แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - الأزاهرة

หน้า: [1] 2 3 ... 10
1
بِسْمِ اللهِ الرَحْمنِ الرَّحِيْمِ


1. การช่วยเหลือตนเองทำให้สายตาอ่อนแอ  และทำให้การเห็นได้อย่างชัดเจนน้อยลง

2. ทำให้อวัยวะสืบพันธ์อ่อนแอ  และทำให้เกิดการอ่อนแอบางส่วนหรือทั้งหมด

3. ทำให้กล้ามเนื้อทั่วไปอ่อนแอเพราะเป็นผลมาจากการเสียพลังงานจากปฏิบัติการดังกล่าว

4. ทำให้ระบบการย่อยอาหารในร่างกายทำงานผิดปกติ   ทำให้ระบบและการทำงานอ่อนแอ

5. ทำให้บรรดาอวัยวะหยุดการเจริญเติบโต  โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนของอวัยวะเพศและสองลูกอัณฑะ

6. ทำให้อสุจิในอัณฑะอักเสบ  และทำให้เขาหลั่งเร็วเป็นอย่างมาก  ซึ่งสามารถหลั่งออกมาเพียงแค่อวัยวะเพศไปเสียดสีบางอย่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง

2
ส่วนเรื่องที่ระดับอาจารย์นั้นแตกแยกกัน เราคงไม่อยากจะกล่าว
เพราะมันเป็นเรื่องของระดับ อะกีดะ กันเสียแล้ว มันเรื่องตรงนี้มันฮุก่มกันรุนแรง



  .............มันยังงัยอ่ะครับ เรื่องระดับอะกีดะฮฺ มันต้องฮุกุ่มกันรุนแรงขนาดไหนครับ ............ต้องถึงฮุกุ่มตกศาสนาหรือเปล่าครับ.....????


   ................หรือว่า พวกระดับอาจารย์นี่ เขาไม่สามารถสามัคคีกันได้เลยรึเปล่าครับ..........                   


                                                             ....................................................... ช่วยบอกหน่อยครับ ผมเริ่มหมดหวังแล้ว...........................................

พวกระดับอาจารย์นี่  ต้องร่วมใจกันสองฝ่าย  หากฝ่ายหนึ่งต้องการประณีประนอม  แต่อีกฝ่ายบอกว่าเรื่องศานาประณีประนอมไม่ได้  ออกรายงานวิทยุด่ากันปาว ๆ หมดหวังครับที่จะเพิ่งบรรดาอาจารย์มาร่วมแก้ไข  นอกจากตัวเราเองเท่านั้นที่เลือกกระทำได้โดยไม่ไปยึดติดคือบ้าคลั้งกับตัวอาจารย์บางคน  ส่วนเรื่องอะกีดะห์นั้นไม่ถึงกับตกศาสนาหรอกครับ น้อยสุดแค่บิดอะฮ์ในบางแง่มุม  เช่น การพรรณาคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์แบบตัชบีฮ์(คล้ายคลึงกับมัคโลคไม่ว่าแง่มุมใด) หรือภรรณาคุณลักษณะของอัลเลาะห์แบบตัจญ์ซีม (เป็นรูปร่าง) ครับ

3
 salam

นำเสนอเรียบร้อยตามสัญญา  พี่น้องโปรดอ่านก่อน  หลังจากนั้นหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมที่จะถาม  พี่น้องก็ร่วมเสวนากันได้เลยครับ 

วัสลาม

4
ความแตกต่างระหว่างอะกีเกาะห์กับอุดฮียะห์ :

1. กรณีอะกีเกาะห์วายิบ  เช่น  บนบาน(นะซัร)  ไม่วายิบต้องบริจาคทั้งหมดแก่คนจนเป็นเนื้อสด  คือให้ปรุงเป็นน้ำแกงแล้วบริจาคให้แก่พวกเขาด้วยก็ได้  แต่อุดฮียะห์วายิบต้องบริจาคเนื้อสดทั้งหมดเป็นทานแก่คนจน

2. เมื่อนำเนื้ออะกีเกาะห์มอบเป็นของขวัญ(ฮะดียะฮ์)แก่คนรวย  ก็อนุญาตให้เขาครอบครองได้  จะนำไปขายหรือไปทำอะไรก็ได้ตามต้องการ  ซึ่งแตกต่างกับอุดฮียะห์  คนรวยจะนำไปขายไม่ได้นอกจากนำไปรับประทานเท่านั้น

3. อะกีเกาะห์จะไม่ถูกจำกัดเวลา  คือกระทำได้เมื่อสะดวก  แต่อุดฮียะห์จะถูกจำกัดเวลา  คือเริ่มตั้งแต่ตะวันขึ้นในวันอีดิ้ลอัดฮา  และผ่านไปช่วงหนึ่งที่พอจะละหมาดสองรอกาอัตและสองคุตบะห์ได้  เวลการเชือดอุดฮียะห์นี้จะยังคงอยู่เรื่อยไปจนถึงตะวันตกในวันสุดท้ายของวัน ตัชรีก  วันตัชรีกคือวันที่สิบเอ็ด  สิบสอง  และสิบสามของเดือนซุ้ลฮิจยะห์

4. อะกีเกาะห์สุนัตให้ทำการปรุงเป็นอาหาร  ส่วนอุดฮียะห์สุนัตให้บริจาคเป็นเนื้อสด

5. อะกีเกาะห์ไม่ควรทำให้กระดูกของสัตว์แตกหัก  ซึ่งแตกต่างกับอุดฮียะห์

ค้นคว้าและเรียบเรียงโดย : อัลอัซฮะรีย์

5

จะปฏิบัติอย่างไรกับอะกีเกาะฮ์  ภายหลังจากเชือดแล้ว :

ถ้าหากอะกีเกาะห์นั้น เป็นวาญิบ : โดยการบนบาน (นะซัร) ไว้ หรือโดยการระบุแน่นอนว่าสัตว์ดังนี้จะทำอะกีเกาะห์ดังได้อธิบายมาแล้ว  ก็ให้ทำการบริจาคทั้งหมดให้แก่คนยากจนไม่ว่าจะปรุงเป็นน้ำแกงหรือเนื้อสดก็ตาม  ซึ่งจะไม่อนุญาตให้ผู้ทำอะกีเกาะห์ และคนใดในครอบครัวของเขาที่เขาจำเป็นต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูให้ รับประทานอะกีเกาะห์นั้น  ถ้าหากผู้ใดรับประทานส่วนหนึ่งของอะกีเกาะห์  ก็จะต้องถูกปรับเท่ากับที่รับประทานไปหรือถูกปรับเป็นราคา

ส่วนผู้ที่ห้ามรับประทานเนื้ออะกีเกาะห์หรืออุดฮียะห์ที่เป็นวายิบ  เช่น  ตัวผู้บนบาน  และคนกาเฟรซิมมีย์(ที่ทำสัญญาภายใต้การปกครองของอิสลาม)  นั้น  ท่านอิมามอัลบาญูรีย์ได้กล่าวว่า  "ไม่อนุญาตให้เนื้ออะกีเกาะห์แก่ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมดังที่อิมามชาฟิอีย์ได้ระบุไว้ในหนังสือของท่านอัลบุวัยฏีย์  แต่ในหนังสืออัลมัจญ์มัวะห์ระบุว่าอนุญาตให้คนจนจากกาเฟรซิมมีย์รับประทานจากเหนืออุดฮียะห์ที่เป็นสุนัตได้แต่ไม่อนุญาตอนุญาตเนื้ออุดฮียะห์ที่เป็นวายิบ  ท่านอัลอัษรออีย์จึงมีความแปลกใจจากสิ่งดังกล่าว  แต่ที่ถูกต้องแล้วนั้นไม่อนุญาตให้เนื้ออุดฮียะห์แก่กาเฟรซีมมีย์โดยไม่มีข้อแม้ใด ๆ" ฮาชียะห์อัลบาญูรีย์ 2/310  ส่วนกรณีที่ใส่เพิ่มเนื้ออื่นปรุงเข้าไปด้วยนั้น  ก็อนุญาตให้รับประทานได้  ท่านอิมามอัลบาญูรีย์กล่าวว่า  "การที่เขาได้ปรุงโดยนำเนื้ออื่นเพิ่มเข้ามาสมบทกับเนื้ออุดฮียะห์ที่วายิบ  ก็อนุญาตให้เขารับประทานจากมันได้เพราะมันมีเนื้ออื่นที่ไม่ใช่เนื้ออุดฮียะห์วายิบเพิ่มเข้ามา  แต่พร้อมกับมักโระห์สำหรับเขา"  ฮาชียะห์อัลบาญูรีย์ 2/310     

และถ้าหากเป็นอะกีเกาะห์ที่สุนัต  ก็ซุนนะฮ์มอบน่องขาของสัตว์อะกีเกาะห์แก่หมอผดุงครรภ์  ที่ดีเลิศแล้วให้น่องข้างขวา  และซุนนะฮ์ให้ทำการปรุงเป็นน้ำแกงและส่งมอบเป็นทานศ่อดาเกาะห์ให้แก่คนยากจน  ซึ่งเป็นการดีกว่าเชิญพวกเขามารับประทาน  และซุนนะฮ์ให้ทำการปรุงด้วยของหวาน เช่น องุ่นแห้ง  น้ำผึ้ง  เป็นต้นเพื่อเป็นเคล็ด(ฮิกมะฮ์)ให้เด็กมีความมารยาทที่ดีงาม  และซุนนะฮ์อย่าทำให้กระดูกแตกเพื่อเป็นเคล็ด(ฮิกมะฮ์)ให้อวัยวะของเด็กมีความสมบูรณ์ปลอดภัย  ซึ่งหากทำให้กระดูกแตกหักก็ถือว่าไม่มักโระห์แต่ประการใด  แต่คิลาฟุลเอาลาคือไม่ควรทำดีกว่า (หนังสือตั๊วะห์ฟะตุลมั๊วะห์ตาจญ์ 9/372 , หนังสือฮาชียะห์อัลบาญูรีย์ 2/313)

6

เงื่อนไขอะกีเกาะห์ :

สัตว์อะกีเกาะห์นั้น  ในหลักการของอายุ  ชนิด  ความปลอดภัยจากข้อตำหนิ  การรับประทาน  และการบริจาคเป็นทาน  การมอบเป็นของขวัญ   การเก็บเนื้อไว้  ปริมาณที่รับประทาน  การห้ามขาย  และอื่น ๆ ก็เหมือนกับหลักการของอุดฮียะห์  แต่ทว่ามีความแตกต่างกันเล็กน้อย  เช่น  เนื้ออะกีเกาะห์ที่มอบเป็นของขวัญแก่คนรวยนั้น  เขาสามารถครอบครองและดำเนินการอย่างไรก็ได้ตามที่ต้องการ (เช่นนำไปขาย) เพราะอะกีเกาะห์มิใช่เป็นการเลี้ยงแขกทั่วไปซึ่งแตกต่างกับอุดฮียะห์  (หนังสือ ตั๊วะห์ฟะตุลมั๊วะตาจญ์  9/371-372)

เวลาเชือดอะกีเกาะห์ :

เวลาของการเชือดอะกีเกาะห์   คือหลังจากเด็กคลอดออกมาอย่างสมบูรณ์  ถ้าหากทำอะกีเกาะห์ก่อนคลอดออกมา  ตามทัศนะของท่านอิบนุฮะญัร อัลฮัยตะมีย์  ถือว่าได้ทำให้เกิดขึ้นซึ่งหลักเดิมของซุนนะฮ์แล้ว  แต่ที่ดีเลิศแล้วซุนนะฮ์ให้ทำการเชือดอะกีเกาะห์ในวันที่เจ็ดของวันเกิด  หากเด็กเกิดตอนกลางวันก่อนดวงอาทิตย์ตกก็ให้นับวันนั้นเป็นวันที่หนึ่ง  หากเกิดในตอนกลางคืนก็ให้นับวันรุ่งขึ้นเป็นวันที่หนึ่ง   ถ้าหากเด็กเสียชีวิตหลังจากเจ็ดวันแล้วถือว่าสุนัตให้ทำอะกีเกาะห์โดยไม่มีข้อขัดแย้งใด ๆ  สำหรับกรณีที่เด็กเสียชีวิตก่อนเจ็ดวัน  ทัศนะที่มีน้ำหนักคือสุนัตให้ทำอะกีเกาะห์ให้แก่เด็กนั้น (หนังสือตั๊วะห์ฟะตุ้ลมั๊วะห์ตาจญ์ 9/370 , หนังสืออิอานะฮ์อัฏฏอลิบีน 2/526) 

ถ้าหากผู้ปกครองเด็กไม่สะดวกในการทำอะกีเกาะห์ในช่วงวันที่ 7  ก็อนุญาตให้ทำอะกีเกาะห์แก่เด็กได้ในช่วงวันที่  14  หากไม่มีความสามารถก็ทำในวันที่ 21 หากยังไม่มีความสามารถก็อยู่ในเวลามากสุดของนิฟาส (คือจนถึง 60 วันหลังคลอด)  หากยังไม่มีความสามารถก็ให้หาโอกาสทำอะกีเกาะห์แก่เด็กจนกว่าเขาจะบรรลุศาสนภาวะ  ดังนั้นเมื่อบรรลุศาสนภาวะแล้ว  สุนัตให้แก่ผู้ที่ยังไม่ทำอะกีเกาะห์แก่เขา  ทำการเชือดอะกีเกาะห์ให้แก่ตัวเขาเองเนื่องจากท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้เคยทำอะกีเกาะห์แก่ตัวท่านเองหลังจากได้รับการแต่งตั้งเป็นนบี  ซึ่งได้กล่าวมาแล้วข้างต้น (หนังสือมุฆนิ้ลมั๊วะห์ตาจญ์ 6/143 , หนังสือตั๊วะห์ฟะตุ้ลมั๊วะห์ตาจญ์ 9/370-371, บุชรออัลกะรีม 2/130)

ช่วงเวลาที่ดีเลิศในการเชือดอะกีเกาะห์  คือหลังจากดวงอาทิตย์ขึ้น  และให้เขากล่าวขณะเชือดว่า :

بَسْمِ اللهِ  وَاللهُ أَكْبَرُ اللّهُمَّ لَكَ وَإِلَيْكَ اللّهُمَّ هَذِهِ عَقِيْقَةُ .......فُلاَنٍ

"บิสมิลลาฮ์  วัลลอฮุอักบัร  อัลลอฮุ้ม่า  ละก้า  วะอิลัยก้า  อัลลอฮุ้มม่า  ฮะซิฮีอะกีเกาะตู้ (....เอ่ยนามของบุตร....) 


7

สัตว์ที่ใช้ทำอะกีเกาะห์ :

ที่สมบูรณ์น้อยสุดนั้นคือสุนัตให้ทำอะกีเกาะห์แก่เด็กผู้ชายด้วยแกะสองตัว และเด็กผู้หญิงด้วยแกะหนึ่งตัว  เพราะมีหะดิษของท่านหญิงอาอิชะฮ์  ความว่า :

‏أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏أَمَرَهُمْ عَنْ الْغُلَامِ شَاتَانِ ‏ ‏مُكَافِئَتَانِ ‏ ‏وَعَنْ الْجَارِيَةِ شَاةٌ

"ท่านร่อซูลุลลอฮ์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้ใช้ให้พวกเขา(ทำอะกีเกาะห์)แก่เด็กผู้ชายแกะสองตัวเท่า ๆ กัน  และแก่เด็กผู้หญิงหนึ่งตัว"  รายงานโดยอัตติรมีซีย์ (1433)  อัตติรมีซีย์กล่าวว่า  ฮะดิษฮะซันซอฮิห์

อย่างน้อยสุดถือว่าได้ปฏิบัติตามหลักเดิมของซุนนะฮ์นั้นแล้วด้วยการทำอะกีเกาะห์แกะหนึ่งตัวให้แก่เด็กชาย

ท่านอิบนุอับบาส  กล่าวว่า

‏أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏عَقَّ ‏ ‏عَنْ ‏ ‏الْحَسَنِ ‏ ‏وَالْحُسَيْنِ ‏ ‏كَبْشًا كَبْشًا ‏

"ท่านร่อซูลุลลอฮ์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ทำอะกีเกาะห์แก่อัลฮะซันและอัลฮุซัยน์คนละหนึ่งตัว" รายงานโดยอะบูดาวูด (2458)  ฮะดิษซอฮิห์

ที่ดีเลิศแล้ว  แกะเจ็ดตัว  เช่นเดียวกันนี้  คืออูฐหนึ่งตัว (เท่ากับเจ็ดส่วน) หรือวัวหนึ่งตัว (เท่ากับเจ็ดส่วน)  ดังนั้นหากเชือดอูฐหรือวัวแทนจากเด็กเจ็ดคน  หรือมีกลุ่มหนึ่งร่วมหุ้นส่วนด้วยในอูฐหรือวัวนั้น  ก็อนุญาตให้กระทำได้  ไม่ว่าพวกเขาทั้งหมดมีความต้องการที่จะทำอะกีเกาะฮ์(จากเจ็ดส่วนนั้น) หรือพวกเขาต้องการทำอะกีเกาะฮ์บางส่วนและอีกบางคนต้องการเนื้อเท่านั้น(ก็ เป็นที่อนุญาตให้กระทำได้) ดังที่ท่านอิมามอันนะวาวีย์ได้กล่าวไว้  (หนังสือมุฆนิ้ลมั๊วะห์ตาจญ์ 6/114 , หนังสือบุชรออัลกะรีม 2/130)

พี่น้องบางท่านอาจจะสงสัยว่า ทำไม อูฐและวัวถึง แบ่งได้เจ็ดส่วน  กล่าวคือ  หากเป็นแกะหรือแพะ ถือว่าเท่ากับหนึ่งส่วนเพราะตัวมันเล็ก  ส่วนอูฐหรือวัว จะมีเนื้อมากกว่า  ซึ่งมากกว่าแกะและแพะถึง 7 เท่า  ฉะนั้นแกะหรือแพะจึงคิดเท่ากับ 1 ส่วน  และอูฐกับวัวคิดเท่ากับ 7 ส่วน

ดังนั้น  หากต้องการจะทำอะกีเกาะฮ์ให้บุตร 7 คน   ท่านอิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย์  กล่าวฟัตวาไว้ว่า  "ที่ดีเลิศแล้ว  ให้ทำอะกีเกาะฮ์ ด้วย แกะเจ็ดตัว  หากไม่มีก็อูฐหนึ่งตัว  หากไม่มีอูฐก็วัวหนึ่งตัว  หลังจากนั้นแพะชนิดมีขน (เจ็ดตัว)  หลังจากนั้นแพะชนิดมีขนน้อย (เจ็ดตัว)  หลังจากนั้นหุ้นส่วนร่วมกันในตัวอูฐ  หลังจากนั้นหุ้นส่วนร่วมกันในวัวหนึ่งตัว" หนังสือ ตั๊วะห์ฟะตุลมั๊วะตาจญ์  9/371

การหุ้นส่วนในอูฐหรือวัวนั้น  กล่าวคือเป็นที่ทราบกันดีกว่า  อูฐและวัว มีค่าเท่ากับเจ็ดส่วน (ของแกะหรือแพะ)  หากมีคนหนึ่งต้องการจะเชือดอูฐหรือเชือดวัว  เรามีบุตรอยู่สองคน  ก็อนุญาตให้เราไปบอกเจ้าของ อูฐหรือวัว นั้นว่า  ขอหุ้นเนื้อสองส่วน สำหรับทำอะกีเกาะฮ์บุตรสองคน เป็นต้น  แล้วเราก็จ่ายค่าเนื้อสองส่วนนั้นให้กับเจ้าของอูฐหรือวัวก่อนเชือด  และให้ผู้ทำการเชือดเหนียตทำอะกีเกาะฮ์สองส่วนให้กับบุตรทั้งสองของตน

8

ใครที่ถูกกำหนดให้อะกีเกาะห์ :

สุนัตแก่ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเลี้ยงดูเด็กให้ใช้ทรัพย์ส่วนตัวทำอะกีเกาะห์ให้แก่บุตรหากมีความสามารถ  และสุนัตให้แม่ของลูกซินาทำอะกีเกาะห์แก่บุตรของนาง  แต่ให้ทำแบบลับ ๆ เพราะเกรงว่านางจะถูกดูหมิ่น   ส่วนกรณีที่บิดามารดาของบุตรไม่มีความสามารถทำอะกีเกาะห์แก่บุตรได้  ก็อนุญาตให้ผู้เป็นปู่ทำอะกีเกาะห์ให้แก่ผู้เป็นหลาน  สำหรับการทำอะกีเกาะห์นั้นต้องใช้ทรัพย์สินของผู้รับผิดชอบเลี้ยงดู  มิใช่นำทรัพย์สินของผู้เป็นบุตรมาทำอะกีเกาะห์เพราะการทำอะกีเกาะห์นั้น   เป็นการบริจาคทรัพย์ให้แก่เด็ก (หนังสือ  มุฆนิ้ลมั๊วะห์ตาจญ์ 6/144 , หนังสืออิอานะฮ์อัฏฏอลิบีน 2/525 , 2/527)

และถือว่าเป็นการดีสำหรับการทำอะกีเกาะห์ให้แก่ตนเอง  เพราะท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้เคยเชือดอะกีเกาะห์เพื่อแสดงความยินดีแก่วันเกิด(เมาลิด)ของตัวท่านเอง  ดังที่มีฮะดีษระบุว่า

إِنَّ النَّبِيَّ صَلّي اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَقَّ عَنْ نَفْسِهِ بَعْدَ النُبُوَّةِ

"แท้จริงท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้ทำอะกีเกาะห์แก่ตัวท่านเองหลังจากเป็นนบี" รายงานโดยอัลบัยฮะกีย์ (19056)

ท่านอิบนุฮะญัร  อัลฮัยตะมีย์  ได้กล่าวว่า  "ท่านอิมามอันนะวาวีย์ได้กล่าวว่า  ฮะดิษนี้ฏออีฟซึ่งเหมือนกับว่าท่านได้ทำการตำหนิฮะดิษโดยตามท่านอัลบัยฮะกีย์  แต่ความจริงมิใช่เป็นเช่นนั้นในทุกสายรายงานของฮะดิษ  เพราะฮะดิษนี้ได้รายงานอะห์มัด , อัลบัซซาร , อัฏฏ็อบรอนีย์ , ด้วยหลายสายรายงานด้วยกัน  ซึ่งท่านอัลฮาฟิซฺนูรุดดีน อัลฮัยตะมีย์  ได้กล่าวในบางสายรายงานว่า  บรรดานักรายงานฮะดิษนี้ซอฮิห์นอกจากมีเพียงหนึ่งท่านที่ษิเกาะห์(เชื่อถือได้" หนังสือตั๊วะห์ฟะตุลมั๊วะห์ตาจญ์ 9/371) ยิ่งกว่านั้นอัลบานีย์เองก็ยังตัดสินว่าฮะดิษดังกล่าวซอฮิห์  ดู : หนังสืออัซซัลซิละห์อัศศ่อฮีฮะห์  ฮะดิษที่ (2726)


9
ฮิกมะห์ในการบัญญัติเรื่องอะกีเกาะห์ :

การทำอะกีเกาะฮ์ยังการสร้างความใกล้ชิดของเด็กที่มีต่ออัลเลาะฮ์ในขณะที่แรกเกิดมาดูโลก  สามารถแก้พันธนาการของเด็กมีความสามารถช่วยเหลือบิดามารดาของเขาได้ในวันกิยามะห์  อีกทั้งแสดงความปีติยินดีที่ชีวิตหนึ่งที่มีความศรัทธาได้ลืมตาดูโลกดุนยา  ทำให้ประชากรของท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  เพิ่มทวีคูณยิ่งขึ้นทั้งในโลกนี้และโลกหน้า  ยิ่งกว่านั้นการจัดเลี้ยงอะกีเกาะห์ยังถักทอความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นไปในสังคม  มีความเอื้ออาทรและลดช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวย   ดังนั้นความบารอกัตสิริมงคลก็จะบังเกิดขึ้นต่อครอบครัวผู้ที่ทำอะกีเกาะห์อย่างแท้จริงนั่นเอง

ท่านอิมามอัลค่อฏีบกล่าวว่า "การทำอะกีเกาะห์ก็เพื่อขอบคุณเนี๊ยะมัตของอัลเลาะฮ์ตะอาลาที่ได้ประทานบุตรมาให้  และเป็นการแสดงความยินดีและขยายวงศ์ตระกูล" (หนังสือ  มุฆนิ้ลมั๊วะห์ตาจญ์ 6/143 , หนังสือตั๊วะห์ฟะตุลมั๊วะห์ตาจญ์ 9/369 , หนังสืออิอานะฮ์อัฏฏอลิบีน 2/525)

ข้อกำหนด (ฮุกุ่ม) ของอะกีเกาะห์ :

การทำอะกีเกาะห์เป็นซุนนะฮ์มุอักกะดะฮ์  หรือซุนนะฮ์มักซูดะฮ์  คือซุนนะฮ์ที่มีเป้าหมายเหมือนกับการทำอุดฮียะห์  เพราะเป้าหมายของอุดฮียะห์นั้นเพื่อเลี้ยงแขกทั่วไป   ส่วนการทำอะกีเกาะห์เพื่อเลี้ยงแขกเฉพาะคนใกล้ชิด  เพราะฮะดีษระบุว่า

ท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้กล่าวว่า

مَنْ وُلِدَ لَهُ وَلَدٌ فَأَحَبَّ أَنْ ‏ ‏يَنْسُكَ ‏ ‏عَنْهُ ‏ ‏فَلْيَنْسُكْ ‏ ‏عَنْ الْغُلَامِ

"ผู้ใดที่ถูกกำเหนิดบุตรให้แก่เขา  แล้วเขาชอบที่จะทำอะกีเกาะห์แก่เด็ก  ดังนั้นเขาก็จงทำเถิด"  รายงานโดยอะบูดาวูด (2459) 

แต่อะกีเกาะห์อาจกลายเป็นวายิบด้วยสาเหตุสองประการ  คือ :

หนึ่ง : การที่บุคคลหนึ่งได้ชี้ไปที่สัตว์ที่อยู่ในกรรมสิทธิ์ของเขาซึ่งเป็นสัตว์ที่นำมาทำอะกีเกาะห์ได้  แล้วกล่าวเจาะจงว่า : นี้คือสัตว์อะกีเกาะห์แก่บุตรของฉันหรือกล่าวว่า : ฉันจะใช้สัตว์นี้ทำอะกีเกาะห์  เป็นต้น  ดังนั้นเขาก็จำเป็น (วาญิบ) ต้องเชือดสัตว์นั้นทำอะกีเกาะห์

สอง : บนบาน (นะซัร ) ว่าจะทำอะกีเกาะห์  เช่นกล่าวว่า : ข้าพเจ้าทำอะกีเกาะห์เพื่ออัลเลาะฮ์ก็จะกลายเป็นวายิบเหนือเขา  (หนังสือตั๊ะห์ฟะตุลมั๊วะห์ตาจญ์ 9/382 , หนังสืออะอานะฮ์อัฏฏอลิบีน 2/526 , หนังสือฮาชียะห์อัลบาญูรีย์ 2/314)
 

10
بسم الله الرحمن الرحيم

اَلْعَقِيْقَةُ

การทำอะกีเกาะห์

ความหมายและหลักฐานการบัญญัติเรื่องอุดฮียะห์ :

อะกีเกาะห์   ตามหลักภาษาอาหรับ  คือ  : เส้นผมที่อยู่บนศีรษะของเด็กขณะที่เกิดมา  และอะกีเกาะห์  ตามความหมายของบทบัญญัติ  คือ : สัตว์ที่ถูกเชือดให้แก่เด็กที่เกิดมาขณะที่โกนศีรษะ (หนังสืออิอานะฮ์ อัฏฏอลิบีน : 2/525)

หลักฐานในการบัญญัติอะกีเกาะห์   คือ  ฮะดีษของท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ที่ว่า

‏عَنْ ‏ ‏سَمُرَةَ ‏ ‏قَالَ : قَالَ رَسُولُ اللَّهِ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏ الْغُلَامُ ‏ ‏ مُرْتَهَنٌ ‏ ‏ بِعَقِيقَتِهِ ‏ ‏يُذْبَحُ عَنْهُ يَوْمَ السَّابِعِ وَيُسَمَّى وَيُحْلَقُ رَأْسُهُ
 
จากซะมุเราะห์  เขากล่าวว่า  "ท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้กล่าวว่า  เด็กจะถูกประกันไว้ด้วยอะกีเกาะห์ของเขา  จะถูกเชือดให้แก่เด็กในวันที่เจ็ด  ถูกตั้งชื่อ  และโกนศีรษะ" รายงานโดยอัตติรมีซีย์ (1442) ท่านอัตติรมีซีย์กล่าวว่า  ฮะดิษฮะซันซอฮิห์

อัมร์  บุตร  ชุอัยบ์  ได้รายงานจากบิดาของเขา  จากปู่ของเขาว่า

أَنَّ النَّبِيَّ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏ أَمَرَ بِتَسْمِيَةِ الْمَوْلُودِ يَوْمَ سَابِعِهِ وَوَضْعِ الْأَذَى عَنْهُ ‏ ‏وَالْعَقِّ

"แท้จริงท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้ใช้ให้ตั้งชื่อเด็กในวันที่เจ็ด  คลิบผมเด็ก  และเชือดสัตว์อะกีเกาะห์"  รายงานโดยอัตติรมีซีย์ (2758)  ท่านอัตติรมีซีย์กล่าวว่า  ฮะดิษฮะซัน

คำว่า  "เด็กจะถูกประกันไว้ด้วยอะกีเกาะห์ของเขา"  หมายถึง  :  เด็กจะไม่เจริญเติบโตเหมือนเด็กอื่น ๆ ที่ควรจะเป็นนอกจากด้วยการเชือดอะกีเกาะห์  ท่านอัลค็อฏฏอบีได้กล่าวว่า  ความหมายที่ดีที่สุดคือท่านอะห์มัด  บิน  ฮัมบัล  กล่าวว่า  เมื่อไม่เชือดอะกีเกาะห์แก่เด็ก  เขาก็จะไม่สามารถช่วยเหลือบิดามารดาของเขาได้ในวันกิยามะห์ (หนังสือ  มุฆนิ้ลมั๊วะห์ตาจญ์ 6/143 , หนังสือตั๊วะห์ฟะตุลมั๊วะห์ตาจญ์ 9/369 , หนังสืออิอานะฮ์อัฏฏอลิบีน 2/525)

11

สุนัตและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอุดฮียะห์ :

หนึ่ง : เมื่อเข้าสู่ช่วงสิบวันแรกของเดือนซุ้ลฮิจยะห์  และมีผู้ที่ตั้งใจในช่วงเวลาดังกล่าวว่าจะทำอุดฮียะห์  สุนัตให้เขาปล่อยผมและเล็บไว้จนกว่าจะเชือดอุดฮียะห์  เพราะฮะดีษที่มุสลิม (1977) ได้รายงานจากท่านนบี (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า :

إِذاَ رَأَيْتُمْ هِلاَلَ ذِي الحَجَّةِ وَأَراَدَ أَحَدُكُمْ أَنْ يُضَحِّيَ فَلْيُمْسِكْ عَنْ شَعْرِهِ وَأَظَافِرِهِ

"เมื่อพวกท่านเห็นฮิลาลของเดือนซิลฮิจยะห์ และคนใดพวกท่านประสงค์จะทำอุดฮียะห์  ให้เขาปล่อยผมและเล็บไว้"

สอง : สุนัตให้เชือดอุดฮียะห์ด้วยตนเอง  และถ้าหากมีอุปสรรไม่สามารถกระทำเองได้  ก็ให้มาดูการเชือดอุดฮียะห์ด้วย  เพราะฮะดีษที่ฮากิม (4/222) ได้รายงานด้วยสายรายงานที่ซอเฮียะห์ว่า  ท่านนบี (ซ.ล.) ได้กล่าวแก่ฟาติมะห์ (ร.ด.) ว่า :

قُوْمِيْ إِلَيْ أُضْحِيَتِكِ فَاشْهَدِيْهَا فَإِنَّهُ بِأَوَّلِ قِطْرَةِ مَنْ دَمِهَا يُغْفَرُ لَكِ مَا سَلَفَ مِنْ ذُنُوْبِكِ قَالَتْ : يَا رَسُوْلَ اللهِ ، هَذَا لَنَا أَهْلُ البَيْتِ خَاصَّةً ، أَوْ لَنَا ولِلمُسْلِمِيْنَ عَامَّةً ؟ قَالَ بَلْ لَناَ وَلِلمُسْلِمِيْنَ عَامَّةً

"เธอจงลุกขึ้นไปที่อุดฮียะห์ของเธอและดูมัน  เพราะด้วยเหลือดหยดแรกของมัน  เธอจะได้รับการอภัยโทษจากบาปต่าง ๆ ของเธอที่ล่วงมาแล้ว  ฟาติมะห์ได้ถามว่า : โอ้ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (ซ.ล.) ที่ท่านกล่าวนี้เฉพาะพวกเราที่เป็นคนในครอบครัวของท่าน (อะห์ลุลลัยต์) เท่านั้นหรือสำหรับพวกเราและมวลมุสลิมโดยทั่วไป?  ท่านตอบว่า : แต่มันสำหรับพวกเราและมวลมุสลิมโดยทั่วไป"

สาม : เป็นสุนัตแก่ผู้นำมุสลิม  เชือดสัตว์อุดฮียะห์โดยใช้ทรัพย์จากบัยตุ้ลมาลแทนแก่มวลมุสลิม , มุสลิม (1967) ได้รายงานว่า :

‏أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏ضَحَّي بِكَبْشٍ وَقَالَ عَنْدَ ذَبْحِهِ :‏ ‏بِاسْمِ اللَّهِ اللَّهُمَّ تَقَبَّلْ مِنْ ‏ ‏مُحَمَّدٍ ‏ ‏وَآلِ ‏ ‏مُحَمَّدٍ ‏ ‏وَمِنْ أُمَّةِ ‏ ‏مُحَمَّدٍ

ท่านนบี (ซ.ล.) ได้ทำอุดฮียะห์ด้วยแกะตัวหนึ่ง  และท่านได้กล่าวขณะเชือดมันว่า  "(บิสมิลลาฮ์  อัลลอฮุ้มม่า  ตะก็อบบัล  มินมุฮัมมัด  วะอาลิมุฮัมมัด  วะอุมมะติมุฮัมมัด) ด้วยพระนามของอัลเลาะห์  ข้าแด่อัลเลาะห์ได้โปรดรับจากมุฮำมัด  วงศ์วานของมุฮำมัด  และจากประชากรของมุฮำมัด"

และสุนัตให้ผู้นำเชือดอุดฮียะห์ ณ สถานที่ละหมาดซึ่งเป็นสถานที่ประชาชนได้มาชุมนุมกันเพื่อละหมาดอีด  และสุนัตให้เชือดด้วยตนเอง  บุคอรีได้รายงานในหนังสือซอเฮียะห์ของเขา (5232)

عَنْ إِبْنِ عُمَرَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُمَا قَالَ : كَانَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّي اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَذْبَحُ وَيَنْحَرُ بِالْمُصَلَّي

"จากอิบนุอุมัร (ร.ด.) ได้กล่าวว่า : "ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (ซ.ล.) ได้เชือดสัตว์ ณ สถานที่ละหมาด"

อ้างอิงจากหนังสือ : อัลฟิกห์ (นิติศาสตร์อิสลาม) หรือหนังสือ อัลฟิกหุ้ล มันฮะญีย์ ฟิกห์มัซฮับอิมามอัชชาฟิอีย์ แปลโดย ท่านอาจารย์ อ.อรุณ บุญชม (ฮะฟิซ่อฮุลลอฮ์) หน้า 211-215

วัลลอฮุตะอาลาอะลาวะอะลัม


12

หลักฐานในเรื่องดังกล่าวคือคำดำรัสของอัลเลาะห์ตาอาลา  ที่ว่า :

 وَالْبُدْنَ جَعَلْنَاهَا لَكُم مِّن شَعَائِرِ اللَّهِ لَكُمْ فِيهَا خَيْرٌ فَاذْكُرُوا اسْمَ اللَّهِ عَلَيْهَا صَوَافَّ فَإِذَا وَجَبَتْ جُنُوبُهَا فَكُلُوا مِنْهَا وَأَطْعِمُوا الْقَانِعَ وَالْمُعْتَرَّ

"และสัตว์ที่เชือดพลีทาน  เราได้กำหนดให้มันเป็นส่วหนึ่งจากเอกลักษณ์ของอัลเลาะห์เพื่อพวกเจ้า  ในนั้นมีความดีสำหรับพวกเจ้า  ดังนั้นพวกท่านจงกล่าวพระนามของอัลเลาะห์บนมันขณะที่เชือดมัน  โดยให้มันยืนสามขา  และเมื่อสีข้างของมันล้มลงกับพื้น  พวกเจาจงรับประทานบางส่วนของมันและจงให้บริโภคแก่ผู้มักน้อยและผู้ที่เสนอตัวขอ" ( 36 อัลฮัจย์)

และยินยอมให้ผู้ทำอุดฮียะห์  บริจาคหนังสัตว์ของตนได้  หรือเอาไว้ใช้ประโยชน์เองก็ได้แต่ไม่ยินยอมให้ขายหนังสัตว์อุดฮียะห์หรือให้แก่ผู้เชือดสัตว์เป็นค่าจ้างให้การเชือดของเขา  เพราะการดังกล่าวนั้นเป็นการทำให้อุดฮียะห์ลดหย่อน  ซึ่งทำให้อุดฮียะห์มีผลใช้ไม่ได้  และเพราะฮะดีษที่บัยฮะกีได้รายงาน (9/294) จากท่านนบี (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า :

مَنْ بَاعَ جِلْدَ أُضْحِيَتِهِ فَلاَ أُضْحِيَةَ لَهُ

"ผู้ใดขายหนังสืออุดฮียะห์ของตน  ก็ไม่มีอุดฮียะห์สำหรับผู้นั้น"


13

จะปฏิบัติอย่างไรกับอุดฮียะห์  ภายหลังจากเชือดแล้ว :

ถ้าหากอุดฮียะห์นั้นเป็นวาญิบ : โดยการบนบาน (นะซัร) ไว้ หรือโดยการระบุแน่นอนว่าสัตว์ดังนี้จะทำอุดฮียะห์ดังได้อธิบายมาแล้ว  จะไม่อนุญาตให้ผู้ทำอุดฮียะห์  และคนใดในครอบครัวของเขาที่เขาจำเป็นต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูให้  รับประทานอุดฮียะห์นั้น  ถ้าหากผู้ใดรับประทานส่วนหนึ่งของอุดฮียะห์  ก็จะต้องถูกปรับเท่ากับที่รับประทานไปหรือถูกปรับเป็นราคา

และถ้าหากเป็นอุดฮียะห์ที่สุนัต  ก็อนุญาตให้รับประทานได้ตามแต่เขาต้องการ  โดยจะต้องบริจาคส่วนที่เหลือทั้งหมด  และยอมอนุญาตให้เขารับประทานได้หนึ่งในสามของอุดฮียะห์  และบริจาคหนึ่งในสามให้แก่คนยากจน  และอีกหนึ่งในสามมอบเป็นของขวัญ (ฮะดียะห์) แก่เพื่อน ๆ และเพื่อนบ้านแม้จะเป็นคนรวยก็ตาม  แต่สิ่งที่ให้คนรวยนั้นเป็นของขวัญมีจุดมุ่งหมายที่การรับประทานเท่านั้น  ไม่ยินยอมให้พวกเขานำไปขายแลกเปลี่ยน  ส่วนสิ่งที่ให้แก่คนอยากจนนั้นเป็นการให้ครอบครองเป็นกรรมสิทธิ์  ซึ่งคนจนอาจใช้รับประทานหรือนำไปจับจ่ายตามความต้องการ


14

เวลาเชือดอุดฮียะห์ :

เวลาเชือดอุดฮียะห์  เริ่มตั้งแต่ตะวันขึ้นในวันอีดิ้ลอัดฮา  และผ่านไปช่วงหนึ่งที่พอจะละหมาดสองรอกาอัตและสองคุตบะห์ได้  เวลการเชือดอุดฮียะห์นี้จะยังคงอยู่เรื่อยไปจนถึงตะวันตกในวันสุดท้ายของวันตัชรีก  วันตัชรีกคือวันที่สิบเอ็ด  สิบสอง  และสิบสามของเดือนซุ้ลฮิจยะห์

เวลาที่ดีเลิศสำหรบัการเชือดอุดฮียะห์คือภายหลังละหมาดอีด  และฮะดีษบุคอรี (5225) และมุสลิม (1961) ว่า :

قَالَ النَّبِيُّ ‏ ‏ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏إِنَّ أَوَّلَ مَا نَبْدَأُ بِهِ فِي يَوْمِنَا هَذَا أَنْ نُصَلِّيَ ثُمَّ نَرْجِعَ فَنَنْحَرَ مَنْ فَعَلَهُ فَقَدْ أَصَابَ سُنَّتَنَا وَمَنْ ذَبَحَ قَبْلُ فَإِنَّمَا هُوَ لَحْمٌ قَدَّمَهُ لِأَهْلِهِ لَيْسَ مِنْ ‏ ‏النُّسُكِ ‏ ‏فِي شَيْءٍ

"ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า  แท้จริงสิ่งแรกที่เราได้เริ่มต้นในวันนี้ของเราคือ  เราละหมาด  จากนั้นเรากลับและเชือด  ดังนั้นผู้ใดปฏิบัติดังกล่าว  เขาก็ทำถูกต้องตามซุนนะห์ของเรา  และผู้ใดเชือดก่อนดังกล่าวนั้น  มันก็เป็นเนื้อที่เขาหยิบยื่นแก่ครอบครัวของเขา  ไม่ช่เป็นพิธีการศาสนาแต่อย่างใด"

คำที่ว่า  "และผู้ใดเชือดก่อนดังกล่าวนั้น"  หมายความว่า  ก่อนเข้าละหมาดอีด  และก่อนที่เวลาจะผ่านพ้นไปเท่ากับช่วงที่จะสามารถละหมาดได้พอในช่วงนั้น  และอิบนุฮิบบาน (1008) ได้รายงานจาก ญุบัยร์ บุตร มุตอิม (ร.ด.) ได้กล่าวว่า : ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ ได้กล่าวว่า :

وَكُلُّ أَيَّامِ التَّشْرِيْقِ ذَبْحٌ

"ทุกวันตัชรีกนั้นคือการเชือด"  หมายคความว่าเป็นเวลาเชือด


15

เงื่อนไขอุดฮียะห์ :

อายุ : อูฐต้องมีอายุย่างเข้าปีที่หก  วัวและแพะต้องมีอายุย่างเข้าปีที่สาม  ส่วนเงื่อนไขของแกะนั้นต้องมีอายุย่างเข้าปีที่สอง  หรือฟันหน้าร่วงคือผลัพฟันหน้า  แม้อายุยังไม่ถึงกำหนดก็ตาม  เพราะอะห์มัด (2/245) ได้รายงาน

ีعَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ : سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏يَقُولُ‏ نِعْمَتِ ‏ ‏ الْأُضْحِيَّةُ ‏ ‏ الْجَذَعُ ‏ ‏مِنْ الضَّأْنِ

จากอะบีฮุรอยเราะห์ (ร.ด.) ว่า : ฉันได้ยินท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (ซ.ล.) กล่าวว่า : "อุดฮียะห์ที่ดีคือแกะที่ผลัดฟันหน้า"

ต้องสมบูรณ์ : เป็นเงื่อนไขของสัตว์ทั้งสามประเภทที่กล่าวมาแล้วว่า : ต้องปลอดจากตำหนิต่าง ๆ ที่เป็นเหตุให้เนื้อลดน้อยลง  ดงนั้นแกะที่ผอม  คือไม่มีไขมันเลยเนื่องจากผอมมาก  และสัตว์ที่ขากะเผลกหรือตาบอด  หรือเป็นโรค  หูแหว่ง  จึงใช้ทำอุดฮียะห์ไม่ได้

เพราะฮะดิษที่รายงานโดยติรมีซีย์ (1497) และว่าเป็นฮะดิษซอเฮียะห์และอะบูดาวูด (2802)

ีعَنِ الْبَراَءِ بْنِ عَازِبٍ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ عَنِ النَّبِيِّ صَلَّي اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : أَرْبَعٌ لاَ تُجْزِئُ فِي الأَضَاحِي : اَلْعَوْرَاءُ البَيِّنُ عَوَرُهَا وَالْمَرِيْضَةُ الَبَيِّنُ مَرَضُهَا وَالْعَرْجَاءُ الْبَيِّنُ عَرَجُهَا وَالْعَجْفَاُء الَّتِي لاَ تُنْقِيْ

จากอัลบะรออฺ บุตร อาซิบ (ร.ด.) จากท่านนบี (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า : "สัตว์สี่ประเภทใช้ทำอุดฮียะห์ไม่ได้คือ  สัตว์ตาบอดที่อาการบอดของมันแจ้งชัด  สัตว์ที่เป็นโรคที่อาการป่วยของมันปรากฏชัด  สัตว์ขากะเผลกที่ปรากกฏอาการกะเผลกอย่างแน่ชัด  และสัตว์ผมที่ไม่มีไขมัน"

ตำหนิทั้งสี่นี้ใช้เทียบ (กิยาส) กับตำหนิอื่น ๆ ที่ทำให้สัตว์ผมและเนื้อน้อย


หน้า: [1] 2 3 ... 10