แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ศิษย์น้อง

หน้า: [1]
1
بسم الله الرحمن الرحيم
ละหมาดของผู้ชายในสภาพที่ไม่ได้ปกปิดหัวไหล่อนุญาตหรือไม่ และอ่านตะชะฮุตครั้งแรกนั้นอ่านแบบไหน (แบบสมบูรณ์หรือครึ่งหนึ่งเท่านั้น)
    หัวไหล่ทั้งสองนั้นไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเอาเราะฮ์(อวัยวะที่ต้องปกปิดจากสะดือถึงหัวเข่า) ซึ่งจำเป็นต้องปกปิดในเวลาละหมาด ดังนั้นอนุญาตให้กับผู้ชายทำการละหมาดในสภาพที่ไม่ได้ปกปิดหัวไหล่ แต่ว่าสิ่งดังกล่าวนั้น เป็นเรื่องมักโระฮ์(ศาสนาไม่ส่งเสริม) และได้มีฮาดิษกล่าวไว้ว่า : 
لا يصلى احد كم في الثوب الواحد ليس على عاتقيه منه شيء
ความว่า : บุคคลหนึ่งบุคคลใดจากพวกท่าน ไม่สมควรที่จะทำการละหมาดในการใช้ผ้าพื้นเดียว โดยไม่มีสิ่งใดมาปกปิดหัวไหล่ของเขาเลย.
    และสำหรับการอ่านตะชะฮุตครั้งแรกนั้น อ่านจนกระทั่งถึง ( اشهد ان لا اله الا الله واشهد ان محمدا رسول الله ) หลังจากนั้นก็กล่าวซอลาวาต ( اللهم صل على سيدنا محمد ) ก็เพียงพอแล้ว.


อ้างอิง
ตำรา : อัล-กาลีมุตตอยยิบ ฟาตาวา อัศรียะฮ์.
หน้า : 43 เล่ม 1
ผู้เรีบยเรียง : เชคอาลีญุมอะฮ์มูหัมหมัด มุฟตีย์ แห่งประเทศอียิปต์.

2

การละหมาดได้ถูกเรียกว่า "الصلاة" เนื่องจากสาเหตุหลายประการ ดังเช่น

1. (الايصال الى) การละหมาดนั้นนำไปสู่สวนสวรรค์ของเอกองค์อัลลอฮ์(ซ.บ.) และได้มีรายงานจากท่านอาลี(ร.ด.)ว่า :

                             .أتدرون لما سميت الصلاة صلاة؟ قالوا : لا ياأمير المؤمنين قال لأنها توصل صاحبها الى الجنة

 พวกท่านรู้หรือเปล่าว่า ทำไมละหมาดถึงถูกเรียกว่า ''ละหมาด'' พวกเขาก็กล่าวตอบว่า : ไม่รู้ครับ โอ๋ผู้นำแห่งศรัทธาชน และท่านอาลี(ร.ด.) กล่าวตอบว่า : แท้จริงการละหมาดนั้น จะนำพาผู้ที่ปฎิบัติมัน ไปยังสวนสวรรค์ของพระองค์.

2.  (الصلة) การละหมาดนั้นเป็นหนึ่งในหนทางที่เชื่อมต่อ ระหว่างบ่าวกับพระผู้เป็นเจ้า เมื่อหนึ่งเมื่อใดที่บ่าวของพระองค์ได้ปฎิบัติละหมาดอยู่เป็นประจำ ก็เท่ากับว่าเขากำลังเชื่อมต่อกับเอกองค์อัลลอฮ์(ซ.บ.)อยู่ตลอดเวลา และในขณะเดียวกัน เมื่อหนึ่งเมื่อใดที่บ่าวของพระองค์ได้ทำการละทิ้งละหมาด ก็เท่ากับว่าเขาได้ตัดสายสัมพันธ์ที่มี่ต่อพระองค์เช่นเดียวกัน ดังที่ได้มีรายงานจากท่านญาบิร(ร.ด.) กล่าวว่า : ท่านรอซูล(ซ.ล.)กล่าวว่า :

                                                    بَيْن الْعَبْد وَبَيْن الْكُفْر تَرْك الصَّلَاة

                                 ระหว่างบ่าวของพระองค์กับการปฎิเสธศรัทธานั้น คือการทิ้งละหมาด.

3. (التصلية) การละหมาดนั้นเป็นหนึ่งในหนทางการขอดุอา ซึ่งการละหมาดนั้นมีความหมายว่า การดำรงรักษา ด้วยสาเหตุที่ว่า มนุษย์นั้นได้ทำการละหมาดอยู่ตลอดเวลา(ทั้งกลางวันและกลางคืน จนกว่าชีวิตของเขาจะสิ้นลมหายใจ) และการละหมาดนั้น จะช่วยขัดเกลาจิตใจ ให้มีความตักวาต่อพระผู้เป็นเจ้ามากยิ่งขึ้น.

4. ( المواصلة) การละหมาดที่ถูกเรียกว่าละหมาด เพราะว่าสายสัมพันธ์ของเอกองค์อัลลอฮ์(ซ.บ.)ที่มีต่อบ่าวของพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสัญญาหรือความโปรดปรานที่อยู่ในละหมาด เสหมือนกับคำดำรัสของพระองค์ที่ว่า :


ความว่า : และเจ้าจงใช้ครอบครัวของเจ้าให้ทำละหมาด และจงอดทนในการปฎิบัติ เรามิได้ขอเครื่องยังชีพจากเจ้า เราต่างหากเป็นผู้ให้เครื่องยังชีพแก่เจ้า และบั้นปลายนั้นสำหรับผู้ที่มีความยำเกรง.

5. (الايصال الى) การละหมาดนั้นจะนำผู้ที่ทิ้งมัน ไปสู่ขุมนรกของพระองค์ และท่านรอซูล(ซ.ล.) ได้กล่าวว่า :

                         إن الرجل إذا صلى الصلاة فلم يتم ركوعها ولا سجودها تلف كما يلف الثوب الخلق فيضربها وجه صاحبها

เมื่อบ่าวของพระองค์ได้ทำการละหมาด รูกัวะก็ไม่สมบูรณ์ ซูยุดก็ไม่สมบูรณ์ ละหมาดของเขาจะถูกพับ เสหมือนกับการพับผ้าขี้ริ้ว หลังจากนั้นก็จะถูกขว้างลงบนใบหน้าของเขา.


______________________________________________________
ตำรา : อัล-ฟาวาอิด อัล-ญะอ์ฟารียะฮ์ มิน อัน-วาริลอาฮาดีษินนะบะวียะฮ์.หน้า : 32-33.
ผู้เรียบเรียง : อัล-อาริฟบิลละฮ์ ซัยยิด เชค ซอแหละห์ อัล-ญะอ์ฟารีย์ (ร.ด.).



3
بسم الله الرحمن الرحيم
การตายของมนุษย์มี 3 ระดับ
1.การตายแบบชั้นคลินิก( الموت الاكلينيكى  )
    การตายระดับนี้หัวใจและปอดจะหยุดทำงาน ซึ่งจะทำให้การไหลเวียนของเลือดหยุดตัวลงและไปไม่ถึงสมอง ในสภาพดังกล่าวนี้ สมองจะคงอยู่ได้ไม่เกิน 5 นาที ซึ่งเป็นระยะเวลามากที่สุดที่สมองจะคงสภาพอยู่ได้โดยปราศจากออกซิเจนและน้ำตาลคลูโคสที่เลือดลำเลียงมาเลี้ยงสมอง.

2.การตายแบบกายภาพ( الموت الجسدى )
    การตายระดับนี้จะเกิดขึ้นเมื่อระยะเวลาการหยุดเต้นของหัวใจยืดเยื้อไปมากกว่า 5 นาที ดังนั้นถ้าหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น เซลล์สมองก็จะตายลง ซึ่งเซลล์สมองนี้มีหน้าที่ทำให้หัวใจและระบบหายใจทำงาน และถ้าหากตกอยู่ในสภาพดังกล่าวนี้ ก็ไม่มีหวังที่จะฟื้นการทำงานของหัวใจและระบบการหายใจ และเป็นผลให้ผู้ป่วยต้องเขาสู้ภาวะการตายที่แท้จริง.

3.การตายของเซลล์( الموت الخلوى )
   การตายระดับนี้จะเกิดขึ้นเมื่อสมองได้ตายลงเมื่อสิ้นสุดระดับที่ 2 (กล่าวคือ ผู้ป่วยไม่มีปฎิกิริยาตอบสนอง หลังจากที่ถูกนำเข้าเครื่องช่วยหายใจ) ในสภาพดังกล่าวนี้ การหมุนเวียนของเลือดจะหยุดทำงานแบบสิ้นเชิงโดยไม่สามารถไหลเวียนไปตามส่วนต่างๆของร่างกายได้ และเซลล์ของร่างกายจะเริ่มย่อยสลายและแตกตัว อันเนื่องมาจากว่า เซลล์ของร่างกายจะมีชีวิตอยู่ได้นั้น จะต้องอาศัยสารสองอย่างคือ ออกซิเจนและน้ำตาลคลูโคสและสารทั้งสองนี้จะไปยังเซลล์ โดยผ่านระบบการหมุนเวียนของเลือด และแจกจ่ายไปตามส่วนต่างๆของร่างกายในที่สุด.

อ้างอิงจาก :
 ศ.ดร. มูฮัมหมัด เราะฟัต อุษมาน : รหัสทางพันธุกรรม (จีโนม) - ประเด็นปัญหานิติศาสตร์สมัยใหม่ – หน้า 468-470 สนพ.ดาร์ อัล-กุตุบวัลวะซาอิก อัล-เกามียะฮ์ กรุงไคโร 3/2012.

4
การอาซาน


ตามหลักภาษา หมายถึง การเรียกร้องหรือการประกาศให้่ทราบ
ตามบทบัญญัติอิสลาม หมายถึง การประกาศด้วยกับสิ่งๆหนึ่งที่เป็นที่ทราบกัน (อัลลอฮุอักบัร..จนกระทั้ง..ลาอิาลาฮาอิลลัลลอฮ์)

ฮูก่มของการอาซาน
     การอาซานในการละหมาดญามาอะฮ์เป็นสุนัตกีฟายะฮ์(ได้รับซุนนะห์เพียงการกระทำของบางคน)และจะต้องอาซานให้เสียงดัง ให้คนที่ร่วมละหมาดได้ยินกับเสียงอาซานนั้น และในส่วนของการละหมาดคนเดียวนั้นเป็นสุนัตอีน(เป็นซุนนะห์ที่บัญญัตให้ทำส่วนบุคคล เช่นเดียวกับการอ่านบิสมิลละห์ขณะรับประทานอาหาร)สำหรับผู้คนที่จะมาละหมาด และเป็นการเพียงพอสำหรับเขาแล้ว ในการอาซานให้ได้ยินกับตัวของเขาเอง ส่วนเวลาของการอาซานนั้นเฉพาะละหมาดห้าเวลาไม่ใช่ละหมาดสุนัต(ไม่ว่าจะทำแบบญามาอะฮ์หรือละหมาดคนเดียว)

เงื่อนไขที่จะทำให้อาซานนั้นถูกต้องมีดังต่อไปนี้

1.เป็นอิสลาม : การอาซานนั้นจะไม่ถูกต้อง ถ้าหากว่ามาจากคนกาเฟร(ปฎิเสธศรัทธา)เป็นผู้อาซาน
2.รู้จักการแยกแยะ : ถ้าหากว่าเป็นเด็กก็ต้องรู้เดียงสา (รู้ซ้ายรู้ขวา รับประทานอาหารเองได้ สามารถปลดทุกข์เองได้)
3.เป็นผู้ชาย : การอาซานนั้นจะไม่ถูกต้อง ถ้าหากว่ามาจากผู้หญิง และการละหมาดนั้นจะไม่ถูกต้องเช่นกัน ถ้าหากว่าผู้หญิงนำละหมาดให้กับผู้ชาย
4.มีสติสัมปชัญญะ : ไม่ใช่คนบ้า
5.เสียงดัง : สำหรับการละหมาดญามาอะฮ์นั้น ต้องอาซานเสียงดัง เพราะว่าการอาซานนั้นเป็นการประกาศถึงเวลาละหมาด ในส่วนของการละหมาดคนเดียวนั้น เสียงของการอาซานให้ได้ยินกับหูผู้ที่จะละหมาดก็เพียงพอแล้ว
6.เข้าเวลา : การอาซานนั้นจะไม่เกิดขึ้น ตราบใดที่เวลาละหมาดของมันยังไม่มาถึง และไม่อนุญาติให้อาซานก่อนเวลาละหมาดเช่นกัน
7.รู้ถึงเวลาละหมาด : ผู้ที่จะทำการอาซานนั้นต้องรู้ถึงเวลาละหมาด ไม่ว่าจะรู้ด้วยตัวของเขาเองหรือว่าจากบุคคลที่ใว้ใจได้
8.มีการเรียบเรียง : ถ้าหากทิ้งการเรียบเรียง(ระหว่างถ้อยคำของอาซาน)จะนำมาซึ่งการทำเล่นกับการอาซาน และจะทำให้ผู้ฟังนั้นสงสัยว่าเป็นการอาซานหรือไม่
9.ต่อเนื่องในการอาซาน : ต้องอาซานติดต่อกัน (ระหว่างประโยคของอาซาน)และไม่สมควรเว้นระยะห่างในการอาซานมากจนเกินไป.


_______________________________________________________________
อ้างอิง
จากหนังสือ อัลฟิกฮุชชาฟีอีย์ ลิลมุบตาดีอีน หน้า 53-54
เรียบเรียงโดย ดอกเตอร์ อะหมัด มะฮ์มูด อาบู ฮาซูบะฮ์
ตรวจทานโดย ดอกเตอร์ ซอลาห์ อับดุตเตาวาบ ซะอ์ดาวีย์

5
بسم الله الرحمن الرحيم
ฮูกุมของการละหมาดญะมาอะฮ์
  บรรดานักปราชญ์ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า :  แท้จริงแล้วการร่วมกันละหมาดฟัรดูห้าเวลาเป็นญะมาอะฮฺ (เป็นหมู่คณะที่มัสยิด) นั้น ไม่ได้เป็นฟัรดูอีน (สิ่งที่ศาสนาสั่งใช้ให้ทำทุกคน) แต่ทว่ามันเป็นสุนนะฮฺมุอักกะดะฮฺ (สิ่งที่ศาสนาส่งเสริมให้กระทำเป็นอย่างยิ่ง) . และนี่คือทัศนะของท่านอิมามมาลิก ,ท่านอิมามสุฟยาน อัษ-เษารีย์ และท่านอิมามอะบูหะนีฟะฮฺ .
  ส่วนท่านอิมามอัช-ชาฟิอีย์ มีความเห็นว่า : การละหมาดญะมาอะฮฺนั้น เป็นฟัรดูกิฟายะฮฺ (ซึ่งเป็นทัศนะที่แข็งแรงที่สุดในมัซฮับของท่าน) .

  ผู้แต่งตำราเล่มนี้กล่าวว่า : บรรดาอุลามาอ์ที่ได้กล่าวมาข้างต้น กล่าวว่า :  ถือว่าเป็นการใช้ไม่ได้ในการที่จะทิ้งหรือละเลยละหมาดญะมาอะห์ตามมัสยิดต่างๆ ดังนั้นเป็นที่ประจักษ์ว่า ไม่มีข้อแตกต่างกันระหว่างมัศฮับชาฟีอีย์กับอุลามาอ์อีกกลุ่มหนึงที่เราได้กล่าวมา .

  เเละท่านอาตออ์ ท่านเอาซาอีย์ ท่านอะฮ์หมัด ท่านอะบูซูร ท่านมูซานีย์ เเละอิบนุมุนซิรได้กล่าวว่า : การละหมาดญามาอะฮ์นั้น เป็นสิ่งที่จำเป็น (ฟัรดูอีน) เเต่ว่าไม่ได้เป็นเงื่อนไขของการละหมาดเเต่อย่างใดเเละได้มีรายงานจากอิบนิมัสอูดเเละอะบีมูซาอัลอัชอารีย์ (ร.ด.)ในทำนองเดียวกันอีกด้วย .
 
  เเละท่านดาวูดอัซ-ซอฮีรีย์ได้กล่าวต่ออีกว่า : ละหมาดญามาอะฮ์นั้น เป็นฟัรดูอีน เเละยังเป็นเงื่อนไขที่จะทำให้ละหมาดนั้นถูกต้องอีกด้วย เเละบางส่วนของบรรดาอูลามะอ์ สายมัซฮับอีหม่านอะฮ์หมัด ก็ได้กล่าวไว้ในทำนองเดียวกันอีกด้วย .
...................................................................................
อ้างอิง...
 จากหนังสือ : เมาซูอ่ะฮ์ มาสาอิลิลญูมฮูรฺ ฟิลฟิกฮิลอิสลามียฺ , เล่มที่ 1, หน้า 200 .
 เรียบเรียงโดย : ดอกเตอร์ มูฮัมมัด นาอีม มูฮัมมัด ฮานี ซาอี .
 โรงพิมพ์ : ดารุส สลาม .
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : หนังสือ บิดายาตุลมุญตาฮิด , เล่มที่ 1, หน้า 186 และ ตำราอื่นๆ .

6
ฮูกุมการเรียนรู้วิชาตัญวิด
     
       ไม่มีข้อขัดแย้งในบรรดานัปราชญ์เลยว่า แท้จริงวิชาตัจวิดนั้นเป็นฟัรดูกีฟายะฮ์ (กล่าวคือ ในอณาบริเวณหนึ่งหากมีผู้ทำมันสักคนก็จะทำให้คนทั้งอณาบริเวณรอดพ้นจากบาป เเต่ถ้าหากในอณาบริเวณนั้นไม่มีใครทำเลยก็จะเป็นบาปกันทั้งหมด) แต่ในทางปฎิบัตินั้นเป็นฟัรดูอีน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ต้องการอ่านอัลกรุอาน) และได้มีหลักฐานจากอัลกรุอานมาสนับสนุนมากมาย อาทิเช่น "ورتل القران ترتيلا" ความว่า: "เจ้าจงอ่านอัลกรุอานให้ถูกต้องชัดเจน" และท่านเชคอัลบัยฎอวีย์ ได้ให้ความหมายของคำว่า "رتل" ในอายะฮ์ข้างต้นว่า "جود تجويدا" ความว่า: จงอ่านอย่างมีตัญวิดอย่างสวยงาม" และท่านรอซูล(ซ.ล.)ได้กล่าวไว้ว่า: "رب قارىء للقران والقران يلعنه" ความว่า: " บางครั้งผู้อ่านอัลกรุอาน แต่อัลกรุอานนั้นกลับสาปแช่งเขา" และแท้จริงประชาชาติทั้งปวงที่ปราศจากข้อผิดพลาดได้ลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ว่า "ฮูกุมวายิบ (จำเป็น) ที่จะต้องมีการอ่านที่มีตัญวิด   ตั้งเเต่สมัยของท่านศาสดา(ซ.ล.) จนกระทั้งถึงมายังเราสมัยนี้ โดยไม่มีนักวิชาการท่านใดขัดแย้งเลยแม้แต่ท่านเดียว" "นับว่าดังกล่าวนี้ถือเป็นหลักฐานที่แข็งแรงที่สุด"



อ้างอิง
 فتح الأقفال شرح تحفة الأطفال تأليف سليمان الجمزورى وضع حواشيه سيد شلتوت الشافعى الأزهرى
หน้า 7-8 ,
สนพ  مؤسسة قرطبة
1/2003

7
المثل : جزاء سنمار



   قصة المثل : أراد النعمان ملك الحيرة،أن يبني لنفسه قصرا عظيما،فاختار لذلك بناء ماهرا-يقال له سنمار-فبنى سنمار القصر على أحسن صورة،ثم انتظر أحسن الجزاء من الملك على عمله،و قد أعجب النعمان بالقصر اعجابا شديدا،و شكر سنمار على عمله العظيم،و في أحد الأيام،طلب منه النعمان أن يتجول معه في جوانب القصر،و أن يعرفه بغرفه و قاعاته . وطاف النعمان و سنمار بجميع جوانب القصر،ثم صعدا الى سطحه فسأله النعمان : " هل هناك قصر مثل هذا ؟ " فأجاب سنمار : " لا " فسأله : " هل هناك بناء غيرك يستطيع أن يبني مثل هذا القصر ؟ " فأجاب سينمار : " كلا " . فكر النعمان سريعا ؛ اذا عاش هذا البناء فسيبني قصورا أخرى،أجمل من هذا القصر،فطلب من جنوده القاءه من سطح القصر،فمات . فصار يضرب هذا المثل لمن يرد على الاحسان بالاساءة

ผลตอบแทนของซินิมมาร์

     ประวัติของสุภาษิต: นุอ์มานเป็นกษัตริย์ของเมืองฮีเราะห์ เขาต้องการสร้างปราสาทที่ยิ่งใหญ่ให้กับตัวเขาเอง ดังนั้นเขาก็ได้คัดสรรช่างที่มีความชำนาญและมีคนๆหนึ่งได้เสนอช่างที่มีความชำนาญมีนามว่า"ซินิมมาร์"ให้กับกษัตริย์ผู้นี้ ต่อมาซินิมมาร์ก็ได้สร้างปราสาทในรูปแบบที่มีความสวยงามที่สุด หลังจากนั้นเขาก็รอรับการตอบแทนที่ดีที่สุดจากกษัตริย์ผู้นี้จากการสร้างของเขา และนุอ์มานก็เกิดความตกตลึงกับปราสาทนี้เป็นอย่างมากและเขาก็ได้ขอบคุณต่อซินิมมาร์ในการประติมากรรมอันใหญ่หลวงของเขา


    อยู่มาวันหนึ่งนุอ์มานได้เชิญซินิมมาร์ไปสำรวจรอบๆปราสาทพร้อมๆกับเขาและเขาจะได้เเนะนำให้รู้จักกับบรรดาห้องต่างๆของเขา ต่อมาทั้งสองก็ได้สำรวจรอบๆปราสาทและได้ขึ้นไปบนดาดฟ้าของปราสาท ทันใดนั้น นุอ์มานก็ถามซินิมมาร์ว่า: มีปราสาทที่เหมือนกับปราสาทหลังนี้อีกไหม? ซินิมมาร์ตอบแก่เขาว่า"ไม่มีแล้วครับ"และได้ถามต่ออีกว่า: มีช่างที่มีความชำนาญสามารถที่จะสร้างปราสาทหลังนี้อีกไหม? เขาตอบว่า: "ก็ไม่มีแล้วเช่นกันครับ" ทันใดนั้น นุอ์มานก็ฉุกคิดขึ้นมาว่า ถ้าหากช่างผู้นี้ยังมีชีวิตอยู่ แน่นอนว่าเขาจะต้องสร้างปราสาทหลังอื่นที่อลังการกว่าปราสาทหลังนี้เป็นอย่างแน่ ดังนั้นเขาก็ได้สั่งให้ทหารของเขา จับตัวซินิมมาร์ช่างผู้ชำนาญผู้นี้และโยนเขาลงจากดาดฟ้าของปราสาท หลังจากนั้นเขาก็เสียชีวิต.


สรุปได้ว่าสุภาษิตนี้ถูกใช้กับผู้ที่ทำความดีแต่ถูกตอบสนองด้วยกับความชั่ว ซึ่งอันเป็นเหตนำความหายนะมาสู้ชีวิตของเขา ดังเช่นซินิมมาร์ช่างผู้มีฝีมือผู้นี้




หน้า: [1]