แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - lungmaprau

หน้า: [1]
1
มีหลักฐานหะดีษรายงานโดย อิบนุ มาญะฮฺ ใน ซุนันของท่าน
كتاب الصيام باب صِيَامِ أَشْهُرِ الْحُرُمِ
มีหะดีษ อนุญาติถือศิลอดเดือนหุรุม และมีหะดีษห้ามถือศิลอดเดือนรอญับ ดังหะดีษต่อไปนี้

حَدَّثَنَا أَبُو بَكْرِ بْنُ أَبِي شَيْبَةَ، حَدَّثَنَا وَكِيعٌ، عَنْ سُفْيَانَ، عَنِ الْجُرَيْرِيِّ، عَنْ أَبِي السَّلِيلِ، عَنْ أَبِي مُجِيبَةَ الْبَاهِلِيِّ، عَنْ أَبِيهِ، أَوْ عَنْ عَمِّهِ، قَالَ أَتَيْتُ النَّبِيَّ ـ صلى الله عليه وسلم ـ فَقُلْتُ يَا نَبِيَّ اللَّهِ أَنَا الرَّجُلُ الَّذِي أَتَيْتُكَ عَامَ الأَوَّلِ ‏.‏ قَالَ ‏"‏ فَمَا لِي أَرَى جِسْمَكَ نَاحِلاً ‏"‏ ‏.‏ قَالَ يَا رَسُولَ اللَّهِ مَا أَكَلْتُ طَعَامًا بِالنَّهَارِ مَا أَكَلْتُهُ إِلاَّ بِاللَّيْلِ ‏.‏ قَالَ ‏"‏ مَنْ أَمَرَكَ أَنْ تُعَذِّبَ نَفْسَكَ ‏"‏ ‏.‏ قُلْتُ يَا رَسُولَ اللَّهِ إِنِّي أَقْوَى ‏.‏ قَالَ ‏"‏ صُمْ شَهْرَ الصَّبْرِ وَيَوْمًا بَعْدَهُ ‏.‏ قُلْتُ إِنِّي أَقْوَى ‏.‏ قَالَ ‏"‏ صُمْ شَهْرَ الصَّبْرِ وَيَوْمَيْنِ بَعْدَهُ ‏"‏ ‏.‏ قُلْتُ إِنِّي أَقْوَى ‏.‏ قَالَ ‏"‏ صُمْ شَهْرَ الصَّبْرِ وَثَلاَثَةَ أَيَّامٍ بَعْدَهُ وَصُمْ أَشْهُرَ الْحُرُمِ ‏"‏

حَدَّثَنَا إِبْرَاهِيمُ بْنُ الْمُنْذِرِ الْحِزَامِيُّ، حَدَّثَنَا دَاوُدُ بْنُ عَطَاءٍ، حَدَّثَنِي زَيْدُ بْنُ عَبْدِ الْحَمِيدِ بْنِ عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ زَيْدِ بْنِ الْخَطَّابِ، عَنْ سُلَيْمَانَ، عَنْ أَبِيهِ، عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ، أَنَّ النَّبِيَّ ـ صلى الله عليه وسلم ـ نَهَى عَنْ صِيَامِ رَجَبٍ

حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ الصَّبَّاحِ، حَدَّثَنَا عَبْدُ الْعَزِيزِ الدَّرَاوَرْدِيُّ، عَنْ يَزِيدَ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ أُسَامَةَ بْنِ الْهَادِ، عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ إِبْرَاهِيمَ، أَنَّ أُسَامَةَ بْنَ زَيْدٍ، كَانَ يَصُومُ أَشْهُرَ الْحُرُمِ ‏.‏ فَقَالَ لَهُ رَسُولُ اللَّهِ ـ صلى الله عليه وسلم ـ ‏"‏ صُمْ شَوَّالاً ‏"‏ ‏.‏ فَتَرَكَ أَشْهُرَ الْحُرُمِ ثُمَّ لَمْ يَزَلْ يَصُومُ شَوَّالاً حَتَّى مَاتَ

วอนผู้รู้ช่วยอธิบายหน่อยครับ

2
อัสสลามุอะลัยกุม
ในสมัยที่ อบูลหะซัน อัลอัชอะรีย์ได้สั่งสอนเรื่องอะกีดะฮฺตามแนวทาง(หรือวิธี หรืออะไรก้อแล้วแต่)ของท่านนั้น อยากทราบว่า มีอุลามะอฺท่านใดบ้างในบรรดาอุลามะอฺอะฮฺลุสซุนนะฮฺที่คัดค้าน ต่อต้าน หรือไม่เห็นด้วยกับแนวทางอะกีดะฮฺของ อบุลหะซัน อัลอัชอะรีย์ ในสมัยนั้น และสมัยต่อๆมา ก่อนการเกิดของวะฮาบีย์
ขอบคุณครับ

3
ไปเจอบทความหนึ่งของเวป www.islamweb.nethttp://www.islamweb.net/media/index.php?page=article&lang=A&id=65287 ) และคัดบางส่วนมาขอความกระจ่างจากท่านผู้รู้ทั้งหลายน่ะครับว่า อันใหนถูกอันใหนผิด

5. แนวคิดและหลักการเชื่อมั่นของอัล-อะชาอิเราะฮฺ
ส่วนหนึ่งของหลักการเชื่อมั่นของอัล-อะชาอิเราะฮฺยุคหลัง ที่ยึดถือเป็นหลักการของสำนักคิดมีดังต่อไปนี้
1. เหตุผลทางปัญญาต้องมาก่อนหลักฐาน (จากอัลกุรอานและอัซ-ซุนนะฮฺ) คือ เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างหลักฐานและเหตุผลทางปัญญา ซึ่งจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกอันหนึ่งอันใดมาก่อน อัล-อะชาอิเราะฮฺได้นำกฎเกณฑ์คลุมเครือเหล่านี้มาเป็นหลักเกณฑ์ จึงต้องนำเหตุผลทางปัญญานำหน้าหลักฐาน และนำสิ่งเหล่านั้นมาตัวกำหนดแทนที่หลักฐาน ด้วยเหตุผลที่ว่า ปัญญานั้นเป็นสิ่งที่ไปใคร่ครวญหลักฐานว่าสมควรเชื่อหรือไม่ หากไปนำหลักฐานมาก่อนแสดงว่าเราไปทำลายการใคร่ครวญของสติปัญญา ซึ่งจะทำให้บทบัญญัติทั่วไปเป็นโมฆะหรือใช้ไม่ได้
2. ปฏิเสธในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับอานุภาพและความประสงค์ของอัลลอฮฺ คือปฏิเสธคุณลักษณะอิคติยาริยะฮฺ (สิทธิในการเลือกจะกระทำ) ซึ่งเป็นสิ่งที่อัลลอฮฺยืนยันด้วยอาตมันพระองค์เอง เช่น คุณลักษณะอิสติวาอ์ (การอยู่สูงเหนือพ้นบัลลังก์) อัน-นุซูล (การเสด็จลงมายังฟากฟ้า) อัล-มะญีอ์ (การเสด็จมายังทุ่งมะหฺชัรฺ) อัล-กะลาม (การพูด) อัร-ริฎอ (ความพอพระทัย) และอัล-เฆาะฎ็อบ (ความกริ้ว) พวกเขาปฏิเสธคุณลักษณะเหล่านี้ในฐานะเป็นคุณลักษณะของอัลลอฮฺ โดยอ้างว่าการพาดพิงคุณลักษณะดังกล่าวต่ออัลลอฮฺ เท่ากับเป็นการกล่าวว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนสถานะกับอัลลอฮฺ ซึ่งคุณลักษณะที่เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นคุณลักษณะของสรรพสิ่งที่ถูกสร้าง (ดังนั้นจึงไม่เหมาะสมที่จะนำไปพาดพิงต่ออัลลอฮฺ)
3. ยอมรับในคุณลักษณะของอัลลอฮฺเพียงเจ็ดประการ ส่วนคุณลักษณะอื่นๆ ของอัลลอฮฺพวกเขาจะทำการตะอ์วีล (ตีความ) หรือตัฟวีฎ (มอบหมายในความหมายว่าอัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้นที่ทรงรู้) คุณลักษณะที่พวกเขายอมรับคือ อัล-อิลมฺ (ความรอบรู้) อัล-กุดเราะฮฺ (อานุภาพ) อัล-อิรอดะฮฺ (ความประสงค์) อัส-สัมอฺ (การได้ยิน) อัล-บะศ็อรฺ (การมองเห็น) อัล-กะลาม อัน-นัฟสีย์ (คำพูดที่ดำรงอยู่ด้วยอาตมันของอัลลอฮ) ส่วนคุณลักษณะอื่นๆที่นอกเหนือจากนี้พวกเขาจะตีความ เช่น การตีความคุณลักษณะอัล-เฆาะฎ็อบ (ความกริ้ว) ด้วยความหมายว่า ความประสงค์ที่จะลงโทษ   อัร-ริฎอ (ความพอพระทัย) ด้วยความหมายว่า ความประสงค์ที่จะให้ผลตอบแทน   อิสติวาอ์ของอัลลอฮฺเหนืออะรัช (บัลลังก์) ด้วยความหมายว่า การมีอำนาจและการครอบครอง และยังมีการตีความคุณลักษณะของอัลลอฮฺอื่นๆ อีกมากมาย
4.จำกัดนิยามคำว่า “อัล-อีหม่าน” (การศรัทธา) ว่าหมายถึง การเชื่อมั่นด้วยจิตใจเท่านั้น ดังนั้น ตามทัศนะของพวกเขา เมื่อมนุษย์เกิดศรัทธาและเชื่อมั่นด้วยใจ ถึงแม้ว่ามิได้กล่าวคำปฏิญาณตนด้วยกะลิมะฮฺ ชะฮาดะฮฺตลอดชีวิต และมิได้ปฏิบัติกรรมดีด้วยอวัยวะก็ถือว่าเป็นมุอ์มินผู้ศรัทธาที่รอดพ้นจากการลงโทษในวันอาคิเราะฮฺ  อัล-อีย์ญีย์ ได้กล่าวถึงนิยามอัล-อีหม่านในหนังสืออัล-มะวากิฟว่า นิยามของอัล-อีหม่าน ด้านวิชาการ ตามทัศนะของสำนักคิดพวกเรา(อัล-อะชาอิเราะฮฺ) และเป็นทัศนะของปราชญ์ (อิหม่าม) ส่วนใหญ่ เช่น ท่านอัล-กอฎีย์และอัล-อุสตาซ นั่นก็คือ อัล-อีหม่าน หมายถึง
التصديق للرسول فيما علم مجيئه به ضرورة،  فتفصيلا فيما علم تفصيلا، وإجمالا فيما علم إجمالا
“การศรัทธาต่อเราะสูลในสิ่งที่ท่านนำมาบอกเล่าในเรื่องที่จำเป็นพื้นฐาน ศรัทธาในรายละเอียดที่สามารถรู้ถึงรายละเอียด และศรัทธาแบบโดยรวมในคำสอนที่รู้แบบรวมๆ” (อัล-มะวากิฟ หน้า 384)
 

4
ขอบคุณมากครับ ที่ช่วยกระจ่าง ไงก้อขอถามอีกสักข้อน่ะครับ
กับข้อกล่าวหาที่ว่า "ส่วนหนึ่งของหลักการเชื่อมั่นของอัล-อะชาอิเราะฮฺยุคหลัง ที่ยึดถือเป็นหลักการของสำนักคิดมีดังต่อไปนี้
1. เหตุผลทางปัญญาต้องมาก่อนหลักฐาน (จากอัลกุรอานและอัซ-ซุนนะฮฺ)
2. ปฏิเสธในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับอานุภาพและความประสงค์ของอัลลอฮฺ คือปฏิเสธคุณลักษณะอิคติยาริยะฮฺ (สิทธิในการเลือกจะกระทำ) ซึ่งเป็นสิ่งที่อัลลอฮฺยืนยันด้วยอาตมันพระองค์เอง เช่น คุณลักษณะอิสติวาอ์ (การอยู่สูงเหนือพ้นบัลลังก์) อัน-นุซูล (การเสด็จลงมายังฟากฟ้า)

ขอความกรุณาอีกนิดน่ะครับ

5
ลุงได้ไปอ่านเจอในเวป www.islamweb.net เขาบอกว่า
โดยพวกเขา (นักคิดอัล-อะชาอิเราะฮฺ) ได้สร้างวาทกรรมที่โดดเด่นว่า “แนวทางของชาวสะลัฟ (กัลยาณชนรุ่นแรก) เป็นแนวทางที่ปลอดภัยกว่า และแนวทางของชาวเคาะลัฟ (ชนรุ่นหลัง) เป็นแนวทางที่รอบรู้และฉลาดกว่า” กล่าวคือแนวคิดของการตีความในหมู่ชนรุ่นหลังย่อมรู้ดีและฉลาดกว่าแนวคิดของชนชาวสะลัฟที่มอบหมายข้อเท็จจริง  ซึ่งวาทกรรมนี้ส่อให้เห็นเจตนาดูแคลนแนวทางของชาวสะลัฟในความรู้และความเข้าใจของพวกเขาต่อเรื่องคุณลักษณะของอัลลอฮฺ การดูถูกดูแคลนเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นนอกจากด้วยปากของผู้ที่ไม่รู้ฐานะและสถานภาพชาวสะลัฟในความรู้ความเข้าใจในศาสนาอย่างแท้จริง ....
ช่วยชี้แจงข้อกล่าวหานี้ด้วยครับ

6
ส่วนมากมุสลิมที่สาม จว.ใต้ ในวันอีด(รายอฟิตรีและรายออัฎฮา) จะไปเยี่ยมกุโบรกัน(สุสาน ที่ไม่ใช่ในวันรายอแนน่ะครับ) วะฮะบีบอกว่า เป็นการปฏิบัติตามที่ผิดเจตนารมณ์ของวันอีด เพื่อเฉลิมฉลองยินดีปรีดากัน แต่การไปกุโบรเป็นการรำลึกความตาย เศร้าและร้องให้ ซึ่งไม่เหมาะที่จะกระทำกันในวันอีด .. ขอผุ้รู้ช่วยกระจ่างครับว่า มีฮาดิษห้ามไปเยี่ย่มกุโบรในวันอีดหรือไม่ หรือ ถูกต้องใหมครับที่เขาอ้างมาและเราควรปฏิบัติเช่นนั้น และความกระจ่างอื่นๆเพิ่มเติมด้วยครับ

ขอบคุณที่แบ่งปันความรู้กันครับ

7
ขอหลักฐานและประวัติเกี่ยวกับ เมาลิด ด้วยครับ .. โดนโจมตีมาเยอะ ไม่รู้จะตอบยังไง วอนผู้รู้ช่วยตอบทีน่ะ

9
ตามที่สำนักซาลาฟีย์ ( วะฮาบีย์ ) ได้อ้างถึง อุตริกรรม ( บิดอะฮฺ ) ในเดือนชะอฺบาน คือ
1 การปฏิบัติอิบาดะฮฺ (อ่านยาซีน สามครั้ง ) ในค่ำคืนที่ 15 (คืนนิศฟุชะอฺบาน ) ซึ่งมีหลักฐานหะดีษ ล้วนเป็นหะดีษที่มีสายรายงานอ่อน ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงและยืนยัน
2 การเจาะจงละหมาดกิยามุลลัยในค่ำคืนวันที่ 15 ชะอฺบาน เพราะเชื่อว่ามีความประเสริฐเหลื่อมล้ำกว่าค่ำคืนอื่นๆ หรือมีความเชื่อว่ามีผลบุญมากมายมหาศาลนั้น เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีปรากฏในแบบฉบับของท่านนบี
3 อะกีดะฮฺและความเชื่ออื่นๆ เกี่ยวกับเดือนชะอฺบาน

วอนผู้รู้ช่วยเคลียร์ ช่วยกระจ่างทีครับ

10
ลุงได้อ่านมาว่า "มุอตาซิละห์ได้พยายามตีความโองการอัลกุรอานให้อยู่ภายใต้ปราชญ์และปรัชญาของพวกเขา" นี่คือสาเหตุหรือเปล่า ที่อะชาอิเราะห์จำเป็นต้องตีความ(ตะวีล)โองการอัลกุรอาน เพื่อตอบโต้แนวคิดของกลุ่มมุตาซิละห์
ขอความกระจ่างด้วยครับ

จากลุงมะพร้าว ผู้เรียนมาน้อย

11
วอนผู้รู้ ช่วยอธิบายสาเหตุและเหตุผล ที่อะชาอีเราะห์และอุลามะฮฺคอลัฟ ต้องตีความบางส่วนของโองการอัลกุรอ่าน ซื่งผิดกับอุลามะฮฺซะลัฟ ที่มอบหมายความหมายโองการนั้นให้พระองค์อัลลอฮ

ญาซากุมุลลอฮุลค็อยรฺ

12
ถูกต้องครับ.. การชี้ขาดต่อทุกๆสิ่งที่ถูกสร้าง เป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ไม่ใช่สิทธิของมนุษย์ มนุษย์มีสิทธิแค่รับรู้ น้อมรับและปฏิบัติตาม ไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงหุก่ม(ชี้ขาด) ของอัลลอฮ
อัลลอฮทรงสร้างชั้นฟ้าและชั้นดินและอื่นๆ เพื่อให้เราคิดและรำลึกถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์ ไม่ได้ทรงสร้างอย่างไร้สาระ ไร้ประโยชน์อย่างแน่นอน
๑ อัลลอฮทรงมีจริง "วายิบ"มีจริง เพราะสติปัญญาเชื่อว่า ทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้น ถูกสร้างขึ้น ย่อมมีผู้สร้าง เป็นไปไม่ได้ที่มันจะเกิดขี้นเอง
๒ อัลลอฮทรงบอกกับมนุษย์ ว่าทุกสิ่งมีชีวิต "วายิบ" ต้องลิ้มรสความตาย หลังจากนั้น จะฟื้นคืนชีพอีกครั้ง
๓ อัลลอฮทรงสร้างธรรมชาติ สร้างต้นมะพร้าว "วายิบ" ผลที่ออกมาต้องเป็นลูกมะพร้าว

แต่ประเด็นคำถามอยู่ที่ว่า ทุกๆการชี้ขาด (หุก่มทั้งสาม) มีจุดประสงค์แตกต่างกันอย่างไร เพื่ออะไร และเราได้ประโยชน์จากการเรียนรู้ หุก่มทั้งสามคืออะไร ?
เพื่อที่เราจะได้ให้ความกระจ่างต่อคนอื่นๆที่ยังไม่เข้าใจหุก่มแบบนี้ คนเขาจะได้รู้้และเข้าใจว่า การเรียนหุก่มทั้งสาม ไม่ได้ไร้สาระ ไร้ประโยชน์ ไม่ได้เสียเวลาเปล่าอย่างแน่นอน

วอนผู้ที่เคยฟังโต๊ะครูสอนมา ขอช่วยตอบที

13
ตามหัวข้อเลยน่ะครับ วอนผู้รู้ช่วยตอบ ช่วยอธิบาย ช่วยกระจ่าง เกี่ยวกับจุดประสงค์และประโยชน์ของการเรียนรู้ หุก่มอาริฎ หุก่มอาดัต และหุก่มอากัล ด้วยครับ

หน้า: [1]