แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - เคราทอง

หน้า: [1]
1
อะไรคือความแตกต่างระหว่าง (لم) กับ (لمَّا) ในเชิงของความหมาย ?? โดย เชค หาฟิซ หะซัน หะซะนีย์ ญะลาล




ความแตกต่างระหว่างทั้งสองนั้น คือ การจำกัดขอบเขตของเวลาในการปฎิเสธ เช่น เรากล่าวว่า ..

لَم تحضرِ السيّارة 

"รถยนต์นั้นยังมาไม่ถึง"


กับประโยค

لمَّا تحضرِ السيّارة

"รถยนต์นั้นยังมาไม่ถึง"


ดังนั้นแล้ว เรามาดูว่า อะไรคือแตกต่างระหว่างสองประโยคดังกล่าว ??

ประโยคแรก (لم تحضرِ السيّارة) ทำให้เกิดความเข้าใจได้ว่า เป็นปฏิเสธการมาถึงของรถยนต์ในช่วงเวลาผ่านมา แต่ไม่ได้ปฏิเสธการมาถึงของรถยนต์ในช่วงเวลาอนาคต คือว่า การปฎิเสธในช่วงอดีตกาล แต่ไม่ได้ปฎิเสธช่วงเวลาอนาคต แสดงว่ารถยนต์นั้น อาจจะสามารถมาถึงภายในไม่ช้า.


ประโยคที่สอง (لمَّا تحضر السيارة) ทำให้เกิดความเข้าใจได้ว่า ปฏิเสธการมาถึงของรถยนต์ในช่วงเวลาที่ผ่านมา (الماضى) หรืออดีตกาล และช่วงระยะเวลาปฏิเสธนั้นยังคงยึดยาวไปถึงเวลาขณะพูด(ปัจจุบัน).

ซึ่งนี่ก็คือ ความละเอียดอ่อนของหลักไวยกรณ์อาหรับในการอธิบายถึงการปฏิเสธ


สำหรับในการดำเนินชีวิตประจำวันของเรานั้น เมื่อเรามีความต้องการทีจะปฏิเสธสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เฉพาะในช่วงอดีตกาล แล้วเราก็มีความต้องการที่จะปฏิเสธสิ่งหนึ่งสิ่งใดในช่วงเวลาอดีตกาลจนถึงปัจจุบันอีกด้วย ดังนั้น เราก็จะพูดว่า ..

لم أَشرَبِ اللَبَنَ وَلَمَّا أشربِ الدَواءَ

"ที่ผ่านมาฉันไม่เคยดื่มนมเลย และทีผ่านมา จนถึงปัจจุบันฉันก็ไม่เคยกินยาเลย"

การจำกัดเวลาของการปฏิเสธไม่กินยาดังกล่าวจากประโยคข้างต้นนั้น มีความสำคัญมากแก่เป้าหมายในด้านปฏิบัติตามคำสั่งคุณหมอ และสำหรับการไม่ดื่มนมนั้นมันมีความสำคัญน้อยกว่ายารักษา


ทั้งสองประโยคข้างต้นชี้ให้เห็นว่า ผู้ป่วยนั้นต้องการที่จะอธิบายให้คุณหมอได้รับทราบว่า เขาไม่เคยดื่มนมเลย แต่เขาอาจจะดื่มนมก็ได้ ภายหลังจากทีเขาพบคุณหมอ และมากไปกว่านั้นเขาไม่เคยกินยาสักครั้งเลยจนถึงขณะที่กำลังคุยอยู่กับคุณหมอ ทั้งๆ ที่ยานั้นมีความสำคัญกว่านมซะด้วยซ้ำ ดังนั้นแล้ว ประโยคทั้งสองชี้ให้เห็นถึง การจำกัดขอบเขตความหมายของการปฎิเสธ


และในพระคัมภีร์อัลกุรอ่านที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ได้ทรงตรัสไว้ว่า ..

قالتِ الأعرابُ آمَنَّا قُل لَم تُؤمِنُوا ولكن قو لواأَسلَمنا ولَمَّا يدخُلِ الإِيمانُ فى قُلوبكم

"ชาวอาหรับชนบทกล่าวว่าเราศรัทธาแล้ว จงกล่าวเถิดมูหัมหมัดว่า พวกท่านยังมิได้ศรัทธา แต่จงกล่าวเถิดว่าเราเข้ารับอิสลามแล้ว เพราะการศรัทธายังมิได้เข้าสู่หัวใจของพวกท่าน" (ซูเราะฮฺ อัล-หุจญรอต : 14)

ดังนั้น ความหมายของ (لمّاَ) ในอายัตข้างต้นนี้ ชี้ให้ถึงการปฏิเสธว่า การศรัทธานั้นยังมิได้เข้าในหัวใจของอาหรับชนบทในอดีตกาลและปัจจุบัน


ดู ตำรา  النحو للجميع  แต่งโดย เชค หาฟิซ หะซัน หะซะนีย์ ญะลาล หน้าที่ 261


2

อะไรคือ ความหมายของประโยคเงื่อนไข(الشرط) เมื่อใช้กับคำว่า "لَمَّا" ??

          "لَمَّا" เป็นอีกหนึ่งเครื่องหมายชัรตฺ(ประโยคเงื่อนไขที่ ต้องการสองอย่างหลักๆ คือ فعل الشرط และ جواب الشرط) ที่ไม่ต้องอ่านยาซัม(คือ การอ่านซูกูน)

          "لَمَّا" นั้นคือ ظرف ที่มีความหมาย( حِينَ : ในขณะที่) และนักปราชญ์ไวยกรณ์อาหรับบางท่านได้นับว่า (لَمَّا) เป็น  حرفًا(บุพบท) ไม่ใช่ اسمًا (คำนาม)

ตัวอย่างเช่น 

لَمَّا نَزَلَ المَطَرُ اِبتَلَتِ الأَرضُ

"ในขณะที่ฝนได้ตก แผ่นดินก็ได้ชุ่มฉ่ำ"

คือว่า فعل الشرط (ประโยคเงื่อนไข) ซึ่งก็คือ "ฝนตก" นั้น จะต้องเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันกับการเกิดขึ้นของประโยค جواب الشرط (ประโยคตอบรับเงื่อนไข)  คือ "แผ่นดินชุ่มฉ่ำ"

และนี่ก็คือ การทำหน้าที่ของ "لَمَّا الشَرطِيَّة" ที่บ่งชี้ว่า "فعل الشرط" และ "جواب الشرط"  นั้น จะต้องเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน

หมายเหตุ : การที่เรานำ "لَمَّا" มาใช้อื่นจากความหมายที่ได้กล่าวมาในตัวอย่างข้างต้นนั้น ถือว่าใช้ไม่ได้

ตัวอย่างเช่น ..

لَمَّا نَزَلَ المَطَرُ نَبَتَ الزَرعُ

"ในขณะที่ฝนได้ตก เมล็ดพืชได้เจริญเติบโต"

เนื่องจาก การเจริญเติบโตของเมล็ดพืชนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นในเวลาเดียวกันกับในขณะที่แผ่นดินชุ่มฉ่ำไปด้วยน้ำฝน


เช่นเดียวกัน ตัวอย่างที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ ถือว่าเป็นการใช้ที่ไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน คือ ""

لَمَّا قَرَأَ الوَلَدُ الدَرسَ نَجَحَ فِى الامتِحَانِ

"ในขณะที่เด็กคนนั้นได้อ่านบทเรียน เขาได้สอบผ่าน"
   
เนื่องจาก การอ่านบทเรียนนั้นไม่ได้เกิดขึ้นในเวลาเดียวกับการสอบผ่านของเด็กคนนั้น แต่ที่ถูกต้องเราจะต้องพูดว่า ..

لَمَّا قَرَأَ الوَلَدُ الدَرسَ فَهِمَ مَا فِيهِ

"ในขณะที่เด็กผู้ชายคนนั้นได้อ่านบทเรียน เขาได้เข้าใจสิ่งที่อยู่ในบทเรียนนั้น" 

เพราะการอ่านบทเรียนนั้น ได้เกิดขึ้นในเวลาขณะที่เขากำลังเข้าใจ ซึ่งทั้งสองนั้น ได้เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน


ข้อแตกต่างระหว่าง "لَمَّا الشَرطِيَّة"(เงื่อนไข) และ "لَمَّا النَافِيَّة"(ปฎิเสธ)

     "لَمَّا" เป็นอีกหนึ่งเครื่องหมายชัรตฺ(เงื่อนไข) ที่ไม่ต้องยาซัม(คือ การอ่านซูกูน) ซึ่งจะมี "الفِعل المَاضى"(กริยาที่บ่งบอกถึงอดีตกาล) มาตกหลังจาก "لَمَّاالشَرطِيَّة" ทั้งใน "فِعل الشَرط"(ประโยคเงื่อนไข) และ "جواب الشرط"(ประโยคตอบรับเงื่อนไข)


สำหรับข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างทั้งสองคำนี้ คือ ..

"لَمَّا الشَرطِيَّة" จะเป็น "الفعل الماضى" เท่านั้น ที่จะต้องตกหลัง "لَمَّا الشَرطِيّة" และ "لَمَّا" นั้น ไม่มีการทำหน้าที่ใดๆ ทั้งสิ้นใน "الفعل الماضي"(กริยาที่บ่งบอกถึงอดีตกาล)

ส่วน "لَمَّا النَا فِيَّة" คือ "الفِعل المُضَارِع"(กริยาที่บ่งบอกถึงปัจจุบันกาล) จะต้องตกหลัง لَمَّا เท่านั้น ดังนั้นแล้ว لَمَّا ก็จะทำหน้าทีปฎิเสธ และจะอ่านยาซัมที่ الفعل المضارع

ดังตัวอย่างเช่น 

لَمَّا يَحضُرِ الِقطَارُ

"รถไฟนั้นยังมาไม่ถึง"

คือ เป็นการปฎิเสธการมาของรถไฟ


ดู ตำรา النَحوُ لِلجَمِيعِ ประพันธ์โดย เชค หาฟิซ หะซัน หะซะนีย์ ญะลาล หน้าที่ 297


...............................................واللهُ أَعلَمُ بِالصَّوَابِ............................................

หน้า: [1]