แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - Ibn yakub Al-azhary

หน้า: [1]
1
รอมะฎอน / การกินในขณะถือศีลอด *****
« เมื่อ: ก.ย. 21, 2007, 08:35 PM »
فيقول المصطفى صلى الله عليه وسلم من حديث أبي هريرة رصي الله عنه ، من أكل أو شرب ناسيا فلا يفطر فإنما هو رزق رزقه الله،
(รายงานโดย ติรมีซีย์ : ในบท الصوم เล่มที่ 3 หน้าที่ 100 หะดิษที่ 721 )

      ความว่า เล่าจากท่านอบีฮุรอยเราะ (ร.ด.) ว่า ท่านรสูล (ซ.ล.) กล่าวว่า ผู้ใดก็ตามที่กินหรือดื่มเนื่องจากความหลงลืม ดังนั้นเขาอย่าออกจากการถือศีลอด เพราะแท้จริงแล้ว มันคือ ริสกีจากอัลลอฮฺ"     
      จากตัวบทของหะดิษมาในลักษณะที่ครอบคลุมหุกมโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นศีลอดสุนัตหรือฟัรดูก็ตาม ด้วยเหตุนี้เอง ญุมฮุรอุละมาอฺจากเศาะหาบะฮฺ อาทิ ท่านอบีฮุรอยเราะ ท่านอิบนุ อุมัร เป็นต้น และจากบรรดาตาบิอีน อาทิ ท่านอะฏออฺ ท่านฏอวุส เป็นต้น และนักนิติศาสตร์อิสลาม อาทิ ท่านอิมามอบูฮะนีฟะฮฺ อิมามชาฟิอีย์ อิมามอัษเษารีย์ อิมามเอาซาอีย์ ท่านอิสหาก บิน เราะหะวัยฮ์ และท่านอื่น ก็ยึดตามความหมายที่ชัดเจนของหะดีษ คือ ไม่ทำให้เสียศีลอดแต่ประการใดเพราะถือว่าเป็นเนี๊ยะมัตจากอัลลอฮฺ ไม่ว่าจะเป็นการถือศีลอดที่เป็นการสาบานหรือศีลอดที่เป็นการชดใช้ (เกาะฎออฺ) จากเดือนรอมาฎอนก็ตาม
      ส่วนท่านอิมามมาลิกและทัศนะหนึ่งจากอิมามอะหฺมัด ได้แบ่งแยกการกินหรือดื่มที่เกิดจากความหลงลืมระหว่างการถือศีลอดที่เป็นสุนัตกับศีลอดที่เป็นฟัรดู ท่านอิมามมาลิกกับอิมามอะหฺมัดเห็นว่า จำเป็นต้องชดใช้(เกาะฎออฺ)ในวันหลังแต่ขณะเดียวกันก็ต้องถือศีลอดของวันนั้นต่อไปให้สมบูรณ์หากว่าการกินหรือดื่มโดยหลงลืมนั้นอยู่ในสภาพของศีลอดที่เป็นฟัรดู เพราะการงดเว้นจากอาหารและเครื่องดื่มถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการถือศีลอด เมื่อมีการกินหรือดื่มก็ทำให้รุก่นหรือองค์ประกอบหนึ่งตกไป ดังนั้น จึงจำเป็นต้องชดใช้ในวันหลัง
อัลลอฮฺทรงตรัสว่า

 ثم أتموا الصيام إلى اليل ]البقرة : 187 ]
ความว่า และพวกเจ้าจงถือศีลอดให้สมบูรณ์จนพลบค่ำ

      ส่วนการกินหรือดื่มในสภาพที่หลงลืมในขณะถือศีลอดที่เป็นสุนัต ดังนั้นให้เขาถือศีลอดต่อไปให้สมบูรณ์และไม่ต้องชดใช้ภายหลัง
      ตัรญีหฺ (ตัดสิน)ตามทัศนะของข้าพเจ้า แท้จริงผู้ใดก็ตามที่กินหรือดื่มโดยไม่เจตนาหากอยู่ในสภาพที่เป็นการถือศีลอดที่เป็นฟัรดูก็ไม่ต้องถือศีลอดชดใช้ในวันหลังอีกและให้ถือศีลอดในวันนั้นต่อไปให้สมบูรณ์ ตามทัศนะของญุมฮูรอุละมาอฺ และหากผู้ใดก็ตามที่กินหรือดื่มโดยไม่เจตนาหากอยู่ในสภาพที่เป็นการถือศีลอดที่เป็นสุนัตก็ให้ถือศีลอดต่อไปในวันนั้นให้สมบูรณ์เช่นเดียวกันและไม่ต้องชดใช้ในภายหลังตามความเห็นที่สอดคล้องกันของนักนิติศาสตร์อิสลาม ซึ่งถือว่าเป็นการยึดตามแนวทางของอุละมาอฺส่วนใหญ่
เพราะท่ารสูล (ซ.ล.) กล่าวว่า

لا تجتمع أمتي على ضلالة
ความว่า ประชาชาติของฉันจะไม่รวมกันบนแนวทางที่หลงผิด

2
--------------------------------------------------------------------------------
หากต้องการข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับหนังสือ อัล อิบานะ ของ ท่านอบุลหะซัน ให้ท่านลองไปหาซื้อหนังสือเล่มหนึ่ง ที่ชื่อว่า أهل السنة الاشاعرة ซึ่งแต่งโดยนักวิชาการ 2 ท่าน ซึ่งข้าพเจ้าจำไม่ได้แล้ว และมีคำชมเชยหนังสือเล่มนี้ โดย ท่านเชค อะลี ญุมอะฮฺ มุฟตีอียิปต์ และอีกท่านหนึ่งที่ชมเชย คือ มุฟตีของประเทศซีเรียคนปัจจุบัน ............// หนังสือเล่มนี้ หน้าปกสีฟ้า ราคาประมาณ 30 ปอนด์ มีขายที่ร้านขายหนังสือหลังมัสยิด อัล อัซฮัร ลองไปหาดูนะคับ ************************************

3
หากต้องการข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับหนังสือ อัล อิบานะ ของ ท่านอบุลหะซัน ให้ท่านลองไปหาซื้อหนังสือเล่มหนึ่ง ที่ชื่อว่า أهل السنة الاشاعرة ซึ่งแต่งโดยนักวิชาการ 2 ท่าน ซึ่งข้าพเจ้าจำไม่ได้แล้ว และมีคำชมเชยหนังสือเล่มนี้ โดย ท่านเชค อะลี ญุมอะฮฺ มุฟตีอียิปต์ และอีกท่านหนึ่งที่ชมเชย คือ มุฟตีของประเทศซีเรียคนปัจจุบัน ............// หนังสือเล่มนี้ หน้าปกสีฟ้า ราคาประมาณ 30 ปอนด์ มีขายที่ร้านขายหนังสือหลังมัสยิด อัล อัซฮัร ลองไปหาดูนะคับ ************************************

หน้า: [1]