แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - เมฆสีขาว

หน้า: [1]
1
หุก่มการขายบุหรี่(ยาสูบ)

คำถาม    การเปิดร้านขายบุหรี่ (ยาสูบ)นั้นอณุญาตหรือไม่ ?
ตอบ       การซื้อ ขาย ปลูก หรือเกี่ยวข้องกับบุหรี่(ยาสูบ)นั้นเป็นที่ต้องห้ามเนื่องจากบุหรี่นั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อีกทั้งเป็นการสิ้นเปลืองเงินทอง เป็นการใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย เอกองค์อัลลอฮฺ(ซุบฮานาฮูวาตาอาลา) ทรงตรัสไว้ว่า

وَكُلُوا وَاشْرَبُوا وَلَا تُسْرِفُوا إِنَّهُ لَا يُحِبُّ الْمُسْرِفِينَ
ความว่า  เเละจงกิน เเละจงดื่มเเละจงอย่าฟุ่มเฟือย เพราะเเท้จริงเเล้วพระองค์ ไม่ชอบบรรดาผู้ที่ฟุ่มเฟือย  (ซูเราะอัล อะร็อฟ โองการที่ 31 )

   เเละ ท่านศาสดามูฮัมหมัด ซอลลอลฮูอาลัยฮีวาซัลลัม ทรงกล่าวไว้ว่า

(لا ضرر ولا ضرار)

ความว่า อย่าทำอันตรายต่อตัวเองเเละบุคคลอื่น

     เเต่เรา (คนที่ฟัตวา) จะไม่ขอกล่าวว่า การห้ามการขายบุหรี่นั้นเหมือนกับการห้ามในเรื่องของสุรา เพราะสุรานั้นมีตัวบทจากกุรอ่าน เเละฮาดิษมาห้ามไว้อย่างชัดเจน ส่วนการห้ามเรื่องของบุหรี่นั้นได้มาจากการพยามค้นคว้า วินิจฉัยของบรรดาผู้รู้เท่านั้น

والله اعلم


อ้างอิง
مسائل فقهية معاصرة
ويليه فتاوى فقهية معاصرة
فضيلة الدكتور
عبدالملك بن عبدالرحمن السعدي
حكم بيع السجائر
صفحة  206

2
มีชายคนหนึ่ง ทำการละศีลอดในเดือนรอมฎอนเนื่องจากเขาไม่สบาย เเละในวันนั้นเขาทำการร่วมเพศกับภรรยาของเขา  อะไรคือฮุก่มชัรอี สำหรับชายดังกล่าว ?
ตอบ
สำหรับเขานั้นต้องถือศีลอดชดใช้ในวันดังกล่าวเเต่ไม่ต้องจ่ายกัฟฟาเราะ (กัฟฟาเราะฮฺนั้นให้ปล่อยทาส 1 คนที่เป็นมุสลิม ถ้าไม่มีทาสก็ให้ถือศีลอด 2 เดือนติดต่อกัน ถ้าไม่สามารถก็ให้เลี้ยงอาหารคนจน 60 คน )  เพราะว่าเขาได้ทำการละศีลอดเนื่องจากการป่วยของเขาก่อนการร่วมสังวาสกับภรรยาของเขา


วัลลอฮูอะลัม



อ้างอิง
الدين والحياء الفتاوى العصرية اليومية
تأليف
أ.د  علي جمعة
مفتي الديار المصرية
ص.55

3
  การถ่ายโอนเลือดระหว่างการถือศิลอด จะทำให้เสียศิลอดหรือไม่   ?
   ตอบ
        การถ่ายโอนเลือดนั้นไม่ทำให้เสียศีลอด ไม่ว่าจะเป็นการให้ หรือรับเลือด เพราะว่ามันอยู่ในหนทางอื่นจากสองทวาร (ทวารหนัก และทวารเบา)



วัลลอฮูอะลัม


อ้างอิง
الدين والحياء الفتاوى العصرية اليومية
تأليف
أ.د  علي جمعة
مفتي الديار المصرية
ص.55

5
ฮูก่มการเสริมสวยสำหรับผู้หญิง
คำถาม
     การเสริมสวยสำหรับผู้หญิงนั้น อิสลามอณุญาตหรือไม่ ?
ตอบ
     การเสริมสวยนั้นหากกระทำเพื่อสามีของนางเท่านั้น มันคือสิ่งที่ส่งเสริมให้กระทำ (สุนนะ) เเต่ด้วยกับเงื่อนไขที่ว่าช่างเสริมสวยนั้น ต้องเป็นผู้หญิงหรือว่านางเป็นคนทำเอง  ไม่อณุญาตให้เสริมสวยกับช่างที่เป็นผู้ชาย(ที่ไม่ใช่เป็นมะรอมของนาง)
เเละไม่อณุญาตให้ผู้หญิงทำการเสริมสวยเพื่อโชว์ ต่อหน้าบรรดาผู้ชายทั่วไป  ไม่ว่าจะเป็นพี่ชายของสามี หรือญาติๆของสามี หรือว่า สามีของพี่ หรือน้องสาวของนาง



วัลลอฮูอะลัม
والله اعلم



อ้างอิง
مسائل فقهية معاصرة
ويليه فتاوى فقهية معاصرة
فضيلة الدكتور
عبدالملك بن عبدالرحمن السعدي
صالون التجميل للسيدات
صفحة  230

6
ไม่อณุญาตให้ปฎิบัติละหมาดญุมอัต ตามเสียงวิทยุ
บทนำ
   
 
       การละหมาดยุมอัตโดยที่ไม่มีอีหม่าม ไม่มีคอเต็บ นั้นไม่เซาะห์ (เป็นโมฆะ) และถือว่าไม่เป็นการพอเพียง(ในการใช้ได้ของละหมาด)สำหรับเพียงแค่ การฟังคุตบะ เเละการเคลื่อนไหวของอีหม่ามผ่านทางวิทยุเเละ(เขาผู้ตามก็)ปฎิตามเสียงวิทยุนั้น

คำถาม

يوجد بالناحية جامع بدون إمام ولا مقرئ . فهل يجوز سماع القرآن والخطبة من جهاز الراديو وتكون الصلاة بعد الخطبة
 

      ณ มัสยิดเเห่งหนึ่งซึ่งไม่มีอีหม่าม และนักอ่าน (และไม่มีผู้ที่อ่านคุตบะฮฺ)  ดังนั้นเป็นที่อณุญาตหรือไม่ ที่จะฟังกุรอาน เเละคุตบะ (คำตักเตือน) ผ่านทางวิทยุ เเละทำการละหมาดญุมอัตหลังจากฟังคุตบะ(คำตักเตือน)นั้น ?

คำตอบ

       เเท้จริงได้มีรายงานจากฮาดิษของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล) ซึ่งรายงานโดยอีหม่ามบุคคอรีย์ ว่าแท้จริงท่านศาสดามูฮัมหมัด(ซ.ล)ทรงกล่าวไว้ความว่า

صلوا كما رأيتموني أصلي
''จงละหมาดเสมือนว่าเห็น(รู้ว่า)ฉันละหมาด''

      เเละท่านนบี(ซ.ล)ไม่เคยละหมาดยุมอัตนอกจากจะละหมาดเป็นยามาอะ(ละหมาดรวมกัน) เเละมีการอ่านสองคุตบะโดยมีการนั่งระหว่างสองคุตบะ  ดั่งที่ได้รายงานโดย บุคคอรีเเละมุสลิม  เเละด้วยเหตุนี้จึงมีมติ(อิจมาอฺ)จากปวงปราชญ์ว่า “การละหมาดญุมอัตนั้นไม่เซาะ(เป็นโมฆะ) นอกจากจะต้องทำเป็นญามาอะ  ดังเช่นที่ท่านอีหม่ามนาวาวีย์ได้ระบุไว้ ในหนังสือ “อัลมัญมัวะ” ของท่าน เเละ(สนับสนุนด้วย)คำกล่าวของท่าน อิบนู กูดามะ ในหนังสือ “อัลมุฆนี” ที่ว่า “เเท้จริงคุตบะนั้นเป็นเงื่อนไขหนึ่งของการละหมาดญุมอัต  การละหมาดญุมอัตนั้นจะเป็นโมฆะหากไร้ซึ่งคุตบะ(คำตักเตือน)  เเละนี่คือ  มติเอกฉันท์จากบรรดาอีหม่ามทั้งสี่มัซฮับ
      ดังนั้นการละหมาดญุมอัตของชุมชนที่ได้กล่าวมาข้างต้น ซึ่งไม่มีอีหม่าม เเละไม่มีคุตบะนั้นถือว่าไม่เซาะ (เป็นโมฆะ) เเละไม่ถือว่าเป็นการเพียงพอสำหรับพวกเขา ที่จะฟังคุตบะ (คำตักเตือน) เเละทำตามการเคลื่อนไหวของอีหม่ามจากในวิทยุ




والله اعلم





อ้างอิง
الفتاوى الاسلامية من دارالافتاء المصرية
المجلد الأول
صفحة ٨٥





7
:salam:
ลองฟังอีกทัศนะ (ของ อ.อาลี เสือสมิง) ครับ
http://alisuasaming.com/webboard/index.php?topic=629.0
ไม่จัดแหละดีที่สุด


myGreat: myGreat: myGreat: myGreat: myGreat: myGreat: myGreat: myGreat: myGreat: myGreat: myGreat:

8
การเฉลิมฉลองเนื่องในวันคล้ายวันเกิด

   ฮุก่มของการเฉลิมฉลองเพื่อการรำลึกถึงวันเกิดของลูกหรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดในครอบครัวคืออะไร ?

คำตอบ การเฉลิมฉลองเพื่อการรำลึกถึงวันเกิด นั้นไม่ใช่สุนนะ และก็ไม่ใช่บิดอะ มันเป็นเรื่องมูบะฮฺ(อณุญาติ)
     เรื่องการเฉลิมฉลองเนื่องในวันคล้ายวันเกิดของลูกๆนั้น มันเป็นประเพณีของคนทั่วไปที่เข้ามาในสังคมอิสลาม ที่ดีเลิศเราจงละทิ้งมัน และหากในนั้นมีการจุดเทียน ก็จะกลายเป็นว่าให้ความยิ่งใหญ่กับไฟ ซึ่งคล้ายกับพวกมะยูซียฺ (พวกบูชาไฟ)  แท้จริงมันเป็นการปฏิบัติตามกาเฟร ซึ่งถือว่าไม่อณุญาติ (ฮารอม)
      ส่วนการรำลึกถึงวันประสูติของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซอลลัลลอฮูอาลัยฮีวาซัลลัม)นั้นไม่เป็นไร เพราะการรำลึกถึงวันประสูติของท่านศาสดาในอิสลามนั้นมีรายงานมากมาย และกิจกรรมทั้งหมดในการรำลึกถึงวันประสูติของท่านศาสดานั้นมาจากบทบัญญัติแห่งอิสลาม ตราบใดที่ไม่มีสิ่งที่ชั่วร้ายปะปนอยู่  ด้วยเหตุนั้นแหละการรำลึกถึงวันประสูติของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซอลลัลลอฮูอาลัยฮีวาซัลลัม)นั้นจึงไม่ใช่การเฉลิมฉลอง(ที่เหมือนกับกาเฟร)


والله اعلم
party: party: party: party: party: party: party:

                                                                                                                                                 
อ้างอิง

مسائل فقهية معاصاةرة ويلية فتاوى فقهية معاصرة
فضلة الدكتور
عبدالملك عبدالرحمن السعدى
صفحة
278

9
การประกาศเเต่งงาน (การจัดงานแต่งงาน)
[/color]
   ฮุก่มการประกาศเเต่งงาน (การจัดงานเลี้ยง)คืออะไร  มีเงื่อนไขอะไรบ้าง

    ฮุก่มการประกาศเเต่งงาน (การจัดงานเเต่งงาน)
        การประกาศเเต่งงาน (การจัดงานเลี้ยง)นั้นส่งเสริมให้กระทำ เพื่อบอกกล่าวถึงเนี๊ยะมัต(ความโปรดปราน)ของเอกองค์อัลลอฮฺ ผู้ทรงสูงส่ง เเละเพื่อให้เป็นที่รู้กันโดยทั่วไป เพื่อหลีกเลี่ยงการเเต่งงานเเบบลับๆ

    เงื่อนไขการประกาศเเต่งงาน (การจัดงานแต่งงาน)
        การประกาศเเต่งงาน (การจัดงานเลี้ยง) นั้นจะต้องอยู่ในขอบข่ายที่เอกองค์อัลลอฮฺทรงอณุญาติ ดังนั้นการเเต่งงานนั้นใช้ไม่ได้ (ไม่เซาะห์) หากมีสิ่งที่เอกองค์อัลลอฮฺทรงห้ามไว้ เช่น มีการดื่มสิ่งมึนเมา มีการปะปนกันระหว่างชายหญิง เเละอื่นๆ  (ดูใน  الفقه السنة ج ٢ صفحة ٤٩٠ )

   หลักฐานที่ส่งเสริมให้ประกาศเเต่งงาน (การจัดงานแต่งงาน)
 
قول النبي صلى الله عليه وسلم : اشيدوا النكاح وأعلنوه اي أظهروا النكاح وأشهره ولاتخفوه 

ท่านนบี(ซ.ล.)ทรงกล่าวไว้ ความว่า จงทำให้มีความชัดเจนในการเเต่งงาน เเละ จงประะกาศมัน เเละ อย่าปิดบังมันไว้



จากหนังสือ :
المرشد في الفقه لدارس المواد الشرعية في المراحل التعليمية المختلفة  المرحلة الثنوية
للصف الثالث الثنوى الأزهرى
للقسمين العلمى والأدبى
اعداد ومراجعة
أ / عادل أحمد محمود شحاتة
الموضوع :16
إعلان الزواج
[/size]

10
หากมีรุคเซาะ (ข้อผ่อนผันที่อณุญาติ)ให้ทำการละศิลอดนั้น  การถือศิลอดหรือว่าจะทำการละศิลอด อย่างไหนดีกว่ากัน?

แท้จริงได้มีการขัดแย้งกันระหว่างปวงปราชญ์ในเรื่องการศิลอดในสภาวะที่มีข้อผ่อนผันให้

   มัซฮับฮานาฟี ชาฟีอี และมาลิกี :มีความเห็นว่าแท้จริงการถือศิลอดนั้นดีกว่าสำหรับผู้ที่มีความสามารถ และหากใครที่อ่อนแอ(ไม่สามารถถือศิลอด)ได้นั้น  สำหรับเขาการละศิลอดนั้นประเสริฐกว่า

จากความเห็นที่ว่าแท้จริงการถือศิลอดนั้นดีกว่าสำหรับผู้ที่มีความสามารถ โดยพวกเขาใช้หลักฐาน จากอัลกุรอ่านที่ว่า




ความว่า : (คือถูกกำหนดให้ถือ) ในบรรดาวันที่ถูกนับไว้แล้วผู้ใดในพวกเจ้าป่วยหรืออยู่ในการเดินทางก็ให้ถือใช้ในวันอื่น และหน้าที่ของบรรดาผู้ที่ถือศีลอดด้วยความลำบากยิ่ง (โดยที่เขาได้งดเว้นการถือ) นั้น คือการชดเชยอันได้แก่การให้อาหาร(มื้อหนึ่ง)แก่คนมิสกีนคนหนึ่ง (ต่อการงดเว้นจาการถือหนึ่งวัน) แต่ผู้กระทำความดีโดยสมัครใจ มันก็เป็นความดีแก่เขา และการที่พวกเจ้าจะถือศีลอดนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ดียิ่งกว่าพวกเจ้า หากพวกเจ้ารู้

และจากความเห็นที่ว่าหากใครที่ไม่สามารถถือศิลอดต่อได้นั้น  การละศิลอดนั้นย่อมดีเลิศกว่า โดยพวกเขาใช้หลักฐานที่ว่า



    ความว่า   เดือนรอมฏอนนั้น เป็นเดือนที่อัลกรุ-อานได้ถูกประทานลงมาในฐานะเป็นข้อแนะนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้น และเกี่ยวกับสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จดังนั้นผู้ใดในหมูพวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้น และผู้ใดป่วย หรืออยู่ในการเดินทาง ก็จงถือใช้ในวันอื่นแทน อัลลอฮ์ทรงประสงค์ให้มีความสะดวกแก่พวกเจ้า และไม่ทรงให้มีความลำบากแก่พวกเจ้าและเพื่อที่พวกเจ้าจะได้ให้ครบถ้วน ซึ่งจำนวนวัน(ของเดือนรอมฏอน) และเพื่อพวกเจ้าจะได้ให้ความเกรียงไกรแด่อัลลอฮ์ในสิ่งที่พระองค์ทรงแนะนำแก่พวกเจ้า และเพื่อพวกเจ้าจะขอบคุณ

มัซฮับฮัมบาลี มีความเห็นว่า : การละศิลอดนั้นดีเลิศกว่าเนื่องจากเป็นการเอาข้อผ่อนผันที่ศาสนากำหนดไว้ แท้จริงอัลลอฮ ตาอาลานั้นทรงรักที่จะให้มีบรรดาข้อผ่อนปรนทั้งหลาย เสมือนกับที่พระองค์ทรงรักกับการให้มีบรรดาข้อกำหนดที่เข้มงวด

และท่านอุมัร บิน อับดุลอาซีซ รอดิยัลลอฮูอันฮู : มีความเห็นว่าสิ่งที่ประเสริฐสำหรับทั้งสองนั้นคือสิ่งง่ายที่สุดสำหรับมนุษย์

ทัศนะที่มีน้ำหนักที่สุด : คือทัศนะส่วนใหญ่ของปวงปราชญ์เพราะมีหลักฐานที่แข็งแรง วัลลอฮูอะลัม

ดูเพิ่มเติม : روائع البيان تفسير آيات الأحكام للشيخ محمد علي الصابوني 1/207

*ดังนั้นหากเราเดินทาง หรือป่วย หากว่าไม่เป็นการลำบากหรือสร้างความเดือดร้อนแก่เราก็ควรที่จะถือศิลอดดีกว่า



หน้า: [1]