฮฺก็พูดต่ออีกว่า (วันอะเราะฟะฮฺ,วันอีดิลอัฎฮา และวันตัชรีก) คือวันอีด (วันรื่นเริง) ของพวกเราชาวอิสลาม ซึ่งเป็นที่อนุญาตให้กินให้ดื่มนั่นเอง (ยกเว้นวันอะเราะฟะฮฺที่มีสุนนะฮฺให้ถือศีลอด), พี่น้องมุสลิมทุกท่านครับ สำนวนของหะดีษข้างต้นไม่คลุมเครือเลยแม้แต่น้อย วันอะเราะฟะฮฺ,วันอีดิลอัฎฮา และวันตัชรีกคือวันอีดของพวกเราชาวอิสลาม ฉะนั้นพูดง่ายๆ ท่านนบีมุหัมมัดระบุว่าให้พี่น้องมุสลิมทั้งหมดที่เป็นประชาชาติของท่านบีมุหัมมัดให้ร่วมกันเฉลิมฉลองวันต่างๆ ข้างต้น ไม่ว่ามุสลิมในประเทศใด,ทวีปใด,ดินแดนใด หากเป็นมุสลิม (อะฮุลอิสลาม) จำเป็นจะต้องออกอีดิลอัฎฮาด้วยความพร้อมเพรียงกันทั้งหมด เมื่อเป็นเช่นนั้นมุสลิมคนใดหรือองค์กรมุสลิมใดที่มีวันอะเราะฟะฮฺไม่ตรงกัน และออกอีดิลอัฎฮาไม่ตรงกันนั้น ต้องชี้แจงแล้วละครับว่าเป็นเพราะสาเหตุใดจึงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของท่านนบีมุหัมมัด (صلى الله عليه وسلم ) ?

     อีกหลักฐานหนึ่ง ท่านอบูเกาะตาดะฮฺเล่าว่า " أن رسول الله صلى الله عليه وسلم سئل عن صوم يوم عرفة فقال يكفر السنة الماضية الباقية " ความว่า "ท่านรสูลุลลอฮฺเคยถูกถามเกี่ยวกับการถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺ ท่านรสูลกล่าวตอบว่า (บุคคลที่ถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺ) เขาจะถูกอภัยโทษ (บาปเล็ก) ในปีที่ผ่านมาและในปีถัดไป" (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 1977 และติรฺมิซีย์ หะดีษที่ 698)

     โปรดสังเกตว่า หะดีษข้างต้นระบุว่า ถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺ ไม่ใช่ถูกถามว่าถือศีลอดในวันที่ 9 ซุลหิจญะฮฺ หากมีผู้ถามว่าถือศีลอดในวันที่ 9 ซุลหิจญะฮฺ เราก็ยังพออนุมานได้ว่า วันที่ 9 ซุลหิจญะฮฺของประเทศใครประเทศมัน แต่นี่ระบุชัดเจนว่า ถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺ ซึ่งวันอะเราะฟะฮฺมีสถานที่เดียวนั่นคือที่ประเทศซาอุฯ ซึ่งเป็นวันที่ 9 ซุลหิจญะฮฺนั่นแน่นอนครับ แต่เป็นวันที่ 9 ซุลหิจญะฮฺที่ต้องตรงกับวันอะเราะฟะฮฺด้วยเช่นกัน ฉะนั้นประเด็นที่อ้างว่าวันที่ 9 ซุลหิจญะฮฺของแต่ละประเทศก็ถือว่าฟังไม่ขึ้นและไม่มีน้ำหนักที่เพียงพอ
 
     ประการต่อมา ท่านอบูสะอีด อัลคุดรีย์เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า
" نهى رسول الله صلى الله عليه وسلم عن صيامين يوم الأضحى ويوم الفطر " ความว่า "ท่านรสูลุลลอฮฺห้ามการถือศีลอด 2 วันด้วยกันคือ วันอีดิลอัฏฮา และวันอีดิลฟิฏริ" (บันทึกโดยติรฺมิซีย์ หะดีษที่ 772) สถานะของหะดีษถือว่า เศาะหี้หฺ, อ้างจากหนังสือ " صحيح سنن الترمذي " เล่ม 1 หน้า 407 ลำดับหะดีษที่ 772.

     หะดีษข้างต้นชัดเจนครับว่า ท่านรสูลห้ามถือศีลอดในวันอีดิลฟิฎริ และอีดิลอัฎฮา เมื่อเป็นเช่นนั้นปีนี้ก็จะต้องสับสนแล้วละครับ กล่าวคือ วันอะเราะฟะฮฺตรงกับวันศุกร์ 29 ธันวาคม 2549 และวันอีดิลอัฎฮาตรงกับวันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม 2549 แต่มุสลิมบางกลุ่มในประเทศไทยออกอีดิลอัฎฮาในวันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม 2549 ฉะนั้นหากมุสลิมที่ออกอีดในวันอาทิตย์มีสุนนะฮฺให้ถือศีลอดในวันเสาร์ แต่ไปตรงกับวันอีดิลอัฏฮาของมุสลิมที่ออกตามประเทศซาอุฯได้ประกาศ  ก็เท่ากับว่าบุคคลผู้นั้นฝ่าฝืนคำสั่งของท่านนบีที่ถือศีลอดในวันอีดิลอัฏฮา ซึ่งเป็นวันที่ท่านรสูลห้ามถือศีลอดนั่นเอง  (อีกทั้งผู้ที่จะถือศีลอดในวันเสาร์จะเนียตวันถือศีลอดสุนนะฮฺวันอะเราะฟะฮฺก็ไม่ได้ เพราะถือศีลอดไม่ตรงกับวันอะเราะฟะฮฺที่ประเทศซาอุฯ ซึ่งเป็นวันศุกร์)

     ประเด็นคำถาม อาจจะมีผู้กล่าวอ้างว่า "มุสลิมในประเทศไทยรอฟังการกำหนดวันอะเราฟะฮฺ หรือวันวุกูฟที่ประเทศซาอุฯ นั่นย่อมหมายความว่า มุสลิมทำอิบาดะฮฺตามคำสั่งของประเทศซาอุฯ ซึ่งอันนี้ก็ไม่มีข้อบัญญัติในศาสนาไว้เลยมิใช่หรือ?"

     คำตอบคือ ข้ออ้างข้างต้นถือว่าไม่มีน้ำหนักที่เพียงพอนะครับ กล่าวคือการที่เรายึดถือวันอะเราะฟะฮฺ (วันวุกูฟ) หรือวันสำคัญอื่นๆ ในศาสนานั้นเนื่องจากเป็นบทบัญญัติที่ระบุไว้ในหะดีษเศาะหี้หฺซึ่งกล่าวมาแล้วข้างต้น แต่ด้วยสถานที่ซึ่งเรียกว่าอะเราะฟะฮฺมีแห่งเดียวบนโลกดุนยานี้คือ มีที่ประเทศซาอุฯ เท่านั้น เราจึงต้องฟังการประกาศจากรัฐบาล หรือองค์กรสูงสุดที่ชี้ขาดเกี่ยวกับศาสนาของประเทศซาอุฯ ว่าประกาศวันอะเราะฟะฮฺตรงกับวันไหน ไม่ใช่เราตามประเทศซาอุฯ  ซึ่งประเทศซาอุฯ ไม่ได้บัญญัติให้บุคคลใดถือศีลอด, นมาซอีด หรือเชือดกุรฺบาน แต่สิ่งข้างต้นที่เรียกว่าอิบาดะฮฺนั้น พระองค์อัลลอฮฺทรงเป็นผู้กำหนดไว้แต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น 

     ประเด็นต่อมา อาจมีบางคนอ้างว่า "เรานมาซอีดิลอัฏฮาตามมักกะฮฺได้อย่างไร เพราะเวลาต่างกันตั้งหลายชั่วโมง?"

     คำตอบคือ คำกล่าวอ้างข้างต้นนั้นไม่ถูกประเด็นนะครับ วันอะเราะฟะฮฺ หรือวันอีดิลอัฏฮาถูกระบุในเรื่องของ "วัน" ไม่ใช่พูดประเด็นของ "เวลา"  อนึ่ง เวลาของการนมาซเราก็พูดไปตามท้องถิ่นนั้นๆ เช่นได้เวลาดวงอาทิตย์ตกดินเราก็นมาซมัฆริบ นี่เราพูดถึงเวลา อย่าว่าแต่ประเทศซาอุฯ เลยครับ แม้แต่เวลานมาซในประเทศไทยยังไม่ตรงกันเลยนะครับ เช่นเวลานมาซมัฆริบของมุสลิมกรุงเทพฯ กับมุสลิมภาคใต้ก็ไม่ตรงกัน ต่างกันก็ตั้งหลายนาที ฉะนั้นโปรดเข้าใจใหม่ว่า เรื่องวันอีดิลอัฏฮานั้นจะต่างกันก็เพียงแค่เวลา ส่วนเรื่องวันนั้นไม่ต่างกัน

     ประเด็นต่อมา  อาจมีบางคนตั้งคำถามว่า "ศาสนากำหนดวันอีดทั้งสองในครั้งที่ท่านนบีมุหัมมัดฮิจญ์เราะฮฺ (อพยพ) มายังนครมะดีนะฮฺใหม่ๆ ส่วนวันอะเราะฟะฮฺเพิ่งจะมาบัญญัติทีหลัง จึงถือว่าวันอะเราะฟะฮฺไม่เกี่ยวกับวันอีดิลอัฏฮาเลยนี่?"

     คำตอบคือ ประการแรก โปรดเข้าใจก่อนว่า เรื่องของหัจญ์นั้นมีมาตั้งแต่สมัยนบีอิบรอฮีมแล้วนะครับ  อีกทั้งนักวิชาการก็ระบุว่า เรื่องของหุกุมหัจญ์นั้นถูกประทานมาก่อนแล้ว ส่วนที่ท่านนบียังไม่ได้ประกอบพิธีหัจญ์ในช่วงแรกนั้น อาจจะะมีสาเหตุอันจำเป็น ส่วนจะเป็นสาเหตุใดนั้น วัลลอฮุอะอฺลัม (พระองค์อัลลอฮฺทรงรู้ดียิ่ง)

     ประการที่สอง ความจริงเรื่องสิ่งที่ถูกประทานมาทีหลังนั้นย่อมเป็นการยืนยันในสิ่งที่ผ่านมา แม้ว่าวันอะเราะฟะฮฺจะมาทีหลังก็ตาม แต่เมื่อวันอีดิลอัฏฮาถูกกำหนดให้อยู่หลังวันอะเราะฟะฮฺนั่นก็เท่ากับว่า เป็นบทบัญญัติที่ท่านรสูลสั่งใช้ให้เราปฏิบัติตามสุนนะฮฺดังกล่าวนั่นเอง ตัวอย่างเช่น
     ช่วงแรกของการเผยแพร่อิสลามท่านนบีกล่าวว่า " من قال لا إله إلا الله دخل الحنة " ความว่า บุคคลใดที่กล่าว ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ ได้เข้าสวรรค์" (บันทึกโดยติรฺมิซีย์ หะดีษที่  2562) ซึ่งท่านซุฮฺรีย์ถูกถามเกี่ยวกับคำพูดของท่านรสูลุลลอฮฺที่กล่าวว่า " من قال لا إله إلا الله دخل الحنة " ความว่า บุคคลใดที่กล่าว ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ ได้เข้าสวรรค์" เขากล่าวว่า " إنما كان هذا في أول الإسلام قبل نزول الفرائض والإمر النهي" ความว่า " แท้จริงหะดีษข้างต้นถูกกล่าวในช่วงแรกของอิสลามก่อนการประทานสิ่งที่เป็นฟัรฺฎุและคำสั่งห้าม (ต่างๆ) ของศาสนา" (บันทึกโดยติรฺมิซีย์ หะดีษที่ 2562 และอะหฺมัด หะดีษที่ 21572)

     จากหะดีษที่กล่าวมาข้างต้นพอสรุปได้อย่างชัดเจนแล้วว่า วันอะเราะฟะฮฺ จะต้องฟังการประกาศจากประเทศซาอุดิอาระเบียเท่านั้นเพราะมีสุนนะฮฺให้มุสลิมทั่วไปถือศีลอดตรงกับวันอะเราะฟะฮฺ และวันอีดิลอัฏฮานั้นเป็นวันอีดของพวกเรา หมายถึงมุสลิมทั้งหมดที่เป็นประชาชาติของท่านนบีมุหัมมัดซึ่งออกอีดโดยพร้อมเพรียงกัน. والله أعلم
     
 ไม่ปฏิบัติตามผู้นำผิดจริงหรือ ?

      ประเด็นต่อมาคือ หากการประกาศวันอะเราะฟะฮฺ และวันอีดิลอัฏฮาไม่ตรงกับผู้นำมุสลิมของประเทศนั้นๆ การประกาศวันอะเราะฟะฮฺและวันอีดิลอัฎฮานั้นเราจะไม่ปฏิบัติตามได้หรือไม่ เช่น ไม่ปฏิบัติตามผู้นำมุสลิมในประเทศไทยเป็นต้น?
      เหตุผลที่ไม่ปฏิบัติตามที่ท่านจุฬาราชมนตรีประกาศวันอีดิลอัฎฮา มีเหตุผมดั่งนี้ครับ
     1. สำนวนที่กล่าวว่า " มุสลิมอยู่ในประเทศไหนๆ ต้องตามผู้นำประเทศนั้นๆ " ต้องถามก่อนนะครับว่า ผู้นำประเทศมุสลิมนั้นๆ ที่เราจะต้องปฏิบัติตามเขานั้น เป็นผู้นำประเภทไหน? หากเป็นผู้นำอย่างประเทศซาอุดิอาระเบีย นั่นแน่นอนครับที่เราต้องตาม เพราะผู้นำของเขามีอำนาจสั่งการต่างๆ เช่นสั่งการให้ลงโทษผู้ที่กระทำความผิดหลักการของศาสนา เช่น หากทำซินา ก็ให้เฆี่ยนเป็นต้น เช่นนี้ไม่ตามไม่ได้ครับ วาญิบต้องตามครับ, แต่ผู้นำมุสลิมในเมืองไทยเป็นผู้นำที่ทางรัฐบาลกำหนดให้มีตำแหน่งผู้นำมุสลิมโดยให้ชื่อว่า ตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ซึ่งเป็นผู้นำมุสลิมที่ไม่สามารถออกกฎหมายหรือลงโทษผู้หนึ่งผู้ใดหากใครทำผิดหลักการของศาสนา ผู้นำประเภทนี้ไม่วาญิบต้องตามนะครับ อีกทั้งทางรัฐบาลยังกำหนดบทบาทของตำแหน่งจุฬาราชมนตรีไว้แค่เป็นผู้นำของปวงมุสลิมในประเทศไทย และเป็นผู้ประกาศการเห็นดวงจันทร์เท่านั้นนะครับ ส่วนการยกหลักฐานหะดีษของท่านรสูลุลลอฮฺที่กล่าวว่า " إنما جعل الإمام ليؤتم به "  ความว่า "แท้จริงอิมามถูกแต่งตั้ง (นำนมาซ) เพื่อถูกตาม" (บันทึกโดยมุสลิม) เป็นเรื่องหน้าที่ของอิมามนำนมาซฟัรฺฎูไม่ใช่ ผู้นำประเทศ หรือ ไม่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งการตามจุฬาราชมนตรีแม้แต่น้อยนะครับคนละประเด็นกัน, ถ้าหากนำหะดีษข้างต้นมาเป็นหลักฐานอ้างอิงว่าจะต้องตามผู้นำในเมืองไทยแล้วไซร้ ถ้าเช่นนั้นสมมติว่า ท่านจุฬาฯ หรือสำนักจุฬาราชมนตรีของเราไปออกตราหะลาล (حلال) ให้กับยาดองเหล้ายี่ห้อหนึ่ง (สมมตินะครับ)  ถามว่ามุสลิมในประเทศไทยสามารถซื้อยาดองเหล้ายี่ห้อนั้นมาดื่มได้หรือไม่? ถ้าเราบอกว่าเราตามผู้นำ หรือตามสำนักจุฬาราชมนตรีเราก็ต้องซื้อมาดื่มนะซิครับ ทั้งๆ ที่รู้ว่ายาดองเหล้านั้น เป็นเหล้าชนิดหนึ่ง ดื่มแล้วทำให้มึนเมา เมื่อเป็นสิ่งมึนเมาศาสนาถือว่าหะรอม (حرام), ฉันใดก็ฉันนั้น วันวุกูฟ หรือวันอะเราะฟะฮฺมีอยู่ที่เดียวบนโลกดุนยานี้เท่านั้น เมื่อทางรัฐบาลซาอุฯ ประกาศว่าวันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม 2549 ตรงกับวันอะเราะฟะฮฺ อีกทั้งสุนนะฮฺของท่านนบีก็กำชับให้ถือศีลอดในวันดังกล่าว ถัดจากวันดั่งกล่าวก็เป็นวันอีดิลอัฎฮา การที่เราทำเช่นนี้เราทำตามตัวบทหลักฐาน (ดั่งที่ผมกล่าวมาแล้วข้างต้น) ปฏิบัติสุนนะฮฺของท่านนบีทุกประการ เมื่อทำตามหลักการข้างต้นแล้วจะไม่ตรงกับคำประกาศของสำนักจุฬาราชมนตรีก็ไม่มีปัญหาแต่ประการใด เพราะหลักการของศาสนาจะต้องมีความสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด
     ตัวอย่างการไม่ปฏิบัติผู้นำโดยเห็นว่าคำสั่งของผู้นำที่ขัดกับหลักการของศาสนา หรือมีทัศนะไม่ตรงกับผู้นำ
     "ท่านอิมามอะหฺมัด อิบนุฮัมบัล เป็นอุละมาอฺหนึ่งในสี่มัซฮับโดยรู้จักในนาม "มัซฮับฮัมบะลีย์" ท่านอิมามอะหฺมัดอยู่ในยุคของเคาะลีฟะฮฺอัลมะมูน แห่งราชวงศ์อัลอับบาสียะฮฺ ซึ่งยึดมั่นในมัซฮับมุอฺตะซิละฮฺ โดยเขามีความคิดว่า อัลกุรฺอานคือมัคลูกฺ ( مخلوق  สิ่งถูกสร้าง) แล้วเขาก็นำเสนอแนวคิดข้างต้นให้กับประชาชาน และบรรดาอุละมาอฺในยุคนั้น จนกระทั่งอุละมาอฺในยุคนั้นต่างพากันเห็นด้วยในแนวคิดของเคาะลีฟะฮฺท่านนั้น โดยเขาส่งสาส์นไปยังบรรดาอุละมาอฺในยุคนั้น เหล่าบรรดาอุละมาอฺในยุคนั้นต่างก้มหัวและยอมรับความคิดเห็นของเคาะลีฟะฮฺท่านนั้นด้วยความเกรงกลัวอำนาจและอิทธพล รวมทั้งเกรงว่าจะถูกทรมารถ้าหากแสดงความเห็นใดๆ ไปในทำนองคัดค้านออกมา, ส่วนท่านอิมามอะหฺมัดกลับปฏิบัติตรงกันข้าม กล่าวคือ อิมามอะหฺมัดปฏิเสธไม่ยอมน้อมรับความเห็นเช่นนั้น โดยยืนหยัดอยู่บนแนวทางอันเที่ยงตรงและถูกต้อง โดยไม่หวาดเกรงต่ออำนาจอิทธิพลใดๆ ของเคาะลิฟะฮฺท่านนั้น ท่านอิมามอะหฺมัดยังคงยืนยันว่า อัลกุรฺอานนั้นคือ กะลามุลลอฮฺ ( كلام الله ) กล่าวคือ คัมภีร์อัลกุรฺอ่าน คือคำดำรัสของพระองค์อัลลอฮฺ ฉะนั้นอัลกุรฺอานจึงไม่ใช่สิ่งถูกสร้างจากอัลลอฮฺ เพราะหากเข้าใจเช่นนั้นเป็นการเข้าใจที่ผิดไปจากอะกีดะฮฺที่ถูกต้อง , เมื่อเคาะลิฟะฮฺทราบเรื่องก็สั่งให้จับกุมท่านอิมามอะหฺมัด แต่ระหว่างการคุมตัวอยู่นั้น เคาะลีฟะฮฺมะมูนก็สิ้นชีวิตเสียก่อน, แต่ลูกชายของเขาคือมะอฺตะซิมเป็นผู้ตัดสินอิมามอะหฺมัดแทนพ่อของเขา โดยพ่อของเขาได้สั่งเสียไว้เช่นนั้น , ครั้นเคาะลีฟะฮฺมะอฺตะซิมสอบถามท่านอิมามอะหฺมัดถึงอัลกุรฺอานว่าเป็นอะไร? ท่านอิมามก็ยืนยันเช่นเดิมว่า อัลกุรฺอานคือ คำดำรัสของพระองค์อัลลอฮฺ, เมื่อเคาะลีฟะฮฺรู้ว่าไม่สามารถเปลี่ยนใจอิมามอะหฺมัดได้เลย, เขาจึงสั่งเฆี่ยนท่านอิมามอะหฺมัดจนสลบหมดสติ กระทำเช่นนั้นอยู่หลายครั้ง แล้วยังคุมขังอิมามอะหฺมัดเป็นเวลานานถึง 2 ปี 6 เดือน แล้วพวกเขาจึงปล่อยอิมามอะหฺมัดเป็นอิสระ" หวังว่าตัวอย่างของท่านอิมามอะหฺมัด บุตรของฮัมบัลจะทำให้มุสลิมในเมืองไทยแยกแยะออกนะครับว่า ระหว่างคำสั่งของผู้นำ กับความถูกต้องของหลักการศาสนาเราจะเลือกสิ่งไหน?     
     ส่วนที่อ้างว่าผู้นำยึดถือมัซฮับใด หรือตัดสินปัญหาใด มุสลิมในประเทศนั้นต้องปฏิบัติเพราะความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว ถ้าเช่นนั้นช่วยยกตัวบทหลักฐานจากอัลกุรฺอาน หรือหะดีษให้ผมฟังหน่อยซิครับว่า วาญิบต้องตามมัซฮับเหมือนผู้นำประเทศ หากมีหลักฐานผมคนหนึ่งจะปฏิบัติเช่นนั้น หากไม่มีแล้วมากล่าวลอยๆ ให้ชาวบ้านหลงเชื่อได้อย่างไร?, อีกทั้งเจ้าของมัซฮับเองยังบอกเลยว่า อย่ามาตามฉัน หากฉันพูดขัดกับสุนนะฮฺของท่านนบีก็ให้ยึดสุนนะฮฺของท่านนบีไว้และละทิ้งคำพูดของฉันเสีย. ใช่แต่เท่านั้น พระองค์อัลลอฮฺตรัสไว้ในอัลกุรฺอานว่า "ผู้ศรัทธาทั้งหลายจงเชื่อฟังอัลลอฮฺ และเชื่อฟังรสูลเถิด และผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้าด้วย, แต่ถ้าพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งหนึ่ง ก็จงนำสิ่งนั้นกลับไปยังอัลลอฮฺและรสูล" (สูเราะฮฺอันนิสาอฺ : 59) โปรดพิจารณาคำสั่งของอัลลอฮฺนะครับ พระองค์ตรัสว่า หากพวกเราขัดแย้งกันในเรื่องหนึ่ง ให้นำเรื่องนั้นไปกลับไปหาอัลลอฮฺและรสูลของพระองค์ ทั้งๆ ที่สำนวนอัลกุรฺอ่านก่อนหน้านี้กล่าวถึงให้เชื่อฟังอัลลอฮฺ, เชื่อฟังรสูล และให้ปฏิบัติตามผู้นำ แต่พอมีปัญหาพระองค์อัลลอฮฺทรงให้บ่าวของพระองค์กลับไปหาอัลลอฮฺ และรสูลเท่านั้นไม่พูดถึงผู้นำแม้แต่น้อย เพราะผู้นำเป็นมนุษย์อาจจะฟัตวา (ตัดสินปัญหา) โดยตัดสินเข้าข้างตนเอง หรือพรรคพวกของตนเองก็ได้, ฉะนั้นการอ้างอิงผิดที่จึงทำให้ชาวบ้านเข้าใจผิดอย่างไม่ต้องสงสัยนะครับ
     2. พระองค์อัลลอฮฺตรัสไว้ในอัลกุรฺอานว่า "ผู้ศรัทธาทั้งหลายจงเชื่อฟังอัลลอฮฺ และเชื่อฟังรสูลเถิด และผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้าด้วย, แต่ถ้าพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งหนึ่ง ก็จงนำสิ่งนั้นกลับไปยังอัลลอฮฺและรสูล" (สูเราะฮฺอันนิสาอฺ : 59) ดังนั้น ผู้นำจะต้องเชื่อฟังอัลลอฮฺ และเชื่อฟังรสูลซึ่งเป็นเงื่อนไขของผู้นำมุสลิม, ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า " لا طاعة لمخلوق في معصية الخالق" ความว่า "ไม่มีการเชื่อฟังในเรื่องการฝ่าฝืนอัลลอฮฺ" (บันทึกโดยอะหฺมัด) ฉะนั้นผู้ตามไม่อนุญาตให้ตามผู้นำที่สั่งใช้ในเรื่องที่ขัดกับหลักการของศาสนาอย่างแน่นอน นี่คือประเด็นหนึ่งที่เป็นเงื่อนไขของการตาม, ส่วนกรณีที่ท่านจุฬาราชมนตรีประกาศว่าวันอีดิลอัฎฮา (ปี 2549) ตรงกับวันอาทิตย์นั้น ผมขอชี้แจงดั่งนี้ว่า ไม่มีจุฬาราชมนตรีท่านใดครับ แม้กระทั่งจุฬาราชมนตรีคนปัจจุบันที่ระบุว่า พี่น้องมุสลิมทุกคนในประเทศไทยต้องเข้าบวชหรือออกบวชตรงกับสำนักจุฬาราชมนตรี หรือต้องนมาซอีดิลอัฎฮาตรงกับสำนักจุฬาฯ ไม่ได้มีข้อบังคับเช่นนั้น เพราะอะไร? เพราะท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวไว้ว่า " يوم عرفة ويوم النحر وأيام التشريق عيدنا أهل الإسلام وهي أيام أكل وشرب " ความว่า "วันอะเราะฟะฮฺและวันนะหฺริและวันตัชรีก คือวันอีดของพวกเราชาวอิสลาม คือวันแห่งการกินและการดื่ม" (บันทึกโดยใครนั้นอ้างแล้วก่อนหน้านี้) เมื่อวันอีดิลอัฎฮาเป็นวันอีดสำหรับมุสลิมทุกคนซึ่ง เป็นคำสอนของท่านนบีมุหัมมัดที่ชัดเจนที่สุดอีกทั้งยังมีหลักฐานสนับสนุนอีกจำนวนมากซึ่งอ้างมาแล้วก่อนหน้านี้ เมื่อหลักฐานยืนยันชัดเจนเยี่ยงนั้น ไม่มีความจำเป็นอีกแล้วสำหรับมุสลิมที่จะไปเลือกแนวทางอื่นมาปฏิบัติ ด้วยเหตุผลข้างต้น เราก็ปฏิบัติตามตัวบทของหะดีษข้างต้นที่ว่าไว้ด้วยการรับฟังการประกาศวันอะเราะฟะฮฺ และวันอีดิลอัฎฮาดั่งที่ศาสนาระบุไว้นั้น แม้ว่าการประกาศนั้นจะไม่ตรงกับสำนักจุฬาก็ตามเถิด ฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเลยที่เราจะปฏิบัติตามศาสนาที่เรายึดว่านั่นคือความเข้าใจที่ใกล้เคียงถูกต้องตรงกับสุนนะฮฺมากที่สุด แล้วมากล่าวหาเราว่าไม่เชื่อฟังผู้นำ ซึ่งคนละประเด็นกัน ต้องย้ำว่า คนละเรื่องกันเลยครับ ส่วนการไปเปรียบเทียบกับอิมามนำนมาซก็เป็นอีกประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น เพราะสิ่งที่เรากล่าวถึงคือเราต้องการปฏิบัติสิ่งที่ถูกต้องตรงกับสุนนะฮฺของท่านรสูลให้มากที่สุดเท่านั้นเอง ฉะนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่มุสลิมจะยอมเชื่อฟังผู้นำเพียงเพราะความสามัคคีแต่เรื่องความถูกต้องตรงกับสุนนะฮฺของท่านนบีฉันไม่ต้องพิจารณา หรือฉันให้ความสำคัญความถูกต้องนั้นเป็นอันดับรอง. والله أعلم بالصواب والسلام

หน้า: [1]