แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - Rachyds

หน้า: [1] 2 3 ... 7
1
:salam:

อัลฮัมดุลิ้ลลาฮครับ

เมื่อสิ่งที่ผมเสนอไปหากถูกต้องในความสายตาของพระองค์ก็ขอให้พระองค์ประทานความจำเริญยิ่งๆขึ้นไป
แต่ถ้าผิดพลาดในสายตาของพระองค์ ก็ทรงประทานอภัยในความผิดพลาดและความหลงผิดของข้าพระองค์ด้วยเทอญ อามีน ยาร๊อบ

นะอูซิบิลลาฮ์ครับ

หากคุณไม่มีคุณสมบัติในการวินิจฉัยและเข้าใจตัวบทอัลกุรอานและฮะดีษด้วยตนเอง  ตามหลักศาสนานั้น  หากคุณนำเสนอบังเอิญถูก  ก็ถือว่าผิด  แต่หากนำเสนอผิด  ก็จะผิดไปกันใหญ่   ดังนั้นเรื่องศาสนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องซีฟาตของอัลเลาะฮ์  ไม่ใช่จะมาลองผิดลองถูกครับ


มาอัฟครับ ผมยังไม่ได้บอกเลยครับว่าสิ่งที่ผมเสนอไปผิดหรือถูกในสายตาของอัลลอฮ เพราะฉนั้นท่านอย่าตักโบรตัดสินเลยครับ/// ความหมายของผม ถ้าถูกก็อัลฮัมดุลิ้ลาฮ แต่ถ้าผิดก็อัสตาคฟิลุ้ลอฮอัลอาซีมครับ

2
 :salam:

อัลฮัมดุลิ้ลลาฮครับ

เมื่อสิ่งที่ผมเสนอไปหากถูกต้องในความสายตาของพระองค์ก็ขอให้พระองค์ประทานความจำเริญยิ่งๆขึ้นไป
แต่ถ้าผิดพลาดในสายตาของพระองค์ ก็ทรงประทานอภัยในความผิดพลาดและความหลงผิดของข้าพระองค์ด้วยเทอญ อามีน ยาร๊อบ

3
 :salam:

การมองเห็นและพรรณาคุณลักษณะของอัลลอฮตาอาลา

การพรรณาคุณลักษณะของอัลลอฮตาอานั้นเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากในท่ามกลางเหล่าบรรดาผู้ยึดมั่นในแนวทางอัลอิสลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างแนวทางอัชชาอิเราะฮและแนวทางวาฮาบี ในสังคมมุสลิมในประเทศไทยทุกวันนี้ แนวทางอัชชาอิเราะฮมีหลักการที่ยืนหยัดว่ามนุษย์โดยทั่วไป ไม่สมควรที่จะตะวีล(บรรยายคุณลักษณะของอัลอฮตาอาลา)โดยเปรียบเทียบกับมัคโลกที่มีรูปพรรณเหมือนสิ่งใดๆในโลกนี้เป็นอันขาด แต่แนวทางวาฮาบีนั้นมีหลักการหรือตีความอายัตอัลกุรอ่านหรืออัลฮาดิษโดยตรง จนทำให้การบรรยายหรือพรรณนาหรือคำกล่าวของอัลลอฮตาอาลาที่มีอยู่ในอัลกุรอ่าน นั้น มีมือ ดวงตา เท้า ผม หรืออิริยาบถต่างๆของอัลลอฮนั้นคล้ายกับมัคโลกที่มีอยู่บนโลกนี้ นั่นคือมนุษย์ จนทำให้หลักอกิดะฮของพวกเขานั้นเป็นที่ครหาว่าเป็นอกิดะที่ผิดเพี้ยน จะจริงแท้หรือผิดเพี้ยนอย่างไรล้วนแล้วแต่ควรตั้งอยู่บนหลักการที่อ้างอิงมาจากหลักวิชาการ นั่นก็คือ อัลกุรอ่านและอัลฮาดิษ นำมาอ้างอิง
   การพรรณนาคุณลักษณะ(รูปร่าง)ของผู้สร้างนั้นความจริงแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาจุดหรือบทสรุป ซึ่งเป็นการยากสำหรับเหล่านักปราชญ์หรือผู้ทรงความรู้ที่จะหาคำจำกัดความมาบรรยายให้เป็นที่เข้าใจได้ง่ายต่ออุมัตในทุกยุคทุกสมัย    จนกระทั่งยุคปัจจุบัน(ซึ่งบางครั้งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาคำตอบให้กับตนเองหรือผู้อื่น แม้จนกระทั้งเด็กที่กำลังเจริญเติบโตและเริ่มที่จะใช้สติปัญญาหรือผู้คนทั่วไปที่อยากจะค้นหาสัจธรรมรวมอีกทั้งพี่น้องต่างศาสนิก)ซึ่งจำเป็นที่จะต้องหาคำตอบในตรรกะนั้น ความจริงแล้วผู้ที่จะให้คำตอบกับเราได้กระจ่างแจ้งต่อคำถามนั้นได้ดีที่สุดนั่นก็คือตัวของพระองค์ที่ตรัสเกี่ยวพระองค์เอง(อัลกุรอ่าน) รองลงมาก็คือคนที่พระองค์รัก(เหล่าบรรดานบีและรอซูลของพระองค์)

นบีมูซา
นบีมูซาคือหนึ่งในบุคคลที่มีความต้องการมากที่สุดที่จะรู้จักพระองค์และอยากจะเห็นและตระหนักด้วยสายตาเพื่อเพิ่มต่อการยาเก็นในอีหม่าน เมื่อครั้งที่ท่านได้หลบหนีการไล่ล่าของกษัตร์และฟาโรและปรากฏมั๊วยิซาตคือทำให้ทะเลแยก เมื่อรอดพ้นท่านก็ขอต่ออัลลอฮเพื่อบังเกิดคัมภีร์เตารอตเพื่อเป็นหนทางชี้นำให้แก่อุมมัตของท่าน แต่ก่อนที่พระองค์จะประทานคัมภีร์พระองค์ก็รับสั่งให้นบีมูซาถือศีลอดเป็นเวลาสี่สิบวัน และรับสั่งให้นบีมูซา อ.ฮให้มาที่ภูเขาซีนาย


7:143 ซูเราะฮอัล-อาอรอฟ


 

143. “และเมื่อมูซาได้มาตามกำหนดเวลาของเรา(*1*) และพระเจ้าของเขาได้ตรัสแก่เขา เขา(*2*)ได้กล่าวขึ้นว่า โอ้พระเจ้าของข้าพระองค์ โปรดให้ข้าพระองค์เห็นด้วยเถิด โดยที่ข้าพระองค์จะได้มองดูพระองค์ พระองค์ตรัสว่า เจ้าจะเห็นข้าไม่ได้เป็นอันขาด แต่ทว่าเจ้าจงมองดูภูเขา(*3*)นั้นเถิด ถ้าหากมันมั่นอยู่ ณ ที่ของมัน เจ้าก็จะเห็นข้า ครั้นเมื่อพระเจ้าของเขาได้ประจักษ์ที่ภูเขานั้น ก็ทำให้มันทลายตัวลงอย่างราบเรียบ และมูซาก็ล้มลงในสภาพหมดสติ ครั้นเมื่อเขาฟื้นขึ้น เขาก็กล่าวว่ามหาบริสุทธิ์พระองค์ท่าน ข้าพระองค์ขอลุแก่โทษต่อพระองค์(*4*) และข้าพระองค์นั้นคือคนแรกในหมู่ผู้ศรัทธาทั้งหลาย”

(1)  หมายถึงอัลลอฮ์ โปรดทราบด้วยว่าอัลลอฮ์ทรงเปลี่ยนสรรพนามของพระองค์อยู่เป็นประจำ บางครั้งในอายะฮ์เดียวกันทรงใช้สรรพนามแทนพระองค์ด้วยสรรพนามบุรุษที่หนึ่งบ้าง และบุรุษที่สามบ้าง ดังอายะฮ์ที่ 143 นี้ ในสำนวนภาษาอาหรับนั้นถือว่าเป็นวิธีการที่แยบยลมาก เพราะทำให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังไม่รู้สึกเบื่อ
(2)  หมายถึงนะบีมูซา
(3)  คือภูเขาซินายที่ท่านนะบีมูซาได้รับคำสั่งจากอัลลอฮ์ให้ไปรับบัญญัติสิบประการ
(4)  เนื่องจากการขอร้องในสิ่งอันเกินขอบเขตที่ท่านพึงกระทำ



จากอายัตที่พระองค์ตรัสในอัลกุรอ่านแสดงให้เห็นว่าถึงแม้นว่านบีมูซาเป็นผู้ได้ใกล้ชิดกับพระองค์และอยากจะเห็นพระองค์ด้วยสายตา แต่ก็มิอาจได้รับอณุญาติจากพระองค์แม้แต่น้อย และเราก็มิอาจปฏิเสธได้ว่าท่านนบีมูซาก็มิเคยเห็นพระองค์และท่านก็ไม่สามารถบรรยายคุณลักษณะของพระองค์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งสากลโลกได้แต่อย่างใด


นบีมูฮัมมัด
เมื่อเหตุการณ์ที่ท่านได้รับวะฮยูในครั้งแรกที่ถ้ำฮิรอฮ อัลลอฮตาอาลาได้ส่งตัวแทนของท่านคือญิบรีล  มาหาท่าน
ท่านรอซูล ซ.ล ของเรานั้นได้รับวะฮยูโดยผ่านสื่อนั่นคือท่านญิบรีล และจนกระทั่งช่วงต่อมาท่านก็ได้รับวะฮยูโดยตรงโดยผ่านพระดำรัส(วาฮยูและฮาดิษกุษษี)ซึ่งเราก็ปฏิเสธมิใด้เช่นกันว่าท่านมิเคยเห็นอัลลอฮตาอาลาด้วยสายตา จนกระทั่งสามารถบรรยายว่าพระองค์มีคุณลักษณะเช่นไร  ในเหตุการณ์อิสเราะเมี๊ยะรอตท่านรอซูลก็ได้รับเกรียติจากอัลลอฮตาอาลาบินขึ้นไปบนฟากฟ้า และพระองค์ทรงเปิดเผยให้ท่านเห็นการลงโทษในนรก และความเป็นอยู่บนสวรรค์ แต่มิใด้ปรากฏในหลักฐานใดๆว่าท่านเคยเห็นอัลลอฮตาอาลาด้วยสายตา

42:51 อัชชูรออ
 

51. และไม่เป็นการบังควรแก่มนุษย์คนใดที่จะให้อัลลอฮฺตรัสแก่เขาเว้นแต่โดยทางวะฮียฺ หรือโดยทางเบื้องหลังม่าน หรือโดยที่พระองค์จะส่งทูตมา แล้วเขา (มะลัก) ก็จะนำวะฮียฺมาตามที่พระองค์ทรงประสงค์โดยบัญชาของพระองค์ แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงสูงส่งผู้ทรงปรีชาญาณ (*1*)

(1)  ในอายะฮฺนี้ อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงชี้แจงว่าพระองค์ตรัสแก่บ่าวของพระองค์ 3 วิธีด้วยกันคือ
1.การวะฮยูโดยทางดลใจหรือฝัน วิธี้นี้สำหรับบรรดานบี
2.เบื้องหลังม่าน วิธีนี้สำหรับนบีมูซาและนบีมูฮัมมัดโดยพระองค์ตรัสกับท่านในคืนอิสรอฮเมี๊ยรอต
3.โดยผ่านทางมะลัก(มาลาอีกัต)



จากบรรทัดฐานของนบีทั้งสองท่านนั้นทำให้เราสามารถยาเก็นได้ว่าคุณลักษณะของพระองค์นั้นเป็นสิ่งที่ลี้ลับ และพระองค์ไม่ทรงอณุญาติให้ผู้ใดก็ตามที่เป็นมัคโลกนั้นจะมองเห็นหรือพรรณณาคุณลักษณะหรือรูปพรรณสัญฐานของพระองค์ได้เลยแม้แต่น้อย จึงไม่สมควรเป็นอย่างยิ่งที่แนวทางใดแนวทางหนึ่งจะมาบรรยายคุณลักษณะของพระองค์เหมือนกับมัคโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์(มีมือ มีตา มีแขน มีขา มีผม)  วัลลอฮฮุอาคลัม

42:011 ซูเราะฮอัชชูรออ

11. พระองค์ผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน พระองค์ทรงทำให้มีคู่ครองแก่พวกเจ้า จากตัวของพวกเจ้าเอง และจากปศุสัตว์ทรงให้มีคู่ผัวเมีย ด้วยเหตุนี้พระองค์ทรงแพร่พันธุ์พวกเจ้าให้มากมาย ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็น(*1*)

(1)  คือพระองค์เป็นผู้สร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินโดยไม่มีแบบอย่างมาก่อนเลย และทรงทำให้พวกเจ้ามีคู่ครองคือเพศชายและเพศหญิง และปศุสัตว์ก็เช่นเดียวกัน พระองค์ทรงให้พวกเจ้ามีจำนวนมากมาย เพราะการสืบพันธุ์ หากพระองค์มิได้ทรงสร้างเพศชายและเพศหญิงแล้ว ก็จะไม่มีการแพร่พันธุ์และการเพิ่มจำนวนพลเมือง ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนอัลลอฮฺ เพราะพระองค์เป็นผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง ดังนั้นสิ่งที่ถูกสร้างก็จะไม่เสมอเหมือนพระองค์ในทุกรูปแบบพระองค์ทรงได้ยินทุกคำพูดของปวงบ่าว ทรงรอบรู้การงานและสภาพการณ์ของพวกเขา

6:103 ซูเราะฮอัล-อันอาม

103. สายตาทั้งหลายย่อมไม่ถึงพระองค์(*1*)แต่พระองค์ทรงถึงสายตาเหล่านั้น(*2*) และพระองค์ก็คือผู้ทีรงปรานี ผู้ทรงรอบรู้อย่างถี่ถ้วน

(1)  คือไม่สามารถจะมองเห็นพระองค์ได้
(2)  พระองค์ทรงเห็นพวกเขาและสายตาของพวกเขา




จากหลักฐานที่มีอยู่ในอัลกุรอ่านพระองค์ทรงตรัสเกี่ยวกับพระองค์เองได้อย่างชัดเจน แต่ผู้เขียนอยากจะสรุปเพื่อให้ง่ายแก่การเข้าใจ คือ
“อัลลอฮตาอาลานั้นทรงมี(รูปธรรม)แต่รูปร่างของพระองค์ไม่เหมือนกับมัคโลกในดุนยา และไม่มีผู้ใดที่จะล่วงรู้ถึงรูปร่างลักษณะของพระองค์เว้นแต่ตัวของพระองค์เอง”  วัลลอฮฮุอาคลาม

4
 :salam:

ท่านจุฬาตำแหน่งของท่านขณะนี้คือเป็นคนของสารธารณะ คือไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ผิดกับก่อนที่ท่านจะดำรงตำแหน่งจุฬา ท่านคืออุลามาตัวยงที่ทำการวิภาษ ต่อแนวทางวาฮาบี    หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นมาโดยผ่านการแก้ใขครั้งแล้วครั้งเล่า เสมือนกับเราทำรายงานส่งอาจารย์
เมื่อรายงานที่ทำขึ้นมาไม่ผ่านเกณท์ และจำเป็นที่จะต้องแก้ใขครั้งแล้วครั้งเล่าจนสมบูรณ์ และผ่านเกณท์ จนในที่สุดอาจารย์ก็ให้ผ่าน //ถ้าหนังสือยังมีหลักอกิดะฮที่ผิดเพี้ยนเหมือนเมื่อก่อน คิดว่าท่านจุฬาคงจะไม่เขียนคำนิยมให้หรอกครับ

5
 :salam:


อัลกุรอ่าน

ซูเราะฮอาลาอิมรอน
 


7. พระองค์คือผู้ทรงประทานคัมภีร์ลงมาแก่เจ้า โดยที่ส่วนหนึ่งจากคัมภีร์นั้นมีบรรดาโฮงการที่มีข้อความรัดกุมชัดเจน(*1*) ซึ่งโองการเหล่านั้น คือรากฐานของคัมภีร์(*2*) และมีโองการอื่น ไ อีกที่มีข้อความเป็นนัย(*3*) ส่วนบรรดาผู้ที่ในหัวใจของพวกเขามีการเอนเอียงออกจากความจริงนั้น เขาจะติดตามโองการที่มีข้อความเป็นนัยจากคัมภีร์ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาความวุ่นวาย(*4*) และเพื่อแสวงหาการตีความในโองการนั้น(*5*) แลไม่มีใครรู้ในการตีความโองการนั้นได้นอกจากอัลลอฮ์ และบรรดาผู้ที่มั่นคงในความรู้เท่านั้น(*6*) โดยที่พวกเขาจะกล่าวว่า พวกเราศรัทธาต่อโองการนั้น ทั้งหมดนั้นมาจากที่ที่พระผู้เป็นเจ้าของเราทั้งสิ้น และไม่มีใครที่จะรับคำตักเตือนนอกจากบรรดาผู้ที่มีสติปัญญาเท่านั้น 


(1)  เมื่อทุกคนได้อ่านหรือได้ฟังแล้วจะเข้าใจเหมือน ๆ กันโดยไม่ต้องตีความ
(2)  เป็นหลักสำคัญของคัมภีร์ที่มุ่งหมายให้เป็นความรู้ทั้งในหลักการศรัทธาและในข้ปฏิบัติของมนุษย์ และยังเป็นหลักยึดถือในการตีความโองการที่เป็นนัยอีกด้วย
(3)  มีข้อความในเชิงเปรียบเทียบ อาจเข้าใจหลายทาง ผู้ที่มีความรู้ในศาสนาของพระองค์อย่างกว้างขวางเท่านั้นที่จะเข้าใจในทางที่ถูกต้องได้
(4)  เพื่อก่อให้เกิดความวุ่นวายในหมู่ผู้ศรัทธาด้วยการตีความสนโองการที่เป็นนัยให้เฉออกไปจากความเป็นจริงที่พวกเขาเคยได้รับมาก่อน
(5)  คือเพื่อหาทางตีความไปตามเป้าหมายที่เขาต้องการ โดยไม่คำนึงว่าจะขัดต่อความหมายของอายะฮ์ที่มีข้อความชัดเจนหรือไม่
(6)  มีพื้นฐานแห่งความรู้อย่างมั่นคงเกี่ยวกับคุณลักษณะต่าง ๆ ของพระองค์ (ศิฟาต) และความมุ่งหมายในบทบัญญัติของพระองค์ ตลอดจนมีความรู้เกี่ยวกับหลักภาษาที่เป็นโองการของพระองค์อย่างกว้างขวางด้วย 





จากอายัตข้างต้นสามารถที่จะแยกประเด็นได้ดังนี้คือ

อายัตมูตาชาบิฮาต คือ อายัตอัลกุรอ่านที่สามารถตึความหรืออธิบายได้หลายทัศนะ ตัวอย่างที่จัดอยู่ในอายัตที่เป็นมูตาชาบิฮาต เช่น “พระผู้ทรงกรุณาผู้ทรง.................บัลลังค์อันมั่นคง” โดยทั่วไปแล้วอายัตที่เป็นมูตาชาบิฮาตนั้นเกินความรู้ความเข้าใจของมนุษย์ เป็นอายัตที่มองได้หลายด้านและเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยการอธิบายเพิ่มเติม

อายัตมุฮกามาต คืออายัตอัลกุรอ่านที่มีความหมายชัดเจน ปราศจากการคลุมเครือหรือกำกวม อายัตประเภทนี้ถือเป็นหลักของคัมภีร์อัลกุรอ่านซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนิติบัญญัติและประวัติศาสตร์ สิ่งอณุมัติ สิ่งต้องห้าม การลงโทษ มรดก สัญญา ฯลฯ ที่มีความหมายพอเพียงและไม่ต้องมีคำอธิบายเพิ่มเติมมากนัก

 -การตีความอายัตอัลกุรอ่านที่เป็นประเด็นกันต่างๆมากมายคือการตีความในอายัตมูตาชาบิฮาตซึ่งส่วนมากจะกล่าวถึงซิฟัตของอัลลอฮตาอาลา จำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยการตีความจากปราชญ์หรือผู้รู้จากทรรศนะที่ต่างฝ่ายต่างยึดถือปฏิบัติและผู้รู้เหล่านั้นต้องมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาอาหรับและภาษาของตน และความรู้ในเรื่องอกิดะฮเป็นอย่างดี มิฉนั้นแล้วการตีความแบบปราศจากความรู้จะสามารถทำให้เกิดการหลงผิด อีกทั้งจะนำไปสู่ความแตกแยก ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับการตีความคือการมอบหมายต่ออัลลอฮตาอาลาเพราะพระองค์เท่านั้นที่สามารถล่วงรู้ถึงความหมายด้วยพระองค์เอง

-อัลกุรอ่านฉบับที่มีการแปลเป็นภาษาไทยในปัจจจุบัน บางคนคิดว่าเวอร์ชั่น(ผู้แปล)ฉบับของท่านต่วนนั้นเหมาะสมที่ควรที่จะนำมาอ่านและสะสมความคิดส่วนตัวก็เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง แต่ถ้าหากเรามาเปิดหัวใจให้กว้าง เวอร์ชั่น ฉบับซาอุที่แจกกันตามมัสยิดต่างๆก็น่าสนใจไม่น้อย เพราะหาง่ายไม่ต้องซื้อ เพราะเป็นการวากัฟจากกษัตร์ซาอุ บางท่านมีความคลางแคลงใจกับการตีความในอายัตที่คลุมเครือ(มูตาชาบิฮาต) ซึ่งนับว่ามีเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นที่มีอยู่ในอัลกุรอ่าน แต่ในอายัต(มุฮากามาต)ที่มีอยู่เป็นส่วนมากในอัลกุรอ่าน ของเขานับว่าสมบูรณ์ และผู้ที่มีอยู่แล้วก็อย่าอคติจนกระทั่งคิดว่าอัลกุรอ่านที่มีความผิดพลาด หมดค่าไปทั้งเล่ม เสียดายครับ

-อัลกุรอ่านนั้นอัลลอฮตาอาลาได้ประทานให้แก่มวลมนุษย์ ไม่เฉพาะเจาะจงสำหรับผู้ที่พูดภาษาอาหรับเท่านั้น การอ่านอัลกุรอ่านสำหรับคนต่างภาษานั้นมีความประเสริฐไม่แพ้กัน นับว่าเป็นเรื่องที่ขาดทุนครับสำหรับผู้ที่อ่านอัลกุรอ่านแต่ไม่พิเคราะห์ในความหมาย เพราะท่านจะไม่สามารถซึมซาบฮิกมะฮในอัลกุรอ่านเข้ามาในหัวใจ ผู้ที่มีความรู้ภาษอาหรับเขาสามารถได้เปรียบกว่านิดนึงคือเขาสามารถเข้าใจโดยตรงและเข้าใจเร็วกว่า แต่อัลกุรอ่านมีใว้สำหรับมุสลิมสากลทั่วโลก อุมัตที่เป็นมนุษย์และญิน นำมนุษย์ออกจากความมมืดสู่ความสว่าง,อัลกุรอ่านคือสิ่งชี้นำไปสู่คนทางอันเที่ยงตรง,คือหนทางที่ชี้นำสำหรับคนที่ใช้สติปํญญาใคร่ครวญ

-ตัวกระผมเองก็ไม่ได้เป็ผู้รู้อะไรมากนักหรอกครับ แต่อาศัยที่ประสบการณ์กับสิ่งดีๆและร้ายๆมาเยอะในชีวิตและอัลลอฮตะลาอาได้ทรงชี้แนะทางนำยึดมั่นในทางนำคืออัลกุรอ่านและแนวทางตะเซาวุฟ   การนำเสนอบางครั้งอาจกระทบกระทั่งกับใครบางคน ก็ขอมาอัฟมา ณ ที่นี่ด้วยครับ






















6
มุมตะเซาวุฟอิสลาม / Re: การเตาบะฮ์
« เมื่อ: ก.พ. 04, 2011, 11:52 AM »
 :salam:

การเตาบัตภาคปฏิบัติ

-ตื่นขึ้นมาละหมาดตะฮัดยุตและละหมาดเตาบัต ในช่วงเวลากลางคืนหลังจากตื่นนอน และควรแน้นการกล่าวอิสติคฟารให้มากที่สุดพร้อมทั้งเรียบเรียงเหตุการณ์ที่เคยกระทำบาปที่ผ่านมา ตระหนักว่าเรากำลังสำนึกผิดต่ออัลลอฮตาอา และตระหนักว่าอวัยวะต่างของร่างกายเราพร้อมที่จะเป็นพยานกับการกระทำบาปของเราที่เคยกระทำลงไป  การตื่นขึ้นมาละหมาดตะฮัดยุดนั้นจะแสดงให้อัลลอฮตาอาลาเห็นว่าเราเอาจริงเอาจังในการกระทำ และสามารถที่จะใกล้ชิดกับอัลลอฮตาอาลามากที่สุดในขณะที่สิ่งมีชีวิตอื่นต่างหลับใหล อีกทั้งมลาอีกัตก็จะเป็นพยานให้กับเราและขอดุอาให้เรา

ซูเราะฮอาลาอิมรอน



16. คือบรรดาผู้ที่กล่าวว่า โอ้พระเจ้าแห่งพวกข้าพระองค์ แท้จริงพวกข้าพระองค์ศรัทธากันแล้ว โปรดทรงอภัยโทษให้แก่พวกข้าพระองค์ด้วยเถิด ซึ่งบรรดาความผิดของพวกข้าพระองค์และโปรดได้ทรงป้องกันพวกข้าพระองค์ให้พ้นจากการลงโทษแห่งไฟรกด้วย



17. บรรดาผู้ที่อดทน และบรรดาผู้ที่พูดจริง และบรรดาผู้ที่ภักดี และบรรดาผู้ที่บริจาคและบรรดาผู้ที่ขออภัยโทษในยามใกล้รุ่ง(*1*)

(1)  คือก่อน ฟะญัร์ขึ้น หมายถึงผู้ที่สละความสุขในยามนั้น โดยลุกขึ้นละหมาด ตะฮัจยญุด และขออภัยโทษ ต่ออัลลอฮ์


-หมั่นขยันทำอาม้าลที่เป็นฟัรดูและสุหนัต(ละหมาด)ในชีวิตประจำวัน ให้ตรงตามเวลา และครบตามจำนวน
-การปฏิบัติต้องอาศัยระยะเวลา และต้องอดทนในการทดสอบจากอัลลอฮตาอาลา ในความอิคลาสของเรา
-การอิสติกฟารต้องกระทำอย่างต่อเนื่องและยากลำบาก
-หยุดการกระทำบาปเหล่านั้นอย่างสิ้นเชิง

อินชาอัลลอฮเมื่อเราผ่านการปฏิบัติดังที่ได้กล่าวเราจะรู้สึกถึงความผูกพันธ์และความเมตตาจากอัลลอฮตาอาลาซึ่งยากที่จะอธิบายนอกจากตัวเราและอัลลอฮตาอาลาเท่านั้นที่เข้าใจ  และจะมีสัญญาณหนึ่งสัญญาณใดในร่างกายเราตอบสนอง(การร้องไห้)ปรากฏ  อินชาอัลลอฮการชำระบาปของเราอาจเป็นผลสำเร็จและอาจเปลี่ยนตัวเราเป็นผู้ใกล้ชิดอัลลอฮตาอาลา 


7
 :salam:ต้

 เมื่ออ่านข่าวสถานการณ์บ้านเมืองของเขา ทำให้นึกถึงเหตุการณ์การปฏิวัติในจาการต้า อินโดนีเซีย เหตุการณ์มาจากการโค่นล้มอำนาจของซูฮารโต ที่ปกครองมาร่วมสามสิบปีตอนสมัยที่ผมยังเป็นนักศึกษา ต้องเดินเท้าเปล่าร่วมสิบ กิโลเมตรจากมหาลัย กลับไปที่พัก บรรยากาศมันช่างน่ากลัวเพราะตลอดเส้นทางที่เดินกลับนั้นได้เห็นตึกรามบ้านช่อง รถยนต์ มอเตอร์ไซด์ โดนเผาวอดวายสองข้างถนน เหตุการณ์ในประเทศอียิปตอนนี้น่าจะไม่แตกต่างกันมากนัก
    ทางที่ดีที่สุดสำหรับคนไทยที่อยู่ที่นั่น คือ พยายามติดต่อสถานฑูตไทย และเช็คสถานการณ์ตลอด เขาจะให้ความคุ้มครองคนไทยเป็นอย่างดี ถ้าหากสถานการณ์จนถึ้งขั้นบานปลาย ไม่แน่สถานกงสุลจะเช่าเครื่องบินเหมาลำ เพื่อส่งกลับคนไทย ถึงอย่างไรก็ตามก็ขอให้พี่น้องของเราที่อยู่ที่อียิป ปลอดภัยกันทุกคนครับ

8
 :salam:

หลักวิชาตะเซาวุฟ

หลักวิชาตะเซาวุฟ เป็นกระบวนการทางวิชาการที่ประมวลไว้ด้วยหลักแห่งศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรม วัฒนธรรม และอุดมการณ์อิสลาม ผลจากการเรียนรู้ในวิชาแขนงนี้ จะทำให้จิตใจ สะอาดบริสุทธิ ขจัดมลทิลต่างๆทั้งในด้านที่เกี่ยวกับอารมณ์และเกี่ยวข้องกับจิตใจ
   วิชาตะเซาวุฟแบ่งได้เป็นสองสาขาคือ
๑-ตะเซาวุฟฟิลมุกาชะฟะฮ หมายถึง หลักยึดมั่นทางจิตใจที่ได้รับการเปิดจากอัลลอฮตาอาลา ชื่อของวิชาแขนงนี้ นิยมเรียกกันคือ
-ตะเซาวุฟ    تَصَوُّفُ   แปลว่า การขจัดมลทิลให้หมดจด
-อัคลาค     اَخْلاَقُ แปลว่า จริยธรรม
-เอี๊ยะซาน         اِحْسَانُ  แปลว่า คุณธรรม
ดังที่ท่านรอซูล ซ.ล ตรัสกล่าวใว้ว่า
คุณธรรมคือ การปฏิบัติและนมัสการต่ออัลลอฮ คล้ายกับว่าเราเห็นพระองค์(ตาใจ)ถึงแม้เราจะไม่เห็นพระองค์(ตากาย)ก็ตาม แต่พระองค์ทรงเห็นเราตลอดเวลา

๒-ตะเซาวุฟฟิลมุอามาลาต หมายถึง หลักศีลธรรมทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับสังคม


   การสร้างคุณธรรมสูงสุด ณ จิตใจ จำเป็นต้องผ่านหลักศรัทธาและหลักปฏิบัติอย่างสมบูรณ์แบบจริงๆ มิฉะนั้นคุณธรรมจะไม่เกิดขึ้นในใจเป็นอันขาด กล่าวคือ เมื่อเราศรัทธามั่นในพระองค์และมีการปฏิบัติสนองคำบัญชาของพระองค์โดยครบถ้วนเคร่งครัด และต่อเนื่องเป็นนิจศีล จิตใจของเราก็จะผูกพันกับพระองค์ มีความใกล้ชิดสนิทแนบกับพระองค์ จนกิเลศตันหาที่แทรกซ้อนในอารมณ์ของเราถูกปลดเปลื้องออกไปจนหมดสิ้น ไม่เหลือสิ่งใดในความมุ่งหมายแห่งจิตใจของเรานอกจากอัลลอฮตาอาลาเพียงพระองค์เดียว
ณ จุดหมายนี้เองที่จิตใจเราบังเกิดความสะอาดบริสุทธิ์ และผ่องแผ้วโดยแท้จริง ชีวิตเราทั้งชีวิตถูกนำมาเพื่อใช้สนองสภาวะอันบริสุทธิ์นี้ และเราจะไม่เห็นสิ่งใดมีความสำคัญ แม้แต่ตัวเราเองก็ตาม นอกจากอัลลอฮตาอาลาเท่านั้น  ไม่ว่าการกระทำการใด เรากระทำไปเพื่อตอบสนองคำบัญชาของพระองค์ด้วยจิตใจนอบน้อมสวามิภักดิ์ต่อพระองค์โดยไม่เหลือแบ่งใว้แก่สิ่งใดทั้งสิ้น การปฏิบัติอาม้าลการทำภารกิจในชีวิตประจำวัน จะสอดคล้องกับคำสอนของอัลลอฮ และตามแบบอย่างที่ดีจากท่านรอซูล ซ.ล ที่เคยปูใว้ให้เป็นแบบอย่าง รวมทั้งเหล่าบรรดารอซูลต่างๆก่อนหน้าท่านทั้งปวง
อีกประการหนึ่งคือการสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในด้านสังคม เราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ในการดำเนินชีวิตของเรานั้นต้องอยู่ร่วมและอาศัยกับสังคมและบุคคลรอบข้าง นอกเหนือเราต้องมีหน้าที่กราบใหว้พระองค์อัลลอฮแล้ว เราต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม ครอบครัว บ้านใกล้เรือนเคียง ซึ่งท่านรอซูล ซ.ล บุคคลที่อัลลอฮได้เลือกสรรและเป็นแบบอย่างที่ประเสริฐสุดได้ปฏิบัติใว้เป็นแบบแผนที่ดีงามได้วางเอาใว้เพื่อให้อุมมัตรุ่นหลังได้ปฏิบัติตาม

อัลอะฮซาบ



21. โดยแน่นอน ในร่อซูลของอัลลอฮฺมีแบบฉบับอันดีงามสำหรับพวกเจ้าแล้ว  สำหรับผู้ที่หวัง (จะพบ) อัลลอฮฺและวันปรโลกและรำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างมาก

9
 :salam:
:salam:

:salam:

3-การรู้จักอัลลอฮโดยการใช้สติปัญญาใคร่ครวญพร้อมทั้งปฏิบัติ นั่นก็คือการซิกเกร และดุอาอ์ รวมทั้งปฏิบัติอาม้าลอิบาดัต ดังเช่นตัวอย่างที่สำคัญคือท่านนบีอัยยุบ นบีสุไลมาน นบีดาวูด และเหล่าบรรดารอซูลต่างๆ ที่อัลลอฮตาอาลา ส่งมาเป็นตัวแทนของท่านต่อเหล่าบรรดาประชาชาติต่างๆ อัลลอฮตาอาลาล้วนแล้วแต่มีกำหนดกฎบัญญัติ และแนวทางในการทำอิบาดัตทั้งสิ้น จนกระทั่งนบีมูฮัมมัด ซ.ล ในยุคสุดท้าย ซึ่งอัลลอฮตาอาลาได้มีกฎบัญญัติในการทำอีบาดัต ใว้อย่างชัดเจน นั่นคือรูกุนอีหม่าน และรูกุนอิสลาม







เอกสารอ้างอิง///สารานุกรมอิสลาม//อ.บรรจง บินกาซัน

10
5.การเรียนรู้ผ่าน ซีฟัต 20 ทำให้กรอบความคิดของเรามั่นคงถูกต้อง ไม่จินตนาการเลยเถิด ในเอกองค์อัลเลาะห์เจ้า

ญาซากั้ลลอฮคัยรอน ครับ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

11
 :salam:

กุศโลบาย

จากจดหมายลูกโซ่ข้างต้น มันเป็นเพียงกุศโลบายที่ผู้เผยแพร่พยายามที่จะให้จดหมายนั้นแพร่ไปอย่างรวดเร็ว จึงเห็นได้จากการที่ช่วงท้ายจดหมายนั้นกล่าวในเรื่องผลกระทบของการที่ผู้ไม่ทำการต่อยอดของจดหมาย โดยความเป็นจริงแล้วบุคคลใดที่จะต้องประสบกับความโชคร้ายในตัวเขา โดยการอนุมัติจากอัลลอฮตาอาลานั้น คือ
-การกระทำของตัวเขาเอง
-การทดสอบในอีหม่าน
   เมื่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่เขาประสบ กอปกรกับเขาเจอกับจดหมายลูกโซ่ประเภทนี้ ความไม่รู้ในจิตใจเขา ก็สรุปได้ว่าเพราะจดหมายเป็นเหตุทำให้เขาประสบกับความโชคร้าย และจำยอมที่จะเผยแพร่จดหมายนั้นต่อๆกันไป อย่างน้อยเขาสามารถขจัดความกลัวไปได้ระดับหนึ่ง แต่ความเป็นจริงนั้นเขาได้ทำลายอกิดะฮของตนเองโดยไม่เฉลียวว่า ทั้งหมดที่เขาประสบนั้นคือมากจากอัลลอฮตาอาลาแต่เพียงผู้เดียว

เราควรทำอย่างไรเมื่อเจอจดหมายประเภทนี้
-ตะวักกัลในกอดอรกอดัรของอัลลอฮ
-เมื่อท่านอ่านแล้วคิดว่ามีส่วนที่เป็นประโยชน์ก็ถือว่าเป็นจดหมายที่ตักเตือนตัวเราเอง
-นิ่งเฉย และไม่ควรที่จะเผยแพร่จดหมายประเภทนี้ เพราะจะสามารถตัดวงจรการแพร่ระบาดของมันได้
-ถ้าคิดว่ามีส่วนที่เป็นประโยชน์ที่สามารถตักเตือนผู้อื่น และอยากเผยแพร่โดยหวังที่จะได้รับผลบุญและโดยมิใช่ความหวาดกลัว ควรที่จะถ่ายเอกสารเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อหานั้นๆแจกจ่าย และให้ตัดส่วนที่เป็นคำสาปหรือคำขู่ต่างๆทิ้ง เพราะมันคือวัฏจักรของอิบลิสชัยตอนที่ล่อลวงให้ผู้ที่อ่านมีความหวาดกลัวในคำขู่ โดยที่ลืมตะวักกัลต่ออัลลอฮตาอาลา

12
 :salam:

ทรัพย์สมบัติ



อัล-อัมฟาล
28 และจงรู้เถิดว่าแท้จริงทรัพยย์สินของพวกเจ้าและลูกๆของพวกเจ้านั้น เป็นสิ่งทดสอบชนิดหนึ่งเท่านั้น และแท้จริงอัลลอฮนั้น ณ พระองค์มีรางวัลอันใหญ่หลวง



อัลฟัจญร
15 ส่วนมนุษย์นั้น เมื่อพระเจ้าของเขาทรงทดสอบเขา โดยทรงให้เกียติเขาและทรงโปรดปรานเขา เขาจะกล่าวว่าพระเจ้าของฉันทรงยกย่องฉัน

   อัลลออฮ ซ.บ ทรงประทานเนี๊ยมัตให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่งนั้นเพียงเพื่อเป็นการทดสอบว่าเนี๊ยมัตที่พระองค์ทรงประทานให้มานั้นจะใช้ไปในหนทางใด การได้รับเนี๊ยมัตนั้นไม่ได้หมายความว่าเขาผู้นั้นดูผิวเผินว่าจะถูกยกย่องโดยอัลลอฮตาอาลา ในสายตาของมนุษย์ที่มองอาจจะเป็นเช่นนั้นแต่ความจริงแล้วเขาจะยิ่งถูกสอบสวนจากอัลลอฮตาอาลามากกว่าเดิมเป็นหลายเท่า ผู้ที่ใด้ชื่อว่ามีอีหม่านและตักวาเมื่อเขาได้รับเนี๊ยะมัตแล้วเขาจะระลึกในบุญคุณต่ออัลลอฮและจะจัดสรรเนี๊ยะมัตเหล่านั้นในหนทางของอัลลอฮด้วยความอิคลาสในหัวใจ รางวัลในดุนยาและอคิรัตอัลลอฮจะทรงเพิ่มพูน แต่ผู้ใดที่อีหม่านนั้นอ่อนแอเขานั้นมักจะคิดว่าเนี๊ยะมัตที่ได้มานั้นมาจากความสามารถของตนเอง และลืมที่จะตระหนักว่าถ้าปราศจากการอณุมัติจากอัลลอฮตาอาลาเขาก็มิอาจที่จะได้รับเนี๊ยมัตนั้นเลย มิหนำซ้ำเขายังเฉยเมยต่อการรำลึกพระคุณของอัลลอฮรวมทั้งตระหนี่ที่จะออกซากาตหรือซอดาเกาะฮและหลงลืมต่อคนยากคนจน เพราะกลัวว่าเนี๊ยะมัตนั้นจะหมดไป ซึ่งโดยพื้นฐานในจิตใจของมนุษย์นั้นจะหลงใหลในทรัพย์สมบัติและอัลลอฮตาอาลาได้เตือนใว้ว่า



อัล-ฟัจญร
20 และพวกเจ้ารักสมบัติกันอย่างมากมาย
 
 เมื่อความรักในสมบัติครอบคลุมอยู่ในหัวใจจนมืดบอดมันอาจทำให้หัวใจของผู้นั้นหลงลืมในการรำลึกถึงอัลลอฮ ยุ่งกับการค้า ยุ่งอยู่กับการเพิ่มพูนทรัพย์สินเงินทอง จนลืมที่จะละหมาดหรือเผอเรอละทิ้งอาม้าลอิบาดัต อีกทั้งเนี๊ยมัตที่เขาได้มาเขาไม่อยากสูญเสียไปแม้แต่เพียงเล็กน้อยเพื่อซอดาเกาะฮหรือซากาต  ซึ่งในอัลกุรอ่านพระองค์ได้ตรัสกล่าวในความสำคัญของการซากาตรองลงมาจากการละหมาด นั่นก็หมายความว่าทุกเนี๊ยะมัตริสกีและทรัพย์สินจะมาพร้อมกับซากาตและซอดาเกาะฮ



อัล ฮะดีด 007
พวกเจ้าจงศรัทธาต่ออัลลอฮและรอซูลของพระองค์ และบริจาคในทางของอัลลอฮจากสิ่งที่พระองค์ทรงทำให้พวกเจ้าเป็นตัวแทนของมัน ดังนั้นบรรดาผู้ศรัทธาและบรรดาผู้บริจาคในหมู่พวกเจ้านั้นสำหรับพวกเขาจะได้รับรางวัลอันยิ่งใหญ่

   คำว่าเป็นตัวแทน จะสื่อความหมายถึงทรัพย์สมบัติหรือเนี๊ยมัต ที่อัลลอฮประทานให้ และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดสรรให้แก่คนยากคนจน  หรือในหนทางของอัลลอฮ แสดงว่าสัดส่วนของพวกเขาเหล่านั้นมาจากริสกีที่อัลลอฮตาอาลาส่งผ่านทางริสกีและเนี๊ยะมัตจากคนที่ได้รับเนี๊ยะมัต  เมื่อใดที่เขาเผอเรอต่อสิ่งนี้แล้วเขาจะจัดอยู่ในผู้ที่ตระหนี่ขี้เหนียว ดังนั้นทรัพย์สมบัติที่เขากักตุนเอาใว้มันจะส่งผลต่ออีหม่านหรือการลงโทษของตัวเขาเอง
   การมีเกรียติและยศถาบรรดาศักดิ์ถือว่าเป็นเนี๊ยมัตจากอัลลอฮตาอาลาเช่นเดียวกับทรัพย์สินเงินทอง และย่อมเป็นสิ่งที่ทดสอบจากอัลลอฮตาอาลาเช่นกัน โดยปรกติแล้วเรามิอาจที่จะสรุปในความอิคลาสของผู้หนึ่งผู้ใดได้เพราะเราไม่สามารถหยั่งรู้ในหัวใจของเขาผู้นั้นนอกจากอัลลอฮตาลาลา และแท้จริงแล้วความอิคลาสและการกระทำของผู้หนึ่งผู้ใดนั้นเขาจะถูกสอบสวนและจะอยู่ในสายตาของอัลลอฮตาอาลาเสมอ



อัลฟัจญร
14 แท้จริงพระเจ้าของเจ้านั้นทรงเฝ้าดูอย่างแน่นอน


13
 :salam:

ขอเป็นกำลังใจให้หายใวๆนะครับ

14
 :salam:

   อดที่จะนึกถึงตอนที่มีโอกาสออกดะวะฮ สิบวันในเดือนรอมฏอน ได้เจอกับประสบการณ์ดีๆ ที่ไม่สามารถเจอะเจอได้ถ้าไม่ออกดะวะฮ คือการซิรอฮตุ้ลเราะมิ(เยี่ยมเยือน)พบปะพี่น้องต่างถิ่น ครั้งนั้นได้ไปที่จังหวัดภูเก็ต(อ่าวมะขาม) บอกได้เลยครับว่าที่นี่เขายึดแนวทางกันหลากหลาย มีทั้งพี่น้องอัรกอม พี่น้องวาฮาบี และพี่น้องตอรีกัต และพี่น้องชีอะฮ ทุกวันหลังบายานอัศริ เวลาจะหมดไปกับการแลกเปลี่ยนทัศนะกับพี่น้องเหล่านั้น ถึงแม้นเวลามันจะน้อยนิดแค่สิบวันเพราะต้องกลับมาทำงานตามปรกติ แต่อัลฮัมดุลิ้ลลาฮ ได้เจอประสบการณ์ที่แปลกใหม่ยากที่จะเจอถ้าไม่ได้ออกดะฮวะฮ

  

15
 :salam:

 อยากจะตั้งกระทู้นี้มาหลายวันแล้วครับ และอยากเปลี่ยนบรรยากาสมาตั้งกระทู้กับเขาบ้าง คือว่า รู้สึกว่าช่วงหลังๆมานี้ มีพี่น้องมุสลิมะฮที่เป็นเยาวชนของเราเข้าร่วมในคอนเสริตต่างๆ โดยที่คลุมญิลบาบและบางครั้งเห็นว่าจะอยู่ติดขอบเวที และในแต่ละคอนเสริตนั้นมีการถ่ายทอดสดทางทีวี และแพร่ภาพสู่สาธารณะชนทั่วประเทศ พี่น้องในเวปมีความคิดเห็นอย่างไรบ้างครับ   ::)

หน้า: [1] 2 3 ... 7