แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - مرونة الشريعة

หน้า: [1] 2 3 ... 5
1
ชายมุสลิมใส่สร้อยคอได้ไหม ? ผมสงสัยมากครับ

ขอบคุณครับ


บิสมิลลอฮิรรอฮ์มานนิรรอฮ์ฮีม
ชายมุสลิมใส่สร้อยคอได้ไหม ? ผมสงสัยมากครับ

ขอบคุณครับ

บิสมินลาฮิรรอห์มานนิรรอห์หีม

นักวิชาการหลายท่านที่เห็นว่าอนุญาติให้ใส่ได้ (ในกรณีไม่ไปเหมือนหรือคล้ายกับสตรี) แต่ที่ดีและที่สมบูรณ์คืออย่าไปใส่ (รวมทุกกรณีทุกประเด็นที่เป็นข้อเห็นต่างของนักวิชาการ)

بسم الله الرحمن الرحيم
ما حكم التحلي بسلسلة الفضة للرجال؟
 
الحمد لله رب العالمين والصلاة والسلام على سيدنا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين وبعد:
ذهب بعض الشافعية منهم الغزالي في الفتاوى وبعض الحنابلة منهم ابن مفلح صاحب الفروع إلى جواز التحلي بالفضة شريطة ألا يتشبه المرء بالنساء، وذلك قياسا على خاتم الفضة، فالنبي صلى الله عليه وسلم اتخذ لنفسه خاتما من فضة، فإذا جاز الخاتم جاز الطوق والسوار والسلسلة.
ولأن الأصل في الأشياء الإباحة، والتحريم يحتاج إلى دليل، ولا دليل في محل النزاع يدل على التحريم فيبقى الأصل المقرر.
قَالَ صَاحِبُ الْفُرُوعِ:" لاَ أَعْرِفُ عَلَى تَحْرِيمِ لُبْسِ الْفِضَّةِ نَصًّا عَنْ أَحْمَدَ وَكَلاَمُ شَيْخِنَا (يَعْنِي ابْنَ تَيْمِيَّةَ) يَدُل عَلَى إِبَاحَةِ لُبْسِهَا لِلرِّجَال إِلاَّ مَا دَل الشَّرْعُ عَلَى تَحْرِيمِهِ، أَيْ مِمَّا فِيهِ تَشَبُّهٌ أَوْ إِسْرَافٌ أَوْ مَا كَانَ عَلَى شَكْل صَلِيبٍ وَنَحْوِهِ".
 بل إن بعض النصوص جاءت عامة تشير إلى جواز استعمال الفضة في أي وجه من وجوه اللبس المعتاد، جاء في السنن:«وأما الفضة فالعبوا بها لَعِبَاً» يعني اصنعوا ما شئتم بها.{أخرجه أحمد (2/334)؛ وأبو داود في الخاتم/ باب ما جاء في الذهب للنساء (4236) عن أبي هريرة رضي الله عنه، وقال المنذري في الترغيب (1/273): «وإسناده صحيح"}.
جاء في الشرح الممتع على زاد المستقنع(6/107):"والراجح العموم، وأنه جائز للحاجة، والعادة، والزينة. بل إنه لا يوجد نص صحيح في تحريم لباس الفضة على الرجال، لا خاتماً ولا غيره".
أما الأدب والكمال فيقتضي ترك التسلسل بالفضة، ومثل هذا الترك معهود في الفروع.
نقل الشربيني عن الشَّافِعِيِّ فِي الْأُمِّ أنه قال:"وَلَا أَكْرَهُ لِلرَّجُلِ لُبْسَ اللُّؤْلُؤِ إلَّا لِلْأَدَبِ، وَأَنَّهُ مِنْ زِيِّ النِّسَاءِ لَا لِلتَّحْرِيمِ مُخَالِفًا لِهَذَا، لِأَنَّ مُرَادَهُ أَنَّهُ مِنْ جِنْسِ زِيِّ النِّسَاءِ لَا أَنَّهُ زِيُّ لُبْسٍ يَخْتَصُّ بِهِنَّ".{انظر:مغني المحتاج(5/8)}.
 
والله تعالى أعلم
المجلس الإسلامي للإفتاء

2
:salam:
ลองดูกระทู้นี้ครับ  การขอดุอาเป็นญามาอะฮ์ได้หรือไม่ แล้วพี่น้องมาพูดคุยร่วมกันแบบวิชาการ
หรือว่าคุณมีหลักฐานที่จะให้เรื่องนี้กระจ่างได้ครับ
ผมก็กำลังหาอยู่พอดี เอาเฉพาะหลังละหมาดนะครับ จะเป็นของ ท่านอีหมามซาฟีอี ยิ่งดีครับ
 :salam:

ออฟไลน์ บาชีร

    ปีสามสักที
    ซังกุงคนสนิท ( +_-)
    เพื่อนรัก (6_6)
    *****
    กระทู้: 2164
    เพศ: ชาย
    Respect: +60
        MSN Messenger - bas_jameel@hotmail.com
        ดูรายละเอียด
        อีเมล์
        ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

Re: การยกมือหลังละหมาด ห้าเวลา
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ก.ย. 20, 2008, 04:11 PM »

    อ้างถึง

0 Vote Down Vote Up
และในบุชรอกะรีม+มุกอดดิมะฮฺอัลฮัดรอมี่ ซึ่งเป็นหนังสือฟิกมัสฮับชาฟิอี  ถือว่า

นัดบุน(ซุนนะฮฺ)ให้ยกมือดุอาหลังละหมาด และทุกๆดุอา เพื่อเป็นการตามท่านนบี

และหากไม่มือข้างใดหรือมีแต่ใช้การไม่ได้ ก็ให้ยกอีกข้างหนึ่ง

แต่มักรูฮฺที่จะยกมือที่เปื้อนนะยิส แม้ว่าจะมีสิ่งปกปิดมือก็ตาม

บุชรอกะรีมหน้า246 ดารุลมินฮาจ พิมพ์ครั้งแรก




ฉะนั้นมัสฮับชาฟิอีสุนนะให้ยกมือดุอาหลังละหมาดครับ

ส่วนผู้ไม่มีมัสฮับนั้นตามนัฟสูตัวเองนะครับ ไม่ได้ตามอุลามาอฺครับ



อัสลามมุอลัยกุม

การยกมือขอดุอานอกละหมาด (ไม่ว่าจะหลังละหมาดหรือขณะใดก็ตาม)
นักวิชาการมีความเห็นต่างกันดังนี้
1.ญุมฮูรฮานาฟียะห์และมาลีกียะห์ในคำพูดหนึ่งและซาฟีอียะห์และฮัมบาลียะห์เห็นว่าส่วนหนึ่งจากมารยาทในการขอดุอาให้ยกมือเท่าหน้าอกของเรา (ฟาตาวา ฮันดียะห์ 5/318 มุฆนีย์อัลมั๊หตาจ 1/167 ฟาวากีฮุดดะวานีย์ 2/430

2.อีกคำพูดหนึ่งในสายมาลีกีย์บอกว่า ไม่มีการยกมือในการขอดุอานอกละหมาด (ฟาวากีฮุดดะวานีย์ 2/430 อัลมะดูนะห์ 1/68 )

ฉนั้นการไม่ยกมือก็ตามอุลามาอ์เช่นเดียวกันครับ

วัลลอฮุ อะลา วะอะลัม

3
อัสลามมุอะลัยกุม

ถ้าอยู่ในสภาพเช่นนั้น จะตะยัมมุมด้วยอะไร หาฝุ่นดินที่ไหน มีบางคนอธิบายว่า ใช้แป้งหอม บ้าง ใช้ดินสอพองบ้าง หรือแม้แต่ให้ตบฝาผนังที่เป็นปูน

บรรดานักวิชาการมีความเห็นต่างกัน เกี่ยวกับคำว่า صعيدا ดิน มัสฮับ มาลีกียะห์ อบูหานีฟะห์ และมูฮำหมัด เห็นว่า ทุกสิ่งที่เป็นชนิดเดียวกันกับดินจะสามารถใช้ปลูกพืชได้หรือไม่ก็ตามไม่ว่าจะมีฝุ่นหรือไม่มีก็ตาม ฉนั้นไม่ว่าจะเป็นดินสอผอง แป้งหอม หรือฝาผนังที่เป็นปูน และอื่นๆจากนี้ที่เป็นชนิดเดียวกันกับดินสามารถใช้ทำการตะยัมมุมได้

มัสฮับ ซาฟีอียะห์ หานาบีละห์ และอบูยูซุฟ วางเงื่อนไขว่าต้องมีฝุ่นติดอยู่ด้วยจึงจะตะยัมมุมใช้ได้
และเห็นว่า คำว่า صعيدا เป็นดินที่สามารถใช้ปลูกพืชผักได้ ฉนั้นสิ่งข้างต้นจึงใช้ทำการตะยัมมุมไม่ได้
( บิดาเอิ๊ยะ 1/53 อัลลุบ๊าบ 1/37 ฟัตหุ้ลกอดีร 1/88 อิบนุอาบีดีน 1/159 มุฆนีย์ อัลมั๊วะตาจ 1/96 อัลมุฆนีย์ 1/247-249 บุญัยลีมีย์ 1/252 ฆอยะตุ้ล มุนตะฮา 1/61) วัลลอฮุ อะลัม

4
:salam:เมื่อคืนที่ผ่านมา(คีนวันอาทิตย์ที่3ก.พ.56) ได้ดูทีเอ็มทีวี อ.มุสตอฟาฯชี้แจงละหมาดของผู้ป่วยว่า
"ถ้าวิญญาณยังไม่ออกจากร่างกาย(ยังไม่ตาย)ก็หยุดละหมาดไม่ได้,เมื่ออาบน้ำละหมาดไม่ได้ก็ให้ตะยำมุม(ถูกต้องแล้วคร๊าบ) แต่ถ้ามีนะยิสเช่นขี้หรือเยี่ยว พยาบาลหรือญาติยังไม่มาล้างหรือทำความสะอาดให้ ก็ให้คนป่วยทำตะยำมุม และละหมาดได้เลย" โห...ทำไปทั้งที่มีขี้เยี่ยวอยู่เนี่ยนะ...หมดกัน,ผมจำหะดิษซอแหะฮ์ได้บทนึงที่ว่า"ครั้งหนึ่งท่านร่อซูลุ้ลเลาะฮ์ ซ้อลล้อลลอฮุอะไลฮิว่ะซัลลัม เดินผ่านกุโบรณ์ของชายคนหนึ่ง,ท่านหยุดเดิน และนำกิ่งอินทผาลำไปปักไว้ที่หลุมศพ,ซอฮาบัตได้ถามว่า"ยาร่อซูลุ้ลเลาะฮ์ ท่านทำอะไรหรือ?ท่านนบีมูฮำหมัดซ้อลล้อลลอฮุอะไลฮิว่ะซัลลัม ตอบว่า"ชายที่อยู่ในกุโบรณ์นี้กำลังถูกลงโทษ..สาเหตุเพราะเขา(คนตาย)เยี่ยวเสร็จแล้ว ไม่ทำความสะอาดให้เรียบร้อย"และยังมีคำพูดที่ท่านนบีสอนไว้อีกล่ะ?ความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา...ความสะอาดในที่นี้...ไม่ได้มีข้อยกเว้นนะครับ ว่าป่วยหรือปกติ?


คำตอบที่ อ.ว่ามานี้ (แต่ถ้ามีนะยิสเช่นขี้หรือเยี่ยว พยาบาลหรือญาติยังไม่มาล้างหรือทำความสะอาดให้ ก็ให้คนป่วยทำตะยำมุม และละหมาดได้เลย)
 เกี่ยวกับเรื่องนี้ เขาเรียกว่า การตะยัมมุมเพราะมีนายิสติดอยู่ ฮุก่มว่าไง ตอบ ตามมัสฮับซาฟีอียะห์และฮานาบีละห์ ถือว่าให้ทำตะยัมมุมได้เพราะไม่สามารถล้างนายิสได้ แต่ต้องกอดอใช้ ตามซาฟีอียะห์และรายงานหนึ่งของฮานาบีละห์

ส่วนตามมัสฮับฮานาบีละห์ ไม่ต้องกอดอใช้

ส่วนท่าน อีหม่าม อิบนุ กุดามะห์ ได้นำคำพูดต่างๆของบรรดานักวิชาการทั้งหลายบอกว่า ผู้ที่มีนายิสติดอยู่แต่เขาไม่สามารถล้างได้ ให้ละหมาดในสภาพแบบนั้นเลยโดยไม่ต้องตะยัมมุมและไม่ต้องกอดอใช้ (หนังสือ หาซียะห์ ฏอฮาวียะห์ หน้า 62-63 มุฆนีย์ อัลมุหตาจ เล่ม 1/106 หาซียะห์ อัซซอวีย์ 1/180 อัลมุฆนีย์ 1/273 กัซซา ฟุ้ลกอนาอ์ 1/162-164 ) วัลลอฮุ อะลาวะอะลัม

5
                                                      السلام عليكم ورحمة الله وبركاته
               ฝากข้อคิดดีๆให้พี่น้องมุสลิมทุกท่านให้รับรู้ถึงสิ่งที่อยากจะฝากไว้ตรงนี้ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

ในหนังสือ( شرح العقيدة الطحاوية ( الميسر หน้าที่ 50-51 ได้บอกว่า            لأن العلم علمان علم في الخلق موجود وعلم في الخلق مفقود فإنكار العلم الموجود كفر وإدعاء العلم المفقودكفر ولايثبت الإيمان إلا بقبول العلم الموجود وترك طلب العلم المفقود

ความว่า... อันความรู้นั้นมี 2 ประเภท ประเภทที่ 1.คือความรู้ที่อัลลอฮ์ (ซ.บ)ทรงสร้างให้มีในโลกนี้ 2. ความรู้ที่อัลลอฮ์(ซ.บ)ไม่ให้มีในโลกนี้ ดังนั้นการปฏิเสตความรู้ที่อัลลอฮ์ (ซ.บ)ทรงสร้างให้มีในโลกนี้ คือ كفر (การปฏิเสต) และการกล่าวอ้างว่าตนรู็สิ่งเร้นลับก็เป็น كفر (การปฏิเสต)เช่นกัน การศัทธาจะยังไม่แน่นแฟ้นนอกซะจากต้องยอมรับความรู้ที่อัลลอฮ์ (ซ.บ)ทรงสร้างให้มีในโลกนี้ และต้องทิ้งการที่จะเข้าไปยุ่งกับสิ่งที่เร้นลับ

คำอธิบาย คำว่า علم في الخلق موجود คือความรู้ที่อัลลอฮ์ (ซ.บ)ทรงสร้างให้มีในโลกนี้ คือ علم الشريعة أصولها وفروعها คือวิชาความรู้ในทางศาสนา ทั้งที่เป็นหลักมูลฐาน และข้อปลีกย่อย (คือสิ่งที่นักวิชาการมีความเห็นต่างกัน)

สิ่งที่น่าเป็นห่วงในยุคนี้ คือการ ไม่เห็นต่างในประเด็นที่นักวิชาการเหล่านั้นท่านเห็นต่างกัน ถ้าเราจะยึดเอาทัศนะหนึ่งจากทัศนะต่างๆโดยไม่ได้ปฏิเสตทัศนะอื่นอันนี้ก็ไม่เป็นไร แต่คราใดที่เราจะเอาของเราโดยปฏิเสตทัศนะอื่นๆในประเด็นที่เห็นต่าง ก็เท่าว่าเรานั้นกำลังตกอยู่ในความหมายที่ว่า ดังนั้นการปฏิเสตหลักการศาสนาทั้งที่เป็นหลักมูลฐานและข้อปลีกย่อยนั้น คือ كفر (การปฏิเสต) สุดท้านนี้ ขอให้ต่ออัลลอฮ์(ซ.บ)ทรงทำให้เราท่านทั้งหลายมีความเข้าใจในศาสนาทั้งที่เป็นเรื่องหลักมูลฐานและข้อปลีกย่อยของศาสนาด้วยเถิด (เห็นตรงในสิ่งที่นักวิชาการเห็นตรง และมองให้เห็นต่างในสิ่งที่นักวิชาการเขาเห็นต่างแล้วเราจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขบนหลักอากีดะห์ของอะห์ลิสซุนนะห์วัลญะมาอะห์ วัลลอฮุ อะลา วะอะลัม

6
ผมขอออกความเห็นด้วยนะครับ.

(หัวข้อที่ว่านี้หากว่าวันอีดตรงกับวันศุกร์ เราจะละหมาดญุมอะฮฺอีกหรือไม่)

ส่วนตัวผมเอง และอยากให้เป็นส่วนรวมด้วย คือ ผมประทับใจชื่นชมคำตอบของ ด.ร วะบะฮ์ ซุหัยลีย์ ที่ท่านได้ตอบไว้ในหนังสือของท่านที่ชื่อว่า فتاوي معاصرة (ฟะตาวา มุอาซอเราะฮ์) หน้า 25 ว่า ประเด็นปัญหานี้เป็นประเด็นที่นักวิชาการ อิจติฮาด วินิฉัย ซอนนีย์ ไม่ใช่เรื่องเด็ดขาด ส่วนเรื่องของการละหมาดวันศุกร์นั้นมันเป็นเรื่องที่เด็ดขาด ก๊อฏอีย์ ที่นักวิชาการเห็นตรงกัน ดังนั้นไม่สมควรเลยที่เราจะละทิ้งสิ่งที่เด็ดขาด (คือ การละหมาดวันศุกร์)ด้วยกับประเด็นที่ อิจติฮาด วินิฉัยของนักวิชาการ
วัลลอฮุ อะลัม

7
:salam:   อยากถามว่า    อ่างที่ครบสองกุลละห์ มีความสูง   กว้าง   ยาว เท่าใด จึงจะถึงสองกุลละห์

                                   ใครรู้ช่วยตอบผมด้วย  ผมต้องการด่วน  คับ    ขอบคุณคับ
   

สลามครับ
อ่างที่บรรจุน้ำถึง 2 กุลลอฮ์ หรือเท่ากับ 216 ลิตร นั้น ด้านยาว ลึก กว้าง ของมัน เท่ากับ 1 ศอก และ 1 ส่วน 4 ของศอกคนที่มีรูปปานกลาง หรือ ถ้าคิดเป็นเซนติเมตร เท่ากับ 60 เซน
( หนัง   الكفاية لذوى العناية ฟิกฮ์ ซาฟีอี หน้า 33-34)

8
น้ำไม่ถึงสองกุลละห์ เเล้วเราใช้อาบน้ำ   และน้ำที่อาบกระเดนตกลงในอ่างนั้น    หลังจากนั้นเราได้เปิดน้ำให้ถึงสองกุลละห์  แต่น้ำไม่ได้หล้น น้ำนั้นสามารถนำมาอาบน้ำยูนุบได้ไม่     

                                       ใครรู้ช่อยตอบด้วย ผมต้องการด่วนคับ


สลามครับ
จากข้างต้นที่ได้กล่าวมาไม่ทำให้น้ำดังกล่าวนั้นเป็นน้ำมุสตะมัลแต่ประการใด
ทำไมหล่ะ? เพราะการอาบน้ำที่ท่านได้อาบนั้นมันเป็นเพียงแค่ส่งเสริมให้อาบในแต่ละวันเท่านั้นไม่ใช่วาญิบ (จำเป็น)ดังนั้นน้ำที่กระเด็นไปในอ่างนั้นจึงไม่ใช่น้ำมุสตะมัลแต่ประการใด

ต่อมา ถ้าหากการอาบน้ำที่กล่าวมาท่านอาบน้ำวาญิบ แล้วมันกระเด็นไปในอ่างที่น้ำมันน้อยแล้วท่านได้เติมน้ำให้มันเต็มน้ำนั้นก็เป็นน้ำมุฏลัคทั่วไปสามารถเอามาอาบน้ำวาญิบได้อีกครับ
แม้แต่น้ำที่เป็นนายิสถ้าท่านเติมน้ำจนถึง 2 กุลละห์น้ำนั้นก็สะอาดแล้วครับ
 วัลลอฮุ อะลา วะอะลัม

9
 :salam:
ตามหลักการของศาสนาอิสลาม หลักฐานที่แข็งแรงที่สุดคืออัลกุรอ่าน รองลงมาคืออัลฮะดิษ รองลงมาอิจมาอฺ รองลงมากิยาส
ตอบถูกต้อง และยังมีหลักฐานอื่นๆที่บรรดาอุลามาอ์เห็นต่างกัน เช่นคำพูดของซอฮาบะห์ มะซอลิฮ์มุรซาละห์ เป็นต้น


...
ขอหลักฐานด้วย กุรอ่าน หรือฮะดิษที่ระบุชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้(ในหนังสือที่ท่านนำมาเสนอนี้ ระบุถึงหลักฐานทางกุรอ่านหรือไม่ มีฮะดิษหรือไม่  ในหนังสือทั้ง2เล่มที่ท่านนำมาอ้างนี้ ที่ผมรู้มีอยู่ฮะดิษเดียว เหมือนกับฮะดิษ ที่ผมได้นำเสนอไปแล้ว แต่ในประเด็นอื่นๆ ไม่เห็นมีระบุถึงหลักฐานทางกุรอ่าน หรือฮะดิษเลย ถ้าในหนังสือมีระบุนำมาบอกด้วย ถ้าไม่มีระบุ ลองคิดดูว่าจะเชื่อดีหรือไม่เชื่อดี
ตอบหลักฐานในหนังสือ อัลบะยาน อัลกอวีมู่ ของ เซค อาลี ญุมอัต จากอัลกรุอาน สูเราะห์ ยูนุส อายะห์ที่ 101 สูเราะห์ อันกาบูร อายะห์ที่ 20 สูเราะห์ อิสรออ์ อายะห์ที่ 12 สูเราะห์ ยาสีน อายะห์ที่ 38-40
หลักฐานในหนังสือฟิกฮ์ อัซซิยาม ของ ดร.ยูซุฟ อัลก๊อรฏอวีย์ จากฮาดิษ
 «صوموا لرؤيته وأفطروا لرؤيته، فإن غُبِّيَ عليكم فأكملوا عدّة شعبان ثلاثين يوماً».
«صوموا لرؤيته وأفطروا لرؤيته، فإن غُمَّ عليكم فأكملوا العدّة ثلاثين
إنّما الشهر تسع وعشرون، فلا تصوموا حتى تروه، فإن غُمَّ عليكم فاقدروا له
ความหมายของคำว่า فاقدروا لهหมายความว่า ضيقواله ทำให้แคบลงมา ท่านอีหม่ามนาวาวีย์ได้กล่าวไว้ใน มัญมั๊วว่า ท่านอะห์มัดและกลุ่มกนึ่งซึ่งมีจำนวนไม่มากได้กล่าวว่า قدربمعنى ضيق เหมือนกับที่อัลลอฮ์ซ.บได้กล่าวไว้ว่า قدرعليه رزقه ริสกีของเขาได้ถูกทำให้แคบลงสำหรับเขาแล้ว คือเครื่องปัจจัยน้อยลงนั้นเอง
...



ตอนนี้ท่านกลับนำมาบอกอีกอย่างแล้ว คือบอกว่า      1. (ในหนังสือ ฟิกฮ์ อัซซิยาม ของ ดร.ยูซุฟ อัลก๊อรฏอวีย์ หน้าที่ 23 และหน้าต่อๆไปบอกว่า) การเข้าเดือนของเดือนรอมาดอนนั้นเกิดขึ้นได้ 3 ทางด้วยกัน 1 เห็นจันทร์เสี่ยว 2 นับให้ครบ 30 วัน 3 คาดการณ์เอาโดยนักดาราศาสตร์ที่มีความแม่นยำและเชื่อถือได้ในวันที่ 29 ซะบาน และท่านยังกล่าวไว้อีกว่า ท่านอีหม่ามสุบกีย์ได้ถูกถามเกี่ยวกับนักดาราศาสตร์ที่พวกเขาได้คำนวนไว้แล้วว่าถ้าพรุ่งนี้ไม่มีการเห็นเดือนแล้วมีคนมาอ้างว่าเขานั้นได้เห็นเดือนไว่าว่าจะคนเดียวหรือ2คนก็ตาม ท่านบอกว่า คนที่เห็นนี้โกหกแล้ว เพราะวันนั้นจะไม่มีเดือนปรากฏให้เห็น (ฟะตาวา อัสสุบกีย์ 1/279-280)
และในหนัวสือเล่มนี้เช่นเดียวกันบอกว่าการคำนวนหรือหลักดาราศาสตร์นั้นใช้ทั้งการดูเดือนบวชและเวลาของการละหมาดด้วยไม่ได้จำกัดเฉพาะเวลาของการละหมาดเท่านั้น
สรุปว่าตอนนี้ท่าน บอกว่าท่านอีหม่ามสุบกีย์ได้ถูกถามเกี่ยวกับนักดาราศาสตร์ที่พวกเขาได้คำนวนไว้แล้วว่าถ้าพรุ่งนี้ไม่มีการเห็นเดือนแล้วมีคนมาอ้างว่าเขานั้นได้เห็นเดือนไว่าว่าจะคนเดียวหรือ2คนก็ตาม ท่านบอกว่า คนที่เห็นนี้โกหกแล้ว เพราะวันนั้นจะไม่มีเดือนปรากฏให้เห็น (ฟะตาวา อัสสุบกีย์ 1/279-280)
     ผมขอบอกว่าเรื่องนี้ในประเทศไทยเรา มีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นแล้ว ถามว่าจริงๆควรปฏิบัติเช่นไร ผมยังยืนยันคำเดิมว่า ต้องตามการประกาศของสำนักจุฬาราชมนตรี เพราะจริงๆแล้วเป็นหน้าที่ของสำนักจุฬาราชมนตรีโดยตรง แหละเป็นความรับผิดชอบโดยตรง ไม่ใช่หน้าที่ของนักดาราศาสตร์อิสลาม เลยแม้แต่น้อย ดังมีหลักฐานดังต่อไปนี้
     พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสว่า ผู้ศรัทธาทั้งหลาย  จงเชื่อฟังอัลลอฮฺ และเชื่อฟังร่อซูลเถิด และผู้ปกครองในหมู่พวกท่านด้วย แต่ถ้าพวกท่านขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั่นกลับไปยังอัลลอฮฺ และร่อซูล(กิตาบและซุนนะห์ ว่าทั้งสองกล่าวว่าอย่างไร ก็ทำตาม อย่าดื้อรั้น) หากพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก นั่นแหละเป็นสิ่งที่ดียิ่งและเป็นการกลับไป ที่สวยยิ่ง ซูเราะห์อันนิซาอฺ4 อายะห์ที่59
ตอบข้อนี้ท่านเข้าใจผมผิดถนัดเลยทีเดียว ผมไม่ได้พูดเรื่องไม่ให้ตามจุฬาอย่าสับสนสิ เรื่องนักดาราศาสตร์ คนละเรื่องกับการตามจุฬาหรือไม่ตาม และผมก็กล้าบอกท่านได้ว่าผมตามจุฬาครับหลักฐานในการตามมีเยอะส่วนหนึ่งคือสิ่งที่ท่านได้บอกไว้แล้ว เรื่องความเห็นต่างของบรรดาอุลามาอ์ถ้าจุฬาให้น้ำหนักอันไหนผมก็ตาม
ความต่างในเรื่องศาสนาคือเราะห์มัต ความเมตตา ไม่ใช่นิกมัต การลงโทษครับ
...




     พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสว่า ผู้ศรัทธาทั้งหลาย  จงเชื่อฟังอัลลอฮฺ และเชื่อฟังร่อซูลเถิด และผู้ปกครองในหมู่พวกท่านด้วย แต่ถ้าพวกท่านขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั่นกลับไปยังอัลลอฮฺ และร่อซูล(กิตาบและซุนนะห์ ว่าทั้งสองกล่าวว่าอย่างไร ก็ทำตาม อย่าดื้อรั้น) หากพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก นั่นแหละเป็นสิ่งที่ดียิ่งและเป็นการกลับไป ที่สวยยิ่ง ซูเราะห์อันนิซาอฺ4 อายะห์ที่59
     ส่วนคำพูดของท่านที่ว่า2.(ในหนังสือ อัลบะยาน อัลกอวีมู่ ของ เซค อาลี ญุมอัต หน้า 127-129 บอกไว้คล้ายๆกันกับสิ่งที่ ดร.ยูซุฟ ก๊อรฏอวีย์ได้กล่าวเอาไว้) เกี่ยวกับการคำนวนการเข้าบวช การละหมาดทั้ง5เวลารวมถึง หัวข้อที่ได้พูดกันอยู่ คือ เวลา ซูรูก อุลามาอ์นักดาราศาสตร์เห็นตรงกันว่าเรื่องการคำนวนนั้นเป็นเรื่องที่ ยาเกน มั่นใจ ส่วนการมองนั้น ซอนนีย์ ไม่มั่นใจ ดังนั้น เรื่องของการดูตามปฏิทินในเวลาซูรูกตามได้แน่นอน แต่ฮุก่มตรงนี้อุลามาอ์เห็นต่างกันดังนั้นอย่ายึดติดจนเกินไป สิ่งที่เราได้กล่าวมาตามปฏิทินก็ถูก ดูแสงอาทิตย์ก็ได้ในเวลาที่ปรกติไม่ใช่วันที่ฟ้าฝนครึ่ม และข้อดีที่แน่นอนเลยไม่มีใครแย้งกันคือละหมาดก่อนเข้าเวลาซูรูกนั้นเอง ถ้าสร้างความไม่พอใจขอมอัฟไว้ ณ.ที่นี้ด้วยครับ วัลลอฮุ อะลัม
     เรื่องนี้ผมก็ได้อธิบายชัดเจนมาแล้วอีกเช่นกัน ส่วนที่ท่านนำมาอ้างในหัวข้อที่2นี้ ขอหลักฐานด้วย หลักฐานทางกุรอ่าน หรือฮะดิษ หรือกิตาบเล่มใดก็ได้ที่ระบุถึงหลักฐานทางกุรอ่าน หรือฮะดิษด้วย อย่าเอาแค่คำพูดของนักวิชาการมาอย่างเดียว อ่อน ยังไม่ค่อยแข็งแรงนัก
เพราะ
     พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสว่า ผู้ศรัทธาทั้งหลาย  จงเชื่อฟังอัลลอฮฺ และเชื่อฟังร่อซูลเถิด และผู้ปกครองในหมู่พวกท่านด้วย แต่ถ้าพวกท่านขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั่นกลับไปยังอัลลอฮฺ และร่อซูล(กิตาบและซุนนะห์ ว่าทั้งสองกล่าวว่าอย่างไร ก็ทำตาม อย่าดื้อรั้น) หากพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก นั่นแหละเป็นสิ่งที่ดียิ่งและเป็นการกลับไป ที่สวยยิ่ง ซูเราะห์อันนิซาอฺ4 อายะห์ที่59
ตอบหลักฐานยกให้ไปแล้ว ส่วนหลักฐานที่ท่านยกมา ถ้าเกิดความขัดแย้งในเรื่องราวของศาสนาให้กลับไปยังกรุอานและฮาดิษ ผมก็ถามกลับว่าถ้าไม่มีในกรุอานและฮาดิษหล่ะจะทำไง
ส่วนตามผู้นำในอายะห์นี้หมายถึงถ้าผู้นำได้ใช้กับสิ่งที่ไม่ได้ผิดกับหลักการของศาสนาตามได้ถ้าผิดเมื่อไหร่ก็ห้ามตาม
...



     ผมแนะนำนิดนึงว่า บางคนเห็นว่าการขัดแย้งทางด้านความคิด ในศาสนา หมายถึงการแตกแยก จริงๆแล้วในหมู่ชนที่พัฒนาแล้ว เค้าถือกันว่าการระดมความคิด แน่นอนอาจต้องมีการขัดแย้งกันบ้าง เป็นสิ่งที่ดี  เป็นสิ่งที่ควรกระทำ เพื่อค้นหาสิ่งที่ดีที่สุด ความจริงที่สุด ที่มาจากพระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่การแตกแยกหรือเอาชนะเอาแพ้แต่ประการใด คิดบวกกันเถอะแล้วชีวิตจะมีความสุข  (ถ้าพี่น้องท่านใด พึ่งจะเริ่มเข้ามาดูในกระทู้นี้ ควรอ่านตั้งแต่เริ่มต้น หน้าหนึ่งเลย เพื่อจะได้เกิดความเข้าใจ)
ตอบอย่างที่ได้บอกไว้แล้วข้างต้น ความเห็นต่างในเรื่องศาสนาถือเป็นเราะห์มัตความเมตตาจากอัลลอฮ์ซ.บ แต่ความแตกแยกมันเกิดขึ้น เพราะบางคนตะอัซซุบกับสิ่งที่ตนได้ยึดเอา บ้างก็ไม่ได้มีความรู้สักเท่าไหร่สาว่าตนเองนั้นเก่งแล้วอาเลมแล้ว บ้างก็ได้แค่รู้แต่ไม่เข้าใจไม่รู้ถึงสถานการณ์ของผู้ถามไม่รู้ว่าบรรดานักวิชาการมีความเห็นอย่างไรในเรื่องนี้จะเอาของตนอย่างเดียว บ้างก็ไม่ใช่มุจตะฮิดและไม่ใช่อะห์ลุ้ลกะชัฟดันเอาอัลกรุอานหรือฮาดิษที่ยังคลุ่มเคลือ(ซอนนีย์)อยู่มาตอบให้ชาวบ้านได้ฟังผลคือความแตกแยก หรือหายนะนั้นเอง ส่วนตัวผมตามบรรดาอุลามาอ์ ผมมุกอลลิด ไม่ใช่มุจตะฮิด วายิบสำหรับผมต้องตามอุลามาอ์ เพราะอัลลอฮ์ซ.บได้กล่าวเอาไว้ว่า พวกเจ้าจงถามผู้ที่มีความรู้จริงรู้อย่างชัดแจ้งหากสู่เจ้าไม่รู้ ไม่ว่าจะเรื่องดุนยาหรือศาสนาก็ตาม
ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้านาฬิกาเราเสียเราจะซ่อมเองใหมทั้งที่เราเองก็ไม่ชำนาญในการซ่อมมัน หรือจะเอาไปให้ช่างที่เขามีความชำนาญในการซ่อมมันคิดเอา
(ในฟะตาวา มุอาซอเราะห์ ของ ดร.วะห์บะห์ อัสซุหัยลีย์ กล่าวว่า من قلدعالمالقي الله سالما ใครที่เขาตามผู้รู้เขาย่อมกลับไปพบกับพระองค์อย่างปลอดภัย มุมกลับกันใครที่ไม่ตามผู้รู้เขาจะไปพบกับอัลลอฮ์ซ.บในสภาพอย่างไรคิดเอานะครับ)วัลลอฮุ อะลัม

...

10
:salam:

เวลาซุรุกก็เหมือนกับการเข้าเดือนของเดือนรอมาดอนโดยเทียบเคียงกัน โดยที่ เซค อาลี ญุมอัต ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับการเข้าบวช ระหว่างการดูเดือนกับการใช้หลักดาราศาสตร์คำนวน ท่านบอกว่า ถ้่่าพรุ่งนี้นักดาราศาสตร์ได้คำนวนเอาไว้ว่าจะมีจันทร์เสี่ยวของเดือนรอมาดอนเกิดขึ้น พอถึงวันนพรุ่งนี้พวกเราได้ทำการดูเดือนบังเอินไม่เห็นจันทร์เสี่ยว ท่านบอกว่าถ้าใครเชื่อนักดาราศาสตร์ก็ให้เขาบวชในวันนี้(เพราะการคำนวนของคนที่เชื่อถือได้นั้น ยาเกน มั่นใจ ส่วนการดูเดือนนั้น ซอนนีย์ คาดการเอา) ถ้าใครไม่มั่นใจในนักดาราศาสตร์กลุ่มนี้ก็ไม่ต้องบวชเพราะไม่เห็นเดือน ดังนั้น เวลาซุรุกก็เหมือนกัน ถ้าใครจะตามปฎิทินก็ตาม ถ้าใครจะดูแสงดวงอาทิตย์ก็ดูเรื่องก็มีเท่านี้ครับ ปรองดองกันไว้ครับ วัลลอฮุ อะลัม
  :salam:ต้องแก้ไข ไม่ถูกต้อง เรื่องการดูจันทร์เสี้ยว ไม่เกี่ยวข้องเลยกับเวลาซุรุก ไม่เหมือนกัน (เพราะการเข้าร่อมะดอน ดูดวงจันทร์ แต่เวลาซุรูกดูดวงอาทิตย์) กล่าวคือ ในวันที่29ของเดือนอิสลาม หลังเข้าเวลาละหมาดมัฆริบ ถ้านักดาราศาสตร์อิสลามคำนวนว่า มีจันทร์เสี้ยวที่สามารถเห็นได้ ณวันนั้น แต่เวลาดูจริงๆทั่วทั้งประเทศไม่เห็นจันทร์เสี้ยวเลย สืบเนื่องจากเพราะฝนจะตก เมฆหนาฟ้ามืด หรือด้วยเหตุอื่นๆ สรุปว่าวันนั้นไม่เห็นจันทร์เสี้ยว ดังนั้นวิธีที่ถูกต้องตามหลักของศาสนา มีอยู่วิธีเดียวคือวันรุ่งขึ้น จะเข้าบวชไม่ได้โดยเด็ดขาด หรือขึ้นวันที่1ของเดือนใหม่ไม่ได้โดยเด็ดขาด ให้นับเดือนนั้นว่ามี30วัน เพราะเรื่องของการขึ้นต้นเดือนอิสลามใหม่นั้น ตามหลักศาสนา ต้องเอาเมฆเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย(แต่เวลาละหมาดทั้ง5เวลา รวมทั้งเวลาซุรูกด้วย ตามหลักศาสนาไม่ได้เอาเมฆเข้ามาเกี่ยวข้องเลย ดังนั้นเวลาซุรูกกับการดูจันทร์เสี้ยวจึงไม่เหมือนกัน คืออย่างนี้ ถ้าคำนวนว่าเห็นจันทร์เสี้ยวได้ แต่พอดูจริงๆไม่เห็น ก็ให้เลื่อนถัดจากวันรุ่งขึ้นไปอีกหนึ่งวัน เป็นวันที่1ของเดือนใหม่ ส่วนกรณีของเวลาซุรูกตามหลักศาสนาไม่ใช่อย่างนั้น คือสมมุติว่า เวลาซุรูกคือ6.41แต่บังเอิญช่วงนั้นฝนมาฟ้ามืด จะเลื่อนเวลาซูรุก ออกไปจนกว่าฟ้าจะสว่าง ไม่ได้โดยเด็ดขาด) ดังปรากฏหลักฐานฮะดิษของท่านศาสดานบีมุฮำหมัด(ซ.ล.) ดังนี้صُوْمُوْا لِرُؤْيَتِهِ ، وَأَفْطِرُوْا لِرُؤْيَتِهِ ،  فَإ
غُمَّ عَلَيْكُمْ فَأَكْمِلُوْا عِدَّةَ شَعْبَانَ ثَلاَثِيْنَ يَوْمًا
رواه البخاري (1810)  ومسلم (1080)
“ท่านทั้งหลาย จงถือศีลอดเพราะเห็นเดือนเสี้ยว และจงละศีลอดเมื่อเห็นดวงจันทร์เสี้ยว (เลิกถือศีลอด) ถ้าหากมีเมฆเกิดขึ้นเหนือพวกท่าน (มีเมฆมาปกคลุมทำให้ไม่เห็นดวงจันทร์เสี้ยว) ก็ให้พวกท่านปล่อยเดือนซะบานให้ครบสามสิบวันเถิด (นับเดือนซะบานให้ครบสามสิบวัน)”  รายงานโดย บุคอรี (1810) และมุสลิม (1080)
    ดังนั้นนักดาราศาสตร์อิสลาม แม้จะคำนวนได้แม่นยำ ว่าวันที่29ของเดือนอิสลาม มีจันทร์เสี้ยวสามารถจะเห็นได้ แต่ไม่มีนักดาราศาสตร์อิสลามคนใดหรอก ที่จะคำนวนได้ว่า ที่จะรู้ได้ว่า วันที่29ของเดือนอิสลามวันนั้น จะมีเมฆมาบดบังหรือไม่ ฝนจะมาฟ้าจะมืดหรือไม่ ตรงนี้ชี้ให้เห็นว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงรู้ทุกๆสิ่ง ทุกๆอย่าง
     ในฐานะที่ผม ศึกษาเรื่องนี้มาโดยตรง จึงสรุปว่าสมัยนี้ เวลาละหมาดทั้ง5เวลารวมถึงเวลาซุรูก-ดวงอาทิตย์ขึ้น ให้ดูปฏิทินเท่านั้น  ส่วนการเริ่มขึ้นวันที่1ของเดือนใหม่ในเดือนอิสลามนั้น อย่าดูในปฏิทินเป็นอันขาด สำหรับประเทศไทยให้ฟัง ทำตามสำนักจุฬาราชมนตรีเท่านั้น (อย่าดูการขึ้น วันที่1เดือนใหม่ในปฏิทิน แล้วนำมาปฏิบัติศาสนกิจโดยเด็ดขาด)เพราะไม่มีนักดาราศาสตร์อิสลามคนใด รู้หรอกว่า ณวันที่29 ที่ดูจันทร์เสี้ยวนั้น จะมีเมฆมาบดบังหรือไม่ ฝนจะมาฟ้าจะมืดหรือไม่ หลังเข้าเวลาละหมาดมัฆริบ มีพระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียวเท่านั้นที่ทรงรู้
ทำตามใช้ละเว้นสิ่งที่ห้ามคือหน้าที่ของผู้ศรัทธา

สลามครับ.
ขอตอบสั้นๆนะครับ สิ่งที่ท่านได้กล่าวมามันต่างกับสิ่งที่ผมจะกล่าวดังต่อไปนี้ (ผมไม่ได้กล่าวหาว่าท่านผิดนะครับ ผมแค่ถ่ายทอดความรู้จากนักวิชาการมาสู่พี่น้องทั้งหลายก็เท่านั้นครับ ส่วนผิดถูกท่านคิดเอาเองแล้วกันนะครับ)

1. (ในหนังสือ ฟิกฮ์ อัซซิยาม ของ ดร.ยูซุฟ อัลก๊อรฏอวีย์ หน้าที่ 23 และหน้าต่อๆไปบอกว่า) การเข้าเดือนของเดือนรอมาดอนนั้นเกิดขึ้นได้ 3 ทางด้วยกัน 1 เห็นจันทร์เสี่ยว 2 นับให้ครบ 30 วัน 3 คาดการณ์เอาโดยนักดาราศาสตร์ที่มีความแม่นยำและเชื่อถือได้ในวันที่ 29 ซะบาน และท่านยังกล่าวไว้อีกว่า ท่านอีหม่ามสุบกีย์ได้ถูกถามเกี่ยวกับนักดาราศาสตร์ที่พวกเขาได้คำนวนไว้แล้วว่าถ้าพรุ่งนี้ไม่มีการเห็นเดือนแล้วมีคนมาอ้างว่าเขานั้นได้เห็นเดือนไว่าว่าจะคนเดียวหรือ2คนก็ตาม ท่านบอกว่า คนที่เห็นนี้โกหกแล้ว เพราะวันนั้นจะไม่มีเดือนปรากฏให้เห็น (ฟะตาวา อัสสุบกีย์ 1/279-280)
และในหนัวสือเล่มนี้เช่นเดียวกันบอกว่าการคำนวนหรือหลักดาราศาสตร์นั้นใช้ทั้งการดูเดือนบวชและเวลาของการละหมาดด้วยไม่ได้จำกัดเฉพาะเวลาของการละหมาดเท่านั้น

 ส่วนฮุก่มเกี่ยวกับการคำนวน ท่านอาบู อับบาส อิบนุ สะรีจ ถือว่าจำเป็นต้องปฏิบัติตามนี้ ส่วนญุมฮูร ให้นับเดือน โดยยกฮาดิษ ให้นับเดือนให้ครบถ้าไม่เห็นเดือน แต่หลักฐาน ของอิบนุ สะรีจนั้น ท่านอิรอกีย์ได้เอาคำพูดหนึ่งของ อิบนุสะรีจบอกว่า ฮาดิษดังกล่าวนั้น (หมายถึงให้นับครบ30วัน)พูดถึงคนทั่วไป ส่วนนักดาราศาตร์หรือคนที่สามารถคำนวนได้นั้นให้คำนวนเอาไม่ใช่ให้ดูเดือน เพราะในสมัยนบีไม่มีใครชำนาญทางด้่นนี้เลยใช้ให้ดูเดือนแต่สมัยนี้มีการก้าวหน้าพัฒนาสามารถที่จะคำนวนได้ก็ให้คำนวนเอานี้คือหลักฐานของอิบนุสิรีน ส่วนคนอื่น ถือว่าอนุญาติไม่จำเป็น และอีกกลุ่มหนึ่งเห็นว่าถ้าเขาเชื่อถือได้ก็ตาม

2.(ในหนังสือ อัลบะยาน อัลกอวีมู่ ของ เซค อาลี ญุมอัต หน้า 127-129 บอกไว้คล้ายๆกันกับสิ่งที่ ดร.ยูซุฟ ก๊อรฏอวีย์ได้กล่าวเอาไว้) เกี่ยวกับการคำนวนการเข้าบวช การละหมาดทั้ง5เวลารวมถึง หัวข้อที่ได้พูดกันอยู่ คือ เวลา ซูรูก อุลามาอ์นักดาราศาสตร์เห็นตรงกันว่าเรื่องการคำนวนนั้นเป็นเรื่องที่ ยาเกน มั่นใจ ส่วนการมองนั้น ซอนนีย์ ไม่มั่นใจ ดังนั้น เรื่องของการดูตามปฏิทินในเวลาซูรูกตามได้แน่นอน แต่ฮุก่มตรงนี้อุลามาอ์เห็นต่างกันดังนั้นอย่ายึดติดจนเกินไป สิ่งที่เราได้กล่าวมาตามปฏิทินก็ถูก ดูแสงอาทิตย์ก็ได้ในเวลาที่ปรกติไม่ใช่วันที่ฟ้าฝนครึ่ม และข้อดีที่แน่นอนเลยไม่มีใครแย้งกันคือละหมาดก่อนเข้าเวลาซูรูกนั้นเอง
ถ้าสร้างความไม่พอใจขอมอัฟไว้ ณ.ที่นี้ด้วยครับ วัลลอฮุ อะลัม

11
อัลกุรอาน / Re: โทรศัพท์
« เมื่อ: มี.ค. 24, 2012, 12:20 PM »
 :salam:
โทรศัพท์ที่มีโปรแกรมอัลกรุอานถ้าเรานำเข้าห้องน้ำถือว่าเป็นสิ่งที่อนุญาติให้กระทำได้ แต่อย่าไปเปิดอัลกรุอานในห้องน้ำละอย่างนี้ถือว่าน่าเกียด ถ้าเราไม่ได้ดูถูกหรือเยียดหยามอัลกรุอาน

 และแม้แต่เวลาเราถือโทรศัพท์โดยที่เราไม่มีน้ำละหมาดก็ย่อมถือได้ เพราะนั้นไม่ใช่อัลกรุอานนั้นเองครับ วัลลอฮุ อะลัม

12
 :salam:

เวลาซุรุกก็เหมือนกับการเข้าเดือนของเดือนรอมาดอนโดยเทียบเคียงกัน โดยที่ เซค อาลี ญุมอัต ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับการเข้าบวช ระหว่างการดูเดือนกับการใช้หลักดาราศาสตร์คำนวน ท่านบอกว่า ถ้่่าพรุ่งนี้นักดาราศาสตร์ได้คำนวนเอาไว้ว่าจะมีจันทร์เสี่ยวของเดือนรอมาดอนเกิดขึ้น พอถึงวันนพรุ่งนี้พวกเราได้ทำการดูเดือนบังเอินไม่เห็นจันทร์เสี่ยว ท่านบอกว่าถ้าใครเชื่อนักดาราศาสตร์ก็ให้เขาบวชในวันนี้(เพราะการคำนวนของคนที่เชื่อถือได้นั้น ยาเกน มั่นใจ ส่วนการดูเดือนนั้น ซอนนีย์ คาดการเอา) ถ้าใครไม่มั่นใจในนักดาราศาสตร์กลุ่มนี้ก็ไม่ต้องบวชเพราะไม่เห็นเดือน ดังนั้น เวลาซุรุกก็เหมือนกัน ถ้าใครจะตามปฎิทินก็ตาม ถ้าใครจะดูแสงดวงอาทิตย์ก็ดูเรื่องก็มีเท่านี้ครับ ปรองดองกันไว้ครับ วัลลอฮุ อะลัม

13
อยากทราบว่าเวลาละหมาดซุบฮิ ตอนเช้านั้นหมดกี่โมงครับ สมมุติว่า ปฏิทินระบุว่า

ซุบฮิ 5:07 ชูรุก 6:23

และคำว่า ชูรูก คืออะไร แปลว่า 6:23 ไปแล้ว เราละหมาด อิชรอกได้เลย หรือว่า 6:23 เป็นเวลาที่พระอาทิตย์กำลังขึ้น ห้ามละหมาด ต้องรอไปสักพักครับ

สลามครับ
ขอร่วมเสวนาและตอบคำถามด้วยนะครับ
ซูรูก คือ เวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้น และเป็นเวลาของการละหมาดซุบฮิจะหมดไปเมื่อได้เข้าเวลา ซูรูก
ถ้ามสมุติว่าเวลา ซูรูก คือ 6.00 น. ถ้าเราตื่นสายแล้วอาบน้ำละหมาดเรียบร้อยแล้วเราก็มาละหมาดในเวลา 6.01-2 นาทีเป็นต้น ก็ถือว่าเรายังละมหาดทันเวลาซุบฮิอยู่ เพราะการเกินเวลาซูรูกเล็กน้อยนั้นย่อมถูกอภัยให้ เพราะเป็นการคาดเอาซึ้งความจริงดวงอาทิตย์อาจจะยังไม่ขึ้นเมื่อได้เวลา ซูรูกแล้ว เช่นเดียวกันเมื่อได้เวลาละหมาดให้รอสักหน่อยนึงเพื่อให้เรานั้นมั้นใจว่าเวลาของการละหมาดได้เข้าแล้วจริงๆ เช่นเข้าเวลาบ่าย 12.00 น รอไปสักนิดนึงประมาณ 12.02 นาทีเป็นต้นแล้วค่อยอาซาน

ละหมาดอิซรอก อุลามาอ์บางส่วนในมัสฮับซาฟีอีกล่าวว่า คือการละหมาด ดุฮานั้นเองตามคำพูดที่ถูกยึดถือของอีหม่ามรอมลี และอีหม่ามซียาดีย์ มีกล่าวไว้ในมินฮาญุฏฏอลีบีน และในกอลยูบีย์ก็เช่นเดียวกันและเวลาของการละหมาดดุฮาเริ่มจากช่วงพระอาทิตย์ขึ้นประมาณ 1 ด้ามหอก หรือ สูง 1 เมตรเป็นต้น และที่ีดีที่สุด คือช่วงดวงอาทิตย์กำลังร้อนจัด ประมาณ 8.30 - 9.00

 ส่วนในหนังสือ เอี๊ยะยาอ์ ของอีหม่ามฆอซาลีย์ คือการละหมาดเมื่อดวงอาทิตย์ได้ขึ้นแต่ต้องพ้นเวลาที่ห้ามละหมาดไปแล้ว คือหลังจากช่วงพระอาทิตย์ขึ้นประมาณ 1 ด้ามหอก หรือ สูง 1 เมตรเป็นต้น จึงจะละหมาดอิซรอกได้ ( กอลยูบีย์ วัล อุมัยเราะห์ 1/214-215)

14
 :salam:
ขอร่วมเสวนาและตอบคำถามอย่างสรุปๆด้วยน่ะ

ตอบข้อ 1. ใช่ครับ ทุกๆรอซู้ลเป็นนบี แต่ไม่ใช่ทุกๆนบีเป็นรอซู้ล เหมือนกับ ทุกๆมุอ์มินเป็นมุสลิม แต่ไม่ใช่ทุกๆมุสลิมเป็นมุอ์มิน

ตอบข้อ 2. ตัฟซีรกุรอาน คือ การแปลความหมาย การอรรถาธิบายกรุอาน ส่วนการตีความจากประโยคต่างๆหรือความหมายของอัลกรุอานให้มีความหมายที่เมาะสมกับอัลกรุอานหรือฮาดิษนั้นเขาเรียกว่า ตะอ์วีล ดังนั้นข้อนี้จึงมีความต่างกัน ระหว่าง ตัฟซีร กับ ตะอ์วีล คือ 1. ตัฟซีรความหมายกว้างกว่าตะอ์วีล  2. ส่วนมากตัฟซีรจะถูกใช้กับคำต่างๆและศัพท์แต่ละตัว ส่วนตะอ์วีลส่วนมากถูกใช้ในความหมายต่างๆและประโยค 3.ส่วนมากตัฟซีรใช้ได้ทั้งกรุอานและอย่างอื่นที่ไม่ใช่กรุอาน ส่วนตะอ์วีลใช้กับคำภีร์ที่ถูกประทานลงมาไม่ว่าจะเป็นอัลกรุอานหรือเตาร๊อตเป็นต้น
อุลามาอ์กลุ่มหนึ่งบอกว่า สิ่งที่อถิบายอัลกรุอาน และสิ่งที่มาจำกัดฮาดิษซอฮิห์ เรียกว่า ตัฟซีร ส่วน ตะอ์วีล คือการนำฮุก่มออกมาจากอัลกรุอานและฮาดิษโดยอาศัยวิชาที่หลากหลายมาช่วย
และคำที่คล้ายๆกันกับตัฟซีรอีกคำ คือ บายาน (ผู็พูดอถิบายเป่าหมายที่จะพูดให้ผู้ฝังได้รับรู้) บายานนั้นความหมายกว้างกว่าตัฟซีร

ตอบข้อ 3. เพื่อให้รับรู้ถึงความต้องการในพระดำรัสของอัลลอฮ์ซ.บ
สำคัญมาก เพราะถ้าอัลกรุอานไม่ถูกอรรถาธิบายหรือฮาดิษที่ยังคลุมเคลือไม่ถูกอถิบายศาสนาย่อมไม่สมบูรณ์เพราะทำไปโดยไม่มีความรู้ว่าอัลลอฮ์ซ.บนั้นพระองค์ทรงต้องการอะไรจะบอกอะไรกับบ่าวของพระองค์

ตอบข้อ 4.ใช่ เป็นเงื่อนไขหนึ่งของผู้ที่จะตัฟซีรอัลกรุอานต้องรู้ภาษาอาหรับดีเข้าใจอย่างถ่องแท้เพราะอัลกรุอานเป็นภาษาอาหรับดังนั้นผู้ที่จะอรรถาธิบายได้ดีที่สุดก็คือคนอาหรับที่เข้าใจภาษาของตัวเองอย่างถ่องแท้ และยังมีเงื่อนไขต่างๆอีกมากมายสำหรับคนที่จะอรรถาธิบายอัลกรุอานนอกเหนือจากนี้

ตอบข้อ 5.การตัฟซีรกรุอานมี 3 ประเภท 1.อัลลอฮ์เท่านั้นที่รู้ไม่ได้บออกให้บ่าวของพระองค์ได้รับรู้ เช่น เวลาเกิดวันกิยามะห์ เวลาที่นบีอีซาลงมาจากฟากฟ้าเป็นต้น 2.อัลลอฮ์ให้นบีรับรู้องค์เดียวโดยไม่ให้ประชาชาติของท่านได้รับรู้ เช่นเรื่องราวต่างๆของศาสนาที่ต้องการการอรรถาธิบายจากท่านนบี 3.บรรดาอุลามาอ์ที่อัลลอฮ์ให้พรสวรรค์แก่เขาเหล่านั้นมีความรู้ต่าวๆมากมาย เช่น นักมุฟัซซิรีนเป็นต้น  (เงื่อนไขของผู้ที่จะตัฟซีรอัลกรุอาน) 1.ต้องเป็นผู้รู้ภาษาอาหรับอย่างถ่องแท้รู้คำอธิบายในแต่ละคำจุดประสงค์ของคำและใช้แบบไหน 2.รู้นะฮูซอรอฟ บีนา มุซตักและกฏเกณฑ์ต่างๆในวิชานะฮู 3.ต้องรู้วิชา บาลาเฆาะ มะอานี บะเดี๊ยะ บะยาน 4. วิชาอุซูลุ้ลฟิกฮื
5.รู้นาซิค มันซูค และรู้บรรดาฮาดิษต่างๆที่ทำการอธิบายฮาดิษที่คลุมเคลือ 6.อากีะห์ต้องถูกต้องตามหลักการศาสนา ไม่ตามอารมณ์ 7. ต้องเอาหลักฐานจากการถ่ายทอดจากนบีที่ถูกต้องรองลงมาบรรดาซอฮาบะห์รองลงมาตาบีอีน ตาบิอิตตาบีอีน ถ่ายทอดกันมาเรื่อยๆมีรายละเอียดเยอะ และออกห่างจากอุตริกรรมของแปลกปลอมต่างๆ ต้องบริสุทธิใจเจตตนาถูกต้องเกรงกลัวอัลลอฮ์ซ.บให้มากที่สุด ดังอัลกรุอานที่ว่า และพวกเจ้าพึงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด และอัลลอฮ์นั้นทรงให้ความรู้แก่พวกเจ้าอยู่ และอัลลอฮ์นั้นทรงรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง บะเกาะเราะฮ์ 282

ตอบข้อ 6.ข้อจำกัดในการตัฟซีรอัลกรุอาน คือต้องเป็นอายะห์ที่คลุมเคลือ (ซอนนีย์) บอกเป็นนัย ส่วนอายะห์ที่เด็ดขาด (กอฏอีย์)ก็ตามอายะห์นั้นเลย

(เมาซูอะห์ ฟิกฮียะห์ เล่ม 13หน้า92-99) วัลลอฮุ อะลัม

15
ง่ายๆนะครับ

เวลาที่คุณไปถามคนที่เขารู้จริงน่ะครับ เขาได้ตักเตือนคุณด้วยกุรอ่านอย่างเดียวหรือไม่ครับ?

แต่ถ้าหากเขามักจะยกหะดิษขึ้นมาให้คุณเสมอๆ มั่นใจได้เลยว่าเขาไม่รู้จริง และไม่สามารถเรียกว่าเป็นผู้รู้ได้ครับ

เพราะเขาได้ ฝ่าฝืน/ละเมิด คำสั่งขั้นพื้นฐานที่สุดของอัลลอฮฺ


[6:114] อื่นจากอัลลอฮ์กระนั้น หรือ ที่ฉันจะแสวงหาผู้ชี้ขาด ทั้ง ๆ ที่พระองค์เป็นผู้ทรงประทานคัมภีร์ลงมาแก่พวกท่านในสภาพที่ถูกแจกแจงไว้อย่างละเอียด ? และบรรดาผุ้ที่เรา ได้ให้คัมภีร์แก่พวกเขา นั้น พวกเขารู้ดีว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้นถูกประทานลงมาจากพระเจ้าของเจ้า ด้วยความเป็นจริง เจ้าอย่าได้อยู่ในหมู่ผู้สงสัยเป็นอันขาด

[6:115] และถ้อยคำแห่งพระเจ้าของฉันนั้นครบถ้วน แล้ว ซึ่งความสัจจะ และความยุติธรรมไม่มีผู้ใดเปลี่ยนแปลงบรรดาถ้อยคำของพระองค์ได้ และพระองค์นั้นคือผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้

[6:116] และหากเจ้าเชื่อฟังส่วนมากของผู้คนในแผ่นดิน แล้ว พวกเขาก็จะทำให้เจ้าหลงทางจากทางของอัลลอฮ์ไป พวกเขาจะไม่ปฏิบัติตามนอกจากการนึกคิดเอา เอง และพวกเขามิได้ตั้งอยู่บนสิ่งใดนอกจากพวกเขาจะคาดคะเนเอาเท่านั้น


ปัญหาก็คือเชื่ออัลลอฮฺหรือเปล่า?
เพราะอัลลอฮฺกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่ากุรอ่านนั้นเยี่ยมยอด ครบถ้วนและถูกแจงแจงไว้แล้ว ไม่ต้องการอื่นใดมาชี้ขาด หรืออธิบาย
กล่าวคือ ไม่ว่าหะดิษจะเยี่ยมยอดขนาดไหน ถูกต้อง ครบถ้วน perfect อัลลอฮฺสั่งห้าม ก็คือห้ามครับ

ถ้ารักอัลลอฮฺ->ตามรอซูล, ถ้ารักรอซูล->ตามสิ่งที่ออกมาจากปากของรอซูล = กุรอ่านเท่านั้นครับที่ออกมาจากปากของรอซูลได้ หะดิษไม่ได้ออกมาจากปากของรอซูลนะครับ เล่าต่อๆกันมา ถูกบ้าง ผิดบ้าง ขัดแย้งกันเองก็มาก อัลลอฮฺ ก็ไม่ได้รักษาด้วย

สลามครับ
คุณนี้ไม่รู้อะไรจริงๆนะครับ

คุณบอกว่าทุกสิ่งที่ออกจากปากรอซู้ลคือกรุอาน ถามนิดเดียวพอ สิ่งที่ออกจากปากรอซู้ลเราจับได้ใหมที่เรียกกันว่าฮาดิษนะ ถ้าเราไม่มีน้ำละหมาด เป็นที่ต้องห้ามเหมือนกับอัลกรุอานใหม?

หน้า: [1] 2 3 ... 5