แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ปากกาไร้หมึก

หน้า: [1]
1
الكلام البليغ و المتكلم به
ประโยคที่มีโวหารและผู้พูดที่มีวาทะ

الكلامُ البليغُ ؛ هو : الذي يناسبُ الحالَ ، والمقامَ .
والمتكلمُ البليغُ ؛ هو : القادرُ على التعبير عن المرادِ بكلام بليغٍ .
والحكم في ذلك كلِّه هو الذوقُ السليمُ ، وقوانينُ العربيَّةِ .

       ประโยคที่มีโวหาร  (الكَلام البليغ)  คือ ประโยคที่(ถูกกล่าวออกมา)เหมาะสมกับสภาพกาลและกาลเทศะ
   ส่วนผู้พูดที่มีวาทะ (المتكلم البليغ) คือ ผู้ที่สามารถเรียบเรียงสำนวนออกมาจากสิ่งที่ต้องการ ด้วยกับการกล่าวประโยคที่เป็นโวหาร
และสิ่งที่จะใช้ตัดสินในเรื่องดังกล่าวทั้งหมด(ประโยคที่มีโวหาร และผู้พูดที่มีวาทะ) นั้น คือรสนิยมความรู้สึกที่ดีปกติ (الذُّوق السليم) และกฎเกณฑ์ต่างๆทางภาษาอาหรับ (قوانين العربية)

อธิบายได้ว่า :

       ประโยคนั้น (الكلام) เมื่อมันไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ (المقام) แล้ว  มันก็จะไม่เป็นประโยคที่มีโวหาร (الكلام البليغ) และผู้ที่พูดประโยคนั้น ก็ไม่นับว่าเป็นผู้มีวาทะ  และนี่คือสิ่งหนึ่งซึ่งทุกๆคนที่มีประสาทสัมผัสที่ดี สามารถรับรู้มันได้  แต่มนุษย์นั้นมีความแตกต่างกันในการเอาใจใส่ต่อสิ่งนั้น
   ตัวอย่างเช่น เมื่อสถานการณ์ ต้องการการพูดแบบกระทัดรัด แต่เขากลับกล่าวด้วยประโยคที่ยืดยาวซึ่งใช้สำบัดสำนวนฟุ่มเฟือย(الذروة من الفصاحة)  ดังนั้น ดังกล่าวนี้จะไม่ถือว่าเป็นโวหาร (بليغ) และเขาก็จะไม่นับว่า มันมาจากประโยคของผู้ที่มีวาทะ  เพราะเขาไม่ได้เอาใจใส่กับกาลเทศะ(ที่เหมาะสมกับการกล่าวประโยคนั้นๆ) (المقام)  อนึ่ง สำหรับสถานที่ที่ควรแก่การสรรเสริญเยินยอ  ก็จะแตกต่างจากสถานที่สำหรับการด่าทอเสียดสี และประโยคที่ใช้ในการสนทนาตอบโต้กับบรรดาเด็กๆนั้นย่อมแตกต่างกับการสนทนาตอบโต้กับบรรดาผู้อาวุโส  และด้วยเหตุนี้  สมควรแก่นักเผยแพร่สู่หนทางของอัลลอฮฺที่ดีและเฉียบแหลม (حِذْق الدّاعي إلى الله) นั้นจะต้องศึกษาสภาพของผู้ฟัง   ไม่ว่าจะในด้านที่เกี่ยวข้องกับการตระเตรียมแนวคิดต่างๆให้กับพวกเขา และการปรับตัวของพวกเขาเอง  และเวลาที่ใช้กับพวกเขาต้องเอื้ออำนวยและเหมาะสมด้วย

       บางครั้งผู้พูดจะไม่เอาใจใส่กับสำนวนโวหาร  จนกระทั่งเขาถูกให้คุณลักษณะว่าอ่อนแอในความสามารถ และการเตรียมพร้อม  เช่นว่าเขาพูดภาษาอาหรับ(โดยใช้คำ)ที่ผู้คนมักไม่รู้จักกัน  และแท้จริงแล้วในสมัยก่อน  บรรดานักปราชญ์ได้กล่าวกันว่า
 

لِكُـــلِّ حـــادثٍ حــديـــثٌ

ความว่า  แท้จริงแล้ว ทุกๆเหตุการณ์นั้นย่อมมีคำพูด(ที่เหมาะสม)สำหรับมัน

เหมือนดังที่พวกเขาได้กล่าวว่า

لِكُـــلِّ مـقـــامٍ مـقـــالٌ

ความว่า  แท้จริงแล้วทุกๆกาลเทศะนั้น ย่อมมีคำพูด(ที่เหมาะสม)สำหรับมัน

       ส่วนรสนิยมความรู้สึกที่ปกติดีนั้น (الذُّوْق السَّليم)   จะเป็นตัวตัดสินที่เด็ดขาดและเป็นตัวแยกแยะในเรื่องดังกล่าว   และรสนิยมและความรู้สึกที่ปกติดีต่างๆ จะเห็นสอดคล้องกันว่า แท้จริงแล้วกาลเทศะในการแสดงการปลอบโยน  การตักเตือน  และการตำหนินั้น  เป็นกาลเทศะที่ต้องใช้คำแบบกะทัดรัด (مقامُ إيجازٍ)  และแท้จริงแล้วกาลเทศะในการสนทนากับคนรัก การเจรจา  การแสดงความยินดี  และการเล่าเรื่องนั้น เป็นกาลเทศะที่ต้องพูดเยินเย่อขยายความ  (مقامُ إطنابٍ) (นี่คือ สภาพปกติส่วนใหญ่ และในบางครั้งบางคราที่เหมาะสมกับคำพูดที่กะทัดรัดก็ไม่ควรพูดแบบกะทัดรัด   และบางครั้งก็กลับกันโดยสิ้นเชิง)

   สรุปว่า : แท้จริงแล้วผู้ที่พูดประโยคหนึ่งขึ้นมา ซึ่งปราศจากข้อตำหนิต่างๆที่ได้กล่าวผ่านมาแล้ว  เขาจะถูกกล่าวขานว่าเป็นผู้พูดที่มีโวหารชัดเจน (بليغًا)  ส่วนประโยคนั้นจะไม่เป็นโวหาร  และเจ้าของประโยค ก็จะไม่เป็นผู้ที่มีวาทะ  นอกจากว่า ประโยคของเขาจะมีความเหมาะสมกับกาลเทศะ  ส่วนตัวตัดสินที่เราจะดำเนินตามมันเพื่อให้เกิดความถูกต้องและมีโวหารของประโยค  คือ  รสนิยมความรู้สึกที่ปกติดี (الذوق السليم) และกฎเกณฑ์ทางภาษาอาหรับ (قوانين العربية)

(ดูหนังสือ อัลบาลาฆอตุลมุยัซซาเราะฮฺ      หน้าที่ 16-17       เขียนโดย ดร.อับดุลอะซีซ บิน อะลี อัลฮัรบีย์     พิมพ์ครั้งที่ 2/2011  สำนักพิมพ์ ดาร อิบนิ ฮัซมฺ  เบรูต-เลบานอน)

2
الكلام الفصيح
ประโยคที่ชัดเจน

إِذَا  سَلِم الكلامُ من :  التنَافُر في ألفاظه ، و من الضَّعْف النحويِّ ، و من التعقيدِ في اللَّفظِ أو في المعنَى فهو : كلامٌ فصيحٌ .

   เมื่อประโยคที่ปราศจากการออกเสียงยากในคำต่างๆ และปราศจากความบกพร่องทางไวยากรณ์ศาสตร์  และปราศจากคำหรือความหมายที่มีเงื่อนงำ  ดังนั้นมันคือประโยคที่ชัดเจน

อธิบายได้ว่า : 

   ได้กล่าวผ่านพ้นมาแล้วเกี่ยวกับความชัดเจนในคำโดด(الفصاحة في الكلمة الواحدة)  และในส่วนของ “ประโยคที่ชัดเจน” (الكلام الفصيح)นั้นคือ  ประโยคที่ปราศจากบรรดาคำที่ออกเสียงยาก  และคำที่ออกเสียงยาก จะเกิดขึ้นจากความใกล้ของฐานเกิดเสียงของบรรดาอักษร   เพราะการเปล่งเสียงบรรดาอักษรที่มีฐานเกิดเสียงใกล้กันนั้น  เปรียบเสมือนการเดินของผู้ที่ถูกล่าม مَشْي المُقَيَّد (ผู้ที่ถูกล่ามขาเอาไว้ เมื่อเขาเดิน ย่างก้าวของเขาก็จะใกล้ๆกันและเขาก็จะสะดุดในการเดินของเขา)

   และส่วนหนึ่งจากตัวอย่างที่ถูกกล่าวขานกัน คือ คำกล่าวของนักกวีท่านหนึ่งว่า

و قَبْـــــــــرُ حـــــــربٍ بمكان قفــــــــــرُ         وَ لَيْــــــــس قُـــــرْبَ قَبْــــــــــرِ حــــــــربٍ قَبــــــــــــر

(จะเห็นได้ว่าในบทกวีข้างต้น มีการซ้ำอักษร กอฟ และ รออฺ ในบรรดาคำต่างๆ  และการซ้ำอย่างต่อเนื่องทำให้การเรียงคำของบทกลอนนั้นเกิดการตะกุกตะกัก )

   และเช่นเดียวกัน  “ประโยคที่ชัดเจน”  คือ  ประโยคที่ปราศจากข้อบกพร่อง(الضَّعْفُ)  เป้าหมายของคำว่า บกพร่องตรงนี้คือ ความบกพร่องทางด้านการเรียบเรียงประโยค  เนื่องจากความบกพร่องทางหลักไวยากรณ์ศาสตร์  เช่น
 

ضَرَبَ غلامَه زيدٌ

   ดังนั้นแท้ที่จริงแล้ว  หลักการเดิมของประโยค คือ การย้อนกลับของสรรพนามต้องย้อนไปหาคำที่อยู่ก่อนหน้า  ไม่ใช่ไปหาคำที่อยู่ด้านหลัง  ส่วนสรรพนาม (ه) ในคำว่า غلامه (ในประโยคดังกล่าว) ย้อนกลับไปหาคำว่า زيدٌ  ซึ่งมันตกอยู่หลังจากสรรพนาม  และมันเป็นทัศนะที่อ่อนในวิชาไวยากรณ์ (النحو)

   ท่านอิบนุ มาลิก(เจ้าของหนังสือ อัลฟียะฮ์ ฟิน นะฮฺว วัซซ็อรฟฺ) ได้กล่าวไว้ว่า


وَ شَـــاعَ نَــحْــــوُ خَـــــافَ رَبَّـــــهُ عُـمَـــــرْ          وَشَــــذَّ نَـــحْــــوُ زَانَ نَــــوْرَهُ الشَّــــجَـــــرْ

ความว่า
“และเป็นที่แพร่หลาย(ในภาษาอาหรับ) เช่น خَافَ رَبَّهُ عُمَرْ และผิดปกติไป(ออกนอกกฎ)
เช่น  زَانَ نَوْرَهُ الشَّجَرْ


   
และเช่นเดียวกัน  ประโยคที่ชัดเจน คือ ประโยคที่ปราศจากคำ หรือความหมายที่มีเงื่อนงำ

   ตัวอย่างของประเภทแรก (ประโยคซึ่งมีคำที่มีเงื่อนงำปะปนอยู่) : เป็นคำกล่าวของบรรดาผู้ที่ชอบพูดเป็นปริศนาในเรื่องมรดก

رجــــلٌ مـــات  و خــــلَّى رجــــلًا         ابــــنَ عــــمِّ ابــــنِ أخــــي عَــــمِّ أبيــــهِ

ความว่า  “ชายคนหนึ่งได้เสียชีวิต และเขาปล่อยให้ชายอีกคนโดดเดี่ยวเดียวดาย   (ชายคนนั้นคือ)ลูกของน้าของลูกของพี่น้องของน้าของพ่อของเขา”

   จุดประสงค์ของ (ابنَ عمِّ ابنِ أخي عَمِّ أبيهِ) ก็คือ ابنَ عمِّه  (ลูกของน้าของเขา)  แต่เขาแค่กล่าวให้ยืดยาว  และต้องการปล่อยให้มันเป็นปริศนา  ดังนั้นประโยคดังกล่าวจึงกลายเป็นประโยคที่มีเงื่อนงำ(คลุมเครือ) 

   ตัวอย่างของประเภทที่สอง (ซึ่งเป็นประโยคที่มีเงื่อนงำในด้านความหมาย) : คำกล่าวของ อัลอับบาซ บิน อัลอะฮฺนัฟ  : 

ســــأطلــــبُ بُـــعْـــدَ الـــدَّار عــنـــكُمْ لتَـــقــــربُـــوا     و تســــكُبُ عــينــــايَ الدمـــوع لتجـــــمدَا

ความว่า “ฉันปรารถนาที่จะให้บ้านได้ห่างไกลออกไปจากพวกท่านบ้าง  เพื่อพวกท่านจะได้มาเยี่ยมเยียนฉัน   ในขณะที่สองตาของฉันมันได้หลั่งน้ำตาออกมา เพื่อมันทั้งสองจะได้เหือดแห้ง”

   ดังนั้น  แท้ที่จริงแล้วเขาตั้งใจให้คำกล่าวของเขาที่ว่า
"و تسكُبُ عينايَ الدموع لتجمدَا"
แทนจากความปิติยินดี(الكناية عن السرور)  เพราะแท้ที่จริงแล้วการแห้งของดวงตา (جمود العين) คือ การไม่ร้องไห้    (عدم البكاء)  แต่มันทำให้ความหมายตรงนี้เสียไป  ซึ่งแท้จริงแล้วเขาได้อธิบายถึงสิ่งดังกล่าว (جمود العين)  หลังจากการอธิบายถึงการหลั่งของน้ำตา   ดังนั้น แท้ที่จริงแล้วเมื่อดวงตาได้หลั่งน้ำตาออกมาจนกระทั่งมันแห้ง  ดังนั้นการแห้ง มันก็ไม่ได้เกิดมาจากความสุข  แต่มันเกิดจากความตระหนี่กับน้ำตาของดวงตา และจากความแห้งของน้ำตา (หมายถึง ดวงตาไม่ยอมหลั่งน้ำตาออกมา)   และมิใช่ว่าความต้องการของเขาคือ(การที่น้ำตานั้นเหือดแห้ง)อันเนื่องมาจากความปิติยินดี  ดังที่นักกวีได้กล่าวไว้ว่า


ألا إنَّ عَــــينًـــا لم تَجُــــدْ يَــــوْمَ واســــطٍ      عَــليـــك مجـــاري دمــــعـها لَجَــــمودُ

ความว่า  “พึงทราบเถิดแท้จริงในวัน(แห่งสมรภูมิ) ณ “เมืองวาซิต” ดวงตาไม่ยอมเปิดธารแห่งน้ำตาของมันแก่เจ้า  แท้จริงแล้ว(น้ำตาของมัน)ได้เหือดแห้งไปเสียแล้ว”

   และดังที่ได้กล่าวมานี้ คือ “ประโยคที่ชัดเจน” (الكلام الفصيح)

   ส่วน “ผู้ที่พูดชัดเจน” (المتكلِّم الفصيح)  เขาคือผู้ที่สามารถนำมาซึ่งประโยคที่ชัดเจน

   ดังนั้น ในคำพูดของใครก็ตามที่มีเงื่อนงำ(ความคลุมเครือ)  , หรือ ความบกพร่องในการเรียบเรียง ,  อ่อนด้อยในการประพันธ์สำนวน ,  การกล่าวหรือเขียนผิดหลักไวยากรณ์ในประโยค , หรือมีการออกเสียงยากในคำพูด  ดังนั้นเขาก็จะไม่ใช่ผู้ที่พูดชัดเจนตามหลักพิจารณาของนักโวหารศาสตร์ (البَلَاغيين)


(ดูหนังสือ อัลบาลาฆอตุลมุยัซซาเราะฮฺ      หน้าที่ 13-15       เขียนโดย ดร.อับดุลอะซีซ บิน อะลี อัลฮัรบีย์     พิมพ์ครั้งที่ 2/2011  สำนักพิมพ์ ดาร อิบนิ ฮัซมฺ  เบรูต-เลบานอน)

3
الكَلِمَةُ الفَصِيْحَةُ وَ الْمُتَكَلِّمُ الْفَصِيْحُ
คำที่ชัดเจน และนักพูดที่มีโวหาร

     الفَصَاحَةُ(อัลฟาซอฮะฮฺ) ความชัดเจน ถูกนำมาใช้ทางด้านภาษานั้นหลากหลายความหมายด้วยกัน  ส่วนหนึ่งก็คือ ความชัดเจน (البَيَانُ) และ ความแจ่มแจ้ง (الظُهُوْرُ)  อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวาตาอาลา ตรัสไว้ในซูเราะฮฺอัลกิศอส อายะฮฺที่ 34 ว่า

وَأَخِي هَارُونُ هُوَ أَفْصَحُ مِنِّي لِسَانًا...﴾ ﴿

ความว่า  “และพี่ชายของข้าพระองค์ คือฮารูน เขาพูดจาคล่องแคล่วกว่าข้าพระองค์”

   คำว่า أَفْصَحُ مِنِّي لِسَانًا  จากอายัตข้างต้น จึงหมายความว่า  أَبْيَنُ مِنِّي مَنْطِقلٍاชัดเจนกว่าฉันทางด้านคำพูด และคำว่า  أَظْهَرُ مِنِّي قَوْلًا แจ่มแจ้งกว่าฉันทางด้านคำกล่าว

    มีคำกล่าว (ويقال) ว่า : เด็กหนุ่มจะพูดออกเสียงชัดเจน เมื่อคำพูดของเขาชัดเจนและแจ่มแจ้ง
   
   ชาวอาหรับกล่าวว่า  : เวลาซุบฮฺได้สว่างขึ้น เมื่อแสงสว่าง และ เมื่อรุ่งสางเช่นกัน
   
       ชาวต่างชาติที่ไม่ใช่อาหรับพูดชัดเจนหลังจากที่เขาเคยพูดไม่ชัดเจนและไม่แจ่มแจ้ง

       ลิ้นจะชัดเจน เมื่อเขาได้อธิบายสิ่งที่อยู่ในตัวของเขา และให้ความชัดเจนแจ่มแจ้งบนแนวทางที่ถูกต้องโดยปราศจากแนวทางที่ผิดเพี้ยน

       และความชัดเจนในด้านศัพท์เทคนิคตามทัศนะของนักโวหารศาสตร์(ที่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของความหมาย) คือ สำนวนที่มาจากหลายๆคำที่มีความชัดเจนแจ่มแจ้ง เข้าใจได้ง่ายดาย  และนิยมใช้กัน(มีความคุ้นเคยในการใช้งาน)  ซึ่งการใช้งานในหมู่บรรดานักเขียนและบรรดานักกวี เนื่องจากมันมีความสวยงามอยู่ในตัวของมันแล้ว

(ดูหนังสือ ยาวาฮิรุลบาลาเฆาะฮฺ ฟีล มาอานียฺ วัลบายาน วัลบาเดี๊ยะอฺ หน้าที่ 31   เขียนโดย อะหมัด อัลฮาชีมียฺ ตะฮฺกีกโดย วะฮีด กอต็อบ  สำนักพิมพ์ ดารเตาฟีกียะฮฺลิตตุรอษ กรุงไคโร)

إِذَا سَلِمَتِ اللَّفْظَةُ المُفردةُ مِنَ التَّنَافُرِ في الحروفِ وَ مِنَ الغَرابةِ الشَّديدةِ في المعنى ، وسَلِمَتْ مِنْ المخالفةِ لِقوانين الصَّرف ، فهي لفظةٌ فصيحةٌ ، والمُتكلِّمُ القادرُ على أَدَاء ذلك متكلِّمٌ فصيحٌ .

เมื่อคำโดดปราศจากการออกเสียงยากในอักษรต่างๆ และปราศจากความหมายที่แปลกอย่างรุนแรง(ไม่นิยมใช้ในความหมายนั้นๆ) และเมื่อใดที่คำโดดปราศจากการขัดแย้งกับกฎเกณฑ์ต่างๆของวิชานิรุกติศาสตร์  ดังนั้นมันก็จะเป็นคำที่ชัดเจน(มีโวหาร)  ส่วนนักพูดที่สามารถจะถ่ายทอดคำได้ดังที่กล่าวมาข้างต้น  ก็จะนับว่าเขาเป็นนักพูดที่พูดได้อย่างชัดเจน(พูดได้อย่างมีโวหาร)เช่นกัน

อธิบายได้ว่า :

    الفَصَاحَةُ “อัลฟาซอฮะฮฺ”  ความชัดเจน  คือ الظُهُوْرُ “อัซซูฮูร”  ความแจ่มแจ้ง และ البَيَانُ  “อัลบายาน” ความชัดเจน 

มีคำกล่าวหนึ่ง (يقال) ว่า 

أفصح الصبح : إذا أضاء

ความว่า  “รุ่งอรุณสาง : เมื่อแสงสว่างปรากฏ”

       คำว่า الفَصَاحَةُ  “อัลฟะซอฮะฮฺ” ทางด้านศัพท์เทคนิคตามทัศนะของนักโวหารศาสตร์  คือ    وُضُوْحُ اللَّفْظِ  ความชัดเจนของคำ  พร้อมทั้งปราศจากข้อตำหนิต่าง   (العيوب) ส่วนหนึ่งจากข้อตำหนิก็ คือ  การออกเสียงยากของอักษรต่างๆ (التَّنَافُرِ في الحروفِ)  ดังเช่นในคำว่า  “هُعْخُع” จากคำพูดของชาวอาหรับชนบทบางส่วนที่ว่า

تَرَكْتُ نَاقَتِي تَرْعَى الْهُعْخُع

ความว่า  ฉันได้ทิ้งอูฐของฉันให้กินหญ้า “ฮุอฺคุอฺ” (هُعْخُع  คือพืชชนิดหนึ่ง ที่อูฐกินเป็นอาหาร)
   
   และส่วนหนึ่งจากความชัดเจนอีกนั้นก็คือ  จะต้องปราศจากความแปลก (الغرابة) ในการใช้งาน(คำที่ไม่นิยมใช้)  ดังเช่นคำกล่าวของ  รุบะฮฺ บิน อัลอุจยาจ

وَفَاحماً  وَمَرْسنًا  مَسَرَّجَا

ความว่า “(ผมของหล่อนดำดั่ง)ถ่าน (จมูกของหล่อนโด่ง)เป็นสันโค้ง (จมูกคมดั่ง)ดาบ”
   
    ดังนั้น คำว่า مَسَرَّجَا  ความหมายที่ต้องการ(ของนักกวี)ไม่เป็นที่รู้ชัดตามทัศนะของผู้ที่มีความสันทัดทางภาษา   ไม่มีใครรู้ว่านักกวีต้องการเปรียบเปรยจมูกที่มีความละเอียดเนียน และโด่งโค้ง กับดาบของพลทหารสุรอยญียฺ (السيف السريجي) หรือว่าเขาต้องการที่จะเปรียบเปรยว่าจมูกเหมือนดังตะเกียงที่มันส่องแสงระยิบระยับเป็นประกายหรือไม่ 

    และดังเช่นในคำกล่าวของ อะบี อัลฮุมัยซะฮฺ

مِنْ طَمْحَةٍ  صَبيرُهَا  جَحْلنجع

เจ้าของหนังสือ “อัลกอมูซ” (อิบนุฟาริซ)ได้กล่าวว่า  “พวกเขาได้กล่าวคำว่า جَحْلنجع   และไม่ได้ทำการอรรถาธิบายเอาไว้  และพวกเขากล่าวว่า  อะบู อัลฮุมัยซะฮฺ เป็นส่วนหนึ่งจากชาวอาหรับเมืองมัดยัน  และพวกเราไม่เข้าใจคำพูดของเขาเลย”  และประเด็นของความหมายในเรื่องนี้ก็เป็นเพียงการคาดคะเน  ดังนั้น คำดังกล่าวก็อาจจะก่อให้เกิดความแปลก(ไม่คุ้นหู) สำหรับบางเผ่า ในขณะเดียวกันไม่เกิดความแปลกแต่อย่างใดสำหรับบางเผ่า
   และส่วนหนึ่งจากคำพูดที่ชัดเจนอีกนั้นก็คือ  จะต้องปราศจากคำที่ขัดแย้งกับการเทียบเคียง(หลักการอนุมาน)ทางหลักนิรุกติศาสตร์ (مخالفة القياس الصرفي)

ดังเช่นในคำกล่าวของ อะบินนัจมฺ

الحمد لله العليِّ الأجْلَلِ

ความว่า  “การสรรเสริญทั้งมวลนั้นเป็นกรรมสิทธิ์แด่อัลลอฮฺ ผู้ทรงสูงส่งผู้ทรงประเสริฐยิ่ง”

ซึ่งตามการเทียบเคียงตามกฎเกณฑ์ทางนิรุกติศาสตร์จะต้องกล่าวว่า الأجَلّ   

       และส่วนหนึ่งจากตัวอย่างของคำพูดที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกวันนี้ซึ่งไม่ดำเนินไปตามกฎเกณฑ์ทางนิรุกติศาสตร์  พวกเขาใช้คำว่า مدير  (ซึ่งเป็นเอกพจน์ ที่แปลว่า ผู้อำนวยการ) ในรูปของพหุพจน์ว่า مُدَرَاء  ซึ่งตามการเทียบเคียงแล้ว รูปพหุพจน์ของมันจะต้องอยู่ในรูป مديرين  ดังนั้นคำคำนี้และคำอื่นๆที่อยู่ในทำนองเดียวกัน  เมื่อหนึ่งเมื่อใดที่มันปรากฏอยู่ในสภาพของประโยคที่เราได้กล่าวมาแล้ว(คือ มีข้อบกพร่องข้อหนึ่งข้อใดจากข้อบกพร่องที่ได้กล่าวมาทั้งหมด)  ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า คำๆนั้นก็จะไม่เป็นคำที่มีความชัดเจนแจ่มแจ้ง (كلمة عير فصيحة)


ดูหนังสือ : อัลบลาฆอตุลมุยัซซาเราะฮฺ หน้าที่ 11-12       
เขียนโดย : ดร.อับดุลอะซีซ บิน อะลี อัลฮัรบีย์     
พิมพ์ครั้งที่ : 2/2011 
สำนักพิมพ์ : ดาร อิบนิ ฮัซมฺ  เบรูต-เลบานอน

หน้า: [1]