แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - laliklalee

หน้า: [1] 2 3 ... 7
1
 salam

ขอบคุณในความยุติธรรมนะครับ  al-kudawah ขออัลลอฮ์ทรงตอบแทนท่าน


2
เห็นไหมครับ คนไม่หยุดบิดเบือนยังคงทำงานแข็งขัน จะให้ทำอย่างไร?

แค่เพียงชี้แจงให้ระวังการตะอัศศุฟ ก็ตีความไปว่าไม่เชื่อเสียแล้ว ทั้งที่ อธิบายต่อมาอีกยืดยาวว่า เชื่อ แต่เชื่ออย่างไร? ก็กลับไม่นำพา  เฮ้อ...


พ้นจากประเด็นบิดเบือนมาสู่ประเด็นใหม่ที่ท่านจุดขึ้นมา

ขอบคุณนะครับที่ยกคำพูดของอุลามาอ์ในยุคสลัฟมาเสียที

แต่ หากท่านแปลได้ครบถ้วนแล้ว ผมก็ยังเข้าใจตรงกับอากีดะฮ์ที่มีอยู่ดี นั่นคือ  "ไม่คิดสงสัย ไม่ตีความเอง" และ ผมอยากทราบว่าทำไมท่านถึงคิดว่า ประโยคถัดมาจาก"เราทำการศรัทธาด้วยกับมัน" คือ "ไม่ถูกกล่าวว่ามีรูปแบบวิธีการ" นั้นหมายถึงซีฟัตของอัลลอฮ์  ผมกลับเข้าใจว่า กลับขยายความว่าเราศรัทธาด้วยกับมันอย่างไรมากกว่า  กล่าวคือ เราทำการศรัทธาด้วยกับมัน(ฮาดีษเหล่านั้น) ด้วยการไม่มีรูปแบบหรือวิธีการ(อธิบาย หรือตีความใดๆ และปล่อยไว้) เสมือนกับที่มันได้มีมา และถูกศรัทธาด้วยกับมัน โดยไม่ถูกอธิบาย(ตัฟซีรความหมาย)

ผมเข้าใจแบบนี้ผิดหลักการอิสลามไหมครับ?


3
ยินดี และเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ถ้าไม่มีการบิดเบือนเจตนา หรือใส่ร้าย ที่ทำให้ต้องเข้ามาชี้แจง

4
ครับ ผมต่ำต้อย และโง่เขลา แต่ผมก็มีความคิดเพียงพอที่จะอธิบายความเข้าใจของผมให้คุณได้รับรู้ ส่วนจะเชื่อ หรือไม่นั้นผมก็ไม่ได้บังคับอะไรอยู่แล้วนี่ครับ

และใช่ว่าผมจะนำความรู้ ความเชื่อของผมไปเป็นมาตรฐานใหม่ในทางศาสนาก็หาไม่

ที่ผ่านมาผมปฏิเสธหลักฐานจากกุรอาน ฮาดีษ หรือ ปราชญ์ในยุคสลัฟรึปล่าวหล่ะ? ตรงกันข้าม ผมกลับเก็บเกี่ยว และน้อมรับมาปรับความคิด และศรัทธาตนเอง ทั้งยังเรียกร้องให้กลับไปหามันอย่างจริงๆจังๆ เสมอมา

ผมเป็นใครนั้นไม่สำคัญ และผมก็ไม่อยากให้ใครให้ความสำคัญ และคำถามนี้น่าจะเทียบเคียงกับมนุษย์ทั่วไปที่อยู่ในยุคหลังจากยุคที่ศาสดารับรองด้วย ท่านเคยตั้งคำถามเช่นนี้กับผู้อื่นที่ท่านศรัทธาในสิ่งที่เขาพูดนอกเหนือไปจากนบีรับรองหรือไม่ ว่า "เขาเหล่านั้น เป็นใคร?" หรือเพียงเพราะเขาได้ท่องจำกุรอาน และฮาดีษเป็นจำนวนมาก ท่านก็รีบเชื่อโดยไม่ต้องพยายามตรวจสอบเสียแล้ว

มาตรฐาน คุณเป็นใคร? ของท่านดีแล้ว แต่ขอให้รักษาไว้ให้ดีครับ จะเลือกครูก็ต้องใช้มาตรฐานนี้ด้วย และเป็นเรื่องๆไป

5
1. ผ่านเลยไปโดยไม่ต้องตีความด้วยรูปแบบหรือวิธีการใด

คำว่  بلا كيف แปลว่า "ไม่มีรูปแบบวิธีการ"  ส่วนคำพูดของคุณที่ว่า "ไม่ต้องตีความ...ด้วยรูปแบบ...." นั้นคุณเพิ่มมาเองโดยสะัลัฟไม่เกี่ยวข้องด้วยเลย

ผมไม่ได้รายงานคำพูดท่านเหล่านั้นนี่ครับ ผมเพียงถอดความหมายมาอธิบายในอีกด้านที่คุณพยายามไม่มอง ถ้าจะนับคำอย่างนั้น ข้อ 2 ของผมก็คงใช้คำพูดตนเองมาเพิ่มเติมอีกมากมาย อย่างนั้นสินะครับ  ท่านเข้าใจการอธิบายความหมายของผู้พูดไหมครับ?

อีกอย่างหนึ่งชาวสลัฟไม่เกี่ยวข้องกับคำพูดผม เช่นเดียวกับคำพูดของคนที่มาทีหลังเช่นท่านอิหม่ามเช่นเดียวกันครับ ส่วนผิดถูกอย่างไรนั้น

วัลลอฮูอะลัมครับ

6
ก่อนอื่นอย่าลืมนะครับว่าท่าน อิม่ามอัลบะฆ่อวีย์ ไม่ใช่สลัฟ และนี่ก็เป็นทรรศนะของท่านเท่านั้นไม่ใช่ทรรศนะของสลัฟ

แต่อิมามอัลบะฆ่อวีย์ได้ถ่ายทอดทัศนะสะลัฟถึง 9 ท่านด้วยกัน คือ ท่านมักหูล(สะลัฟ)  ท่านอัซซุฮ์รีย์ (สะลัฟ) ท่านอัลเอาซะอีย์(สะลัฟ) ท่านมาลิก (สะลัฟ) ท่านอิบนุมุบาร็อก(สะลัฟ) ท่านซุฟยาน (สะลัฟ) และอัษเษารีย์(สะลัฟ) ท่านลัยษ์ บิน สะอัด(สะลัฟ) ท่านอะห์มัด บิน ฮัมบัล (สะลัฟ) ท่านอิสหาก(สะลัฟ)

เป้าหมายคือเนื้อหาที่ท่านอิมามอัลบะฆ่อวีย์ได้นำเสนอทัศนะของสะลัฟนะคร้าบ...


นั่นงัยครับ ความเข้าใจของคนไม่เหมือนกัน ผมเข้าใจว่าสลัฟเหล่านั้นหมายความอีกอย่าง รวมทั้งตัวท่านอิหม่ามเองด้วย ท่านจะว่าอย่างไร? เพราะการอ้างอย่างนี้งัยครับ การอ้างหลักฐานในวิธีการของท่านจึงไม่ยุติให้พบสัจธรรมความจริงได้ และโปรดแยกแยะการปฏิเสธความหมายภาษาไทย กับการปฏิเสธคำจำกัดความของคนไทยบางคนออกจากกันด้วยครับ

7
ไม่หรอกครับ ความหมายของพจนานุกรมที่เคยผ่านตาผมไปแล้วต่างหากที่คับแคบ ไปใช้เกณฑ์การสัมผัส ส่วนผิดพลาดอย่างไรนั้นผมได้ยกตัวอย่างไปแล้ว

แต่ที่ผมนิยามก็ยอมรับว่าคงไม่ครอบคลุมความเข้าใจ แต่ย่อมไม่ขัดแย้งอย่างที่คุณ  al-Kudawah เข้าใจ เพราะ ผมได้แยกออกมาแล้วว่า มีอยู่จริง และไม่ใช่อาการนาม

ความคลาดเคลื่อน และอันตรายอาจเกิดขึ้นได้หากผู้ที่ไม่ศรัทธา หรือผู้ไม่เข้าใจซีฟัตอันแท้จริงของอัลลอฮ์ เข้ามาคิดทำความเข้าใจเอาเอง จากพจนานุกรม

8
ค้านได้อย่างไรครับ อากีดะฮ์ผมก็เป็นแบบนี้มานานแล้ว จะแรกๆ หรือ หลังๆ ก็คงเหมือนเดิม

ก่อนอื่นอย่าลืมนะครับว่าท่าน อิม่ามอัลบะฆ่อวีย์ ไม่ใช่สลัฟ และนี่ก็เป็นทรรศนะของท่านเท่านั้นไม่ใช่ทรรศนะของสลัฟ

ประการต่อมาผมได้เคยบอกไปแล้วว่าความหมายตรงของคำนั้นต้องดูบริบท ผมกลับอ่านแล้วเข้าใจไปอีกแบบหนึ่งว่า ท่าน อิม่ามอัลบะฆ่อวีย์ หมายความว่า

บรรดาสลัฟได้กล่าวถึงอายะฮ์ที่เกี่ยวกับเรื่องซีฟาตของอัลลอฮ์ว่า  ให้บรรดามุสลิมอ่านอายะฮ์ที่เกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลลอฮ์แล้วผ่านมันไปเหมือนกับที่มันได้ระบุมาโดยไม่มีรูปแบบวิธีการ คือ

1. ผ่านเลยไปโดยไม่ต้องตีความด้วยรูปแบบหรือวิธีการใด

2. ท่านรีบจับคำว่า "ไม่มีรูปแบบและวิธีการ" มาบอกว่าทันทีโดยไม่ได้ดูเลยว่ากำลังกล่าวถึง"การระบุมา" หรือ  "การประทานมา" ไม่ได้ขยายคำว่า "คุณลักษณะของอัลลอฮ์"อย่างที่ท่านพยายามจะให้เป็นแต่อย่างใด และถ้าจะขอขยายความของสลัฟจากคำพูดผู้รู้ที่ไม่ได้อยู่ในยุคสลัฟก็คงเป็นไปไม่ได้ถูกไหมครับ?


อีกอย่าง ตรรกะที่ผิดพลาดของคุณที่ว่า "หากผมไม่เข้าใจแนวทางสลัฟ เพราะผมไม่มีครู" ก็ไม่จริงเสมอไป เพราะ ผู้ผิดพลาดกี่มากน้อยแล้วที่หลงว่าตนเองมีครู หรือเป็นครูเสียเอง และการมีครูนั้นมีอีกหลายมุมมองเหลือเกินที่ต้องแนะนำกัน

เพิ่มเติมที่ท่ายกคำพูดท่านอิหม่ามบัยฮากีน่ะครับ

คำแนะนำท่านคือให้ "อ่าน(ผ่าน)มันไปและหยุดนิ่ง(ไม่ต้องอธิบาย)" เหตุผล็เพราะว่า "การอธิบายคุณลักษณะของอัลลอฮ์ที่มีความหมายหลายนัยนั้นจะนำไปสู่การทำให้มีรูปแบบวิธีการและการทำให้มีรูปแบบวิธีการ(กับคุณลักษณะของอัลลอฮ์)นั้น  จะทำให้เกิดการทำให้มีการคล้ายคลึงระหว่างพระองค์กับมัคโลคที่เกี่ยวกับคุณลักษณะสิ่งที่บังเกิดขึ้นมาใหม่”"

เข้าใจนะครับว่า ทำให้มี นั้นหมายถึงอะไร?

9
ผมให้คำตอบไปชัดเจนแล้วครับ

ชัดเจนตรงใหน  มีหลักฐานตรงใหนในการแบ่งซีฟัตเป็น รูปแบบ นามธรรม และรูปธรรม  คุณไปเข้าก้าวก่ายคุณลักษณะของอัลลอฮ์  ไปเฉือนไปแบ่งตามอารมณ์ของคุณเองโดยไม่มีปราชญ์ท่านใดแบ่งแบบคุณ  และคุณก็ไม่ใช่นักวิชาการสักนิด  แม้กระทั่งคำ่ว่า "รูปแบบ" คุณก็ให้ศัพท์เป็นภาษาอาหรับไม่ได้ตามความเข้าใจของคุณ 

เฮ้อ...ผมรู้ว่าพิมพ์ไปมาก แต่น่าจะพยายามอ่าน แล้วจับประเด็นสักนิดนะครับ

10
จริงๆแล้วผมเองไม่ใช่นักวิชาการเช่นเเดียวกับท่าน และอีกหลายคน การแบ่งหรือ การจัดลำดับความเข้าใจก็เป็นไปด้วยความรู้เท่าที่มีของตนเอง โดยอาศัยความเข้าใจที่ผ่านมาจากนักวิชาการ และก็พยายามอย่างที่สุดที่ไม่ไปก้าวก่ายในเรื่องสำคัญๆ และผิดหลักการ หากผิดเรื่องใดท่านสามารถแย้งไดทันทีครับ และต้องให้หลักฐานประกอบด้วยไม่ใช่กล่าวลอยๆ การจัดลำดับของผมก็เป็นเพื่อความเข้าใจของตนเอง และเป็นเช่นศาสตร์อื่นๆที่ไม่ได้ต้องร้องขอหลักฐานการเริ่มต้นในยุคสลัฟเสียทั้งหมดอย่างที่ท่านกำลังทำ ตัวท่านเองยังแบ่งอากีดะฮ์เป็นเชิงลึกได้เลยไม่ใช่หรือ? มีหลักฐานจาสลัฟหรือไม่นั้นท่านยังไม่ได้ตอบเลย

จริงๆแลัวการพูดคุยนี้ มีการพาดพิงไปใช้คำศัพท์ภาษาไทยเช่น "รูปแบบ" "รูปธรรม" "นามธรรม" "สัมผัส" ฯลฯ ผมก็เข้าใจว่าเป็นคำที่คนไทยน่าจะเข้าใจตรงกัน แต่ผผมเข้าใจผิดไป

ลองค้นหาดูก็พบคำอธิบายที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับมุมมอง ก่อนจะลองให้คำนิยามขอสอบถามท่านสักนิดว่าท่านตอบคำถามนี้อย่างไร?

ญินมีรูปแบบเฉพาะของตนเอง เช่นเดียวกับมาลาอิกัตที่มีรูปแบบเฉพาะแต่ละท่านไม่เหมือนกัน ทั้งญิน และ มาลาอีกัตเป็นรูปธรรม หรือ นามธรรม?

หากใช้เกณฑ์การสัมผัสของท่าน ท่านสัมผัสได้หรือ? หากใช้ตรรกะท่าน"สิ่งใดสัมผัสได้เป็นรูปธรรม สิ่งได้สัมผัสไม่ได้เป็นนามธรรม" ญิน และ มาลาอีกัตก็คงเป็นนามธรรมกระนั้นสิ?

รูปธรรม และ นามธรรม ไม่ใช่นำ สัมผัสมนุษย์มาเป็น เกณฑ์ แต่หากจะจำกัดความก็น่าจะเป็นว่า

 "รูปธรรม" เป็นนามที่บ่งบอกตัวตนที่มีอยู่จริง และไม่ใช่อาการนามที่เราเรียกว่า "นามธรรม"    

11
ผมให้คำตอบไปชัดเจนแล้วครับ

12
ว่าอะลัยกุมสลาม

เท่าที่ทราบจากท่า Al-Kudawah บอกว่าการแบ่งแบบนี้ ก็มียืนยันจากสะลัฟแต่ไม่มาก และที่สำคัญก็เป็นเพียงการนำความรู้ที่ไมขัดกับหลักการ มาแบ่งหมวดหมู่ เช่นเดียวกับหลักวิชาต่างๆเท่านั้น จะเข้าข่ายบิดอะฮ์ได้อย่างไร? จะพิสูจน์ว่าบิดอะฮ์ท่านต้องยกหลักฐานมาพิสูจน์ให้ได้ก่อนว่าการแบ่งรูปธรรม กับนามธรรมนั้นผิดอย่างไร?

และที่สำคัญ วงเล็บท่านที่นำมาใส่เองก็เป็นความเข้าใจของตัวท่านเอง ไม่เกี่ยวกับผมแต่อย่างใด เพราะ ผมไม่ได้ใช้เกณฑ์การสัมผัสได้ หรือไม่ มาเป็นเส้นแบ่งแยกคำว่ารูปธรรม กับ นามธรรม บ่อยครั้งที่ผมสัมผัสนามธรรมได้ เช่น เราสัมผัสได้ถึงความเมตตาของอัลลอฮ์ หรือ ผู้อธรรมจะต้องสัมผัสได้ถึงความกริ้วของพระองค์ หรือ ผมไม่สามารถจะสัมผัสกลิ่นหอมได้ด้วยมือ ทั้งนี้ความแตกต่างก็มีเพียงท่านจำกัดประสาทสัมผัสใดของท่านในการสัมผัสเท่านั้น

รูปธรรม กับ นามธรรมนั้น เป็นที่รู้กันแก่ผู้มีสติปัญญา

และหากท่านรู้จักการรวมความคิด และเข้าใจจุดยืนผู้พูดคงไม่มีการจับผิดเล็กๆน้อยๆที่ผมพิมพ์ตกหล่นนำมาเป็นสาระสำคัญ ช่วยเพิ่ม(ไปเสียทั้งหมด)ต่อท้ายคำว่านามธรรมด้วยก็แล้วกัน ยังงัยก็ขอบคุณที่ชี้ให้เห็นการตกหล่นนะครับ

13
และเพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจความหมายตรงที่กระผมพูดไว้จะขอยกตัวอย่างฮาดีษนี้

หะดิษกุดซียฺ รายงานจากอบูฮุรอยเราะฮฺ

“แท้จริง อัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่งได้ตรัสว่า ผู้ใดเป็นศัตรูกับวะลีของข้า แน่นอนข้าได้ประกาศสงครามกับเขาแล้ว และบ่าวของข้าจะไม่เข้าใกล้ชิดข้าด้วยสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเป็นที่รักแก่ข้า ยิ่งไปกว่าสิ่งใดที่ข้าได้ลงเป็นฟัรฎูแก่เขา และบ่าวของข้ายังคงเข้าใกล้ชิดข้าด้วยการปฏิบัติสิ่งที่เป็นนะวาฟิล จนข้ารักเขา เมื่อข้ารักเขาแล้ว ข้าก็เป็นหูของเขาที่เขาใช้ฟัง เป็นตาของเขาที่เขาใช้มอง เป็นมือของเขาที่เขาใช้จับต้อง เป็นเท้าของเขาที่เขาใช้เดิน และหากเขาวอนขอต่อข้า ข้าก็จะให้เขา และหากเขาขอความคุ้มครอง ข้าก็จะคุ้มครองเขา... “ บุคอรียฺ

ฮาดีษบทนี้ผู้ศรัทธาจะเข้าใจเป็นอวัยวะของมัคลูกไปไม่ได้หรอกครับ การเปรียบเทียบพระองค์เป็นอวัยวะของมัคลูกย่อมขัดกับซีฟัตของพระองค์อย่างแน่นอนซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานที่มุสลิมรับรู้ตรงกัน ความหมายตรงก็คือการอุปมาตามความเข้าใจของมนุษย์ว่าเป็นการฟัง การมอง การลงมือทำ และ การก้าวเดินเป็นไปเพื่ออัลลอฮ์ คือสติปัญญาของผู้ศรัทธาที่ปกติจะแยกแยะได้ว่า ผู้พูดต้องการสื่อสารอะไร บทที่พระองค์สื่อว่าพระองค์มีพระหัตถ์ พระบาท หรือพระพักตร์ก็เข้าใจตามนั้น บทที่พระองค์เปรียบเทียบเป็นเชิงอุปมาก็เข้าใจตามนั้น ความเข้าใจของมนุษย์ปกติที่ไม่มีอคติเข้าครอบงำย่อมสามารถแยกแยะเจตนาของผู้พูดได้แม้กระทั่งจากมนุษย์ด้วยกันเอง โดยปกติแล้วผู้มีสติปัญญาย่อมสามารถแยกแยะประโยคที่สื่อความหมายตรง กับสื่อความหมายเป็นนัยยะได้โดยไม่ยาก ลองดูประโยคของมนุษย์สองประโยคนี้สิครับ

" ผมวาดภาพชิ้นนี้ด้วยมือทั้งสองของผมเองด้วยความอุตสาหะ ภาพชิ้นนี้คือดวงใจของผม ผมให้คุณโดยหวังว่าผมจะอยู่ในใจของคุณเสมอ "

คนทั่วไปก็จะเข้าใจโดยทันทีว่า ผมมีมือ และมือของผมก็มีลักษณะเหมือนๆมือมนุษย์คนอื่น แต่ไม่ได้คิดไปว่ารูปร่างมือต้องเป็นอย่างไร นิ้วสั้น นิ้วยาว ลายมือเป็นอย่างไร และก็เข้าใจว่าตัวผู้วาดเป็นคน ภาพที่วาดก็ไม่ใช่เป็นรูปก้อนเนื้อหัวใจ และไม่ได้อาศัยอยู่ในหัวใจของผู้รับ หัวใจเป็นเพียงอุปมาเท่านั้นเอง และไม่ต้องมีคำอธิบายประกอบใดๆทุกคนน่าจะเข้าใจตรงกัน

ใครจะมาตีความแล้วเข้าใจว่า ผมอาจไม่มีมือก็ได้ อาจใช้ความสามาถจากอวัยวะอื่นก็ได้วาด แต่"มือทั้งสอง"นั้นคือ การวาดภาพขึ้นมาด้วยอำนาจ และฝีมือต่างหาก และก็อาจมีคนที่แปลกกว่านั้นก็อาจพาลเข้าใจไปเลยเถิดว่า ภาพชิ้นนี้คือหัวใจของผู้วาด และผู้วาดก็อาศัย กิน นอน อยู่ในหัวใจของผู้รับก็เป็นได้ ซึ่งคงไม่น่าจะมี

ศัพท์ไม่ว่าจะภาษาใด การเลือกหยิบยกความหมายมาใช้นั้นอยู่ที่บริบทต่างๆที่มาประกอบด้วย คำว่า "มือ หรือ ยะดุน" ก็เช่นเดียวกัน ความหมายตรงก็คือความหมายแรกที่เราเข้าใจได้ทันทีโดยปราศจากการปรุงแต่งใดๆจากการสื่อสารนั้น นั่นคือความหมายตรงของมือในตัวบทนั้น  และถ้าในตัวบทใดเห็นว่าว่าผู้รับรู้สามารถตีความได้หลายนัยยะ ปราชญ์ผู้ห่วงใยของเราในยุคสลัฟก็จะเข้ามาเพิ่มคำอธิบายให้เราเข้าใจได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น ส่วน ตัวบทใดที่ท่านเหล่านั้นเห็นว่า มือ จะตีความเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ท่านก็ปล่อยไว้ และไม่สามารถจะไปอธิบายคุณลักษณะของมือได้ ตามที่เราน่าจะเข้าใจตรงกันอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้เราจึงวางใจในอิสลามที่สมบูรณ์แล้วตั้งแต่ชนยุคแรก วางใจในอากีดะฮ์ของเขาเหล่านั้น และไว้วางใจความเป็นปราชญ์ที่มีคุณธรรม และได้รับการรับรองอย่างชัดเจน

มุสลิมผู้ศรัทธานั้น บริบทที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องนั้นย่อมมีมากกว่าผู้ไม่ศรัทธา เรามีหลักศรัทธาที่ชัดเจนมาอยู่เหนือสามัญสำนึกอีกที หากเราศรัทธาอยู่แล้วว่าพระองค์ไม่ทรงเหมือน หรือคล้ายคลึงสิ่งใด การที่พระองค์บอกว่าพระองค์มีมือ มีใบหน้า มีเท้ามีความร่ำรวย มีความโกรธ มีการเห็น มีการได้ยิน โดยที่ไม่มีการตีความเป็นอย่างอื่นจากยุคสลัฟ  ถึงแม้สมองบางคนอาจคิดไปก็ได้ว่าการรับรู้โดยไม่ต้องเห็น ไม่ต้องได้ยินก็น่าจะพอ หรือ ปฏิเสธการโกรธ เพราะมาจากอารมณ์ หรือ สมองวาดภาพมือไปเรียบร้อยแล้ว เป็นต้น นั่นเป็นเพียงสามัญสำนึกที่ผิด และถูกนำมาอยู่เหนือความศรัทธาเท่านั้น  ส่วนผู้ศรัทธาจะยืนหยัดไม่ใช้ตรรกะที่ใช้กับมัคลูกไปเทียบกับพระองค์แบบนั้น  แล้วเราก็เชื่อตามนั้นโดย ใช้ความศรัทธาหยุดจินตนาการของสมองตนเอง

หวังว่าคงเข้าใจเพิ่มเติมนะครับ ผิดพลาดก็ขอมาอัฟ และแนะนำตักเตือนด้วย

วัสลาม

14
 salam
ความเห็นคุณส่วนใหญ่ข้างต้นเป็นความเห็นที่ไม่มีการขัดแย้งกันทางวิชาการ ผมเองก็ยอมรับ เพราะผมได้บอกไว้หลายครั้งหากย้อนอ่านดูจะเห็นว่า ผมไม่ได้ปฏิเสธการตีความคุณลักษณะของพระองค์อัลลอฮ์ในทุกกรณี ผมเคยกล่าวไว้แล้วว่า "คำว่ามือ ถ้าไม่หนี ไม่ ปฏิเสธ และ นบี หรือ ปราชญ์ยุคสลัฟไม่ได้ตีความไว้เป็นอย่างอื่น เราก็อย่าไปเพิ่มความเข้าใจเอาเองก็แล้วกันครับ เพราะเรื่องซีฟัตของอัลลอฮ์ ไม่ได้เปิดกว้างให้ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปเข้ามาแต่งแต้มความเข้าใจได้เองหรอกครับ" กล่าวคือ ที่มุสลิมจะต้องยอมรับคือการตีความจากผู้ที่อัลลอฮ์ และ รอซูลรับรอง ซึ่ง ก็เป็นที่ทราบกันดีว่า ต้องเป็นชนยุค สลัฟ ที่ยังมีเข้าเข้าใจในอิสลามที่บริสุทธิ์ ที่สำคัญที่สุดมีความเข้าใจในหลักอากีดะฮ์อันบริสุทธิ์ การตีความของสลัฟนั้นมีอยู่จริงตามหลักฐานที่ปรากฎมากมาย ส่วนหนึ่งก็ตามที่คุณยกมา จึงขัดแย้งกับตรรกะของคุณเองที่ว่า "สะลัฟไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตีความในยุคสมัยของพวกเขาเหล่านั้น  " ความต่างระหว่างเราและท่านมีสิ่งเดียว แต่ใหญ่หลวงนักเพราะไม่ใช่ประเด็นปลีกย่อย แต่เป็นหลักอากีดะฮ์อันดับแรก คือ พระเจ้าของเรา

ซุนนะฮ์ที่แท้จริงจะให้เกียรติทุกการตีความ และ ยึดถือการตีความจากนัยยะต่างๆของท่านเหล่านั้นที่เป็นชาวสลัฟที่มีคุณธรรมเป็นที่ยอมรับกันอย่างเอกฉันท์ ท่านยอมรับเองมิใช่หรือว่า พระพักต์ พระหัตถ์ พระเนตร หรือ พระบาท นั้นเป็น ซีฟาตค่อบะรียะฮ์ มีหลายนัยยะ และ ตีความกันเองไม่ได้ ทำไมในอายะฮ์ หรือ ฮาดีษที่ไม่มีหลักฐานการตีความเป็นนามธรรม ท่านจึงไม่ยอมรับนัยยะความเป็นรูปธรรมหล่ะ ท่านกำลังผูกขาดตีความไปเป็นนัยยะนามธรรมนัยยะเดียวโดยไม่มีหลักฐานหรือไม่? ถ้าผมยอมรับทั้งสองนัยยะทั้งรูปธรรม และ นามธรรม ตามหลักฐานที่มี แต่ท่านกลับยอมรับเพียงนัยยะที่เป็นนามธรรม ใครจะยึดถือความเป็นหลายนัยยะของซีฟาตค่อบะรียะฮ์กันแน่ครับ?  ( ขอใช้คำว่ารูปธรรม และ นามธรรม เพื่อความเข้าใจตรงกันนะครับ) เพราะการที่เรารู้ว่ามีหลายนัยยะนั้นไม่ใช่เพราะนักวิชาการยุคหลัง แต่เป็น ศัพท์คำเดียวกัน แต่สลัฟเลือกที่จะปล่อยความหมายตรงไว้ กับบทที่ เลือกที่จะไม่ปล่อยไว้ ต้องตีความเป็นนามธรรรม ใช่หรือไม่? การพิจารณาให้ลึกซึ้งลงไปจะพบฮิกมะฮ์แฝงเร้นอยู่จากปราชญ์เหล่านั้นอย่างแน่นอน ฉะนั้นการปฏิเสธความหมายตรงที่เป็นความหมายแรกที่มนุษย์เข้าใจโดยใช้ความคิด หรือ การคาดคะเนของชนยุคหลังสลัฟนั้นจึงไม่เป็นที่ยอมรับของผู้ที่ยึดหลักฐานที่ปลอดภัยเป็นตัวตั้งในการเข้าถึงหลัก อากีดะฮ์อันบริสุทธิ์นั่นเอง  

ในเรื่องซีฟัตของอัลลอฮ์ที่ชนรุ่นใหม่ไม่มีโอกาสที่จะมีความรู้มากกว่าชนยุคสลัฟนั้น เรายึดถือหลักอากีดะฮ์และอิสลามเฉพาะที่มีหลักฐานยืนยัน อายะฮ์ไหน ฮาดีษใดที่ไม่มีหลักฐานยืนยันการตีความหรือเทียบเคียงความหมาย ก็จะไม่อาจหาญเทียบเคียงการตีความด้วยตนเอง หรือยึดการตีความของผู้รู้หลังจากยุคสลัฟ แต่จะยึดถือตามความหมายตรงนั้นนั่นเอง ความหมายที่ชนยุคสลัฟไม่ได้ทิ้งการตีความ หรือคำอธิบายเป็นอย่างอื่นไว้ให้ลูกหลาน ทั้งที่ท่านเหล่านั้นต่างก็รู้ดีว่าจะแตกแยกออกเป็นหลายจำพวก อ่อนแอ และหลงทาง


หวังว่าคุณคงเข้าใจเช่นกัน และขออัลเลาะห์ทรงชี้นำเราและท่าน

วัลลอฮุอะลัม

15
มีอัลกุรอานและซุนนะฮ์ใดบ้างที่แยกและบอกว่า มือคือคุณลักษณะหรือรูปธรรม  ความเมตตาคือคุณลัษณะหรือรูปแบบทางนามธรรม และการได้ยิน การเห็น คือวิธีการ  และมีสะลัฟท่านใดเข้าใจอย่างคุณนี้  ช่วยอ้างอิงเชิงวิชาการหน่อยจ่ะ

ผมไม่ทราบนะว่ามีหรือไม่? แต่เท่าที่ทราบ ไม่มีปราชญ์ยุคสลัฟยอมรับกับการให้คำจำกัดความในศัพท์เชิงรูปธรรม เช่น เท้า หรือ มือ ให้เป็นนามธรรมเช่นเดียวกัน ที่ผมทำมันก็เป็นเพียงนำคุณลักษณะต่างๆเหล่านี้มาจัดประเภท เท่าที่ความรู้ ความสามารถจะเอื้ออำนวย ไม่ได้ให้คำจำกัดความใหม่ หรือตีความเอาเอง เช่นเดียวกับการนำหลักการต่างๆของอิสลามมาจัดหมวดหมู่ใหม่เป็นวิชาฟิกฮ์ นำภาษามาเป็นวิชานาฮู ซะรอฟ อะไรทำนองนี้ ซึ่งได้บอกแล้วว่า หากไม่มีผลต่อหลักอากีดะฮ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ก็ไม่น่าจะมีผลเสียอะไร การแบ่งนามออกกว้างๆเป็นรูปธรรม กับนามธรรม และเรียก กิริยา ว่าวิธีการ ผิดหรือไม่? อย่างไร?

หรือว่าหากคุณพบว่ามันผิดหลักการอิสลามที่ผมแบ่งแยกคุณลักษณะโดยใช้เกณฑ์ดังกล่าว ตามแนวทางของสลัฟ ก็โปรดชี้แนะด้วย (วิชาการนะ)

หน้า: [1] 2 3 ... 7