แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - SRD

หน้า: [1] 2
1
รอมะฎอน / Re: ฟ้องด้วยภาพ...
« เมื่อ: ก.ค. 11, 2011, 09:36 AM »
ชอบๆ อยากได้อีก

3
وَلَا تَسُبُّوا الَّذِينَ يَدْعُونَ مِنْ دُونِ اللَّهِ فَيَسُبُّوا اللَّهَ عَدْوًا بِغَيْرِ عِلْمٍ
และพวกเจ้าจงอย่าด่าว่าบรรดาที่พวกเขาวิงวอนขอ   อื่นจากอัลลอฮ์ แล้วพวกเขาก็จะด่าว่าอัลลอฮ์เป็นการละเมิด
อายะฮ์นี้ประทานมาเนื่องจากการที่มุสลิมไปด่าประณามเทพเจ้า เทวรูปของพวกกุฟฟาร พวกกกุฟฟารจึงด่าว่าอัลเลาะฮ์

4
เด็กผู้ชายที่ยังไม่เข้าสุนนะ(หมายถึงยังไม่ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย) กระทบผู้ใหญ่ที่เป็นผุ้ชายไม่เสียน้ำละหมาดครับ


ประโยคนี้ พิมพืผิดไม๊เนี่ยะ
ผู้ชายกระทบผุ้ชายไม่เสียน้ำละหมาดอยุ่แล้วไม่ใช่เหรอครับ

5
ฮำดุลิ้ลลาฮ์ ที่พี่น้องในเวปนี้มีอิสลามเป็นวิธีคิด
อย่าให้พวกเราเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างฟิตนะฮ์
ช่วยๆกันครับ
ให้มุสลิม
จะคิด
จะพูด
มีหลักการ ข้อกำหนดทาางศาสนาเป็นตัวกำกับครับ

6
เสนอให้แบ่งบอร์ดย่อย เช่น นิติศาสตร์อิสลาม แบ่งเป็นอิบาดะฮ์ในหมวดนี้แยกเป็น ความสะอาด ละหมาด ศิลอด ซะกาต ฮัจย์  ครอบครัวมรดก แบ่งเป็นแต่งงาน หย่า อะไรประมาณนี้ครับ

7
ขออัลเลาะฮ์ตอบแทนความพยายามของทุกคน
ผมเชื่อว่าในบอร์ดมีหลายๆคนที่แปลได้
ช่วยๆกันครับ เป็นอะมั้ลซอและฮ์ครับ

8
ปัญหาระหว่างมุสลิมให้กาเฟรตัดสิน................... เฮ้อ..............

فَإِنْ تَنَازَعْتُمْ فِي شَيْءٍ فَرُدُّوهُ إِلَى اللَّهِ وَالرَّسُولِ إِنْ كُنْتُمْ تُؤْمِنُونَ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الْآخِرِ

وَمَنْ لَمْ يَحْكُمْ بِمَا أَنْزَلَ اللَّهُ فَأُولَئِكَ هُمُ الْكَافِرُونَ
وَمَنْ لَمْ يَحْكُمْ بِمَا أَنْزَلَ اللَّهُ فَأُولَئِكَ هُمُ الْفَاسِقُونَ
وَمَنْ لَمْ يَحْكُمْ بِمَا أَنْزَلَ اللَّهُ فَأُولَئِكَ هُمُ الظَّالِمُونَ

9
ขออัลเลาะฮ์ตอบแทนทุกท่านที่ร่วมกันทำงานในเวบนี้
นับถือในหัวใจของทุกคน
ทำให้ตัวเองมีความรู้สึกว่าต้องทุ่มเทมากกว่านี้อีกสักหน่อย
หลายครั้งที่หลงตนเองว่าทำรัยมากมาย
แต่เมื่อเทียบกับท่านทั้งหลายแล้ว กลายเป็นธุลีในท้องฟ้าจิงจิง  ขอบคุณอัลเลาะที่ให้เข้ามาเวบนี้ 

10
الموضوع (68) الاحتفال بالأعياد القومية.&المفتى : فضيلة الشيخ عطية صقر.&مايو 1997 المبدأ : القرآن والسنة.&سئل : ما رأى الدين فى احتفال بعض الدول بأعياد مثل أعياد النصر وعيد العمال وعيد رأس السنة وغيرها ؟.&أجاب : فى بحث طويل فى الجزء الثانى من كتاب " بيان للناس من الأزهر الشريف " جاء أن كلمة الأعياد تطلق على ما يعود ويتكرر ، ويغلب أن يكون على مستوى الجماعة ، سواء أكانت الجماعة أسرة أو أهل قرية أو أهل أقليم ، والاحتفال بهذه الأعياد معناه الاهتمام بها ، والمناسبات التى يحتفل بها قد تكون دنيوية محضة وقد تكون دينية أو عليها مسحة دينية، والإسلام بالنسبة إلى ما هو دنيوى لا يمنع منه ما دام القصد طيبا ، والمظاهر فى حدود المشروع ، وبالنسبة إلى ما هو دينى قد يكون الاحتفال منصوصا عليه كعيدى الفطر والأضحى، وقد يكون غير منصوص عليه كالهجرة والإسراء والمعراج والمولد النبوى ، فما كان منصوصا عليه فهو مشروع بشرط أن يؤدى على الوجه الذى شرع ، ولا يخرج عن حدود الدين ، وما لم يكن منصوصا عليه ، فللناس فيه موقفان ، موقف المنع لأنه بدعة ، وموقف الجواز لعدم النص على منعه ، ويحتج أصحاب الموقف المانع بحديث النسائى وابن حبان بسند صحيح أن أنسًا رضى اللّه عنه قال : قدم النبى صلى الله عليه وسلم المدينة ولهم يومان يلعبون فيهما، فقال " قد أبدلكم اللَّه تعالى بهما خيرا منهما ، يوم الفطر ويوم الأضحى " فكل ما سوى هذين العيدين بدعة ، ويرد عليه بأن الحديث لم يحصر الأعياد فيهما ، بل ذكر فضلهما على أعياد أهل المدينة التى نقلوها عن الفرس ، ومنها عيد النيروز فى مطلع السنة الجديدة فى فصل الربيع ، وعيد المهرجان فى فضل الخريف كما ذكره النويرى فى " نهاية الأرب " وبدليل أنه سمى يوم الجمعة عيدا.&ولم يرد نص يمنع الفرح والسرور فى غير هذين العيدين ، فقد سجل القرآن فرح المؤمنين بنصر اللَّه لغلبة الروم على غيرهم بعد أن كانوا مغلوبين " أوائل سورة الروم ".&كما يردُّ بأنه ليس كل جديد بدعة مذمومة ، فقد قال عمر فى اجتماع المسلمين فى صلاة التراويح على إمام واحد " نعمت البدعة هذه ".&فالخلاصة أن الاحتفال بأية مناسبة طيبة لا بأس به ما دام الغرض مشروعا والأسلوب فى حدود الدين ، ولا ضير فى تسمية الاحتفالات بالأعياد ، فالعبرة بالمسميات لا بالأسماء.&

11
1905 - حَدَّثَنَا عَبْدَانُ عَنْ أَبِى حَمْزَةَ عَنِ الأَعْمَشِ عَنْ إِبْرَاهِيمَ عَنْ عَلْقَمَةَ قَالَ بَيْنَا أَنَا أَمْشِى مَعَ عَبْدِ اللَّهِ - رضى الله عنه - فَقَالَ كُنَّا مَعَ النَّبِىِّ - صلى الله عليه وسلم - فَقَالَ « مَنِ اسْتَطَاعَ الْبَاءَةَ فَلْيَتَزَوَّجْ ، فَإِنَّهُ أَغَضُّ لِلْبَصَرِ وَأَحْصَنُ لِلْفَرْجِ ، وَمَنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَعَلَيْهِ بِالصَّوْمِ ، فَإِنَّهُ لَهُ وِجَاءٌ » . طرفاه 5065 ، 5066 - تحفة 9417
บุคคลใดที่สามารถแต่งงานได้ จงแต่งงาน มันจะรักษาตา และอวัยวะเฑศไม่ให้ทำผิด
หากไม่มีความสามารถ(ด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม)
จงถือศิลอด จริงๆแล้วการถือศิลอด มันจะตัดทอนอารมณ์ทางเพศ
ฮะดิษ บุคอรีย์

12
หากจะเปรียบเทียบเดือนรอมาฎอน  สามารถเปรียบเทียบได้อย่างมากมาย  และสามารถจะเปรียบเทียบว่า     รอมาฎอนคือ  “ศูนย์อบรมบุคลิกภาพ”  ที่อัลลอฮ์ทรงจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ปีละ 1 ครั้ง  ครั้งละ 1 เดือน  สมาชิกที่ครบคุณสมบัติ จะต้องเข้ารับการอบรมเป็นประจำทุกๆปี จนกว่าจะขาดคุณสมบัติ
   และในทุกครั้งก็จัดเนื้อหาที่คล้ายคลึงกันทุกๆครั้ง เพื่อทบทวน ทดแทน
 และจัดการให้บุคลิกภาพดังกล่าว ซึมซับเข้าอยู่ในวิถีชีวิตของทุกๆคน
บุคลิกภาพที่อบรมจะประกอบด้วย อาทิ

1.   การศิโรราบ การสยบต่อคำบัญชาแห่งอัลเลาะฮ์ (การตั๊กวา)
จัดว่าเป็นวัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดที่อัลเลาะฮ์กำหนดให้มีการถือศีลอดในเดือนรอมาฎอน เพราะผู้ที่สยบต่ออัลเลาะฮ์เท่านั้นจึงจะสามารถกระทำได้อย่างสมบูรณ์ และต่อเนื่องอย่างครบถ้วน

2.   ความสำนึกว่ามีผู้คอยกำกับดูแลพฤติกรรมตลอดเวลา
  และการปลุกมโนธรรมให้ตื่นอยู่ตลอดเวลา
การที่เราสามารถถือศีลอดได้ทั้งต่อหน้าผู้คน และเมื่อลับตา แสดงว่าเรามีสำนึกถึงการเห็น การรู้ การได้ยินของอัลเลาะฮ์ที่มีต่อเราตลอดเวลา  เราจึงไม่กล้าจะละเมิด แม้ว่าอาหารที่อยู่ต่อหน้าจะมีรสชาติอร่อย  และเราจะหิวกระหายสักเพียงใดก็ตาม
   สำนึก และ มโนธรรมที่มีอยู่ตลอดเวลา ทำให้เรากระทำดี ห่างจากการกระทำความผิดได้ไม่ยาก

3.   การสร้างความบริสุทธิ์ใจต่ออัลเลาะฮ์ในการกระทำทุกประเภท
ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดในการกระทำการใดๆของมนุษย์ที่จะนำไปพิจารณาให้ผลตอบแทนทั้งในการให้คุณ และให้โทษแก่ผู้ปฏิบัติ รอมาฎอนจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้เกิดความรู้สึกบริสุทธิ์ใจต่ออัลเลาะฮ์โดยผ่านกระบวนการ       ถือศีลอด เพราะเป็นการกระทำชนิดเดียวที่ไม่สามารถกระทำเพื่อโอ้อวด หรือโชว์ (ริยาอ์) ให้ใครเห็นได้


4.   ความอดทนต่อทุกสถานการณ์ และความมุ่งมั่นในการประพฤติดี
ผู้ที่อดทนต่อความหิว ความกระหาย ความอยากกระทำตามอารมณ์  ความเกียจคร้าน  ความร้อน หนาว ความง่วงนอน  และอื่นๆ  จึงจะสามารถประกอบความดีที่มีอยู่ในเดือนนี้ได้มากมาย และเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน



5.   การฝึกฝนมารยาทที่งดงาม
การบริโภคอาหาร เครื่องดื่มอย่างเป็นเวลา ในปริมาณที่เหมาะสม ลดละจากการบริโภคตามใจอยาก ตามปากต้องการ  และอวัยวะอื่นก็เช่นกัน  ปาก หู  คอ  จมูก  ตา และทุกส่วนของร่างกาย ต่างกระทำตามหน้าที่ถูกต้อง เหมาะสม  ตามที่พระเจ้ามอบให้  จนทำให้เกิดนิสัยที่งดงามประจำตัว  เป็นประโยชน์กับตนเอง และไม่ก่อความเดือดร้อนกับผู้คนอื่นๆอีกด้วย



6.   ความใจบุญ  จิตใจเอื้อเฟื้อเอื้ออารี
ประสบการณ์ตรงที่ได้รับจากความหิวโหย และความกระหายของตนเอง แม้เป็นเพียงชั่วคราวก็ตาม ส่งผลให้เกิดความรู้สึกได้ถึงความหิวอย่างเป็นนิจสินของผู้คนบางกลุ่ม และเกิดความเข้าใจคนอื่นได้อีกด้วย  ความเอื้อเฟื้อการอุปการะ  ก็เกิดจากเหตุดังกล่าวได้เช่นเดียวกัน


7.   ความเสมอภาคเป็นหนึ่งเดียวทั่วโลก
   เป็นเวลาที่มุสลิมทั่วโลก ไม่ว่า ชาย หรือ หญิง ยาจก เศรษฐี ทาส หรือราชา ต่างต้องกระทำตามบัญชาแห่งอัลเลาะฮ์โดยเสมอภาคเเละเท่าเทียมกันแสดงถึงความเสมอภาคเป็นหนึ่งเดียวทั่วโลกที่แท้จริง

   8.  การเปลี่ยนแปลงตนเองและครอบครัว ชุมชนและสังคม
   มุสลิมทั้งมวลต่างขะมักเขม้นทุ่มเทอย่างจริงจังกับการมามัสยิด การแบ่งปันอาหารละศีลอด การละหมาดร่วมกันเป็นกลุ่ม การอ่านอัลกุรอาน  และอื่นๆ
   ดังกล่าวจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงตนเอง ครอบครัว และสังคมให้ดีขึ้น เพียงแค่การที่เราต่างใช้ชีวิตเช่นเดียวกันนี้ภายหลังรอมาฎอนด้วยเท่านั้น


   9.  การดูแลสุขภาพ 
      สุขภาพจะดีขึ้นได้ด้วยการบริโภคแต่สิ่งที่ดีตามหลักการศาสนา  ควรกับเวลา  ปริมาณที่เหมาะสม   ตรงเวลา   จะทำให้ร่างกายแข็งแรง  สุขภาพดี และเป็นการบำบัดโรคได้อีกด้วย    การบริโภคที่เกินความจำเป็นเป็นเหตุให้เกิดโรคต่างๆ

   10.การตรงต่อเวลา
      การเริ่มงดเว้นการกินการดื่ม  การละศีลอด เป็นแบบฝึกหัดสำคัญที่จะทำให้เป็นคนตรงต่อเวลา

11.   ฝึกอบรมบุตรหลานให้ได้เกิดความคุ้นเคยกับการถือศีลอด
การเริ่มฝึกเด็กๆถือศีลอดตั้งแต่ 7 ขวบ โดยประมาณ ครึ่งวันบ้าง เต็มวันบ้าง 3 รอมาฎอน  ครั้นพอรอมาฎอนที่ 4 ก็บังคับอย่างจริงจัง  มีการลงโทษ  เพื่อทำให้เด็กๆเติบโตเป็นเยาวชนที่คุ้นเคยและรักการกระทำความดี


ไปเก็บมาจากคุตบะฮ์วันอีดมัสยิดดารุ้ลอาบิดีน

13
1.   ไม่ได้เจตนาถือศิลอดเพื่ออัลเลาะห์ หรือความดีจากพระองค์
2.   ละเลยการละหมาด 5 เวลา
3.   อดนอนกับสิ่งไร้สาระ เช่น ละครทีวี ฟัง คุย ฯลฯ
4.   นอนมาก
5.   ใช้เวลาประกอบอาหารมากเกินไป
6.   ฟังเพลง
7.   ดูหนัง ดูละครทีวี
8.   อ่านนิตยสาร  หนังสือพิมพ์ ในสิ่งที่ไร้สาระ
9.   ชอปปิ้ง เดิน ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้าบ่อย
10.   แต่งตัวไม่มิดชิด
11.   คุยโทรศัพท์เรื่องไม่เป็นเรื่อง
12.   นินทา
13.   หย่อนยานในหน้าที่รับผิดชอบการงาน โดยอ้างว่าเหนื่อย
14.   ละเลยการดูแลลูกๆ
15.   ปฏิบัติไม่ดีต่อคนรอบข้าง เช่น หงุดหงิด ฉุนเฉียว หยาบคาย
16.   งก ไม่แบ่งปัน ไม่บริจาค
17.   ผู้หญิงไปตะรอเวียะฮ์แต่..
•   แต่งตัวไม่มิดชิดขณะไป-กลับ
•   ใส่น้ำหอม
•   อาศัยรถตามลำพังกับชายที่แต่งงานได้
•   พาเด็กมารบกวนสมาธิคนอื่นๆ
•   นั่งพักคุยเรื่องดุนยา
•   แถวไม่ตรง ขาด ไม่เต็ม
•   แย่งกัน เบียดเสียดกับผู้ชาย ขณะเสร็จละหมาด

18.   มีเมนส์แต่ไม่ชดเชยด้วยซิกรุ้ลเลาะฮ์
19.   กระหยิ่มในตนเองว่าดีกว่า เก่งกว่าใครๆ
20.   ไม่ละหมาดญะมาอะห์
21.   เล่น, ดูกีฬาโดยไม่สมดุลกับอิบาดะฮ์
22.   พักผ่อนเกินจำเป็น
23.   เกาะกลุ่มนั่งสะพาน ศาลา สร้างความเดือดร้อนมนุษย์
24.   มั่วสุมเพื่อนเลวๆ
25.   ข้องเกี่ยวกับ สิ่งมึนเมา ยาเสพติด
26.   บริโภคของฮะรอม
27.   โกหก สาบานเท็จ
28.   มาทำงานสาย กลับก่อนเวลา
29.   ไม่ให้ความสำคัญกับบาปเล็กๆ
30.   ไม่สนใจการทำความดีง่ายๆที่มีผลบุญตอบแทน
31.   ทำบาปด้วยปาก ด่า นินทา ใส่ร้าย
32.   ตลกโปกฮา ทะลึ่ง ลามก
33.   เพิกเฉยต่อการทำความดีเช่น อ่านกุรอ่าน ซอดาเกาะฮ์
34.   ทำงานจนลืมหน้าที่ต่ออัลเลาะฮ์
35.   จมอยู่ในการทำความชั่ว
36.   ไม่มีส่วนร่วมในโบนัสความดี (เช่นทำน้อยได้มาก ซิกรุ้ลเลาะฮ์ อิสติคฟาร)
37.   ไม่ใส่ใจหน้าที่ต่อบุพการีย์
38.   ไม่รู้และไม่สนใจจะรู้เรื่องรอมฎอน
39.   บวชแค่อดข้าว อดน้ำ เเต่ไม่บวชปาก ตา หู มือ หัวใจ
40.   ลืมตาย

14
قال رسول الله صلى الله عليه وسلم : " إنه من صلى مع الإمام حتى ينصرف كتب له قيام ليلة " رواه أهل السنن وقال الترمذي حسن صحيح .
น่าจะเป็นคำตอบสำหรับท่านที่ไปละหมาดตารอเวี้ยะฮ์ร่วมกัน(ญะมาอะฮฺ)

15
เราไม่ได้อะไรจากรอมฎอน  เพราะ..  ?

1.   ไม่ได้เจตนาบวชเพื่ออัลเลาะห์ หรือความดีจากพระองค์
2.   ละเลยการละหมาด 5 เวลา
3.   อดนอนกับสิ่งไร้สาระ เช่น ละครทีวี ฟัง คุย ฯลฯ
4.   นอนมาก
5.   ใช้เวลาประกอบอาหารมากเกินไป
6.   ฟังเพลง
7.   ดูหนัง ดูละครทีวี
8.   อ่านนิตยสาร  หนังสือพิมพ์ ในสิ่งที่ไร้สาระ
9.   ชอปปิ้ง เดิน ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้าบ่อย
10.   แต่งตัวไม่มิดชิด
11.   คุยโทรศัพท์เรื่องไม่เป็นเรื่อง
12.   นินทา
13.   หย่อนยานในหน้าที่รับผิดชอบการงาน โดยอ้างว่าเหนื่อย
14.   ละเลยการดูแลลูกๆ
15.   ปฏิบัติไม่ดีต่อคนรอบข้าง เช่น หงุดหงิด ฉุนเฉียว หยาบคาย
16.   งก ไม่แบ่งปัน ไม่บริจาค
17.   ผู้หญิงไปตะรอเวียะฮ์แต่..
•   แต่งตัวไม่มิดชิดขณะไป-กลับ
•   ใส่น้ำหอม
•   อาศัยรถตามลำพังกับชายที่แต่งงานได้
•   พาเด็กมารบกวนสมาธิคนอื่นๆ
•   นั่งพักคุยเรื่องดุนยา
•   แถวไม่ตรง ขาด ไม่เต็ม
•   แย่งกัน เบียดเสียดกับผู้ชาย ขณะเสร็จละหมาด
18.   มีเมนส์แต่ไม่ชดเชยด้วยซิกรุ้ลเลาะฮ์
19.   กระหยิ่มในตนเองว่าดีกว่า เก่งกว่าใครๆ
20.   ไม่ละหมาดญะมาอะห์
21.   เล่น, ดูกีฬาโดยไม่สมดุลกับอิบาดะฮ์
22.   พักผ่อนเกินจำเป็น
23.   เกาะกลุ่มนั่งสะพาน ศาลา สร้างความเดือดร้อนมนุษย์
24.   มั่วสุมเพื่อนเลวๆ
25.   ข้องเกี่ยวกับ สิ่งมึนเมา ยาเสพติด
26.   บริโภคของฮะรอม
27.   โกหก สาบานเท็จ
28.   มาทำงานสาย กลับก่อนเวลา
29.   ไม่ให้ความสำคัญกับบาปเล็กๆ
30.   ไม่สนใจการทำความดีง่ายๆที่มีผลบุญตอบแทน
31.   ทำบาปด้วยปาก ด่า นินทา ใส่ร้าย
32.   ตลกโปกฮา ทะลึ่ง ลามก
33.   เพิกเฉยต่อการทำความดีเช่น อ่านกุรอ่าน ซอดาเกาะฮ์
34.   ทำงานจนลืมหน้าที่ต่ออัลเลาะฮ์
35.   จมอยู่ในการทำความชั่ว
36.   ไม่มีส่วนร่วมในโบนัสความดี (เช่นทำน้อยได้มาก ซิกรุ้ลเลาะฮ์ อิสติคฟาร)
37.   ไม่ใส่ใจหน้าที่ต่อบุพการีย์
38.   ไม่รู้และไม่สนใจจะรู้เรื่องรอมฎอน
39.   บวชแค่อดข้าว อดน้ำ เเต่ไม่บวชปาก ตา หู มือ หัวใจ
40.   ลืมตาย


หน้า: [1] 2