แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - budu

หน้า: [1] 2
1
รับ บูดู เย็นๆ สักแก้วไหมคับ...หรือจะเอาเป็น บูดู ร้อน ...หรือ  บูดู ปั่น....หรือ บูดู นมเย็นก็มีนะคับ...อร่อยเหาะเลยแหละ...อิๆๆๆ

2
หนังสือ  เอี้ยะฮฺยาอุลุมิดดีน เล่มนี้  มีคุณค่ามาก

กระผมอยากให้  คุณ   al-adalah 1   ช่วยแปล...

ให้พี่น้องเราสัก  1-2 บท  เพื่อเราจะได้ร่วมกัน

เรียนรู้เนื้อหา จากการนำเสนอของท่าน.........

...แล้วกระผมจะรออ่านนะครับ.....

3
อะไรอ่ะ  "ชาโขย" เนี่ย 

ใคร  ช่วยอธิบาย คำว่า ชาโขย  ให้ คุณchocalatah  ทีคับ

4
วันนี้ เพื่อนๆ ไปไหนกับหมด  เหงาจัง

เห้อ.....ร้านน้ำชาไม่มีคน

ขาย ชาโขย ไม่ได้เลย  วันนี้...

โรตี ก็เหลือ.....  ข้าวยำ ก็จะบูดหมดแระ....

5
elharm ....... งานนี้  คุณ บูดู น่าจะแปลให้วิทยาทานให้พี่น้องน่ะ  เอาแบบสรุป ๆ หรือตรงจุดสำคัญๆ ก็ได้นะครับ

إن شاء الله بعد الإمتحان


6
หนังสือ  "ตอบโต้วะฮาบีย์"

رسالة علماء تونس إلى الضال الوهابي

للقاضي أبي حفص عمرابن المفتي قاسم المحجوب التونسي المالكي


           หนังสือเล่มนี้ เป็นพ็อกเก็จบุคเล่มเล็กๆ มีประมาณ 100 หน้า ในหนังสือได้กล่าวถึง  ชีวประวัติบางส่วนของ  เชค มุหัมมัด  บิน  อับดิลวะฮาบ

และได้บอกถึงบทความที่อุละมาอฺตูนิเซียได้เขียนขึ้นเพื่อเตือนสติพวกวะฮาบีย์ให้พวกเขาสำนึกผิด  และช่วงท้ายเล่มของหนังสือ ท่าน  กอฎีย์ อบี หัฟซฺ 

ได้นำเสนอตำราต่างๆ ที่เขียนขึ้นโดย อุละมาอฺทั้งจาก   มัซฮับหะนะฟีย์  มัซฮับมาลิกีย์   มัซฮับชาฟิอีย์   มัซฮับหัมบะลีย์  ซึ่งอุละมาอฺเหล่านี้เขียน

ขึ้นมาเพื่อตอบโต้พวกวะฮาบีย์   โดยท่านได้รวบรวมและเสนอไว้ถึง  111 เล่ม เลยทีเดียว  ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์กับพวกเราทั้งสิ้น

   มีขายที่  มักตะบะฮฺ   المجلد العربي  หน้า  มหาวิทยาลัย อัล-อัซฮัร เหมือนที่คุณ  muftee นำเสนอนั่นแหละครับ  สงสัยคุณ muftee คงจะ

ซื้อไว้แล้ว  เพราะเห็นท่านสนใจหนังสือแนวนี้

7
                   เมื่อพี่น้องมุสลิม ได้มีหนังสือเชิญหรือเชิญด้วยวาจาในงานต่างๆ อันดับแรกของความเป็นพี่น้องกัน ก็คือต้องตอบรับคำเชิญ

เป็นการรักษาไว้ซึ่งความต้องการของพี่น้อง ซึ่งงานนั้นต้องไม่มีสิ่งผิดหลักการศาสนาหรือไม่มีข้อขัดข้องที่ไม่อาจไปร่วมงานได้

          งานที่มักจะมีการจัดกันเท่าที่กอฎีอิยาฏ และอิหม่ามนะวะวี ได้แถลงไว้ที่สำคัญมี 8 งานคือ  งานคอตั่น (เข้าสุนัต)  งานอะกีเกาะห์

(อาจมีการโกนผมไฟด้วย)  งานที่หญิงปลอดภัยจากการคลอดบุตร  งานเกี่ยวกับคนตาย  งานธรรมดาที่ไม่มีเหตุใดๆ  และงานพิธีนิกาห์ (มงคลสมรส)

งานทั้งหมดดังกล่าวนั้นท่านหะซัน อัยยูบ ได้กล่าวว่า " เป็นงานที่ถูกกำหนดโดยศาสนา (อัซรู๊อ์) ไม่มีงานใดที่จำเป็นต้องกระทำและต้องรับเชิญ

ยกเว้นงานพิธีนิกาห์ ตามทัศนะของนักวิชาการบางคน


ฮุก่ม(หลักการ)ในการตอบรับคำเชิญงานต่างๆ

          สำหรับงานพิธีนิกาห์ (มงคลสมรส) นั้น นักวิชาการส่วนใหญ่ถือว่าจำเป็น (วายิบ) ต้องรับเชิญ นักวิชาการดังกล่าวบางท่านให้ทัศนะว่า

เป็นฟัรดูอีน (จำเป็นแต่ละบุคคล) บางท่านก็ว่าเป็นฟัรดูกิฟายะห์ (จำเป็นโดยส่วนรวม) ทัศนะที่น่ายึดถือได้มากที่สุดคือ งานนั้นหากมีการเชิญ

โดยทั่วไปมิได้มีการเจาะจง ถือว่าการตอบรับคำเชิญเป็นฟัรดูกิฟายะห์ คือไปเพียงจำนวนหนึ่งก็พ้นภาระแล้ว แต่ถ้ามีการเชิญแบบเจาะจงเป็นรายบุคคล

การตอบรับคำเชิญถือเป็นฟัรดูอีน

          สำหรับงานวะลีมะห์ (พิธีนิกาห์หรือมงคลสมรส) บางท่านจากมัซฮับฮำบาลี มัซฮับชาฟิอี และท่านลุคอมีย์ จากมัซฮับมาลิกีบอกว่า

"การตอบรับงานเชิญมงคลสมรสถือเป็นสุนัต" ท่านเชากานีได้กล่าวในหนังสือของท่านชื่อ "นัยลุ้ลเอาฎ๊อร" เล่มที่ 6 หน้า 202 ว่า "ที่เชื่อได้มากที่สุด

การตอบรับคำเชิญงานพิธีนิกาห์นั้นเป็นวายิบ เพราะคำสั่งมีมาจากหะดีษถือเป็นวายิบตามหลักการเดิมของคำสั่งใช้และยังไม่มีหลักฐานใดมาจำกัด

ให้คำสั่งใช้ดังกล่าวเป็นอย่างอื่น นอกจากจำเป็น และในคำสั่งนั้นยังมีต่ออีกว่า ผู้ที่ไม่ตอบรับคำเชิญจะถือเป็นการทำชั่ว หะดีษดังกล่าวคือหะดีษ

ของท่านอิบนิอุมัร ความว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) กล่าวว่า  "ท่านทั้งหลายจงตอบรับการเชิญเมื่อพวกท่านได้รับการเชิญนั้น" และท่านอิบนิอุมัร

ได้ไปงานเชิญ ทั้งในงานสมรสและมิใช่งานสมรส และท่านได้ไปงานทั้งที่ท่านถือศีลอดอยู่

          ส่วนงานอื่นนอกจากงานสมรส (พิธีนิกาห์) ถือว่าการตอบรับการเชิญเป็นสุนัต ตามทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่ เช่น มัซฮับมาลิกี หะนะฟี

ฮำบะลี และส่วนใหญ่ของมัซฮับซชาฟิอี ท่าซัรค่อซี่ย์พูดยิ่งกว่านั้นอีกก็คือ บอกว่าเรื่องนี้เป็นมติของปวงปราชญ์ ซึ่งที่จริงยังไม่ถึงขั้นนั้น เพราะว่ายัง

มีทัศนะของนักวิชาการบางท่านในมัซฮับชาฟิอีบอกว่าถือเป็นวายิบ ในเรื่องนี้ท่านอิบนุอับดิลบั๊ริ์  จากอุบัยดิลลาห์ บิน อัลหะซัน อัลอัมบะรี

กอฎีเมืองบัสเราะห์ และอิบนุ หัซมิน อ้างว่าดังที่ว่านี้ (การรับเชิญเป็นวายิบ) นั้นเป็นทัศนะส่วนใหญ่ของเหล่าสาวก และท่าเชากานีย์ พร้อมกับ

บรรดาที่มีทัศนะเหมือนกันกล่าวว่า การตอบรับคำเชิญยังทุกงานทั้งงานพิธีมงคลสมรสและงานอื่นๆ ถือเป็นวายิบโดยอ้างหลักฐานจากหะดีษที่

กล่าวแล้วทั้งสอง และหะดีษอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งจะกล่าวต่อไป

          และการตอบรับการเชิญที่เป็นวายิบนั้น มีเงื่อนไขอยู่ว่า ผู้เชิญต้องบรรลุศาสนภาวะ มีเสรีภาพ และรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับงานนั้นดี

และงานนั้นต้องไม่เลือกเชิญเฉพาะคนรวย และเป็นงานวันแรก ที่สำคัญผู้ร่วมงานต้องไม่ได้รับความเดือดร้อน เพราะมีสิ่งอันผิดต่อหลักการของ

ศาสนาในงานนั้น และต้องไม่มีเหตุขัดข้องที่ไม่อาจไปร่วมงานได้

 
งานเชิญที่ชั่ว

          งานเชิญที่ศาสนาถือว่าเป็นบาป คืองานที่เลือกเชิญเฉพาะคนรวยแต่ไม่ยอมเชิญคนยากจน แต่ยิ่งชั่วมากกว่านั้นก็คือ เมื่อคนจนหรือ

เด็กกำพร้าต้องการจะเข้าร่วมงานแต่เจ้าภาพไม่ยอมให้เข้าร่วมงาน  โดยการพูดจาให้พวกเขาอับอายและเสียใจ

          สาวกอะบูฮุรอยเราะห์ฯ ได้รายงานหะดีษในบันทึกของบุคอรีและมุสลิม ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า

" งานเลี้ยงที่ชั่วคืองานที่มีการเชิญแต่เฉพาะคนรวยและละทิ้งคนยากจน  และผู้ที่ไม่ตอบรับการเชิญ ถือว่าทรยศต่ออัลเลาะห์และศาสนทูตของพระองค์ "


            ความจากสาวกญาบิรฯ ในบันทึของอาหมัดและมุสลิม ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า

" เมื่อคนหนึ่งในพวกท่านถูกเชิญ เขาจำเป็นต้องตอบรับ  หากเขาถือศีลอดก็จงขอพร (ให้เจ้าภาพ) และหากเขาไม่ได้ถือศีลอด ก็จงทานอาหาร"


          และหะดีษที่รายงานในบันทึกของนักหะดีษหลายท่านยกเว้นบุคอรีและนะซาอีความว่า

"เมื่อคนหนึ่งในพวกท่านถูกเชิญไปสู่งานเลี้ยงอาหารขณะที่เขาถือศีลอด เขาก็จงกล่าว (แก่เจ้าภาพ) ว่า ฉันถือศีลอด "


          จากบรรดาหะดีษดังกล่าว ให้นัยด้านหลักการ (ฮุก่ม) ที่สำคัญๆ ดังนี้

          วายิบ (จำเป็น) ต้องตอบรับการเชิญไปงานเลี้ยง ส่วนการรับประทานในงานเชิญนั้นไม่ถือเป็นการจำเป็นต้องรับประทาน ไม่ว่าจะเป็น

งานนิกาห์หรืองานอื่นๆ ก็ตาม และท่านอิหม่ามนะวะวีบอกทัศนะที่ซอเฮี๊ยะห์คือ จำเป็นต้องรับประทาน ฝ่ายอะฮลุ้ซซอฮิรให้น้ำหนักทัศนะนี้

(คือจำเป็นต้องรับประทาน) มากกว่า หวังว่าบรรดาเหล่านั้นยึดถือเอาหะดีษที่ว่า "หากเขาไม่ได้ถือศีลอดก็จงรับประทาน "

               ผู้ที่ถูกเชิญไปยังงานเลี้ยง และเขาถือศีลอดอยู่ ให้เขาแจ้งแก่เจ้าภาพผู้เชิญว่า ตนถือศีลอด หากเขาอนุญาตว่าไม้ต้องไปงานได้

ก็สามารถไม่ต้องไปได้ แต่ถ้าเจ้าภาพไม่ยอม เขาต้องไปงานและขอดุอาให้เจ้าภาพและไม่จำเป็นต้องมีการรับประทาน ยกเว้นเมื่อว่า หากเขา

ไม่รับประทานจะทำให้เจ้าภาพเดือดร้อนหรือเสียใจ และถ้าศีลอดของเขานั้นเป็นศีลอดสุนัต นักวิชาการบอกว่า ที่ดีแล้วให้ละศีลอดและ

ให้รับประทานอาหารในงานนั้น

              จากหะดีษดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ความเป็นพี่น้องกันในอิสลามนั้น ต้องทำให้พี่น้องได้รับความพอใจ ควรคบกันด้วยดีและต้อง

ไม่ทำให้เกิดการเสียใจ และเดือดร้อนไม่ว่าจะด้วยคำพูดหรือการกระทำ


ฮุก่ม (หลักการ) ตอบรับงานเชิญที่มีสิ่งผิดศาสนา

          มุสลิมได้รายงานหะดีษของสาวกอะบีสะอีดอัลคุฎรีย์ฯ  ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) กล่าวว่า

"ผู้ใดจากพวกเจ้าเห็นสิ่งผิดศาสนา ก็จงเปลี่ยนแปลงสิ่งนั้นด้วยมือของเขา  ดังนั้นหากเขาไม่สามารถก็ให้เปลี่ยนแปลงด้วยลิ้นของเขา

และถ้าเขาไม่สามารถอีกก็ให้เปลี่ยนแปลงด้วยหัวใจการเช่นนั้น (การเปลี่ยนแปลงด้วยหัวใจ) ถือเป็นความอ่อนแอแห่งศรัทธา"


            ความในหะดีษจากสาวกอะลี ฯ ว่า "ฉันได้จัดเตรียมอาหารแล้วเรียนเชิญท่านศาสนทูต ท่านก็มา ครั้นท่านเห็นรูปภาพในบ้านท่านจึงกลับ" 

บันทึกโดยอิบนุมาญะห์


          อิหม่ามอาหมัด นะซาอี ติรมิซี่ย์ และฮากิม ได้บันทึกรายงานหะดีษมัรฟู๊อฺของสาวกญาบิรฯ ท่านศาสดาฯ กล่าวว่า

      "ผู้ที่ศรัทธาต่ออัลเลาะห์และวันสุดท้าย เขาต้องไม่นั่งร่วมวงสำรับที่มีการเสิร์ฟเหล้า"

                   นัยแห่งหะดีษดังกล่าวนั้น ชี้ให้ทราบโดยรวมว่า งานเชิญใดที่มีสิ่งผิดหลักการศาสนา ไม่อนุญาตให้ไปร่วมงานนั้น เพราะเท่ากับ

เป็นการประกาศด้วยกับการดังกล่าว

          สำหรับรายละเอียดทัศนะของมัซฮับต่างๆ ท่านอิบนุหะญัรได้นำเสนอไว้ในหนังสือ "อัลฟัตห์" เล่มที่ 9 หน้า 216 ดังนี้

          หากในงานนั้นมีสิ่งต้องห้าม และเขาสามารถที่จะห้ามปรามได้ แล้วเขาก็ทำการห้ามปรามให้หมดไปได้ การไปงานนั้นก็ไม่เป็นไร

แต่ถ้าเขาไม่สามารถจะห้ามปรามหรือทำให้มันหายไปได้ ก็จงกลับออกจากงานเสีย และถ้าในงานนั้นมีสิ่งที่เป็นเพียงมักรู๊ห์ (ที่น่าเกลียด)

ไม่ถึงกับเป็นสิ่งที่ต้องห้ามทางศาสนา กรณีนี้ เขาประสงค์จะไปร่วมหรือไม่ไปก็ได้ และหากมีการละเล่นที่ยังมีข้อขัดแย้งกันในนักวิชาการศาสนาว่า

การละเล่นนั้นต้องห้ามหรือไม่ ?  งานนี้อนุญาตให้ไปร่วมงานได้ แต่ที่ดีไม่ควรไปร่วมดีกว่า  มัซฮับฮะนาฟีและทัศนะหนึ่งจากชาฟิอีว่า หากที่งานนั้น

มีสิ่งผิดศาสนาเช่น การเลี้ยงสุรายาเมา และผู้รับเชิญเป็นคนธรรมดามิได้เป็นต้นแบบของคนอื่น ( เช่นไม่ได้เป็นอิหม่าม เป็นครูบาอาจารย์ เป็นกรรมการ

อิสลามหรือผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีคนนับหน้าถือตา และการกระทำของเขาเป็นที่เอาอย่างของคนทั่วไป)  ก็อนุญาตให้ไปในงานและรับประทานสิ่งฮาล้าล

ในงานนั้นได้ แต่ถ้าเป็นคนที่เป็นต้นแบบของคนอื่นๆ ไม่อนุญาตให้ไปร่วมงานดังกล่าว เพราะจะเป็นตัวอย่างให้คนอื่นๆ เอาอย่างตาม และเป็น

การเปิดประตูแห่งความชั่วได้ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ หมายถึงเมื่อไปถึงงานแล้วพบสิ่งอันผิดศาสนา แต่ถ้ารู้ก่อนจะเข้าร่วมงานว่างานนี้มีสิ่ง

ผิดศาสนาแน่ ไม่อนุญาตให้เข้าไปร่วมงาน และไม่ต้องตอบรับการเชิญ

          สรุป ที่สอดคล้องกับหลักฐานก็คือ ผู้ถูกเชิญนั้นหากเขารู้ว่ามีสิ่งผิดศาสนาอย่างชัดเจนในงานนั้นแน่นอน ก่อนจะไปร่วมงาน เขาไม่ต้องไปร่วมงาน

แต่หากเขาไม่รู้มาก่อน มารู้ว่ามีสิ่งผิดศาสนาก็ต่อเมื่อเข้ามาในงานแล้ว และเขาก็ไม่อาจจะห้ามปรามหรือทำให้มันหายไปได้  เขาจำเป็นต้อง

ออกจากงานนั้นทันทีด้วยความสมัครใจ  โดยมีเงื่อนไขว่าการออกจากงานของเขานั้นเขาไม่ต้องกลัวความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตของเขา

          อิบนุลเญาซีย์กล่าวว่า  หากในงานมีอาหารที่ต้องห้ามต้องไม่มีการตอบรับการเชิญ ทำนองเดียวกันก็คือ กรณีมีสิ่งไม่ชอบด้วยศาสนาในงาน

หรือผู้เชิญเป็นคนอธรรม เป็นคนเลวหรือเป็นคนเชิญที่ต้องการความอวดโต อวดรวย หรือในงานนั้น มีการกระทำหรือพูดในหมู่ผู้รับเชิญด้วยเรื่องที่

ไม่ชอบด้วยศาสนา ก็ไม่ต้องไปในงานนั้น ยกเว้นตนจะสามารถห้ามปรามได้

          ท่านอิบนุตัยมียะห์ ได้แถลงไว้ในฟัตวาของเขาว่า " ไม่สมควรที่จะให้สลามกับคนที่ไม่ละหมาด และไม่ต้องตอบรับการเชิญของเขา"

          ส่วนท่านอาหมัดอิบนุฮัมบัลกล่าวว่า "ที่จำเป็นต้องตอบรับคำเชิญนั้นคือ เมื่อผู้เชิญทำงานที่ดี และไม่เห็นมีสิ่งผิดศาสนา"

8
สัญญาณวันสิ้นโลก (สัญญาณวันกิยามะห์)

       ท่าน เชคอาลี อาลี มูฮำหมัด ได้กล่าวถึงสัญญาณวันกิยามะห์ไว้ในหนังสือของท่าน  ที่ชื่อว่า "อัชร็อต อัซซาอะห์" ดังต่อไปนี้

สัญญาณย่อย ได้แก่

1. แผ่นดินไหวจะมีมาก

2. ลมพายุจะรุนแรง

3. ความตายจะดาษดื่น (จากโรคร้าย)

4. มนุษย์จะแข่งขันประดับประดามัสยิด

5. คนโกหกจะได้รับความเชื่อถือ คนพูดจริงกลับถูกมองว่าโกหก

6. คนทุจริตจะปลอดภัย คนไว้วางใจได้กลับถูกบิดพริ้ว

7. การผิดประเวณี (ซินา) จะดาษดื่น

8. สุรา ดอกเบี้ย เป็นสิ่งอนุมัติ

9. ในมัสยิดมีเสียงอึกทึก

10. คนรุ่นหลังจะประณามคนรุ่นก่อน

11. ความวุ่นวายจะเกิดขึ้นทุกหัวระแหง

12. ผู้ใหญ่จะรับใช้เด็ก

13. อุตริกรรม (บิดอะห์) จะปรากฎชัด

14. ความอายจะน้อยลง

15. สตรีจะประพฤติตัวเหมือนบุรุษ ส่วนบุรุษจะประพฤติตัวเหมือนสตรี

16. สตรีจะนุ่งน้อยห่มน้อย

17. ผู้ทุจริตได้รับการช่วยเหลือ ผู้ถูกละเมิดกลับถูกทอดทิ้ง

18. ผู้คนจะอ่านอัลกุรอานกันเพียงลิ้น (ขาดการกฏิบัติตาม)
 
19. การนินทาให้ร้ายจะมีมาก

20. การสาบานด้วยสิ่งอื่นจากอัลเลาะห์จะมีมาก

21. การหย่าร้างเกิดขึ้นมาก

22. ความชั่วช้าเลวทราบจะปรากฎชัด

23. มนุษย์จะปฏิบัติตามอารมณ์กิเลสและตัณหา

24. บุรุษจะถูกทำลาย เพราะทรัพย์สินเป็นเหตุ

25. มนุษย์จะตัดขาดญาติมิตร

26. สมาธิของคนละหมาดจะหายไป

27. ประชาชาติจะแตกออกเป็น 70 กว่าจำพวก

28. วันและเวลาจะสั้นลง จนกระทั่งหนึ่งปีเสมือนหนึ่งเดือน และหนึ่งเดือนเสมือนหนึ่งสัปดาห์ และหนึ่งสัปดาห์เหมือนหนึ่งวัน

29. การแต่งงานเกิดขึ้น เพราะสมบัติเป็นเหตุ

30. เรื่องราวของมนุษย์ ล้วนเป็นความโลภโมโทสัน

31. การตลาดจะฝืดเคือง

32. การให้เกียรติจะน้อยลง แต่การเหยียดหยามจะมากขึ้น

33. ความรับผิดชอบจะหายไป ความวุ่นวายสับสนจะแทนที่

34. ศาสนาจะถูกซื้อขายด้วยวัตถุทางโลก (ดุนยา)

35. หัวใจมนุษย์หมดสิ้นจากความดี

36. ทานบังคับ (ซะกาต) ถูกนำมาจำหน่ายค่าแรงและถูกมอบให้แก่ผู้ไม่มีสิทธิรับ

37. บุรุษจะฆ่ากันโดยไร้เหตุผล

38. ความรู้จะถูกเก็บ คนโง่จะขึ้นแสดงธรรม (บนมิมบัร)

39. เด็กที่เกิดจากการผิดประเวณีจะมีมาก

40. คนที่มีลูกหลานต้องโศกเศร้า เพราะการเนรคุณ

41. สตรีจะทำหน้าที่แทนบุรุษ

42. เด็กจะไม่ให้เกียรติผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่จะไม่เมตตาเด็ก

43. ความบริสุทธิ์จะหายไปจากการงาน

44. คนชั่วจะภูมิใจ และโอ้อวดความชั่วของตน

45. การพนันจะมีมาก

46. ผู้บริสุทธิ์จะถูกฆ่าเป็นการล้างแค้น (ไม่ใช่การรับใช้ชาติ)

47. มนุษย์จะถูกเรียกร้องสู่ขุมนรก และหันเหออกจากการภักดีต่ออัลเลาะห์ตาอาลา


ส่วนสัญญาณใหญ่ ได้แก่

1. อิหม่ามมะห์ดีปรากฎตัว

2. ดัจญ้าลเผยโฉม

3. ท่านศาสดาอีซาจะถูกส่งลงมาสู่โลกอีกครั้งหนึ่ง

4. ยะญูดและมะญูด พังกำแพงทะลุออกมาได้

5. มีสัตว์ประหลาดออกมาจากแผ่นดิน

6. ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก

7. มีหมอกควันเกิดขึ้นเต็มแผ่นดิน

8. เกิดไฟประลัยกัลป์ออกมาขับไล่ผู้คนไปรวม ณ ชุมนุมสถาน

9. อัลกุรอาน และความรู้ถูกเก็บ (โดยการล้มตายของบรรดาผู้รู้)

9

ประะวัติโดยสังเขปของ ชัยคฺดาวุด อัลฟะฏอนีย์

- ชัยคฺดาวุด อัลฟะฏอนีย์ มีชื่อเต็มว่า หะยีวันดาวุด บินวันอับดุลลอฮฺ บินวันอิดริส อัลยาวีย์ อัลฟะฏอนีย์อัลมลายูวีย์

- เกิดวันที่ 1 มุฮัรรอม ปี ฮ.ศ. 1184 ซึ่งตรงกับวันที่ 7 พฤษภาคม คศ.1769 หรือพ.ศ.2312 ณ บ้านปาเร็ต คลองกรือเซะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

- มีบิดาชื่อวันอับดุลลอฮฺ บินวันอิดริส มารดาชื่อวันฟาฏิมะฮฺ

- ท่านสิ้นชีพวันที่22 เดือนรอญับ ปีฮ.ศฺ 1263 ซึ่งตรงกับวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ.1847 หรือพ.ศ.2390

- รวมอายุ 78 ปี


การศึกษา

              แรกเริ่มท่านศึกษาหาความรู้ด้านอิสลามศึกษากับพ่อและลุงของท่านคือชัยคฺศอฟียุดดีนเป็นเวลา 5 ปีที่ปัตตานี หลังจากนั้น เมื่อท่าน

อายุ 16ปี ท่านเดินทางไปศึกษาต่อ ณ อาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซียเป็นเวลา 2 ปี หลังจากนั้นเมื่อท่านอายุครบ 18 ปีท่านเดินทางไปศึกษาต่อ

ณ เมืองมักกะฮฺ เป็นเวลา 30 ปี และเดินไปศึกษาต่ออีก 5 ปี ณ เมืองมะดีนะฮฺ ประเทศซาอุดิอารเบีย


บทบาทด้านวิชาการและสังคม

              ในขณะที่ท่านอยู่มักกะฮ ประเทศซาอุดิอารเบีย 30 ปีระหว่างเรียนหนังสือท่านได้ใช้ความรู้ความสามารถของท่าน สอนหนังสือในมัสยิด

อัลหะรอม รวมทั้งแต่งและแปลตำราต่างๆมากมายเกือบ 100 เล่มมีทั้งภาษามลายูอักษรยาวีและอาหรับ ตำราที่ได้รับการยอมรับและยังเป็นตำราที่

สอนอยู่ในสถาบันปอเนาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้และประเทศอาเซี่ยน   เช่น

1. หนังสือKifayatulmuhtaj

2. Idhahullubab

3. Ghayatultaghrib

4. Nahjulraghib

5. Bulughulmuram

6. Ghayatulmuram

7. Addaruthamin

8. Khasfulghimmah

9. Jamulfawaid

10. Kanzulminan

11. Minhajabidin

12. Maniyatulmusoli

13. Hidayatulmutaallim

14. Agdatuljawahir

15. Wardulzawahir

16. Fathulminan

17. Muzakaratulikhwan

18. Jawahirussuniah

19.Sulamubtadi

20. Furuulmasail

21. Albahjatulussuniah

22. Albahjatulwardiah

23. Albahjatulmardhiah

24. Bughyatuttullab

25. Dhiyatulmurid

26. Asoid wazabaih

27. Irshadulathfal

28. Ishrunnusifatillahiah

29. Siratunnabi Yusuf

30. Hikaturrijalassolihin min Baniisrail

31. Bashairrilikhwan

32. Bab Nikah

33. Risalatussail

34. Jihayatuttuktub

35. Alkurbat ilallah

36. Risalah tataalak Bikalimatuliman

37. Bidayatulhidayah

38. Tambihulghafilin

39. Bayanulahkam

40. Tuhfaturaghibin

              การสอนหนังสือของท่านก็จะมีนักเรียนนักศึกษาจากประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ฟิลิปินส์ กัมพูชา นักศึกษาเหล่านั้น

ส่วนหนึ่งกลับประเทศของตนได้มาเปิดสถาบันการศึกษา เป็นผู้นำชุมชน และใช้ความรู้ความสามารถอบรม สั่งสอนชุมชนของตนต่อๆ กันมา

จวบจนปัจจุบัน

             ไม่เพียงแต่ท่านมีผลงานทางวิชาการเท่านั้นแต่ด้วยความเป็นคนที่มีภาวะผู้นำสูงในช่วงทำพิธีฮัจญ์นั้นท่านยังอุทิศเวลาของท่านบริการ

ดูแลผู้ที่ไปทำฮัจญ์จากประเทศไทยและอาเซียน

             นี่คือประวัติและบทบาทของท่านโดยสังเขปซึ่งสอดคล้องกับวจนะของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ที่ได้กล่าวถึงความประเสริฐของบรรดาอุลามะอฺ

ว่าเปรียบเสมือนผู้รับมรดกของบรรดานบี (ศาสดาทั้งหลาย) หรือได้กล่าวเปรียบเทียบฐานะภาพของอุลามะอฺ ที่สูงส่งกว่า นักพรต นักบำเพ็ญตน

ปลีกวิเวก อุปมาดั่งดวงจันทร์วันเพ็ญที่ทอแสงเจิดจ้าโดดเด่นกว่าดวงดาวทั้งหลาย

           และสอดคล้องกับคำกล่าวของ คอลีฟะห์ (คาหลิบ) ท่านที่ ๔ แห่งอิสลามคือ ท่านอาลี บินอบีฎอลิบ (รอฏิยัลลอฮุอันฮฺ) ได้ถูกตั้งคำถาม

จากสหายคนหนึ่งว่า "ใครคือผู้ที่ดีที่สุดในงานสร้างของพระผู้เป็นเจ้าภายหลังท่านศาสดา" ท่านอาลีได้ตอบว่า "นักปราชญ์ หรือผู้รู้ทางศาสนา

เมื่อเขาเที่ยงธรรม"

               วันนี้สังคมมุสลิมในจังหวัดชายแดนใต้และอาเซียนเป็นหนี้บุญคุณท่านดังนั้นการรำลึกถึงวันเกิดและชีวประวัติของชัยคฺดาวุด

(ถึงแม้หลายคนอาจจะไม่รู้) น่าจะทำให้มุสลิมใต้รู้สึกปลาบปลื้มปิติยินดีและภูมิใจในตัวท่านที่เป็นคนปัตตานีและชายแดนใต้ การรำลึกถึงการมา

ของปราชญ์ของอาเซียนที่มาพร้อมกับรูปแบบการนำเสนอหลักธรรม คำสอน และแบบฉบับอันดีงามในการดำเนินชีวิตตามพระบัญชาของอัลลอฮเจ้า

มา เป็นบรรทัดฐานในการดำเนินชีวิตของมุสลิมใต้และอาเซียนเป็นสิ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์ยิ่ง

              ที่สำคัญสำหรับนักวิจัยทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยควรนำชีวประวัติและผลงานของท่านโดยเฉพาะตำราเก่าๆของท่านซึ่งจะเกิดคุณูประการ

ต่อชนรุ่นหลังต่อไปในอนาคต

10

นิกายในอิสลาม

                  นิกาย ในที่นี้หมายถึง แนวความคิดที่โอนเอียงไปในทางรุนแรงและทำให้ผู้ฝักใฝ่จำนวนมิใช่น้อยต้องหันเหออกนอกแนวทางที่

ถูกต้องของอิสลาม โดยนิกายเหล่านั้นมีจำนวนมาก และจะนำเสนอเฉพาะนิกายหลักๆ เท่านั้น


สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดนิกายในอิสลาม  คือ

            การนำหลักปรัชญาจากตะวันตกเข้ามาศึกษา พร้อมทั้งพยายามเจาะประเด็นและค้นคว้าปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องเร้นลับ เช่น ตัวตนและ

คุณลักษณะของอัลลอฮ์ รวมถึงเรื่องราวเกี่ยวกับกำหนดสภาวะทั้งดีและร้ายที่พระองค์ทรงใช้ให้เชื่อมั่น และศรัทธาโดยห้ามค้นคว้าหรือวิเคราะห์

ในรายละเอียด

             การแย่งชิงตำแหน่งการเป็นผู้นำ (ค่อลีฟะห์) หลังจากท่านศาสดามุมัดได้เสียชีวิต

             ความเขลาและการหลงในเผ่าพันธุ์ตนเอง

           ไม่มีความเข้าใจในตัวบทอย่างถูกต้อง ถึงแม้บางคนจะมีเจตนาดีก็ตาม

           พลังแห่งความอิจฉาริษยาได้เข้าครอบงำจิตใจ

           คนบางกลุ่มเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม แต่แอบแฝงด้วยเจตนาทำลาย
 

กลุ่มหรือนิกายที่เกิดขึ้นในอิสลาม ได้แก่
 
                  ๑. ชีอะห์อิมามียะห์ (อิหม่ามสิบสอง)

                  ชิอะห์อิหม่ามสิบสอง คือ มุสลิมกลุ่มหนึ่งที่อ้างว่า ท่านอาลี (ผู้นำคนที่สี่ของมุสลิมหลังจากท่านศาสดามุฮัมมัดเสียชีวิต) เป็นผู้ที่เหมาะสม

ในการดำรงตำแหน่งค่อลีฟะห์หลังจากท่านศาสดาได้เสียชีวิตลง มิใช่ท่านอบูบักร์ ท่านอุมัรและท่านอุสมาน ที่เรียกว่า อิหม่าม เนื่องจากคนกลุ่มนี้

ถือว่าการดำรงตำแหน่งอิหม่าม(ผู้นำ)เป็นเรื่องหลักและที่เรียกว่า สิบสอง ก็เนื่องจากคนกลุ่มนี้ยึดการเป็นอิหม่ามของคนสิบสองคน โดยคนที่สิบสองนั้น

พวกเขากล่าวอ้างว่าหายตัวเข้าไปในถ้ำแห่งหนึ่งที่เมืองซามุรรออ์ ประเทศอิรัก นอกจากนี้ คนกลุ่มนี้ยังเป็นปฏิปักษ์ทางความคิดและความเชื่อมั่น

อย่างรุนแรงกับบรรดาผู้ที่ยึดมั่นในแนวทางของท่านศาสดามุฮัมมัด ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม (ขอพร และความศานติจากอัลลอฮ์จงมีแด่ท่าน)

(ชาวซุนนะห์) และชีอะห์อิหม่ามสิบสองกลุ่มนี้พยายามทำทุกวิถีทางที่จะเผยแพร่และให้แนวความคิดของตนครอบคลุมโลกอิสลาม

                  นิกายชีอะห์อิหม่ามสิบสองมีจุดศูนย์กลางการเผยแพร่อยู่ในประเทศอิหร่าน มีจำนวนมิใช่น้อยในประเทศอิรัก และจำนวนไม่มากนัก

ในปากีสถาน เป็นกลุ่มย่อยในเลบานอน ส่วนในซีเรียมีจำนวนน้อย แต่มีอิทธิพลทางการเมือง เนื่องจากผู้ปกครองประเทศเป็นชีอะห์   
     
                  ดังกล่าวข้างต้น ยังมีชีอะห์อาศัยอยู่ในเกือบทุกประเทศอาหรับทั้งยี่สิบกว่าประเทศ ในประเทศอิสลามบางประเทศที่มิใช่อาหรับ

และอีกหลายประเทศในโลกนี้
 
                  ๒. อิบาฎียะห์ (เค่าะวาริจญ์)

                  อิบาฎียะห์ เป็นหนึ่งในกลุ่มมุสลิมที่ชื่อ เค่าะวาริจญ์ ที่เรียกว่า อิบาฎียะห์ เนื่องจากพาดพิงชื่อดังกล่าวไปยังผู้ก่อตั้ง

คือ อับดุลลอฮ์ บิน อิบ๊าฎ โดย อิบ๊าฎนั้นเป็นชื่อตำบลหนึ่งในเมืองอาริฎจังหวัดยะมามะห์ ของประเทศซาอุดิอาระเบีย

             นิกายอิบาฎียะห์สามารถก่อตั้งรัฐอิสระขึ้นได้ในรัฐโอมาน และบรรดาอิหม่ามของอิบาฎียะห์ยังคงปกครองรัฐโอมานมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้

            เมืองทางประวัติศาสตร์ของนิกายอิบาฎียะห์ คือ ภูเขานุฟูซะห์ ในประเทศลิเบีย ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางการเผยแพร่นิกายอิบาฎียะห์

            นิกายอิบาฎียะห์ยังคงมีอยู่ในปัจจุบันนี้ ในรัฐโอมาน และมีจำนวนมากในลิเบีย ตูนิเซีย แอลจีเรีย ตอนกลางทะเลทรายทางทิศตะวันตก

ของทวีปอาฟริกาและในเมืองหนึ่งของประเทศทันซาเนีย
 
                  ๓. นิกายมัวะตะซิละห์

                  มัวะอ์ตะซิละห์ เป็นนิกายหนึ่งในอิสลามที่อาศัยสติปัญญาในการทำความเข้าใจหลักการเชื่อมั่นของอิสลาม ซึ่งได้รับอิทธิพลความคิด

มาจากการนำปรัชญาจากต่างชาติเข้ามาศึกษา จึงทำให้ผู้ยึดถือนิกายนี้ต้องหลุดออกจากหลักการที่ถูกต้องของอิสลาม

                 นักวิชาการกลุ่มนี้พยายามอธิบายตัวบทพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานและวจนะท่านศาสดามุฮัมมัดตามความคิดของตนเอง พวกเขาจึง

อาศัยการเข้าใจตัวบทด้วยการตีความตามอำเภอใจ

                 อุดมการณ์สำคัญที่พวกมัวะอ์ตะซิละห์ยุคใหม่ยึดถือคือ คำกล่าวอ้างที่ว่า สติปัญญาคือหนึ่งเดียวเท่านั้นที่สามารถเข้าใจถึงแก่นสาร

แห่งความจริง
 
                 ๔. ไซดียะห์

                 ไซดียะห์ เป็นแขนงหนึ่งในนิกายชีอะห์ที่มีหลักการใกล้เคียงกับชาวซุนนะห์มากที่สุด

                 นิกายไซดียะห์มีจุดแผ่ขยายอยู่ที่ชายฝั่งคอซรอซ ไดลัม ฏ๊อบริสถาน และญีลานตะวันออก จนถึงแคว้นฮิญ๊าซและทาง

ทิศตะวันตกของอียิปต์ ปัจจุบันมีจุดศูนย์กลางการแผ่ขยายอยู่ที่ประเทศเยเมน
 
 
                 ๕. นิกายอะชาอิเราะห์

                 อะชาอิเราะห์ เป็นนิกายวิภาษวิทยา ซึ่งเป็นนิกายที่แยกออกมาจากมัวะอ์ตะซิละห์ โดยนิกายนี้ใช้สติปัญญาเป็นหลักฐานในการ

ยืนยันเรื่องของศาสนา และมีความสอดคล้องกับแนวทางของชาวซุนนะห์

                 นิกายนี้ได้รับการเผยแพร่มากขึ้นโดยสถาบันการศึกษาในกรุงแบกแดดและในเมืองไนซาบู้ร (เอเชียกลาง)ได้จัดเป็นหลักสูตรการ

เรียนการสอนโดยนักวิชาการสายอะชาอิเราะห์ และสถาบันการศึกษาในกรุงแบกแดด ถือเป็นสถาบันอิสลามที่ใหญ่ที่สุด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้นิกาย

อะชาอิเราะห์ได้รับการแพร่หลายอย่างกว้างขวางในโลกอิสลามปัจจุบัน มีการเรียนการสอนทั้งในระดับมัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัย
 
 
                 ๖. นิกายมาตุรีดียะห์

                 มาตุรีดียะห์ เป็นนิกายที่ใช้วาทศิลป์และสติปัญญาในการโต้ตอบและยืนยันหลักการของศาสนาต่อคู่กรณี

                 นิกายมาตุรีดียะห์มีจุดแพร่หลายอยู่ในอินเดียและประเทศข้างเคียง ได้แก่ จีน บังคลาเทศ ปากีสถาน อัฟกานิสถาน นอกจากนี้

ยังมีการเผยแพร่ในตุรกี อิตาลี เปอร์เซียและมอรอกโค

 

11
       อินเตอร์เน็ตนั้นหะลาลหรือหะรอม?

             ณ ที่นี้ขอกล่าวถึงทัศนะของ  เชคยูซุฟ อัลกอรฏอวีย์ ซึ่งได้ตอบข้อซักถามถึงทัศนะของอินเตอร์เน็ต เชคยูซุฟกล่าวว่า

"อัลลอฮฺทรงดำรัสให้การเรียกร้องสู่ศาสนาของพระองค์ (คือศาสนาอิสลาม) เป็นเรื่องจำเป็นต่อประชาชาตินี้

ดังโองการที่ว่า

وَلْتَكُن مِّنكُمْ أُمَّةٌ يَدْعُونَ إِلَى الْخَيْرِ وَيَأْمُرُونَ بِالْمَعْرُوفِ وَيَنْهَوْنَ عَنِ الْمُنكَرِ وَأُوْلَـئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُونَ

      ความว่า "และจงให้มีขึ้นจากพวกเจ้า ซึ่งคณะหนึ่งที่จะเชิญชวนไปสู่ความดีและใช้ให้กระทำสิ่งที่ชอบ และห้ามมิให้กระทำสิ่งที่มิชอบ

และชนเหล่านี้แหละพวกเขาคือผู้ได้รับความสำเร็จ" (อาละอิมรอน 104)
             
                ดังกล่าวนี้จึงจำเป็นต่อนักเรียกร้องทั้งหลายที่เขาจะต้องค้นหาสื่อใหม่ๆในการเผยแพร่อิสลาม อาทิเช่น วิทยุ โทรทัศน์

รวมทั้งหนังสือพิมพ์
         
         ส่วนความเห็นของผมนั้นคิดว่า อินเตอร์เน็ตเป็นที่แพร่หลายไปทั่วทุกมุมโลก มนุษย์นับล้านสามารถรับรู้ข่าวสารและเรื่องราวต่างๆ

โดยมิได้จำกัดชนชั้น หรือศาสนา ดังนั้นสมควรที่เราจะต้องทำให้ศาสนาแห่งสัจธรรมนี้ไปสู่ชาวโลกทั้งมวล การใช้อินเตอร์เน็ตถือเป็นเรื่อง

สมควรอย่างยิ่ง ซึ่งอินเตอร์เน็ตมันก็เปรียบเหมือนงานหนึ่งของช่องอวกาศที่มันไร้พรมแดน มันไม่มีที่สิ้นสุด ตราบใดที่ยังมีคอมพิวเตอร์และโมเด็ม

          ดังกล่าวนี้ มิอาจกล่าวได้ว่าอินเตอร์เน็ตมันเป็นเรื่องหะลาลหรือหะรอม แต่ทว่ามันจะหะลาลหรือหะรอม ขึ้นอยู่กับการใช้งานของผู้ที่

ต้องการเข้าเน็ต เป็นไปตามจุดประสงค์ของการใช้งาน บางคนใช้เน็ตในเรื่องของเพศหรือสิ่งลามกอนาจารก็ถือเป็นหะรอม ขณะที่บางคน

ก็ใช้มันเพื่อปกป้องอิสลาม ศึกษาอิสลามก็เป็นที่อนุญาติหะลาลสำหรับเขา ส่วนฟัตวาที่ออกมาห้ามปรามนั้นก็เพราะว่ากลัวว่าจะถูกใช้ไปในเรื่องอนาจาร

หรือเรื่องเสื่อมเสีย เพราะปัจจุบันนี้คาดการณ์ว่ามีเว็บลามก หรือรวมกระทั้งเว็บบิดเบือนอิสลามก็มีอยู่มากมาย
       
          แม้ก่อนหน้านี้ เคยมีแบบสอบถามเรื่อง เว็บลามกในอินเทอร์เน็ตในสายตา "ผู้ใช้คอมพิวเตอร์" ของสวนดุสิตโพลล์ สำรวจผู้ใช้คอมพิวเตอร์

จำนวน 1,108 คน ผลออกมาว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์กว่า 90 % เคยพบเว็บลามกในอินเทอร์เน็ต แต่ถ้าหากว่าเรามาพิจารณาถึงคุณประโยชน์กับ

โทษของมันแล้วเราก็จะพบว่า เป็นไปได้ที่เราจะได้รับประโยชน์อันมากมายดังที่เราจะใช้มันไปในเรื่องของความดีงามทั้งหลาย และห่างไกล

จากการบ่อนทำลาย

               หลายฝ่ายเคยให้ความเห็นว่า วัยรุ่นมุสลิมไทยในปัจจุบันมักใช้อินเทอร์เน็ตไปเพื่อความบันเทิงที่ไม่มีสาระประโยชน์มากนัก

ที่นิยมกันมากเห็นจะเป็นการเข้าห้องสนทนา และหัวข้อสนทนาที่พบโดยทั่วไปมักเป็นเพียงการพูดคุยหยอกล้อกัน หรือจีบกัน สาเหตุ หนึ่งอาจ

เป็นเพราะข้อจำกัดด้านภาษา จึงทำให้เด็กวัยรุ่นมุสลิมไทยไม่รู้สึกสนุกที่จะสืบค้นหาความรู้อิสลามหรือความรู้ทั่วไปจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมาย

เนื่องจากเว็บไซต์เหล่านั้นส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษและภาษาอาหรับดังนั้น ส่วนเว็บมุสลิมในไทยที่มีอยู่หลายสิบเว็บ ส่วนใหญ่ก็จะ

ขาดการปรุงปรุงข้อมูล หรืออัพเดต จึงทำให้อาจรู้สึกเบื่อหน่ายในการเปิดเว็บวิชาการ
 
            ส่วนกรณีของการล่อลวงโดยใช้เป็นสื่อนั้น การดูแลป้องกันก็คงต้องอาศัยการอบรม ดูแลจากผู้ปกครอง และครูอาจารย์ เพื่อให้เด็ก

และเยาวชนตระหนักถึงภัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และไม่ตกเป็นเหยื่อของผู้ที่มีเจตนาร้าย โดยความรู้ เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งนี้มีแนวทางสำหรับ

ผู้ปกครองในการดูแลบุตรหลานของพี่น้องที่ใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นแนวทางที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างง่าย ๆ ในชีวิตจริง แนวทางทั้งของ

ผู้ปกครอง และของเยาวชนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต นั้นพอสรุปได้ดังต่อไปนี้

        1. ข้าพเจ้าจะใช้อินเตอร์เน็ตไปในหนทางของศาสนา และใช้เวลาเล่นด้วยกันกับบุตรหลานของข้าพเจ้าเพื่อเรียนรู้ว่าเขาใช้อินเทอร์เน็ต

ไปในทางใด และมีความสนใจในเรื่องใด

         2. ข้าพเจ้าจะสอนให้บุตรหลานรู้ถึงศิลปะป้องกันตัว 7 ประการสำหรับเยาวชนมุสลิมที่ใช้อินเทอร์เน็ต
       
        3. ข้าพเจ้าจะพูดคุยทำความเข้าใจกับบุตรหลานเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตของเขา เช่น เวลาปฏิบัติศาสนกิจ และเวลาที่ใช้ออนไลน์ได้

จำนวนชั่วโมง ให้ใช้ได้ ประเภทของเว็บไซต์หรือกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ตที่เข้าร่วมได้ เป็นต้น

          4. ข้าพเจ้าจะวางคอมพิวเตอร์ที่บุตรหลานใช้ไว้ในที่เปิดเผย เช่น ห้องนั่งเล่น มากกว่าที่จะวางไว้ในห้องนอน หรือห้องส่วนตัวของเขา

ส่วนศิลปะป้องกันตัว 7 ประการสำหรับเยาวชนมุสลิมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนั้นมี  ดังนี้

          1. ข้าพเจ้าจะใช้อินเตอร์เน็ตในเรื่องการศึกษาอิสลามจากเว็บไซต์และการพูดคุยในหัวข้อเรื่องที่เกี่ยวกับอิสลาม หรือสนทนาเพื่อ

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างมุสลิมโดยไม่ทำให้ขาดหรือบกพร่องในการปฏิบัติศาสนกิจของมุสลิม

          2. ข้าพเจ้าจะไม่บอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียน ที่ทำงานหรือเบอร์ที่ทำงานของผู้ปกครอง

ให้แก่บุคคลอื่นที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่ขออนุญาตจากผู้ปกครองก่อน

          3. ข้าพเจ้าจะแจ้งให้ผู้ปกครองทราบโดยทันที หากข้าพเจ้าพบข้อความหรือรูปภาพใด ๆ บนอินเทอร์เน็ต ที่หยาบคาย หรือไม่เหมาะสม

โดยประการทั้งปวง

          4. ข้าพเจ้าจะไม่ยินยอมไปพบบุคคลใดก็ตามที่ข้าพเจ้าได้รู้จักทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่ขออนุญาตจากผู้ปกครองก่อน

และหากผู้ปกครองอนุญาตให้ข้าพเจ้าไปพบบุคคลนั้นได้ ข้าพเจ้าก็จะไปพบเขาในที่สาธารณะซึ่งมีคนผ่านไปมา โดยมีผู้ปกครองของข้าพเจ้าไปด้วย
 
          5. ข้าพเจ้าจะไม่ตอบคำถามหรือต่อความกับผู้ที่สื่อข้อความหยาบคายหรือไม่เหมาะสม แต่ข้าพเจ้าจะแจ้งให้ผู้ปกครอง ทราบโดยทันที

           6. ข้าพเจ้าจะเคารพต่อข้อตกลงอื่น ๆ ที่ให้ไว้กับผู้ปกครอง เช่น กำหนดระยะเวลาที่ข้าพเจ้าจะใช้อินเทอร์เน็ตได้ เว็บไซต์ที่ข้าพเจ้า

เข้าได้และข้อตกลงอื่นใดอย่างเคร่งครัด

            7. ข้าพเจ้าจะไม่พยายามหลบเลี่ยงกฎทั้งหมดข้างต้น ไม่ว่าในกรณีใด

12
               คำถามนี้มีหลายคนสงสัยเกี่ยวกับการธุรกิจร้านเน็ต

       เชคไฟศอล เมาละวียฺ ตอบว่า "ไม่มีความผิดในการเปิดร้านอินเตอร์เน็ต หากใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อจุดประสงค์ที่ดีและศาสนาอนุญาต

ถ้าผู้เข้ามาใช้อินเตอร์เน็ตใช้ในทางที่ไม่ดีหรือผิดศีลธรรม ก็เป็นหน้าที่ของผู้ดูแลร้านที่จะห้ามและตักเตือนเขา เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิ

วะซัลลัม กล่าวว่า "เมื่อพวกท่านเห็นสิ่งที่ไม่ดี ก็จงเปลี่ยนแปลงมันด้วยมือของท่าน ถ้าไม่สามารถก็ด้วยลิ้น (การพูด) ถ้าไม่สามารถก็ด้วยหัวใจ

(แสดงความไม่เห็นด้วย) ซึ่งเป็นการอีมานที่ต่ำที่สุด" (รายงานโดยมุสลิม)

             ข้อวินิจฉัยข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า อนุญาตให้เปิดร้านอินเตอร์เน็ตได้ ก็ต่อเมื่อสามารถควบคุมไม่ให้ผู้ใช้ใช้อินเตอร์เน็ตในทางที่ไม่ดี

เจ้าของร้านหรือผู้ดูแลจะต้องเป็นผู้ควบคุมดูแลการใช้อินเตอร์เน็ตในร้าน
  
         เชคอับดุศศัตตาร ฟัตหัลเลาะห์ ของมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร ได้ให้ทัศนะว่า รายได้จากร้านอินเตอร์เน็ตนั้นไม่สามารถบอกได้

ชัดเจนว่าหะลาลหรือหะรอม เพราะถ้าหากเจ้าของร้านควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตในร้าน โดยดูแลให้ผู้ใช้ใช้อินเตอร์เน็ตในทางที่เป็นประโยชน์

แลกเปลี่ยนข่าวสาร ติดต่อค้าขาย ถ้าเช่นนั้น รายได้จากร้านเน็ตก็หะลาล
         
           อย่างไรก็ดี ถ้าหากว่าร้านอินเตอร์เน็ตนั้นมีการปะปนกันระหว่างชายหญิง และมีการใช้อินเตอร์เน็ตในทางที่ไม่ดี

เช่น ดูภาพลามก ผิดศีลธรรม ฯลฯ รายได้จากร้านนั้นก็หะรอม

       ท้ายสุดนี้ขอฝากอายะห์ในซูเราะฮฺอันนูร อายะห์ที่ 19 ก่อนจบบทความดังนี้

إِنَّ الَّذِينَ يُحِبُّونَ أَن تَشِيعَ الْفَاحِشَةُ فِي الَّذِينَ آمَنُوا لَهُمْ عَذَابٌ أَلِيمٌ فِي الدُّنْيَا وَالْآخِرَةِ وَاللَّهُ يَعْلَمُ وَأَنتُمْ لَا تَعْلَمُونَ

              อัลกุรอานระบุว่า "แท้จริงบรรดาผู้ชอบที่จะให้เรื่องบัดสีแพร่หลายไปในหมู่ผู้ศรัทธานั้น พวกเขาจะได้รับการลงโทษอย่าง

เจ็บปวดทั้งในโลกนี้และโลกหน้า และอัลลอฮฺทรงรอบรู้และพวกเจ้าไม่รู้"

13
ขอบคุณครับ ท่าน al-azhary  ช่วยเพิ่มเติมสิ่งที่มีประโยชน์มากมาย

อีก 10 หากขุนเขายังยืนหยัด สายน้ำยังรินไหล  เราคงได้เจอกัน ... ข้าต้องขอตัวก่อน ข้าลาละ

14

         ท่านชัยค  ยุซุฟ อัล ก๊อรฏอวีย์    อุลามาออาวุโสท่านหนึ่งของขบวนการภราดรภาพมุสลิม ได้กล่าวไว้ใน หนังสือเล่มหนึ่งของท่านที่ชื่อว่า 

“ขบวนการเคลื่อนไหวอิสลามกับการท้าท้ายของยุคสมัย” ในประเด็นที่เกี่ยวกับความจำเป็นต้องรับเอาแนวความคิด สะลาฟีย์ มาใช้

      เนื่องจากลักษณะพิเศษของแนวคิดสลาฟีย์ที่ว่า  “เป็นแบบวิธีทางปัญญาที่วางอยู่พื้นฐานของการใช้ความเข้าใจในบทบัญญัติของอัล กุรอาน   

และข้อแนะนำของซุนนะห์ตามที่เข้าใจโดยชนรุ่นที่ประเสริฐที่สุดของอุมมะฮ  ซึ่งได้แก่ บรรดาเศาะฮาบะฮของท่านนบี ศ็อลล๊อลลอฮุ อะ ลัยฮิ วะ ซัลลัม

และบรรดาผู้ดำเนินแนวทางของพวกเขาอย่างถูกต้อง”   

            ผู้ปฏิบัติตามแนวทางนี้จะต้องมีคุณลักษณะที่เหมือนกับชนยุคแรกอย่างแน่นอน   นั่นคือมีการส่งเสริมสนับสนุนการยึดมั่นต่อหลักการ

โดยมีการตัดสินอาศัยตัวบท   มีการบ่มเพาะอีหม่านที่ถูกต้องและมั่นคงมีความทุ่มเทความสนใจให้กับเรื่องจิตใจและเนื้อหาสาระที่ไม่สนใจเรื่องรูปแบบ   

ที่ไม่สนใจเรื่องการโต้แย้งที่ไร้สาระ  และให้ความสนใจกับการยึดมั่นต่อกฎเกณฑ์ในเรื่องศาสนา และการสร้างสรรค์ใหม่ของระเบียบกฎเกณฑ์ทางโลก 

มีการส่งเสริมการอิจญติฮาด(วินิจฉัย)  ประณามความไม่ยืดหยุ่นและการตักลีด(การตามอย่างไร้สติ) ส่งเสริมให้มีความสุภาพอ่อนโยนต่อผู้อื่น  และ

รังเกียจผู้ที่มีท่าทีหยาบกระด้าง   

               นี่คือสารัตถะของเหล่าบรรพชนในยุคแรกได้ปฏิบัติมา    นี่คือวิธีทางที่ทำให้พวกเขาได้รับความสูงส่งจากพระผู้เป็นเจ้า  และเป็นมนุษย์ที่

เป็นแบบอย่างให้กับคนรุ่นต่อมา  จนทำให้อัลลอฮ  ตะอาลา  ทรงยกย่องชมเชยคนยุคนี้เอาไว้ในกุรอานนับไม่ถ้วน

 

สองกลุ่มที่สร้างภาพเสียหายให้กับแนวคิดสลาฟียฺ

 
           กลุ่มแรก คือ เป็นกลุ่มที่ถูกผู้คนอ้างว่าเขาคือผู้ที่สนับสนุนแนวความคิดสะลาฟีย์  กลุ่มพวกนี้มีวิธีคิดที่ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรต่ออุมมะฮเลย

ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรให้เป็นรูปธรรมได้ พวกเขาใช้เวลาหมดไปกับการโต้เถียงปัญญาหาศาสนาที่เกี่ยวกับประเด็นปลีกย่อยต่างๆที่ดูแล้ว

ไม่มีทางจะลงเอยโดยดีได้ 

              ท่านชัยค ยุซุฟ อัล ก๊อรฎอวีย์กล่าวว่า  “พวกเขาใช้เวลาช่วงกลางวันและไม่ยอมหลับไม่ยอมนอนตลอดทั้งคืน เพื่อตั้งป้อมโจมตีอย่าง

ไม่ปรานีปราศรัยเล่นงานบุคคลใดก็ตามที่คัดค้านกับความคิดของพวกเขาที่เกี่ยวกับประเด็นใดประเด็นหนึ่ง(ทางฟิกฮ)”  ประการเช่นนี้สร้าง

ความเสื่อมเสียให้กับแนวความคิดสะลาฟีย์เป็นอย่างมากในปัจจุบัน  จนทำให้คนบางคนพูดว่า  พวกสะลาฟีย์คือพวกที่ชอบถกเถียงกันเรื่องศาสนาที่

ไม่มีสาระ

 
            กลุ่มที่สอง คือ เป็นกลุ่มที่ต่อต้านแนวความคิดสลาฟีย์ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพวก เซ็คคิวล่าร์(ผู้ที่คิดว่าเรื่องศาสนาเป็นเรื่องส่วนบุคคล) 

ที่ออกมาประณามว่าแนวความคิดนี้ล้าสมัย บ้าคลั่ง มักจะมองย้อนไปข้างหลัง ไม่สามารถนำมาปรับใช้กับโลกแห่งยุคสมัยได้  และยึดติดกับรูปแบบเก่าๆ

และพวกเขายังเชื่ออีกว่าแนวความคิดสะลาฟีย์นั้นสวนทางกับการตัจญ์ดีด(การสร้างใหม่) นี่คือความเลวร้ายที่แนวความคิดสะลาฟีย์ได้รับอย่างอยุติธรรม

 
ย้อนมองดูผู้นำ  “สะลาฟีย์” ตัวจริง

               สัญลักษณ์ของแนวคิดสลาฟียฺ คือท่านชัยคุลอิสลาม  อิบน ตัยมียะฮ  และท่านอัล อิมาม อิบน อัล กอยยิม ลูกศิษย์ของท่าน 

ทั้งสองได้เป็นตัวแทนของขบวนการเคลื่อนไหวฟื้นฟูอิสลามในยุคสมัยของท่านอย่างแท้จริง ท่านได้ ต่อสู้กับความเชื่อต่างๆที่จะสร้างความเสื่อมเสีย

ให้กับแนวความคิดและคำสอนอิสลาม และเผชิญหน้ากับการตักลีด และอุดมการณ์ที่ผิดๆที่จะมาครอบงำศาสนาและท่านทั้งสองมีเป้าหมายเพื่อที่

จะให้ผู้คนนั้นมีความเข้าใจศาสนาเหมือนกับคนยุคแรกเข้าใจทั้งทางด้านแนวคิดและทางด้านภาคปฏิบัติ 

              มันอาจจะไม่เป็นธรรมแก่ท่านทั้งสองเลยที่จะพาดพิงแต่วิชาการของท่านอย่างเดียวแต่ละเลยรูปแบบที่เคร่งครัดและการยำเกรงต่อ

พระเจ้าของท่านของทั้งสอง  และเป็นไปไม่ได้ผู้ที่ชอบอ้างงานวิชาการของท่านแต่ละเลยแง่มุมทางด้านภาคปฏิบัติและการสนับสนุนช่วยเหลืองาน

ดะวะฮและการญิฮาด  จนกะทั่งท่าน อิบน ตัยมียะฮกล่าวคำพูดหนึ่งที่เป็นความรู้สึกของท่านว่า     “บรรดาศัตรูของฉันจะสามารถทำอะไรกับฉันได้?

การถูกกักขังของฉันเป็นการแยกตัวมาอยู่อย่างสันโดษ(เพื่อทำการอิบาดะฮ) การถูกเนรเทศของฉันเป็นการเดินทางเพื่อศาสนา(การแสวงหาความรู้)

และการถูกประหารชีวิตของฉันเป็นการพลีชีพ(ชะฮีด)” 

            ส่วนท่านอิมามมุฮัมหมัด รอชีด ริฎอ ซึ่งเป็นผู้ที่ชูธงสะลาฟียะฮในสมัยของเราท่านเป็นผู้ฟื้นฟูยุคสมัยของเราอย่างแท้จริง มีผลงานทาง

วิชาการออกมาอย่างมากมายและตัฟซีรของท่านที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกก็คือ ตัฟซีรอัล มะนาร  และยังเป็นบรรณาธิการผู้ก่อตั้งและ

เป็นเจ้าของนิตยสาร “อัล มะนาร” อีกด้วย และหนังสือวิชาการอีกมากมาย  อีกทั้งเป็นผู้เริ่มตั้งกฎทองที่ท่าน อิมามหะสัน  อัล บันนา ได้นำไปใช้ในเวลา

ต่อมามีใจความว่า   “เราจะประสานความร่วมมือกันในสิ่งที่เราเห็นพ้องต้องกัน  และให้อภัยแก่กันและกันสำหรับสิ่งที่เรามีความเห็นที่แตกต่างกัน”

ฉะนั้น ผู้ที่อ้างตนเองว่าปฏิบัติตามแนวทางสะลัฟโปรดทบทวนข้อความนี้ด้วย
 

15
              ชัยคฺ ดร. ยุซูฟ อัล ก็อรฎอวียฺ ได้นำเสนอ “ฟิกฮุลอิคติล๊าฟ” ไว้ในหนังสือของท่านที่มีชื่อว่า “อัศเศาะวะฮฺ อัลอิสลามิยะฮฺบัยนัลอิคติล๊าฟ

อัลมัชรูอฺ วัตตะฟัรรุกอัลมัศมูม
” (การตื่นตัวในอิสลามท่ามกลางความแตกต่างที่อนุญาตและความแตกแยกที่ควรตำหนิ) หนังสือเล่มนี้

จะพูดถึงความขัดแย้งของอุมมะฮฺ สาเหตุและแนวทางแก้ไข เพราะท่านเห็นว่าในปัจจุบันนี้มีขบวนการเคลื่อนไหวมากมายในการฟื้นฟูอิสลาม

ที่มีความเห็นแตกต่างกันในแนวความคิดในการทำงานดะอฺวะฮฺ จึงจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจ “ฟิกฮุลอิคติล๊าฟ” เพื่อที่จะให้เข้าใจถึงความหลากหลาย

ของแต่ละขบวนการ เพราะความหลากหลายในขบวนการฟื้นฟูอิสลามนั้นคือ การเกื้อกูลกันมิใช่ความหลากหลายที่เป็นปฏิปักษ์กัน “ฟิกฮุลอิคติล๊าฟ”

 นั้นมีอยู่  5ประเภทด้วยกัน

 
    1.ฟิกฮุลมะกอซิด (ความเข้าใจถึงเจตนารณ์ในการหลักการของศาสนา)       

            กล่าวคือเราต้องเข้าใจเป้าหมายต่างๆและภาพรวมของศาสนาทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับทุกด้านของชีวิต และการนำเอาหลักการของศาสนามา

ปฏิบัติใช้นั้นจำเป็นต้องนำปฏิบัติทั้งหมด ทั้งเป้าหมายหลักและเป้าหมายรอง ทั้งเป็นภาพรวมและสิ่งที่เป็นรายละเอียดโดยไม่เลือกปฏิบัติและเราต้อง

นำมาเติมเต็มในส่วนที่ท่านอิมาม ชาติบียฺได้ทำเอาไว้ ซึ่งท่านได้เน้นหนักและให้ความสำคัญเป็นการเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายหลักทางสังคม

 

        2.ฟิกฮุลเอาละวีย๊าด  (ความเข้าใจถึงลำดับความสำคัญของปัญหา)

             การเข้าใจถึงการขั้นตอนต่างๆของการดะอฺวะฮฺ หมายถึงการจัดวางทุกสิ่งทุกอย่างตามความเหมาะสมที่แท้จริง จะไม่ทำให้ล้าช้าในประเด็นปัญหา

สำคัญ ส่วยประเด็นปัญหาเล็กๆเราจะไม่ทำให้มันเป็นเรื่องราวใหญ่โตเกินตัว ฟิกฮฺของการจัดลำดับความสำคัญต้องการให้เราเข้าถึงภาระหน้าที่ที่มีเวลาจำกัด

เพื่อว่าเราจะได้จัดการกับมันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยไม่หน่วงเหนี่ยวให้ล่าช้า และไม่ทำลายโอกาสที่นานๆจะพบสักครั้ง หรือจะไม่พบอีกต่อไป

แล้วก็ได้(วัลลอฮุอะอฺลัม)  ดังคำสุภาษิตอาหรับที่ว่า จงใช้โอกาสให้เป็นประโยชน์ เพราะโอกาสนั้น ถ้าไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว จะกลายเป็นความระทม 

 

         3.ฟิกฮุสสุนัน(ความเข้าใจแห่งกฏธรรมชาติและความเป็นไปทางสังคม) 

           กฏเกณฑ์แห่งธรรมชาติหรือกฏเกณฑ์ที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้สร้างไว้ให้กับโลกและจักรวาลนั้นเป็นกฏที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น กฎหรือ

แบบแผนของการเปลี่ยนแปลง การสับเปลี่ยนหมุนเวียนหรือการถ่ายโอน ชัยชนะและความค่อยเป็นค่อยไป….และอื่นๆ

 

          4.ฟิกฮุลมุวาซะนะฮฺ บัยนัลมะศอลิฮฺ วั้ลมะฟาซิด (ความเข้าใจในการประเมินหรือการเปรียบเทียบ สิ่งใดดี สิ่งใดเป็นประโยชน์สิ่งใด

เป็นโทษหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ฟิกฮฺแห่งดุลยภาพ”)


คำว่า”ฟิกฮุล มุวาซานาต” หรือฟิกฮฺแห่งดุลยภาพ นั้นเราหมายถึงหลายสิ่งด้วยกันได้แก่

         4.1.ทำให้เกิดความสมดุลระหว่างผลประโยชน์อย่างหนึ่งกับประโยชน์อีกอย่างหนึ่ง ในขอบเขตขนาดและความสามารถ คุณค่าและผลกระทบ

ตลอดจนความยาวนาน ทั้งนี้เพื่อที่จะตัดสินใจว่าสิ่งใดควรให้ความสำคัญในลำดับแรกและสิ่งใดควรละทิ้ง

         4.2.ทำให้เกิดความสมดุลระหว่างความชั่วอย่างหนึ่งกับความชั่วอีกอย่างหนึ่ง พิจารณาในขอบเขตเดียวกันกับความสมดุลของผลประโยชน์ต่างๆ

ทั้งนี้เพื่อที่จะตัดสินใจว่าสิ่งใดพอจะเป็นที่ยอมรับได้และสิ่งใดควรจะหลีกเหลี่ยง

        4.3.ทำให้เกิดความสมดุลระหว่างผลประโยชน์กับความชั่วถ้าทั้งสองประการขัดแย้งกัน ทั้งนี้เพื่อที่จะตัดสินใจว่าเมื่อใดควรยกให้การหลีกเลี่ยง

ความชั่วมีความสำคัญเหนือกว่าการได้มาซึ่งผลประโยชน์

 

        5.ฟิกฮุลอิคติล๊าฟ (ความเข้าในความแตกต่าง)

           ความเข้าใจอันนี้เป็นสิ่งที่บรรดาศ่อฮาบะฮฺ ตาบีอีนและบรรดาอีหม่ามที่ได้รับทางนำเที่ยงตรง รู้จักและเข้าใจมันเป็นอย่างดี และพวกเขา

ยังอยู่ในศตวรรษที่ดีที่สุดแห่งประชาชาติอิสลามที่ท่านนะบีรับรองไว้ ดังนั้นความขัดแย้งต่างๆทางวิชาการในยุคของพวกเขาจึงไม่เป็นโทษ

หรือเป็นอันตรายกับพวกเขา เราไม่ตระหนักและไม่ใส่ใจต่อฟิกฮฺนี้ จึงทำให้เราต่อมาเป็นศัตรูกันเอง ด้วยเพียงสาเหตุเล็กๆน้อยๆ

 


หน้า: [1] 2