แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - jalan bahagia

หน้า: [1]
1
                                    หูกุมสินค้าก่อนที่จะรับมอบกัน และวิธีการในการรับมอบสินค้า

      สินค้าก่อนที่จะส่งมอบกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายนั้น ถือว่ายังอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ขาย กล่าวคือ ถ้าหากว่าสินค้าเกิดเสียหายเอง หรือผู้ขายทำให้สินค้าเสียหาย หรือมีคนที่สาม มาทำให้สินค้าเสียหาย การค้าในครั้งนั้นถือว่าโมฆะยุติลงทันที
     และจะถือว่าผู้ซื้อยังมีสิทธิ์เลือก(ระหว่างจะซื้อหรือจะยกเลิก) ในกรณีที่สินค้าเกิดมีข้อตำหนิ(อัยบ์) หรือผู้ขายทำให้เกินข้อตำหนิ หรือมีคนที่สามมาทำให้สินค้าเกิดมีข้อตำหนิก่อนที่จะมีการส่งมอบสินค้ากันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
     ส่วนกรณีผู้ซื้อทำให้สินค้าเสียหายก่อนที่จะรับมอบนั้น ถือว่าเป็นการรับสินค้านั้นแล้ว กล่าวคือ สินค้านั้นไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ขายอีกต่อไป ถึงแม้นว่าผู้ซื้อจะไม่รู้ว่าสิ่งที่เขาทำให้เสียหายนั้น เป็นสินค้าที่ทำสัญญาซื้อขายกันระหว่างเขากับผู้ขายก็ตาม ก็ถือว่าความรับผิดชอบจะไม่ตกอยู่กับผู้ขาย
     การที่ผู้ซื้อเข้าไปบริหารจัดการกับสินค้าที่ทำสัญญาซื้อขายกันแล้วแต่ยังไม่ได้รับมอบสินค้ากัน เช่น ขาย หรือ ซอดาเกาะห์ หรือเช่า หรือจำนำ ถือว่าโมฆะ เพราะว่าผู้ซื้อยังไม่ได้ครอบครองสินค้าอย่างสมบูรณ์แบบ อันเนื่องมาจากว่าการซื้อขายขายในครั้งนั้นจะยุติลงถ้าหากสินค้าเกิดเสียหาย

                                   ส่วนวิธีการรับมอบสินค้านั้น แยกออกเป็น ๒ กรณีด้วยกัน คือ
     ๑ สินค้าที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ (ฆัยรุมันกูล) เช่นบ้าน พื้นดิน ต้นไม้  การส่งมอบสินค้าในรูปแบบดังกล่าว ก็คือให้ผู้ขายมอบอำนาจให้ผู้ซื้อเข้าไปครอบครอง พร้อมกับมอบกุญแจให้ผู้ซื้อ และจัดการขนย้ายสัมภาระของตัวเองออกจากพื้นที่ดังกล่าว
     ๒ สินค้าที่สามารถเคลื่อนย้ายได้(มันกูล) เช่นเรือ สัตว์ และอื่นๆ  การส่งมอบสินค้าในรูปแบบนี้ก็คือให้เลื่อนจากสถานที่หนึ่งไปสู่อีกสถานที่หนึ่ง  ส่วนกรณีเรือที่ไม่สามารถเลื่อนได้ ก็ใช้หูกุมเดียวกับกรณีสินค้าที่เลื่อนไม่ได้

     และจะถือว่าเป็นการส่งมอบแล้ว โดยที่ผู้ขายได้เอาสินค้านั้นวางให้ผู้ซื้อใกล้ๆ ประมานว่าถ้าหากผู้ซื้อยื่นมือไปก็สามารถที่จะยิบฉวยสินค้านั้นได้ถึง

     ที่กล่าวมานั้นในกรณีสินค้าอยู่ ณ.สถานที่บริเวรที่ทำสัญญาซื้อขายกัน แต่ถ้าหากว่าสินค้าอยู่ไกล การส่งมอบนั้น ก็คือต้องให้ผ่านระยะเวลาช่วงหนึ่งไป ซึ้งผู้ซื้อสามารถที่จะเดินทางไปรับสินค้านั้นได้ในช่วงเวลาดังกล่าว (ตามเวลาปกติทั่วไป) เมื่อผ่านเวลานั้นไป ก็ถือว่าการส่งมอบสินค้านั้นได้เกิดขึ้นแล้ว 


    ดู  หาชียะตุ อิอานะตุฎฎอลิบีน เล่ม ๓ หน้า ๓๗  –  ๓๙ ...ประพันธ์โดยท่าน ซัยยิด อบีบักร ถูกกล่าวขานเลื่องลือในนาม อัซซัยยิด อัลบักรีย์ บุตรของ อัซซัยยิดมุฮัมมัด ชาฎอ อัดดุมยาฎีย์ อัลมีซรีย์ 

2
                                คนกาเฟรอาบน้ำให้ศพมุสลิมใช้ได้หรือไม่ ?

    การอาบน้ำศพ(มัยยิด)นั้น ถือว่าเป็นฟัรดูกีฟายะห์ จำเป็นจะต้องมีคนๆหนึ่งจากชนกลุ่มนั้นปฎิบัติ เพื่อที่จะให้ปล่อยจากหูกุมวายิบดั่งกล่าว  ถึงแม้นว่าศพนั้นจะตายในสภาพจมน้ำก็ตาม ก็จำเป็นจะต้องทำการอาบน้ำศพเช่นกัน  หรือว่ามีใครสักคนเห็นว่ามีมาลาอิกะห์มาอาบน้ำให้ศพดังกล่าว ก็ถือว่ายังไม่ปล่อยฟัรดู กล่าวคือจำเป็นจะต้องอาบน้ำให้ศพนั้นใหม่

   แต่ถ้าหากว่าผู้ที่อาบน้ำให้ศพเป็นญิน ปัญหานี้นักวิชาการมีความเห็นต่างกัน สองทัศนะ คือ
      ท่าน อิบนุ หาญัร อัลหัยตะมีย์ มีความเห็นว่า ใช้ไม่ได้
      แต่ท่าน เชค รอมลีย์ มีความเห็นว่า ใช้ได้ และท่านเชคอิบนุกอเซ็ม อัลอุบบาดีย์ ก็กล่าวเช่นนี้ด้วย

   ส่วนประเด็นคนกาเฟรอาบน้ำศพมุสลิมนั้นถือว่าใช้ได้ ถ้าหากกาเฟรดังกล่าวได้อาบน้ำให้ศพอย่างถูกต้อง(ระดับขั้นต่ำๆคือ อาบให้ทั่วร่างกาย)เพราะเป้าหมาย(คือการทำความสะอาด)ได้เกิดขึ้นแล้วด้วยกับการกระทำของคนกาเฟร ถึงแม้นว่าคนกาเฟรจะไม่มีคุณสมบัติต่อการเนียตก็ตาม เพราะการเนียตของผู้อาบน้ำศพนั้น ไม่ได้เป็นเงื่อนไขแต่อย่างใด ตามทัศนะที่มีน้ำหนักที่สุด


 อ้างอิง หาชียะตุ อิอานะตุฎฎอลิบีน เล่ม 2 หน้า 108 -109 ...ประพันธ์โดยท่าน ซัยยิด อบีบักร ถูกกล่าวขานเลื่องลือในนาม อัซซัยยิด อัลบักรีย์ บุตรของ อัซซัยยิดมุฮัมมัด ชาฎอ อัดดุมยาฎีย์ อัลมีซรีย์

3
                                        เงื่อนไขต่างๆที่เกิดขึ้นในการทำสัญญาเป็นหนี้

    การให้คนอื่นเป็นหนี้นั้นถือว่าเป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน โดยที่ไม่คิดจะเอากำไรทางด้านทรัพย์สินจากลูกหนี้ เพราะเป้าหมายหลักในเรื่องนี้คือการช่วยเหลือต่อผู้ที่ตกยากลำบากและเพื่อหวังในผลบุญจากอัลลอฮฺ

รายงานจากท่านอบู ฮุรอยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

مَنْ نَفَّسَ عَنْ مُؤْمِنٍ كُرْبَةً مِنْ كُرَبِ الدُّنْيَا نَفَّسَ الله عَنْـهُ كُرْبَةً مِنْ كُرَبِ يَومِ القِيَامَةِ، وَمَنْ يَسَّرَ عَلَى مُعْسِرٍ يَسَّرَ الله عَلَيْـهِ فِي الدُّنْيَا وَالآخِرَةِ، وَمَنْ سَتَرَ مُسْلِـماً سَتَرَهُ الله فِي الدُّنْيَا وَالآخِرَةِ، وَالله فِي عَوْنِ العَبْدِ مَا كَانَ العَبْدُ فِي عَوْنِ أَخِيْـهِ». أخرجه مسلم.

   ความว่า “ผู้ใดที่ทำให้มุอ์มินท่านหนึ่งพ้นจากความยากลำบากหนึ่งในโลกนี้ อัลลอฮฺจะช่วยให้เขาพ้นความลำบากหนึ่งในวันกิยามะฮฺ และผู้ใดให้ความสะดวกแก่ผู้ที่ลำบาก อัลลอฮฺจะให้เกิดความง่ายแก่เขาในโลกนี้และโลกหน้า และผู้ใดที่ปกปิด(สิ่งที่น่าอับอาย)ของมุสลิมคนหนึ่ง อัลลอฮฺก็จะทรงปกปิดความน่าอับอายของเขาในโลกนี้และโลกหน้า และอัลลอฮฺจะคอยช่วยเหลือบ่าวคนหนึ่งตราบที่เขาช่วยเหลือเพื่อนของเขา” (บันทึกโดยมุสลิม 2699)

    การวางเงื่อนไขในการทำสัญญาเป็นหนี้นั้นมีอยู่ สามรูปแบบด้วยกัน

( ๑ ) ถ้าหากวางเงื่อนไขขึ้นมาเพื่อดึงผลประโยชน์ไปสู่เจ้าหนี้ ถือว่าการวางเงื่อนไขและการทำสัญญาการเป็นหนี้กันนั้น(ฟาซิด) โมฆะ
( ๒ ) ถ้าหากวางเงื่อนไขขึ้นมาเพื่อดึงผลประโยชน์ไปสู่ลูกหนี้ ถือว่าการวางเงื่อนไขนั้นเป็นโมฆะ(ฟาซิด) กล่าวคือ มีเงื่อนไขก็เหมือนกับไม่มี แต่ไม่ได้ทำให้สัญญาเป็นหนี้โมฆะแต่อย่างได กล่าวคือ สัญญาเป็นหนี้ยังคงดำเนินต่อไปได้
( ๓ ) ถ้าหากวางเงื่อนไขขึ้นมาเพื่อเพื่อต้องการผูกมัดและสร้างความกระชับและมั่นคงในการเป็นหนี้กัน เช่น วางเงื่อนไขว่าจะต้องนำสิ่งตั้งไว้ซึ่งอยุ่ในรูปแบบของการจำนำ หรือให้มีใครมาค้ำประกันให้ การวางเงื่อนไขในรูปแบบนี้ถือว่า(ซอเฮี๊ยะ)ไช้ได้

อ้างอิง หาชียะตุ อิอานะตุฎฎอลิบีน เล่ม ๓ หน้า ๕๔ ...ประพันธ์โดยท่าน ซัยยิด อบีบักร ถูกกล่าวขานเลื่องลือในนาม อัซซัยยิด อัลบักรีย์ บุตรของ อัซซัยยิดมุฮัมมัด ชาฎอ อัดดุมยาฎีย์ อัลมีซรีย์

4
         
بسم الله الرحمن الرحيم الحمد لله وأفضل الصلاة وأتم التسليم على سيدنا محمد وعلى آله الطيبين وصحبه الغر المحجلين ومن والاهم واتبع هداهم إلى يوم الدين وبعد:

        ท่าน อิหม่าม ฆอซาลีย์ (เราะฮิมาฮุลลอฮ์) เคยถูกถาม เกี่ยวกับเรื่องการนินทาคนกาเฟร ท่านตอบว่า สาเหตุที่เขาให้หลีกเลี่ยงจากการนินทา ระหว่างมุสลิมต่อมุสลิมนั้น ก็เพราะเหตุผล ๓ ประการด้วยกันคือ

๑ สร้างความเจ็บใจ(อัลอีซาอ์)
๒ ตัดสินว่าบกพร่องในสิ่งที่ พระองค์อัลเลาะห์ ทรงสร้าง
๓ ไช้เวลาให้สูญเปล่าในสิ่งที่ไร้สาระ

          ดังนั้นถ้ากาเฟรดังกล่าว เป็นกาเฟร ซิมมีย์ ( คือกาเฟรที่ยอมปฎิบัติตามกฎของบ้านเมืองอิสลาม ) ก็เช่นเดียวกับคนมุสลิม ในด้าน ห้ามสร้างความเจ็บใจต่อพวกเขา เพราะศาสนารักษาเลือดเนื้อ-เกียรติ-และทรัพสินของพวกเขา
          ท่าน อิหม่าม อัซซัรกาชีย์ กล่าวว่า เหตุผลข้อแรก( คือห้ามสร้างความเจ็บใจต่อกาเฟรที่ยอมปฎิบัติตามกฎของของบ้านเมืองอิสลาม )นั้นถูกต้อง เพราะท่านนบี(ซ,ล.) กล่าวว่า
                                 ใครก็ตาม พูดสิ่งที่สร้างความเจ็บใจแก่ ยาฮูดี และ นัศรอนีย์ เขาจะเข้านรก

          จาก ฮาดิษนี้ถือได้ว่าห้ามสร้างความเจ็บใจต่อกาเฟรที่ยอมปฎิบัติตามกฎของบ้านเมืองอิสลาม  เพราะข้อบ่งชี้ว่าฮารอมนั้นชัดเจน
แต่ถ้าเป็นกาเฟร หัรบีย์ (คือกาเฟรที่ต่อต้านและทำลายอิสลาม)การนินทาพวกเขานั้นไม่เป็นสิ่งต้องห้าม เพียงเพราะเหตุผลข้อแรก คือ สร้างความเจ็บใจ(อัลอีซาอ์) )เพราะการสร้างความเจ็บใจต่อพวกเขานั้นไม่ฮารอม แต่การนินทาพวกเขาถือว่ามักรูฮ์ เพราะเหตุผลข้อสองและข้อสามคือ(ตัดสินว่าบกพร่องในสิ่งที่ พระองค์อัลเลาะห์ ทรงสร้าง และใช้เวลาให้สูญเปล่าในสิ่งที่ไร้สาระ ) ดังนั้นการหลีกเลี่ยงจากการนินทา ถือว่าเป็นแนวทางที่ดีที่สุด
         สำหรับผู้ที่กระทำสิ่งที่เป็นบิดอะห์ ถ้าหากสิ่งบิดอะห์นั้นทำให้เขาต้องตกศาสนา การนินทาเขาก็เหมือนกับการนินทากาเฟรหัรบีย์(ฮูกุมเดียวกัน) แต่ถ้าหากว่าการกระทำบิดอะห์ของเขานั้นไม่ถึงขั้นตกศาสนา การนินทาเขาก็เหมือนกับการนินทามุสลิมด้วยกัน(คือหารอม) แต่ว่าการนำเอาสิ่งบิดอะห์ที่เขากระทำนั้นมาพูดมากล่าว ถือว่าอนุญาต ไม่มักรูฮ์แต่อย่างใด

อ้างอิง  หนังสือ ซิรอญุฎฎอลิบีน ชัรหุมินหาญุลอาบิดีนอิลาญันนะติรอบบิลอาละมีน เล่มที่๑ หน้าที่ ๒๘๐ ถึง ๒๘๑ แต่งโดย ชัยค์ อิห์ซาน มุฮัมหมัด ดาฮ์ลาน
[/size]
[/size]

5
                             نظر الرجل إلى المرأة على سبعة أضرب

                                           أحدها:  نظره إلى أجنبية لغير حاجة، فغير جائز

                والثاني:  نظره إلى زوجته أ و أمته، فيجوز أن ينظر إلى ما عدا الفرج منهما

     والثالث: نظره إلى ذوات محارمه، أو أمته المزوجة فيجوز فيما عدا ما بين السرة والركبة

                                     والرابع: النظر لأجل النكاح، فيجوز إلى الوجه والكفين

                               والخامس: النظر للمداواة، فيجوز إلى المواضع التييحتاج إليها

                        والسادس: النظر للشهادة أو للمعاملة، فيجوز النظر إلى الوجه خاصة

            والسابع: النظر إلى الأمة عند ابتياعها، فيجوز إلى المواضع التى يحتاج إلى تقليبها


                  ผู้ชายมองผู้หญิงมีเจ็ดรูปแบบด้วยกัน คือ

๑  ผู้ชายมองผู้หญิงที่ไม่ใช่ภรรยาและไม่ใช่ญาติที่ห้ามแต่งงาน   กัน โดยไม่มีเหตุจำเป็น ถือว่าไม่อนุญาต
๒ ผู้ชายมองภรรยา หรือทาสหญิงของตัวเอง  อนุญาตให้มองได้ทุกส่วน ยกเว้นอวัยวะเพศ
๓ ผู้ชายมองผู้หญิงที่ห้ามแต่งงานกัน(มะหาริม) หรือทาสหญิงที่แต่งงานแล้ว ถือว่าอนุญาตให้มองได้ อื่นจากบริเวรที่อยุ่ระหว่างสะดือและหัวเข่า
๔ ผู้ชายมองผู้หญิงเพื่อที่จะแต่งงานกับนาง อนุญาตให้มองได้เฉพาะใบหน้าและฝ่ามือ
๕ มองเพื่อต้องการจะรักษาโรค ถือว่าอนุญาตให้มองได้เฉพาะสถานที่ ที่จำเป็นเท่านั้น
๖ มองเพื่อเป็นพยานหรือทำกิจการร่วมกัน ถือว่าอนุญาตให้มองได้เฉพาะในหน้าเท่านั้น 
๗ มองทาสหญิงในขณะที่ต้องการจะซื้อนาง ถือว่าอนุญาตให้มองได้ ส่วนต่างๆที่ต้องการแก่การพิสูท อื่นจากบริเวรระหว่างสะดือและหัวเข่า

      อ้างอิง   กิฟายะตุ้ล อัคญาร ฟีหิลลิ ฆอยะติล อิคติซอร หน้า ๖๓ –  ๗๒ แต่งโดย ตะกียุดดีด อัลหุซนีย์ อัชชาฟีอีย์
 



6

 
ห้ามเด็กๆอย่าให้ออกไปเล่นนอกบ้านตอนหัวค่ำ

            ใครหลายๆคนตอนเป็นเด็กอาจจะเคยโดนพ่อแม่ห้ามไม่ให้ออกไปเล่นตอนหัวค่ำ แต่อันเนื่องมาจากความเป็นเด็กเลยไม่ได้รับรู้ถึงสาเหตุของเรื่องดังกล่าว แต่จริงๆแล้วเรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่อิสลามส่งเสริมให้ผู้ปกครองกระทำดังกล่าว  มีปรากฏในหนังสืออัสนัลมาฎอลิบฟีชัรฮิเราฎอติฎฎอลิบ และหนังสือ อิอานะห์ อัฎฎอลีบีน ว่า

وَيُسْتَحَبُّ أَنْ يَكُفَّ الصِّبْيَانَ أَوَّلَ سَاعَةٍ مِنْ اللَّيْلِ لِخَبَرِ مُسْلِمٍ إذَا كَانَ جُنْحُ اللَّيْلِ أَوْ أَمْسَيْتُمْ فَكُفُّوا صِبْيَانَكُمْ فَإِنَّ الشَّيَاطِينَ تَنْتَشِرُ حِينَئِذٍ فَإِذَا ذَهَبَ سَاعَةٌ مِنْ اللَّيْلِ فَحُلُّوهُمْ
   
                 และเป็นที่ส่งเสริมให้หักห้ามเด็กๆ(ออกนอกบ้าน)ในช่วงแรกของกลางคืน เพราะมีฮาดิษบันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม ว่า เมื่อช่วงแรกของกลางคืนได้มาถึงหรือพวกเจ้าเข้าไปสู่เวลายามเย็น ดังนั้นพวกเจ้าจงหักห้ามเด็กๆของพวกเจ้า(จากการออกไปข้างนอกบ้านในเวลาดังกล่าว) เพราะแท้จริงบรรดาชัยตอน(ญิน)จะกระจัดกระจายในเวลาดังกล่าว  ดังนั้นเมื่อช่วงแรกของกลางคืนได้ผ่านไป พวกเจ้าก็จงปล่อยพวกเขา(อย่าไปห้ามพวกเขาจากการออกนอกบ้าน)[/size]

อ้างอิง -  อิอานะอ์ อัฎฎอลีบีนเล่ม  2  หน้า  340
        -  อัสนัลมะฎอลิบฟีชัรฮิเราฎอติฎฎอลิบ เล่ม 1  หน้า  552[/color]

7
                                               บทบัญญัติแห่งอิสลาม แบ่งออกเป็นสามประเภท คือ

        1  บทบัญญัติที่มีหลักฐานชี้ชัดและเด็ดขาด คือ หลักการต่างๆที่ปรากฏในอัลกุรอ่าน และฮาดิษมุตะวาติร พร้อมทั้งยังชี้ชัดและเจาะจงเป้าหมายเอาไว้อย่างชัดเจน มิอาจตีความไปเป็นอื่นได้ หลักการเหล่านี้มีมาก เช่น เรื่องหลักศัทธา(อีหม่าน)  หลักยึดมั่น(อากิดะฮ์)   เรื่องศาสนกิจ(อิบาดาต)   เรื่องขอบเขตบทลงโทษผูกระทำผิดกฎหมายอาญา(ฮุดูด)  เรื่องขอกำหนดในการแบ่งมรดก และเรื่องของคุณลักษณะนิสัย  กฎบัญญัติเหล่านี้เป็นกฎที่สามารถนำมาไช้ได้กับทุกยุคทุกสมัย จนกระทั้งถึงวันกิยามะฮ์     กฎหมายเหล่านี้ไม่ยอมรับต่อการวิวัฒนาการและความเจริญรุดหน้า และไม่อนุญาตให้คนใดมาปรับปรุงแก้ไขและเปลี่ยนแปลง จนกระทั้งการวิเคราะห์วินิจฉัย( อิจญติฮาด)ในกฎหมายเหล่านี้ก็มิอาจกระทำได้  ดังนั้นเกี่ยวกับกฎหมายรูปแบบดังกล่าวนี้ อุละมาอุได้กำหนดหลักการพื้นฐาน(อัลกออิดะฮ์ อัลอุซูลียะฮ์) เอาไว้ว่า 
 
                                                        لا اجتهاد في مورد النص
                   
                          จะไม่มีการวิเคราะห์วินิจฉัย( อิจญติฮาด) ในหลักการที่มีหลักฐานชี้ชัดและเด็ดขาด

    และนักวิชาการก็ได้จัดให้อยู่ในกลุ่มกฎหมายรูปแบบนี้ด้วยเช่นกัน กฎหมายและหลักการที่ปวงปราชน์ได้มีมติเห็นพ้องกัน  กล่าวคือ หลักการที่ปวงปราชน์ได้ทำการวิเคราะห์วินิจฉัย และได้มีความเห็นสอดคล้องกัน กฎหมายเหล่านี้ก็จะกลายเป็นกฎหมายที่ ชัดเจนและเด็ดขาด และจะไม่มีการวิเคราะห์วินิจฉัย( อิจญติฮาด) ในกฎหมายรูปแบบนี้ด้วยเช่นกัน

       2  หลักการต่างๆที่มีปรากฏอยู่ในอัลกุรอ่านและฮาดิษซอเฮี๊ยะ แต่ไม่ได้ชี้ชัดเอาไว้แบบเด็ดขาด หลักการเหล่านี้อยู่ในพื้นที่ของการวิเคราะห์วินิจฉัย( อิจญติฮาด) และเป็นจุดที่เกิดการมีความเห็นต่างกัน(อิคติลาฟ)ระหว่างนักปราชญ์นิติศาสตร์อิสลาม(ฟุเกาะหาอุ)ด้วยสาเหตุหลายประการด้วยกัน อินชาอัลลอฮ์จะนำเสนอในภายหลังภายใต้หัวข้อ  สาเหตุของการเห็นต่างระหว่างนักนิติศาสตร์อิสลาม   (اسباب اختلاف الفقهاء )  เนื่องด้วยเหตุนี้ ก็ได้เกิดหลากหลายคำพูด หลากหลายทัศนะ  การเห็นต่างเหล่านี้เกิดขึ้นมายุคแรก ก็คือยุคของซอฮาบะห์  ถัดมาก็เป็นยุคของชั้นผู้นำระดับตาบิอีน    ( أئمة التابعين)ถัดมาก็เป็นยุคของมัซฮับต่างๆ

       3  หลักการต่างๆที่ไม่ได้มีปรากฏในอัลกุรอ่านและอัลฮาดิษ ซึ่งหลักการเหล่านี้เกิดขึ้นมาด้วยการ วิเคราะห์วินิจฉัย( อิจญติฮาด)ของนักปราชญ์นิติศาสตร์อิสลาม ภายใต้แสงของอัลกุรอ่านและอัลฮาดิษ เพราะอัลกุรอ่าน และอัลฮาดิษนักปราชญ์นิติศาสตร์อิสลามเห็นพ้องกันว่าเป็นแหล่งที่มาสำคัญอันดับต้นๆของศาสนบัญญัติอิสลาม พร้อมกับองค์ประกอบต่างๆในการวิเคราะห์วินิจฉัย( อิจญติฮาด)และแหล่งที่มาของกฎหมายอิสลามอื่นๆ ดังที่ได้ปรากฏในวิชาอุซูลุลฟิกห์ ( คือวิชาที่ว่าด้วยหลักการต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่การวินิจฉัยกฏหมายด้านฟิกฮ์ จากหลักฐานแบบขยายความ )  เช่น

          อิจญ์มาอุ หรือมติเอกฉันท์  คือ ความเห็นพ้องต้องกันระหว่างผู้วิเคราะห์วินิจฉัย(มุจญตะฮีดีน)จากประชาชาติอิสลามในการกำหนดบทบัญญัติเรื่องหนึ่งเรื่องใดในยุคหนึ่งยุคใดในภายหลังจากท่านศาสดาได้เสียชีวิตไปแล้ว เช่นมีอิจญมาอุว่า ผู้เป็นยายมีสิทธิได้รับมรดกในเมื่อผู้ตายไม่มีมารดา
 
         กียาส(เปรียบเทียบ)คือการผนวกสิ่งที่ไม่มีตัวบทกำหนดบัญญัติเข้ากับสิ่งที่มีตัวบทกำหนดบทบัญญัติไว้แล้ว เพราะเหตุที่ทั้งสองนั้นมีสาเหตุแห่งการกำหนดบทบัญญัติ (อิลละห์) เหมือนกัน
           
         อิสติห์ซาน คือการหันเหออกจากการที่จะกำหนดบทบัญญัติต่อกรณีใดที่คล้ายคลึงกันโดยหันไปกำหนดบทบัญญัติที่แตกต่างจากสิ่งที่คล้ายคลึงกันนั้น เพราะมีเหตุผลที่หนักเน้นและเที่ยงธรรมยิ่งกว่า

          มะศอลิห์มุรสะละฮ์  คือ ประโยชน์สาธารณะที่สำคัญและเหมาะสมต่อการกำหนดบทบัญญัติแต่ไม่มีตัวบทระบุแน่ชัดว่าให้ยอมรับหรือยกเลิก ทั้งนี้ต้องเป็นประโยชน์ส่วนรวมและเป็นประโยชน์ที่แท้จริง และไม่ขัดกับตัวบทหรือมติเอกฉันท์หรือเจตนารมณ์แห่งบัญญัติอิสลาม เช่น การรวบรวมอัลกุรอ่านในสมัยเคาะลิฟะฮ์อะบูบักร  เนื่องจากไม่มีตัวบทในอัลกุรอ่านที่สั่งหรือห้ามการรวบรวมอัลกุรอ่านที่บันทึกกระจัดกระจายอยู่ในที่ต่างๆจนกระทั่งมีการเห็นชอบร่วมกันในเหล่าบรรดาเศาะหาบะฮ์ให้รวบรวมอัลกุรอ่านขึ้นเป็นเล่มเดียวกันเพื่อรักษาประโยชน์ของอิสลามและอำนวยความสะดวกแก่มวลมุสลิม

           อุรฟุ  คือ จารีตประเภณีที่ได้รับการยอมรับและปฎิบัติต่อๆกันมาอย่างแพร่หลายทั้งการกระทำและคำพูด และไม่ขัดหรือแย้งกับตัวบทหรือรากฐานทางศาสนาอิสลามที่บัญญัติไว้อย่างชัดเจน

           สัดดุซซะรอเอี๊ยะอุ  คือ หลักการว่าด้วยการป้องกันหนทางที่จะนำไปสู่ความเสียหายหรือความต้องห้าม


         ดังนั้นบทบัญญัติสองประเภทหลังคือพื้นที่ของการวิเคราะห์วินัจฉัยและค้นหาความถูกต้องที่ไกล้เคียงที่สุดของเจตนารมณ์อัลกุรอ่านและฮาดิษของนักปราชญ์นิติศาสตร์อิสลาม(ฟุเกาะหาอุ) เป็นจุดที่ให้เกิดการเห็นต่างและหลากหลายทัศนะซึ่งทั้งหมดนั้นคือความเมตตาของอัลเลาะฮ์ต่ออุมมะห์อิสลาม

                            ดู ตารีค อัชตัชรีอ์ อัลอิสลามีย์ หน้า 5 – 6  แต่งโดย เชค อับดุลลาตีฟ อัซซุบกีย์  เชคมุฮัมหมัด อาลี อัซซายิส และ เชคมุฮัมหมัด ยูซุบ อัลบัรบารีย์  ซึ่งเชคทั้งสามท่าน เคยเป็นอาจารย์สอนในมหาลัยอัลอัซฮาร คณะชารีอะห์

                                        แตกต่างแต่ไม่แตกแยกนี้คือแนวทางสาลาฟุซซอลิฮ์ของเรา Oops: smile: yippy:

8
หูกุมอ่านผิดในละหมาด

           การอ่านผิดในละหมาดนั้น  ถือว่าเป็นที่ต้องห้าม(หารอม) โดยไม่มีเงื่อนไข แก่ผู้ที่แสรงแกล้ง  รู้ดี และมีโอกาสที่จะเรียนและปรับปรุงแก้ไขการอ่านให้ถูกต้องได้ ก่อนที่จะเข้ามาสู่การละหมาด

           ดังนั้นเมื่อผู้ละหมาดอ่านผิดจะส่งผลกระทบต่อละหมาดของตัวเอง(กรณีที่เขาไม่ได้เป็นอิหม่ามนำละหมาด) หรือจะส่งผลกระทบต่อละหมาดของตัวเองและมะอ์มูม(กรณีที่เขาเป็นอิหม่ามนำละหมาด) อย่างไรนั้น  ด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้

การอ่านผิดในละหมาดนั้น แยกออกเป็น  2  กรณีด้วยกันคือ

        1      อ่านผิดพลาดที่มิได้ทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลง

        2      อ่านผิดพลาดที่ทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลง

อ่านผิดพลาดที่มิได้ทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลง

         อ่านผิดพลาดที่มิได้ทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลงนั้น ไม่ส่งผลกระทบต่อละหมาดของผู้ที่อ่านผิด และละหมาดผู้ที่เป็นมะอ์มูมตามหลังเขา    แต่ถือว่ามักโร๊ะเป็นมะอ์มูมละหมาดตามหลังผู้ที่อ่านผิดที่มิได้ทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลง   ถ้าหากเขาแกล้งอ่านผิด ก็ถือว่าหารอมแก่เขา  แต่ก็มิได้ส่งผลใดๆต่อละหมาดของเขา  ( กล่าวคือ ละหมาดของเขายังใช้ได้ และละหมาดตามหลังเขาก็ใช้ได้ )

อ่านผิดพลาดที่ทำให้ความหมายแปลี่ยนแปลง

            อ่านผิดพลาดที่ทำให้ความหมายแปลี่ยนแปลง  แบ่งออกเป็น สอง กรณีด้วยกัน คือ

                  อ่านผิดอื่นจากฟาตีหะฮ์

                  อ่านผิดใน ฟาตีฟะฮ์


อ่านผิดอื่นจากฟาตีหะฮ์

        อ่านผิดพลาดอื่นจากฟาตีหะฮ์ นั้น ไม่ส่งผลกระทบต่อละหมาดของผู้ที่อ่านผิด และละหมาดของผู้ที่เป็นมะอ์มูม ตามหลังเขา เว้นแต่ว่า เขาผู้นั้นแกล้งอ่านผิด  เป็นคนที่รู้ดี  และมีความสามารถที่จะตกแต่งแก้ไขการอ่านให้ถูกต้องได้ก่อนที่จะเข้ามาสู่การละหมาด


อ่านผิดในฟาตีฟะฮ์

       อ่านผิดในฟาตีหะฮ์ นั้น  ถ้าหากว่าเขามีความสามารถที่จะปรับปรุงแก้ไขการอ่านได้ และก็มีที่จะโอกาสปรับปรุงแก้ไขการอ่านให้ถูกต้องได้ก่อนที่จะเข้าสู่การละหมาด  การอ่านผิดจะส่งผลกระทบต่อละหมาดของเขา และละหมาดของมะอ์มูมที่ตามหลังเขา ( คือ ละหมาดของเขาไช่ไม่ได้ และเป็นมะอ์มูมตามหลังเขาก็ไม่ได้เช่นกัน)

         แต่ถ้าหากเขาไม่มีความสามารถที่จะปรับปรุงแก้ไขการอ่านให้ถูกต้องได้ ละหมาดของเขาใช้ได้ แต่ไม่อนุญาตให้ผู้ที่อ่านถูกต้องชัดเจนละหมาดเป็นมะอ์มูมตามหลังเขา(คือไม่เซาะ ตาม)

         แต่ถ้าหากเขามีความสามารถที่จะศึกษาปรับปรุงแก้ไขการอ่านให้ถูกต้องได้  แต่ไม่มีโอกาส เช่น ไม่มีเวลาเหลือมากพอที่จะปรับปรุงแก้ไขการอ่านให้ถูกต้องได้ อันเนื่องมาจากเวลาละหมาดใกล้จะหมด  ก็ให้เขาละหมาดไปตามสภาพนั้นไปก่อน เพื่อที่จะรักษาเวลาละหมาด  หลังจากนั้นก็ให้ศึกษาปรับปรุงแก้ไขการอ่านให้ถูกต้อง และต้องหวนกลับไปทำละหมาดนั้นใหม่อีกครั้ง

[/size]

      หมายเหตุ... คนที่พลาดลิ้นอ่านผิดไป แต่เขาไม่ย้อนกลับมาอ่านใหม่ให้ถูกต้อง ก็เหมือนกับคนที่แกล้งอ่านผิด ส่วนหูกุมของคนที่แกล้งอ่านผิดนั้นผมได้นำเสนอไปแล้วด้านบน

                    อ้างอิง.....  หนังสือ อิอานะอ์ อัฎฎอลิบีน   เล่ม  2  หน้า  44  สำนักพิมพ์ ดารุเอี๊ยห์ยาอิลกุตุบอัลอะรอบียะห์

9
สรุป คือ พ่อที่จำเป็นต้องนาฟาเกาะลูก จะให้ซากาตกับลูกใน ฐานะ ฟากีร หรือมิสกีน ไม่ได้  อยากถามว่า นักศึกษาจัดอยุ่ในกลุ่มไหนผู้มีสิทธ์รับซากาต
คือ ถ้าจัดอยุ่ในกลุ่ม ฟากีร มิสกีน แน่นอนให้ไม่ได้  หรือว่าจัดอยุ่ในกลุ่ม สาบีลิลลาฮ์ พ่อจะให้ได้หรือไม่  ท่านผู้รู้ช่วยให้ความกระจ่างด้วยครับ ญาซากัลลอฮุคัยรอน
   smile:   Oops:  mycool:

10
ญาซากัลลอฮูคัยรอน ครับ นี้คือสิ่งที่ง่ายๆ แต่ทรงคุนค่ายิ่งนัก  mycool: mycool: mycool: mycool:

11
     แท้จริง อิสลามนั้น คือศาสนาที่เน้นหนักในเรื่องการทำความสะอาด  และการทำความสะอาดภายนอก(ร่างกาย)นั้น เป็นแค่กิ่งก้าน(ฟัรอุ) แต่การทำความสะอาดภายใน(หัวใจ) เป็นรากฐาน(อัซลุ)  การทำความสะอาดภายนอกเป็นเงื่อนไขที่จะเซาะห์ละหมาด เหมือนดั่งเช่นการทำความสะอาดภายใน(หัวใจ) เป็นเงื่อนไขที่จะเข้าสวรรค์  ดั่งที่ของอัลเลาะห์ (ซุบฮานาฮู วาตาอาลา) ทรงตรัสไว้ว่า

{يَوْمَ لا يَنْفَعُ مَالٌ وَلا بَنُونَ * إِلَّا مَنْ أَتَى اللَّهَ بِقَلْبٍ سَلِيمٍ}
[الشعراء:88 - 89].

      ความว่า  (วันกียามะห์) เป็นวันซึ่งทรัพย์สมบัติ และบุตรหลานบริวารไม่อำนวยประโยชน์ใดๆเลย  นอกจากผู้ที่เข้าหาอัลเลาะฮุ ด้วยหัวใจอันบริสุทธิ์  (ปราศจากกิเลส และมลทิลทั้งปวง)    --  อัชชุอะรออุ อายะที่ 88-89 ---

      และการทำความสะอาดทั้งสองรูปแบบนี้ (ทำความสะอาดร่างกาย และหัวใจ) เป็นสาเหตุให้อัลเลาะฮุทรงรัก  ดั่งที่อัลเลาะห์ (ซุบฮานาฮู วาตาอาลา) ทรงตรัสไว้ ว่า

{إِنَّ اللَّهَ يُحِبُّ التَّوَّابِينَ وَيُحِبُّ الْمُتَطَهِّرِينَ} [البقرة:222]
 
    ความว่า  แท้จริงอัลเลาะฮุทรงรักบรรดาผู้หมั่นทำการสารภาพผิด และทรงรักบรรดาผู้มีความสะอาดทั้งหลาย.     --  อัลบะกอเราะฮุ อายะที่ 222  ---
               “””””””””””””””””””
happy2: mycool: Oops: Oops: Oops:

12
อัลหะดีษ / Re: السلام عليكم
« เมื่อ: มิ.ย. 25, 2013, 06:14 AM »
ชุกรอนครับ ญาซากุมุลลอฮุคัยร์

13
อัลหะดีษ / السلام عليكم
« เมื่อ: มิ.ย. 25, 2013, 04:49 AM »
السلام عليكم

หน้า: [1]