แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ubaid

หน้า: [1] 2
1
อยากเรียนถามว่ามันต่างกันตรงไหนหระว่าง

การกล่าวว่า

อัลลอฮฺทรงได้ยิน
มนุษย์ก็ได้ยิน
แต่การได้ยินของอัลลอฮฺนั้น ไม่เหมือนกับการได้ยินของมนุษย์

อัลลอฮฺมีพระหัตถ์
มนุษย์ก็มีมือ
แต่พระหัตถ์ของอัลลอฮฺนั้น ไม่เหมือนกับมือของมนุษย์

2
ท่านชัยค์เอง ก็ยืนยันในเรื่องการมี ทิศให้กับอัลเลาะฮ์
*******

คำว่า جهة   ณ ที่นี้ ท่านหมายถึง جهة العلو ใช่ไหมครับ ?
ประการต่อมาอยากจะถามเกี่ยวกับหนังสือ อัรร็อด อะลัซซะนาดีเกาะฮฺ วัลญะฮฺมียยะฮฺ ของอิหม่ามอะหฺมัด ว่าหนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือที่กุขึ้นหรือไม่ พร้อมหลักฐาน ?

---------------------------------------------------------
إثبات بلا تكييف
ผมพยายามจะเข้าใจในสิ่งที่ท่านนำเสนอ ซึ่งการถ่ายถอดเป็นภาษาไทยนั้นมันก็ยากในการจะเข้าใจ แต่สิ่งที่ผมเข้าใจจากสิ่งที่ท่านนำเสนอคือ
نفي التكييف لا يقتضي نفي حقيقة الكيفية ، بل فيه إشارة إلى إثبات الكيفية ولكن لا تدرك حقيقتها
ผมไม่ทราบว่านี้คือสิ่งที่ท่านพยายามจะอธิบายความหมายของท่านอิบนุตัยมียะฮฺใช่หรือไม่ ? ถ้าสิ่งที่ผมเข้าใจผิดก็ขอชี้แจงด้วยครับ

ประการต่อมา การกล่าวว่า
بلا تكييف
มันเหมือนกับคำพูดที่ว่า
كيفيته مجهولة
หรือไม่ ? เพราะคำนี้ มันก็แสดงให้เห็นว่า ไม่ได้ปฏิเสธกัยฟิยะฮฺ เหมือนกัน เพียงแต่ไม่รู้ว่า กัยฟิยะฮฺ เป็นอย่างไร ?

-------------------------------------------------------------
ประการที่สอง คือคำกล่าวของท่านชัยค์ อิบนุตัยมียะฮ์ที่ว่า ( بلا تمثيل ) คำว่า التمثيل หมายถึง "การเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์ในบรรดาคุณลักษณะ" คือท่านชัยค์อิบนุตัยมียะฮ์ ได้ปฏิเสธความหมายนี้ และการปฏิเสธความหมายนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องปฏิเสธความคล้ายคลึงของหนทางใดหนทางหนึ่งจากบรรดาหนทางต่าง ๆ โดยที่ท่านชัยค์อิบนุตัยมียะฮ์เอง ก็ไม่ได้ปฏิเสธการตัชบีฮ์ التشبيه (การคล้ายคลึง) และเมื่อมีคำพูดของท่านชัยค์อิบนุตัยมียะฮ์ระบุถึงการปฏิเสธ ตัชบีฮ์ (การคล้ายคลึง) นั่นย่อมหมายถึง "การคล้ายคลึงโดยสมบูรณ์แบบที่เท่าเทียมกับความเหมือนนั่นเอง"
ซึ่งผู้เจริญรอยตามท่านชัยค์อิบนุตัยมียะฮ์นี้ ก็ไม่ล่วงรู้ถึงหลักการของความแตกต่างระหว่าง การคล้ายคลึง ( التشبيه) กับ ความเหมือน ( التمثيل ) ตามทัศนะของท่านชัยค์อิบนุตัยมียะฮ์


*****
ตามความเข้าใจที่ท่านนำเสนอคือ ตามทัศนะของอิบนุตัยมียะฮฺและผู้เจริญรอยตาม คือ التمثيل   และ التشبيه   มีความหมายเหมือนกันใช่ไหม ?  และท่านมีหลักฐานอะไรที่คิดเป็นเช่นนั้น

3
หากเราอ่านหนังสือฟัตหุลบารีย์ เราจะพบว่า ท่านอิบนุหะญัรเอง ก็อ้างอิงการายงานของท่าน อัลลาละกาอีย์ บ้าง แต่ก็เรื่องปกติทั่วไป แต่เรื่องอากีดะฮ์นั้น ท่านอิบนุหะญัรไม่ทำการรายงานจากท่านอัลลาละกาอีย์ เนื่องจากหนังสือที่เกี่ยวกับอากีดะฮ์ของท่านอัลลาละกาอีย์ ไม่เป็นที่ยอมรับของนักปราชญ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์ นอกจากวะฮาบีย์ทำการฟื้นฟูมันขึ้นมาในปัจจุบันอีกครั้งหนึ่งเท่านั้นเอง
****
ขอหลักฐานและตัวอย่างที่ท่านอัลหาฟิซอ้างอิงการรายงานของอัลลาละกาอีย์ในเรื่องปกติทั่วไป

และหลักฐานที่ท่านอัลหาฟิซไม่รายงานจากท่านในเรื่องอากิดะฮฺ

ส่วนประเด็นการยอมรับของหนังสืออัลลาละกาอีย์ว่าไม่เป็นที่ยอมรับ ผมก็ขอหลักฐานจากอุละมาอฺรุ่นก่อนๆด้วยครับ

ผมว่าเราอย่ามามัวกล่าวหาเลยว่า นี้คือหนังสือของวะหะบีย์ เพราะมันไม่จบ เพราะอีกฝ่ายก็จะกล่าวอีกว่า นี้คือหนังสือของมุอฺตะซิละฮฺ ต่างคนต่างก็จะไม่ยอมรับในหนังสือของแต่ละฝ่าย

4
ผมไม่ค่อยแน่ใจในแหล่งอ้างอิงครับ ว่ามันถูต้องไหม ไงๆก็ช่วยตรวจสอบเพื่อผมจะได้มั่นใจหน่อยครับ คือ
1.   หนังสือ
إتقان الصنعة في تحقيق معنى البدعة للعلامة
ที่ผมรู้คือเป็นงานเขียนของเชคอับดุลลอฮฺ อัลฆุมารีย์ ไม่ใช่ของอัลอะฮฺดัล

2.   ส่วนหนังสือของอัลอะฮฺดัลที่พูดถึงเรื่องนี้ คือมีหนังสือเล่มที่ได้รวบรวมหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ (ตอนนี้จำชื่อไม่ได้ เดี๋ยวจะบอกที่หลัง)
และหนังสือนี้ ตะหิกีก โดย เชคอับดุลลอฮฺ อัลฆุมารีย์ ไม่ใช่ อัลดุลลอฮฺ อัลมินชาวีย์

5
ผมไม่ได้บอกแม้แต่นิดเลยอนุญาตให้เพิ่มเติ่มคำพูดของอุละมาอฺได้ เพียงแต่จะบอกว่าการผู้ที่เพิ่มเติ่มนั้น มันไม่จำเป็นว่าจะต้องทิ้งคำพูดของเขาเสียหมด นอกจากจะต้องมีหลักฐานว่าเขาเพิ่มจริงๆ

6
ผมว่า หลักการที่ชัดเจนที่สุดคือ

ถ้าไม่มีหลักฐานมาบ่งชี้ในการเพิ่มเติ่ม เราก็มิควรไปกล่าวหา และไม่ยอมรับเขา

อีกทั้งการจะกล่าวว่าใครผู้เป็นเรียกร้องสู่บิดอะฮฺ อันนี้มันมีตัววัดไม่ได้ เพราะบางคนก็บอกว่า เขาเป็นผู้บิดอะฮฺ บางคนก็บอกว่าไม่

ขอความช่วยเหลือจากพี่น้องว่า มีหนังสือเล่มใดบ้างที่กุขึ้นแล้วพาดพิงไปยังอุละมาอฺอย่างไม่เป็นธรรม พร้อมกับยกเหตุผลถึงความไม่ถูกต้อง

และหนังสือที่ผู้แต่งแต่งขึ้นจริง แต่เขาได้เปลี่ยนทัศนะจากสิ่งที่เขาแต่งแล้ว พร้อมกับยกหลักฐานมาเช่นเดิมครับ

เพราะผมก็เคยได้ฟังมาเหมือนกัน แต่ไม่เคยได้รู้หลักฐานที่แจ่มแจ้งเลยว่ามันมีหลักฐานอะไรบ้าง

ตั้งเป็นกระทู้เลยก็ได้ครับ

7
ผมคิดว่าคุณไม่น่าเอาจะเอาการรายงานของ ท่านอัลลาลิกาอีย์ที่รายงานแบบ วะญาดะฮ์ มาเทียบกับการรายงานของท่านอิบนุหะญัรจึงถึงอิมามอัลบาคอรีย์ ซึ่งจากการรายงานของท่านอิบนุหะญัรจนถึงซอฮิหฺท่านอัลบุคอรีย์นั้น มีสายรายงานที่สืบเนื่องจนถึงหนังสือซอฮิหฺอัลบุคคอรีย์

แต่ท่านอัลลาลิกาอีย์ ได้รายงานแบบวิญาดะฮ์ คือแค่ไปพบหนังสือเล่มหนึ่งที่เขาอ้างว่าเป็นของท่านอบูหาติม(ร.ฮ.) ซึ่งเป็นการรายงานที่ไม่ได้รับ อิญาซะฮ์ อนุญาติจากท่านอบูหาติม และหนังสือดังกล่าวของท่านอบูหาติมนั้น ได้ทำการยืนยันเพียงแค่ท่านอัลลาลิกาอีย์เท่านั้น ส่วนท่านอัซซะฮะบีย์ก็ตักลีดรายงานมาจากท่านอัลลาลิกาอีย์อีกครั้งหนึ่ง ในขณะที่ท่านอัซซะฮะบีย์อายุ 18 เท่านั้น แต่หลังจากที่ท่านอัซซะฮะบีย์ ได้รำเรียนความวิชาการเพิ่มและแกร่งกล้า ท่านก็ยกเลิกทัศนะของท่านจากหนังสือ อัลอุวู้ ที่ท่านได้เขียนไว้

ดังนั้น คุณจะเอากรณีของท่านอิบนุหะญัรกับท่านอัลลากิลาอีย์มาเทียบกันนั้น ผมคิดว่ามันไม่ตรงประเด็นและเทียบกันไม่ได้ตามหลักพิจารณาหะ
*************************
ที่ผมพยายามจะบอกคือ การรายงานของรายงานของอัลลาละกาอีย์ถึงท่านอบูหาติมนั้นไม่ใช่การรายงานแบบ อัลวิญาดะฮฺ แต่เป็นการรายงานที่มีสายรายงานถึงท่านอบูหาติม เหมือนกับที่อิบนุหะญัรรายงานจากท่านอัลบุคอรีย์
ท่านอัซซะหะบีย์กล่าวว่า
قال الحافظ أبو القاسم الطبري وجدت في كتاب أبي حاتم محمد بن إدريس بن المنذر الحنظلي -مما سمع منه- يقول
ดังจะเห็นได้จากประโยคที่ว่า
   
   -مما سمع منه
   
ซึ่งสิ่งที่เขา(อัลลาละกาอีย์)ได้ยินจากเขา(อบูหาติม) เราไม่อาจกล่าวได้ว่า อัลลาละกาอีย์ได้ยินจากอบูหาติม นอกจากเขาจะต้องรายงานจากอบูหาติม
นี้คือความเข้าใจของผม ในประโยคข้างต้น

อีกทั้งผมยังได้ยกคำกล่าวนั้นในหนังสือของอัลลาละกาอีย์อีก 3 ที่

8
คุณไม่สมควรกล่าวว่า ท่านอัซซะฮะบีย์นำมาอ้างในหนังสือของท่านโดยตรง เนื่องจากท่านอัซซะฮะบีย์ได้ทำการรายงานอ้างอิงมาจากหนังสือของท่านอัลลาละกาอีย์ ไม่ใช่ท่านอัซซะฮะบีย์รายงานมาจากท่านอบูหาติม เนื่องจากท่านอัซซะฮะบีย์ ในขณะที่อายุ 18 ปี ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลอุลูว์ ว่า

قال الحافظ أبو القاسم الطبرى : وجدت فى كتاب أبى حاتم

ซึ่ง อัลหาฟิซ อบู อัลกอซิม ก็คือ ท่านอัลลาละกาอีย์ "ดู หนังสือ มุกตะซ๊อร อัลอุลู้ว์ หน้า 206

ดังนั้น การอ้างว่าท่านอบูหาติมมีหนังสือเล่มนั้น เราจึงไม่ทราบท่านอบูหาติมมีหนังสือเล่มดังกล่าวและเป็นหนังสืออะไรกัน

คุณแน่ใจมากแค่ใหนว่า ท่าอัลลาละกาอีย์ ไม่ได้มีการเพิ่มเติมคำพูดของอุลามาอ์

แต่เมื่อผมได้ไปเปิดดูจากหนังสือ มุคตะซ๊อร อัลอุลุว์ ของท่านอัซซะบีย์ ที่ทำการย่อโดย ท่าน อัลบานีย์ หน้า 159 เราจะพบว่ามีข้อความที่แตกต่างกันดังนี้

نقل أبو القاسم هبة الله اللالكائي و والشيخ موفق الدين المقدسي وغيرهما بالإسناد عن أبي عبد الله بن ابي حنيفة الدبوسى سمعت محمد بن الحسن، يقول : اتفق الفقهاء كلهم من المشرق إلى المغرب على الإيمان بالقرآن والأحاديث التي جاء بها الثقات عن رسول الله صلى الله عليه وسلم في صفة الرب عز وجل من غير تفسير ولا وصف ولا تشبيه، فمن فسر شيئاً من ذلك فقد خرج عما كان عليه النبي صلى الله عليه وسلم وفارق الجماعة،( فإنهم لم ينفوا ولم يفسروا، ولكن آمنوا بما في الكتاب والسنة ثم سكتوا،
فمن قال بقول جهم فقد فارق الجماعة)؛ لأنه وصفه بصفة لا شيء

วิจารณ์

คำสิ่งที่ผมได้อ้างอิงไปนี้ จะพบว่ามีคำพูดที่ ท่านอัลบานีย์วงเล็บ(...) เอาไว้ คือคำว่า

( فإنهم لم ينفوا ولم يفسروا، ولكن آمنوا بما في الكتاب والسنة ثم سكتوا، فمن قال بقول جهم فقد فارق الجماعة)

และท่านอัลบานีย์ได้กล่าววิจารณ์มันเอาไว้ว่า

زيادة من اللالكائى

"(คำกล่าวนี้) เป็นการเพิ่มมาจากคำพูดของ อัลลาลิกาอีย์" ดู มุคตะซ๊อร อัลอุลุว์ ของท่านอัซซะบีย์ ที่ทำการย่อโดย ท่าน อัลบานีย์ หน้า 159

เมื่อเป็นเช่นนี้ คุณจะแน่ใจได้สักแค่ใหนว่า จะไม่มีการเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงคำกล่าวของอุลามาอ์ ท่านอัลอัลลาละกาอีย์ ยังเพิ่มเติมข้อความของอุลามาอ์ โดยเฉพาะการโจมตีพวก อัลญะฮ์มียะฮ์ ดังที่กล่าวมาข้างต้น
***********
ผมก็ไม่รู้ว่ามันผิดตรงไหนกับการกล่าวว่า อัซซะฮะบีย์ได้กล่าวอ้างไว้ในหนังสือของท่าน เพราะมันไม่ใช่เงือนไขว่า การจะกล่าวว่า ?อ้าง? นั้น เขาผู้นั้นจะต้องรายงานจากตัวผู้พูดจริงๆ เช่น เราพูดว่า อาจารย์อามีนอ้างหะดีษจากท่านนบี การกล่าวเช่นนี้ถูกต้องหรือไม่ แน่นอนมันถูกต้อง คงไม่มีใครปฏิเสธ ทั้งๆที่อ.อามีน ไม่ได้รายงานจากท่านนบีโดยตรง แต่อาจจะอ่านเจอในหนังสือของอัลบุคอรีย์
**************
ส่วนที่ว่า มีความแน่ใจแค่ไหนว่าอัลลาละการอีย์ ไม่ได้เพิ่มเติ่มคำพูดของอุละมาอฺ
ท่านครับเราคงไม่กล้าที่จะไปกล่าวบรรดาอุละมาอฺหรอกว่าเขาไปเสริมแต่ง
และท่านก็คงรู้กฎข้อหนึ่งอยู่ว่า
الأصل البراءة
ฐานเดิมของมนุษย์นั้นคือความบริสุทธิ์
ฉะนั้นเราจะไม่กล่าวว่ามุสลิมคนหนึ่งผิด นอกจากมันจะต้องมีหลักฐานบ่งชี้อย่างแน่ชัด

ส่วนข้อความที่ท่านยกมาเพื่อจะบอกว่ามีคำพูดที่อัลลาละกาอีย์เพิ่มเติ่มจากคำพูดของอุละมาอฺ  ประโยคที่ยกมานั้นถ้าอัลลาละอีย์เพิ่มเติ่มจริง ก็ไม่ใช่ว่า ท่านจะต้องเพิ่มเติมในส่วนอื่นๆด้วย เพราะถ้าเราคิดเช่นนั้นแล้ว ก็หมายความว่า หนังสือของท่านทั้งเล่มย่อมเป็นที่ครหา

และหากเราจะดูเรื่องเพิ่มเติม ในหะดีษของท่านนบีก็มีการเพิ่มเติ่ม หรือที่เรียกว่า อัลมุดร็อจญ์ ซึ่งการเพิ่มเติมนั้นอาจจะมีจุดประสงค์เพื่ออธิบายคำหรือประโยคในหะดีษเพื่อในชัดเจนยิ่งขึ้น และถ้าเราศึกษาเรื่องนี้ เราจะเห็นว่า มีบรรดาเศาะหาบะฮฺที่เพิ่มเติ่มจากคำพูดของท่านนบี(มุดร็อจญ์) ดังเช่นท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ ในหะดีษ
ويل للأعقاب
และก็มีบรรดาตาบิอีนที่มีการเพิ่มเติ่มเช่นท่านอัซซุฮฺรีย์
ที่นี้เรามาถามว่า หะดีษของท่านรายงานโดยอบูหุร็อยเราะฮฺและอัซซุฮฺรี สามารถใช้ได้ไหม แน่นอนใช้ได้
แล้วที่ว่า เขามีการเพิ่มเติมล่ะ
คำตอบคือ มันไม่ใช่ว่าท่านจะเพิ่มเติมทั้งหมดในหะดีษที่ทั้งสองรายงานนี้หน่า เราจะไม่กล่าวว่าเขาเพิ่มเติมนอกจากจะมีหลักฐาน และถ้าไม่มีหลักฐาน เราก็ไม่สามารถบอกได้ว่า ท่านเพิ่มเติม

และกรณีของอัลลลาะกาอีย์ ก็เช่นเดียวกัน

อีกทั้งการกล่าวแบบนี้มันจะทำให้หนังสือของอิสลามหลายๆเล่มมั่วหมองไป เพราะอาจจะมีบางคนกล่าวว่า ท่านแน่ใจหรือ ว่า ผู้แต่งไม่ได้เสริมจากคำพูดของอุละมาอฺที่เขาอ้างอิงมา???

9
ขอบคุณครับที่อุตาส่าห์หามาให้

ผมก็นึกว่านักปราชคนไหนกล่าวไว้

มันเป็นการเพียงพอแล้วหรือครับที่อ้างคำพูดจากคนไทยคนหนึ่ง แล้วบอกว่านี้คือทัศนะของวะหะบี เพราะพวกเขาเองก็มีอะไรอีกหลายๆปัญหาที่มีทัศนะที่แตกต่างกัน

อนึ่งการกล่าวว่า เขามีทัศนะเดียวกับผม อันนี้ผมว่า อย่าเพิ่งด่วนสรุปเลยดีกว่าครับ เรื่องฆออิบก็ปล่อยให้เป็นเรื่องฆออิบไป

ถ้าไง ถ้าได้จากอุละมาอฺระดับบิ๊กๆ กว่านี้ ผมว่าน่าจะดีกว่าน่ะครับ

ส่วนทัศนะที่ผมยึดคือ ตามที่ผมกล่าวมานั้นแหละครับ

10
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته

เช่นกันครับ

ก่อนอื่นผมอยากบอกว่า ผมรักคุณเพื่ออัลลอฮฺ
ได้มีรายงานจากท่านนบีว่า ท่านได้กล่าวว่า เมื่อท่านรักพี่น้องของท่าน ท่านก็จงบอกเขา ว่าท่านนั้นรักเขา

แต่สิ่งที่ผมอยากแนะนำคือ
การสนทนาไม่ควรใช้ถ้อยคำที่ดูแคลน ดูถูก และรุนแรง เพราะมันไม่มีประโยชน์อะไร เรื่องนี้ นักศึกษาย่อมรู้ดีทุกคน แต่บางคน(ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นใครจะวะหะบี หรือ ไม่วะหะบีย์) มักไม่ค่อยมีมารยาทในการสนทนาและแสดงทัศนะ
ความคิดที่แตกต่างไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่ที่ผิดและหะรอมคือความขัดแย้งความเป็นพี่น้อง

ผมบอกจากใจจริงว่า ผมชอบท่านในความอิริยะอุตสาหะ แต่ถ้าหากใช้ถ้อยคำที่นุ่มนวลก็จะเป็นการดีใหญ่ ถึงแม้ว่าฝ่ายตรงข้ามจะมาแบบรุนแรงก็ตาม
ادفع بالتي هي أحسن
ทั้งนี้ที่ชี้แนะมานี้ก็เพื่อตัวผมเองด้วย ถ้าผมหยาบคายประการใด ก็ขอมอัฟ ไว้ ณ ตรงนี้ด้วย

11
อ่อ หนังสืออัตตัดมุรียยะฮฺ มีเกือบ300 หน้าอ่ะครับ (รวมทั้งสารบัญ บทนำ ) แต่ที่ผมยกขึ้นมาหน้า 8 ก็เพื่อเอาข้อความที่เผ็นหลักฐานมาเท่านั้น

งั้นขอแรงพี่ๆ ช่วยวิจารณ์หนังสืออัตตัดมุรียยะฮฺหน่อยน่ะครับ ว่าคำพูดไหน ในหน้าไหน ที่เป็นแนวคิดของมุชับบิฮะฮฺ และ มุชัสสิมะฮฺ

เอาเป็นกระทู้ต่างหากก็ยิ่งดีครับ

12
คุณubaid..กล่าวว่า..

เพราะท่านนบีให้ปฏิบัติตามท่าน ไม่ใช่ให้ปฏิบัติตามมัซฮับใดมัซฮับหนึ่ง มัซฮํบใดพ้องกับซุนนะฮฺของท่านนบีในปัญหาหนึ่งๆ เราก็ปฏิบัติตามมัซฮับนั้น

--คุณubaid..กล่าวว่า.

ถ้างั้น บรรดามัสหับทั้งสี่ มีใครบ้างละครับ ที่ไม่ปฏิบัติตามกีตาบุลลอฮ์และซุนนะนะบี...และการที่เราตามมัสหับนั้น เราก็ตามเฉพาะการวินิจฉัย ปัญหาบางสิ่งบางอย่าง อย่างที่มันไม่มีจาก2สิ่งนี้เท่านั้น..และการอิติญาดนั้นมันก็สามารถกระทำได้เสมอ..และ 4มัสหับ ทั้ง4 ก็ไม่เคยบังคับให้ตามท่านเหล่านั้น เพราะ..รูกนอีหม่ามได้บอกไว้แล้วในข้อที่2และกาลีมะตุดตัยยีบะนั้นยังคงเข้าอยุ่ในเส้นประสาทของเราเสมอ..อัลลออ์เป็นเจ้า มูฮำมัดนั้นเป็นรอซุ้ลลุ้ลลออ์


..ฉนั้น คุณubaid..คงจะเปิดใจสิ่งที่เรานำมาบอกกล่าวบ้างงว่า เรานั้น ศรัทธาต่ออัลลออ์และร้อซุ้ลเสมอ และอย่าได้เอาพระองค์มาเทียบเคียงกับมัคโลคต่างๆ และอย่าได้เอาบรรดานบี มาเทียบเคียงกับมนุษย์ปถุชนธรรมดา ให้มัวหมองเลยครับคุณ..ubaid
*******************************************
ผมไม่ได้บอกว่ามัซฮับทั้ง4 ไม่ได้ตามอัลกุรอานและสุนนะฮฺ ทุกท่านยึดสายหลักนี้ เพราะใครก็ตามที่ไม่ยึดหลักนี้ ก็ไม่รู้ว่าเขาจะเรียกว่ามุสลิมได้ไง ทุกๆท่านตามหลักนี้ แต่การการวินิจฉัยและอิจติฮาดของแต่ละปัญหาอาจมีความแตกต่างกัน และในความแตกต่างนี้เราจะเลือกทัศนะไหน นั้นคือเราเลือกว่าทัศนะไหนที่มันใกล้เคียงกับซุนนะฮฺมากที่สุด ส่วนทัศนะไหนที่ใกล้เคียงกับซุนนะฮฺนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแต่ละคนไป ซึ่งใครจะเลือกทัศนะไหน ก็แล้วแต่การวินิจฉัยของเขาเอง ฉะนั้นที่เราตามก็คือ หลักฐานของอุละมาอฺที่เขายกมา ไม่ใช่ตามเพราะตัวบุคคล ท่านก็บอกแล้วว่าบรรดามัซฮับไม่ได้บังคับให้ตามท่าน ฉะนั้นในปัญหาหนึ่งเราจะตามมัซฮับหะนะฟีย์ และอีกปัญหาหนึ่งเราจะตามมาลิกีย์ ก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร หากที่เราตามเนื่องจากทัศนะของเขาเป็นทัศนะที่แข็งแรงในทัศนะของเรา และบางที่ทัศนะที่เราคิดว่าแข็งแรงอาจเป็นทัศนะที่อ่ออนในทัศนะของคนอื่น
และในหนังสือที่พวกท่านเรียกว่าวะหะบีจะมีกล่าวอยู่เสมอว่า ทัศนะของมัซฮับนี้ว่าอย่างนี้ มัซฮับนี้ว่าอย่างนี้ และทัศนะที่ถูกต้องคือทัศนะทัศนะนี้
ส่วนที่ว่าทำไมเขาจึงมักยกคำพูดของอิบนุตัยมียยะฮฺ อบนุก็อยยิม อันนี้ก็อาจเนื่องจากว่าทัศนะของท่านอาจจะเป็นทัศนะที่มีน้ำหนักมากกว่าในทัศนะของผู้ยกคำพูดมา ซึ่งทัศนะของทั้งสองส่วนมากก็จะมีอยู่ในทัศนะของมัซฮับทั้งสี่

13
เรื่องบิดอะฮ์ในเชิงหลักภาษานั้น เราไม่ได้มีปัญหาและไม่เคยปฏิเสธ เราจึงไม่ทราบว่าวะฮาบีย์ยกมาอ้างทำไมกัน ซึ่งเหมือนกับพยายามกล่าวหาแก่เราว่า เราไม่เชื่อหลักการดังกล่าวเสียอย่างนั้น ในเรื่องของการแบ่งแยกบิดอะฮ์นั้น มันอยู่ในประเด็นการวินิจฉัย ความแตกต่างต้องเกิดขึ้นอยู่ไม่ต้องสงสัย ทัศนะของนักปราชญ์ของเรานั้น แม้จะแตกต่างกันในการเรียกชื่อ แต่หลักการ , ความหมาย , และมีเป้าหมายเดียวกัน การเรียกชื่อศัพท์ย่อมไม่ใช่ปัญหาสำหรับนักปราชญ์ที่ว่า

لا مشاحة فى الإصطلاحات

"ไม่มีการขัดข้องในบรรดาการเรียกศัพท์"

แต่ปัญหาก็คือ วะฮาบีย์พยายามแอบอ้างทัศนะของอุลามาอ์ของเรา เพื่อสนองหลักการแบ่งบิดอะฮ์ของวะฮาบีย์ ไปเป็นบิดอะฮ์ดุนยา ด้วยการแอบอ้างการแบ่งแยกบิดอะฮ์ของอิมามชาฟิอีย์โดยอ้างอิงหลักฐานจากคำพูดของท่านอุมัร(ร.ฏ.)มาสนับสนุน และอ้างว่ามันเป็นบิดอะฮ์ดุนยา ซึ่งดังกล่าวนี้ ไม่มีนักปราชญ์ท่านใดอาจหาญกล่าวอ้างอย่างนั้น

และนักปราชญ์ที่วะฮาบีย์นำมาสนับในเรื่องแบ่งแยกบิดอะฮ์ตามทัศนะของวะฮาบีย์ ล้วนแต่มีทัศนะที่เป็นบิดอะฮ์ตามทัศนะของวะฮาบีย์แทบทั้งสิ้น เราจึงไม่ทราบว่าวะฮาบีย์จะอ้างหลักการแบ่งบิดอะฮ์ของตน เพื่อไปต่อต้านทัศนะที่นักปราชญ์เหล่านั้นที่วะฮาบีย์ชอบนำมาอ้างหรือเปล่า?

******************************************
ที่ผมยกมานั้นก็ไม่ใช่เพื่ออะไรหรอกครับ เพียงแต่จะบอกว่า ที่บรรดาอุละมาอฺแบ่งมานั้นเขาแบ่งตามความหมายในเชิงในภาษา ซึ่งจะเห็นได้จากตัวอย่างที่พวกท่านยกมา
ส่วนที่ว่า เขาแบ่งตามบิดอะฮฺดุนยา อันนี้ผมก็เคยจะเพิ่งได้ยิน
ขอความกรุณาว่าวะฮิหะบีย์ท่านไหนมีทัศนะเช่นนั้น ไม่ใช่ว่าเอาคำพูดของคนๆหนึ่งที่คิดว่าเขาเป็นวะฮฺหะบี แล้วเหมารวมว่า นี้คือทัศนะของวะฮฺหะบี

14
คุณ ubaid ครับ ผมไม่ทราบว่า สิ่งที่คุณอ้างมานั้น ไปก๊อบมาจากโกเกิ้ล หรือว่า ไปดูมาจากหนังสือต้นฉบับจริง ๆ
*****
ท่านครับผมว่าท่านอย่าเดาเลยดีกว่าครับ ผมพอจะมีจรรยาบรร   ผมไม่ได้ก็อปและไม่ได้แปลจากหนังสือหรือเว็ปไหนๆ เพราะการก็อปและการแปลจากเว็ปอื่นหรือหนังสืออื่นโดยไม่ได้ระบุว่าตัวเองแปลมา ถือว่าเป็นนักค้นคว้าที่ไม่มีอะมานะฮฺในการค้นคว้า
--------------------------------------------------------
เนื่องจากสิ่งที่คุณอ้างมานั้น มันไม่ตรงกับคำกล่าวกุและอ้างที่พาดพิงไปยังท่านอบูหาติม(ร.ฮ.) สิ่งที่คุณกล่าวอ้างมานั้น ถือว่าเป็นการกุและไส่ไคล้ท่านอบูหาติม หากเรากลับไปดูหนังสือ อัลอุลูว์ เราจะพบว่า ผู้ที่รายงานคำพูดของท่านอบูหาติมนั้น คือ อัลลาลิกาอีย์ ซึ่งในหนังสือ อัลอุลูว์ ดังกล่าว ได้ระบุผู้รายงานไว้ว่า

قال الحافظ أبو القاسم الطبرى : وجدت فى كتاب أبى حاتم ............... علامة الجهمية : أن يسموا أهل السنة مشبهة

1. อบูกอซิม ท่านนี้ คือ อัลลาลิกาอีย์ ซึ่งไม่เคยเจอกับท่านอบูหาติมและเขาไม่ได้รายงานจากท่านอบูหาติมโดยตรง ดังนั้น สายรายงานนี้ถือว่า ขาดตอน منقطع

2. อัลลาลิกาอีย์ อ้างว่าไปพบมาจากหนังสือของท่านอบูหาติม เราจึงไม่ทราบว่าไปพบมาจากหนังสือเล่มใหน ? แต่หากเป็นหนังสือ "อัรร๊อด อัลญะฮ์มียะฮ์" ย่อมไม่ใช่หนังสือของท่านอบูหาติมและท่านอบูหาติมก็ไม่ได้ประพันธ์หนังสือเล่มดังกล่าว
*****
มันจะไม่รุนแรงเกินไปหรือเปล่าหรือครับที่ว่าเป็นการกล่าวกุขึ้นมา คุณก็รู้อยู่ว่าคำพูดของอบูหาติมนั้นท่านอัซซะหะบีย์นำมาอ้างในหนังสือของท่าน และอัลลาละกาอีย์ก็นำมาอ้างในหนังสือของท่านเช่นกัน ดังนั้นถ้าผมจะกุขึ้นมา ผมก็คงจะกุตามอัซซะฮะบีและอัลละกาอีย์ ส่วนถ้าหากท่านเห็นว่าคำพูดดังกล่าวไม่ใช่คำพูดของท่านอบูหาติม ผมคิดว่าก็ไม่ควรที่จะกล่าวว่าเป็นการกุคำกล่าวขึ้น เพราะไงๆท่านอัซซะบีย์ก็นำมากล่าวอ้าง ถ้ามันเป็นการกุขึ้นมาแล้วไซร้ ก็เท่ากับว่าท่านอัซซะหะบีย์ร่วมกันเผยแพร่คำเท็จถึงท่านอบูหาติม หรือถ้าหากท่านเห็นว่าหนังสืออัลอุลูวฺเป็นหนังสือของพวกวะฮฺหะบีแต่งขึ้นมาแล้วพาดพิงว่าเป็นหนังสือของอัซซะหะบี อันนี้ก็คืออีกประเด็นหนึ่งต่างหาก
ที่นี้ลองมาดูคำพูดของอัซซะหะบีอย่างเต็มๆ ท่านอัซซะหะบีย์กล่าวในหนังสืออัลอุลูวฺว่า
قال الحافظ أبو القاسم الطبري وجدت في كتاب أبي حاتم محمد بن إدريس بن المنذر الحنظلي -مما سمع منه- يقول......
ท่านอัลหาฟิซอบุลกอซิมอัฏเฏาะบะรีย์ได้กล่าวว่า ฉันได้พบในหนังสือของท่านอบูหาติม มุหัมมัด อิบนุ อัลมุนซิร อัลหันเซาะลี ? ซึ่งสิ่งที่เขาได้ยินจากท่าน- ท่านได้กล่าวว่า
ตามความเข้าใจอันน้อยนิดของผม ผมเข้าใจว่าคำพูดที่ว่า ?ซึ่งสิ่งที่เขาได้ยินจากท่าน? เป็นญุมละฮฺ อิอฺติรอฎียยะฮฺ ที่กล่าวโดยอัซซะหะบีย์ ซึ่งมีความหมายว่า หนังสือของอบูหาติมที่ท่านอัลละกาอีย์พบนั้น ท่านได้ยินจากท่าน ...แล้วท่านจะได้ยินจากท่านอบูหาติมได้ไง ? มันไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่อุละมาอฺจะมีสายงานถึงเจ้าของหนังสือ อย่างกับที่ท่านอิบนุหะญัร ท่านก็มีสายรายงานของท่านถึงอิหม่ามอัลบุคอรีย์ในหนังเศาะหี้หของท่าน
ที่นี้ลองมาดูในหนังสือของอัลลาละกาอีย์เอง ท่านกล่าวว่า
      ذكره عبد الرحمن قال سمعت ابي يقول علامة الجهمية تسميتهم أهل السنة مشبهة
และท่านก็ได้อ้างคำพูดแบบนี้ถึงอุละมาอฺคนอื่นด้วยไม่ใช่เฉพาะอบูหาติม
ومن قال لفظي بالقرآن مخلوق فهو جهمي أو القرآن بلفظي مخلوق فهو جهمي قال أبو محمد وسمعت أبي يقول وعلامة أهل البدع الوقيعة في أهل الأثر وعلامة الزنادقة تسميتهم أهل السنة حشوية يريدون إبطال الآثار وعلامة الجهمية تسميتهم أهل السنة مشهبة

وكذلك قول الأوزاعي ايضا وعلامة أهل البدع الوقيعة في أهل الأثر وعلامة الجهمية أن يسموا أهل السنة مشبهة
นี้คือพยานหลักฐานต่างๆ ที่ผมสามารถหามาได้ ที่ยกมานี้ก็ไม่ใช่เพื่ออะไร เพียงแค่อยากให้ระมัดระวังในการใช้คำพูด

ส่วนที่ท่านไม่ยอมรับว่าหนังสือ อัรร็อด อะลัล ญะฮฺมียะฮฺ เป็นงานเขียนของอบูหาติม หากแต่มันเป็นหนังสือที่วะฮฺหะบีกุขึ้นลัวมาอ้างว่าอบูหาติมเป็นคนแต่ง????????
ไม่เฉพาะหนังสือเล่มนี้ แต่มีหนังสืออีกหลายๆเล่ม ที่เนื้อหาไม่ถูกเนื้อต้องใจกับทัศนะของตน ก็เลยกล่าวหาไปว่า เป็นหนังสือที่วะฮฺหะบีย์กุขึ้นมา งั้นผมขอคำชี้แจงและหลักฐานประเด็นนี้ด้วย
قل ها توا برهانكم إن كنتم صادقين

15
การที่อุละมาอฺแบ่งบิดอะฮฺออกเป็นสองหรือห้าประเภทนั้น พวกทางแบ่งในเชิงภาษาของคำว่าบิดอะฮฺ ดังที่ท่านอิบนุเราะญับ ได้กล่าวว่า
وأما ما وقع في كلام السلف من استحسان بعض البدع  فإنما ذلك في البدع اللغوية لا الشرعية
(( และส่วนคำพูดของสลัฟที่เห็นว่าบางบิดอะฮฺนั้นเป็นสิ่งที่ดี แท้จริงแล้วมันคือบิดอะฮฺเชิงภาษาไม่ใช่ทางศาสนะบัญญัติ ))
(ดู ญามิอุลูม วัลหิกัม หน้า 277)

ดังนั้นหะดีษของท่านนบีที่ว่า ทุกๆบิดอะฮฺคือสิ่งท่หลงผิด หมายถึง บิดอะฮฺตามความหมายของศาสนบัญญัติ ส่วนการแบ่งบิดอะฮฺออกเป็นประเภทต่างๆนั้น พวกท่านแบ่งตามความหมายเชิงภาษา

หน้า: [1] 2