แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - الفاتنجي

หน้า: [1]
1
إسقاط الحمل
การทำแท้ง

وإذا كان الإسلام قد أباح للمسلم أن يمنع الحمل لضرورات تقتضي ذلك فلم يبح له أن يجني هذا الحمل بعد أن يوجد فعلا.

เมื่อปรากฏว่าศาสนาอิสลามอนุโลมให้แก่มุสลิมในการห้ามการตั้งครรภ์ เพราะเนื่องจากว่ามีความจำเป็นที่นำพาให้กระทำสิ่งดังกล่าว อิสลามก็ไม่อนุโลมแก่มุสลิมในการที่จะก่ออาชญากรรมกับเด็กในครรภ์ภายหลังจากที่เขามีเป็นตัวเป็นตนแล้วอย่างแน่นอน ถึงแม้ว่าการตั้งครรภ์นี้ จะเกิดขึ้นมาโดยทางที่มิชอบก็ตาม

واتفق الفقهاء على أن إسقاطه بعد نفخ الروح فيه، حرام وجريمة، لا يحل للمسلم أن يفعله لأنه جناية على حي، متكامل الخلق، ظاهر الحياة، قالوا: ولذلك وجبت في إسقاطه الدية إن نزل حيا ثم مات، وعقوبة مالية أقل منها إن نزل ميتا.

บรรดานักวิชาการนิติศาสน์อิสลามต่างมีความเห็นพ้องต้องกันในเรื่องของการทำแท้งภายหลังจากการเป่าวิญญาณเข้าไปในครรภ์แล้วนั้น เป็นเรื่องที่ฮาราม และเป็นการก่ออาชญากรรม ไม่อนุญาตให้แก่มุสลิมในการที่กระทำเช่นนั้น เพราะว่าเป็นการก่ออาชญากรรมต่อสิ่งมคชีวิตซึ่งถูกสร้างมาอย่างสมบูรณ์แล้ว มีชีวิตปรากฎชัดแล้ว บรรดานักวิชาการจึงกล่าวว่า : ด้วยเหตุดังกล่าวนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการจ่ายค่าสินไหมจากการทำให้เด็กแท้ง ถ้าหากว่าเด็กนั้นคลอดออกมาในสภาพที่มีชีวิต แล้วต่อมาเด็กก็ตายลง และโทษทางด้านทรัพย์สินจะลดน้อยลง ถ้าหากว่าเด็กนั้นคลอกออกมาในสภาพที่ตายแล้ว

ولكنهم قالوا: إذا ثبت من طريق موثوق به أن بقاءه -بعد تحقق حياته هكذا- يؤدي لا محالة إلى موت الأم،

แต่ทว่านักวิชาการได้กล่าวว่า เมื่อมีการยินยันจากวิธีการที่น่าเชื่อถือได้ว่า การคงอยู่ของเด็กหลังจากการมีชีวิตที่แน่นอนแล้ว เช่นนี้ จะนำไปสู่การเสียชีวิตของแม่อย่างไม่มีทางเลี่ยง

فإن الشريعة بقواعدها العامة تأمر بارتكاب أخف الضررين

ฉะนั้นตามหลักนิติศาสตร์ด้วยกับหลักการนิติบัญญัติทั่วๆไปนั้น ใช้ให้กระทำสิ่งที่เป็นอันตรายที่เบาที่สุดระหว่างสองอันตรายดังกล่าวนั้น

فإذا كان في بقائه موت الأم، وكان لا منقذ لها سوى إسقاطه، كان إسقاطه في تلك الحالة متعينا، ولا يضحي بها في سبيل إنقاذه؛

ฉะนั้นเมื่อปรากฏว่าการคงอยู่ของเด็กนั้น คือความตายของแม่ และไม่มีหนทางใดๆสำหรับนาง นอกเสียจากว่าจะต้องทำแท้ง ดังนั้นการทำแท้งในกรณีเช่นนี้ ถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็น และจะต้องไม่มคการสังเวยนางในหนทางที่จะช่วยให้เด็กรอด

لأنها أصله، وقد استقرت حياتها، ولها حظ مستقل في الحياة، ولها حقوق وعليها حقوق، وهي بعد هذا وذاك عماد الأسرة. وليس من المعقول أن نضحي بها في سبيل الحياة لجنين لم تستقل حياته، ولم يحصل على شيء من الحقوق والواجبات.

เพราะเนื่องจากว่าแม่นั้น เป็นที่มาของเด็ก และชีวิตของนางก็มีอย่างแน่นอนอยู่แล้ว นางก็มีส่วนที่เป็นเอกเทศในการดำรงชีวิตอยู่ นางมีสิทธิ์ และก็มีหน้าที่สำหรับนาง และนางนั้น หลังจากตรงนี้และตรงนั้น นางจะกลายเป็นเสาหลักของครอบครัว และมันเป็นสิ่งที่ไม่กินด้วยสติปัญญา(ไม่สมเหตุสมผล)ในการที่พวกเราจะเอานางเป็นที่สังเวยในวิถีทางที่จะรักษาไว้ซึ่งชีวิตขิงเด็กที่ยังไม่มีชีวิตแยกออกมาอย่างเอกเทศ และยังไม่มีสิทธิ หน้าที่ไดๆเกิดขึ้นกับเด็กนั้นเลย

وقال الإمام الغزالي يفرق بين منع الحمل وإسقاطه: "وليس هذا -أي: منع الحمل- كالإجهاض والوأد؛

ท่านอีหม่ามฆอซาลียฺได้แยกระหว่างการห้ามมิให้มีครรภ์กับการทำแท้งว่า : อั้นนี้นะ(การห้ามมิให้มีครรภ์)นั้น ไม่เหมือนกับการทำแท้งและการฝั่งทั้งเป็น

لأن جناية على موجود حاصل. والوجود له مراتب. وأول مراتب الوجود أن تقع النطفة في الرحم وتختلط بماء المرأة، وتستعد لقبول الحياة وإفساد ذلك جناية،

เพราะเนื่องจากว่าการทำแท้งนั้น เป็นการก่ออาชญากรรมกับสิ่งที่มีขึ้นแล้ว เกิดขึ้นแล้ว และการมีอยู่สำหรับสิ่งนั้น มันก็มีขั้นของมัน ขั้นแรกๆของการมีอยู่นั้น ก็คือการที่อสุจิ มันตกไปอยู่ในมดลูก และก็ผสมกับน้ำของหญิงสาว และก็พร้อมสำหรับการที่จะส่อรับการมีชีวิต และการทำลายสิ่งดังกล่าวนั้น ถือว่าเป็นการก่อาชญากรรม

فإن صارت نطفة مغلقة، كانت الجناية أفحش، وإن نفخ فيه الروح واستوت الخلقة، ازدادت الجناية تفاحشا، ومنتهى التفاحش في الجناية هي بعد الانفصال حيا".

ฉะนั้นถ้าหากว่านุตฟะนั้น กลายเป็นก้อนเลือดแล้ว ดังนั้นการก่ออาชญากรรมนั้น ก็จะเลวทรามยิ่งกว่า และถ้าหากมีการเป่าวิญญาณแล้ว และก็มีรูปมีร่างครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ดังนั้นการก่ออาชญากรรมนั้น ก็จะเลวทรามยิ่งขึ้นไปอีก และความเลวทรามที่สุดในการก่ออาชญากรรมอันนี้ การคือที่เด็กแยกออกมา
แล้ว(คลอดออกมาแล้ว)ในสภาพที่มีชีวิตอยู่ แล้วก็ฆ่าเด็ก

อ้างอิง : หนังสือ ฮาลาลและฮารอมในอิสลาม หน้า 178-179
โรงพิมพ์ : มักตะบะตฺ วะฮฺบะตฺ
ผู้แต่ง : ด็อกเตอร์ ยูสูฟ ก็อรฎอวียฺ

2

الحكمة في إباحة التعدد

วิทยญานในการอนุญาตให้มีภรรยามากกว่าหนึ่งคน

แท้จริงศาสนาอิสลามนั้น คือ พระดำรัสสุดท้ายของอัลลอฮฺ(ซุบฮานะฮูวาตะอาลา)ซึ่งบรรดาศาต์นทั้งหลายถูกปิดฉากสิ้นสุดลงด้วยกับพระดำรัสของพระองค์อัลลอฮฺอันนี้ เพราะเหตุนี้เอง ศาสนาอิสลามจึงนำมาด้วยกับหลักนิติธรรมที่ครอบคลุมและถาวรซึ่งแผ่ขยายวงกว้างไปทั่วทุกนานาประเทศ ภูมิภาคโดยรวม และมนุษยชาติทั้งหมด

แท้จริงแล้วศาสนาอิสลามจะไม่วางบัญญัติแก่บุคคลที่อยู่ในสังคมเมือง และเพิกเฉยหลงลืมต่อชนชาติบาดาวียฺ(ชาวเบดุอิน) และจะไม่วางบัญญัติเพียงในภูมิภาคที่มีอากาศหนาว และหลงลืมกับภูมิภาคที่มาอากาศร้อน และจะไม่วางบัญญัติให้แก่ช่วงยุคสมัยหนึ่งสมัยใดเป็นกรณีเฉพาะโดยเพิกเฉยละเลยกับช่วงยุคสมัยอื่นๆและบรรชนรุ่นอื่นๆ
และแท้จริงศาสนาอิสลามได้ประเมินผลถึงความสำคัญของปัจเจกบุคคล และความสำคัญของสังคม และได้ประเมินถึงความต้องการของพวกเขา และสิทธิประประโยชน์ของพวกเขาทั้งหมด

ส่วนหนึ่งของมนุษยชาตินั้น ก็คือ บุคคลซึ่งมีความปรารถณาอย่างแรงกล้าในเรื่องของการสืบเชื้อสายสกุลรุ่นชาติ แต่ทว่าเขานั้น ถูกประทานริสกี(โชคลาภ)ด้วยกับการมีภรรยาซึ่งมิอาจจะให้กำเนิดลูกได้ เพราะเนื่องจากการเป็นหมันหรือเจ็บป่วยหรืออื่นๆจากเรื่องดังกล่าว ฉะนั้นจะไม่เป็นการมีเกรียติที่สุดและมีความประเสริฐที่สุดแก่นางกระนั้นหรือโดยการที่ผู้ชายจะทำการงานกับหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งสามารถที่จะทำให้ความปรารถนาของเขาเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมพรัอมกับการคงอยู่ไว้ซึ่งภรรยาคนแรก และยังได้รับการประกันรักษาคลุมครองใว้ซึ่งสิทธิต่างๆของนาง

และส่วนหนึ่งจากบรรดาผู้ชายทั้งหลายนั้น ก็คือ บุคคลซึ่งมีสัญชาตญานกำนัดรุนแรง แต่ทว่าเขานั้น ถูกประทานริสีก(โชคลาภ)ด้วยกับการมีภรรยาซึ่งไม่ค่อยจะมีความปรารถนาในเรื่องอย่างว่าสักเท่าไร หรืออาจจะเป็นผู้หญิงซึ่งเจ็บอ็อดๆแอ็ดเป็นประจำ หรืออาจจะเป็นผู้หญิงซึ่งมีรอบเดือนที่ยาวนาน หรือเรื่องในทำนองดังกล่าว

อันบรุษเพสนั้น หาได้มีความสามารถที่จะอดทนได้มากกว่าผู้หญิงในเรื่องดังกล่าวไม่ จะไม่เป็นที่อนุมัติแก่เขากระนั้นหรือในการที่เขาจะไปแต่งงานกับหญิงอีกคนหนึ่งที่ฮาลาลแทนจากการที่เขาจะไปหาภรรยาน้อย อีหนู เมียเก็บ

บางทีจำนวนของผู้หญิงนั้นอาจจะมีมากกว่าจำนวนของผู้ชาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงภายหลังจากการสิ้นสุดลงของสงครามทั้งหลายซึ่งทำให้บรรดาผู้ชายและคนหนุ่มนั้นหมดไป

ณ ตรงนี้เอง นับว่าเป็นสิทธิประโยชน์แก่สังคมและเป็นสิทธิประโยชน์แก่บรรดาหญิงสาวทั้งหลายแลในการที่พวกนางจะมีหญิงอื่นมาร่วมป็นภรรยาของสามี ไม่ใช่ว่า นางจะใช้ชีวิตทั้งหมดที่เหลืออยู่ในสภาพที่ถูกหักห้ามจากการมีชีวิตคู่ และสิ่งที่ปรากฏอยู่ในชีวิตคู่นั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความสงบ เรื่องความรัก การปกป้อง และเนี๊ยะมัตของการเป็นแม่คน และการเรียกร้องของสัญชาตญาณที่พึงมีอยู่ในหัวอกของพวกนางมันก็เรียกร้องไปสู่สิ่งนั้น(การเป็นแม่)

แท้จริง มันมีอยู่แค่เพียงหนึ่งในสามทางเท่านั้นเบื้องหน้าหญิงสาวที่มีจำนวนมากกว่าผู้ชายทั้งหลายที่สามารถจะแต่งงาน

1. ใช้ชีวิตทั้งหมดที่เหลืออยู่ในสภาพที่ขมขื่นและถูกหักห้าม

2. ไม่งั้นก็ดึงฟ้าต่ำให้หลอนเหล่านั้นได้มีชีวิตอยู่ตกเป็นเครื่องเล่น เครื่องหาความสุขสำหรับเรื่องสนุกบรรดาผู้ชายซึ่งเป็นสิ่งต้องห้าม

3. อนุญาตสำหรับนางที่จะแต่งงานชายคนหนึ่งซึ่งมีภรรยาแล้วซึ่งเขามีความสามารถที่จะส่งเสียนะฟะเกาะตฺ(ค่าเลี้ยงดู)ได้และสามารถจะทำให้ดีได้ในการเลี้ยงดภรรยาอีกคนู

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า แท้ที่จริงวิธีการสุดท้ายนี้ เป็นการแก้ไขที่เป็นธรรม เป็นยาที่ทำให้หาย และนั้นก็คือ สิ่งที่อิสลามได้ตัดสินชี้ขาดเอาไว้ว่า :

( ومن أحسن من الله حكما لقوم يوقنون )

"มีผู้ใดเล่าที่จะมีข้อชี้ขาดได้สวยงามไปกว่าอัลลอฮฺ สำหรับกลุ่มชนที่มีความยาเกน"

นี้คือการมีภรรยาหลายคนซึ่งชาวตะวันตกที่นับถือในศาสนาคริตส์ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจ(ปฏิเสธเรื่องดังกล่าว)โจมตีมุสลิมทั้งหลาย และโจมตีกล่าวหาต่อมุสลิม ในขณะที่ตะวันตกนั้น อนุญาตให้แก่บรรดาของพวกเขามีคู่รัก มีกิ๊กเป็นจำนวนมากโดยไม่ต้องมีเงื่อนไข ไม่มีการไต่สวน ไม่ต้องมีการรับผิดชอบใดๆถึงภาระหน้าที่ทางกฏหมายหรือทางศีลธรรมที่มีต่อผู้หญิงหรือลูกหลานซึ่งมาในฐานะผลของการมีภรรยาเก็บที่ไม่มีศาสนาและไม่มีศีลธรรม ฉะนั้น ระหว่างสองฝ่ายนี้(อิสลามกับตะวันตก) ฝ่ายใหนมีคำพูดที่ตรงกว่ากัน มีแนวทางที่เที่ยงตรงกว่ากัน

แหล่งอ้างอิง : จากหนังสือ อัลฮาลาล วัลฮารอม ฟิลอิสลาม (หน้า 171-172)
จากโรงพิมพ์ : มักตะบะตฺ วะฮฺบะต

3
< การมุสามดเท็จ มีผลเสียอย่างไร >
[/color][/size]

الحمد لله والصلاة والسلام على رسول الله وعلى آله وصحبه أما بعد:
บรรดาการสรรเสริญทั้งหมดเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอความสันติ ความจำเริญ จงประสบแด่ท่านรอซูลุลลอฮฺ และแด่วงส์ศาคณาญาติของท่าน และแด่อัครสาวกของท่าน

อันที่จริงแล้ว อัลลอฮฺตาอาลา ได้ทรงตรัสถึงเรื่องการมุสามดเท็จใว้ในอัลกุรอานของพระองค์ประมาณสองร้อยกว่าอายัตด้วยกัน ทั้งหมดนั้น บางครั้งก็พูดถึงเรื่องของการตำหนิ
บางครั้งก็พูดถึงในเชิงของการให้ความกระจ่างเกี่ยวกับโทษของผู้ที่กระทำ(ผู้ที่มุสามดเท็จ)

การมุสามดเท็จนั้น คือ การบอกเล่าเรื่องราวอย่างหนึ่งซึ่งไม่ตรงความจริง ไม่ว่าผู้ที่มุสามดเท็จนั้น จะรู้ว่าสิ่งที่เขาพูดไม่ตรงความจริงหรือเจตนาก็ตาม

และการมุสามดเท็จนั้น เป็นบาปใหญ่ซึ่งจะนำพาผู้กระทำไปสู่นรก เหมือนดั่งที่มีกล่าวไว้ในฮาดิษมุตตะฟักอาลัยฮิว่า

" إن الكذب يهدي إلى الفجور وإن الفجور يهدي إلى النار، وإن الرجل ليكذب حتى يكتب عند الله كذاباً ."
" แท้จริงแล้ว การมุสามดเท็จนั้น จะนำพาไปสู่การกระทำที่เลวทราม และการกระทำที่เลวทราม จะนำพาไปสู่นรก และแท้ที่จริง บุคลคลหนึ่งจะโกหกไปจนกระทั่งเขาถูกบันทึก ณ อัลลอฮฺว่า เป็นจอมโกหก" (บันทึกโดยบุคอรียฺและมุสลิม)

และการมุสามดเท็จยังนำพาไปสู่การถูกสาปแช่งและการไม่ได้รับความเมตตาจากอัลลอฮฺด้วยเช่นกัน พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า

( قتل الخراصون ) أي لعن الكذابون،
ความว่า "ผู้ที่กล่าวเท็จแก่ท่านนะบี จะถูกสาปแช่ง" (ซูเราะห์ซารียาต: อายัตที่10)

และยังทรงตรัสอีกว่า

(إن الله لا يهدي من هو مسرف كذاب)
ความว่า "แท้จริงอัลลอฮ์จะไม่ชี้นำทางแก่ผู้ที่เขาเป็นผู้ละเมิดนักโกหกตัวฉกาจ" (ซูเราะห์ฆอฟีร : อายัตที่28)

เฉกเช่นฮาดิษที่ได้รายงานใว้ในหนังสือ ซอแฮะฮฺมุลสิม ว่า

" آية المنافق ثلاث وإن صام وصلى وزعم أنه مسلم: إذا حدث كذب، وإذا وعد أخلف، وإذا اؤتمن خان ."
สัญลักษณ์ของคนมูนาฟิก(คนกลับกลอก) มีอยู่ 3 ประการคือ เมื่อเขาพูดก็มักจะโกหกพกลม เมื่อเขาให้สัญญาก็มักจะผิดสัญญา และเมื่อเขาได้รับความไว้วางใจเขาก็มักจะบิดพลิ้วไม่รับผิดชอบ" (บันทึกโดยบุคอรียฺและมุสลิม) ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นคนที่ถือศีลอด ละหมาด และเขาคิดว่า แท้จริงเขานั้น คือ คนมุสลิมก็ตามที

แท้ที่จริงแล้ว การมุสามดเท็จนั้น เป็นสิ่งที่ฮาราม และการมุสานั้น แบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน

ปะเภทแรก การมุสามดเท็จกับอัลลอฮฺและรอซู้ลของพระองค์ การกระทำเช่นนี้ อัลลอฮฺเตรียมใว้แก่เขาซึ่งที่นั่งที่จองใว้แก่เขาโดยเฉพาะในนรกอย่างแน่นอน เฉกเช่นฮาดิษมุตาวาติรที่มีรายงานใว้ว่า

" من كذب علي متعمداً فليتبوأ مقعده من النار ."
"ปัจเจกบุคคลใดก็ตามที่มุสามดเท็จแก่ฉันโดยเจตนา ฉะนั้น จงเตรียมที่นั่งของเขาไว้ในนรกเถิด" (บุคอรียฺ : ฮาดิษเลขที่ 110)

ประเภทที่สอง การมุสาแก่เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพื่อที่จะหัวเราะหรือต้องการให้ผู้อื่นมองไปยังเขา หรืออื่นๆก็ตาม ตัวอย่างเช่น บุคคลหนึ่งได้พูดในสภาพที่เขาเป็นผู้โกหกว่า ฉันได้เห็นความฝันของฉันเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เป็นต้น
ได้มีคำกล่าวของท่านนบี(ซ้อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม)ในเรื่องของการกระทำเช่นนี้ว่า

" من تحلم بحلم لم يره، كلف أن يعقد بين شعيرتين ولن يفعل ."
ความว่า: "ใครก็ตามที่อ้างว่าตัวได้ฝัน ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้ฝัน เขาจะถูกบังคับให้นั่งระหว่างเมล็ดข้าวบาร์เล่ย์สองเมล็ด และเขาไม่สามารถที่จะทำได้โดยเด็ดขาด" (บุคอรียฺ : ฮาดิษเลขที่ 7024)

การพูดคุยสนทนาแบบมุสานั้น ไม่ได้ให้ประโยชน์อันใดเลย และการพูดคุยอย่างนั้น จะไม่การผ่อนปร่นแม้แต่นิดเดียวสำหรับผู้ที่มุสายกเว้นในสามกรณีเท่านั้น คือ การโกหกในภาวะสงครามเพื่อเป็นกลยุทธ์ในการหลอกล่อศรัตรู การโกหกเพื่อสร้างความปรองดองระหว่างคนสองคนที่ทะเลาะกัน การโกหกของสามีต่อภรรยาเพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่นาง มิใช่เพื่อปกปิดความผิดของตัวเอง และการโหกของภรรยาตาอสามีของนางก็เช่นกัน
และท่านอิมามมุสลิมได้รายงานเพิ่มเติมว่า
แท้จริงท่านหญิง อุมมุกุลษูมได้กล่าวว่า

"ولم أسمعه يرخص في شيء مما يقوله الناس إلا في ثلاث: تعني: الحرب والإصلاح بين الناس، وحديث الرجل امرأته وحديث المرأة زوجها."
"ฉันไม่เคยได้ยินท่านรอซู้ล(ซ้อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม)จะอนุโลมในสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากที่ผู้คนพูดจากัน นอกเสียจาก 3 สิ่ง หมายถึง สงคราม การประนีประนอมระหว่างผู้คน การพูดจาของสามีกับภรรนาของตน การพูดจาของภรรยากับสามีของตน" (มุสลิม : ฮาดษเลขที่ 2605) (ริยาฎุศศอลีฮีน 539-540)

نرجو الله تعالى أن يجعلنا وإياكم من عباده الصادقين، فإن الصدق يهدي إلى البر والبر يهدي إلى الجنة.
والله تعالى أعلم.
พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า อัลลอฮฺตาอาลา จะทำให้พวกเรา และพวกท่าน ได้เป็นส่วนหนึ่งของบรรดาบ่าวที่มีสัจจะ เพราะแท้ที่จริงแล้ว ความสัจจะนั้น จักนำพาสู่การกระทำดี และกสรกระทำดีนั้น จะนำพาสู่สรวงสรรค์
วัลลอฮุตาอาลา อะอฺลัม[/size]

4
:salam:
بسم الله الرحمن الرحيم
الفرق بين النبي والرسول
السؤال : ما الفرق بين النبي والرسول ؟
الجواب : للعلماء في التفريق بين النبيّ و الرسول أقوال أشهرها اثنان :
• أوّلهما : أنّ النبيّ هو من أوحيَ إليه بشرعٍ و لم يُؤمَر بتبليغه ، أمّا الرسول فهو من أوحيَ إليه بشرعٍ و أُمِرَ بتبليغه ، و هو اختيار ابن أبي العزّ الحنفي [ في شرح العقيدة الطحاويّة ، ص : 158 ].
 • و ثانيهما : أنّ الرسولَ هو من بُعِثَ بشريعة خاصّةٍ به و بأمّته ، أمّا النبيُّ فيُبلّغ شريعة رسولٍ قَبلَه . و هذا أرجح الأقوال
. و على كلا القولين فإنّ الرسول أخصّ من النبي ، إذ إنّ كلّ رسولٍ نبيّّّ ، و ليس كلّ نبيٍّ رسولاً ، و الله أعلم
.
كتبه د . أحمد عبد الكريم نجيب

ความแตกต่างระหว่างนบีและรอซู้ล
   คำถาม : อะไรคือ ความแตกต่างระหว่างนบีกับรอซู้ล

   คำตอบ : มีหลายๆคำกล่าวของบรรดานักวิชาการในเรื่องของการจำแนกแยกแยะความแตกต่างระหว่างนบีและรอซู้ล แต่ที่นับว่าเลื่องลือที่สุด มีแค่สองทัศนะ

    หนึ่ง : อันที่จริงท่านนบีนั้น คือ ปัจเจกบุคคลลซึ่งได้รับการวาฮี(ดลใจ)ใหรับรู้เรื่องศาสนบัญญัติ(กฎหมายอิสลาม) แต่ไม่ได้ถูกสั่งใช้ให้เผยแพร่มัน ส่วนรอซู้ลนั้น คือ ปัจเจกบุคคลซึ่ง ได้รับการวาฮี( ดลใจ)ใหรับรู้เรื่องศาสนบัญญัต(กฎหมายอิสลาม) แต่ถูกสั่งใช้ให้เผยแพร่มัน เป็นทัศนะที่อิบนิ อาบิลอัซ อัลฮานาฟียฺได้เลือกไว้ (ในหนังสือ شرح العقيدة الطحاوية  หน้า 158)

    สอง : อันที่จริงรอซู้ลนั้น คือ ปัจเจกบุคคลซึ่งถูกส่งมอบกฎหมายโดยเฉพาะให้แก่เขาและแก่ประชาชาติของเขา ส่วนนบีนั้น คือ ผู้เผยแพร่บทบัญญัติกฎหมายของรอซู้ลที่อยู่ก่อนหน้าเขา และนี้คือ บรรดาคำกล่าวที่มีน้ำหนักที่สุด และในสองคำกล่าวนี้ แท้ที่จริงแล้ว รอซู้ลนั้น เป็นคำที่มีความหมายครอบคลุมถึงนบี เนื่องจากทุกๆรอซู้ลนั้น คือ นบี แต่ทว่า ทุกๆนบี ไม่ใช่รอซู้ลเสมอไป


ที่มา : http://www.saaid.net/Doat/Najeeb/f65.htm

หน้า: [1]