1
นิติศาสตร์อิสลาม( ฟิกห์ ) / Re: การศอดดอกัลลอฮฺ
« เมื่อ: ส.ค. 15, 2007, 04:18 PM »
จากข้อความข้างต้น แม้ท่านนบีไม่เคยทำหรือปฏิบัติเป็นแบบอย่างไว้ แต่หากท่านยอมรับหรือไม่มีคำสั่งห้ามการกระทำใดๆ (โดยเฉพาะอิบาดะฮฺที่เป็นพิธีกรรม) เมื่อท่านได้พบเห็นแล้ว ก็ถือว่าสิ่งนั้นสามารถกระทำได้ เพราะได้รับการรับรองแล้วจากท่านนบี แต่หากการกระทำใด (อิบาดะฮฺที่เป็นพิธีกรรม) ที่ท่านนบีไม่เคยทำเป็นแบบอย่างไว้ และไม่เคยรับรองหรือ ยอมรับการกระทำของผู้หนึ่งผู้ใด เนื่องจากท่านไม่ได้พบเห็นหรือไม่ได้รับรู้การกระทำดังกล่าว การกระทำดังกล่าวนั้นจะเป็นที่อนุมัติให้กระทำได้อย่างไรกัน
"[b]ตามหลักการอุศูลุลฟิกฮ์แล้วการไม่เคยกระทำการใดของท่านรอซูลนั้นบ่งบอกในเชิงของหุก่มได้อย่างเดียวนั่นก็คือ ?สิ่งที่ท่านไม่เคยกระทำนั้น เราสามารถดำเนินตามท่านโดยการไม่กระทำเช่นกันได้? ส่วนจะกล่าวหาว่าสิ่งนั้นเป็นหะรอมนั้นก็ต้องยกหลักฐานมาพิสูจน์ เพราะสิ่งที่ศาสนาใช้นั้นต้องมีการ ?เรียกร้อง? طلب หากเป็นการ ?เรียกร้องให้กระทำ? สิ่งๆนั้นก็จะวาญิบ หรือซุนนะฮ์ แล้วแต่สำนวนของการเรียกร้อง ส่วนหากเป็นการ ?เรียกร้องให้ละทิ้ง? สิ่งๆนั้นก็จะเป็นหะรอม หรือมักรูฮ์ แล้วแต่สำนวนของการเรียกร้อง ซึ่งการเรียกร้องให้ทำ หรือให้ทิ้งนั้นล้วนแล้วแต่มีสำนวนเฉพาะของมัน ซึ่งโดยส่วนมากจะมาในประโยคคำสั่ง ซึ่งไม่มีนักวิชาการท่านใดนับ ?การไม่เคยกระทำ? เป็นสำนวนที่บ่งบอกถึงการหะรอมสิ่งนั้นๆ ซึ่งตัวอย่างหะดีษที่ยกไปก็ชัดเจน[/b][/b]"
ถ้าเป็นเช่นนี้ หากเราอยากจะกุนูตในเวลามักริบเป็นการเฉพาะ (กุนูตในละหมาดเวลานี้เพียงเวลาเดียวทุกครั้งเมื่อทำละหมาด) แทนการกุนูตในเวลาซุบฮิ แม้นบีไม่เคยกระทำไว้เป็นแบบอย่าง แต่ท่านก็ไม่เคยสั่งห้ามไว้เลยว่าห้ามกุนูตในเวลาดังกล่าว เราสามารถจะกระทำเช่นนี้ได้หรือไม่ครับ
ที่ถามเช่นนี้ไม่ได้มีเจตนาจะก่อกวนนะครับเพียงต้องการความชัดเจนในมาตรฐานการวินิจฉัยว่าการกระทำใดสามารถกระทำได้และการกระทำใดที่เรียกว่า "บิดอะฮฺ" ที่หลงผิด
"[b]ตามหลักการอุศูลุลฟิกฮ์แล้วการไม่เคยกระทำการใดของท่านรอซูลนั้นบ่งบอกในเชิงของหุก่มได้อย่างเดียวนั่นก็คือ ?สิ่งที่ท่านไม่เคยกระทำนั้น เราสามารถดำเนินตามท่านโดยการไม่กระทำเช่นกันได้? ส่วนจะกล่าวหาว่าสิ่งนั้นเป็นหะรอมนั้นก็ต้องยกหลักฐานมาพิสูจน์ เพราะสิ่งที่ศาสนาใช้นั้นต้องมีการ ?เรียกร้อง? طلب หากเป็นการ ?เรียกร้องให้กระทำ? สิ่งๆนั้นก็จะวาญิบ หรือซุนนะฮ์ แล้วแต่สำนวนของการเรียกร้อง ส่วนหากเป็นการ ?เรียกร้องให้ละทิ้ง? สิ่งๆนั้นก็จะเป็นหะรอม หรือมักรูฮ์ แล้วแต่สำนวนของการเรียกร้อง ซึ่งการเรียกร้องให้ทำ หรือให้ทิ้งนั้นล้วนแล้วแต่มีสำนวนเฉพาะของมัน ซึ่งโดยส่วนมากจะมาในประโยคคำสั่ง ซึ่งไม่มีนักวิชาการท่านใดนับ ?การไม่เคยกระทำ? เป็นสำนวนที่บ่งบอกถึงการหะรอมสิ่งนั้นๆ ซึ่งตัวอย่างหะดีษที่ยกไปก็ชัดเจน[/b][/b]"
ถ้าเป็นเช่นนี้ หากเราอยากจะกุนูตในเวลามักริบเป็นการเฉพาะ (กุนูตในละหมาดเวลานี้เพียงเวลาเดียวทุกครั้งเมื่อทำละหมาด) แทนการกุนูตในเวลาซุบฮิ แม้นบีไม่เคยกระทำไว้เป็นแบบอย่าง แต่ท่านก็ไม่เคยสั่งห้ามไว้เลยว่าห้ามกุนูตในเวลาดังกล่าว เราสามารถจะกระทำเช่นนี้ได้หรือไม่ครับ
ที่ถามเช่นนี้ไม่ได้มีเจตนาจะก่อกวนนะครับเพียงต้องการความชัดเจนในมาตรฐานการวินิจฉัยว่าการกระทำใดสามารถกระทำได้และการกระทำใดที่เรียกว่า "บิดอะฮฺ" ที่หลงผิด