แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - charif

หน้า: [1]
1
อ้างถึง
วันนี้ฟัง tvmuslim บอกว่าสามีกับภรรยาถูกเนื้อต้องตัวได้ไม่เสียน้ำละหมาด งงจังเพราะเท่าที่ทราบไม่ได้ ขอท่านผู้รู้ช่วยตอบข้อข้องใจหน่อยครับ


ทีวี มุสลิมเป็นเผยแพร่แนวทางของวะฮาบีย์ครับ จะเลือกใช้ฟิกฮ์หรือฮุกมตามที่ตนถนัด บางทีก็เลือกใช้ฟิกฮ์ของอีม่ามทั้ง 4 บางทีก็ยึดตามแนวทางสายอุลามะของวะฮาบีย์โดยตรง เรื่องของการเสียน้ำละหมาดนั้นมีการเห็นแตกต่างกันระหว่างซอฮาบะของท่านนบี แบ่งออกเป็น3ฝ่าย

1เมื่อมีการสัมผัสกันเสียน้ำละหมาดทุกกรณี

2.เมื่อมีการสัมผัสทุกรณีจะไม่เสียน้ำละหมาด

3.เมื่อมีการสัมผัสนั้นดูกรณีว่าเจตนาหรืออารมณ์ของผู้สัมผัสและผู้ถูกสัมผัสถ้ามีอารรมณ์จากการสัมผัสก็เสียน้ำละหมาดและถือว่าผู้สัมผัสนั้นเสียน้ำละหมาด[/colo
...

  :-[การสัมผัสภรรยานั้น เป็นปัญหาที่บรรดาปวงปราชญ์นิติศาสตร์อิสลามจากมัซฮับทั้งหลาย มีความเห็นที่ขัดแย้งและแตกต่างกันอย่างกว้างขวาง และในเรื่องดังกล่าวนี้ ก็ได้มีหลักฐานต่างๆ มากมายที่ถูกถ่ายทอดกันมา และบรรดาปวงปราชญ์ทั้งหลายเหล่านี้ ต่างก็ได้พยายามทำความเข้าใจในบรรดาโองการต่างๆ จากอัล-กุรอานและพยายามทำความเข้าใจบรรดาหะดีษต่างๆ เพื่อใช้ในการวินิจฉัยปัญหาศาสนา ซึ่งบรรดาปวงปราชญ์ทั้งหลายเหล่านี้ คือ มุจญตะฮิด(นักวินิจฉัยปัญหาศาสนา) ผู้ได้รับผลตอบแทนจากอัลลอฮฺ ตะอาลา ทั้งสิ้น





ส่วนบรรดานักปราชญ์นิติศาสตร์อิสลามในมัซฮับชาฟีอี(รฮ)ของเรา คือ ปวงปราชญ์ในมัซฮับอัช-ชาฟิอีย์ มีความเห็นว่า “แท้จริงการที่ผู้ชายได้สัมผัสผิวหนังภรรยาของเขา และได้สัมผัสผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่มะหฺรอม(เพศตรงข้ามที่ห้ามแต่งงานด้วย) ของเขานั้น ถือว่า ทำให้เสียน้ำละหมาด ถึงแม้ว่าจะเป็นการสัมผัสที่ปราศจากอารมณ์ทางเพศก็ตาม”


โดยปราชญ์กลุ่มนี้ได้อ้างหลักฐานจากอัล-กุรอาน ที่ว่า ..

وَإِنْ كُنْتُمْ جُنُبًا فَاطَّهَّرُوا وَإِنْ كُنْتُمْ مَرْضَى أَوْ عَلَى سَفَرٍ أَوْ جَاءَ أَحَدٌ مِنْكُمْ مِنَ الْغَائِطِ أَوْ لَامَسْتُمُ النِّسَاءَ فَلَمْ تَجِدُوا مَاءً فَتَيَمَّمُوا صَعِيدًا طَيِّبًا

“และหากพวกเจ้ามีญะนาบะฮฺ ก็จงชำระร่างกายให้สะอาด และหากพวกเจ้าป่วย หรืออยู่ในการเดินทาง หรือคนใดในหมู่พวกท่านมาจากการถ่ายทุกข์ หรือท่านทั้งหลายได้สัมผัสสตรีมา แล้วพวกเจ้าไม่พบน้ำก็จงมุ่งสู่ดินที่ดี” (ซูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ : 6)


ซึ่งท่านอิมามอัช-ชาฟิอีย์ ได้ทำการอธิบายโองการที่ว่า ..

لَامَسْتُمُ النِّسَاءَ

“ท่านทั้งหลายได้สัมผัสสตรี” (ซูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ : 6)

"การสัมผัส" ตรงนี้หมายถึง การสัมผัสกันระหว่างผิวหนังของคนๆ หนึ่งกับผิวหนังอีกคนที่เป็นเพศตรงข้าม ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่การมีเพศสัมพันธ์กันก็ตาม(ก็ทำให้เสียน้ำละหมาด) ด้วยเหตุผลดังนี้ คือ ..

1. แท้จริงอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้กล่าวถึงการมีญะนาบะฮฺ ซึ่งเป็นเรื่องหะดัษใหญ่ไปแล้วในช่วงแรกของอายะฮฺ หลังจากนั้นอัลลอฮฺ ตะอาลา ก็มากล่าวถึงการถ่ายทุกข์ต่อและก็ตามมาด้วยการสัมผัสสตรี ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่าเป็นหะดัษเล็ก(คือ ช่วงแรกกล่าวถึงหะดัษใหญ่ก่อน และกล่าวตามด้วยหะดัษเล็กทีหลัง) เช่น การถ่ายทุกข์ เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่า การถ่ายทุกข์นั้นไม่ใช่หะดัษใหญ่  ดังนั้น จุดประสงค์ของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่กล่าวในอายะฮฺข้างต้นตรงนี้ คือ การสัมผัสด้วยมือ ไม่ใช่หมายถึง การมีเพศสัมพันธ์(เพราะการสัมผัสผิวหนังของสตรีนั้น เป็นแค่หะดัษเล็กเท่านั้น)

2. ความชัดเจนด้านภาษาอาหรับ คำว่า “لامس” หมายถึง “การสัมผัส”  เหมือนกับที่เราอ่านในโองการอื่นที่ว่า ..

فَلَمَسُوهُ بِأَيْدِيهِمْ

“แล้วพวกเขาก็ได้สัมผัสคัมภีร์นั้นด้วยมือของพวกเขาเอง” (ซูเราะฮฺ อัล-อันอาม : 7)

3. และปราชญ์กลุ่มนี้ยังได้อ้างหลักฐานอีกว่า มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัร (ร.ด.) ได้กล่าวว่า ..

قبلة الرجل امرأته وجسها بيده من الملامسة، فمن قبل امرأته، أو جسها بيده، فعليه الوضوء

“การจูบภรรยาของชายคนหนึ่ง และการสัมผัสแตะต้องตัวของนางด้วยมือนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำที่เรียกว่า การสัมผัส(อัล-มุลามะสะฮฺ) ดังนั้น ผู้ใดก็ตามที่ได้จูบภรรยาของเขา หรือได้สัมผัสแตะต้องตัวนางด้วยมือของเขา ดังนั้นก็จำเป็นสำหรับเขาที่จะต้องอาบน้ำละหมาด”  (บันทึกโดย ท่านอิมามมาลิก ในตำรา อัล-มุวัฏเฏาะอฺ ด้วยสายรายงานที่เศาะเฮี๊ยะหฺ)

ท่านอิมาม อัล-บุญัยริมีย์ ได้กล่าว่า ..

اعلم أن اللمس ناقض بشروط خمسة: أحدها: أن يكون بين مختلفين ذكورة وأنوثة. ثانيها: أن يكون بالبشرة دون الشعر والسن والظفر. ثالثها: أن يكون بدون حائل. رابعها: أن يبلغ كل منهما حدا يشتهى فيه. خامسها: عدم المحرمية

 “พึงทราบไว้เถิดว่า การสัมผัสที่จะทำให้เสียน้ำละหมาดได้นั้น ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข 5 ประการด้วยกัน คือ ..

1.   ต้องเป็นการสัมผัสกันระหว่างเพศชายกับเพศหญิง

2.   ต้องเป็นการสัมผัสกันระหว่างผิวหนังด้วยกัน ไม่ใช่ไปสัมผัสกับเส้นผม ,เส้นขน ,ฟัน หรือเล็บ

3.   ต้องเป็นการสัมผัสกันโดยปราศจากสิ่งปิดกั้น

4.   ต้องเป็นการสัมผัสกันโดยที่ทั้งสองคนต่างก็มีอารมณ์ใคร่ด้วยกันทั้งคู่

5.   ต้องเป็นการสัมผัสกับผู้ที่ไม่ใช่มะห์รอม (เพศตรงข้ามที่แต่งงานกันไม่ได้)

ดู ตำรา  หาชียะฮฺ อัล-บุญัยริมีย์  โดย ท่านอิมาม อัล-บุญัยริมีย์  เล่มที่ 1  หน้าที่ 211


ส่วนทัศนะของปราชญ์มัซฮับหะนะฟีย์ มีความเห็นว่า แท้จริงการสัมผัสสตรีนั้น ไม่ทำให้เสียน้ำละหมาดแต่อย่างใด ไม่ว่าสตรีนางนั้นจะเป็นภรรยา หรือเป็นสตรีทั่วไป หรือเป็นมะหฺรอม(เพศตรงข้ามที่แต่งงานกันไม่ได้) ก็ตาม และไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสโดยมีอารมณ์ใคร่ หรือสัมผัสโดยไม่มีอารมณ์ใคร่ก็ตาม ก็ไม่ทำให้เสียน้ำละหมาดแต่อย่างใด

ท่านอิมาม อัซ-ซะรอคซีย์  กล่าวว่า ..

لا يجب الوضوء من القبلة ومس المرأة، بشهوة أو غير شهوة

“ไม่จำเป็นจะต้องอาบน้ำละหมาดใหม่ สำหรับผู้ที่จูบหรือสัมผัสสตรี ไม่ว่าจะสัมผัสด้วยอารมณ์ใคร่หรือไม่มีอารมณ์ใคร่ก็ตาม”

ดู ตำรา อัล-มับสูฏ โดยท่านอิมาม อัซ-ซะรอคซีย์  เล่มที่ 1  หน้าที่ 121


โดยปราชญ์กลุ่มนี้ได้อ้างหลักฐานต่างๆ มากมายเช่นกัน ส่วนหนึ่งคือ ..

1. แท้จริงหลักการเดิมๆ นั้นคือ มีความถูกต้องในความสะอาด(สำหรับการสัมผัสสตรี) และถือว่าไม่เสียน้ำละหมาดนอกจากจะต้องมีหลักฐานที่ถูกต้องและชัดเจนมารองรับเท่านั้น

2. มีหะดีษเศาะเฮี๊ยะหฺบางส่วนที่มาบ่งชี้ว่าแท้จริงท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ได้อาบน้ำละหมาดใหม่ เมื่อได้สัมผัสกับพระนางอาอิชะฮฺ(ร.ด.) ซึ่งพระนางอาอิชะฮฺ(ร.ด.) ได้กล่าวว่า ..

كُنْتُ أَنَامُ بَيْنَ يَدَيْ رَسُولِ اللهِ صلى الله عليه وسلم وَرِجْلاَيَ فِي قِبْلَتِهِ، فَإِذَا سَجَدَ غَمَزَنِي

“ฉันเคยนอนอยู่ต่อหน้าท่านรสูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมในขณะที่เท้า ทั้งสองของฉันพาดไปทางทิศกิบลัตของท่าน ดังนั้นเมื่อท่านสุญูดลงท่านก็จะเอามือมาสัมผัสฉัน” (บันทึกโดย บุคอรีย์-มุสลิม)


และพระนางอาอิชะฮฺ(ร.ด.) ยังได้กล่าวอีกว่า ..

فَقَدْتُ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لَيْلَةً مِنَ الْفِرَاشِ فَالْتَمَسْتُهُ فَوَقَعَتْ يَدِي عَلَى بَطْنِ قَدَمَيْهِ

“ในคืนหนึ่งฉันได้คลำหาท่านรสูล(ซ.ล.) ตรงที่นอน แล้วฉันก็ได้สัมผัสกับท่านรสูล(ซ.ล.) แล้วมือของฉันก็ได้วางอยู่บนฝ่าเท้าทั้งสองของท่าน” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 486)

3. ส่วนในโองการที่ว่า ..

لَامَسْتُمُ النِّسَاءَ

“ท่านทั้งหลายได้สัมผัสสตรี” (ซูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ : 6)

“การสัมผัส” ตรงนี้หมายถึง “การมีเพศสัมพันธ์”  ดังคำตรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ได้กล่าวถึงเรื่องของพระนางมัรยัม ว่า ..

لَمْ يَمْسَسْنِي بَشَرٌ

“ทั้ง ๆ ที่มิได้มีบุรุษใดแตะต้องข้าพระองค์” (ซูเราะฮฺ อาละอิมรอน : 47)

และนี่ยังเป็นทัศนะของกลุ่มหนึ่งจากบรรดาเศาะหาบะฮฺ อาทิ ท่านอะลีย์ บิน อะบีฏอลิบ ,ท่านอิบนุ อับบาส อีกทั้งยังถูกรายงานมาจากท่านอุมัร อิบนุ ค็อฏฏอบ เช่นกัน

ดู ตำรา อัล-มุศ็อนนัฟ  โดย ท่านอับดุรรอซซาก อัศ-ศอนอานีย์ เล่มที่ 1  หน้าที่ 134


แท้จริงปราชญ์จากมัซฮับมาลิกีย์และปราชญ์จากมัซฮับหัมบะลีย์ ได้ทำการรวมหลักฐานจากทั้งสองกลุ่มข้างต้น และมีความเห็นว่า การกระทบหรือสัมผัสที่ทำให้เสียน้ำละหมาด คือ การกระทบหรือสัมผัสกันระหว่างผิวหนังกับผิวหนังโดยมีอารมณ์ใคร่  นี่คือเป้าหมายของโองการจากอัล-กุรอาน แต่หากว่าเป็นการกระทบหรือสัมผัสกันโดยปราศจากอารมณ์ใคร่ ดังที่มีหะดีษรายงานมาจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ(ร.ด.) ก็ถือว่า ไม่เสียน้ำละหมาดแต่ประการใด

ดู ตำรา  หาชียะฮฺ อัด-ดะสูกีย์  โดย ท่านอิมาม อัด-ดะสูกีย์  เล่มที่ 1  หน้าที่ 411  ,ตำรา  ชัรหุ มุนตะฮา อัล-อิรอดาต  โดย ท่านอิมาม อัล-บุฮูตีย์  เล่มที่ 1  หน้าที่ 73  ,ตำรา  อัล-มุฆนีย์  โดย ท่านอิบนุ กุดามะฮฺ  เล่มที่ 1  หน้าที่ 142


และสุดท้ายแล้วสิ่งที่ถูกยึดถือในการฟัตวาชี้ขาดของสถาบันชี้ขาดปัญหาศาสนาแห่งนี้ คือ ยึดตามทัศนะของปราชญ์ในมัซฮับอัช-ชาฟิอีย์ ซึ่งเป็นทัศนะที่รอบคอบและปลอดภัยที่สุด โดยอาศัยการบ่งชี้ที่ชัดเจนจากอัล-กุรอาน ส่วนหะดีษของพระนางอาอิชะฮฺ(ร.ด.) นั้น แท้จริงท่านอิมามอัน-นะวะวีย์ ได้ให้ทัศนะว่า ..

حملوا الحديث على أنه غمزها فوق حائل، وهذا هو الظاهر من حال النائم، فلا دلالة فيه على عدم النقض

“หะดีษนี้ถูกยึดอยู่บนความเข้าใจที่ว่า แท้จริงท่านรสูล(ซ.ล.) ได้สัมผัสพระนางอาอิชะฮฺ(ร.ด.) โดยมีสิ่งปิดกั้นอยู่ และนี่คือสิ่งที่ปรากฏอยู่ภายนอกจากสภาพของผู้ที่นอน ดังนั้น ไม่มีหลักฐานใดเลยที่มาบ่งชี้อย่างชัดเจนว่า การสัมผัสสตรีหรือภรรยานั้น ไม่ทำให้เสียน้ำละหมาด !!”

ดู ตำรา  ชัรหุ มัสลิม  โดย ท่านอิมาม อัน-นะวะวีย์  เล่มที่ 4  หน้าที่ 230


ชี้ขาดโดย สถาบันดาอิเราะฮฺ อัล-อิฟตาอฺ อัล-อาม อัล-อุรดุน (สถาบันชี้ขาดปัญหาศาสนาแห่งประเทศจอร์แดน)

ที่มา : http://aliftaa.jo/index.php/fatwa/show/id/1895


วัลลอฮุ ตะอาลา อะลา

จากคุณ  MUFFTY



หมายเหตุ-รบกวนผู้ที่มีคำถามปัญหาศาสนาทุกท่านช่วยตรวจสอบคำถามคำตอบในกระทู้ถามตอบปัญหาศาสนา ก่อนทุกครั้งเพื่อความรวดเร็วในการรอคอยครับ  ญาซากามุลลอฮ์คอยรอน

http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php?topic=2409.msg16637#msg16637

http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php/topic,4672.0.html

2
อ้างถึง
ผมต้องการจะเริ่มศึกษาตั้งแต่แรกเอาความรู้ให้แน่น ควรจะเริ่มศึกษาวิชาไหนก่อนเป็นอันดับแรกและตามลำดับให้เป็นสเต็ปๆไปอะครับ รบกวนช่วยบอกชื่อหนังสือและซื้อที่ไหน(เอาสายชาฟีอีย์อะครับหรือบอกลิงค์ที่นี้มีก็ได้ครับตามลำดับเพาะผมเพิ่งเข้ามาเล่นผมยังไม่ค่อยรู้อะครับ)

จริงๆแล้วอิสลามประกอบด้วย   3 แกนหลักใหญ่ๆ

1.เรื่องของหลักการศรัทธา(ซึ่งมีในรูกนอีหม่าน 6 ประการ)
2.เรื่องของหลักการปฏิบัติ(รูก่นอิสลาม)ซึ่งในเรื่องการปฎิบัติตามหลักชารีอัตนั้นมี อยู่ด้วยกัน 4 มัสหับ
3.เรื่องของหลักจริยธรรม(ตะซะวุฟ)

  สำคัญสุดๆคือข้อหนึ่ง คือหลักอะกีดะหรือการยึดมั่นต่อพระเจ้าและคุณลักษณะของพระเจ้า
    คำตรัสของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ที่ทรงวางบทบัญญัติข้อบังคับแก่มนุษย์ทั้งหมดว่า

    قُلِ انظُرُواْ مَاذَا فِي السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ وَمَا تُغْنِي الآيَاتُ وَالنُّذُرُ عَن قَوْمٍ لاَّ يُؤْمِنُونَ

  ?จงประกาศเถิด  ท่านทั้งหลายจงพิจารณาเถิดว่า  อะไรบ้างที่มีอยู่ในฟากฟ้าและแผ่นดิน(ซึ่งล้วนเป็นสัญลักษณ์เตือนให้ยอมจำนนในเอกานุภาพและเดชานุภาพของอัลเลาะฮ์ทั้งสิ้น) และบรรดาสัญลักษณ์ต่าง ๆ (ที่แสดงถึงเอกานุภาพและเดชานุภาพของอัลเลาะฮ์) และบรรดา(ศาสนทูต)ผู้ตักเตือนนั้น  ย่อมไม่ยังประโยชน์แก่กลุ่มชนที่ไม่ศรัทธา?  ยูนุส 10

อัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ทรงบัญชาใช้บรรดาผู้มีสติปัญญาทั้งหมด  ให้ทำการใคร่ครวญ  พิเคราะห์ถึงมูลเหตุที่สมเหตุผลสมผลและพระองค์ก็ไม่ได้บัญชาใช้พวกเขาไปมากกว่านั้น  เพราะผู้มีสติปัญญาที่ได้ใช้สติปัญญามาศึกษาวิเคราะห์ถึงมูลเหตุอันสมผลนี้แล้ว  แน่นอนว่า  ความรู้ของเขา จักชักนำไปสู่ความมั่นใจต่อบรรดาผลลัพธ์ที่ได้รับ

ดังนั้น  จึงดูเหมือนว่า   ในขณะที่พระองค์ทรงบัญชาให้ปวงบ่าวทำการพิจารณาด้วยสติปัญญาของพวกเขาว่า  อะไรบ้างหรือ? ที่อยู่ในบรรดาฟากฟ้าและแผ่นดิน  แล้วพระองค์ก็ตรัสแก่พวกเขาว่า  หากพวกท่านได้กระทำสิ่งดังกล่าวแล้ว(คือพิจารณาด้วยสติปัญญา)  พวกเขาก็จะรับรู้ได้ ? ถึงกฎสัมพันธ์ระหว่างมูลเหตุอันสมเหตุสมผลกับบรรดาผลลัพธ์ที่ได้ ? ว่า  แท้จริง  ให้กับภพจักรวาลนี้มีผู้สร้างมันขึ้นมา  และผู้สร้างนั้นคือผู้ทรงเดชานุภาพ  ทรงความปราณีในการบริหารจัดการ  อีกทั้งทรงยุติธรรมในอำนาจคำบัญชาของพระองค์ 

ดังนั้น ผู้ใดทำการวิเคราะห์ถึงมูลเหตุต่าง ๆ ของพิภพจักรวาลทั้งหลายและเขาก็มีความรอบรู้อย่างครอบคลุมเกี่ยวกับมัน  หลังจากนั้น  เขาก็หันเหออกจากสิ่งที่นำเขาไปสู่บรรดาผลลัพธ์ต่าง ๆ ในการมีของอัลเลาะฮ์  การรู้จัก(มะริฟัต) และมีความเกรงกลัวต่อพระองค์  แน่นอนว่า  เขาย่อมเป็นผู้ที่โง่เขลา  และเขาต้องรับผิดชอบจากความโง่เขลาอันนั้น  เนื่องจากตัวของเขาก็คือผู้ที่จะมาทำการตัดสินตัวของเขาเองในวันโลกหน้า

ศึกษาเพิ่มได้จากลิงค์นี้ครับ
http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php/topic,7.msg24.html#msg24 หรือ
http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php/topic,5.0.html
http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php/board,4.0.html

3
 :salam:
 
ไปเจอเวปวะฮาบีย์ซึ่งเป็นเวปหรือกระบอกเสียงของ ทีมงาน ทีวีมุสลิม ช่องบรรจงฯ
ซึ่งเป็นทีมงานคนหน้าเดิม เช่น อ.อามีน อ.ชารีฟ อ.อะลีคานฯลฯ ซึ่งขณะนี้ ก็ขะมักขะเม้น ในเรื่องของการแก้ไขข้อผืดพลาดและแก้ต่าง จากการที่พลาดท่าในเรื่องอะกีดะ ผลจากการดีเบส ระหว่าง อาชาอีเราะ  กับวะฮาบีย์ใครคืออะลุ้ลซุนนะวัลญามาอะฮ์ ระหว่าง อ.ฮารีฟีน กับอ.อาลีคาน...
จากกวันนั้นจนถึงวันนี้ พวกเขาเสียหน้าอย่างรุนแรงเพราะไม่สามารถลบล้างหรือเอาชนะการดีเบสในวันนั้นได้ กลับถูกตำหนิจากผู้คนมากมายจากหลายๆกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยและเห็นด้วย และส่วนมากคือ การได้รู้ธาตุที่แท้จริงของวะฮาบีย์สายสุดโต่ง....โดยเฉพาะ..ทีมงานจากทีวีมุสลิม ช่องอ.บรรจง

วะฮาบีย์กลุ่มนี้ทะเลาะไม่เลิกแม้กระทั้งวิจารณ์ คำพูดของ อ.ริดอ ที่ออกมาปกป้องกลุ่มอิควานฯและยังแขวะ อะกีดะแบบอาชาอิเราะอย่างไม่เกรงกลัวบาปรวมทั้งอุลามะที่ชื่อ อิบนุฮาญัรฯ ลองเข้าไปดูครับ
     

                      http://www.antirafidah.com/

อ่านดูบทความวิจารณ์นี้ดูครับพี่น้อง

“ความรู้เพียงจุดเดียว คนโง่ทำให้มีหลายจุด”

อ.อาลีคานได้ยกคำพูดของอ.ริฎอ สะมะดี ได้เขียนตอนหนึ่งไว้ว่า
 
    “บุคคลที่ทำงานศาสนา แม้นว่างานศาสนาของเขาเพียงเป็นการรวบรวม เรียบเรียง หรือแปลบทความ และนำเสนอแก่ปวงชนที่มีทั้งผู้ศรัทธาและผู้ปฏิเสธศรัทธา จำต้องมีความรู้สามประการคือ
 
1. ความรู้เกี่ยวกับตัวบทที่แนะนำคนทำงานศาสนาให้เข้าใจสิ่งที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม สิ่งที่ควรและไม่ควร เช่น อุดอูอิลาสะบีลิร็อบบิกะ บิลฮิกมะติ วัลเมาอิเซาะติลหะซะนะฮฺ
 
ادْعُ إِلَىٰ سَبِيلِ رَبِّكَ بِالْحِكْمَةِ وَالْمَوْعِظَةِ الْحَسَنَةِ
 
"จงเรียกร้องสู่แนวทางแห่งพระเจ้าของสูเจ้าโดยสุขุม และการตักเตือนที่ดี" (อันนะหลฺ 125)
 
2. ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์แห่งการทำงานศาสนาและวัตถุประสงค์ของคนที่ลงสนามแห่งดะอฺวะฮฺ เช่น กุลฮาซิฮีสะบีลี อัดอูอิลัลลอฮิ อะลาบะศีเราะติน
 
قُلْ هَـٰذِهِ سَبِيلِي أَدْعُو إِلَى اللَّـهِ ۚ عَلَىٰ بَصِيرَةٍ
 
"จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด “นี่คือแนวทางของฉัน ฉันเรียกร้องไปสู่อัลลอฮ์อย่างประจักษ์แจ้ง" (ยูซุฟ 108)
 
3. ความรู้เกี่ยวกับมารยาทคนทำงานศาสนา เช่น วะตะวาเศาบิลฮักกิ วะตะวาเศาบิศศ็อบรฺ และ วะอัมรุฮุมชูรอบัยนะฮุม
 
وَتَوَاصَوْا بِالْحَقِّ وَتَوَاصَوْا بِالصَّبْرِ
 
"และตักเตือนกันและกันในสิ่งที่เป็นสัจธรรม และตักเตือนกันและกันให้มีความอดทน" (อัลอัศรฺ 3)
 
وَأَمْرُهُمْ شُورَىٰ بَيْنَهُمْ
 
" และกิจการของพวกเขามีการปรึกษาหารือระหว่างพวกเขา" (อัชชูรอ 38)
 
ความรู้สามประการนี้เป็นความรู้พื้นฐานที่คนทำงานศาสนาทุกคนจะต้องมีระดับหนึ่ง หากขาดความรู้เหล่านี้ คนที่ทำงานศาสนาจะเกิดความคลาดเคลื่อนและผิดพลาดบ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ทำงานศาสนาโดยไม่มีแกนนำที่เป็นผู้รู้ อันสอดคล้องกับสิ่งที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เตือนไว้ว่า ในยุคหลังผู้คนจะยึดคนญาเฮเป็นหัวหน้า คนญาเฮนั้นจะให้ข้อชี้แนะอันจะทำให้หัวหน้าหลงผิดและผู้ตามก็หลงผิดไปด้วย”
 
มวลมุสลิมพี่น้องที่เคารพทุกๆท่าน

 
 
วิจารณ์จากอ.อาลีคาน[/b]
ท่านอิมามมาลิก ได้กล่าวไว้ว่า
لن يصلح آخر هذه الأمة إلا بما صلح به أولها
 
ประชาชาติสุดท้ายนี้จะยังไม่เกิดคุณความดีจนกว่าพวกเขาจะเห็นดีเห็นงานต่อประชาชาติรุ่นก่อนหน้านี้เท่านั้น
 
 
 บุคคลที่ต้องการจะเข้ามาทำงานให้ศาสนาของอัลลอฮฺจำเป็นต้องมีหลัก التزكية (การอบรมบ่มใจ) ให้รอดพ้นจากมลทินชิริกฺ เป็นอันดับแรกเริ่มเสียก่อน การที่ริฎออ้างว่าจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับตัวบท ข้าพเจ้ามองเห็นว่าข้ออ้างข้างต้นยังคงมีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงของอัลกุรอาน สิ่งที่นบีนำมาจากอัลลอฮฺ ตลอดจนบรรดานบีทั้งหมดบนโลกนี้ที่พวกท่านต่างก็เริ่มทำงานเผยแผ่ศาสนาของพระองค์ให้กับมวลชนศอฮาบะฮฺ นั่นหมายความว่า التزكية อัตตัซกียะฮฺ การอบรบบ่มซักฟอกขัดเกลา ต้องมาก่อนความรู้ ตามที่พระองค์ทรงตรัสว่า
لَقَدْ مَنَّ اللَّـهُ عَلَى الْمُؤْمِنِينَ إِذْ بَعَثَ فِيهِمْ رَسُولًا مِنْ أَنْفُسِهِمْ يَتْلُو عَلَيْهِمْ آيَاتِهِ وَيُزَكِّيهِمْ وَيُعَلِّمُهُمُ الْكِتَابَ وَالْحِكْمَةَ وَإِنْ كَانُوا مِنْ قَبْلُ لَفِي ضَلَالٍ مُبِينٍ
 
“แน่นอนยิ่ง อัลลอฮฺนั้นทรงมีพระคุณแก่ผู้ศรัทธาทั้งหลาย โดยที่พระองค์ได้ทรงส่งร่อซูลคนหนึ่งจากพวกเขาเองมาในหมู่พวกเขาโดยที่เขาจะได้อ่านบรรดาโองการของพระองค์ให้พวกเขาฟัง และจะทำให้พวกเขาสะอาดและจะสอนคัมภีร์ และความรู้เกี่ยวกับข้อปฏิบัติในบัญญัติศาสนาแก่พวกเขาด้วย และแท้จริงเมื่อก่อนนั้นพวกเขาเคยอยู่ในความหลงผิดอันชัดแจ้ง”[อาลอิมรอน 3:164]
 
ผลลัพธ์ที่เราได้รับจาก وَيُزَكِّيهِمْ وَيُعَلِّمُهُمُ الْكِتَابَ จากโองการดังกล่าวจะเห็นได้ว่า พระองค์อัลลอฮฺได้นำคำว่า التزكية (การขัดเกลาซักฟอก) มานำหน้าคำว่า العلم (ความรู้วิชาการ) เพราะความรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเขาจะต้องซักฟอกหัวใจก่อนเป็นอันดับแรกก่อนจากนั้นความรู้ และภูมิปัญญาจึงจะเกิดขึ้นในลำดับต่อมา คนเราเมื่อขาด التزكية (การซักฟอก) ความรู้ที่เขามีอยู่หรือวิชาการที่เขารักษาท่องจำมันไว้ มันก็จะกลับกลายเป็น الشهوة (อารมณ์ชั่วร้าย) อัชชะฮฺวะฮฺ และ الشبهة ข้อคลุมเครือเคลือบแคลบสงสัยขึ้นมาทันทีภายหลัง จึงสรุปตรงนี้ได้ว่า أسوأ أنواع الضلالة “เลวที่สุดของขบวนการลุ่มหลงจมปลัก” ก็คือการนำ الشبهات ข้อคลุมเครือ อัชชุบฮาต มาคละเคล้ากับ الشهوات (อารมณ์ความต้องการ) อัชชะฮะวาต นั่นเอง เพราะขาดการขัดเกลาที่ยังผล
 
 ฉะนั้นเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ใครคือผู้ทรงความรู้ที่ผ่านการซักฟอกจิตใจมาแล้วเพราะธรรมชาติเดิมของมนุษย์ทุกคนอยู่บน ضلا لة การลุ่มหลงออกจากทางนำจากสาเหตุของความอวิชชา และนี่คือข้อที่แตกต่างทางอะกีดะฮฺ(หลักเชื่อมั่น) ระหว่างกลุ่มสะลัฟมวลชนยุคแรกกับพวกอัชอะรียะฮฺ อัลกุลลาบียะฮฺ (อัลญะฮฺมียะฮฺ)
 
พระองค์อัลลอฮฺตรัสว่า
 

وَإِنْ كَانُوا مِنْ قَبْلُ لَفِي ضَلَالٍ مُبِينٍ
 
และแม้ว่าแต่ก่อนนี้พวกเขาอยู่ในการหลงผิดอย่างชัดแจ้งก็ตาม [อัลญุมุอะฮฺ 62:2]
 
คนใดที่ไม่ تزكية (ซักฟอกตนเอง) ก็จะเกิดการ الظلم (อธรรม) อัซซุลมฺ กับตนเอง จนเป็นเหตุให้เกิด الجهل (ความโฉดเขลา) อัลญะฮฺลุ ซึ่งนำไปสู่ อัชชุบุฮาต ข้อคลุมเครือเคลือบแคลงสงสัย จนกลายเป็น ชะฮฺวะฮฺ (อารมณ์ใฝ่ต่ำ) ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากการที่เขาไม่ทำการ التزكية อัตตัซกียะฮฺ (ซักฟอกขัดเกลาตนเอง) ดังเช่นเหล่าผู้รู้นักวิชาการที่อยู่บนการ ضلالة ลุ่มหลงออกจากทางนำ ในสังคมของเราที่เจอเช่นนี้ส่วนมากก็เป็นผู้รู้กันทั้งนั้น เพราะสักแต่รู้แบบมีภูมิปัญญาทว่าเอาตัวไม่รอดจากภาวะที่ขาดการ التزكية (ไม่ซักฟอกจิตใจ) นั่นเอง เพราะ حكمة วิทยปัญญา และ بصيرة การประจักษ์แจ้ง และ الموعظة (การตักเตือนที่ดี) มันถูกกลั่นกลองออกมาจาก التزكية (การซักฟอกขัดเกลาอบรมบ่มนิสัย) ทั้งหมด

ริฎอกล่าวว่า: “โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ทำงานศาสนาโดยไม่มีแกนนำที่เป็นผู้รู้ อันสอดคล้องกับสิ่งที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เตือนไว้ว่า ในยุคหลังผู้คนจะยึดคนญาเฮเป็นหัวหน้า คนญาเฮนั้นจะให้ข้อชี้แนะอันจะทำให้หัวหน้าหลงผิดและผู้ตามก็หลงผิดไปด้วย
 
อ.อาลีคาน
ตอบ: กลุ่มที่ริฎอหมายถึง ผมคิดว่าพวกเขากำลังถูกยัดเยียดให้ร้ายอย่าง مظلوم (ถูกอธรรม) มากกว่า เพราะอะไร? ก็ผมเห็นกลุ่มเหล่านี้พวกเขาโทรปรึกษาอาจารย์ปราโมทย์ ศรีอุทัย อาเหล่มผู้ทรงคุณวุฒิจากจังหวัดภาคใต้ และผู้รู้หลายๆท่าน นอกจากนี้พวกเขาก็โทรมาปรึกษาหารือกับผมอยู่เป็นประจำสม่ำเสมอในทางวิชาการ ยิ่งไปกว่านั้นจากประสบการณ์ที่พบเจอผมเห็นพวกเขาเปี่ยมไปด้วยความรักอันมีต่อแนวทางการดะอฺวะฮฺของอิหม่าม (ชัยคุ้ล    อะกีดะฮฺ) มุฮำมัด บินอับดุลวะฮาบ อัตตะมีมียฺ อิหม่ามผู้ที่มาเขย่าขวัญพวกบิดอะฮฺ พวก        ซินดีก(นอกศาสนา) เช่น อัลญะฮฺมียะฮฺ อัลมั๊วะตาซีละฮฺ อัลอัชอะรียะฮฺ อัลก็อดรียะฮฺ ฯลฯ จากกลุ่มที่ถูกจัดให้อยู่ใน 73 พวกที่นบีได้ตราหน้าเอาไว้ในอัลหะดิษ อัศศ่อเหี๊ยะ
 
จากที่ผมได้มีโอกาสคลุกคลีสนทนากับพวกเขา สิ่งที่เราพบก็คือพวกเขามีแต่การเอ่ยถึงแต่อิหม่ามอะหมัด อิมามอิบนุตัยมียะฮฺ อิมามอิบนุก็อยยิม อิหม่ามอะบูอุษมาน อัดดารีมียฺ    อิบนุคุซัยมะฮฺ อิหม่ามอัลลาละกาอียฺ อิมามอิบนุมันดะฮฺ อิมามอัลอาญุรรียฺ อิมามอับนุบัตเฎาะฮฺ ตลอดการพูดคุยทางวิชาการของพวกเขาซึ่งพอที่จะสะท้อนให้เห็นถึงระดับของความรู้ที่มีประสิทธิภาพและความฝักใฝ่แนวทางสะลัฟที่มีอยู่ในตัวพวกเขา
 
อันนี้ยังไม่เป็นการบ่งชี้ให้ริฎอได้รู้ได้ทราบดอกหรือว่า เยาวชนกลุ่มนี้ใฝ่หาต่อแนวทางสะลัฟอันทรงธรรมเพราะโดยปกติมันมีแต่พวกซินดี๊ก (นอกศาสนาทั้งหลาย) เท่านั้นแหละที่ไม่ชื่นชอบนักวิชาการที่ผมเอ่ยนามไปข้างต้น พวกนอกศาสนาที่ไหนเล่าจะชื่นชอบผู้รู้เหล่านี้?
 
การที่ริฎออ้างว่า “ในขณะนี้ มีกลุ่มหนึ่งกำลังแปลบทความบ้าง เขียนบทความบ้าง ประพันธ์หนังสือบ้าง แต่ผลงานของเขาส่วนมาก เป็นผลงานที่ก่อให้เกิดฟิตนะฮฺ(ความวุ่นวาย)”

 ในความเป็นจริงผมเห็นว่าความพยายามของพวกเขาที่แปลบทความ เขียนหนังสือ ออกทีวี นั้นล้วนแล้วแต่เป็นผลงานอันน่าชมเชย และจำต้องสนับสนุนเยาวชนรุ่นใหม่ที่ต่อสู้และปกป้องสถาบันอันสูงของอัลลอฮฺ ของท่านนบี ของมวลชนศ่อฮาบะฮฺ อัสสะลัฟ ทั้งนี้ก็เพราะผลงานของพวกเขาสามารถทำให้เกิดการแบ่งแยกให้กับสังคมได้รับรู้ว่า ใครคือกลุ่มที่ติดตามสะลัฟพันธ์แท้ ใครคือผู้แอบอ้าง และผมขอยืนยันตรงนี้เลยว่า พวกเราผู้รู้นักเผยแผ่ทั้งหมดทั้งหลายล้วนมีแต่ความบกพร่องกันเป็นส่วนมาก เอาเวลาไปทิ้งขว้างกับเรื่องขี้หมูราขี้หมาแห้ง คนบางคนทั้งที่รู้ว่าตนเองไม่ได้อยู่ใน منهج أهل السنة والجماعة (วิถีการทำงานแบบอะฮฺลุสซุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ) แต่ก็ตะแบ็งอยากจะเป็นอะฮฺลุสซุนนะฮฺให้ได้ บ้างก็จัดทำนิตยสารสร้างโรงเรียน สร้างเครือข่ายอิงแอบอัลอิควานไปทั่วประเทศไทย รวบรวมนักวิชาการที่จบนอกให้อยู่ในคอนโทรลของตนเอง ยิ่งไปกว่านั้นบางคนในหมู่พวกนี้ก็จมปลักดักดานอยู่กับการทะเลาะเบาะแว้งกับพวกก็อดยานียฺ (ปลอมจริงแท้หรือไม่ผมก็ไม่รู้) ใช้เวลาฟัดกันยาวถึง 20-30 ปี จนสังคมที่ กรุงเทพฯเกิดความแตกแยก
 
(ดูคลิป ความแตกแยกที่ริฎอสร้างขึ้นกับมือ http://www.youtube.com/watch?v=AzcuLg25r9s )

อ.อาลีคานตอบ
 
ผมว่าริฎอน่าจะมองออกด้วยตนเองว่า ความวุ่นวายที่มันเกิดขึ้นตั้งแต่อดีตกาล ตลอดจนฟิตนะฮฺ(หายนะ) ที่มันเกิดขึ้น ส่วนมากมันมาจากผู้ที่รู้ ผู้ที่มีหลักแหล่งของความรู้ด้านศาสนา มีสถาบันกันทั้งสิ้นมิใช่หรือ? แม้กระทั่งตัวของท่านเอง (ริฎอ) ก็ถูกพ่วงไปด้วยกับ      ฟิตนะฮฺบ้าบอระหว่างคนแก่สองคนทะเลาะกันแรมศตวรรษที่สังคมก็รับรู้กันดีอยู่แล้ว ซึ่งทั้งสองรายเมื่อหันไปมองดูลึกๆก็เป็นบุคคลที่มีรากเหง้าเลอะเทอะกันทั้งคู่ คนหนึ่งอยู่บนอะกีดะฮฺ     อัลก็อดดะรียะฮฺ อัลอัชอะรียะฮฺ อัลกุลลาบียะฮฺ (ยุคใหม่สายพันธ์เดิม) หรือที่เรียกกัน       อัลอิควานุ้ลมุสลิมีน (กลุ่มภราดรภาพมุสลิมีน) ด้วยการแว๊บเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มอิควาน อีกคนหนึ่งก็คือแขกดำเชื้อสายอินเดีย (มีเมียคนเชียงใหม่) ไปได้งบมาจากไหนไม่มีใครทราบ (อัลลอฮฺรู้) ไปเอากุรอานของพวกก็อดยานีสาขาละฮอร์ ปากีสตาน มาอ่าน มาแปล เลยกลายเป็นปัญหาวุ่นวายไปทั่วหล้า ทั้งยังสร้างกลุ่มเครือข่ายอยู่ที่จังหวัดลำพูน เบื้องหน้าก็เผยแพร่แบบฉบับซุนนะฮฺ ตั้งชื่อมัสยิดว่ามัสยิดบาบุซซุนนะฮฺ แต่หลังจากผมกลับมาจาก       มะดีนะฮฺและใช้เวลาต่อสู้กับพวกเหล่านี้นานเป็น 10 กว่าปี ผมก็รู้ว่าอะไรเป็นอะไร? ถามว่าฟิตนะฮฺ(หายนะ) ที่มันเกิดขึ้น ริฎอรู้เรื่องลึกๆบ้างไหม? เพราะอย่างน้อยผมอยู่เชียงใหม่รู้เห็นความหายนะในสังคมซึ่งขณะนั้นริฎออยู่ตรงไหนของดุนยานี้? ถ้าริฎอต้องการข้อมูลที่แม้กระทั่งคนกรุงเทพไม่สามารถที่จะให้คุณได้ โทรหาผม อาลีคาน ปาทาน ได้ทุกเมื่อ มันมีอะไรอีกเยอะ ฟิตนะฮฺ หายนะฮฺ อีกแยะ ที่คุณริฎอยังไม่รู้ รวมทั้งคนกรุงเทพ และคนไทยมุสลิม ทั้งประเทศยังไม่รู้จากปัญหาของคนแก่ที่ริฎอหวงแหนปกป้องมาตลอด อันนี้สิที่ริฎอควรจะสำเนียกว่ามันคือฟิตนะฮฺ หายนะตัวจริงที่ริฎอควรจะละอายแก่ใจบ้างที่จะต้องออกมาชี้หน้าคนว่าผู้อื่นสร้างความแตกแยกทั้งที่ตนเองต่างหากที่จมอยู่กับความแตกแยกชั่วนาตาปีกับปัญหาก็อดยานียฺบ้าๆบอๆ และต้องขอยอมรับว่าพวกเราต่างหากที่เรียนจบกันมา ได้ปริญญามาเยียวยาใส้ ทว่าผู้รู้กลับไม่มีใครสักคนคิดหึงหวงสถาบันชนชาวสะลัฟ ปล่อยให้พวกแขกบิดอะฮฺนอกศาสนา(ซินดีก) เช่น กลุ่มอัลกุลลาบียะฮฺ รวมทั้งกลุ่มอิควาน อัลมุสลิมีน (พวกอัลก็อดดะรียะฮฺในอดีตสันดานเดิม) นำเอาอะกีดะฮฺเพี้ยนๆ แผงๆ ของสำนักปรัชญากรีก มามอมเมาสังคมโลก ซึ่งทั้งหมดสร้างภาพให้ชาวโลกดูว่าตนเองคือชนชาวอะฮฺลุสซุนนะฮฺ ผมว่านี่แหละมันคือฟิตนะฮฺ หายนะที่บ่อนทำลายแนวเชื่อมั่นของปวงชนชาวสะลัฟตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

ริฎอกล่าวว่า “ข้อมูลที่กลุ่มนี้นำเสนอคือข้อมูลที่โจมตีใส่ร้ายดูหมิ่นนักวิชาการ และนักเคลื่อนไหวระดับโลก”

อ.อาลีคานตอบ

ผมว่านักวิชาการที่ริฎอหมายถึงนั้น เป็นนักวิชาการที่เป็นโรค และโรคร้ายมากกว่า ซึ่งโรคดังกล่าวซึ่งแม้นกระทั่งนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิในอดีต เช่น อิบนุหะญัร อัลอัซเกาะลานียฺ เองก็ยังพลาดไปรับเอาหลักเชื่อมั่นแบบบ้าๆบอๆของพวกอัลอัชอะรียะฮฺเอามานำเสนอไว้ในหนังสือฟัตหุ้ลบารียฺ ญุซที่ 13 เล่มสุดท้ายของฟัตหุ้ลบารียฺ ชื่อบท กิตาบุตเตาฮีด ซึ่งจริงๆตรงนี้ยังไม่ใช่ประเด็น แต่ประเด็นหลักก็คือ ริฎอเองเจ็บและแสบทรวง เพราะกลุ่มเยาวชนเหล่านี้ที่ริฎอโจมตีกล่าวหายัดเยียดความอธรรมให้กับพวกเขา กลับเป็นกลุ่มเยาวชนที่คอยนำเอาวีดีโอ บท       ความ อะกีดะฮฺเพี้ยนๆที่เป็นโรคร้ายต่ออิสลาม ของท่านเชคยูซุฟ อัลเกาะเราะฎอวียฺ อุลามาอฺพลัดถิ่นชาวอียิปต์ ซึ่งเป็นมุฟตี (ผู้ชี้ขาดปัญหา) ของประเทศการ์ตาร์คนปัจจุบัน มาเผยแผ่ทางทีวี เว็บไซต์ เพื่อสอนประชาชนให้รู้ถูกผิดชอบชั่วดี ซึ่งตามความจริงแล้วริฎอไม่พอใจตรงนี้เพราะอะไรเล่า? เราอยากบอกริฎอว่าท่านอย่าเพิ่งเสียเวลาไปพูดถึงเชคร่อเบี๊ยะอฺ บินฮาดี อัลมัดคอลียฺก่อนเลยเพราะเรื่องของเชคร่อเบี๊ยะอฺ (หะฟิซอฮุ้ลลอฮฺขอให้อัลลอฮฺปกปักพิทักษ์รักษาท่านด้วย) นั้นมันเป็นเรื่องของพวกเรามิใช่ของริฎอที่ไม่เคยรู้จักตัวตนจริงๆของเชครอเบี๊ยะอฺเลย แต่ประเด็นอยู่ที่ว่าทำไมนายริฎอจึงกระโดดโลดเต้น เจ็บแค้นแร้นใจต่อกลุ่มเยาวชนของเราที่ทำหน้าที่โจมตีสำนักของท่านเชคยูซุฟ อัลเกาะเราะฎอวียฺต่างหาก เพราะอะไร?
 
ก่อนที่ริฎอจะออกมาปกป้องอุละมาอฺพลัดถิ่นผู้นี้ ตัวริฎอและสังคมก็ดีควรจะตั้งคำถามว่าอะไรคือสาเหตุให้เด็กเยาวชนกลุ่มนี้ต้องออกมาแฉอุลามาอ์พลัดถิ่นผู้นี้ คำตอบก็เพราะว่า   อุลามาอฺพลัดถิ่นชาวอียิปต์ที่รับอาสาไปช่วยเป็นมุฟตีผู้ชี้ขาดปัญหา ตอบคำถาม ให้กับประเทศการ์ตาร์ ตัวตนจริงๆของเขาก็คือการคอยแต่ปกป้องสถาบันทางศาสนาชั่วๆของพวกอัลอัชอะรียะฮฺ อัลกุลลาบียะฮฺมาตลอดชีวิต รวมทั้งกลุ่มอัลอิควาน อัลมุสลิมีน ทั่วโลกทั้งที่ตัวของท่านเชคยูซุฟ อัลเกาะเราะฎอวียฺเองก็รู้ถึงความหลงผิดในเรื่องที่ตนเองปกป้องอยู่ทั้งสิ้น
ก่อนอื่นกระผมขอเท้าความ เกร็ดประวัติที่มาของอัลเกาะเราะฎอวียฺผู้นี้เสียก่อน เชคยูซุฟ อัลเกาะเราะฎอวียฺมุฟตี (ผู้ชี้ขาดปัญหาศาสนา) ส้มหล่นคนนี้มีความเกี่ยวพันกับอธิปไตยของประเทศซาอุดิอารเบีย กล่าวคือเดิมทีแล้วราชอาณาจักรซาอุดิอารเบีย เมืองหลวงอิสลามเมืองแรกของโลก นั่นก็คือมักกะฮฺ กับมะดีนะฮฺ มีอาณาบริเวณพื้นที่ตารางกินไกลไปครอบคลุมถึงประเทศที่เป็นตะวันออกกลางทั้งหมด ต่อมาเมื่อมีประเทศล่าอาณานิคมมาแบ่งปัน จัดสรรปันส่วนพรมแดนขึ้น การแบ่งพรมแดนก็นำไปสู่ปัญหาพรมแดนระหว่าง            ซาอุดิกับประเทศกาตาร์ จนต้องมีการเจรจากันระหว่างสองประเทศ โดยสรุปว่าปัญหานี้ยังไงก็หาจุดจบไม่ได้ แม้ว่าจะเป็นปัญหาเก่าแก่ตั้งแต่ยุคสมัยของกษัตริย์ กาตาร์(ผู้เป็นพ่อ) ต่อมาเมื่อถึงยุคของพระมหากษัตริย์ มุฮัมมัด อิลิษานียฺ ผู้เป็นลูกก็คิดสรรหาวิธีใหม่ที่สุภาษิตเรียกว่า “ไม้กันหมา” ท้ายสุดก็คิดแผนได้จึงชิงเอาตัวเชคยูซุฟ อัลเกาะเราะฎอวียฺ ชาวอียิปต์ช่วยมาดำรงตำแหน่ง ผู้ชี้ขาดปัญหาศาสนา ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่า คือตำแหน่งพระสังฆราชของกาตาร์ก็ว่าได้
 
เพราะอะไรรัฐบาลกาตาร์จึงทำเช่นนั้น? คำตอบก็คือ เพราะรู้ว่ากลุ่มอาหรับตะวันออกกลาง ยกเว้นโอเมน อาจจะรวมบาห์เรนอยู่บ้าง ไม่ชอบและต่อต้านเชคยูซุฟ อัลเกาะเราะฎอวียฺในฐานะที่เขามักทำตัวสวนทางกับแนวทางของอะฮฺลุสซุนนะฮฺ ปวงชนชาวสะลัฟเสมอนั่นเอง จุดนี้ไงผมถึงเรียกเชคยูซุฟ อัลเกาะเราะฎอวียฺ ว่าอุลามาอฺพลัดถิ่น (ชาวอียิปต์) ถามว่าประชาชนชาวการ์ตาร์ ยอมรับตำแหน่งของอัลเกาะเราะฎอวียฺบ้างไหม? พวกเราลองถามริฎอซิ ถามว่ากลุ่มอะฮฺลุสซุนนะฮฺในตะวันออกกลางยอมรับตำแหน่งของอัลเกาะเราะฎอวียฺไหม ถามริฎอซิ และถามอีกว่าทำไมพวกอะฮฺลุสซุนนะฮฺที่ติดตามแนวทางของปวงชนชาวสลัฟจึงไม่ยอมรับ อัลเกาะเราะฎอวียฺ ดังเช่นกลุ่มเยาวชนที่ริฎอตำหนิอยู่ ก็เพราะว่าอัลเกาะเราะฎอวียฺที่ริฎอปกป้องหวงหึงจริงๆแล้วเป็นคนที่มีอะกีดะฮฺฎอลาละฮฺ หลงทางนอกศาสนาอิสลาม นั่นคืออะกีดะฮฺของพวกอัลก็อดดะรียะฮฺ อัลอัชอะรียะฮฺ อัลกุลลาบียะฮฺ ซึ่งมีต้นขั้วมาจากพวกอัลญะฮฺมียะฮฺ และพวกมัลมั๊วะตาซิละฮฺ บรรดาน้องๆพี่ๆที่กำลังอ่านบทความที่ผมเตือนริฎอ อยากจะรู้ว่าแต่ละกลุ่มที่ไม่ใช่แนวทางของอัลลอฮฺ ของนบี ของศ่อฮาบะฮฺ ถามริฎอดูซิว่ามันมีลักษณะยังไง หรือถามผมก็ได้ ยินดีที่จะให้ข้อมูลกับทุกคน
 
ซ้ำร้ายไปกว่านั้นความน่าอับอายขายขี้หน้าของเชคยูซุฟ อัลเกาะเราะฎอวียฺ ที่ปรากฏต่อปวงชนชาวโลกในฐานะเป็นสมาชิกและแกนนำกลุ่มอัลอิควาน อัลมุสลิมีน ของประเทศอียิปต์มีดังต่อไปนี้
 
 1. อนุมัติให้มอบความรักความใคร่ให้กับมุชริกีนบางกลุ่มได้ 2. อนุมัติให้สวมผ้าไหมสำหรับผู้ชายและยังอนุญาติให้ถ่ายรูป วาดรูปเป็นที่ระลึก 3. อนุมัติให้ฟังเสียงเครื่องสีตีเป่า (เสียงเพลงดนตรีโดยอ้างว่าอิสลามส่งเสริมให้เล่นมันได้ พร้อมโจมตีหะดิษของท่านนบีที่ห้ามเกี่ยวกับเรื่องของเสียงดนตรี) 4. อนุมัติให้เล่นหมากรุก เล่นไพ่ 5. อนุมัติให้เข้าโรงหนัง โรงละคร เป็นต้น ต่อมาจึงได้มีนักวิชาการลุกขึ้นมาตอบโต้ข้อเขียนที่เพี้ยนๆ ผิดแผกแตกต่างกับผู้รู้ทั่วๆไป ของก็อรฎอวีย์ เช่น 1. อุสตาซอัชเชค อับดุ้ลหะมิด ตอฮฺมาซ ชื่อหนังสือ نظرات في كتاب الحلال والحرام في الاسلام จับตามองหนังสือหะลาล หะรอมในอิสลาม 2. อัชเชคเฟาซาน อัลเฟาซาน ก็ประพันธ์หนังสือขึ้นมาตอบโต้หนังสือของเชคยูซุฟอัลเกาะเราะฎอวียฺ ชื่อหนังสือ الاعلام بنقد كتاب الحلال والحرام แปลว่า เตือนตอบโต้หนังสือ หะล้าลหะรอม 3. เชคอัลอัลบานียฺ ก็ได้ประพันธ์หนังสือขึ้นมาตอบโต้ข้อเขียนของเชคยูซุฟ อัลเกาะเราะฎอวียฺ ชื่อหนังสือ غاية المرام في تخريج أحاديث الحلال والحرام ตรวจทานหะดิษหนังสือ อัลหะลาลและหะรอม
 
ริฎอกล่าวว่า บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเราไม่สามารถสรุปข้อเท็จจริงได้จนกว่าจะรู้ที่มาที่ไปของบทความนี้ ซึ่งผู้ที่แปลมาอาจไม่รู้ เพราะผมเชื่อว่าคนที่แปลบทความนี้และนำมาเผยแพร่ในประเทศไทย เป็นคนญาเฮคนหนึ่งหรือเป็นคนที่หัวใจมีโรคอย่างแน่นอน


อ.อาลีคานตอบ
 ริฎอ ผมเองจะเป็นคนนำข้อเท็จจริง ถ้าริฎอไม่รู้ไม่ทราบก็จงฟังให้พิจารณาดู และความจริงทุกประการที่มันเกิดขึ้นตอนช่วงที่ผมกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยอัลมะดีนะฮฺในขณะนั้น กระผมศึกษาอยู่คณะอัลหะดิษปี 2 ซึ่งช่วงนั้นเชคร่อเบี๊ยะอฺ บินฮาดี อัลมัดเคาะลียฺ กำลังสอนและอธิบายศ่อเหี๊ยะห์อิหม่ามมุสลิม ในมัสยิดที่ใกล้กับบ้านพักของท่าน ช่วงนั้นผู้ที่ดำรงตำแหน่งอธิบดีมหาวิทยาลัยก็คือ دكتور عبدالله العبيد ดร.อับดุลลอฮฺ อัลอุบัยดฺ หัวหน้าฝ่ายทะเบียนนักศึกษาก็คือ سعود العطيشان  ดร. ซะอุด อัลอุฏ็อยชาน ส่วนหัวหน้าฝ่ายดูแลกิจการนักศึกษาคือ يحيى اليحيى ยะห์ยา อัลยะห์ยา ในปีนั้นได้เกิดความวิบัติหายนะขึ้นในมหาวิทยาลัยบ้างเล็กน้อย เมื่อบรรดาคณะครูบาอาจารย์กลุ่มหนึ่ง ถูกอธิบดีมหาวิทยาลัย สั่งปลดออกจากการสอน การอภิปรายทางศาสนา และก่อนหน้านี้ เชคอาอิด อัลก็อรนียฺ เชคซะฟัรอัลหะวาลียฺ เชคซัลมานอัลเอาดะฮฺ ก็ถูกทางการซาอุดิจับกุม เรื่องราวมันมีอยู่ว่า ได้มีบรรดาครูบาอาจารย์ชาวอียิปต์ที่แฝงตัวเข้ามาสอนในมหาวิทยาลัยของซาอุดิฯซึ่งพื้นเพเดิมแล้วคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มสมาชิกของอัลอิควาน อัลมุสลิมีน (กลุ่มภราดรภาพมุสลิม) เมื่อมาสอนกันก็มักนำเชื้อร้าย นำอะกีดะฮฺของพวกอัลญะฮฺมียะฮฺ อัลอัชอะรียะฮฺ อัลกุลลาบียะฮฺ มาปล่อย นั่นก็คือลัทธิการเมืองที่สอนให้โค่นล้มราชวงศ์ซาอูด ซึ่งในยุคนั้นประเทศซาอุปกครองโดยพระมหากษัตริย์ ฟาฮัดบินอับดุลอะซีซ เรื่องที่พูดไปนี้ไม่ใช่เล่าตามเขาว่าๆกันมานะ แต่ผมเล่าจากประสบการณ์จริงเพราะผมอยู่ในเหตุการณ์นั้นมาโดยตลอดช่วงที่เกิดปัญหา
 
ต่อมาท่านเชคร่อเบี๊ยะอฺ กับเชคฟาเลี๊ยะห์ บินนาเฟี๊ยะ อัลหัรบียฺ จึงถูกแต่งตั้งอย่างเป็นทางการขึ้นมาดูแลสอบสวน กลุ่มผู้รู้นักวิชาการที่มีหลักเชื่อมั่นอะกีดะฮฺ เอนเอียงไปทางกลุ่มอัคอิควาน อัลมุสลิมีน (กลุ่มภราดรภาพมุสลิม) จนกระทั่งกลายเป็นปัญหาการจับกุมตัวกลุ่มผู้รู้(หัวเอียงซ้าย) ลามไปเมืองต่างๆของประเทศซาอุในยุคนั้น จบลงด้วยกับการจับกุมนักบรรยายศาสนา เช่น ซะฟัร อัลหะวาลียฺ ซัลมาน อัลเอาดะฮฺ อาอิด อัลก็อรนียฺ รวมทั้งบรรดานักบรรยายกลุ่มดังกล่าวหลายคนถูกสั่งงดบรรยาย ขายม้วนเทป รวมทั้ง ดร.ยะห์ยา อัลยะห์ยา ถูกปลดออกจากตำแหน่งในมหาวิทยาลัย[/b][/font]


อาจารย์อะลีย์ คาน ปาทาน
 
สำนักงานห้องสมุดอะฮฺลุลหะดีษวัลอะษาร


4
บิสมิลลาฮิรเราะฮฺมานิรเราะฮีมอัลลอฮุมะซอลลิอะลามุฮัมมัด วะอะลาอาลิฮี วะเซาะฮฺบิฮี วะซัลลัมอัมมาบะอฺดฺ


     .............จิงๆแล้วเรื่องนี้มีการถามอยู่มากคน และก็มีคำตอบในเวปนี้แล้วเหมือนกัน  ผมนำหลักฐานมาพร้อมลิงค์มาให้ครับ.....

   ;Dเรื่องการดุอาที่กุโบรนั้นเป็นสิ่งที่ดี   และมีแบบอย่างจากท่านนบีซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

       แต่บางคนนั้นมักมองคนในแง่ลบ และเข้าใจว่าการดุอาที่กุโบรคือการไปขอกับหลุมศพ

         ซึ่งเป็นการเข้าใจที่ผิด และมองมนุษย์ในแง่ร้าย

ได้มีหลักฐานจากท่านนบีซอลลอลลอฮุอะลัยฮิ วะอาลิฮี วะซัลลัม  ได้ทำการดุอาให้แก่คนเป็นและคนตาย เมื่อท่านนั้นได้ไปเยี่ยมหลุมศพ

และในซอฮีฮฺมุสลิม(เลขที่ ๙๗๔) และมุสนัดอะฮฺหมัด(๖/๒๒๑)

แท้จริงท่านนบีซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สอนท่านหญิงอาอิชะฮฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮา ให้นางกล่าวเมื่อนางไปเยี่ยมหลุมศพที่บะกีอฺ

ว่า

"(   السلام على أهل الديار من المؤمنين والمسلمين ويرحم الله المستقدمين منا والمستأخرين وإنا إن شاء الله بكم للاحقون  )

..................................................................................

ว่า" อัสลามุ อะลา อะฮฺลิดดิยาริ มินัล มุอฺมินีนะ วัล มุสลิมีน วะยัรหะมุลอฮุล มุสตักดิมีนะมินนา วัลมุสตะอฺคิรีน  วะอินนาอินชาอัลลอฮุบิกุม ละลาฮิกูน"

...ผู้ถามลองคลืิกอ่านหลักฐานจากลิงค์นี้เรยครับ ถ้าไม่เข้าใจจะนำมาแปะเพิ่มครับ  อิงชาอัลลอฮ์

http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php/topic,471.msg5519.html#msg5519

5
แล้วอย่าลืมอ่านกระทู้นี้เพิ่มเจิมนะคับ  จะได้โต้วะฮาบีย์แบบจัดเต็มครับ 



http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php/topic,3546.msg27145.html#msg27145

6
 :salam:

อ้างถึง
แร้วเราจะตอบแก่คนต่างศาสนิกโดยใช้อายะห์กุรอ่านนี้เรยหรอครับ แร้วถ้าเค้าถามเราว่าใกล้แค่ไหนล่ะครับ


ผมว่าการที่จะทำความเข้าใจกับคนต่างศนิกนั้นลำบากครับ เพราะต้องให้เขาศรัธทาในศาสนาอิสลามซะก่อน ครับคือขั้นตอนแรกให้เขาศึกษาอิสลามให้เข้าใจเบื้องต้นก่อน เช่นการมีมาของมนุษย์ ใครเป็นผู้สร้้าง มนุษย์เกิดมาจากไหนและจะไปไหน หรือให้เขาเรียนรู้สิ่งที่บอกกล่าวจากอัลกรุ่านอย่างคร่าวซะก่อน  เรื่องของการที่จะถามว่าอัลลออ์อยู่ไหนนั้น  ผมว่า เมื่อเขาเข้าใจใน 2 ชาฮาดะ แล้วค่อยศึกษาเพิ่มเติมก็ได้


ประเด็นอยู่ที่ว่าพี่น้องมุสลิมเราบางกลุ่มต่างหากที่ชอบเข้าใจผิดว่า  อัลลออ์ต้องมีสถานทีอยู่หรือการสถิตย์ของพระองค์  เช่นพวกวะฮาบีบางกลุ่ม

พวกเขาส่วนมากมีเอียะติกอดผิดพลาดมาตลอด  ตรงนี้ต่างหากที่ al-ashairoh  จะต้องทำการดาวะห์พวกเขาให้เข้าใจ

7
อ้างถึง
ขอถามผู้รู้ในนี้ทุกๆท่านเรยครับ คือว่า ผมได้ตอบโต้กลุ่มวะฮาบีย์ในฮาดิษที่เกี่ยวกับทาสหญิงที่ว่า การกระทำของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เช่นการที่ท่านชี้นิ้วขึ้นไปยังฟากฟ้าขณะที่ท่านคุฏบะฮฺกับผู้คนจำนวนมาก แร้วนบีพูดว่า อัลลอฮฺฟิซซามาอฺ ดังกล่าวนั้นคือ วันอะรอฟะฮฺ ปีหัจญ์วะดาอฺ (หัจญ์อำลา) ฮาดิษนี้นักศึกษาไทยที่มาดีนะห์สายอิหม่ามชาฟีอีย์เราซึ่งเป็นคนมีความรู้คนนึงเรยครับเขาได้บอกผมมาครับว่าเป้นฮาดิษอาฮ๊าด แต่พอผมไปบอกพวกวะฮาบีย์มันบอกว่าถึงจาอาฮ๊าดแต่มีฮาดิษของทาสหญิงที่สายรายงานมุตาวาติร รองรับอยู่ด้วย ผมก้อ งง ครับว่าจริงหรอ ตกลงมันมีสายรายงานที่มุตาวาติรจิงหรอครับ แร้วฮาดิษที่ว่าประชาชาติของฉันจะแตกเป็น 73 จำพวกอ่ะครับ ที่เป็นฮาดิษหากินของพวกวะฮาบีย์ ผมได้ยินมาว่า มันเป็นฮาดิษฎออีฟ จริงหรอครับ เรยอยากรู้สายรายงานที่ไปที่มาหน่อยอ่ะครับ ขอบคุณผู้รู้ในนี้ด้วยนะครับ


หรืออีกสายรายงานหนึ่งที่มีเนื่อหาคล้ายๆกันว่า...

อ้างถึง
ครั้งหนึ่ง มูอาวียะห์ บุตร อัลฮากัม อัสซูลามี ท่านต้องการที่จะให้อิสรภาพกับ ญารียะห์ทาสของท่าน มูอาวียะห์ได้นำตัวญารียะห์ไปหาท่านรอซูล ซ.ล ท่านรอซูลได้ถามญารียะห์ว่า พระองค์อัลลอฮ.อยู่ที่ไหน? เธอตอบว่า พระองค์อัลลอฮอยู่บนฟ้า ท่านรอซูลได้ถามต่อไปว่า แล้วฉันเป็นใคร? เขาก็ตอบว่าท่านคือศาสนทูตของพระองค์ หลังจากนั้นท่านรอซูลได้กล่าวกับมูอาวียะห์ว่า ปล่อยเธอให้เป็นอิสระเถิด เพราะแท้จริงเธอคือผู้ศรัทธา ฮาดิษนี้บันทึกโดยนักบันทึกฮาดิษหลายท่าน เช่น อิหม่ามมาลิก

  :salam:

 ;Dความจริงแล้วพระองค์อัลลอฮ.ทรงสถิตอยู่บนบัลลังค์ของพระองค์ดังที่พระองค์ได้ทรงกล่าวไว้ถึงความเหมาะสมความมีเกียรติและความเกรียงไกรของพระองค์ ดังหลักฐานต่อไปนี้

ฮะดิษนี้ท่านอิมามอันนะวาวีย์  ได้อธิบายจุดยืนหลักอะกีดะฮ์ของ อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์  ความว่า

هذا الحديث من أحاديث الصفات , وفيها مذهبان تقدم ذكرهما مرات في كتاب الإيمان . أحدهما : الإيمان به من غير خوض في معناه , مع اعتقاد أن الله تعالى ليس كمثله شيء وتنزيهه عن سمات المخلوقات . والثاني تأويله بما يليق به , فمن قال بهذا قال : كان المراد امتحانها , هل هي موحدة تقر بأن الخالق المدبر الفعال هو الله وحده , وهو الذي إذا دعاه الداعي استقبل السماء كما إذا صلى المصلي استقبل الكعبة ؟ وليس ذلك ; لأنه منحصر في السماء كما أنه ليس منحصرا في جهة الكعبة , بل ذلك لأن السماء قبلة الداعين , كما أن الكعبة قبلة المصلين , أو هي من عبدة الأوثان العابدين للأوثان التي بين أيديهم , فلما قالت : في السماء , علم أنها موحدة وليست عابدة للأوثان

ًًฮะดิษนี้  เป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาฮะดิษซีฟาต  และเกี่ยวกับบรรดาฮะดิษซีฟาตนั้น  มี  2  แนวทาง (ซึ่งทั้ง 2 แนวทางก็คือแนวทางของอัลอะชาอิเราะฮ์) ตามที่ได้กล่าวผ่านมาแล้วในกิตาบอัลอีหม่าน   ก็คือ

(1) ให้ศรัทธาด้วยกับฮะดิษนี้  โดยไม่เข้าใจยุ่งเกี่ยวในความหมายของมัน  พร้อมกับเชื่อว่าอัลเลาะฮ์ตะอาลานั้นไม่มีสิ่งใดคล้ายเหมือนกับพระองค์  และพระองค์ทรงบริสุทธิ์จากสัญลักษณ์ของบรรดามัคโลค (คือแนวทางสะละฟุศศอลิห์โดยรวม)

(2) ให้ทำการตีความ(ตะวีล) ฮะดิษนี้ด้วยสิ่งที่เหมาะสมต่อพระองค์  (คือแนวทางของค่อลัฟโดยรวม)

ดัง นั้น  ผู้ที่ได้กล่าวด้วยกับการตีความนี้  เขาก็จะกล่าวว่า  จุดมุ่งหมายก็คือ  การทดสอบตัวนาง(ทาสหญิงผิวดำที่เป็นเด็ก)  ว่านางนั้นเป็นผู้ที่เชื่อในอัลเลาะฮ์องค์เดียวหรือไม่ ยอมรับว่าผู้ทรงสร้าง  เป็นผู้ทรงบริหาร  ผู้ทรงกระทำ(ตามที่พระองค์ทรงประสงค์) คืออัลเลาะฮ์องค์เดียวหรือไม่?  และพระองค์คือผู้ที่ผู้วอนขอต่อพระองค์ได้ทำการผินไปยังท้องฟ้าเหมือนกับที่ ผู้ทำการละหมาดได้ผินไปทางกิบลัตหรือไม่?  ซึ่งดังกล่าวนั้น  ไม่ใช่เพราะพระองค์ทรงจำกัดอยู่ในฟ้ากฟ้าเฉกที่พระองค์ก็ไม่ได้จำกัดอยู่ใน ทิศกะบะฮ์  แต่ทว่าสิ่งดังกล่าวเพราะท้องฟ้าเป็นกิบลัต(ทิศ)ของผู้ที่วอนขอดุอา  เหมือนกับ  กะบะฮ์เป็นกิบลัต(ทิศ)ของผู้ที่ทำการละหมาด  หรือว่า(เพื่อสอบว่า)นางเป็นส่วนหนึ่งจากผู้ที่กราบไว้รูปปั้นที่อยู่ในมือ ของพวกเขาหรือไม่?  ดังนั้นในขณะที่นางได้กล่าวว่า  อยู่ในฟ้า  ก็รู้เลยว่านางเป็นผู้ที่นับถือพระองค์เพียงองค์เดียวไม่ใช่เป็นผู้กราบไหว้ เจว็ด" ดู  ชัรหฺ ซอเฮี๊ยะหฺมุสลิม ของอิมาม อันนะวาวีย์ เล่ม 5 หน้า 24

ท่านอัลฮาฟิซฺ  อิบนุ ฮะญัร  ได้กล่าวว่า

قوله " في السماء " ظاهره غير مراد ، إذ الله منزه عن الحلول في المكان لكن لما كانت جهة العلو أشرف من غيرها أضافها إليه إشارة إلى علو الذات والصفات

 "(ท่านอัลกิรมานีย์กล่าวว่า) คำตรัสที่ว่า فِي السَّمَاءِ "ในฟ้า" นั้น  ความหมายผิวเผินของมัน  ไม่ใช่จุดมุ่งหมาย   เนื่องจากอัลเลาะฮ์ทรงบริสุทธิ์ปราศจากการเข้าไปอยู่ในสถานที่  แต่เมื่อทิศสูงมีเกียรติยิ่งกว่าทิศอื่น  พระองค์จึงพาดพิงทิศสูงไปยังพระองค์เอง  เพื่อชี้ถึงว่าซาตและคุณลักษณะของพระองค์นั้นสูงส่ง(ในเชิงนามธรรมมิใช่มีสถานที่อยู่บนที่สูงในเชิงรูปธรรม)"  ฟัตฮุลบานีย์ : 13/412

ส่วนวะฮาบีย์นั้น   กลับเชื่อว่าอัลเลาะฮ์ทรงมีรูปร่างสถิตนั่งอยู่บนบัลลังก์ด้วยซาตของพระองค์ในความเชิงรูปธรรม  ซึ่งมิใช่อะกีดะฮ์สะละฟุศศอลิห์  ไม่ใช่เป็นอะกีดะฮ์ของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์  แต่เป็นอะกีดะฮ์ของพวกอัลกัรรอมียะฮ์

วัลลอฮุอะลัม
 

อ้างอิงมาจากเวปนี้ในกระทู้
ผมแนะนำให้หาข้อมูลจากนั้เรยคับ
http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php/board,4.0.html

8
สนทนาศาสนธรรม / Re: 29 รอมาดอน 1433
« เมื่อ: ส.ค. 18, 2012, 10:17 AM »
อ้างถึง
อ้างถึงBangmud

ถ้าวันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม 55 นี้ ใครบอกว่าเห็นจันทร์เสี้ยว ผมคงมีความคิดถึงเขาในแง่ไม่ดี

ขนาดเคิร์ฟของวันที่ 18 ก็ยังเห็นได้ในบางประเทศ (ไม่รวมประเทศไทย!)


ibnu_abdillah
อยากจะบอกว่า "อย่าได้คิดลบหลู่กับการงานของอัลลอฮฺในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง"


สำนักว่าจุฬาประกาศรอยอออกบวช วันอาทิตย์ครับ....ผมวิงวอนไว้แล้วก่อนหน้านั้น...อัลหัมดูลิ้ลลา

 yippy:เพราะ   บางทีกลุ่มที่ไม่หวังดีต่อสำนักจุฬา อาจจะมีการบอกว่าเห็นจันทร์เสี้ยวในค่ำวันศุกร์...เหมือนกับการถือศีลอดปีที่ผ่านมาและจากหลายครั้ง ที่พวกเขาไม่จริงใจ

9
 :salam:

ในบทที่ ๕ นี้ เป็นบทวิเคราะห์ ซึ่งคุณสมศักดิ์ สุขเกษม (ผู้วิจัย) ได้วิจารณ์คำแปลอัลกุรฺอานเป็นภาษาไทยโดยสมาคม นร.เก่าอาหรับว่า มีการให้ความหมายแก่บางคำที่ไม่ได้ดำเนินตามแนวทางของสะละฟุศศอลิหฺ เช่น กรณีการให้ความหมายแก่คำว่า وجه (อ่านว่า วัจฮฺ) ที่พาดพิงยังอัลลอฮฺในความหมายของ "ความโปรดปราน" ทั้งที่คำแปลตามตัวอักษร หรือเชิงแก่นแท้ตามหลักภาษาคือ ใบหน้า หรือพระพักตร์ และอีกหลายข้อผิดพลาด

 ;Dลองอ่านคร่าวๆแล้วนะ รู้สึกว่าสิ่งที่ผู้ทำการวิจัย จะไม่เห็นด้วย กับการแปลความหมายอัลกรุอ่านเป็นภาษาไทยของนักเรียนเก่าอาหรับ

             hihi:สรุปแล้วผู้ทำการวิจัยเรื่องนี้ ต้องการที่จะให้แปลตามตัวตรงใช่ไหมครับ

10
ชัยค์อุษมัยมีน อุลามาอฺวะฮาบีย์ได้กล่าวว่า

ان الله عز وجل له وجه وله عين وله يد وله رجل لكن لا يلزم منه ان تكون هده الاشياء مماثلة للانسان فهناك شى من الشبه لكن ليس شيئا من المماثلة

       "แท้จริงให้กับอัลเลาะฮ์นั้น  มีใบหน้า  มี(สอง)ตา  มีมือ  มีเท้า  แต่ไม่จำเป็นที่สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะต้องเหมือนกับมนุษย์  ดังนั้น  ณ ที่นั้น(คือคุณลักษณะต่างๆเหล่านั้น) มีสิ่งหนึ่งจาก(คุณลักษณะ)การคล้ายคลึง แต่ไม่มีสิ่งใดที่(มีคุณลักษณะ)เหมือน(มนุษย์)"  หนังสือชัรฮุลอะกีดะฮ์อัลวาซีฏียะฮ์ เล่ม 1 หน้า 86 ของเชคอุษัยมีน

      แต่อะกีดะฮ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์มิใช่อะกีดะฮ์ของพวกมุชับบิฮะฮ์(พวกพรรณาคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์คล้ายคลึงกับมัคโลค) และอะกีดะฮ์ของพวกมุญัสสิมะฮ์(พวกพรรณาคุณลักษณะอัลเลาะฮ์เป็นรูปร่าง)

11
 อ้างคำพูดของ  dabdulla
 ดังนั้นการใช้คำว่ามือของอัลลอฮ ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะบอกว่าพระองค์มีนิ้ว เพราะอัลลอฮไม่ได้บอกว่าพระองค์มีนิ้ว พระองค์ใช้คำว่ายาดุน


 :salam:

 ;Dผมขอแจมด้วยคนครับ เพราะผมคิดว่าเห็นเรื่องนี้เป็นที่เข้าใจยากพอสมควรกับพี่น้องซุนนะวะฮาบี เพราะพวกเขาตั้งใจที่จะให้ความหมายคำว่า ยะดุน โดยที่แปลว่า มือเท่านั้น     ทำไมๆๆๆๆๆๆครับทั้งที่คำว่า ยะดุนมีตั้งหลายความหมาย ดังเช่นที่  บัง muqorrabeen  เขานำเสนอให้อ่านแล้ว ดังเช่นนี้แหละที่มีคนเข้าใจเหมือนกับท่าน

เช่นคำพูดของพวกเขาข้างบนที่ว่า

ไม่แปลกเลย ลิงก็มีมือ แต่ไม่เหมือนมือเรา กระต่ายเวลามันยืนอ่ะก็มีมือน่ะ แต่ไม่เหมือนมือเรา กระรอกก็มีมือ แต่ไม่เหมือนมือเรา อีเห็น นางอาย ชะนี ก็มีมือ แต่ไม่เหมือนมือเรา อัลเลาะห์ ก็มีมือ แต่ไม่เหมือนมือเรา / แล้วตกลงว่าพระองค์มี มือ ไหมล่ะ ? ก็มีมือ แต่ไม่เหมือนมือเรา [/size]

  ;Dนั้นคือความเข้าใจจากพวกเขาเป็นเช่นนี้จริงๆว่า  พระองค์มีอวัยวะ คือ มือแต่ไม่เหมือนมือเราหรือมัคโลคอื่น แต่พระองค์ต้องการอวัยวะนี้
 ดังนั้นพวกเขาจึงไม่อาจให้ความหมายที่บริสุทธิ์กับอัลเลาะห์อัสะวัลลญัลลาฮ์ได้... เพราะเขาไม่ไช่ในหลักฮะกีกัต แต่พวกเค้าเข้าใจตามฮากีกัต ว่า มือ นั้นเป็นสิ่งที่ชี้ถึงฮากีกัตของมัน คือพวกเขายืนยันแบบนั้น เพียงแต่  มันแค่ไม่เหมือนมือเรา...
พวกเขากล้าที่จะยืนยันและเจาะจงที่จะเอาแค่ความหมายนี้อย่างเดียว ทั้งที่มีความหมายอื่นที่สามารถให้ความบริสุทธิ์แก่พระองค์ได้
พวกเขาจงใจที่จะให้ผู้อื่นโดยเฉพาะคนเอาวามส่วนมาก เข่้าใจไปว่า อัลลอฮ์ทรงพึ่งพาและต้องมีมือเป็นอวัยวะ
ดังอย่างคำพูดที่ว่า


ผมไม่เถียงถึงการใช้คำที่สูงส่งกับอัลลอฮ เพราะแม้จะแปลว่ามือ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นมืออย่างมนุษย์ เพราะอัลลอฮทรงสร้างสรรพสิ่งต่างๆ ด้วยการกล่าวว่า เจ้าจงเป็น ซึ่งไม่ได้ใช้มือเหมือนมนุษย์

 ;Dและประโยคต่อมา 

   แต่ผม ซึ่งเป็นคนอาวามเลือกใช้คำว่ามือ เพราะบางสำนวนนั้น อัลลอฮเทียบด้วยตัวของพระองค์ว่ามือของพระองค์กับมือซาฮาบะห์ ตาของพระองค์เทียบตาของซอฮาบะห์ ซึ่งแม้จะเป็นคำภาษาอาหรับ แต่สำนวนแบบนี้ในภาษาไทยหรือภาษาต่างๆก็มี
[/size]

  ;Dนี้แหละคนเอาวามที่เรากลัวหนักหนาว่าอะกีดะเขาจะเสียหาย เพราะไปจำกัดความหมาย เพียงแค่ว่า อัลลออ์มีมือเป็นอวัยวะแน่นอน แต่เป็นมือแบบไหนไม่รู้....

ทำไมหรือครับ การที่พวกท่านพี่น้องซุนนะวะฮาบย์จะเปรียบพระองค์ด้วยความหมายที่ดีกว่านี้และหลีกเลี่ยงความหมายที่หมิ่นเหม่กว่านี้ไม่ได้หรือครับ

ถึงได้เจาะจงหรือจำกัดเฉพาะ คำว่ามือซึ่ีงเป็นคำฮะกีกัตที่จับต้องและรู้สึกได้มากกว่าคำอื่นๆ   แสดงว่า ถ้าพระองค์ไม่มีมือเป็นอวัยวะแล้ว พวกท่านก็คงจะเข้าใจแบบชาวเอาวามและพี่น้องต่างศาสนิกอื่นว่าพระองค์คงสร้างมนุษย์ไม่ได้เลยหรือ เพราะไปอ้างอิงหลักฐานว่าพระองค์สร้างนบีอาดัมมาจากมือของพระองค์  ด้วยอย่างนั้นอย่างนี้   ทั้งๆที่พระองค์ทรงมีอำนาจมากกาย ดังที่พระองค์ทรงตรัสว่า กุ้นฟะยากู้ล

แต่ในความเชื่อพี่น้องซุนนะวะฮาบีเป็นอย่างนี้จริงครับ คือพวกเขาส่วนมากที่มีอะกีดะที่จะพยายามให้อวัยวะมือในการสร้างสรรค์บางสิ่งบางอย่างกับพระองค์ตลอดในความคิดของพวกเขา ซึ่งแตกต่างกับอะกีดะอะลิสซุนนะวัลญามาอะฮ์
ดังคำพูดจากอุลามะวาฮาบีย์ที่พวกเขายึดถือ ซค่งเชคผู้นี้หลักความเชื่อของอีม่ามอัลเฏาะหาวีย์ถึงกับตำหนิอุลามะอะลิสซนนะที่ว่า


ชัยค์ อับดุรเราะห์มาน อัลบุร้อก อุลามาอฺวะฮาบีย์ปัจจุบัน ได้แต่งหนังสืออธิบายอะกีดะฮ์อัฏเฏาะหาวียะฮ์ของท่านอิหม่ามอัฏเฏาะหาวีย์  ซึ่งชัยค์ อัลบุร้อก  ได้อธิบายตามหลักอะกีดะฮ์ของวะฮาบีย์เชิงคัดค้านหลักอะกีดะฮ์ของท่านอิหม่ามอัฏเฏาะหาวีย์  โดยยืนยันหลักอะกีดะฮ์วะฮาบีย์ที่ว่า  อัลเลาะฮ์ตะอาลานั้นมีอวัยวะ(แต่ไม่เหมือนมนุษย์?!)

ในหนังสือชัรห์ อัลอะกีดะฮ์ อัฏเฏาะหาวียะฮ์  ของชัยค์ อัลบุร้อก  ได้อธิบายตามหลักอะกีดะฮ์วะฮาบีตอนหนึ่งความว่า





"คำกล่าวของ(อิหม่ามอัฏเฏาะหาวีย์)ผู้ประพันธ์หนังสืออัลอะกีดะฮ์อัฏเฏาะหาวียะฮ์ ที่ว่า: (( พระเจ้าของเราทรงบริสุทธิ์ จากบรรดาด้านต่างๆ (เช่นมีสีข้างทั้งสองด้าน)  บริสุทธิ์การมีจากอวัยวะ  และบรรดาเครื่องมือ(หมายถึงส่วนอวัยวะที่เป็น ลิ้น เพดาน และฟันกราม เป็นต้น)) ลาเฮาล้าวะลากู้ว้าต้าอิลลาบิลลาฮ์! ขออัลเลาะฮ์ทรงอภัยโทษให้แก่อัฏเฏาะหาวีย์ด้วยเถิด!...อะไรกันที่อัฏเฏาะหาวีย์มีจุดประสงค์ในความหมายของ บรรดาด้านต่างๆ  บรรดาอวัยวะ และส่วนของอวัยวะ?! ทั้งที่อัฏเฏาะหาวีย์ไม่มีความจำเป็นต้องพูดถ้อยคำนี้  ใหนเล่าอายะฮ์และฮะดีษที่มีบรรดาถ้อยคำ(ที่บ่งชี้ถึงอวัยวะ)ต่างๆ เหล่านี้?" ดู ชัรห์ อัลอะกีดะฮ์ อัฏเฏาะหาวียะฮ์ ของชัยค์อัลบุร้อก หน้า 143   

 ;Dจากคำอธิบายหลักอะกีดะฮ์วะฮาบีย์ของชัยค์ อัลบุร้อก นั้น ได้มีท่าทีคัดค้านอะกีดะฮ์ของท่านอิหม่ามอัฏเฏาะหาวีย์อย่างชัดเจน  เนื่องจากสำนวนคำพูดของ อิหม่ามอัฏเฏาะหาวีย์นั้น  ปฏิเสธการมีอวัยวะของอัลเลาะฮ์ตะอาลาอย่างสิ้นเชิง  ซึ่งเป็นอะกีดะฮ์สะลัฟอย่างแท้จริง  แต่ชัยค์อัลบุร้อกกลับมีท่าทีคัดค้านและบอกว่า   การปฏิเสธการมีมีอวัยวะของอัลเลาะฮ์ที่เหมือนกับมนุษย์นั้น  ไม่มีปัญหา  แต่การยืนยันว่าอัลเลาะฮ์มีอวัยวะโดยไม่เหมือนกับมัคโลคนั้น  ถือว่าถูกต้อง!  ดังนั้นการปฏิเสธการมีอวัยวะสำหรับอัลเลาะฮ์อย่างสิ้นเชิงนั้น   ถือว่าเป็นสิ่งที่เหลวไหล(บาฏิล)ตามทัศนะของอะกีดะฮ์วะฮาบีย์ที่ชัยค์อัลบุร้อก ได้นำเสนอไว้ในบรรทัดถัดมาของหน้าที่ 143 เดียวกันนี้

ดังนั้นหลักอะกีดะฮ์ของวะฮาบีย์ที่จำต้องเผยออกมาในแนวนี้  เพราะพวกเขามีหลักการที่ว่า  ซีฟัตของอัลเลาะฮ์นั้นต้องอธิบายตามหลัก(ฮะกีกัต)ความหมายคำแท้ของภาษาอาหรับ ที่ชัยค์อุษัยมีนและชัยค์เฟาซานเองก็ยืนยันหลักการนี้เอาไว้  จนกระทั่งชัยค์อุษัยมีนยืนยันว่าอัลเลาะฮ์มีรูปร่างจริงๆ  ซึ่งก็ไม่แปลกอะไรสำหรับอะกีดะฮ์ของวะฮาบียะฮ์  เพราะอุลามาอฺวะฮาบีบางคนบอกว่า อัลเลาะฮ์มีอวัยวะ  บางคนบอกว่ามีรูปร่าง  ที่บอกว่ามีรูปร่างก็เพราะว่าอัลเลาะฮ์มีอวัยวะนั่นเอง

12
 :salam:หลังจากวันที่อ.จ.ดีเบสวันนั้นผมไม่เห็นบังอีกเลย    คิดถึงอะ fouet:

หน้า: [1]