แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - มารบูรพาอึ้งเอี๊ยะซือ

หน้า: [1] 2
1
คนทำงาน “ดะอฺวะฮ์ตับลีฆ”(رجال الدعوة التبليغيون)
ตามทัศนะของ มูหัมหมัด มุสฏอฟา อามีน อาบูฮาชิม

          เขาคือกลุ่มคนที่ทำการออกไปในหนทางของอัลลอฮ์ เขาคือหมู่ชนที่มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าจนน่าอิจฉาเป็นอย่างยิ่ง เขาคือผู้ที่มีความอดทนอดกลั้นต่อการปฏิเสธดื้อรั้นของผู้คนที่มีต่อพวกเขา .

          ทว่าแนวทางหลักสูตรด้านวิชาการที่พวกเขาใช้ดำเนินนั้นมันอยู่ที่ไหนกัน? และเพื่อสิ่งใดกันเล่าที่พวกเขาพร่ำเรียกร้องเชิญชวน?.

          แท้จริงมันเป็นเพียงแค่การออกไปในหนทางของอัลลอฮ์ ซึ่งมันเป็นประดุจดังสื่อกลาง (หรือแนวทาง)ที่ใช้ในการขัดเกลา และปรับปรุงจิตใจ และเมื่อคราที่พวกเขาถึงขั้นระดับที่คงตัวแล้วพวกเขาจะมีการอบรมสั่งสอนวิชาการศาสนากันหรือไม่? แท้จริงแล้วพวกเขาไม่ได้รู้เลยถึงความเข้าใจของนักวิชาการอุลามาอฺที่มีต่อนิติศาสตร์อิสลาม และพวกเขาไม่ได้แบ่งแยกระหว่างหลักความเชื่อของอะฮ์ลิสสุนนะฮ์ และ หลักความเชื่อของพวกมุญัซซิมะฮ์ (พวกแอบอ้างการมีเรือนร่างสัดส่วนให้กับอัลลอฮ์ผู้ทรงบริสุทธิจากข้อครหาทั้งปวง) ดังนั้นผู้ที่ปราศจากซึ่งสิ่งใดๆอยู่ ก็ไม่สามารถที่จะมอบสิ่งนั้นๆให้แก่ใครเขาได้หรอก.

          ด้วยเหตุนี้ท่านจะพบว่าพวกเขาจะจมปลักอยู่ภายใต้การตัชบีฮ์ และ การตัญสีม (การเปรียบเปรือย และ แอบอ้างเรือนร่างและสัดส่วนแด่อัลลอฮ์ผู้ทรงบริสุทธิจากข้อครหาทั้งปวง)ทั้งๆที่พวกเขาเองไม่รู้อะไรเลยในสิ่งที่พวกเขากระทำลงไป นั่นก็เพราะว่าการที่พวกเขาไม่ได้สั่งสอนกันเลยเว้นแต่ในเรื่องทีว่าทำอย่างไรที่จะให้ผู้คนได้เข้ามาทำงานอย่างเช่นที่กลุ่มของพวกเขานี้ได้กระทำอยู่แค่นั้นเอง.

           ในความเป็นจริงแล้วนั้น อาจกล่าวได้ว่าพวกเขาสมควร และควรค่าที่สุดสำหรับคำสรรเสริญขอบคุณในคราที่พวกเขามีความอดทนต่อความกระเดื่องกระด่างของของผู้คนที่มีปฏิกิริยาต่อพวกเขา ซึ่งนั่นอาจเป็นเพราะว่าการที่ผู้คนไม่เคยได้พบเห็นสิ่งแปลกใหม่มาก่อน ไม่เคยพบเจอซึ่งผู้นำความรู้มาหาเขา เลยส่วนหนึ่งที่อาจเป็นผลพวงที่ทำให้เกิดการเผ่นหนี และความน่าเบื่อคือลักษณะ หรือรูปแบบของการดะอฺวะฮ์ที่เป็นแบบ “ระบบกิจวัตรประจำวัน”(روتينيا)ที่จะต้องมีการดะอฺวะฮ์ทุกช่วงเวลาตั้งแต่เช้า เย็น ทั้งกลางวัน กลางคืน ทั้งฤดูร้อน ฤดูหนาว หรือแม้กระทั่งในช่วงวันอีดทั้งสอง และไม่ว่าจะเป็นในยามสงบ หรือหน้าศึกสงคราม.

          มันก็ใช่อยู่ที่ว่าการดะอฺวะฮ์ตามแนวทางนี้ไม่ต้องอาศัยผู้ชำนาญการ(ในด้านวิชาการ)สักเท่าไหร่ เพราะมันเป็นการดะอฺวะฮ์ที่ไม่ต้องมีอะไรมากนอกจากการใช้คำพูดเดิมๆ และความต้องการเดิมๆ.

          ฉะนั้นสารัตถะของบทความของนักดาอีย์ จึงเป็นการผสมผสานที่ไร้ซึ่งน้ำหนักของงานดะอฺวะฮ์เมื่อเทียบกับงานดะอฺวะฮ์ตามแบบฉบับของท่านรอซู้ล (ซ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วาซัลลัม) และซอฮาบะฮ์ (รอฎิยั้ลลอฮุ อันฮุม) ของท่น อันเนื่องมาจากว่างานทั้งหมดของพวกเขานั้นตั้งอยู่บน ความตั้งใจที่แน่วแน่เป็นหลัก และบางครั้งพวกเขาก็มีทัศนคติเชิงเล่นพรรคเล่นพวก ต่อผู้ที่มีทัศนคติที่ขัดแย้ง(กับของตน) ดังกล่าวนี้เพียงเพราะกลัว(และเพื่อป้องกัน)การถลำลึก หรือ การพิพาทในประเด็นหนึ่งประเด็นใดที่อาจจะส่งผลร้ายต่องานดะอฺวะฮ์ของพวกเขา และนี่แหละคือสิ่งที่พวกเขายึดถือเป็นหลักสำคัญ.

          ดังนั้นเขาจึงพยายามที่จะฝึกฝนในการที่จะนิ่งเงียบ และไม่โต้ตอบต่อ คำติชม หรือการวิภาควิจารณ์ที่กรูเข้ามาหาเขา นั่นก็เพราะว่าจุดประสงค์หลักของเขาคือการผดุงรักษาไว้ซึ่งแนวทางการดะอฺวะฮ์ของพวกเขา ด้วยเหตุนี้เองท่านจะเห็นได้ว่าพวกเขามีความอดทนเช่นไรต่อผู้ทีมาถากถางบีบคั้นต่องานของพวกเขา ซึ่งมันเป็นการแสแสร้งที่อาจจทำให้ต้องเกิดการเผ่นหนีไป.

          และส่วนหนึ่งจากวิกฤติปัญหาที่พวกเขาตกอยู่ในห้วงของมันและเป็นสิ่งที่ยากที่จะเยียวยาแก้ไข คือการที่พวกเขามีทัศนคติว่าจุดหมายที่จริงคือเพียงแค่การบริสุทธิใจอิคาส เพื่ออัลลอฮ์ และเพียงแค่การมีใจรักที่จะทำความดีโดยพวกเขาหยุดเพียงแค่การมีความตั้งใจ และการเสียสละเวลา และการเรียกร้องไปสู่บางๆคุณค่าบางๆความประเสริฐ(فضائل)  จนละทิ้งและหันเหออกจากประการอื่นๆที่เหลือของคำสอนอิสลาม...

          ด้วยเหตุนี้การให้ความสำคัญกับคนอาวามเหล่านี้เท่ากับเป็นการยิ่งทีวคูณเพิ่มพูนปมปัญหามากยิ่งขึ้น เพราะพวกเขาไม่มีอาวุธใดๆเลยในการที่จะใช้ปกป้องตัวของพวกเขาเอง และพวกเขาไม่พบอะไรเลยนอกจากกการคลั่งไคล้ในกลุ่มพวกพ้อง(التعصب).

          พวกเขาคิดว่าแท้จริงแล้วพวกเขารู้ดีทุกอย่างที่เกี่ยวข้องและจำเป็นกับการดะอฺวะฮ์ และยังคิดว่ากิจการงานที่พวกเขาดำเนินอยู่นั้นเป็นงาน(หน้าที่)ที่บรรดานาบีก่อนๆได้เคยทำมาแล้ว ลองพิจารณาดูถึงคำพูดของพวกเขาที่ว่า “ท่านจะเลือกอะไร ระหว่างการที่คนจีน 200 คนเข้ารับอิสลามต่อหน้าท่าน กับการที่ท่านมัวแต่จะนั่งอยู่ในบ้านเพื่อศึกษาวิชาความรู้?” ฉะนั้นคำตอบก็จะอยู่ในรูปแบบของคำถามที่ถามกลับไปว่า “แล้วอะไรจะดีกว่ากัน ระหว่างการที่คนจีนเหล่านั้นเข้ารัอิสลามแล้วได้รับการสั่งสอนเรื่องศาสนา กับการที่พวกเขาเข้าอิสลามแล้วกลับคงอยู่ในสภาพโง่เขลาเบาความรู้ในเรื่องอิสลาม”.


          สรุป การดะวะฮ์ตามรูปแบบนี้เบื้องหลังของมันคือการมีเจตนาที่ดี บริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮ์ และเป็นการสุขุม มีจรรยามารยาทดีงาม มีความกล้าหาญ และมีความสามารถในการนำเสนอคำพูดต่อหน้าสาธารณชน.

          และหากว่าเรานำเอาพลังอันยิ่งใหญ่นี้ มาใช้ในการแสวงหาความรู้แน่นอนเหลือเกินว่ารูปแบบแนวทางของการดะอฺวะฮ์ทั้งหมดจะได้รับการเปลี่ยนแปลง(และพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นอย่างเป็นแน่).

          ทว่าการยึดถือตามแนวทางการดะอฺวะฮ์ของพวกเขามาเป็นสื่อกลางในการนำมนุษย์ออกจากความมืดมนสู่แสงสว่าง และการเรียกร้องไปสู่ศาสนาของอัลลอฮ์(ตามแนวทางของพวกเขาที่ว่า)นี้ถือว่าเป็นการละเลยและบกพร่องอย่างแท้จริงในเรื่องของการดะอฺวะฮ์ อีกทั้งยังเป็นการ(ขัดขวางและ)บีบซึ่งหนทางที่จะนำไปสู่การศึกษาแสวงหาความรู้ให้แคบลง.

           ทั้งนี้เพราะพวกเขาไม่เคยเล็งเห็นว่าวิชาความรู้นั้นคืออาวุธในการดะอฺวะฮ์ของพวกเขา ด้วยเหตุนี้เองการดะอฺวะฮ์ตามรูปแบบนี้ตามพื้นฐานนั้นๆจึงไม่สามารถที่จะแสดงออกให้ประจักษ์ซึ่งความหมาย(และคุณค่า)อันยิ่งใหญ่และสมบูรณ์ของอัล-อิสลาม.



อ้างอิงถึง
            หนังสือ (دراسات في الدعوة واقعٌ ومفاهيم ) ศึกษาวิเคราะห์ในเรื่อง อัด-ดะอฺวะฮ์ ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น และ ความเข้าใจต่างๆ หน้า 346-347 ,  ประพันธ์โดย :  มุหัมหมัด มุสฏอฟา อามีน อาบูฮาชีม (محمد مصطفى أمين أبوهاشم) ,  เขียนคำนิยมโดย : อัล-ลามะฮ์ เชค ซะอีด ฟูดะฮ์(العلامة الشيخ سعيد فودة) ,  สนพ. : ดารุ้นนูร อัล-มุบีน, อัมมาน จอร์แดน 1/2012(دار النور المبين للدراسات والنشر- عمان ، الأردن) . www.darannor.com , info@darannor.com






2
การอาบน้ำในสภาพเปล่าเปลือย

         การอาบน้ำในสภาพเปล่าเปลือยท่ามกลางผู้คนมากมายนั้นไม่เป็นที่อนุญาต เนื่องจากสาเหตุที่ว่าวายิบ จำเป็นต้องปกปิดเอารัต (ขอบเขตอวัยวะพึงสงวน) จากสายตาผู้คน.

       แต่หากว่าการอาบน้ำคนเดียว กล่าวคือไม่มีใครเห็น ก็ถือว่าเป็นที่อนุญาตให้ทำได้ เพราะว่าท่านนาบี มูซา อะลัยฮิสสะลาม เคยอาบน้ำโดยไม่มีเสื้อผ้า และท่านนาบี อัยยูบก็เคยอาบน้ำในสภาพที่เปล่าเปลือยเช่นกัน (ซึ่งก็มีตัวบทหะดิษที่มีรายงานในเรื่องนี้อยู่ใน บุคคอรีย์).

       และหากว่าเกิดมีคนเอาผ้ามาปิดให้เขาเวลาอาบน้ำ ก็ไม่เป็นไรเช่นกัน เพราะท่านนาบี ซ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวาซัลลัม เองก็เคยอาบน้ำในสภาพที่ถูกปิดด้วยผ้า (หะดิษรายงานโดย บุคคอรีย์ และ มุสลิม).

       ทั้งนี้และทั้งนั้นก็สมควรจะต้องมีการปกปิด แม้ว่าจะอาบน้ำคนเดียวโดยปราศจากผู้คนก็ตาม เพราะท่านนาบี ซ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวาซํลลัม ได้กล่าวไว้ว่า

 

(( فالله أحق أن تستحيى منه من الناس ))
เพราะแท้จริงอัลลอฮ์ นั้นเป็นผู้สมควรยิ่งกว่าที่เขาจะต้องอายให้มากกว่ามนุษย์เสียอีก.
[/size]

ดู หนังสือ “ فقه الطهارة ”  หน้า 252  , โดย เชค ดร. ยูสุฟ อัล-ก็อรฎอวีย์ ,  สนพ. วะฮ์บะฮ์  4/2008.

3
การถือศิลอด – ละศิลอด ของคนผู้เดินทาง บนเครื่องบิน


คำถาม
 
ฉันเดินทางมาจากอียิปต์ โดยสายการบินอียิปต์ ไปยัง เคนาดา และนักวิชาการท่านหนึ่ง(จากพนักงานบนเครื่องบิน) ได้บอกกับเราว่าให้ถือศิลอด ทั้งที่เครื่องบินจะใช้เวลาบิน 11 ชั่วโมงโดยประมาณ เราได้เริ่มเดินทางตั้งแต่ บ่ายโมง(ตีหนึ่ง เที่ยงวัน) และให้เราก็ได้ละศิลอดตามเวลาของประเทศอียิปต์ แต่ปัญหามันก็คือขณะที่เราละศิลอดปรากฏว่าดวงอาทิตย์ยังคงส่องแสง ยังไม่ตก ยังไม่ลับขอบฟ้าเว้นแต่เราจะไปจนถึงจุดหมายเสียก่อน(ดวงอาทิตย์จึงจะตก) กล่าวคือ หลังจาก 11 ชั่วโมงผ่านไป และฉันได้สัญญาไว้กับคนหนึ่งในหมู่ลูกเรือบนเครื่องบินนั้นว่าจะมานำคำฟัตวา(ที่ถูกต้อง)มาเสนอพวกเขา....

....ดังนั้นเราจึงอยากทราบทัศนะของท่าน (สถาบันสุงสุดเพื่อการชี้ขาดปัญหาศาสนาแห่งสาธารณรัฐอาหรับ อียิปต์)ในกรณีของเราดังกล่าว?.


คำตอบ

ให้ผู้ถือศิลอด ละศิลอดในขณะ(เครื่องบินกำลังบิน)อยู่ เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าในขณะนั้น ในพิกัดนั้นๆ(ซึ่งดวงอาทิตย์กำลังลับขอบฟ้า) มิใช่ว่าให้เขาละศิลอดตามเวลาประเทศเดิม(อียิปต์) หรือ ประเทศที่ซึ่งเขากำลังบินข้ามผ่านในเส้นทางการบิน ทว่า(ให้เขาละศิลอด)ในขณะที่อาทิตย์ลับขอบฟ้าลงทั้งดวงโดยสมบูรณ์ ตามสายตาของเขา.

    และหากว่าเป็นการยากลำบากแก่เขาที่จะถือศิลอดในเวลาดังกล่าว ก็ให้เขาละศิลอด เนื่องจากความยากลำบากที่มีเพิ่มขึ้นในการเดินทาง โดยไม่ต้องรอให้กลางวันสิ้นสุดลง และเมื่อเขาได้ละศิลอดแล้ว(ในกรณีที่เกิดความลำบากและกลางวันยังไม่สิ้นสุด) ก็ให้เขาชดใช้หนึ่งวันด้วยการถือศิลอดทดแทนวันดังกล่าวที่เขาได้เสียไป ส่วนคำตัดสินที่พนักงานบินที่ว่าให้ถือศิลอดตามเวลาของประเทศเดิม(ที่เดินทางมา) หรือ ประเทศที่กำลังบินผ่าน โดยไม่ต้องคำนึงถึงการลับขอบฟ้าของดวงอาทิตย์ที่อยู่ต่อหน้าผู้เดินทางนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องตามบัญญัติศาสนา.

     ปล. มีบางสภาพที่ดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้า และหลังจากนั้นก็กลับโผล่ขึ้นมาอีกทางทิศตะวันตกเนื่องจากความเร็วของเครื่องบินที่บินผ่าน  และในสภาพเช่นนี้ก็ให้ผู้ถือศิลอดละศิลอดได้เลยโดยไม่ต้องไปคำนึงถึงการกลับมาโผล่อีกครั้งของดวงอาทิตย์ในขณะนั้น.

อ้างอิง ดารุ้ลอิฟตาอฺ อัล-มิศรียะฮ์ ฮ.ศ.1434  : ซูอ่าล่าตุ้ล อะก๊อลลี่ยาต หน้า 231.

4
ฮูก่มการเขียนป้าย ณ สุสาน ตามทัศนะของปราชญ์ มัซฮับ อัช-ชาฟีอีย์


คำถาม : ฉันเคยได้ยินมาว่า ตามทัศนะของปราชญ์ มัซฮับ อัช-ชาฟีอีย์ถือว่า การวางแผ่นป้ายที่มีชื่อแซ่ของผู้ตายไว้ที่สุสานนั้นเป็นสิ่งที่ไม่บังควร “มักโรฮ์” มิทราบว่าจะมีทัศนะอื่นๆที่เกี่ยวกับประเด็นนี้บ้างหรือไม่?
คำตอบ :
     ทัศนะที่ถูกยึดถือ “อัลมุอฺตะมัด” ในมัซฮับ อัช-ชาฟีอีย์ นั้นถือว่า “เมื่อการเขียนดังกล่าวบนสุสานนั้นเป็นไปเพราะมีความจำเป็น “อัล-หาญะฮ์” เฉกเช่นเพื่อให้รู้(ที่ตั้งของ)ศพ ก็ไม่เป็นเรื่อง “มักโรฮ์” แต่อย่างใด”.

        ทว่าท่าน อัล-อีหม่าม อัต-ตะกี้ย์ อัส-สุบกีย์ ซึ่งเป็นปรมจารย์ชั้นครูของมัซฮับ อัช-ชาฟีอีย์ในยุคนั้นกลับมีทัศนะว่า “การวางสิ่งที่จะทำให้รู้ถึงที่ตั้งของสุสานดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องที่ถูกส่งเสริม “มุสตะหับ” ส่วนเรื่องที่ว่ามักโรฮ์นั้นคือการเพิ่มสิ่งอื่นๆที่ได้กล่าวมาแล้ว(ชื่อ)โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่ม อายะฮ์ อัล-กุรอ่าน(ที่ว่ามักโรอ์นั้น)อันเนื่องมาจากกลัวจะเปอะเปื้อนโดยสิ่งสกปรก หรือโดนเหยียบย่ำไปมา แต่หากไม่มีสิ่งดังกล่าวแล้ว(การเขียนสิ่งอื่นจากชื่อ)ก็เป็นที่อนุญาต  ไม่เป็นที่หะรอมแต่อย่างใด มิหนำซ้ำยังถือว่าเป็นเรื่องที่ถูกส่งเสริมให้กระทำเสียด้วยซ้ำไป”.

     ท่านอัล-อีหม่าม อัล-อัซรออีย์ อัช-ชาฟีอีย์ ได้กล่าวตามการคัดลอกของท่านจาก ท่านอัล-อั้ลลามะฮ์ อิบนิ-หะญัร อัล-ฮัยตะมีย์ในตำรา “อัลฟะตาวีย์ อัล-ฟิกฮียะฮ์ อัล-กุบรอย์”ของท่านว่า “ในส่วนของประเด็นการเขียนชื่อของผู้ตายนั้น แท้จริงพวกเขา(ปราชญ์ อัช-ชชาฟีอีย์)กล่าวว่า แท้จริงการวางสิ่งที่ทำให้รู้ถึง(ที่ตั้ง)ของสุสานนั้นถือเป็นเรื่องมุสตะหับ และเมื่อว่า(การเขียน)ดังกล่าวนั้นเป็นหนทางที่ใน(การจะทำให้รู้ที่ของสุสาน)ดังกล่าว ก็เป็นเรื่องที่สมควรถูกส่งเสริมโดยให้อยู่ในขอบเขตที่จำเป็นของการบอกให้รู้ “อัล-เอียะอฺลาม”ซึ่งไม่ถือว่ามักโระฮ์แต่อย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เป็นสุสานของ ผู้เป็นที่รักของอัลลอฮ์ “อัล-เอาลียาอฺ” และผู้ทรงคุณธรรม “อัส-สอลีหีน”นั้นก็ยิ่งแล้วใหญ่ เพราะแท้จริงสถานที่ของสุสานเหล่านี้จะไม่ถูกรู้จักเมื่อระยะเวลาผ่านไปเนิ่นนาน เว้นแต่ด้วย(การเขียนชื่อแซ่)ดังกล่าว”.

     ท่าน อัล-อัลมะฮ์ อัล-บุญัยริมีย์ ได้กล่าวไว้ในตำรา “อัล-หะเชียะฮ์ อะลา ชัรหิ้ล ค่อตีบ อัชชิรบีนีย์ อะลา มัตนิ อะบี ชุญาอฺ”ของท่านว่า “และที่ว่ามักโระฮ์ในเรื่องการเขียน(ชื่อแซ่)บนสุสานนั้นตราบใดที่ไม่ได้เป็นเรื่องของความจำเป็นหากไม่เป็นเช่นนั้น กล่าวคือหากมีความต้องการ(จำเป็น)ในการเขียนชื่อแซ่เพื่อให้รู้จักสถานที่ จะได้มีการมาเยี่ยมเยียนก็ไม่เป็นเรื่องมักโระฮ์แต่อย่างใดยมีข้อแม้ว่าจะต้องจำกัดอยู่ในขอบเขตปริมาณของความจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นสุสานของ อัล-เอาลียาอฺ , อัล-อุละมาอฺ (นักปราญ์)และ อัส-สอลีหีน เพราะแท้จริงสถานที่ของสุสานเหล่านี้จะไม่ถูกรู้จักเมื่อระยะเวลาผ่านไปเนิ่นนาน เว้นแต่ด้วย(การเขียนชื่อแซ่)-จบการอ้างจาก : ม.ร.”.

     ส่วนมัซฮับของอัล-หะนาบีละฮ์ (มัซฮับหัมบะลีย์)นั้นพวกเขาได้ตั้งเงื่อนไขมักโระฮ์(หรือไม่)ไว้กับการมีความจำเป็น(หรือไม่มี)  ดังที่ท่าน อัล-หัญญาวีย์  ใด้กล่าวเป็นตัวบทไว้ในตำรา “อัล-อิกนาอฺ”ว่า “ดังนั้นจึงไม่เป็นที่มักโระฮ์ในเรื่องของการเขียนชื่อแซ่ของผู้ตายตามทัศนะของพวกเขา(ปราชญ์ มัซฮับหัมบะลีย์) หากว่ามีความจำเป็นในเรื่องดังกล่าว และเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าการเขียนชื่อแซ่ของผู้ตายไว้บนสุสานนั้นเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อใช้ในการแยกแยะในคราเยี่ยม ขอพร และสลามให้กับเขา”.
     และ(มีกฏเกณฑ์กล่าวไว้ว่า) :

(وَإِذَا ثَبَتَتِ الْحَاجَةُ انْدَفَعَتِ الْحَاجَةُ)
“และเมื่อมีความจำเป็นเกิดขึ้น ความไม่บังควรก็ถูกผลักไส”

และบรรดานักฟุกอฮาอฺ(ปราชญ์นิติศาสตร์อิสลาม)ได้กล่าวเป็นตัวบทไว้ว่า :

(أَنَّ الكَرَاهَةَ تَزُوْلُ بِأَدْنَىَ حَاجَةٍ)
“แท้จริงมักโระฮ์(สิ่งไม่บังควร)นั้นจะมลายหายไป อันเนื่องมาจากความจำเป็นแค่เล็กน้อย”
     นี่เป็นกฏเกณฑ์ทางนิติศาตร์อิสลาม “กออิดะฮ์ ฟิกฮียะฮ์” ทีบรราด มัซฮับทั้งหลายมากมายให้การยึดถือ.
วัลลอฮ์ ซุบหานะฮุวะตะอาลา อะลัม


______________________________________________________________
อ้างอิง
  สุอ่าลาต อัล-อะก้อลลียาต : ดารุ้ลอิฟตาอฺ อัล-มิศรียะฮ์ ฮศ. 1434  พิมพ์ที่ ดารุ้ล กุตุบ  วั้ลวะซาอิก อัล-เกามียะฮ์ กรุงไคโร 2013,  หน้า 188-189.



5
บรรณานุกรม :


ตำราที่ใช้ประกอบ(ซึ่งสามาถรค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้จากตำราเหล่านี้) :-

-   “เอาเดาะหุ้ล มะซาลีก อิลา อัลฟียะฮ์ อิบนิ มาลิก” : โดย เชค อิบนุหิชาม อัล-อันซอรีย์ อัล- หัมบะลีย์:  เล่มที่ 3 หน้า 38-39.
-   “หาชียะฮ์ อัล-คุฎอรีย์ อะลา ชัรห์ อิบนิ อะกีล อะลา อัลฟียะฮ์ อิบนิ มาลิก” : โดย เชค มุหัมหมัด บิน มุสฎอฟา อัล-คุฏอรีย์ อัชชาฟีอีย์ : เล่มที่ 1 หน้า 524.
-   “หาชียะฮ์ อัด-ดุซูกีย์ อะลา มุฆนิ้ลละบีบ อัน กุตุบิ้ล อะอารีบ” : โดย เชค มุสฎอฟา มุหัมหมัด อะรอฟะฮ์ อัด-ดุซูกีย์ อัล-มาลิกีย์: เล่มที่ 1 หน้า 205-208.
-   “ชัรหฺ อัล-อาญูรรูมียะฮ์ ฟี  อิลม์ อัลอารอบียะฮ์” : โดย เชค อาลี บิน อับดิลลาฮ์ อัส-สันฮูรีย์ : เล่มที่ 1 หน้า 110.
-   “หาชียะฮ์ อัศ-ศ๊อบบาน  อะลา ชัรห์  อัล-อัชมูนีย์” : โดย เชค มุหัมหมัด บิน อาลี อัศ-ศ๊อบบาน อัช-ชาฟีอีย์ : เชิงอรรถ โดย ฏอฮา อับดุรรออูฟ ซะอฺด์  : สนพ.มักตะบะฮ์ เตาฟีกียะฮ์ กรุง ไคโร ไม่ระบุปีและครั้งที่พิม เล่มที่ 2 หน้า 317-320.
-   “อัล-อะวามิล อัล-มิอะฮ์” : โดย เชค อับดุลกอฮีร บิน อับดุรเราะหฺมาน อัลญุรญานีย์ อัช-ชาฟีอีย์ หน้า 44.
-   “อัล-มุอฺญัม อัล-วาฟีย์ ฟี อัน-นะหฺว์ อัล-อะรอบีย์ ” : โดย ดร. อาลีย์ เตาฟีก อัล-หัมด์ และ เชค ยุสุฟ ญะมีล อัซ-ซะอฺบีย์  :หน้า 58-59.

6
_________________________________
1  ที่ว่ามีอยู่สองความหมายนั้นคือสิ่งที่ถูกระบุไว้ใน ตำรา “อัล-อะวามิ้ล อัล-มิอะฮ์”มีอยู่  และได้ถูกระบุไว้ใน ตำรา “มุฆนิ้ล ละบีบ” มีอยู่ 8 ความหมายด้วยกัน ดังจะทยอยนำมากล่าวในลำดับต่อไป อิงชาอัลลอฮ์.


  2 และความหมายนี้ก็นับว่าเป็น ความหมายที่ถูกใช้อย่างมากโดยส่วนใหญ่.
ดังกล่าวนี้ ไม่ว่าจะกรณีใดๆก็ตาม ดังนี้

- (الغَايَة المَكَانِيَّة) เป้าหมายที่เป็นสถานที่ เช่น โองการที่ว่า (مِنَ الْمَسْجِدِ الْحَرَامِ إِلَى الْمَسْجِدِ الْأَقْصَى) “จากมัสยิด อัลหะรอม สู่มัสยิด อัลอักซอ”(ซูเราะฮ์ อัล-อิสเราะอฺ :1) 

- (الغَايَة الزَّمَانِيَّة) เป้าหมายที่เป็นเวลา เช่น ฮาดิษที่ว่า  فَمُطِرْنَا مِنَ الْجُمُعَةِ إِلَى الْجُمُعَةِ “เราถูกฝนกระหน่ำจากศุกร์หนึ่งกระทั่งอีกศุกร์หนึ่ง” (อัล-บุคอรีย์ ฮาดิษที่ 1016,1019).

-คำที่ตกหลัง “อิลา” เป็น สิ่งสุดท้ายอย่างแท้จริง (الآخِرُ الْحَقِيْقِيُّ) เช่น โองการ (مِنَ الْمَسْجِدِ الْحَرَامِ إِلَى الْمَسْجِدِ الْأَقْصَى)   ข้างต้น
 
-คำที่ตกหลัง “อิลา” เป็น สิ่งติดกับสิ่งสุดท้าย(เป้าหมาย) (مُتَّصِلَا بِالآخِرُ)  เช่น نِمْتُ اللَّيْلَةَ إِلَى نِصْفِهَا ฉันนอนในตอนกลางคืน จนถึง(เวลาที่ติดกับ)เที่ยงคืน.


  3 หรือเรียกอีกอย่างว่า (الْمُصَاحَبَة)  “อัล-มุศอหะบะฮ์” ความหมายคือ การที่เราผนวกสิ่งหนึ่งเข้ากับอีกสิ่งหนึ่ง  ไม่ว่าทั้งสองอย่างนั้นจะเป็นชนิดเดียวกันหรือไม่ก็ตาม ซึ่งเครื่องหมายที่จะบ่งบอกว่า “อิลา” มีความหมายดังกล่าวนี้ คือ เราสามารถที่จะวางคำว่า “مَعَ” แทนที่คำว่า “إِلَى” ได้อย่างเหมาะสม และไม่ทำให้เปลี่ยนความหมายแต่อย่างใด.

     การใช้ความหมาย “อัล-มุศอหะบะฮ์” นี้ ตามทัศนะของ ปราชญ์“อัล-กูฟียีน” และส่วนหนึ่งจาก “อัล-บัศรียีน” ดังโองการที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่มีนักวิชาการบางท่านมีทัศนะว่า “อิลา” ใช้ความหมายเดิมๆของมัน นั่นก็คือ “อินติฮาอฺ อัล-ฆอยะฮ์” โดยให้ “อิลา” ไปเกี่ยวพันกับสิ่งที่ถูกตัดไปเสียแล้ว (مُتَعَلِّقٌ بِمَحْذُوْف) ซึ่งสมมุติขึ้นว่า “مَضْمُوْمًا أو مَضْمُوْمَةً” (ซึ่งแปลว่า ผนวกหรือรวมเข้าด้วยกัน) ซึ่งจากโองการที่กล่าวมาสามารถสมมุติได้ดังนี้
-(وَيَزِدْكُمْ قُوَّةً إِلَى قُوَّتِكُمْ)  = وَيَزِدْكُمْ قُوَّةً – مَضْمُوْمَةً - إِلَى قُوَّتِكُمْ
- (أَمْوَالَهُمْ إِلَى أَمْوَالِكُمْ)= أَمْوَالَهُمْ – مَضْمُوْمَةً -  إِلَى أَمْوَالِكُمْ 

    คำถาม : สิ่งที่เป็น “อัลฆอยะฮ์” (الْغَايَة) (คือคำที่ตกหลังจาก “อิลา”)นั้นจะเข้าภายใต้ ความต้องการหรือจุดมุ่งหมาย (الْحُكْم) ของประโยคนั้นๆหรือไม่?

     คำตอบ : ก่อนที่จะเข้าไปตอบคำถามข้างต้นเราจะต้องทราบก่อนว่า ระหว่าง “إلَى” และ “حَتَّى”  นั้นมีความสัมพันธ์กันในประเด็นดังกล่าวมาแล้วนี้ ซึ่งการที่“อัลฆอยะฮ์”นั้นจะเข้าภายใต้ ความต้องการหรือจุดมุ่งหมาย (الْحُكْم) ของประโยคนั้นๆหรือไม่นั้น เราสามารถแบ่งออกเป็นสอง กรณีดังนี้

      กรณีที่หนึ่ง : เมื่อมีพยานแวดล้อม(อัล-กอรีนะฮ์) (الْقَرِيْنَة) บ่งชี้ว่า “อัล-ฆอยะฮ์” เข้าหรือไม่เข้า ภายใต้ “ฮูกม”ของประโยค ก็ให้ยึดถือตามนั้นได้เลย

1)ตัวอย่าง ประโยคที่มีพยานแวดล้อมบ่งชี้ว่า “อัล-ฆอยะฮ์” เข้า ภายใต้ “ฮูกม”ของประโยค เช่น
قَرَأْتُ الْقُرْآنَ مِنْ أَوَّلِهِ إلَى آخِرِه  ฉันได้อ่านคัมภีร์ อัล-กุรอ่าน จากเริ่มแรกกระทั่งสุดท้าย(จบ)(หมายความว่าส่วนสุดท้ายของ อัล-กุรอ่านก็ถูกอ่านไปด้วย)
พยานแวดล้อม ณ ที่นี้คือ จารีตส่วนใหญ่(อัล-อุรฟ์) (الْعُرْفُ)  เป็นตัวบ่งชี้ว่าคำในประโยคนี้ถูกใช้ในความหมายครอบคลุม และทั่วถึง (เริ่มจากแรกจนสุดท้ายครอบคลุมหมด)
บางทัศนะเห็นว่า พยานแวดล้อม ณ ที่นี้ คือ กรมีเจตนาที่จะอ่านให้สมบูรณ์(إِرَادَةُ الاسْتِيْفَاء) .

2)ตัวอย่าง ประโยคที่มีพยานแวดล้อมบ่งชี้ว่า “อัล-ฆอยะฮ์” ไม่เข้าภายใต้ “ฮูกม”ของประโยค เช่น โองการที่ว่า
 (ثُمَّ أَتِمُّوا الصِّيَامَ إِلَى اللَّيْلِ) “หลังจากนั้นพวกเจ้าจงถือศิลอด(เต็มวัน)จวบจนกระทั่งกลางคืน”(ซูเราะฮ์ อัล-บะกอเราะฮ์ : 187) (กลางคืนไม่เข้า ก็ไม่ต้องถือศิลอด)
พยานแวดล้อมในโองการข้างต้น คือ เป็นที่รู้กันในทางศาสนาว่า การถือศิลอดนั้นถูกบัญญัติเฉพาะกลางวันไปจนกระทั่งส่วนสุดท้ายของกลางวัน และจะสิ้นสุดเมื่อเข้าส่วนแรกของเวลากลางคืน.


กรณีที่สอง : เมื่อมีพยานแวดล้อม(อัล-กอรีนะฮ์)ดังกล่าวมา
กรณีนี้นักวิชาการ มีทัศนะความเห็นที่ต่างกันออกไปสรุปได้ 3 ทัศนะด้วยกันดังนี้

1)ทัศนะที่หนึ่ง “อัล-ฆอยะฮ์” เข้าภายใต้ “ฮูกม”ของประโยคทุกกรณี (ไม่ว่าจะกรณีที่“อัล-ฆอยะฮ์”เป็นชนิดเดียวกับสิ่งที่อยู่ก่อนหน้ามันหรือไม่ก็ตาม) เช่น “سِرْتُ فِي النَّهَارِ إِلَى اللَّيْلِ” ฉันเดินทางในตอนกลางวันจนกระทั่งกลางคืน(ก็ยังเดินทางอยู่)(กลางคืน คนละชนิดกับกลางวัน).

2)ทัศนะที่สอง “อัล-ฆอยะฮ์” เข้า ภายใต้ “ฮูกม”ของประโยค หาก“อัล-ฆอยะฮ์”เป็นชนิดเดียวกับสิ่งที่อยู่ก่อนหน้ามัน และไม่เข้าหากเป็นคนละชนิดกัน เช่น “سِرْتُ فِي النَّهَارِ إِلَى وَقْتِ الْعَصْرِ” ฉันเดินทางในตอนกลางวันจนกระทั่งเวลาเย็นอัสรี(ก็ยังเดินทางอยู่)(เวลาอัศรีชนิดเดียวกับกลางวัน).

3)ทัศนะที่สาม “อัล-ฆอยะฮ์” ไม่เข้าภายใต้ “ฮูกม”ของประโยคทุกกรณี และเจ้า ตำรา“มุฆนิ้ลละบีบ”กล่าวว่านี่เป็นทัศนะที่ถูกต้อง เนื่องจาก พยานแวดล้อมที่บ่งชี้ว่า“อัล-ฆอยะฮ์” ไม่เข้าภายใต้ “ฮูกม”ของประโยค นั้นมีมากกว่า จึงจำเป็นจะต้องถือตามในประเด็นที่มีการขัดแย้งสงสัยกัน(กล่าวคือในประเด็นที่ไม่มีพยานแวดล้อมบ่งชี้).

7
บุพบท อักษร ที่สาม  : อิลา (إلى)


และสำหรับ “อิลา” นั้นมีสองความหมายด้วยกัน1  ดังนี้ :

(1)ความหมายที่หนึ่ง : (انْتِهَاءُ الْغَايَة)  “อินติฮาอฺ อัลฆอยะฮ์” (การสิ้นสุดซึ่งเป้าหมาย)2
เช่น (سِرْتُ مِنَ الْبَصْرَةِ إِلَى الْكُوْفَةِ) “ฉันได้เดินทาง(เริ่ม)จาก เมืองบัศเราะฮ์ กระทั่งถึงเมืองกูฟะฮ์”
หมายถึง  (أي :انْتِهَاءُ سَيْرِي مِنَ الْبَصْرَةِ إِلَى الْكُوْفَةِ)  “การสิ้นสุดซึ่งการเดินทางของฉันจากเมืองบัศเราะฮ์ ยังเมืองกูฟะฮ์”.


(2) ความหมายที่สอง : (مَعَ) “มะอา” (พร้อมด้วย) 3 ซึ่งนับว่าเป็นความหมายที่(ถูกใช้)น้อยมาก
- เช่น คำดำรัสของอัลลอฮ์ ตาอาลา ที่ว่า (وَيَزِدْكُمْ قُوَّةً إِلَى قُوَّتِكُمْ) “และพระองค์จะทรงเพิ่มพูนแก่พวกท่านซึ่งพลังเสริมทวีพลังของพวกท่าน”(ซูเราะฮ์ ฮูด :52)  หมายถึง (مَعَ قُوَّتِكُمْ) “พร้อมกับพลังของพวกท่าน”.

-และ ดังคำดำรัสของอัลลอฮ์ ตาอาลา ที่ว่า (وَلَا تَأْكُلُوا أَمْوَالَهُمْ إِلَى أَمْوَالِكُمْ) “และพวกเจ้าอย่าบริโภค(รับประโยชน์)ทรัพย์สินของพวกเขา(โดยเอามารวม)เข้ากับทรัพย์สินของพวกเจ้า”(ซูเราะฮ์ อันนิสาอฺ :2)  หมายถึง (مَعَ أَمْوَالِكُمْ) “พร้อมกับทรัพย์สินของพวกท่าน”
และตัวอย่างอื่นๆอีกที่คล้ายคลึงกัน.

9
 :allahuakbar:
อาโด่....ท่าน อดีตมุฟตีย์
หนังสือตั้งกว่า 200 หน้า
แต่ก็อิงชาอัลลอฮ์ไว้ก่อนนะ...(ถ้ามีโอกาสเหมาะๆ)
 :-[

10
หากท่านใดต้องการศึกษาเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับ เชค อัลบานีย์
ผมขอเเนะนำ หนังสือ التعقبات الحديثية على الشيخ الألباني
แต่งโดย ศ.ดร. อะลีย์ อับดุลบ่าซิต
หัวหน้า สาขาวิชา อัล-หะดิษ มหาวิทยาลัย อัล-อัซฮัร
โดยในเล่มจะ ครอบคลุมหัวข้อต่างๆดังนี้
-ท่าทีของเชคอัลบานีย์ ที่มี ต่อ ซอเฮียะฮ์ อัล-บุคคอรี
-ท่าทีของเชคอัลบานีย์ ที่มี ต่อ ซอเฮียะฮ์ มุสลิม
-ท่าทีของเชคอัลบานีย์ ที่มี ต่อ ตำราสุนันทั้งสี่
-เเนวทางของ เชค อัลบานีย์ ในการ ตัครีจ เเละ ตัดสิน อัล-ฮะดิษ
-ท่าทีของเชคอัลบานีย์ ที่มี ต่อ ประเด็นการใช้หะดิษ ดออีฟ
-ข้อบกพร่องของ เชค อัลบานีย์
-รายนามบรรดาตำรา และงานประพันธ์ต่างๆที่มาตอบโต้เชคอัลบานีย์
-เอกลักษณ์ของแนวคิดที่เด่นชัดและเเนวทางของ เชคอัลบานีย์




11
...แฮ่ๆๆ...พอดีรีบไปหน่อย...ขอบคุณครับ...ขออัลอฮ์ตอบเเทนครับ mycool: cool2:

12


ท่านเชค มุหัมมัด นาศิรุดดีน อัล-อัลบานีย์
เราะหิมะฮุลลอฮฺ


     ท่านเชค นาศิรุดดีน อัล-อัลบานีย์ นับว่าเป็นหนึ่งในบรรดามุหัษดิษิน (คือ ผู้ที่สาละวนทุ่มเทอยู่กับศาสตร์ อัล-หะดิษทั้งด้านของ อัร-ริวายะฮ์ และอัด-ดิรอยะฮ์ และเป็นผู้ที่มีความรอบรู้กว้างขวางครอบคลุมจำนวนมากของอัล-หะดิษ ทั้งด้านของสายรายงาน และสภาพของผู้รายงาน)ซึ่งเป็นที่โจษขานหลายๆท่าน ในยุคสมัยนี้


ท่านมีความรู้ ความสามารถที่กว้างขวางในด้านของหลักวิชาการอัลฮะดิษ ไม่ว่าจะในด้านของ อัด-ดิรอยะฮ์(คือ ศาสตร์ทีว่าด้วยเรื่องของกฏเกณฑ์ และหลักการ ที่ใช้ในการสืบค้นสภาพของสายรายงาน และตัวบท ว่าอยู่ในระดับที่ดีเยี่ยม ดี หรือ อ่อน  และอื่นๆอีก...)หรือในด้านของอัร-ริวายะฮ์(คือ ศาสตร์ที่ครอบคลุมถึงการเคลื่อนย้ายถ่ายทอด-รายงาน-สิ่งที่เกี่ยวข้องกับบรมศาสดา ซ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวาซัลลัม ไม่ว่าจะเป็น คำพูด การกระทำ การยอมรับ หรือ คุณลักษณะ)


ถึงกระนั้นก็ตามยังมีบางประการที่พึงเอาใจใส่และควรให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะท่านเชคเองก็หาใช่ผู้ที่ “มะอฺศูม”(ผู้ที่ปราศจากความผิดพลาดเฉกเช่นนาบี)ไม่ - ดั่งที่พวกเราเอียะอฺติกอดหรือยึดมั่นกันอย่างนั้น ดังนั้น(ความรู้บางๆเรื่อง) เราก็สามารถที่จะรับเอาจากเขาได้ ในขณะที่บางๆ เรื่องนั้นเราจะต้องปล่อยวางและหลีกห่าง


(ท่านเชค มีทั้งถูก และผิด) หาใช่ว่า(จะถูกเสียทั้งหมดทุกเรื่องไป) ดั่งเช่นการเข้าใจผิดของบรรดาสานุศิษย์และผู้ถือตามท่านได้เข้าใจ อย่างไรก็ตาม การที่ท่านเชคก็ได้ทุ่มเทความอุตสาหะพยายามในการรับใช้ อัล-ฮะดิษบางๆ บทนั้นก็ขอพระองค์ อัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงตอบแทนคุณงามความดีแด่ท่านด้วยเทอญ.


จะเป็นการดียิ่งหากท่านเชค ดำเนินและเจริญรอยตามแนวทางของบรรดานักวิชาการ อัล-หะดิษยุคก่อนๆที่พวกเขาเหล่านั้นมิได้เป็นผู้สันทัดและชำนาญ ในด้านของ อัล-ฟิกฮ์ และ อุซู้ลุ้ลฟิกฮ์ กล่าวคือหากท่านดำเนินตามแนวทางดังกล่าวแล้วไซร้ ก็เท่ากับว่าท่านได้นำเสนอผลงานและการรับใช้ที่ยิ่งใหญ่แก่โลกอิสลาม ซึ่งเป็นงานชิ้นที่นักวิชาการแห่งโลกอิสลามจะหนีไม่พ้น(เว้นแต่จะต้องได้รับซึ่งผลประโยชน์จากงานนั้น)
 

ทว่าความเป็นจริงนั้นหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เมื่อท่านเชคเองได้เข้าไปยุ่งสาละวน และเกี่ยวพันอยู่ในแวดวงของประเด็นปัญหาทางด้านฟิกฮ์ ท่านจึงต้องตกอยู่ในความผิดพลาดมากมายอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ จึงทำให้โลกอิสลามก็พลอยยุ่งเหยิงไปด้วย และอนุชนรุ่นต่อมาก็ต้องพลอยแตกออกเป็นฝั่งเป็นฝ่าย มีทั้งผู้ที่สนับสนุนท่าน และผู้ที่คัดค้านท่าน


ซึ่งผู้อ่านเองจะเห็นได้ว่าท่านเชค จะทำการฮุก่มตัดสินบางประเด็นปัญหาโดยอาศัยฮะดิษที่ท่านมีอยู่ หลังจากนั้นท่านก็กลับไปตัดสินอีกทัศนะหนึ่งอันเนื่องมาจากมีฮะดิษอีกต้นหนึ่งที่มีน้ำหนักกว่า(ฮาดิษแรก) ซึ่งดังกล่าวนี้เป็นไปในรูปแบบของการขัดแย้งกันในตัวเอง และผู้อ่านจะพบการตัดสินฮุก่มในหนังสือเล่มนี้ขัดแย้งกับการตัดสินในอีกเล่มหนึ่ง(ซึ่งเป็นปัญหาเดียวกันแท้ๆ)


และนี่ก็คือทัศนะความเห็นของฉัน(ศ.ดร. อับดุ้ลมาลิก อับดุรเราะห์มาน อัส-สะอฺดีย์)ที่มีต่อเชคท่านนี้ และฉันสรรเสริญอัลลอฮ์ ...อัลหัมดุลิลลาฮ์ เมื่อฉันพบว่า ท่านเชค อาลีย์ อัฏ-ฏอนฏอวีย์เองท่านก็ได้มีทัศนะต่อ ท่านเชค อัล-อัลบานีย์เหมือนกับทัศนะของฉันข้างต้น กล่าวคือ ท่านได้พร่ำเตือนท่านเชค อัลบานีย์ให้ปล่อยวางประเด็นปัญหาเรื่องฟิกฮ์ และปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้ที่เขามีความสันทัดและเชี่ยวชาญ
 

และดังกล่าวมานี้หาใช่เรื่องแปลกไม่ เพราะบรรดาปราชญ์ชั้นนำในศาสตร์ อัล-ฮะดิษเฉกเช่น ท่านอีหม่าม มุสลิม , ติรมีซีย์,  นะซาอีย์ พวกเขาเหล่านี้ ได้ปล่อยให้ฟิกฮ์เป็นเรื่องของบรรดาฟุกอฮาอฺ(นักนิติศาตร์) ประหนึ่งว่าสถานะของพวกเขาที่มีต่อบรรดาฟุกอฮาอฺ เป็นดั่งถ้อยสำนวนที่เลื่องลือที่พวกเขา(นักวิชาการอัล-ฮะดิษ)ได้พูดกับบรรดาฟุกอฮาอฺว่า ..

“พวกเราเป็นเพียงแค่เภสัชกร-(ที่คอยจัดยาให้) ส่วนพวกท่าน(ฟุกอฮาอฺ)นั้นเป็นดั่งนายแพทย์-(ผู้เชี่ยวชาญในด้านโรคและการรักษา)”
     

เราไม่สามารถที่จะเปรียบเทียบนักวิชาการฮะดิษได้นอกจากเป็นดั่งผู้ที่คอยสรรหาตระเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆในการทำงานชิ้นหนึ่งๆ และฟุกอฮาอฺก็เปรียบได้ดั่งนายช่างที่มีความชำนาญการเป็นพิเศษซึ่งประดิษฐ์งานชิ้นต่างๆ และนำมันออกสู่สายตาผู้คนในสภาพที่เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว และแม้ว่าส่วนมากจากบรรดานักวิชาการอัล-หะดิษนั้นจะเป็นฟุกอฮาอฺด้วย ทว่าพวกเขาเหล่านั้นก็หนีไม่พ้นไปจากบ่วงการถือตาม(ตักลีด)นักวิชาการฟิกฮ์ท่านอื่นๆ


ดังนั้น คำนาซีหัตของฉันอย่างบริสุทธ์ใจที่มีต่อปรมจารย์ท่านเชคอัล-อัลบานีย์ผู้นี้ คือขอให้ท่านได้ปล่อยวางให้ประเด็นปัญหาเรื่องฟิกฮ์เป็นเรื่องของผู้ที่เชี่ยวชาญและสันทัดเถิด ดั่งที่ท่านอีหม่ามมุสลิม อัต-ติรมีซีย์ ,  อัล-หะกีม  ,  อัน-นะซาอีย์, อิบนิมาญะฮ์ และท่านอื่นๆ ที่เป็นกลุ่มนักวิชาการที่คอยวิเคาระห์ในเรื่องศาสตร์ที่เกี่ยวกับ“อัล-ญัรห์ วัต-ตะอฺดี้ล(เป็นศาสตร์ที่กี่ยวข้องกับการวิเคราะห์สภาพของผู้รายงาน) และพวกเขาเหล่านั้น ก็ปล่อยประเด็นปัญหาเรื่องฟิกฮ์ให้เป็นเรื่องของท่าน อาบีหะนีฟะฮ์ ,ท่านอาบี ยูสุฟ ,ท่านมุหัมหมัด อัช-ชาฟีอีย์ ,ท่านอัล-มุซนีย์ ,ท่านอัล-บุวัยฏีย์ และท่านอื่นๆอีกมากมาย


อ้างอิง   

- ดร. มะห์มูด อัฏ-เฏาะหาน : ตัยซีร มุศฏอลาหิ้ลหะดิษ หน้า 14 สนพ. ดาร์ อัต-ตุรอษ อัล-อะรอบีย์ 1981

- ศ.ดร. มูหัมหมัด มะห์มูด อะหมัด บักการ  : บุลูฆุ้ล อ่ามาล มิน มุศฏอลาหิ้ลหะดี้ษิวัร-ริญาล หน้า 17, 23 สนพ. ดารุสะลาม พิมพ์ครั้งที่ 1/2012

- อาลีย์ อัฏ-ฏอนฏอวีย์ : ฟะตาวีย์ อัช-ชัยค์ อาลีย์ อัฏ-ฏอนฏอวีย์ หน้า พิมพ์ครั้งที่  1/ฮศ.1405

- ศ.ดร. อับดุ้ลมาลิก อับดุรเราะห์มาน อัส-สะอฺดีย์ : อัล-บิดอะฮ์ ฟิ้ลมัฟฮูมิ้ดดะกีก หน้า 40-41 สนพ.ดาร์ อัน-นูรอัล-มุบีน จอร์แดน พิมพ์ครั้งที่ 7/2014


13
ลำดับ ตำราของท่าน อีหม่าม นะวาวีย์ (รอฮิมาฮุ้ลลอฮ์)
     เมื่อเราพบเจอ (สำนวนที่ดูเผิญๆแล้ว) มันขัดแย้งกัน ในระหว่าง บรรดาตำราของท่าน อีหม่าม นะวาวีย์(รอฮิมาฮุ้ลลอฮ์)ด้วยกันเอง ดังนั้นให้เรา เรียงลำดับ ตามนี้
1)   อัต-ตะห์กีก  (التحقيق)
2)   อัล-มัจญมุอฺ     (المجموع)
3)   อัต-ตันกีห์   (التنقيح)
4)   อัร-เราเฎาะฮ์   (الروضة)
5)   อัล-มินฮาจญ์ (المنهاج)
6)   บรรดา หนังสือ ฟัตวาย์ ของท่านเอง (فتاواه)
7)   ชัรห์ มุสลิม (شرح مسلم)
8)   ตัศหีหุ้ต-ตัมบีฮ์ (تصحيح التنبيه)
9)   อัต-ตัมบีฮ์ (التنبيه)
และดังกล่าวนี้ก็คือ ลำดับที่ท่าน อิบนุ หะญัร  (รอฮิมาฮุ้ลลอฮ์) ได้เรียบเรียงเอาไว้

ดู หนังสือ “อัล-ฟัตหุ้ล มุบีน ฟีตะรีฟ มุสฏอลาหาต อัลฟุกอฮาอฺ วั้ล อุซูลียีน”  หน้า 154
 โดย ศ.ดร. มุหัมหมัด อิบรอฮีม อัลหัฟนาวีย์ ศาสตราจารย์ ภาค วิชา อุซู้ลุ้ลฟิกฮ์
 คณะ นิติศาสตร์ และกฎหมาย มหาวิทยาลัย อัล-อัซฮัร วิทยาเขต ฏอนฏอ  สนพ.ดารุ้สลาม 3/2009


14
(4) ความหมายที่สี่ : (فِيْ)  “ฟี” (ใน) 6  เช่นคำดำรัสของอัลลอฮ์ที่ว่า  (إِذَا نُودِيَ لِلصَّلَاةِ مِنْ يَوْمِ الْجُمُعَةِ)  “เมื่อมีการประกาศให้ละหมาดในวันศุกร์”(อัล-ญุมุอะฮฺ :9) หมายความว่า فِيْ يَوْمِ الْجُمُعَةِ

(5) ความหมายที่ห้า : (زَائِدَةٌ) “ซาอิดะฮฺ” (เป็นบุพบทเพิ่ม ไม่มีความหมาย)7  เช่น
  (مَا جَاءَنِيْ مِنْ أَحَدٍ) ความหมาย คือ(مَا جَاءَنِيْ أَحَدٌ)  “ไม่ได้มีใครมาหาฉันหรอก”
 ซึ่งข้อสังเกตที่สามารถทราบได้ คือ หากคำว่า “มิน” มันหลุดออกไปจากประโยค ก็ไม่ได้ทำให้ความหมายของประโยคบกพร่องแต่อย่างใด.


_________________________________________________________________

6 หรือเรียกอีกอย่างว่า “อัซ-ซอรฟียะฮฺ” ซึ่งมีอยู่สองประเภท
1 ซอรฟฺ อัล-มะกาน (นามบอก สถานที่) เช่น (أَرُونِي مَاذَا خَلَقُوا مِنَ الْأَرْضِ) “พวกท่านจงทำให้ฉันเห็นประจักษ์ สิว่าสิ่งใดบ้างจาก(ใน)แผ่นดินที่พวกนั้นสร้างขึ้น”(ฟาฏิร :40)
2 ซอรฟฺ อัซ-มาน (นามบอกเวลา) เช่น อายะฮฺ (إِذَا نُودِيَ لِلصَّلَاةِ مِنْ يَوْمِ الْجُمُعَةِ)  “เมื่อมีการประกาศให้ละหมาดในวันศุกร์”(อัล-ญุมุอะฮฺ :9) ข้างต้น.
ทัศนะที่เห็นต่าง
ทัศนะที่หนึ่ง เป็นทัศนะของ “อัล-กูฟียีน” พวกเขาเห็นว่า “มิน” ในสองอายะฮฺข้างต้น ให้ความหมาย “ซอรฟฺ อัล-มะกาน” และ “ซอรฟฺ อัซ-ซะมาน”ตามลำดับ.
ทัศนะที่สอง เป็นทัศนะของ “อัล-บัศรียีน” พวกเขาเห็นว่า “มิน”ข้างต้นให้ความหมาย “บายาน อัล-ญินส์” ดังเช่นที่ได้ผ่านมาใน อายะฮฺ  (مَا نَنْسَخْ مِنْ آيَةٍ)  (อัล-บะกอเราะฮ์ :106)ข้างต้น หาใช่จะให้ความหมาย “ซอรฟฺ” ดังทัศนะที่หนึ่งอ้าง.

7 ซึ่งรายละเอียดต่างของ “มิน ซาอิดะฮฺ” (ที่เป็นบุพบทเพิ่ม) นั้น โปรดติตามใน โอกาสหน้าครับ อิงชาอัลลอฮ์

15

บุพบท อักษร ที่  สอง  : “มิน” 1 ( مِنْ) 


     สำหรับ “บุพบท ฮัรฟ์ มิน” นั้นมีหลายความหมาย ด้วยกันดังนี้ 2

(1) ความหมายที่หนึ่ง : (ابْتِدَاءُ الغَايَة)  “อิบติดาอฺ อัล-ฆอยะฮฺ” (การเริ่มต้นระยะทาง) 3 เช่น  (سِرْتُ مِنَ الْبَصْرَةِ إِلَى الْكُوْفَةِ)  “ฉันได้เดินทางจากเมืองบัศเราะฮ์จนถึงเมืองกูฟะฮ์”   

มีความหมายว่า  (ابْتِدَاءُ سَيْرِي مِنَ الْبَصْرَةِ إِلَى الْكُوْفَةِ)  “การเริ่มเดินทางของฉันนั้น คือจากเมืองบัศเราะฮ์ จนกระทั่งถึงยังเมืองกูฟะฮ์”

(2) ความหมายที่สอง : (تَبْيِيْنُ الْجنْسِ)  “ตับยิน อัล-ญินส์” (การอธิบายถึงชนิด) 4  เช่นคำดำรัสของอัลลอฮ์ที่ว่า  (فَاجْتَنِبُوا الرِّجْسَ مِنَ الْأَوْثَانِ)  “ดังนั้นพวกเจ้าจงห่างไกลสิ่งโสโครก จาก วัตถุบูชาทั้งปวง”(อัล-หัจญ์ :30)

มีความหมายว่า  (الَّذِي هُوَ الْأَوْثَانُ)  “ซึ่ง(สิ่งโสโครก)นั้นก็คือ วัตถุบูชาทั้งปวง”.
ซึ่งความหมายนี้มีข้อสังเกตที่รู้ได้คือ เหมาะสมที่จะวางคำว่า “الَّذِي” แทนที่คำว่า “مِنْ”

(3) ความหมายที่สาม : (التَّبْعِيْضُ)  “อัต-ตับอีฎ” (ส่วนหนึ่ง) 5  ตัวอย่างเช่น

 (شَرِبْتُ مِنَ الْمَاءِ)  “ฉันดื่ม(จาก)น้ำ”  ซึ่งมีความหมายว่า  (بَعْضَ الْمَاءِ)  “(ฉันดื่ม)ส่วนหนึ่งจากน้ำ”.
(أخَدْتُ مِنَ الدَّرَاهِمِ)  “ฉันเอา(จาก)หลายเหรียญดิรฮัม”

 ซึ่งมีความหมายว่า  (بَعْضَ الدَّرَاهِمِ)  “(ฉันเอา)ส่วนหนึ่งจากหลายเหรียญดิรฮัม”.
และความหมายนี้มีข้อสังเกตที่รู้ได้คือ เหมาะสมที่จะวางคำว่า “بَعْضُ” แทนที่คำว่า “مِنْ”.


________________________________________________________

1 “บุพบท ฮัรฟ์ มิน” จะทำหน้าที่ ญัรร์ คำนามที่ตกหลังจากมัน ไม่ว่าจะเป็น

1 คำนาม (اسْمُ الظَّاهِر) 
2 คำสรรพนาม (اسْمُ الضَّمِيْر)
     และ อักษรสุดท้ายของมัน(นั้นคือ อักษรนูน) จะอยู่ในสภาพที่ “บีนาอฺ” (ในสภาพ สูกูน)ตลอด (โดยไม่มีการเปลี่ยนรูปสระท้ายคำนั้น ณ อักษร นูนแต่อย่างใด) เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
1-หากมันถูกติดต่อด้วยคำว่า “อัล อัลมะอฺรีฟะฮ์” (الْ) นูนก็จะ รับ “ฟัตหะฮ์”  ซึ่งดังกล่าวนี้ขัดแย้งกับ ” กฎการหลีกเลี่ยงการพบกันระหว่างสองอักษรที่(ถูกอ่าน)ตาย (หลีกเลี่ยง) โดยการให้อ่าน กัสร์”
 (التًّخَلُّص مِن التِقَاءِ السَّاكِنَيْنِ بِالْكَسْر) 
ตัวอย่างเช่น  (حَضَرْتُ مِنَ الْمَدْرَسَةِ) ฉันมาจากโรงเรียน.
2-หากมันถูกติดต่อด้วยด้วย “ฮัมซะฮ์ วัศล์” (ا)  นูนก็จะรับ ”กัสเราะฮ์” (ซึ่งตรงตามกฏดังกล่าวมา)
 ตัวอย่างเช่น   (عَجِبْتُ مِنِ اسْتِهَانَةِ الْمُسْلِم بِصَلَاتِه )  ฉันพิศวงใจเนื่องจากการที่มุสลิม(คนหนึ่ง)ดูถูก(ทำง่ายๆ)ต่อละหมาดของเขาเอง.

2  ท่าน อัลลามะฮ์ อิบนุ ฮิชาม อัล-อันซอรีย์ ได้ระบุไว้ในตำรา “มุฆนิ้ล ลาบีบ”ของท่านว่า มีอยู่ 15 ความหมาย ด้วยกัน ดังจะนำเสนอต่อไปจนครบอิงชาอัลลอฮ์.

3 นักวิชาการบางท่านกล่าวว่าความหมายนี้คือ ความหมายที่ถูกใช้มากที่สุดในบรรดาความหมายของ “มิน”
     1 กรณีที่นักวิชาการมีความเห็นตรงกัน :
นักวิชาการมีความเห็นตรงกันว่า “มิน” นั้นจะให้ความหมาย การเริ่มต้นใน อื่นจากเวลา เช่น สถานที่ เหตุการณ์ และ บุคคล(الابْتِدَاءُ فِي الْمَكَانِ وَالْأَحْدَاثِ والْأَشْخَاضِ)  ตัวอย่างเช่น

-การเริ่มต้นในสถานที่ (مِنَ الْمَسْجِدِ الْحَرَامِ)   “เริ่มจากมัสยิด อัล-หะรอม” (อัล-อิสรออฺ :1).
-การเริ่มต้นในเหตุการณ์ (مِنْ أَوَّلِ يَوْمٍ)  “เริ่มจาก(การสถาปนาก่อตั้ง)วันแรก” (อัต-เตาบะฮฺ :108).
-การเริ่มต้นในตัวบุคคล ( إِنَّهُ مِنْ سُلَيْمَانَ)  “แท้จริงมัน(เป็นหนังสือที่)มาจากสุไลมาน” (อัน-นัมลฺ :30).

     2 กรณีที่นักวิชาการมีความเห็นต่างกัน :
นักวิชาการมีความเห็นต่างกันว่า “มิน” นั้นจะให้ความหมาย การเริ่มต้นในเวลา(الابْتِدَاءُ فِي الْزَّمَانِ)  โดยมีทัศนะต่างๆดังนี้ :
-ทัศนะที่หนึ่ง “บัศรียูน”(นอกจาก ท่าน อัล-อัคฟัช , ท่าน อัล-มุบัรริด, และท่าน อิบนุ ดุสตุรียะฮฺ) มีความเห็นว่าไม่อนุญาต นอกจากดังกล่าวนั้นจะต้องมีการตะวีลตีความ.
-ทัศนะที่สอง “กูฟียูน”(และ ท่าน อิบนุ มาลิก และ ท่าน อาบูหัยยาน) มีความเห็นว่าอนุญาต โดยอ้างเหตุผลว่า เนื่องจากมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในคำพูดคนอาหรับทั้งใน บทร้อยแก้ว(النَّثْرُ)   และบทร้อยกรอง(النَّظْمُ)  และเนื่องจากการ ตีความตะวีลไม่สู้จะดีสักเท่าไหร่ อันเนื่องมาจากกฎที่ว่า (وَالْأَصْلُ عَدَمُ التَّأوِيْلِ)  ”พื้นฐานเดิมแล้วนั่นคือไม่มีการตีความ”.
ส่วนหนึ่งจากบรรดาหลักฐาน ที่ทัศนะที่สองอ้างเพื่อใช้สนับสนุนทัศนะของตนมีดังนี้

-อายะฮฺ อัล-กุรอ่าน  (مِنْ أَوَّلِ يَوْمٍ)  “เริ่มจากวันแรก” (อัต-เตาบะฮฺ :108).
-และโองการที่ว่า  (إِذَا نُودِيَ لِلصَّلَاةِ مِنْ يَوْمِ الْجُمُعَةِ)  “เมื่อมีปะกาศให้ละหมาดในวันศุกร์” (อัล-ญุมุอะฮฺ :9).
-อัลหะดิษ (فَمُطِرْنَا مِنَ الجُمُعَةِ إِلَى الجُمُعَةِ)  และเราถูกฝน(กระหน่ำใส่)จากศุกร์หนึ่งจนกระทั่งอีกศุกร์หนึ่ง”(รายงานโดย บุคคอรี 1016,1019 และนักรายงานท่านอื่นๆ).
คำตอบของทัศนะที่หนึ่งที่มีต่อหลักฐาน ทัศนะที่สอง

นักวิชาการ “อัล-บัศรียูน” ตอบว่า
-อายะฮฺที่หนึ่งนั้น เป็นการเริ่มต้น เหตุการณ์ ไม่ใช่เริ่มต้นเวลา จึงต้องมีการ(ตักเดร) สมมุติขึ้นมาว่า
 (مِنْ تَأسِيسِ أَوَّلِ يَوْمٍ)  “เริ่มจาก(การสถาปนาก่อตั้ง)วันแรก”
-ส่วนอายะฮฺที่สองนั้น “มิน”นั้นเป็น “มิน ซอรฟียะฮฺ” (الظَّرْفِيَّة)โดยจะใช้ความหมาย ว่า “ใน” (فِي)  และยังเป็นการเริ่มต้น เหตุการณ์ ไม่ใช่เริ่มต้นเวลาอีกด้วยเช่นกัน จึงต้องมีการ(ตักเดร) สมมุติส่วนหน้า(มุดอฟ) ขึ้นมาว่า

 (مِنْ صَّلَاةِ يَوْمِ الْجُمُعَةِ)  “ในการละหมาดในวันศุกร์”
-ส่วนหะดิษข้างต้นนั้นเป็นการเริ่มต้น เหตุการณ์เช่นกันโดยจะต้องมีการตักเดร(มุดอฟ) ขึ้นมาว่า
 (فَمُطِرْنَا مِنْ صَلَاةِ الجُمُعَةِ)  “และเราถูกฝน(กระหน่ำใส่)จากละหมาดวันศุกร์หนึ่ง”(ชัรห์ อัต-ตัศรีหฺ)
คำโต้กลับจากทัศนะที่สองต่อทัศนะที่หนึ่ง

     นักวิชาการ “ทัศนะที่สอง” ตอบกลับโดยใช้ กฎที่ว่า(أَنَّ الْأَصْلَ عَدَمُ الْحَذْفِ)  “พื้นฐานเดิมแล้วนั้น คือไม่มีการตัด(ซึ่งนำไปสู่การตักเดร)” .
 หรืออีกสำนวนหนึ่ง คือกฎที่ว่า(وَالْأَصْلُ عَدَمُ التَّأوِيْلِ)   ”พื้นฐานเดิมแล้วนั่นคือไม่มีการตีความ”
และท่าน  “อัร-รอฎีย์”  มีความเห็นว่า  “ทัศนะที่ชัดเจน คือ ทัศนะอัล-กูฟียูน เนื่องจากว่า ไม่มีข้อห้ามแต่อย่างใดในการในการที่เราจะพูดว่า
(نِمْتُ مَنْ أَوَّلِ اللَّيْلِ إِلَى آخِرِهِ)  ฉันนอนเริ่มจากช่วงต้นของกลางคืนไปจนถึงช่วงท้ายของมัน
 และ(صُمْتُ مَنْ أَوَّلِ الشَّهْرِ إِلَى آخِرِهِ)   ฉันถือศิลอดจากต้นเดือนจนกระทั่งปลายเดือน ซึ่งดังกล่าวนี้ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย”.

4 สำหรับคำที่ตกหลังจาก “มิน ตับยิน อัล-ญินส์” หรือ “มิน บายาน อัล-ญินส์” มีอยู่สองกรณี

1 กรณีที่หนึ่ง นักวิชาการมีมติเห็นพ้องกัน ว่า “มิน” จะให้ความหมาย “ บายาน อัล-ญินส์

 ในเมื่อคำที่ตกหลังจากมัน เป็นคำนามที่มีความหมายกำกวม “อิสมฺ อัล-มุบฮัม” (اسْمُ المُبْهَم) เช่น
หลังจากคำว่า “مَا” และ “مَهْمَا” (ซึ่งคำทั้งสองนี้มีระดับความกำกวมที่เข้มข้นมาก) ซึ่งกรณีนี้จะพบมาก เช่น
-โองการ (مَا يَفْتَحِ اللَّهُ لِلنَّاسِ مِنْ رَحْمَةٍ)  “ความเมตตาใดที่อัลลอฮ์ทรงเปิดไว้แก่มนุษย์”(อัล-ฟาฏิร :2)
-โองการ (مَا نَنْسَخْ مِنْ آيَةٍ)  “โองการใดก็ตามที่เรา(อัลลอฮ์)ยกเลิก”(อัล-บะกอเราะฮ์ :106)
-โองการ (مَهْمَا تَأْتِنَا بِهِ مِنْ آيَةٍ)  “มาดแม้นว่าจะไม่มีสัญลักษณ์ใดๆ”(อัล-อะอฺรอฟ :132)

2 กรณีที่สอง นักวิชาการมีทัศนะความเห็นต่างกัน ว่า “มิน” จะให้ความหมาย “บายาน อัล-ญินส์”


ในเมื่อคำที่ตกหลังจากมัน เป็นคำนามที่ไม่มีความหมายกำกวม  ซึ่งในกรณีนี้นักวิชาการมีทัศนะที่ต่างกันออกเป็นสองทัศนะดังนี้

ทัศนะที่หนึ่ง นักวิชาการส่วนมากมีความเห็นว่า อนุญาตให้ “มิน บายาน อัล-ญินส์” ตกหลังจาก คำนามที่ไม่มีความหมายกำกวมได้ (คือ อื่นจากคำว่า “مَا” และ “مَهْمَا”ข้างต้น) เช่น
-โองการ (يُحَلَّوْنَ فِيهَا مِنْ أَسَاوِرَ مِنْ ذَهَبٍ وَيَلْبَسُونَ ثِيَابًا خُضْرًا مِنْ سُنْدُسٍ وَإِسْتَبْرَقٍ)  “พวกเขาได้รับการประดับภายในนั้นด้วยกำไลที่ทำมาจากทองคำ และพวกเขาสวมใส่เสื้อผ้าสีเขียวซึ่งทำมาจากไหมละเอียด และไหมหยาบ”(อัล-กะฮฺฟี :31) “มิน บายาน อัล-ญินส์” ในอายะฮฺ คือ “มิน” ที่สองเป็นต้นไป ส่วน “มินแรก”ในคำว่า  (مِنْ أَسَاوِرَ)  นั้นเป็น “มิน อัล-อิบติดาอฺ” บ้างก็ว่า “มิน อัซ-ซาอิดะฮฺ”.
-โองการ(فَاجْتَنِبُوا الرِّجْسَ مِنَ الْأَوْثَانِ)  “ดังนั้นพวกเจ้าจงห่างไกลสิ่งโสโครก จาก วัตถุบูชาทั้งปวง”(อัล-หัจญ์ :30) ดังกล่าวมาขางต้น.

ทัศนะที่สอง นักวิชาการกลุ่มหนึ่ง คือ นักวิชาการ “อัล-มุฆอรอบะฮฺ” (الْمُغَارَبَة) ปฏิเสธ”มิน บายาน อัลญินส์” โดยพวกเขาให้คำตอบต่อหลักฐานของทัศนะที่หนึ่งดังนี้

-“มิน” ในโองการ (مِنْ ذَهَبٍ وَيَلْبَسُونَ ثِيَابًا خُضْرًا مِنْ سُنْدُسٍ وَإِسْتَبْرَقٍ)  เป็น “มิน อัต-ตับอีฎ”(แปลว่าส่วนหนึ่ง)
-และ“มิน” ในโองการ(فَاجْتَنِبُوا الرِّجْسَ مِنَ الْأَوْثَانِ)  คือ “มิน อัล-อิบติดาอฺ” และ สมมุติความหมายของประโยคได้ว่า فَاجْتَنِبُوا مِنَ الْأَوْثَانِ الرِّجْسَ وَهُوَ عِبَادَتُهًا  ซึ่งเป็นทัศนะที่ห่างไกลจากความเป็นจริง.

ข้อพึงระวัง
     พวกนอกรีต(الزَّنَادِقَة) บางคน ต้องการที่จะโจมตีและให้ร้าย อัครสาวกของท่านศาสดา (ซ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวาซัลลัม) โดยอาศัย โองการที่ว่า  (وَعَدَ اللَّهُ الَّذِينَ آمَنُوا وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ مِنْهُمْ مَغْفِرَةً وَأَجْرًا عَظِيمًا)
”อัลลอฮ์ ได้สัญญาไว้แก่บรรดาผู้มีศรัทธา และประพฤติแต่ความดีงามจากพวกเขา ว่าทรงนิรโทษ และประทานรางวัลอันยิ่งใหญ่(แก่พวกเขา)”(อัล-ฟัตห์ :29)
     โดยพวกเขาอ้างว่า ส่วนหนึ่งจากบรรดา อัครสาวกนั้นเป็นคนดี และอีกส่วนหนึ่งไม่ดี โดยพวกเขาได้อาศัยอายะฮฺ ข้างต้นว่า ”มิน”ในอายะฮฺนั้น คือ “อัตตับอีฎ” (ซึ่งแปลว่าส่วนหนึ่ง) จึงให้ความหมายว่า คำสัญญาของอัลลอฮ์ที่จะประทาน การนิรโทษ และรางวัลอันยิ่งใหญ่นั้น จะได้แค่เฉพาะส่วนหนึ่ง(ที่เป็นคนดี)เท่านั้น.
      ทว่าความเป็นจริงแล้ว “มิน” ณ ที่นี้ คือ “มิน บายาน อัลญินส์” ซึ่งความหมายคือ “الَّذِينَ آمَنُوا هُمْ هَؤُلَاء” เนื่องจากว่า อัครสาวกทั้งหลายนั้น เป็นผู้มีคุณธรรม และเป็นผู้ที่มีความยำเกรงเป็นอย่างยิ่ง.
     ซึ่งเราอาจจะพบ สำนวนในทำนองเดียวกันนี้ในอายะฮฺที่ว่า
(وَإِنْ لَمْ يَنْتَهُوا عَمَّا يَقُولُونَ لَيَمَسَّنَّ الَّذِينَ كَفَرُوا مِنْهُمْ عَذَابٌ أَلِيمٌ)
“และหากพวกเขาไม่ยุติคำพูดของพวกเขา(เช่นนั้น)แน่นอนการลงโทษอันทรมานยิ่งจะต้องสัมผัสแก่บรรดาผู้เนรคุณจากพวกเขา”(อัล-มาอิดะฮฺ :73)
โองการนี้ครอบคลุมถึงผู้ปฏิเสธทุกๆคน ดังนั้นความหมายโองการนี้คือ لَيَمَسَّنَّ الَّذِينَ كَفَرُوا الَّذِيْنَ هُمْ هَؤُلَاءُ.


5 และตัวอย่างจากอายะฮฺ อัล-กรุอ่าน เช่น
 (لَنْ تَنَالُوا الْبِرَّ حَتَّى تُنْفِقُوا مِمَّا تُحِبُّونَ) “เจ้าทั้งหลายจะยังไม่บรรลุสู่คุณธรรม(อันแท้จริง)ได้จนกว่าเจ้าทั้งหลายจะได้บริจาคบางสิ่งที่เจ้าทั้งหลายรัก” (อาลาอิมรอน :92).
และมีรายงานที่บ่งชี้สนับสนุนความหมายของ “มิน” ในอายะฮฺว่าเป็น “มิน อัต-ตับอีฎ” นั่นก็คือ การอ่านของท่าน อิบนิ มัสอูดที่ว่า (حَتَّى تُنْفِقُوا بَعْضَ مَا تُحِبُّونَ) และเป็นที่ทราบกันดีว่า แท้จริงโองการอัล-กุรอ่านนั้น อธิบายซึ่งกันและ.
และโองการ (مِنْهُمْ مَنْ كَلَّمَ اللَّهُ) “บางคนจากพวกเขา(บรรดาศาสนทูต)เป็นผู้ที่อัลลอฮฺทรงตรัส(เขาคือ นาบีมูซา)”(อัล-บะกอเราะฮฺ :253)
และโองการ (وَمِنَ النَّاسِ مَنْ يَقُولُ آمَنَّا بِاللَّهِ) “และในหมู่มนุษย์บางคนมีผู้ที่กล่าวว่า เราศรัทธาในอัลลอฮฺ”(อัล-บะกอเราะฮฺ :8).
ทัศนะที่เห็นต่าง
ทัศนะที่หนึ่ง เป็นทัศนะของ ปรวงปราชญ์ส่วนใหญ่ (อัล-ญูมฮูร) มีความเห็นว่า ความหมาย “อัต-ตับอีฎ”นั้นเป็นหนึ่งในความหมายของ “มิน” และท่าน “อิบนุ อุศฟูร” ก็ได้ตัดสินให้น้ำหนักกับทัศนะนี้.
ทัศนะที่สอง เป็นทัศนะของ ท่าน อัล-มุบัรริด, ท่าน อัล-อัคฟัช อัศ-ศอฆีร, ท่าน อิบนุ อัส-สัรรอจญ์ ,ท่าน อัส-สุฮัยลีย์ และ นักวิชาการบางกลุ่ม พวกเขาเห็นว่า “มิน” ไม่มีความหมาย “อัต-ตับอีฎ” ทว่า “มิน” มีแค่ความ “อิบติดาอฺ อัล-ฆอยะฮฺ” และความหมายอื่นๆจะหวนกลับไปยังความหมายนี้.
     ท่าน “อัล-มุรอดีย์” กล่าว(โดยสนับสนุนทัศนะที่สองนี้)ว่า “เมื่อท่านกล่าวว่า (أَكَلْتُ مِنَ الرَّغِيْفِ)  “ฉันได้รับประทาน(ส่วนหนึ่ง)จากโรตี” นั่นก็หมายความ ท่านได้ทำให้การรับประทาน ดำเนินไปบนส่วนบนชิ้นส่วนแรกของโรตี (โรตีเลยแยกตัวออก) เราจะเห็นได้ว่า ท้านที่สุดแล้วความหมายของประโยคย่อมหวนกลับไปยังความหมายของ “อัล-อิบติดาอฺ”.





หน้า: [1] 2