เกี่ยวกับหะดีษจารียะฮ์นั้น เท่าที่ผมเคยอ่านบทความที่ชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยอุละมาอ์ฝ่ายอะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลจมาอะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์นั้น ก็สรุปในเบื้องต้นได้ว่า
(๑) สายรายงาน (สะนัด) ของหะดีษบทนี้อยู่ในสถานะ "เศาะหี้หฺ" (ถูกต้อง หรือเชื่อถือได้)
(๒) ตัวบท (มะตัน) ของหะดีษบทนี้กลับถูกตัดสินให้อยู่ในประเภท "ซฺอนน์" หมายถึง เกิดจากการคาดเดาเหตุการณ์ของตัวผู้รายงานหะดีษบทนี้เอง นั่นคือ ท่านมุอาวียะฮ์ บิน อัลหะกัม
(๓) ผู้รายงานหะดีษบทนี้ นั่นคือ ท่านมุอาวียะฮ์ บิน อัลหะกัม ณ ตอนที่ท่านรายงานหะดีษบทนี้นั้น เป็นที่ทราบว่าท่านยังไม่มีความลึกซึ้งในความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอิสลามดีพอ เนื่องจากท่านเพิ่งเข้าอิสลาม ซึ่งสังเกตได้จากการที่ท่านกล่าวรับคำจามในขณะละหมาด ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนเหตุการณ์การสนทนาระหว่างท่านนบีย์ ศ็อลฯ กับทาสหญิงเล็กน้อย ทั้งที่เรื่องนี้เป็นพื้นฐานที่ทุกคนจะทราบดีอยู่แล้ว แต่ท่านกลับไม่ทราบ
(๔) หะดีษจารียะฮ์นี้ถูกรายงานมาหลายกระแส ซึ่งทุกกระแสต่างก็เศาะหี้หฺทั้งหมด จุดที่น่าสังเกตก็คือ ช่วงท้ายของหะดีษนี้ที่ได้รายงานถึงบทสนทนาระหว่างท่านนบีย์ ศ็อลฯ กับทาสหญิง (จารียะฮ์) แต่ทว่าลักษณะของการสนทนาตามที่ปรากฏในแต่ละกระแสนั้นมีความแตกต่างกัน เช่น กระแสหนึ่งระบุว่าทั้งสองสนทนากันโดยใช้คำพูด ส่วนอีกกระแสหนึ่งรายงานว่า ท่านนบีย์ ศ็อลฯ ใช้สัญญาณมือแทนการสนทนา ส่วนฝ่ายทาสหญิงกลับใช้คำพูดในการสนทนา แต่อีกกระแสหนึ่งกลับรายงานตรงกันข้ามกันนี้ กล่าวคือ ท่านนบีย์ ศ็อลฯ ใช้คำพูดในการสนทนา ในขณะที่ทาสหญิงใช้สัญญาณมือแทนคำพูด ดังกล่าวนี้ ทำให้นักวิชาการหะดีษหลายท่านมีความเห็นว่า จำเป็นที่จะต้องเอาหะดีษทุกกระแสที่รายงานแตกต่างกันนั้นมารวมกันเพื่อหาข้อสรุป ซึ่งข้อสรุปที่ได้ก็คือ
(๔.๑) ทาสหญิงดังกล่าวนั้น แท้จริงแล้วนางเป็นคนใบ้ ดังนั้น การสนทนาระหว่างท่านนบีย์ ศ็อลฯ กับนางนั้นจะเป็นไปในลักษณะของการใช้สัญญาณมือระหว่างกัน
(๔.๒) ส่วนสำนวนคำพูดที่พาดพิงต่อท่านนบีย์ ศ็อลฯ และทาสหญิงตามที่ปรากฏในแต่ละกระแสนั้น ไม่ใช่คำพูดที่มาจากทั้งสอง แต่เป็นคำพูดของตัวผู้รายงานหะดีษนี้เอง นั่นคือ ท่านมุอาวียะฮ์ บิน อัลหะกัม ซึ่งเกิดจากการคาดเดาลักษณะการสนทนาระหว่างทั้งสอง จึงเข้าใจไปเองว่า ความหมายของการใช้สัญญาณมือระหว่างทั้งสองนั้นน่าจะหมายถึงอย่างที่ตนเข้าใจ
(๔.๓) เมื่อเป็นเช่นนี้ หะดีษบทนี้ จึงไม่สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานทางอะกีดะฮ์ได้เลย เพราะเรื่องอะกีดะฮ์นั้นนอกจากจะใช้หลักฐานที่เศาะหี้หฺแล้ว ตัวบทของหะดีษก็จะต้องมีสำนวนที่ชัดเจนและเด็ดขาด ต้องไม่คลุมเครือ หรืออยู่ในลักษณะคาดเดา (ซฺอนน์) เหตุการณ์เองอย่างในกรณีของหะดีษนี้
เกี่ยวกับรายละเอียดนั้น หากมีเวลาว่างพอ อินชาอัลลอฮฺ จะนำเสนอดูครับ ... วัลลอฮุอะอ์ลัม
อัลฮัมดุลิ้ลลาฮฺครับ ญาซากัลลอฮฺมากครับ ผมจะรอนะครับสำหรับรายอะเอียด อยากศึกษาให้ละเอียดอ่ะครับเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะจะได้บอกต่อคนที่มีความรู้น้อยเหมือนกับผมด้วยอ่ะครับ ญาซากัลลอฮฺมากนะครับ ส่วนฮาดิษที่ว่า ประชาชาติของฉันจะแตกออกเป็น 73 จำพวกนี่ตกลงฎออีฟเหมือนกานไหมครับ เพราะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กลุ่มต่างๆน่าจะแตกออกมากกว่านี้นะครับ ขอความรู้อีกทีนะครับ