แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - abubuk

หน้า: [1] 2
1
อ้างถึง
หลังดีเบท  วะฮ์ฮาบีย์ต่างออกมาชี้แจงเรื่องซีฟัตตามทัศนะของตนทางสื่อต่างๆ และทำการวิจารณ์อัลอะชาอิเราะฮ์แบบอธรรม  ซึ่งเป็นฟัรฎูกิฟายะฮ์สำหรับผู้รู้ของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์ต้องทำการชี้แจงข้อเท็จจริงน่ะครับ


 smile:อัลหัมดูลิ้ลละฯ เห็นด้วยครับ อจ.ฮารีฟีนฯ จริงๆแล้วผู้รู้ในมัสหับชาฟีอี(รฮ)ในอะกีดะอาชาอิเราะในเมืองไทยเรามีมากแต่ขาดการสนใจและเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องแบบนี้ พวกเขาบางก็เฉยเมิน บางก็ละเลย บางก็นึกไปเสียว่าอัลล๊อฮ์ทรงรู้  ใครฮูกมใส่ร้ายใครไว้ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของอัลล๊อฮ์จัดการเอง...เราอยู่เฉยๆดีกว่า ทั้งๆที่การปกป้องจากการป้ายสีและทำให้ความเข้าใจผิดนั้นเป็นหน้าที่ของผู้รู้ที่จะต้องออกมาตอบโต้... ซึ่งจะเห็นว่ามีมากมายกับเหตุการณ์แบบนี้ไม่ว่าจะประเทศไหนๆของมุมโลก ที่มีกลุ่มวะฮาบีย์หรือชีอะหรือกลุ่มที่บิดเบือนต่อหลักความจริงแล้วทำการฮุกมแนวทางผู้อื่นว่าอย่างนั้นอย่างนี้ โดยผ่านสื่อต่างๆที่พวกเขามี...


อ้างถึง
ในวันดีเบทนั้น  ผมเป็นฝ่ายรับและแก้ต่างมากกว่าเป็นฝ่ายนำเสนอ  เพราะทางฝ่ายท่าน อ.อาลี คาน ปาทาน นำเสนอมาหลายประเด็นเหลือเกิน  จนกระทั่ง  หากผมนำเสนอตีความแผ่อะกีดะฮ์วะฮ์ฮาบี  ก็จะไม่มีเวลาแก้ต่างและชี้แจงข้อเท็จจริง 


 yippy:เห็นได้ง่ายๆเลยครับจากการดีเบสวันนั้นอ.อาลีคาน ต้องการชัยชนะและเอาใจท่านผู้ชม มากกว่าที่จะนำหลักฐานมาหักล้าง ทั้งๆที่มีตำราอยู่มากมาย โดยส่วนมากอ.อาลีคานจะเน้นกล่าวหาอจ.ฮารีฟีนในด้านส่วนตัวซะมากกว่า....หลายๆหัวข้อครับที่ผู้ร่วมดีเบสวันนั้นออกนอกเรื่อง  คล้ายกับว่าเป็นการโต้วาทีเพื่อต้องการประจานไปด้วยประมาณนั้น

อ้างถึง
ข้อมูลต่างๆ ที่เป็นเอกสารหรือตำราของวะฮ์ฮาบีที่ผมได้นำมากองข้างหน้าในวันดีเบทนั้น  จึงนำมาใช้นำเสนอแค่ 20 เปอร์เซ็นเท่านั้น  ด้วยเหตุนี้  ผมจึงคิดว่าน่าจะนำข้อมูลส่วนที่เหลือ  นำมาทำเป็นหนังสือเพื่อตีแผ่และชี้แจงความเป็นจริงในเรื่องอะกีดะฮ์ต่อไป


 party:ใช่ครับ  ...อันที่จริงแล้ว ผู้ที่เป็นกรรมการหรือผู้ที่ดำเนินรายการนั้นจะต้องคอยตรวจสอบเพื่อจับทีละประเด็นหรือทีละหัวข้อๆ แล้วก็ให้มีการชี้แจงให้จบไปทีละประเด็นๆ  ...แต่รู้สึกว่าวันนั้นจะมีหลายประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้องก็ถูกนำมาถกด้วย    จนแบบว่าวันนั้น ..จบกันแบบไม่เคลียร์ประมาณนั้น...แต่ก็ได้ความรู้มากครับ..

โดยเฉพาะคำทิ้งท้ายของอจ.ฮารีฟีนในตอนสุดท้ายที่ว่า ...ถ้าผมจะพูดเรื่อง อิลมุ้นกะลาม แล้วอ.อาลีคาน ก็จะไม่มีสิทธิตอบโต้ชี้แจงผมได้เลย...ซึ่งเป็นคำพูดที่แบบว่า...ไม่มีความรู้สึกทรมานเลยครับ..
 

2
แล้วคนที่ให้ความหมายอย่างนี้ล่ะครับ

http://islamic-dialectic.blogspot.com/2011/01/1-3-1145-1261-29-logical-critic.html

วอนท่านผู้รู้ช่วยชี้แจงหน่อยครับ

ได้อ่านแล้วครับและคิดว่ากลุ่มอัซซบิกูนเข้าใจผิดในเรื่องนี้มากลองทำความเข้าใจลิงค์นี้ครับครับ

http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php/topic,5212.msg55784.html#msg55784(วะฮาบีย์เชื่อว่าอัลล๊อฮทรงเตลื่อนย้ายจากที่สูงลงมาที่ต่ำ)
http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php/topic,61.msg401.html#msg401





3
จาก บังMUfftee

จากคลิปด้านบน ช่วงเวลาที่ 49.20 ... อามีน ลอนา ได้ยกอายะฮฺ อัล-กุรอาน พร้อมกับแปลว่า ..

تَبَارَكَ ٱلَّذِي بِيَدِهِ ٱلْمُلْكُ

“ความจำเริญสุขจงมีแด่พระผู้ซึ่งอำนาจอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์”  (ซูเราะฮฺ อัล-มุลกฺ : 1)

แล้วอามีน ลอนา ก็กล่าวต่อว่า .. คำว่า “الملك (อัล-มุลกฺ)” แปลว่า “อำนาจ” .. โดย อามีน ลอนา ได้ยึดคำแปลที่มาจากอัล-กุรอานเล่มแดงของวะฮาบีย์มาแปลให้คนทั่วไปฟัง แล้วพูดต่อไปว่า คำว่า “الملك (อัล-มุลกฺ)” แปลว่า “อำนาจ” แล้วคำว่า “بيده (บิยะดิฮิ)” ก็แปลว่า “พระหัตถ์หรือมือของพระองค์”

แล้วอามีน ลอนา ก็พูดต่อไปในเชิงตำหนิว่า .. แล้วถ้าแปลคำว่า بيده ให้มีความหมายว่า “อำนาจ” ละอาจารย์ชารีฟ (อ.ชารีฟ ก็ช่วยพูดตำหนิในการให้ความหมายว่า “อำนาจ” โดย อ.ชารีฟ บอกว่า “นี่เป็นการแปลตามพวกที่ผิดเพี้ยน”) แล้วอามีน ลอนา ก็แปลอายะฮฺนี้ไปตามความไม่รู้ของตนเองว่า “ความจำเริญจงมีแด่อัลลอฮฺผู้ซึ่งอำนาจอยู่ในอำนาจ” แล้วอามีน ลอนา กับ อ.ชารีฟ ก็ตำหนิว่า การไปแปลคำว่า "بيده" ให้มีความหมายว่า “อำนาจ” นั้น แปลแบบนี้ มันเป็นการแปลของผู้ที่ผิดเพี้ยน มันแปลไม่ได้ 



ชี้แจง

ข้าพเจ้าขอกล่าวว่า .. การที่ อามีน ลอนา  แปลอายะฮฺนี้แบบใส่ร้ายคนอื่นว่า “ความจำเริญจงมีแด่อัลลอฮฺผู้ซึ่งอำนาจอยู่ในอำนาจ” นั้น ผมก็ยอมรับว่า นี่เป็นการแปลของพวกที่ผิดเพี้ยนจริงๆ และคนที่ผิดเพี้ยนจริงๆ ก็คือ อามีน ลอนา นั่นเอง .. เพราะนี่คือ คำแปลของอามีน ลอนา ที่แปลทึกทักเอาเอง  ซึ่งไม่เคยมีปราชญ์คนใดเขาแปลในแบบที่อามีน ลอนา กล่าวอ้างเอาไว้เลย แต่นี่เป็นการแปลแบบเพี้ยนๆ ของอามีน ลอนา แค่คนเดียวเท่านั้น การแปลของอามีน ลอนา ในลักษณะนี้ ถือว่าเป็นการใส่ร้ายต่อปราชญ์อิสลามอย่างชัดเจน ดังนั้น เรามาดูว่าอามีน ลอนา ได้ใส่ร้ายต่อปราชญ์อิสลามเอาไว้ว่าอย่างไร ??


คำว่า “الملك (อัล-มุลกฺ)” ตรงนี้ปราชญ์อิสลามผู้ทรงความรู้ ไม่ได้ให้ความหมายว่า “อำนาจ” ตามที่อามีน ลอนา ได้พูดเอาไว้ตามความไม่รู้ของเขา และคำว่า “بيده (บิยะดิฮิ)” ตรงนี้ ปราชญ์อิสลามผู้ทรงความรู้ ก็ไม่ได้ให้ความหมายว่า “พระหัตถ์ของพระองค์” ตามที่อามีน ลอนา อ้างมาเลยแม้แต่นิดเดียว


ท่านอิมาม อัช-เชากานีย์ ซึ่งเป็นปราชญ์อิสลามที่ได้รับการยอมรับท่านหนึ่งในโลกอิสลาม ท่านได้อธิบายอายะฮฺที่ว่า ..

تَبَارَكَ ٱلَّذِي بِيَدِهِ ٱلْمُلْكُ

โดยท่านอิมาม อัช-เชากานีย์ ได้อธิบายอายะฮฺนี้ว่า ..

واليد مجاز عن القدرة والإستيلاء والملك هو ملك السموات والأرض في الدنيا والآخرة

และคำว่า “พระหัตถ์” ตรงนี้เป็นการอุปมาอุปมัยเปรียบเทียบจาก คำว่า “อำนาจและการครอบครอง” และคำว่า “อัล-มุลกฺ” นั้นหมายถึง “อัลลอฮฺนั้นคือ ผู้ทรงสิทธิในการปกครองบรรดาชั้นฟ้าและหน้าแผ่นดินทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺ”

ดู ตำรา فتح القدير  โดย ท่านอิมาม อัช-เชากานีย์ เล่มที่ 5  หน้าที่ 367


และท่านอิบนุ อะฏียะฮฺ อัล-มาลิกีย์ ได้อธิบายอายะฮฺนี้เอาไว้ว่า ..

  بيده الملك : عبارة عن تحقيق الملك، وذلك أن اليد في عرف الآدميين هي آلة تملك فهي مستعارة لذلك، و(الملك) على الإطلاق هو الذي لا يبيد ولا يختل منه شيء، وذلك هو ملك الله تعالى، والمراد في هذه الآية : ملك الملوك، فهي بمنزلة قوله تعالى (قل اللهم مالك الملك

คำว่า “บิยะดิฮิลมุลกฺ” เป็นสำนวนจากการให้การรองรับคำว่า “สิทธิในการปกครอง”  เพราะแท้จริงคำว่า “มือ” ในประเพณีการใช้กันของมนุษย์นั้น หมายถึง "เครื่องมือ(ที่แสดงถึง)การมีสิทธิอำนาจในการครอบครอง" (เช่น เมืองนี้ตกอยู่ในกำมือของพวกเรา เป็นต้น) ดังนั้น ตรงนี้จึงเป็นเสมือนกับการเปรียบเปรยอุปมาอุปมัยนั่นเอง และคำว่า “อัล-มุลกฺ” โดยทั่วไปแล้ว หมายถึง ผู้ที่ไม่สูญสลาย และผู้ที่ไม่มีการหลอกลวงใดๆ และนี่คือ สิทธิแห่งการปกครองของอัลลอฮฺ ตะอาลา และความหมายในอายะฮฺนี้ คือ ผู้มีสิทธิในการปกครองเหนือผู้ปกครองอื่นๆ ทั้งหลาย ซึ่งนี่คือ ตำแหน่งอันสูงส่งของอัลลอฮฺ ตะอาลา ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงตรัสไว้ว่า ..

قل اللهم مالك الملك

“จงกล่าวเถิด โอ้อัลลอฮฺ ผู้ทรงเป็นเจ้าแห่งการปกครองทั้งปวง” (ซูเราะฮฺ อาละ อิมรอน : 26)

ดู ตำรา المحرر الوجيز โดย ท่านอิบนุ อะฏียะฮฺ เล่มที่ 15  หน้าที่ 2-3


ดังนั้น อายะฮฺข้างต้นนี้จึงต้องให้ความหมายว่า ..

تَبَارَكَ ٱلَّذِي بِيَدِهِ ٱلْمُلْكُ

“ความจำเริญสุขจงมีแด่พระผู้ซึ่งสิทธิแห่งปกครองนั้น อยู่ในอำนาจของพระองค์”  (ซูเราะฮฺ อัล-มุลกฺ : 1)


ดังนั้น มนุษย์ทุกคนนั้น ไม่มีใครที่มีอำนาจหรือกรรมสิทธ์ในการปกครองสิ่งใดๆ เลย นอกจากว่าทั้งหมดนั้น จะเป็นสิทธิแห่งอำนาจของอัลลอฮฺ ตะอาลา ว่าจะมอบอำนาจหรือมอบสิทธิการปกครองในเรื่องนั้นๆ ให้แก่ผู้ใด หรือว่าพระองค์จะถอนคืนซึ่งสิทธิอำนาจในการปกครองจากผู้ใดก็ตาม ก็ล้วนแล้วแต่อยู่ภายใต้อำนาจของอัลลอฮฺ ตะอาลา ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเคาะลีฟะฮฺ หรือกษัตริย์ หรือสุลตอน หรือผู้ปกครองใดๆ ก็ตาม ไม่มีผู้ใดที่มีอำนาจหรือมีสิทธิในการปกครองอย่างสมบูรณ์แบบที่สุด นอกจากอัลลอฮฺ ตะอาลา เท่านั้นที่เพรียบพร้อมและสมบูรณ์แบบที่สุด


สรุป

1. จากอายะฮฺนี้ คำว่า “الملك (อัล-มุลกฺ)” ไม่ได้แปลว่า “อำนาจ” อย่างที่อามีน ลอนา หรือวะฮาบีย์เข้าใจ แต่มันหมายถึง “สิทธิแห่งการปกครอง”

2. คำว่า “بيده (บิยะดิฮิ)” ในอายะฮฺนี้ ต้องทำการตีความให้อยู่ในความหมายว่า “อำนาจหรือการครอบครอง” ซึ่งเป็นไปตามทัศนะของปราชญ์อิสลาม อาทิเช่น ท่านอิมามอัช-เชากานีย์ และท่านอิมามอิบนุ อะฏียะฮฺ อัล-มาลิกีย์ ซึ่งได้ทำการตีความเอาไว้ในตำราของท่าน โดยเฉพาะท่านอิมามอิบนุ อะฏียะฮฺ อัล-มาลิกีย์ ท่านถือว่าเป็นปราชญ์ตัฟซีรที่โด่งดังมากท่านหนึ่ง และตำราตัฟซีรของท่านเล่มที่ถูกอ้างอิงเอาไว้ด้านบน ก็ถือเป็นตำราตัฟซีรที่ปราชญ์ให้การยอมรับและชมเชยกันเป็นอย่างมาก

3. จากอายะฮฺนี้ ต้องให้ความหมายว่า “ความจำเริญสุขจงมีแด่พระผู้ซึ่งสิทธิแห่งปกครองนั้น อยู่ในอำนาจของพระองค์”  ไม่ใช่แปลแบบสะเพร่าอย่างที่อามีน ลอนา ได้แปลเอาไว้


ข้อสังเกต หากว่าการตีความคำว่า “พระหัตถ์” ให้มีความหมายว่า “อำนาจ” ในอายะฮฺนี้  เป็นการตีความตามความคิดของพวกที่ผิดเพี้ยนอย่างที่อามีน ลอนา และ อ.ชารีฟ กล่าวอ้างแล้ว ซึ่งก็แน่นอนว่า ท่านอิมามอัช-เชากานีย์ และท่านอิมามอิบนุอะฏียะฮฺ อัล-มาลิกีย์ ก็เป็นพวกที่มีความคิดผิดเพี้ยนไปด้วย และนี่คือ การใส่ร้ายอย่างน่าเกลียดของอามีน ลอนา  และ อ.ชารีฟ ต่อปวงปราชญ์อิสลาม .. วัลอียาซุบิลลาฮฺ !!
             ...........................................................................................
    ขอบคุณครับ คุณabu-klulus ผมได้ดูจากลิงค์แล้วครับและก็มีพี่น้องของเราแก้ต่างไว้แล้วด้วยซึ่งชัดเจนมากครับ

 Oops:แต่จะขอเสริมต่ออีกนิดครับเพราะอ.ทั้ง2 ท่านในทีวี ตามความเข้าใจของตนเองมากกว่าหลักฐานจากฮาดิสและความเข้าใจของสลัฟส่วนมากโดยเฉพาะการพยายามให้ความหมายในเรื่องพระหัสถ์  แปลว่ามือ จริงๆคำว่า يد الله  (ภาษาไทยแปลว่าพระหัตถ์ของอัลเลาะฮ์)  แต่ตามหลักการแล้วซีฟัตของอัลเลาะฮ์นั้นพระองค์ทรงตรัสไว้ในอัลกุรอานเป็นภาษาอาหรับ  ดังนั้น  ผมจึงขอใช้เรียกคำว่า "ยะดุน" يَدٌ  แล้วกันนะครับ  เพราะอัลเลาะฮ์ทรงเรียกอย่างนี้

คำว่า يد الله  "ยะดุลลอฮ์"  (ยะดุน) นั้น
 
แนวทางที่หนึ่ง : คือ  เชื่อในซีฟัต "ยะดุน"  แต่ขอมอบความหมาย , จุดมุ่งหมายที่แท้จริง และรูปแบบวิธีการไปยังอัลเลาะฮ์ตาอาลา 

แนวทางที่สอง : คือ  เชื่อในซีฟัต "ยะดุน"   แต่ทำการตีความ (ตะวีล)เพื่อให้มีความเข้าใจง่ายโดยสอดคล้องกับหลักภาษาอัลกุรอาน(ภาษาอาหรับ) , ตรงกับหลักของศาสนา(ไม่คัดค้านกับตัวบทที่ชัดเจนเด็ดขาดและแน่นอน) , และสอดคล้องตามหลักของสติปัญญาไปพร้อม ๆ กัน  คือตีความว่า  มันคือ "อำนาจ"  แล้วทำการมอบหมายต่ออัลเลาะฮ์สำทับอีกครั้งหนึ่ง

แนวทางที่สาม : คือ  เชื่อในซีฟัต "ยะดุน"  แต่ทำการอธิบายความหมาย (ตัฟซีร) ของมันให้อยู่ในเชิงภาษาของคำแท้ตามที่มนุษย์เข้าใจกัน  คือหมายถึงซีฟัตของอัลเลาะฮ์ที่เป็นส่วนอวัยวะที่เป็นฝ่ามือที่เป็นส่วนหนึ่งจากตัวตนของพระองค์! ที่เหมาะสมกับเกียรติของพระองค์!??

ทำให้เห็นง่าย ๆ คือ   

เชื่อในซีฟัตยะดุน >-------------------->> แต่มอบหมายกับความหมายและรูปแบบวิธีการ

เชื่อในซีฟัตยะดุน >-------------------->>  แต่ทำการตีความอยู่ในความหมายของอำนาจ

เชื่อในซีฟัตยะดุน  >-------------------->> แต่อธิบายให้อยู่ในความหมายของอวัยวะส่วนของร่างกายที่เป็นฝ่ามือให้กับอัลเลาะฮ์

สรุป : แนวทางที่หนึ่งและสองคือแนวทางของอัลอะชาอิเราะฮ์  ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ  ศรัทธาในความบริสุทธิ์ในซีฟัตอัลเลาะฮ์จากการไปคล้ายและเหมือนกับมัคโลคในทุกรูปแบบ   

ส่วนแนวทางที่สามนั้น  ถึงแม้ว่าพวกเขาปฏิเสธการเหมือนระหว่างมัคโลคกับอัลเลาะฮ์  แต่พวกเขายืนยันความคล้ายคลึง(ตัชบีฮ์)ระหว่างซีฟัตของอัลเลาะฮ์และมัคโลค  กล่าวคือ  มนุษย์มีส่วนอวัยวะที่เป็นฝ่ามืออยู่ที่ร่างกายและอัลเลาะฮ์ก็มีส่วนอวัยวะที่เป็นฝ่ามือที่อยู่ตัวตนของพระองค์!  แต่ไม่เหมือนกับมัคโลค!? ซึ่งเป็นแนวทางของวะฮาบีย์ปัจจุบัน

วัลลอฮุอะลัม
[/color]

4
ข้อความโดย: anthoposclay

“มันคือสิ่งที่จำเป็นต่อการยืนยันถึงศิฟัตอิสติวะอฺ (การขึ้นสูงเหนือบัลลังค์) โดยปราศจากการตีความ(เป็นความหมายอย่างอื่น) และแท้จริงแล้วพระองค์อัลลอฮฺทรงขึ้นอิสติวะอฺเหนือบัลลังค์ของพระองค์โดยอิสติวะอฺด้วยกับ “ซาต” (อาตมัน) ของพระองค์เหนือบัลลังค์ ซึ่งอิสติวะอฺไม่ได้แปลว่า กออู๊ด (นั่ง) หรือไม่ได้แปลว่าการสัมผัส ดังที่พวกมุญัสสิมะฮฺและกะรอมียะฮฺได้กล่าวไว้ และมันก็ไม่ได้หมายความว่า อุลูวว์ (ความสูงส่ง) ดังที่พวกอัชอะรียะฮฺ(อะชะอิเราะฮฺ)ได้กล่าวไว้ และมันก็ไม่ได้แปลว่า อิสติลาอ์ (การพิชิต) หรือ ฆอลาบะฮฺ (การสถาปนาอำนาจ) ดังที่พวกมุอฺตะสิละฮฺได้กล่าวแต่อย่างใด ตัวบททางศาสนาไม่ได้บอกกล่าวถึงความหมายใดๆเหล่านี้ไว้ แล้วก็ไม่ปรากฏการรายงานจากบรรดาซอฮาบะฮฺหรือจากบรรดาตะบีอีนจากยุคสลัฟหรือจากบรรดานักวิชาการหะดีษถึงการตีความในแบบเหล่านี้เลย”
                .................................................................................

  ข้างล่างนี้ อ้างจากบังอัชฮารีย์

คำว่า "อิสติวาอฺ"  الإستواء  นั้น 

แนวทางที่หนึ่ง : คือ  เชื่อในอิสติวาอ์  แต่ขอมอบความหมาย , จุดมุ่งหมายที่แท้จริง และรูปแบบวิธีการไปยังอัลเลาะฮ์ตาอาลา 

แนวทางที่สอง : คือ  เชื่อในอิสติวาอ์  แต่ทำการตีความ (ตะวีล)เพื่อให้มีความเข้าใจง่ายโดยสอดคล้องกับหลักภาษาอัลกุรอาน(ภาษาอาหรับ) , ตรงกับหลักของศาสนา(ไม่คัดค้านกับตัวบทที่ชัดเจนเด็ดขาดและแน่นอน) , และสอดคล้องตามหลักของสติปัญญาไปพร้อม ๆ กัน  คือตีความว่า  มันคือ "การปกครอง"  แล้วทำการมอบหมายต่ออัลเลาะฮ์สำทับอีกครั้งหนึ่ง

แนวทางที่สาม : คือ  เชื่อในอิสติวาอ์  แต่ทำการอธิบายความหมาย (ตัฟซีร) ของมันให้อยู่ในเชิงภาษาของคำแท้ตามที่มนุษย์เข้าใจกัน  ซึ่งแนวทางนี้เลือกให้อยู่ในความหมายของ  "การนั่ง"

ทำให้เข้าใจแบบง่าย ๆ คือ

แนวทางที่หนึ่ง : เชื่อในอิสติวาอฺ >-------------------->> แต่มอบหมายกับความหมายและรูปแบบวิธีการ

แนวทางที่สอง : เชื่อในอิสติวาอฺ >-------------------->>  แต่ทำการตีความอยู่ในความหมายของการปกครอง

แนวทางที่สาม : เชื่อในอิสติวาอฺ  >-------------------->> แต่อธิบายให้อยู่ในความหมายของการนั่งบนบัลลังก์

สรุป : แนวทางที่หนึ่งและสอง  คือแนวทางของอัลอะชาอิเราะฮ์  ที่สอดคล้องกับ  หลักของภาษาอาหรับ(ภาษาอัลกุรอาน) , สอดคล้องกับหลักของศาสนา , และสอดคล้องกับหลักสติปัญญา   ทำไมผมจึงบอกว่าสอดคล้องกับหลักการของศาสนา  นั่นก็เพราะว่า  การมอบหมายต่ออัลเลาะฮ์เป็นสิ่งที่ศาสนาส่งเสริม  และการตีความว่า "การปกครอง" นั้น  มีอายะฮ์และหะดิษต่าง ๆ มากมายที่มายืนยันว่า  อัลเลาะฮ์  "ทรงอำนาจปกครอง"  และพระองค์ก็ทรงพระนามว่า  المالك  (พระองค์ทรงปกครอง)

ส่วนแนวทางที่สามนั้น  อธิบายตรงกับหลักภาษาอาหรับ   แต่ไม่ตรงกับหลักการของศาสนา  ที่ผมกล่าวอย่างนั้น  เพราะว่า  ไม่มีอัลกุรอานอายะฮ์ใดและหะดิษซอฮิห์บทใด  ที่สนับสนุนและระบุยืนยันว่า "อัลเลาะฮ์ทรงนั่ง" الجالس "อัลญาลิส" และอัลเลาะฮ์ก็ไม่ทรงมีพระนามว่า  الجالس "อัลญาลิส" (พระองค์ทรงนั่ง) หรือ القاعد "อัลกออิด" (พระองค์ทรงนั่ง)

แต่แนวทางที่สาม (คือซุนนะฮ์วะฮาบีย) มักกล่าวหาว่า  แนวทางที่สองนั้นปฏิเสธซีฟัต "อัลอิสติวาอฺ" ของอัลเลาะฮ์  ซึ่งความจริงแล้วเป็นความเข้าหลักการที่ผิดพลาด  เพราะแนวทางที่สองนั้น  ไม่ได้ปฏิเสธ "อิสติวาอฺ" เลยแม้แต่น้อย  แต่พวกเขาปฏิเสธความหมายต่าง ๆ ที่แนวทางที่สามทำการอธิบายต่างหาก

5
  :salam:

อ้างถึง
เฉพาะมัซฮับอีมามชาฟีอี ในขณะที่ท่านเองยังมีชีวิตอยู่ ยังมีทัศนะ 2 ครั้งที่ไม่ตรงกัน ซึ่งทัศนะในฉบับหลังท่าน
ยืนยันว่าถูกต้องกว่า แต่ปรากฎว่าลูกศิษย์ของท่านยังถกเถียงกันต่อว่าจะยึดฉบับไหนดี จนดูหนังสือที่อธิบายทัศนะ
ต่างๆ ของในมัซฮับ ก็ยังมีความเห็นหลายส่วนขัดแย้งกัน เช่นการอ่านกุรอานให้คนตาย
ในเมืองไทยน่าจะยึดหนังสืออิอานะห์มาอธิบายเป็นหลัก ซึ่งก็ขัดแย้งกับหนังสือเล่มอื่นๆ ที่อธิบายแนวทางของ
มัซฮับอีมามชาฟีอีเช่นกัน

ถ้าผมต้องการจะสังกัดมัซฮับอีมามชาฟีอี ช่วยแนะนำแนวทางการตักลีดที่ถูกต้องตามซุนนะห์ด้วยครับ

 mycool:ในหนังสือ อัลอุม หน้า 1/282

ท่านอิมามอัชชาฟิอีย์ได้กล่าวว่า

  وَأُحِبُّ لَوْ قُرِئَ عِنْدَ الْقَبْرِ، وَدُعِيَ لِلْمَيِّتِ وَلَيْسَ فِي ذَلِكَ دُعَاءٌ مُؤَقَّتٌ

"ฉันรัก หากมีการอ่านอัลกุรอานที่กุบูร และมีการขอดุอาอ์ให้แก่มัยยิด(ผู้ตาย)  และในสิ่งดังกล่าวนั้น  ไม่มีการขอดุอาอ์(แก่มัยยิด)ได้ถูกกำหนดเวลาเอาไว้ตายตัว(คือขอดุอาให้ผู้ ตายได้ทุกเวลา)" 
ท่านอิมาม อันนะวาวีย์  ได้กล่าวอธิบายไว้ในหนังสือ  อัล-มัจญฺมั๊วะ  ของท่านว่า

يُسْتَحَبُّ لِزَائِرِ القُبُوْرِ أَنْ يَقْرَأَ مَا تَيَسَّرَ مِنَ القُرْآنِ وَيَدْعُوْ لَهُمْ عَقِبَهَا نَصَّ عَلَيْهِ الشَّافِعِيُّ وَاتَّفَقَ عَلَيْهِ الأَصْحَابُ وَزَادَ فِيْ مَوْضِعٍ آخَرَ: وَإِنْ خَتَمُوْا القُرْآنَ عَلَى القَبْرِ كَانَ أَفْضَلَ

"และสุนัตให้ผู้ไปเยี่ยมกุ บูร ทำการอ่านสิ่งที่ง่าย ๆ จากอัลกุรอานและทำการขอดุอาอ์ให้แก่เขาหลังจากเสร็จสิ้นการอ่าน  ซึ่งอิมามอัช-ชาฟิอีย์ได้ระบุมันไว้(ในหนังสืออุมมฺ)  และบรรดาสานุศิษย์ก็มีความเห็นพร้องกันต้องกันและอิมามอัชชาฟิอีย์ได้กล่าว เพิ่มในตำราเล่มอื่นอีกว่า หากพวกเขาได้อ่านจบหนึ่งจบที่กุบูร ก็จะเป็นการดียิ่ง"  ดู เล่ม 5 หน้า 276


 myGreat:นี่คือทัศนะที่แข็งแรงที่สุดและบรรดาปราชญ์ในทัศนะที่สังกัดอีม่ามชาฟีอีส่วนมากยึดถือ ฟัตวานี้เป็นส่วนใหญ่ครับ
และในขณะเดียวกันปวงปราชญ์ทั้งสี่มัสหับ ก็ถือว่าการอัลกรุอ่านฮีดายะให้มัยยัตินั้นถึงแก่ผู้ตาย

สมารถดูจากลงค์นี้ได้ครับ
http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php/topic,2356.msg16094.html#msg16094

6
 :salam:   
นำมาปัดฝุ่นใหม่ครับ

อยากให้พี่น้องช่วยตัดสินด้วยว่าระหว่างอะกีดะของอาชาอิเราะกับอากีดะของวาฮาบีใครคือผู้ตามสลัฟที่แท้จริงกันแน่

http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php/topic,300.0.html


7
http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php/topic,10290.msg109353/topicseen.html#msg109353

http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php/topic,10290.msg109356/topicseen.html#new


 fouet:ดูกระทู้นี้ซิครับว่า MR.WISDOM ผู้นี้เข้าข่าย ลัทธิกอดยานีนะย์ เต็ๆม ใช่หรือไม่
 
    อะ....ช่วยโหวตให้MISTER WISDOM  หน่อยครับ   พี่น้อง party:

8
แสดงว่าใจคุณยังปิดและคับแคบที่จะเรียนรู้   คุณไม่ละอายใจบ้างหรือหนังสือฮะดิสที่คุณคิดว่ามันเพียงพอแล้วสำหรับคุณนั้น  ไม่ว่า ซอเหียะ บุคอรี มุสลิม  สุนันอบูดาวุด อัตตัซมีซีย์ อิบนุมาญะ อบูดาวูด       เขาเหล่าต่างมีหรือยึดตามมัซหับทั้งนั้น   mycryผมสงสารคุณจริงๆๆ

9
 :salam:
อ้างถึง
2. แตคำว่า สังกัด ในความคิดของผม การยึดติด หรือ ตะอัดซุบ และเป็นการตัดลีด ซึ่งในทัศนะของผม การตักลีด หมายถีง การตามแบบมึดบอดคีอไม่รู้ที่มาที่ไปในเรื่องนั้น ๆ ซึ่ง
  yippy: งั้นแสดงว่าคุณroy4 เข้าใจคลาดเคลื่อนตั้งแต่คำนิยามคำว่าทัศนะ  แล้วครับ ไม่เป็นไร ผมจะทบทวนให้อีกที

มัซฮับตามหลักภาษา  หมายถึง  ที่ไป  หรือ ทางไป    ตามหลักวิชาการ  หมายถึง  ข้อเท็จจริงที่เกียวกับธรรมเนียมในเชิงปฏิบัติของปวงปราชญ์ที่ถูกนำมาใช้กับฮุ กุ่มต่างๆ  ที่อิมามในขั้นระดับมุจญฮิดได้วินิจฉัยออกมา  หรือหมายถึงฮุกุ่มต่างๆ  ที่ได้วินิจฉัยออกมาตรงตามกฎเกณฑ์และหลักการของอิมามที่อยู่ในขั้นระดับมุ จญฮิด  โดยบรรดาสานุศิษย์ที่อยู่ในระดับมุจญฮิดที่ปฏิบัติตามหลักการต่างๆ  ของอิมามในการวิเคราะห์วินิจฉัยฮุกุ่มออกมา
 wink:การมีมัซฮับหรือการตามมัซหับหรือการสังกัดมัซหับตามความที่กล่าวมานี้  จึงหมายถึง  หนทางหรือแนวทางของบรรดาปวงปราชญ์ได้ยึดถือปฏิบัติกัน  ไม่ว่าจะเป็นนักหะดิษ  นักนิติศาสตร์  นักธิบายอัลกุรอาน  และอักษรศาสตร์  ซึ่งในเรื่องนี้นั้น  ไม่มีนักวิชาการท่านใดที่โลกยอมรับจะให้การปฏิเสธ  เพราะท่านจะพบว่า  บรรดานักวิชาการทั้งหลายเขาปฏิบัติตามมัซฮับที่ตนพึงพอใจทั้งสิ้นโดยเขานำมา ฟัตวาและตัดสินแก่ผู้คนทั้งหลาย

ดังนั้นการตามหรือยึดถือตามมัซหับหนึ่งมัซหับใดก็คือ การยึดคำวินิจฉัยของปราญชระดับมุจญฮิดซึ่งก็ล้วนเอามาจากอัลกรุอ่านและอัชซุนนะทั้งหมด แล้ววินิจฉัยกลั่นกรองออกมาเป็นฮูกมต่างๆ     เพราะสมัยท่านนบีการกำหนดฮุกมต่างๆนั้นยังไม่มีการบันทึกเพิ่งหลังทีท่านนบี(ซล)จากไปแล้ว  ในสมัยของซอฮาบะและช่วงของตาบีอีน ซึ่งจะเห็นว่าแม้กระทั่ง ซอฮาบะยังยึดหรือตามมัสหับหรือแนวทางของบรรดาซอฮาบะด้วยกันโดยเฉพาะผู้ที่มีความรู้บางคน เช่น ถ้าเมืองมาดีนะ,มักกะก็จะยึดคำวินิจฉัยของท่านอิบนุอุมัร(รด) เเต่ถ้าในเมืองกูฟะ ก็จะตามทัศนะหรือยึดคำวินิจฉัยของท่านอิบนุอับบาส ถ้าแถวเมืองชามก็ยึดคำวินิจฉัยของ ท่านอิบนุมัสอูดฯลฯเป็นต้น

เพราะบรรดาซอฮาบะส่วนมากก็ใช่ว่าจะมีความรู้เท่าเทียมกันหมด เขาจำเป้นต้องมีหรือตามทัศนะใดทัศนะหนึ่งที่เขาต้องการและง่ายสำหรับเขาและใกล้กับบรรดาผู้รู้ของเขา  ดังที่เรารับทราบว่าเหล่าซอฮาบะนั้นมีทั้งคนเก่ง คนฉลาด คนซื่อ คนความจำดี คนขี้ลืม หรือคนหนุ่ม คนสาวและทั้งหญิงและชายฯลฯ ซึ่งเขาไม่มีความสามารถที่จะเรียนรู้ถึงระดับขั้นวินิจฉัยตัวบทจากอัลกรุอ่านและอัลอาดิสได้เอง  และการรับรู้อัลกรุอ่านและอัลฮาดิสก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะรับทราบเหมือนกันหมดเลยทีเดียว

[
อ้างถึง
อีหม่ามฮานาฟี เคยกล่าวไว้ว่า (ผมไม่จำชื่อหนังสือ) อย่านำคำพูดของฉันไปอ้าง ถ้าไม่รู้หลักฐานหรือที่ไปที่มาของมัน
หนังสืออะไรหรือ
-อีหม่ามชาฟีอีได้กล่าวว่า (เรียนรู้จากผู้รู้)ถ้าคำของฉันไปขัดแย้งกับคำพูดของท่านรอซูล ก็ให้ทิังคำพูดของฉันและไปยึดคำพูดของท่านรอซูล

 party:นี่ก็คุณเข้าใจผิดอีกครับ เพราะคำพูดนี้คือ เป็นคำพูดที่ท่านอีม่ามชาฟีอี(รฮ)พูดกับศานุสิษย์ของท่านขณะที่ถามถึงปัญหาต่างๆที่เกี่ยวการระดับของการรับรู้ฮาดิส  และในทางตรงกันข้าม เราจะพบว่า ไม่มีใดคำพูดทีท่านอีม่ามชาฟีอี(รฮ)ขัดแย้งกับกีตาบุลลอฮ์และอัชซุนนะ ไม่มีเลย

อ้างถึง
-ท่านอีหม่ามฆอซาลี ได้ตำหนิ การตักลีดว่า การตามที่มืดบอด ( blind following) หรือเป็นความเชื่อมือสอง ( second hand belief) (ผมจำชื่อหนังสือไม่ได้เช่นกัน แต่เป็นฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าจำไม่ผิดชื่อหนังสือขึ้นต้นด้วยคำว่า ฮีดายะฮ์...)

 party:ท่านอีม่ามอัลคอซาลี(รฮ) พูดเกี่ยวกับคนโง่ที่ตักลีดเหมือนคนตาบอดไม่ยอมศึกษาที่มาที่ไป  ทั้งที่มีความสามารถอ่านออกเขียนได้ แต่ไม่ศึกษาหาความรู้ก่อน ที่มีการตักลีดหรือตาม แต่ท่านไม่ปฏิเสธในเรื่องการยึดหรือตามทัศนะเพราะท่านก็ยึดทัศนะของอีม่ามชาฟีอี(รฮ)รวมทั้งท่านก็สนับสนุนให้บรรดาศิษย์ของท่านในเรื่องการตามมัซหับด้วย

3
อ้างถึง
. การยึดติดกับมัสฮับจะทำให้การปฏิบัติยุ่งยากหรือไม่ ตัวอย่างเช่น การละหมาดการตามมัสฮับ บางครั้งทำให้ยุ่งยากในการปฎิบัติหรือไม่ เช่น เราละหมาดตามหลังอีหม่ามฮะนาฟีที่เพิ่งกระทบกับภรรยามาได้ใหม หรือตามหลังอีหม่ามมาลีกีที่ได้กระทบสุนัขได้ใหม (และถ้าละหมาดซุบฮีตามทัศนะของเขา อีหม่ามเหล่านี้ไม่อ่านกูนุตด้วย) อันนี้เคยเกิดขึ้นกับตัวผม เพื่อนของผมเคยปฏิเสธที่จะไปละหมาดญุมอัดที่มัสยิดปากีสถานทั้งๆที่ใกล้กว่า
4.  ถ้าเราตามมัสฮับ เช่นตามอีหม่ามชาฟีอี สมมุติไปขัดแย้งกับสุนนะฮ์นบี เช่น การกระทบภรรยาเสียน้ำละหมาด ซึ่งท่านอีหม่ามชาฟีอี แปลตรงตัวว่าสัมผัสของผิวหนัง แต่อีหม่ามอื่น เช่นฮานาฟี หมายถึงการมีเพศสัมพันธ์ และยังมีฮาดีสอีกมากมายเกี่ยวกับเรี่องนี้ ถ้าเป็นเช่นนี้ เราจะตามทัศนะของอีหม่ามดีหรือตามสุนนะฮ์ ดีครับ

 hihi:คุณroy4ครับ  การวินิจฉัยเรื่องการเสียน้ำละหมาดไม่ใช่เรื่องของความขัดแย้งกับซุนนะเกาลียะ หรือเฟียะลียะเลยแต่มันมาจากการวินิฉัยตัวบทจากอัลกรุอ่านที่แตกต่างกันต่างหาก  กรุณาไปดูกระทู้การกระทบกันเสียน้ำละหมาดหรือไม่ในเมื่อฮาดิสนั้นไม่สามารถตัดสินความชัดเจนได้   เพราะเรื่องนี้ มันเกิดจากการเข้าใจตัวบทเดียวกันยที่แตกต่างกันตั้งแต่สมัยซอฮาบะแล้ว ท่านอิบนุอับาส วินิจฉัยและตะวีลความหมายคำว่าลามัสตุมบอกว่าเรื่องการกระทบซูเราะอัลบากอเราะดังกล่าวนั้นหมายถึงการมีเพศสัมพันธ์  ท่านอิบนุอุมัร  วินิจฉัยและตะวีลความหมายคำว่าลามัสตุมท่านแปลตามตัวตรงซึ่งแปลว่า เรื่องการกระทบซูเราะอัลบากอเราะดังกล่าวนั้นหมายถึงการสัมผัส

และนี้คือคำตอบจากอ.จอาลี  เสือสมิง

บุคคลที่จะเลือกเอาประเด็นปัญหาศาสนาจากมัซฮับอื่น ๆ นั้น นักวิชาการในภาควิชาอุซูลุลฟิกฮฺ(หลักมูลฐานนิติศาสตร์อิสลาม) ได้ระบุเงื่อนไขที่จำต้องคำนึงถึงเอาไว้หลายประการด้วยกัน ดังนี้


1. ประเด็นปัญหาศาสนานั้นต้องอยู่ในหมวดของประเด็นปัญหาที่มีการวิเคราะห์โดยกำลังสติปัญญา (อิจติฮาดียะฮฺ) และไม่เด็ดขาด (ซ็อนฺนียะฮฺ) ส่วนเรื่องที่รู้กันโดยภาวะจำเป็นจากหลักการศาสนา อันเป็นสิ่งที่มีมติเห็นพ้อง (อิจญฺมาอฺ) และผู้ปฏิเสธเรื่องนั้น ๆ ถือเป็นผู้ปฏิเสธ ย่อมใช้ไม่ได้ในการเลือกเอาทัศนะที่ค้านกับเรื่องดังกล่าวมาปฏิบัติเพราะเป็นเรื่องที่มีตัวบทชัดเจนและเด็ดขาด (ก็อฏอียะฮฺ) ซึ่งกรณีนี้ไม่อนุญาตให้ใช้การวิเคราะห์โดยกำลังสติปัญญา ทั้ง ๆ ที่มีตัวบท


ดังนั้นจีงไม่อนุญาตให้ตัลฺฟีก หรือ ตักลีดฺ ซึ่งจะนำพาไปสู่การอนุมัติสิ่งที่ถูกบัญญัติห้ามเอาไว้ เช่น การดื่มของหมักที่ทำให้มึนเมาและการทำซินา เป็นต้น (อุซูลุลฟิกฮฺ อัลอิสลามีย์, ดร.วะฮฺบะฮฺ อัซซุฮัยลีย์, ดารุ้ลฟิกร์ (1996) เล่มที่ 2 หน้า 1144)

นอกจากนี้เรื่องที่เกี่ยวกับหลักศรัทธา (อะกออิด) การศรัทธา (อีมาน) และจริยธรรม (อัคล๊าก) ก็ไม่อนุญาตให้เช่นกัน (อ้างแล้ว 2/1150 โดยสรุป)



2. จะต้องไม่เป็นไปเพื่อการติดตามเสาะหาข้ออนุโลม (อัรรุค็อซฺ) ต่าง ๆ โดยเจตนาทั้ง ๆ ที่ไม่มีความจำเป็นถึงขึ้นวิกฤติ (ฎ่อรูเราะฮฺ) และอุปสรรคขัดข้อง (อุซฺร์) การกระทำเช่นนี้เป็นที่ต้องห้ามทั้งนี้เพื่อเป็นการปิดหนทางต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่ความเสียหายโดยทำลายข้อบังคับอันเป็นภารกิจทางศาสนบัญญัติ (อ้างแล้ว 2/1148 โดยสรุป)



3. การเลือกประเด็นข้อปัญหานั้น ๆ จะต้องไม่ทำลายคำตัดสินชี้ขาดของผู้เป็นฮากิม (ผู้ปกครอง) ทั้งนี้เพราะคำตัดสินของผู้ปกครองถือเป็นสิ่งยกเลิกข้อขัดแย้งทั้งปวงเพื่อป้องกันความวุ่นวายสับสนที่จะเกิดขึ้นได้ และประเด็นข้อปัญหานั้น ๆ จะต้องไม่เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความจำเป็นในการถอนตัวจากสิ่งที่เขาได้ปฏิบัติสิ่งนั้นไปแล้วโดยการถือตาม (ตักลีด) (อ้างแล้ว 2/1149 โดยสรุป)



4. จะต้องถือตามทัศนะที่กล่าวถึงประเด็นข้อปัญหานั้นเนื่องจากมีหลักฐานยืนยัน ดังนั้นบุคคลผู้นั้นจะต้องไม่เลือกเอาทัศนะที่อ่อนหลักฐานของมัซฮับต่าง ๆ แต่ให้ถือเลือกทัศนะที่มีหลักฐานแข็งแรงที่สุด  ตลอดจนไม่ถือตามคำฟัตวาที่แหวกแนว (ช๊าซฺ) อีกทั้งผู้นั้นจำต้องรู้ถึงแนวทางต่าง ๆ ของมัซฮับที่เขาเลือกนำเอามาปฏิบัติ (อุซูลุลฟิกฮฺ ; อิหม่ามมุฮำมัด อบูซะฮฺเราะฮฺ ; ดารุ้ลฟิกร์ อัลอะรอบีย์ ; หน้า 379 โดยสรุป) และส่วนนี้เป็นคำตอบสำหรับคำถามของคุณ adam ในข้อ 2 ที่ถามว่า จำเป็นไหมที่จะต้องรู้ว่า การกระทำอย่างนี้เป็นของมัซฮับใด?


5. จะต้องพยายามอย่างสุดความสามารถในการที่จะไม่ละทิ้งข้อปัญหาที่เห็นพ้องไปปฏิบัติข้อที่มีทัศนะเห็นต่าง (อ้างแล้ว หน้าเดียวกัน)


6. จะต้องไม่ถือตามอารมณ์ของผู้คน หากแต่จำต้องถือตามสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้ (อัลมัซละฮะฮฺ) และหลักฐาน (อ้างแล้ว หน้า 380) เงื่อนไขที่กล่าวมาข้างต้นทั้ง 6 ข้อนี้เป็นคำตอบสำหรับคำถามของคุณ adam ที่ถามว่า “มีเงื่อนไขในการตามมัซฮับอื่นหรือไม่?”



ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ (ร.ฮ.) กล่าวว่า : ย่อมไม่มีสิทธิสำหรับผู้หนึ่งผู้ใดในการที่เขาจะยึดเอามัซฮับที่เห็นต่างโดยอารมณ์ (ชะฮฺวะฮฺ) และบุคคลทั่วไป (อามมีย์) ย่อมไม่มีสิทธิในการที่เขาจะเลือกเฟ้นจากบรรดามัซฮับทั้งหลายในทุกข้อประเด็นปัญหาที่ดีที่สุดสำหรับเขาผู้นั้นและลามปามเปิดกว้าง ...” (อัลมุสตัซฟา 2/125) และย่อมเข้าสู่ภายใต้ขอบข่ายของชนิดนี้โดยสมควรอย่างยิ่งคือการเสาะแสวงหาติดตามข้ออนุโลมต่าง ๆ เพื่อความเพลิดเพลินและการยึดเอาคำกล่าวที่อ่อนหลักฐานจากทุก ๆ มัซฮับโดยถือตามความพอใจและอารมณ์ (อุซูลุลฟิกฮฺ อัลอิสลามีย์ ; ดร.วะฮฺบะฮฺ อัซซุฮัยลีย์ เล่มที่ 2 หน้า 1148-1149)


นี่คือคำตอบสำหรับคำถามข้อที่ 3 ซึ่งคุณ adam ถามมาว่า “การเลือกทำในบางอย่างที่ตรงกับความพอใจของเราจะได้ไหม?”  (กล่าวคือ ทัศนะที่จะเลือกมาปฏิบัติและยึดถือนั้นต้องมีหลักฐานที่แข็งแรงถูกต้องมาสนับสนุนความพอใจหรือการที่เห็นว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งดีและปฏิบัติได้นั้นต้องเป็นไปตามหลักการ อันเป็นวิชาการมิใช่อาศัยอารมณ์หรือการต้องจริตมาเป็นบรรทัดฐาน


และผู้ใดอาบน้ำละหมาดและเช็ดศีรษะโดยถือตาม (ตักลีด) อิหม่ามอัชชาฟิอีย์ (ร.ฮ.) การอาบน้ำละหมาดของผู้นั้นถือว่าใช้ได้ ต่อมาเมื่อเขาผู้นั้นไปกระทบอวัยวะเพศของเขาในภายหลังโดยถือตามอิหม่ามอบูฮะนีฟะฮฺ (ร.ฮ.) ก็อนุญาตให้ผู้นั้นละหมาดได้ ทั้งนี้เพราะการอาบน้ำละหมาดของผู้ถือตามคนนี้ใช้ได้โดยมติเห็นพ้อง ทั้งนี้เพราะการสัมผัสอวัยวะเพศไม่ทำให้เสียในทัศนะของอิหม่ามอบูฮะนีฟะฮฺ (ร.ฮ.) ดังนั้นเมื่อบุคคลหนึ่งถือตามอิหม่ามของอบูฮะนีฟะฮฺ (ร.ฮ.) ในการไม่มีการทำลายสิ่งที่ถูกต้องในทัศนะของอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ (ร.ฮ.) การอาบน้ำละหมาดของผู้นั้นก็ยังคงอยู่ตามสภาพของมันด้วยการถือตาม (ตักลีด) อิหม่ามอบูฮะนีฟะฮฺ และในขณะนั้นจะไม่ถูกกล่าวว่า : แท้จริงการอาบน้ำละหมาดนั้นใช้ไม่ได้เนื่องจากการเสียน้ำละหมาดในทั้ง 2 มัซฮับ

ทั้งนี้เพราะประเด็นปัญหาทั้งสองเป็นกรณีที่แยกจากกัน เพราะการอาบน้ำละหมาดนั้นสมบูรณ์แล้ว โดยใช้ได้ด้วยการถือตามอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ (ร.ฮ.) และการอาบน้ำละหมาดก็ยังคงอยู่เรื่อยไปหลังการกระทบสัมผัสอวัยวะเพศนั้นด้วยการถือตามอิหม่ามอบูฮะนีฟะฮฺ (ร.ฮ.) ดังนั้นการถือตามอิหม่ามอบูฮะนีฟะฮฺ (ร.ฎ.) จึงเป็นไปในการคงอยู่ของการใช้ได้ มิใช่ในตอนเริ่มของมัน (ดูอุซูลุลฟิกฮฺ อัลอิสลามีย์ อ้างแล้ว เล่มที่ 2 หน้า 1146)


ท่านอิบนุอับาส วินิจฉัยและตะวีลความหมายคำว่าลามัสตุมบอกว่าเรื่องการกระทบซูเราะอัลบากอเราะดังกล่าวนั้นหมายถึงการมีเพศสัมพันธ์  ท่านอิบนุอุมัร  วินิจฉัยและตะวีลความหมายคำว่าลามัสตมท่านแปลตามตัวตรงซึ่งแปลว่า เรื่องการกระทบซูเราะอัลบากอเราะดังกล่าวนั้นหมายถึงการสัมผัส

อ้างถึง
5.การไม่สังกัดมัสฮับ คือการที่เรายึดตามสุนนะฮ์ โดยศึกษาดูจากหลักฐานที่แข็งแรง โดยไม่ยึดติดหรือตะอัซุบกับทัศนะของอีหม่าม ซึ่งถ้าจะดูฟีกฮ์หลักปฎิบัติของกลุุ่มสุนนะฮ์ที่ไม่ตักลีดแล้ว ก็ไม่มีอะไรไปขัดแย้งกับสี่มัสฮับนี้เลย เช่นการไม่เสียน้ำละหมาดเมื่อกระทบภรรยา ก็ตรงกับฮานาฟี การสัมผัสสุนัขได้ ตรงกับมาลีกี (คือให้ล้างเจ็ดน้ำ หนึ่งในนั้นเป็นน้ำดินกับภาชนะที่สุนัขเลียเท่านั้น) การอ่านบิสมิลละฮ์ เบา ๆ ก็ตรงกับอีหม่ามท่านอื่น ๆนอกเหนือจากชาฟีอี และอีกหลาย ๆเรื่องเมื่อศึกษาไปมันก็อยู่ในทัศนะของสี่อีหม่ามทั้งสิ้น ดั้งนั้น ถ้าเราตามฟักฮ์สุนนะ ได้ใหม คือเอากุรอานและฮาดิสเป็นหลักและเอาทัศนะอุลามาไว้ทีหลัง ซึ่งความจริงทั้งสี่อีหม่ามก็เอากุรอานและฮาดิสเป็นหลักอยู่แล้ว แต่อาจขัดแย้งในเรื่องการตีความและการยึดฮาดิสของละอีหม่าม
ทั้งหมดนี้คือทัศนะของผมครับ ขอขอบคุณด้วยความจริงใจอีกครั้ง หวังว่าจะได้รับเรื่องที่เป็นวิทยาทานต่อไป แต่ขอเรียนให้ทราบก่อนนะครับว่า ผมไม่ได้จบจากสายศาสนาโดยตรง และไม่ค่อยมีความรู้ภาษาอาหรับ


 boulay:ถ้าคุณคิดว่าการมีมัสหับเป็นเรื่องไร้สาระและยุ่งยากก็แสดงว่า บรรดาสลัฟช่าง300ปีก็หลุ่มหลง ทั้งหมดใช่หรือไม่  เพราะคุณว่า ไม่จำเป็นต้องตามหรือยึดถือ ทั้งที่เขาเหล่านั้นมีความรู้มากกว่าคุณมากมายนัก

ปวงปราชญ์มัซฮับหะนะฟีย์

ท่านอิมามอบูยูซุฟ , ท่านอิมามมุหัมมัด บิน อัล-หะซัน , ท่านอับดุลเลาะฮ์ บิน อัลมุบาร๊อก , ท่านซุฟัร , ท่านญะฟัร อัฏเฏาะหาวีย์ , ท่านอัซซัรค่าชีย์ , อันนะซะฟีย์ , อะห์มัด บิน มุหัมมัด อัลบุคอรีย์ , ท่านอัซซัยละอีย์ , ท่านอัลกะมาล บิน อัลฮุมาม , ท่านอิบนุ อันนุญัยม์ , ท่านอิบนุอาบิดีน ,  และบรรดาปวงปราชญ์อีกหลายพันคนที่ได้ถูกบันทึกไว้ในหนังสือประวัติส่วนบุคคล ในมัซฮับหะนะฟีย์  ที่มีชื่อว่า  ฏ่อบะก๊อต  อัลหะนะฟียะฮ์  ถ้าจะพิจารณาประเทศต่างๆ  ที่ปฏิบัติตามมัซฮับหะนะฟีย์โดยส่วนใหญ่แล้ว  คือ  อินเดีย  ปากีสถาน  บังคลาเทศ  สินธุ  อัฟกานิสถาน  กลุ่มประเทศอาหรับในแถบชาม  เช่นซีเรีย  อิรัก  และกลุ่มประเทศยุโรป  ก็คือตามมัซฮับหะนะฟีย์ทั้งสิ้น

ปวงปราชญ์มัซฮับมาลิกีย์

ท่านอิมามอิบนุ อัลกอซิม , ท่านอัลอัชฮับ , ท่านซั๊วะหฺนูน , ท่านอะซัด บิน อัลฟุร๊อด ,  ท่านอัซบั๊ฆฺ , ท่านอิบนุ อับดุลบัรร์ , ท่านกอฏีย์ อัลอิยาฏ , ท่านอิบนุ อัลอะรอบีย์ อัลมาลิกีย์ , ท่านอบูบักร  อัฏฏุรฏูชีย์ , ท่านอิบนุ อัลหาญิบ , ท่านอิบนุ อัลมุนัยยิร , ท่านอิบนุ รุชด์ , อัลบากิลลานีย์ , ท่านอัลบาญี , ท่านอัลกุรฏุบีย์ , ท่านอัลกุรอฟีย์  , ท่านอัชชาฏิบีย์ , ท่านอิบนุ คอลดูน , และบรรดาปวงปราชญ์อีกหลายท่านที่ถูกรวมอยู่ในตำรับตำราที่เกี่ยวกับประวัติ ส่วนบุคคลของมัซฮับมาลิกีย์  ซึ่งเรียกว่า  “ฏ่อบะก๊อต มาลิกียะฮ์”  นักปราชญ์เหล่านี้อยู่ในมัซฮับของอิมามมาลิกทั้งสิ้น  และท่านสามารถกล่าวได้ว่า  นักปราชญ์แห่งเมืองต่างๆ  ในกลุ่มประเทศอาหรับตะวันตกในทวีปอาฟริกา  เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 แห่งฮิจเราะฮ์  จวบจนถึงทุกวันนี้  ได้ยึดถือตามมัซฮับมาลิกีย์ทั้งสิ้น

ปวงปราชญ์มัซฮับอิมามชาฟิอีย์

ท่านอิมามอัลมุซะนีย์ , ท่านอิมามอัลบุวัยฏีย์ , ท่านอิบนุ อัลมุนซิร , ท่านมุหัมมัด บิน ญะรีร อัฏฏ๊อบรีย์ , ท่านอิบนุ สุรัยจฺญ์ , ท่านอิบนุ คุซัยมะฮ์ , ท่านอัลก๊อฟฟาล , ท่านอัลบัยฮะกีย์ , ท่านอัลค๊อฏฏอบีย์ , ท่านอบู อิสหาก อัลอัสฟิรอยีนีย์ , ท่านอบู อิสหาก อัชชีรอซีย์ , ท่านอัลมาวัรดีย์ , ท่านอบูฏ๊อยยิบ อัศเศาะลูกีย์ , ท่านอบูบักร อัลอิสมาอีลีย์ , ท่านอิมาม อัลหะร่อมัยน์ , ท่านหุจญฺตุลอิสลาม อัลฆ่อซาลีย์ , ท่านอัลบะฆอวีย์ , ท่านอัรรอฟิอีย์ , ท่านอบู ชามะฮ์ , ท่านอิบนุ ริฟอะฮ์ , ท่านอิบนุ ศ่อลาห์ , ท่านอิมามอันนะวาวีย์ , ท่านอิซซุดีน บิน อับดุสลาม , ท่านอิบนุ ดะกีก อัลอีด , ท่านอัลหาฟิซฺ อัลมุซซีย์ , ท่านตายุดดีน อัศศุบกีย์ , ท่านอัซซะฮะบีย์ , ท่านอิรอกีย์ , ท่านอัซซัรกาชีย์ , ท่านอิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย์ , ท่านอัสศะยูฏีย์ , ท่านชัยคุลอิสลาม ซะกะรียา อัลอันซอรีย์ , และบรรดานักปราชญ์อีกเป็นพันๆ  ที่ไม่สามารถเอ่ยนามพวกเขาได้ทั้งหมด  และบรรดานักปราชญ์มัซฮับชาฟิอีย์ได้ถูกระบุไว้ในหนังสือ “อัฏฏ่อบะก๊อต อัชชาฟิอียะฮ์” ก็มีถึง 1419 ท่าน

ปวงปราชญ์มัซฮับหัมบาลีย์

ท่าน อิมามอาญุรรีย์ , ท่านอบู อัลค๊อฏฏอบ อัลกัลป์วาซะนีย์ , ท่านอบูบักร อันนัจญาร , ท่านอบูยะอฺลา , ท่านอัลอัษรอม , ท่านอิบนุ อบีมูซา , ท่านอิบนุ อัซซ๊อยรอฟีย์ , ท่านอิบนุ ฮุบัยเราะฮ์ , ท่านอิบนุ อัลเญาซีย์ , ท่านอิบนุ ตัยมียะฮ์ , ท่านอิบนุ รอญับ , ท่านอิบนุ รุซัยน์ , ท่านอิบนุรอญับ , และบรรดานักปราชญ์ท่านอื่นๆ อีกมากมาย  และนักปราชญ์มัซฮับหัมบาลีย์ที่ได้ถูกกล่าวไว้ในหนังสือ “อัลมักซิด อัลอัรชัด” มีถึง 1315 ท่าน

ดังนั้น  ประชาชาติอิสลามศตวรรษแล้วศตวรรษเล่าได้ให้การยอมรับในการตักลีดตามนัก ปราชญ์มุจญฮิดผู้วินิจฉัย  ทั้งที่ในสิ่งดังกล่าวนี้  ก็ไม่ใช่เป็นความคลั่งไคล้และแบ่งพรรคแบ่งพวก  แต่ความเป็นพี่น้องในศาสนา  จึงทำให้พวกเขาอยู่ร่วมกัน  และบรรดาวงล้อมที่ทำการศึกษาวิชาความรู้  ก็ได้สมานฉันท์พวกเขาเอาไว้  พวกเขาต่างศึกษาความรู้ซึ่งกันและกัน  และยกย่องสรรเสริญกันและกัน  โดยที่ท่านเกือบจะไม่พบถึงประวัตินักปราชญ์มัซฮับ  หะนะฟีย์  มาลิกีย์  ชาฟิอีย์ และหัมบาลีย์  นอกจากว่า  ปราชญ์ท่านหนึ่งได้เคยเป็นศิษย์และศึกษากับบรรดานักปราชญ์ที่ไม่ได้อยู่ใน มัซฮับของเขา

10
อ้างถึง
ขออณุญาตแสดงความคิดเห็นด้วยคน
1. น่าเลียนแบบตามข้อนี้ด้วย เพราะรอซูลเคยกล่าวว่า ความว่า" พวกท่านอย่ายกย่องฉันเหมือนกับพวกนัสรอนียกย่องศาสดาของพวกเขา"
แต่ถ้าไม่ทำไม่รู้เขาจะว่า เราไม่รักหรือสรรเสริญท่านศาสดาหรือเปล่า ชนรุ่นก่อนรวมทั้งอีหม่ามทั้งสี่ ยังไม่รู้จักเลย และท่านรอซูลได้บอกสำนวนการสรรเสริญให้ท่านในฮาดิสก็มี และ
:ameen:ก็แน่อยู่แล้วนี่ครับ เราไม่ได้ยกย่องเหมือนพวกนัสรอนี เพราะพวกนี้จะยกย่องว่า เยซุคือพระเจ้า แต่เราเชื่อว่าท่านนบีคือคนธรรมดาที่พระองค์เลือกเฟ้นมาเป็นศาสนทูต   ฉนั้นฮาดิสนี้จึงไม่ได้คัดค้านกับผู้ที่ดีใจปลื้มปิติที่ท่านนบีได้ถูกส่งมาเพื่อมนุษยชาติในโลกนี้และท่านก็ มุฮำมัดรอซุ้ลลัลลอฮ์

อ้างถึง
ยิ่งอ่านบัรซันญีที่เต็มไปด้วยเรื่องปรัมปรา ยกเว้นประวัติของท่านที่ถูกต้อง ส่วนที่เหลือไม่รู้มาจากไหน เช่นการมาของอาซียะภรรยาของฟีรอูนและนางมารียัม มารดาของท่านนบีอีซา ในวันที่นางอามีนะฮ์คลอดท่านรอซูล  ทั้งคนอ่านคนฟังไม่รู้เรื่อง (ผมเองก็ไม่ได้รู้ทั้งหมด แต่มีผู้รู้ที่เชี่ยวชาญภาษาอาหรับแปลให้ฟัง)


การอ่านบัรซัญญีไม่ได้ผลบุญก็จริงแต่มันเต็มไปด้วยประวัติบางตอนของท่านนบีที่นักแต่งที่นำมาจากฮาดิสแล้วเรียบเรียงเนื้อหา มันไม่ใช่นิยายปรัมปราที่หลอกเด็กที่คุณเข้าใจ และถ้าคนฟังเข้าใจก็จะเพิ่มความรู้ในการรู้จักประวัติของท่าน  เพราะท่านนบีไม่เคยห้ามผู้ที่เป็นนักกวีหรือนักประพันธ์โคลงต่างๆที่ส่งเสริมด้านความรู้ในศาสนา     ท่านยังได้กล่าวในฮาดิสว่า แท้จริงในบทกวีนั้นมีฮิกมะของมัน...

ที่มาเรื่องเมาลิดถ้าอยากรู้ก็อ่านให้หมดซิ
http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php/topic,17.msg49.html#msg49

http://www.sunnahstudents.com/main/content/152

11

 :salam: คุณROY4kind 
 ก่อนอื่นอยากให้คุณได้อ่านตรงนี้อย่างละเอียดก่อน แล้วช่วยชี้แจงด้วยทีว่า คุณคิดอย่างไรกับสิ่งที่ยกมาให้อ่าน
       นิยามของมัซฮับ

มัซฮับตามหลักภาษา  หมายถึง  ที่ไป  หรือ ทางไป    ตามหลักวิชาการ  หมายถึง  ข้อเท็จจริงที่เกียวกับธรรมเนียมในเชิงปฏิบัติของปวงปราชญ์ที่ถูกนำมาใช้กับฮุ กุ่มต่างๆ  ที่อิมามในขั้นระดับมุจญฮิดได้วินิจฉัยออกมา  หรือหมายถึงฮุกุ่มต่างๆ  ที่ได้วินิจฉัยออกมาตรงตามกฎเกณฑ์และหลักการของอิมามที่อยู่ในขั้นระดับมุ จญฮิด  โดยบรรดาสานุศิษย์ที่อยู่ในระดับมุจญฮิดที่ปฏิบัติตามหลักการต่างๆ  ของอิมามในการวิเคราะห์วินิจฉัยฮุกุ่มออกมา

การมีมัซฮับตามความที่กล่าวมานี้  จึงหมายถึง  หนทางหรือแนวทางของบรรดาปวงปราชญ์ได้ยึดถือปฏิบัติกัน  ไม่ว่าจะเป็นนักหะดิษ  นักนิติศาสตร์  นักธิบายอัลกุรอาน  และอักษรศาสตร์  ซึ่งในเรื่องนี้นั้น  ไม่มีนักวิชาการท่านใดที่โลกยอมรับจะให้การปฏิเสธ  เพราะท่านจะพบว่า  บรรดานักวิชาการทั้งหลายเขาปฏิบัติตามมัซฮับที่ตนพึงพอใจทั้งสิ้นโดยเขานำมา ฟัตวาและตัดสินแก่ผู้คนทั้งหลาย

ท่าน มุฮัมมัด  อัลค่อฏิร  อัชชันกีฏีย์  ซึ่งเป็นปรมจารณ์แห่งปวงปราชญ์  ได้กล่าวไว้ในหนังสือที่มีชื่อว่า  “ก๊อมอุ  อะฮ์ลิลอิจญฮาด  อัน อัฏเฏาะอฺนิ  ฟี  ตักลีด อะอิมมะฮ์  อัลอิจญฮาด”  หน้าที่  75  ว่า  “ส่วน เรื่องการที่คนเอาวามต้องปฏิบัติตามผู้รู้ที่เป็นมุจญฮิดนั้น  มีหลักฐานจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์  และยังเป็นมติแห่งปวงปราชญ์ใน 3 ศตวรรษแรกของอิสลามที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นประชาชาติที่ดีเลิศจากท่านนบี (ซ.ล.) ผู้ทรงสัจจะและได้ถูกรับรองความสัจจะจากอัลเลาะฮ์(ซ.บ.)  รวมทั้งมติของปวงปราชญ์แห่งโลกอิสลามหลังจากนั้น  นอกจากความขัดแย้งของกลุ่มมั๊วะตะซิละฮ์ที่อยู่ในกรุงแบกแดดที่มาขัดมติของปวงปราชญ์ตลอดยุคสมัยที่ผ่านมา

ความจริงแล้ว  การตักลีดเป็นที่ระบือในยุคสมัยของซอฮาบะฮ์ผู้มีเกียรติและไม่มีซอฮาบะฮ์คน ใดที่ปฏิเสธเรื่องนี้หรอก  เพราะท่านอิมาม อิบนุ หะญัร อัลอัสก่อลานีย์  ซึ่งเป็นอะมีรุลมุอ์มินีนนั้น(หมายถึงผู้ที่จดจำหะดิษและสายรายงานหะดิษ ต่างๆ  เป็นจำนวนกว่า 3 แสนหะดิษ)  ได้กล่าวให้เราทราบไว้ในหนังสือของท่านที่ชื่อว่า  อัล-อิซอบะฮ์  ฟี ตัมยีซฺ อัลซ่อฮาบะฮ์  เล่ม 4 หน้า 148  โดยมีสายรายงานมาจากท่านฏอวูส (ขออัลเลาะฮ์ทรงเมตตา)  เขากล่าวว่า “ข้าพเจ้าได้พบเห็น  ซอฮาบะฮ์ของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ถึง 70 ท่าน  เมื่อพวกเขาเกิดข้อพิพาทกันขึ้นในเรื่องหนึ่งเรื่องใด  พวกเขาจะกลับไปยึดคำพูดของท่าน อิบนุ อับบาส (ร.ฏ.)”

วิเคราะห์ คำรายงานที่ได้กล่าวมานี้  จะเห็นได้ว่า  บรรดาซอฮาบะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.)จำนวนมากจะตักลีดตามท่านอิบนุอับบาสในปัญหา ต่างๆ  ที่พวกเขาไม่รู้  จึงเป็นเรื่องที่ชี้ชัดว่า  ซอฮาบะฮ์เขาก็มีมัซฮับและตักลีดอีกด้วย  ความจริงแล้วเหล่าซอฮาบะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.) มีจำนวนกว่าแสนคน   แต่ในขณะที่ฟัตวาได้ออกมาจากพวกเขา  ที่ได้มีการจดจำมีราวๆ  130 กว่าคน  เรื่องนี้ท่านอิบนุก๊อยยิม  ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่านที่ชื่อว่า  เอี๊ยะอฺลาม อัลมุวักกิอีน  เล่ม 1 หน้า 10  ว่า “นี่ไง  ท่านอิมามแห่งซุนนะฮ์  อะหฺมัด อิบนุ หัมบัล  ก็ยังตักลีดตามอิมามชาฟีอีย์(ร.ฏ.) ซึ่งเรื่องนี้  ท่านอิบนุอะซากิร  ได้รายงานไว้ในหนังสือของท่านที่มีชื่อว่า ตารีค ดิมัช  เล่ม 51 หน้า 351  ท่านอิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย์ได้กล่าวไว้ในหนังสือ  ตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ  เล่ม 9 หน้า 25  โดยรายงานจากฮุมัยด์ อิบนุ อะหฺมัด อับบะซอรีย์  ซึ่งเขาได้กล่าวว่า  “ข้าพเจ้าอยู่กับท่านอะหฺมัด อิบนุ หัมบัล  ซึ่งในขณะที่เรากำลังศึกษาเกี่ยวกับปัญหาหนึ่ง  ก็มีชายคนหนึ่งได้กล่าวกับท่านอะหฺมัด บิน หัมบัลว่า “ท่านอบูอับ ดิลลาห์ครับ  หะดิษในประเด็นนี้ไม่ซอฮิหฺ  ท่านอะห์มัดจึงตอบว่า ถึงแม้ว่าหะดิษในประเด็นนี้ไม่ได้ซอฮิหฺก็ตาม  แต่มันก็มีคำพูดของท่านอิมามอัชชาฟิอีย์  รับรองอยู่  และการยึดมั่นในคำพูดของท่านอิมามชาฟิอีย์  ย่อมเป็นสิ่งที่มีความแน่นแฟ้นอย่างที่สุดในเรื่องนี้  ด้วยเหตุนี้เอง  บรรดาปวงปราชญ์แห่งโลกอิสลามโดยทั่วไป  ไม่ว่าจะอยู่ในมัซฮับหะนะฟีย์  , มาลิกีย์ ,ชาฟิอีย์ , และหัมบาลีย์  ต่างก็ยึดถือปฏิบัติตามแนวทางแห่งการมีมัซฮับและตักลีด  และในเรื่องนี้  มีนักวิชาการหรือปวงปราชญ์แห่งโลกอิสลามที่ถูกยอมรับนั้น  ต่างก็มีมัซฮับและตักลีดตามบรรดาอิมามทั้งสี่ทั้งสิ้น  แม้กระทั่ง  ท่านอิบนุตัยมียะฮ์  ท่านาอินุก๊อยยิม  ก็อยู่ในมัซฮับหัมบาลีย์   ท่านอิบนุกะษีร  ซึ่งเป็นนักปราชญ์หะดิษและอถาธิบายอัลกุรอาน  ก็อยู่ในมัซฮับชาฟิอีย์  ท่านอัซซะฮะบีย์  ก็อยู่ในมัซฮับชาฟิอีย์
ความจริงแล้ว  บรรดาปวงปราชญ์ไม่ว่าจะเป็นรุ่นเล็กและรุ่นอาวุโสก็ยึดบรรดามัซฮับของอะฮ์ลิ สซุนนะฮ์ที่ได้มีการสืบทอดหลักการต่อๆ  กันมา

ปวงปราชญ์มัซฮับหะนะฟีย์

ท่านอิมามอบูยูซุฟ , ท่านอิมามมุหัมมัด บิน อัล-หะซัน , ท่านอับดุลเลาะฮ์ บิน อัลมุบาร๊อก , ท่านซุฟัร , ท่านญะฟัร อัฏเฏาะหาวีย์ , ท่านอัซซัรค่าชีย์ , อันนะซะฟีย์ , อะห์มัด บิน มุหัมมัด อัลบุคอรีย์ , ท่านอัซซัยละอีย์ , ท่านอัลกะมาล บิน อัลฮุมาม , ท่านอิบนุ อันนุญัยม์ , ท่านอิบนุอาบิดีน ,  และบรรดาปวงปราชญ์อีกหลายพันคนที่ได้ถูกบันทึกไว้ในหนังสือประวัติส่วนบุคคล ในมัซฮับหะนะฟีย์  ที่มีชื่อว่า  ฏ่อบะก๊อต  อัลหะนะฟียะฮ์  ถ้าจะพิจารณาประเทศต่างๆ  ที่ปฏิบัติตามมัซฮับหะนะฟีย์โดยส่วนใหญ่แล้ว  คือ  อินเดีย  ปากีสถาน  บังคลาเทศ  สินธุ  อัฟกานิสถาน  กลุ่มประเทศอาหรับในแถบชาม  เช่นซีเรีย  อิรัก  และกลุ่มประเทศยุโรป  ก็คือตามมัซฮับหะนะฟีย์ทั้งสิ้น

ปวงปราชญ์มัซฮับมาลิกีย์

ท่านอิมามอิบนุ อัลกอซิม , ท่านอัลอัชฮับ , ท่านซั๊วะหฺนูน , ท่านอะซัด บิน อัลฟุร๊อด ,  ท่านอัซบั๊ฆฺ , ท่านอิบนุ อับดุลบัรร์ , ท่านกอฏีย์ อัลอิยาฏ , ท่านอิบนุ อัลอะรอบีย์ อัลมาลิกีย์ , ท่านอบูบักร  อัฏฏุรฏูชีย์ , ท่านอิบนุ อัลหาญิบ , ท่านอิบนุ อัลมุนัยยิร , ท่านอิบนุ รุชด์ , อัลบากิลลานีย์ , ท่านอัลบาญี , ท่านอัลกุรฏุบีย์ , ท่านอัลกุรอฟีย์  , ท่านอัชชาฏิบีย์ , ท่านอิบนุ คอลดูน , และบรรดาปวงปราชญ์อีกหลายท่านที่ถูกรวมอยู่ในตำรับตำราที่เกี่ยวกับประวัติ ส่วนบุคคลของมัซฮับมาลิกีย์  ซึ่งเรียกว่า  “ฏ่อบะก๊อต มาลิกียะฮ์”  นักปราชญ์เหล่านี้อยู่ในมัซฮับของอิมามมาลิกทั้งสิ้น  และท่านสามารถกล่าวได้ว่า  นักปราชญ์แห่งเมืองต่างๆ  ในกลุ่มประเทศอาหรับตะวันตกในทวีปอาฟริกา  เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 แห่งฮิจเราะฮ์  จวบจนถึงทุกวันนี้  ได้ยึดถือตามมัซฮับมาลิกีย์ทั้งสิ้น

ปวงปราชญ์มัซฮับอิมามชาฟิอีย์

ท่านอิมามอัลมุซะนีย์ , ท่านอิมามอัลบุวัยฏีย์ , ท่านอิบนุ อัลมุนซิร , ท่านมุหัมมัด บิน ญะรีร อัฏฏ๊อบรีย์ , ท่านอิบนุ สุรัยจฺญ์ , ท่านอิบนุ คุซัยมะฮ์ , ท่านอัลก๊อฟฟาล , ท่านอัลบัยฮะกีย์ , ท่านอัลค๊อฏฏอบีย์ , ท่านอบู อิสหาก อัลอัสฟิรอยีนีย์ , ท่านอบู อิสหาก อัชชีรอซีย์ , ท่านอัลมาวัรดีย์ , ท่านอบูฏ๊อยยิบ อัศเศาะลูกีย์ , ท่านอบูบักร อัลอิสมาอีลีย์ , ท่านอิมาม อัลหะร่อมัยน์ , ท่านหุจญฺตุลอิสลาม อัลฆ่อซาลีย์ , ท่านอัลบะฆอวีย์ , ท่านอัรรอฟิอีย์ , ท่านอบู ชามะฮ์ , ท่านอิบนุ ริฟอะฮ์ , ท่านอิบนุ ศ่อลาห์ , ท่านอิมามอันนะวาวีย์ , ท่านอิซซุดีน บิน อับดุสลาม , ท่านอิบนุ ดะกีก อัลอีด , ท่านอัลหาฟิซฺ อัลมุซซีย์ , ท่านตายุดดีน อัศศุบกีย์ , ท่านอัซซะฮะบีย์ , ท่านอิรอกีย์ , ท่านอัซซัรกาชีย์ , ท่านอิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย์ , ท่านอัสศะยูฏีย์ , ท่านชัยคุลอิสลาม ซะกะรียา อัลอันซอรีย์ , และบรรดานักปราชญ์อีกเป็นพันๆ  ที่ไม่สามารถเอ่ยนามพวกเขาได้ทั้งหมด  และบรรดานักปราชญ์มัซฮับชาฟิอีย์ได้ถูกระบุไว้ในหนังสือ “อัฏฏ่อบะก๊อต อัชชาฟิอียะฮ์” ก็มีถึง 1419 ท่าน

ปวงปราชญ์มัซฮับหัมบาลีย์

ท่าน อิมามอาญุรรีย์ , ท่านอบู อัลค๊อฏฏอบ อัลกัลป์วาซะนีย์ , ท่านอบูบักร อันนัจญาร , ท่านอบูยะอฺลา , ท่านอัลอัษรอม , ท่านอิบนุ อบีมูซา , ท่านอิบนุ อัซซ๊อยรอฟีย์ , ท่านอิบนุ ฮุบัยเราะฮ์ , ท่านอิบนุ อัลเญาซีย์ , ท่านอิบนุ ตัยมียะฮ์ , ท่านอิบนุ รอญับ , ท่านอิบนุ รุซัยน์ , ท่านอิบนุรอญับ , และบรรดานักปราชญ์ท่านอื่นๆ อีกมากมาย  และนักปราชญ์มัซฮับหัมบาลีย์ที่ได้ถูกกล่าวไว้ในหนังสือ “อัลมักซิด อัลอัรชัด” มีถึง 1315 ท่าน

ดังนั้น  ประชาชาติอิสลามศตวรรษแล้วศตวรรษเล่าได้ให้การยอมรับในการตักลีดตามนัก ปราชญ์มุจญฮิดผู้วินิจฉัย  ทั้งที่ในสิ่งดังกล่าวนี้  ก็ไม่ใช่เป็นความคลั่งไคล้และแบ่งพรรคแบ่งพวก  แต่ความเป็นพี่น้องในศาสนา  จึงทำให้พวกเขาอยู่ร่วมกัน  และบรรดาวงล้อมที่ทำการศึกษาวิชาความรู้  ก็ได้สมานฉันท์พวกเขาเอาไว้  พวกเขาต่างศึกษาความรู้ซึ่งกันและกัน  และยกย่องสรรเสริญกันและกัน  โดยที่ท่านเกือบจะไม่พบถึงประวัตินักปราชญ์มัซฮับ  หะนะฟีย์  มาลิกีย์  ชาฟิอีย์ และหัมบาลีย์  นอกจากว่า  ปราชญ์ท่านหนึ่งได้เคยเป็นศิษย์และศึกษากับบรรดานักปราชญ์ที่ไม่ได้อยู่ใน มัซฮับของเขา

ดังนั้น  มุสลิมคนหนึ่งได้ดำเนินตามมัซฮับเดียว  ย่อมถูกนับว่าเป็นการยึดติดและสังกัด  แต่มันเป็นการยึดติดและสังกัดที่ถูกสรรเสริญ  ไม่ใช่ถูกตำหนิ

ท่านชัยค์ สะอีด หะวา  ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “เญาลาต ฟี อัลฟิกฮัยน์” ว่า “การ ยึดติดบรรดาปราชญ์ผู้วินิจฉัยหรือมัซฮับของพวกเขาเหล่านั้น  เราขอกล่าวว่า  การสังกัดมัซฮับนั้น  หากเป็นเสมือนดังผลสืบเนื่องจากความพึงพอใจในประเด็นหนึ่งที่เป็นเรื่อง สัจจะธรรม  และเขาก็ยึดมันมาเป็นทัศนะและนำมาปฏิบัติ  แล้วเขาปกป้องมันด้วยหลักการที่เป็นความสัจจริงและยุติธรรม  โดยไม่ใช่หลักการตามอารมณ์ หรือปกป้องมันด้วยความบริสุทธิ์ใจไม่ใช่เพื่อดุนยา  หรือปกป้องด้วยจิตวิญญาณแห่งความเป็นพี่น้องในอิสลาม  ไม่ใช่ด้วยจิตวิญญาณแห่งความแตกแยก  ดังนั้น  สิ่งดังกล่าว  ย่อมไม่เป็นบาปแต่ประการใด  ยิ่งไปกว่านั้น  มันยังเป็นแบบฉบับของบรรดาซอฮาบะฮ์ที่พวกเขาดำเนินอยู่  แต่ทว่า  การที่มนุษย์คนหนึ่งได้ทำให้คับแคบกับสิ่งที่กว้างขวาง  ด้วยการกล่าวหาผู้ที่มีความเห็นต่างกับเขา  หรือกล่าวหาลุ่มหลงและโง่เขลากับผู้อื่นเกี่ยวกับประเด็นข้อวินิจฉัย  แน่แท้ว่า  สิ่งดังกล่าวนั้น  เป็นความผิดพลาดอย่างชัดเจน  เพราะอิมามชาฟิอีย์(ร.ฏ.) กล่าวว่า “บรรดาปวงปราชญ์ได้ลงมติว่า  อัลเลาะฮ์จะไม่ลงโทษเกี่ยวกับประเด็นที่อุลามาอ์มีความเห็นแตกต่างกัน”   และการยึดมัซฮับหนึ่งที่เปรียบเสมือนผลที่เกิดขึ้นมาจากความไว้วางใจต่อ บรรดาอุลามาอ์และหลักการต่างๆ และที่เปรียบเสมือนผลที่เกิดขึ้นจากความไว้วางใจต่อประชาชาติอิสลามที่ลงมติ เห็นพร้องกับการให้เกียรติต่อมัซฮับทั้งสี่และกับบรรดานักปราชญ์ที่มีมัซฮับ ในยุคสมัยที่ผ่านมา  เพราะฉะนั้น  การยึดมัซฮับจึงไม่ได้มีการแอบ แฝงความรังเกียจหรือแสดงท่าทีอันไม่ดีต่อมัซฮับอื่นเลย  แต่ยิ่งไปกว่านั้น  การมีมัซฮับกลับมีการให้เกียรติและเคารพซึ่งกันและกัน  ซึ่งย่อมไม่เป็นบาปแต่ประการใด  แต่ถ้าหากมนุษย์คนหนึ่งได้ยึดถือแนวคิดอื่นจากมัซฮับของเขาที่เป็นผลมาจาก การตรวจสอบของเขาเองหรือผู้ที่เขาเชื่อถือ  แน่นอนว่า  สิ่งดังกล่าวย่อมไม่เป็นบาปแต่ประการใด

ส่วนการ ยึดติดมัซฮับที่น่าตำหนิ  ก็คือ  มุสลิมคนหนึ่งยึดมั่นว่า  มัซฮับที่เขายึดถืออยู่นั้น  เป็นมัซฮับที่ถูกต้องและบรรดามัซฮับอื่นนั้นหลงผิด  ซึ่งการคลั่งไคล้เช่นนี้  คือสิ่งที่บรรดานักปราชญ์จากมัซฮับทั้งสี่ทั้งหมดให้การตำหนิ  และพวกเขายังให้การยืนยันว่า  บรรดามัซฮับอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์นั้น อยู่บนทางนำ

ท่านอิมาม อิบนุ หะญัร อัลฮัยตะมีย์ (ร่อฮิมะฮุลลอฮ์) ได้กล่าว “ท่านอิมามชาฟิอีย์  ท่านอบูหะนีฟะฮ์  ท่านมาลิก  ท่านอะหฺมัด  และบรรดาปวงปราชญ์ท่านอื่นๆ  ล้วนอยู่บนทางนำของอัลเลาะฮ์  ดังนั้น  จึงขอโปรดองค์อัลเลาะฮ์ทรงตอบแทนพวกเขาจากการเสียสละเพื่ออิสลามและบรรดามุ สลิมีนอย่างดีเยี่ยมและสมบูรณ์ด้วยเทอญ  และเมื่อพวกเขาล้วนอยู่บนทางนำของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.)  ดังนั้น  จึงไม่เป็นบาปแต่ประการใดต่อผู้ที่ชี้นำผู้อื่นให้ยึดมัซฮับใดมัซฮับหนึ่ง จากมัซฮับทั้งสี่  หากแม้ว่าการแนะนำนั้น  จะขัดกับมัซฮับที่เขาเองยึดถือก็ตาม  เนื่องจากเขาได้ชี้แนะผู้อื่นไปสู่สัจจะธรรมและทางนำ”  ดู  อัล-ฟะตาวา  อัลฟิกฮียะฮ์ อัลก๊อบรอ  เล่ม 4 หน้า 326

ปล.อย่าลืมดูลิงค์นี้ด้วยนะ

วัสลาม
http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php/topic,5228.msg56188.html#msg56188

12
อ้างถึง
อยากให้พวกท่านพึงรู้และทราบไว้ด้วยว่า กลุ่มชนที่ปกป้องและญิฮาจกันอยู่ในโลกอิสลามทุกวันนี้คือกลุ่มที่พวกท่านกำลังเกลียดชัง  ที่พวกท่านเรียกกลุ่มชนที่ทำตามนบีและกรุอ่านว่า วะฮาบี ไปดูนะครับว่าซาอุดิ้ละหมาดเหมือนท่านไหม แล้ว เค้ายอมรับหลักการของพวกท่านไหม ไม่ต้องมาพูดกันให้มากมายหรอก ลิทธิของท่านท่านต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ท่านสอนด้วยแล้วกัน

     mycryสาบานซิ   ว่ามีแต่วะฮาบีกลุ่มของท่านกลุ่มเดียวที่ปกป้องอิสลาม...ผมเองไม่รู้ว่าท่านเป็นกลุ่มไหนแต่ที่แน่ๆวาฮาบีมีหลายกลุ่ม 

ฉนั้นท่านอย่าอ้างเรื่องของชารีอัตเช่นเรื่องของการละหมาดอย่างเดียวซิ กลุ่มญามะอะอื่นๆที่พวกคุณฮุกมว่าทำบิดอะ กลุ่มดาวะตับลีค พวกเขาปกป้องอิสลามและเผยแพร่อัลอิสลามมีผลงานมากมายกว่ากลุ่มวาฮาบีของท่านด้วยซ้ำ  กลุ่มซูฟี ตอรีกัต  กลุ่มอะลิสซุนนะวัญญามะอะ 4มัสหับซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ในโลกกลุ่มชีอะบางกลุ่ม  เขาก็ปกป้องอัลอิสลามเหมือนกัน ไม่ใช่มีแต่เฉพาะวาฮาบีที่คุณเข้าใจหรอกนะ



คืออย่างนี้คับกรุณาทำความเข้าใจเสียใหม่ด้วยนะครับ

อุลามะเขาแบ่งกลุ่มวะฮาบีย์นั้นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม :

1. กลุ่มวะฮาบียะฮ์ที่มั๊วะตะดิละฮ์  หมายถึงกลุ่มวะฮาบีย์ที่เป็นกลาง  ไม่กล่าวหาฮุกุ่มบิดอะฮ์ต่อกลุ่มอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์และอัลมะตูรีดียะฮ์แบบเหมารวมว่าเป็นกลุ่มที่บิดอะฮ์เบี่ยงเบน  ซึ่งวะฮาบีย์กลุ่มนี้ถือว่าอยู่ในแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์โดยความหมายรวม โปรดดูกระทู้ ตัวอย่างของจุดยืนนี้ จากกลุ่มที่หนึ่ง

2. กลุ่มวะฮาบียะฮ์ฆุลาฮ์  หมายถึงกลุ่มวะฮาบีย์สุดโต่ง  ซึ่งกลุ่มนี้จะทำการฮุกุ่มบิดอะฮ์ต่อทุกแนวทางที่ไม่เหมือนกับตน  เช่น  ฮุกุ่มแนวทางอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์และอัลมะตูรียะฮ์และแนวทางอื่น ๆ ที่ต่างจากแนวทางของตนเองว่าเป็นพวกบิดอะฮ์เบี่ยงเบน  ซึ่งวะฮาบีย์กลุ่มนี้จะพรรณาคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์โดยมีหลักการที่ตัชบีห์(พรรณาคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์คล้ายกลับมัคโลค) และมีหลักการตัจญ์ซีม(พรรณาคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์โดยเป็นรูปร่าง)  แน่นอนพวกเขาที่มีคุณลักษณะเช่นนี้ถือว่าเป็นกลุ่มบิดอะฮ์เบี่ยงเบนไม่ใช่อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ โปรดดูกระทู้ ตัวอย่างที่1 , ตัวอย่างที่2 จากกลุ่มที่สองนี้

ดังนั้นแนวทางใดที่ฮุกุ่มตัดสินอะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์ว่าบิดอะฮ์  ผู้นั้นย่อมอยู่ในแนวทางบิดอะฮ์ , ผู้ใดฮุกุ่มพวกเขากลุ่มหลง  ผู้นั้นคือผู้ที่ลุ่มหลง , และผู้ใดที่ฮุกุ่มพวกเขากาเฟร  ผู้นั้นย่อมเป็นกาเฟรกลับไปหาตัวเขา  ตามคำฟัตวาของนักปราชญ์ผู้มีคุณธรรมดังต่อไปนี้

ท่านอิมาม อะบุลมุซ็อฟฟัร  อัลอิสฟิรอยีนีย์  ร่อฮิมะฮุลลอฮ์  กล่าวว่า  "และท่านจะทราบว่า  ทุกคนที่ยอมรับด้วยกับหลักการของศาสนานี้ที่เราได้พรรณามันไว้จากหลักศรัทธาของกลุ่มที่ปลอดภัย(คือกลุ่มอะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์และอัลมะตูรียะฮ์) เขาย่อมอยู่บนสัจธรรมและอยู่บนหนทางที่เที่ยงตรง  ดังนั้นผู้ใดที่ฮุกุ่มบิดอะฮ์ต่อเขา(ผู้อยู่แนวทางดังกล่าว)  ผู้นั้นย่อมเป็นคนบิดอะฮ์ , และผู้ใดฮุกุ่มเขาว่าลุ่มหลง  ผู้นั้นย่อมเป็นคนลุ่มหลง , และผู้ใดฮุกุ่มเขาเป็นกาเฟร  ผู้นั้นย่อมเป็นคนกาเฟรด้วย"  หนังสืออัตตับซีร ฟิดดีน หน้า 111 ของท่านอิมามอัลอัสฟิรอยีนีย์

ท่าน อิมาม อิบนุ รุชดฺ อัลมาลิกีย์ (ผู้เป็นปู่) (รอฮิมะฮุลลอฮ์) ที่ได้รับฉายานามว่า ชัยค์อัลมัซฮับ (ปรมาจารย์แห่งมัซฮับมาลิกีย์) ฟัตวาว่า "ปราชญ์อัลอะชาอิเราะฮ์เหล่านั้น ที่ท่านได้กล่าวชื่อพวกเขามา เป็นส่วนหนึ่งจากนักปราชญ์ที่เป็นแกนนำของนักปราชญ์แห่งความดีงามและอยู่ในทางนำ  และเป็นบรรดาบุคคลที่จำเป็นต้องดำเนินตามพวกเขา  เนื่องจากพวกเขาเป็นผู้ยืนหยัดช่วยเหลือหลักชาริอะฮ์(บทบัญญัติแห่งอิสลาม) และทำลายสิ่งคลุมเครือต่าง ๆ ของพวกเบี่ยงเบนและลุ่มหลง  พวกเขาได้ทำให้ประเด็นปัญหาต่าง ๆ มีความคลี่คลายและชัดเจน  พวกเขายังอธิบายถึงสิ่งที่จำเป็นต้องยอมรับจากบรรดาหลักการศรัทธา  ดังนั้น  ด้วยการรอบรู้ถึงบรรดาหลักพื้นฐาน(อุซูล)ของศาสนา จึงทำให้พวกเขาเป็นนักปราชญ์ที่แท้จริง  เนื่องจากพวกเขารู้ดียิ่งเกี่ยวกับอัลเลาะฮ์  ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่วายิบสำหรับพระองค์  สิ่งที่อนุญาติต่อพระองค์ และสิ่งที่(มุสตะฮีล)เป็นไปไม่ได้จากพระองค์  เพราะประเด็นนิติบัญญัติข้อปลีกย่อยจะไม่สามารถรู้ได้นอกจากต้องรู้หลักอุ ศูล(หลักศรัทธา)เสียก่อน   เพราะฉะนั้น  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องรู้ถึงความประเสริฐและยอมรับถึงสถานะความเป็นแกนนำ ของพวกเขา  ฉะนั้น  พวกเขาย่อมเป็นจุดมุ่งหมายของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ที่ว่า  "ความรู้นี้  ได้แบกรับจากทุก ๆ ผู้สืบทอด(ต่อ ๆ กันมา)  โดยบรรดาผู้ทรงคุณธรรม  ซึ่งพวกเขาจะทำการปฏิเสธจากการบิดเบือนของผู้ที่เลยเถิด  , (ปฏิเสธ)การประกาศศาสนาของบรรดาผู้ที่อธรรม และจากการตีความของบรรดาบุคคลโง่เขลา"  ดังนั้น จะไม่มีการเชื่อว่าพวกเขา(อัลอะชาอิเราะฮ์)ได้อยู่บนความลุ่มหลงและความโง่เขลา นอกจากผู้ที่เขลาเบาปัญญาหรือผู้ที่อุตริกรรมอีกทั้งเบี่ยงเบนออกจากสัจจะธรรมเท่านั้น  และคนหนึ่งจะไม่ประณามอัลอะชาอิเราะฮ์และพาดพิงกล่าวหาไปยังพวกเขาด้วยกับสิ่งที่ไม่พวกเขาไม่ได้ยึดถืออยู่  นอกจาก(คนกล่าวหานั้น)เขาคือคนชั่ว  แท้จริงอัลเลาะฮ์ อัซซะวะญัลล่า ทรงตรัสว่า "บรรดาบุคคลที่สร้างความเดือนร้อนแก่บรรดาผู้ศรัทธาชายและบรรดาผู้ศรัทธา หญิง  ด้วยกับสิ่งที่พวกเขาไม่ได้พากเพียรไว้  แน่นอน พวกเขาย่อมแบกรับความมุสาและบาปอันชัดแจ้ง" ฟะตาวา อิบนุ รุชด์ เล่ม 2 หน้า 802  ตีพิมพ์ ดารุลฆ่อร่อบิลอิสลามีย์ เบรุต ฮ.ศ. 1407

ท่านชัยคุลิสลาม อิบนุ ฮะญัร อัลฮัยตะมีย์ ตอบฟัตวาความว่า "บรรดาปวงปราชญ์(อัลอะชาอิเราะฮ์)เหล่านั้น  มิได้เป็นเฉกเช่นที่ผู้ที่แหวกแนวทาง  ออกนอกหลักศาสนา  คาดเดา  ลุ่มหลง  เลยเถิด  โง่เขลา  และเอนเอียงออกจากสัจธรรมเลย  ยิ่งกว่านั้น  พวกเขาเป็นนักปราชญ์แห่งศาสนา  เป็นนักปราชญ์มุสลิมีนที่ยิ่งใหญ่  ดังนั้น  จึงจำเป็นต้องเจริญรอยตาม  เนื่องจากพวกเขาได้ยืนหยัดช่วยเหลือชะรีอะฮ์ (อิสลาม) และแจกแจงบรรดาข้อสงสัยต่าง ๆ  และทำการโต้ตอบความคลุมเครือจากพวกที่เบี่ยงเบน  และทำการชี้แจงสิ่งที่จำเป็นของหลักความเชื่อ(เอี๊ยะติก๊อต)และหลักการต่าง ๆ ของศาสนา  เนื่องจากพวกเขามีความรู้เกี่ยวกับอัลเลาะฮ์  ในสิ่งที่จำเป็นสำหรับพระองค์  สิ่งที่มุสตะฮีล(เป็นไปไม่ได้)ต่อพระองค์  และสิ่งที่อนุญาตในสิทธิของพระองค์  และจะไม่สามารถบรรลุถึงเป้าหมายได้นอกจากรู้จักถึงหลักศรัทธาพื้นฐานเสีย ก่อน  และจำเป็นต้องยอมรับถึงความประเสริฐของบรรดานักปราชญ์ที่ถูกกล่าวมาข้างต้น และนักปราชญ์ก่อนหน้าพวกเขาด้วย  และพวกเขาก็คือกลุ่มเป้าหมายจากคำกล่าวของท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้กล่าวว่า "ความรู้นี้  ได้แบกรับจากทุก ๆ ผู้สืบทอด(ต่อ ๆ กันมา)  โดยบรรดาผู้ทรงคุณธรรม  ซึ่งพวกเขาจะทำการปฏิเสธจากการบิดเบือนของผู้ที่เลยเถิด  , การประกาศศาสนาของบรรดาผู้ที่อธรรม และจากการตีความของบรรดาบุคคลโง่เขลา"  ดังนั้นจะไม่กล่าวหาว่าอัลอะชาอิเราะฮ์ลุ่มหลงนอกจากผู้ที่โฉดเขลาหรือผู้ทำบิดอะฮ์ ที่เบี่ยงเบนจากสัจธรรม  ดังนั้น  จึงจำเป็นให้คนไม่รู้ได้ประจักษ์ถึงพวกเขา  คนชั่วต้องถูกลงโทษ  ผู้บิดอะฮ์ที่เบี่ยงเบนจากสัจธรรมที่กระทำมักง่ายด้วยบิดอะฮ์ต้องถูกใช้ให้ เตาบะฮ์" อัลฟะตาวา อัลฮะดีษียะฮ์ อัลกุบรอ หน้า 227  ตีพิมพ์ เอี๊ยะห์อุษตุร๊อษ เบรุต 

ท่านชัยค์  อะบุล  หะซัน  อัลนัดวีย์  ได้กล่าวถึงแนวทางอัลอะชาอิเราะฮ์  ความว่า  "ทั่วทุกมุมโลกอิสลาม  ต้องน้อมรับให้กับวิชาความรู้และและความสำเร็จของปวงปราชญ์อัลอะชาอิเราะฮ์...และด้วยความประเสริฐของพวกเขาเหล่านั้น  ทำให้แกนนำเชิงแนวคิดแห่งโลกอิสลามมีการขับเคลื่อน  และสามารถชี้นำกลุ่มมั๊วะตะซิละฮ์ให้กลับไปสู่แนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์"  หนังสือ ริญาลุล ฟิกร์วัดดะอฺวะฮ์ ฟีลอิสลาม หน้า 137 ของท่านอะบุลฮะซัน อัลนัดวีย์

ดังนั้น  ผมจึงอยากให้คุณ gitt  ช่วยแสดงจุดยืนว่าเป็นวะฮาบีย์กลุ่มไหนจากทั้ง2กลุ่มที่อุลามะเขาแบ่งเอาไว้ด้วยครับ

13
 :salam:บังMUFTEE   

สุดยอดจริงๆครับมาเวปนี้คราใด ได้รับรู้อะไรหลายๆอย่างจากผู้รู้จริงครับขออัลเลาห์ตอบแทนครับบังMUftee ที่ให้ความรู้กับเรา


 loveit:กดไลค์ให้เลยครับอิๆๆ

ปล.ทราบว่ามาว่า ผลจาก อ.ฮารีฟีนดีเบสกับอ.อาลีคาน ที่ผ่านมา ทำให้กองเชียร์วาฮาบีที่แอบเชียร์ อ.อาลีคาน ตามทีวีบางช่องที่เป็นวะฮาบีและเวปต่างๆเดือดร้อนและจ๋อย ถอยไม่เป็นขบวนเลยครับ แถมทีวีช่องดังกล่าวออกมาแก้ต่างให้อ.อาลีคานอีกต่างหาก อย่างที่บังMufteeนำเสนอนั้นแหล่ะครับ  hehe

แถมบางเวปที่เป็นวะฮาบี เตรียมวิภาษ การบรรยายของ อจ.รอฟิกชมเผ่าในหัวข้อ เปิดเปงซุนนะจอมปลอม ในวันนั้นด้วยครับ

14
 :salam:

   ผมว่าพี่น้องของเราหลายๆคนคงอยากที่จะให้อ.ฮารีฟีนเข้ามาเพื่อที่จะบอกเล่าถึงบรรกาศในการดีเบสครั้งนั้นและเก็บตกสิ่งเล็กสิ่งน้อยเหล่านั้

ให้พวกเรารับทราบบ้างก็ดีครับ
.....อิงชาอัลเลาะฮ์

15
อ้างถึง
1.ผมแนะนำอ่านลิงค์นี้ให้ละเอียดก่อนนะครับ    http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php/topic,6.msg23.html#msg23       

  2. แล้วช่วยตอบคำถามด้วยว่า เข้าใจในเรื่องนี้มากหน่อยแค่ไหนด้วย


 Oops: คูณ roy4kids  ]หายไปไหนแล้ว เห็นตั้งกระทู้ไว้ ไม่ทราบว่าได้อ่านบทความแล้วเข้าใจอย่างไรบ้าง

  ยังรอท่านอยู่และยินดีตอบกลับครับ.... yippy:
[/size]

หน้า: [1] 2