แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - anti-bid'ah

หน้า: [1] 2 3 ... 56
1

ปัจจุบันมีกลุ่มที่อ้างตน่าซุนนะฮฺได้ทำการแลกเปลี่ยนความรู้ในเชิฮาลาเกาะกันอย่างแพร่หลาย

เท่าที่ประสบมา ผู้ที่จับกลุ่ม จับเข่ามาคุยกันในเรื่องศาสนา เป็นคนหรือ นักศึกษาทั่วไปที่ไม่เจนชัดในเรื่องใดๆ

แต่หัวขัอที่นำมาเสนอเป็นหัวข้อที่สุ่งเสี่ยงต่อความเข้าใจผิดเป็นอย่างมาก  โดยเฉพาะการอธิบายอัลกุรอาน

ที่ใช้ตำราสีแดงของคิงฟาฮัด  เมื่อพูดถึงเรื่องนี้เลยนึกถึงเรื่องที่ อ อาลี เสือสมิง เคยบรรยายให้ฟังในทำนองที่ว่า

ครั้ง ๑ มีเหล่ามุสลิมนั่งร่วมวงเสวนาศาสนา เมื่อท่าน คอลีฟะฮฺ อาลี ผ่านมา ท่านอลี ถามว่า ที่พวกท่านมานั่งเสวนาเรื่องศาสนาน่ะ พวกท่านรู้ใหม อายัตนั่นน่ะ ลงมาได้อย่างไร อะไรลงมาก่อน อะไรถูกยกเลิก และอายัตไหมมายกเลือก  ถ้าไม่รู้ยุบวงซะ 

ตัวอย่างนี้เป็นคนในยุคท่านอลีเชียวน่ะ ยังโดนสั่งยุบวง
คิดเอาเองแล้วกัน โดยส่วนตัวคิดว่าการทำฮาลาเกาะถือเป็นสิ่งที่ดีถ้ามีผู้นำฮาเลาะ มีความรู้และเจนจัด
เท่าที่ประสบมาเจอกับแบบเป็ดทั้งนั้น

2
แต่ละหัวข้อแสบจริงๆ โดยเฉพาะ ในห้วข้อที่บรรยาย โดย อ อับดุลฮากีม วัลแอเลาะ


ครั้งนี้ อ อาลี เสือสมิง ไม่ร่วมบรรยายด้วยเหรอครับ

3
บทความ / นิทานสอนลูกๆ (บทความแปล)
« เมื่อ: ธ.ค. 16, 2012, 03:35 PM »

The Bee (ผึ้ง)



ต้นฉบับภาษาอังกฤษ : http://www.missionislam.com/kidsclub/bees.htm

ถอดความเป็นภาษาไทย : นายโชคอนันต์  รักทรัพย์
   ครูสอนภาษาอังกฤษโรงเรียนตัรบียะห์อิสลามียะห์และโรงเรียนอัรรอยยานพิทยานุสรณ์
 
Amina is not feeling very well today. She has caught a cold and she coughs. Mummy tells her: “What you need is a nice hot drink with honey. Let’s go and buy some honey, and you’ll see your cough will get better insha Allah.”

วันนี้อมีนะฮฺรู้สึกไม่สบาย เธอเป็นไข้หวัดและมีอาการไอ 
คุณแม่กล่าวว่า หนูต้องดื่มเครื่องดื่มร้อนๆผสมกับน้ำผึ้งแล้วล่ะ เราไปหาซื้อนำผึ้งกันเถอะจ่ะ แล้วหนูจะอาการดีขึ้นน่ะ อิงชาอัลลอฮฺ(หากอัลลอฮฺเจ้าทรงประสงค์-ผู้แปล)


 
Amina and her mother go out to the supermarket. They stop in front of the shelf where the honey is.
 
เมื่อเป็นเช่นนั้นอมีนะฮฺและคุณแม่จึงไปห้างสรรพสิ้นค้า พวกเขายืนหน้าชั้นที่วางน้ำผึ้ง


“Oh, Mummy, there are all sorts of different colours!”Amina says excitedly. “Look, this honey is almost white, and this one is golden, and that one over there is brownish.”

อมีนะฮฺกล่าวว่า  แม่จ้า น้ำผึ้งนี้มีหลายสีจ้ะ  ดูสิจ้ะ น้ำถึงขวดนี้สีออกขาวๆ และขวดนี้สีทองและขวดนู้นสีน้ำตาล

 
“Yes, Amina”, her mum answers. “They are different sorts of honey. There’s clover honey, lavender honey, eucalyptus honey... and mixed wildflower honey.”

คูณแม่ตอบว่า ใช่จ้ะลูก นำผึ้งนี้มีหลายชนิดสีจึงแตกต่างกันไปตามชนิดของมันจ้ะ มีชนิดโคลเวอะ ชนิดวาเลนเดอร์ ชนิดยูคาลิปตัส และน้ำผึ้งผสมกับดอกไม้ป่า

 
“But then, does honey come from flowers?”Amina asks.

 อมีนะฮฺถามว่า แม่จ้าน้ำผึ้งเนียะมันมาจากดอกไม้เหรอจ้ะ


“Come on, you know it doesn’t!” her Mum answers. “You know bees make honey. The bees fly from flower to flower to collect a fine powder called pollen and a liquid called nectar. And then they make the honey with their bodies. Since there are different sorts of flowers with different colours and smells, this produces different sorts of honey.
 
แม่ตอบว่า มานี้สิจ้ะ หนูรู้แล้วว่าผึ้งจะสร้างน้ำผึ้งโดยการโบยบินไปยังดอกไม้ดอกนึงไปยังอีกดอกนึงเพื่อเก็บละออกเกสรและของเหลวที่แรกว่า เนคตะ(น้ำหวานจากเกสรดอกไม้- ผู้แปล ) ต่อมาผึ้งก็จะสร้างเกสรด้วยตัวของมันเอง เมื่อดอกไม่แตกต่างกันมันจึงสร้างน้ำผึ้งที่มีรสชาติและสีที่ต่างกันจ้ะลูก


If the bees have been only on clover flowers, they make clover honey, which is almost white, like the one in this jar.

ถ้าหากผึ้งเอาเกสรและน้ำหวานจากดอกโคลเวอะ มันก็จะสร้างน้ำผึ้งกลิ่นโคลเวอะสีจะค่อนข้างขาวเหมือนกับขวดนี้ไงล่ะ

 
If the bees have been on lavender, as in the South of France, you get this nice golden colour. And if the bees go about on all sorts of wild flowers, they produce mixed wildflower honey.”

หากผึ้งเอาน้ำหวานและเกสรจากดอกลาเวนเดอร์จากทางใต้ของประเทศฝรั่งเศส หนูจะได้น้ำผึ่งสีทองไงล่ะลูก  แต่หากผึ้งนำน้ำหวานและเกสรดอกไม้จากดอกไม่ป่านานพันธุ์ มันก็จะสร้างน้ำผึ่งแบบผสมดอกไม้นานานพันธุ์

 
Amina asks: “And what colour is mixed wildflower honey?”
 
“Well, it depends on the flowers!" Mummy answers,. “Look, the honey in this jar is yellow, this one is brownish, and yet they’re both mixed wildflower honey.”

อมีนะฮฺถามว่า แล้วน้ำผึ้งจากดอกไม้ป่าเนียะมันมีสีอะไรจ้ะแม่
แม่ตอบว่า อ้อ มันขึ้นอยู่กับดอกไม้จ้ะลูก ดูอย่างขวดนี้สิน้ำผึ้งสีเหลืองและขวดนี้สีน้ำตาลซึ่งทั้ง ๒ ขวดนี้เป็นน้ำผึ้งจากดอกไม้ป่าจ้ะ

 
Amina thinks for a while and then she asks: “But who has taught the bees how to make honey?”
อมีนะฮฺคิดอยู่ครู่นึงและถามว่า แม่จ้าใครกันเล่าที่สอนให้ผึ้งมันสร้างน้ำผึ้งอย่างนี้จ้ะ
 
 
“Allah has taught them, darling”, Mummy explains. “When the bees make honey, they obey Allah.
แม่กล่าวว่า  อัลลอฮฺสิลูก พระองค์ทรงสอนพวกมัน  คราใดที่ผึ้งสร้างน้ำผึ้ง นั่นแสดงว่ามันกำลังเชื่อฟังพระองค์ไงล่ะ

 
Do you know Allah tells us about bees in the Quran? Listen to what He says.”
 
And then Amina's Mum recites for her the verses from surat an-Nahl, “The bees".

 หนูรู้ไหมจ้ะว่าพระองค์ทรงตรัวเกี่ยวกับผึ้งไว้ในอัลกุรอานด้วยน่ะจ้ะ มาดูกันว่าพระองค์ตรัสว่าอย่างไรบ้าง
เมื่อแจงให้ลูกฟังเสร็จสรรพ แม่จึงอ่านซูเราะฮฺ อันนะฮฺลฺ (ผึ้ง)


And your Lord inspired the bees, saying ‘Take your habitations in the mountains and in the trees and in what they erect. Then, eat of all fruits, and follow the ways of your Lord.’ There comes forth from their bellies a drink of varying colours wherein is healing for men.”
(Qur'an - Surah Nahl l, 68-69).

และพระเจ้าของเจ้า ทรงดลใจ แก่ผึ้งว่าจงทำรังตามภูเขาและตามต้นไม้ และตามที่พวกเขาทำร้านขึ้น
แล้วเจ้า(ผึ้ง) จงกินจากผลไม้ทั้งหลาย แล้งจงดำเนินตามทางของพระเจ้าของเจ้า โดยสะดวกสบาย มีเครื่องดื่มที่มีสีสรรต่างๆออกมาจากท้องของมัน ในนั้นมีสิ่งบำบัดแก่ปวงมนุษย์แท้จริงในการนั้น แน่นอนย่อมเป็นสัญญาณแก่กลุ่มชนผู้ตรึกตรอง
(Qur'an - Surah Nahl l, 68-69).



4
บทความ / วันนี้ในอดีต
« เมื่อ: พ.ย. 25, 2012, 02:20 PM »
   

วันนี้ในอดีต
ตอนการเสียชีวิตของท่านอัลฮูซัยน์



แปลไทยโดย   นายโชคอนันต์  รักทรัพย์
ที่มา  http://islamstory.com/en/node/29124
วันที่  ๒๔ เดือนพฤศจิกายน พศ  ๒๕๕๕

10th of Moharram, 61 AH/ October 10th, 680 AD: Al Hussein- RA- falls martyr in Karbala , Iraq, when he rebelled against Yazeed Ibn Muawaya whom he opposed as a caliph for the Muslims. The way he fell martyr has broken hearts throughout ages.
วันที่ ๑๐  เดือนมุฮัรรอม ปีที่ ๑๐ แห่งฮิจรียะฮฺ  หรือ วันที่ ๑๐ เดือนตุลาคม  คริสศักราช ๖๘๐
ท่านอัล ฮุซัยน์ รอดิยัลลอฮูอัลฮูถูกสังหาร ณ เมืองกัรบาลา (ประเทศอิรัค) เมื่อท่านได้ก่อการกบฏต่อท่านยาซีด อิบนุ
มุอาวียะฮฺ ผู้ซึ่งท่าน อัลฮูวัยน์ ได้ต่อต้านการเป็นผู้นำของมวลมุสลิมในขณะนั้น การเสียชีวิตของท่านอัล  ฮูซัยน์ นำมาซึ่งความโศกเศร้า โศกาอาดูตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

5



                                        Benefits of Eating Dates




Muslims generally break their fast by eating dates. Prophet Muhammad (sallallahu alaiyhi wassallam) is reported to have said: "if anyone of you is fasting, let him break his fast with dates. In case he does not have them, then with water. Verily water is a purifier."

The Prophet(sallallahu alaiyhi wassallam) used to break his fast by eating some dates before offering Maghrib prayer, and if ripe dates were not available, he used to substitute them with some dried grapes. When they too were not available, he used to have a few sips of water, according to some reports. Modern science has proved that dates are part of a healthy diet. They contain sugar, fat and proteins, as well as important vitamins. Hence the great importance attached to them by the Prophet(sallallahu alaiyhi wassallam).

Dates are also rich in natural fibres. Modern medicine has shown that they are effective in preventing abdominal cancer. They also surpass other fruits in the sheer variety of their constituents. They contain oil, calcium, sulphur, iron, potassium, phosphorous, manganese, copper and magnesium. In other words, one date is a minimum of a balanced and healthy diet. Arabs usually combine dates with milk and yogurt or bread, butter and fish. This combination indeed makes a self-sufficient and tasty diet for both mind and body. Dates and date palms have been mentioned in the Holy Qur'an 20 times, thus showing their importance. The Prophet(sallallahu alaiyhi wassallam) likened a good Muslim to the date palm, saying, "Among trees, there is a tree like a Muslim. Its leaves do not fall."

Sayyidah Mariam (the Virgin Mary) mother of Jesus (sallallahu alaiyhi wassallam) had dates as her food when she felt labour pains and during confinement. They are definitely the "crown of sweets," and ideal food which is easy to digest, and within half an hour of taking it, the tired body regains a renewed vigour. The reason for this is that a shortage of sugar in the blood is the main factor that makes people feel hungry and not an empty stomach as is often assumed. When the body absorbs the nutritional essence of a few dates, the feeling of hunger becomes appeased. When one breaking the fast with dates takes some other food afterwards, he cannot eat much. It would seem that breaking the fast with dates then helps one avoid excessive eating.

Experiments have also shown that dates contain some stimulants that strengthen the muscles of the uterus in the last months of pregnancy. This helps the dilation of the uterus at the time of delivery on one hand and reduces the bleeding after delivery on the other. Dieticians consider dates as the best food for women in confinement and those who are breast-feeding. This is because dates contain elements that assist in alleviating depression in mothers and enriching the breast-milk with all the elements needed to make the child healthy and resistant to disease. The Prophet ((sallallahu alaiyhi wassallam)) has emphasized the importance of dates and their effectiveness in the growth of the fetus. He has also recommended they be given to women. Modern dietary institute now recommend dates to be given to children suffering from a nervous nature or hyperactivity. The Prophet ((sallallahu alaiyhi wassallam)) has also recommended dates as a medicine for heart troubles, according to some reports. Modern science has also proved the effectiveness of date, in preventing diseases of the respiratory system.

Dates are rich in several vitamins and minerals. When the level of trace elements falls in the body, the health of the blood vessels is affected leading to an increased heart-rate and a consequent inability to perform its function with normal efficiency. As dates are also rich in calcium, they help strengthen the bones. When the calcium content in the body decreases, children are affected with rickets and the bones of adults become brittle and weak.

Dates are also important in keeping up the health of eyes. It is quite effective in guarding against night-blindness. In the early years of this nation, dates served as food for Muslim warriors. They used to carry them in special bags hung at their sides. They are the best stimulant for muscles and so the best food for a warrior about to engage in battle.

Also it is said that The Prophet ((sallallahu alaiyhi wassallam)) used to combine dates with bread sometimes. At other times he mixed ripe dates with cucumber, or dates combined with ghee. He used to take all varieties of dates, but he preferred the variety called Ajwah which is from Al-madina Almunawwarah.

---------------------------------------------------



ประโยชน์ของการรับประทานผลอินทผาลัม 



ปกติแล้วมุสลิมจะละศีลอดด้วยการอินทผาลัม ท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เคยกล่าวในทำนองที่ว่า "หากในหมู่สูเจ้ามีผู้ถือศีลอด เขาจงละศีลอดด้วยอินทผาลัมเถิด หากไม่มีมัน (อินทผาลัม) จงดื่มน้ำ แท้จริงน้ำนั้นเป็นสิ่งช่วยชำระร่างกาย"

ท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เคยละศีลอดด้วยอินทผาลัมก่อนที่ท่านจะละหมาดมัฆริบ บางรายงานเล่าว่า หากไม่มีอินทผาลัมสุก ท่านจะจิบน้ำ  2-3 จิบ ด้านศาสตร์ร่วมสมัยพิสูจน์ให้ประจักษ์แล้วว่า อินทผาลัมเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งประกอบไปด้วยน้ำตาล ไขมัน โปรตีนต่างๆ และวิตามินที่สำคัญอีกหลายชนิด สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้แนะนำ

อินทผาลัมยังมีสายใยอาหารอีกหลายชนิด แพทย์แผนปัจจุบันค้นพบว่า อินทผาลัมมีส่วนช่วยในการป้องกันจากโรคมะเร็งในช่องท้องอย่างมีประสิทธิภาพ อินทผาลัมยังเป็นผลไม้ที่คุณประโยชน์ด้านโภชนาการเหนือผลไม้นานาชนิด ซึ่งส่วนประกอบด้วย น้ำมัน แคลเซียม ซัลเฟอร์ เหล็ก โพเทสเซียม ฟอสฟอรัส แมงกานีส คอพเปอร์ และแมกนีเซียม อาจกล่าวได้ว่า อินทผาลัมเป็นผลไม้ที่ให้ประโยชน์ทางอาหาร ชาวอาหรับมักจะกินอินทผาลัมร่วมกับนม โยเกิร์ต หรือขนมปัง เนยและปลา การร่วมกันดังกล่าวถือเป็นการกินอาหารที่เพียงพอสำหรับสมองและร่างกาย อินทผาลัมถูกกล่าวในอัลกุรอาน 20 ครั้งด้วยกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของมัน ท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) มักจะเปรียบเทียบมุสลิมดั่งต้นอินทผาลัม ท่านกล่าวว่า "ในบรรดาต้นไม้นั้น มีต้นไม้ชนิดเดียวที่คล้ายคลึงกับมุสลิม นั่นก็คือ ต้นอินทผาลัม ซึ่งใบของมันจะไม่ร่วง"

พระนางมัรยัม มารดาแห่งเยซู (ท่านนบีอีซา อะลัยฮิสสลาม) ได้รับประทานอินทผาลัมเป็นอาหารเมื่อรู้สึกปวดเมื่อยจาการทำงานและช่วงมีครรภ์ ดังนั้น อินทผาลัมเป็นอาหารสุดยอดแห่งความหวาน ย่อยสะลายได้ง่าย แค่ใช้เวลา 30 นาที ร่างกายก็จะกลับมากระชุ่มกระชวยอีกครานึง เหตุผลก็คือ การที่เลือดขาดสารน้ำตาลจึงทำให้รู้สึกหิว และจะไม่ทำให้ท้องว่างเมื่อทานอินทผาลัม ร่างกายจะได้รับสารอาหารสัมคัญแม้กินแค่ 2-3 เม็ด ความรู้สึกหิวจะทุเลาลง เมื่อคน ๆ หนึ่งละศีลอดด้วยการกินอินทผาลัมก่อนการรับประทานอาหารอื่น ๆ เขาก็จะรับประทานอาหารนั้นน้อยลง เพราะสารอาหารจากอินทผาลัมมีส่วนช่วยในการลดความอยากอาหารได้

จากการทดลองพบว่า อินทผาลัมประกอบไปด้วยสารที่ตระตุ้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในมดลูกสำหรับสตรีตั้งครรภ์ก่อนคลอด 1 เดือน เพราะมันจะช่วยให้ปากมดลูกขยายเมื่อคลอด และยังลดการหลั่งเลือดในขณะคลอดอีกด้วย (สตรีจะต้องรีบทานเลยน่ะ - ผู้แปล) นักโภชนาการเห็นว่า อินทผาลัมเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับสตรีช่วงตั้งครรภ์และสตรีให้นมบุตร เนื่องจากอินทผาลัมมีส่วนประกอบที่ช่วยในการลดความกดดันของแม่ และเพิ่มน้ำนม และยังช่วยให้ทารกนั้นได้รับสารอาหารนั้นด้วยในการต่อต้านโรคา ท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เน้นย้ำถึงความสำคัญของอินททผาลัม และการมีส่วนช่วยเสริมสุขภาพทารกในครรภ์ได้อย่างมีประสิทธภาพ ท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ส่งเสริมให้สตรีรับประทาน ทางด้านสถาบันด้านโภชนา ได้แนะนำเด็ก ๆ รับประทานอินทผาลัมเพื่อลดอาการทางประสาท ท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ยังแนะนำว่า อินทผาลัมเป็นยาทางใจอีกด้วย  ด้านศาสตร์ปัจจุบันรายงานว่า สารอาหารในอินทผาลัมสามารถป้องกันจากโรคาทางระบบทางหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อินทผาลัมประกอบไปด้วยสารอาหารทางวิตามิน และแร่ต่าง ๆ เมื่อร่างกายได้รับสารเหล่านั้น หลอดเลือดจะนำสารอาหารไปล่อเลี้ยงจนระดับการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น และส่งผลให้เพิ่มสมรรถภาพในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะอินทผาลัมยังประกอบไปด้วยสารแคลเซียมที่พิ่มความแข็งแรงของกระดูก ทั้งกระดูกอ่อนในเด็กและผู้ใหญ่

อินทผาลัมยังช่วยบำรุงรักษาสายตาในยามค่ำคืนได้อย่างดี ในยุคแรก ๆ นักรบมุสลิมมักพกอินทผาลัมใส่ในกระเป๋าแบบย่ามในการรบ เพราะมันสามารถช่วยในการชูกำลังวังชาได้เป็นอย่างดีเชียวแหละ

ว่ากันว่าท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เคยรับประทานอินทผาลัมกับขนมปังในบางครั้ง ลางทีท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ผสมกับแตงกวา หรือไม่ก็น้ำมันเนย ท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) รับประทานอินทผาลัมหลากหลายชนิด แต่ที่ท่านเราะซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) โปรดปรานนั้น คงจะเป็นอินทผาลัมชนิด "عَجْوَة (อัจญวะฮ์ - อินทผาลัมชนิดดีเยี่ยม)" ที่มาจากนครมะดีนะฮ์มุเนาวะเราะฮ์...วัสสลามุอะลัยกุม


ข้อมูล : http://darulfatwa.org.au/content/view/462/273

แปลภาษาไทยโดย : นายโชคอนันต์  รักทรัพย์ (21 สิงหาคม 2553 เวลา 13.35 น.)

6
รอมะฎอน / Re: วันนี้ในอดีต (บทความแปล)
« เมื่อ: มิ.ย. 03, 2012, 07:34 PM »

 :salam:

เวบเงียบเหงาจัง

7
 :salam:

รอดู ฟัง เช่นกัน  เรวๆหน่อยครับ  ฝ่ายเทคนิค

8


อยากทราบว่า...

๑. “เราจะปฏิบัติตามท่านนบีมูฮัมหมัด รอซูลของอัลลอฮฺ อย่างไร” (ในเมื่อเราไม่ได้มีชีวิตอยู่ และพบท่านนบีมูฮัมมัด (ซ.ล.) ในขณะที่ท่านนบีมีชีวิตอยู่)

๒. เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าท่านนบีปฏิบัติอะไร อย่างไรบ้าง

๓. ซุนนะฮฺนบี คือ อะไร มีความสำคัญอย่างไร

๔. เราจะทราบถึงซุนนะฮฺต่างๆ ของนบี อย่างไร (ในเมื่อเราไม่ได้มีชีวิตอยู่ และพบเห็นท่านนบีมูฮัมมัด (ซ.ล.) ในขณะที่ท่านนบีมีชีวิตอยู่)



วิสีชนา ๑  เราก็สามารถปฏิบัติตามนบีได้แม้ว่าเรามิได้อยู่ในยุคเดียวกับท่าน โดยเรียนรู้ว่าแบบฉบับของท่านมีอะไรบ้างที่เราจะพึงตาม

             ตัวอย่างเช่น  คนคนนึงอ้างว่าที่ฉันทำกิจนี้ เพราะกิจดังกล่าวบรรพบุรษเมื่อ ๑๐๐ ปีที่แล้วของฉันเคยกระทำ  (แสดงให้เหนว่าเขากระทำกิจนั้น

ตามแบบที่บรรพบุรุษได้เคยกระทำทั้งๆที่เขาไม่ได้อยู่ร่วมยุคเดียวกันกับบรรพบุรุษ)


วิสัชนา  ๒  จากวิสัชนา ๑ แบบฉบับของท่านนบีได้รับการถ่ายทอดผ่านบุคคลรุุ่นแล้วรุ่นเล่า ดังนั้นความน่าเชื่อถือในการถ่ายทอกผูกพันอยู่กับ

ความเชื่อมั่นหรือความไว้วางใจของผู้รับข้อมูล  ตัวอย่าง  นาย ก ซึ่งเป็นพ่อของนาย ข  ได้บอกแก่นาย ข  ว่า  ลูกจ้าตอนนี้ท่านผู้ว่า มาเยี่ยม

และนั่งพักอยู่ที่บ้านเราน่ะลูก  พ่อเลยมาตามลูกให้กลับไปดูด้วยกัน เมื่อนาย ข  ได้ยินดังกล่าว  นาย  ข  เลยกลับบ้านพร้อมกับนาย ก (ผู้เปนพ่อ) การที่นาย  ข  กลับบ้านเนื่องด้วยเขามีความเชื่อและวางใจต่อ นาย ก ผู้เป็นพ่อนั้นเอง 


วิสัชนา ๓  ด้วยส่วนตัวผมเอง ได้รับการเรียนรู้ว่า ซุนนะฮฺคือแบบอย่างที่เป็นกิจของท่านนบี  ดังนั้นแบบอย่างของท่านนบีเป็นแบบอย่างที่จะ

เป็นตัวบ่งชี้ว่ากิจใดเราควรทำและกิจเราควรห่างไกล  แสดงให้เหนว่าซุนนะฮฺบา

อย่างนั้นวาญิบแก่อุมมะฮฺพึงปฏิบัติ และบางอย่างเพียงแค่สุนัต  และบางอย่างเพียงแค่มักโระฮฺ และบางอย่างฮาราม เป็นต้น เมื่อเราทราบว่า

ซุนนะฮฺอย่างไรเปนซุนนะฮฺที่วาญิบเราก็ต้องปฏิบัติ และซุนนะฮฺใดฮารามแก่อุมมะฮฺเราพึงหลีกห่าง


วิสัชนา ๔  มีการถ่ายทอดรุ่นสู่รุ่น เหมือนดังอัลกุรอานนั้นแหละที่มีการส่งต่อๆกันมาจนถึงยุคเรา



9
อ่านผ่านๆ ช่วงนี้วุ่นๆ

จาก
อ้างถึง
แต่ท่านก็มิได้ยกย่องตนเองอยู่ในระดับมุกอลลิด
he never considered himself a non-muqallid

เข้าใจว่า non-muqallid (ไม่ใช่มุกอลลิด) ก็คือมุจญตะฮิด

ใช่ครับ  คำว่ามุกอลลิด หมายถึง บุคคลที่ตาม ๑ ใน ๔ มัซฮับ พูดง่ายๆคือผู้ตามมัซฮับนั่นเอง

ส่วนคำว่า ฆัยร์ มุกอลลิด หมายถึง บุคคลที่ไม่ตามมัซฮับ

ดังนั้น ด้านบทแปลว่า  เขามิเคยคิดว่าตนเองอยู่ในระดับของผู้ที่ไม่ตามมัซฮํบ (กล่าวคือยังคิดว่าตนเองยังต้องตามมัซฮํบ) ขอบคุณที่ช่วยตรวจทาน

10
The Imâms of H.adîth Defer to the Imâms of Fiqh
ครั้นผู้รู้ด้านหะดีษยอมจำนนสิโรราบต่อผู้รู้ด้านฟิกฮฺ



Imâm Ah.mad's teacher, Yah.yâ ibn Sa`îd al-Qat.t.ân, despite his foremost status as the Master of h.adîth Masters and expert in narrator-recommendation and discreditation, would not venture to extract legal rulings from the evidence but followed in this the fiqh of Abû H.anîfa as he explicitly declared: "We do not belie Allâh. We never heard better than the juridical opinion (ra'î) of Abû H.anîfa, and we followed most of his positions."

Similarly, Muh.ammad ibn `Abd Allâh ibn `Abd al-H.akam said: "If it were not for al-Shâfi`î I would not have known how to reply to anyone. Because of him I know what I know." As for Muh.ammad ibn Yah.yâ al-Dhuhlî (d. 258) of Khurâsân, whom Abû Zur`a ranked above Imâm Muslim and who is considered an Amîr al-Mu'minîn fî al-H.adîth ("Commander of the Faithful in the Science of H.adîth"), he never considered himself a non-muqallid but said: "I have made Ah.mad ibn H.anbal an Imâm in all that stands between me and my Lord." Mis`ar ibn Kidâm said the same with regard to Imâm Abû H.anîfa.


ท่านยะหฺยา อิบนุ ซะอีด อัลกอตตาน ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านอิหม่ามอะหฺมัดเป็นเป็นผู้ที่ความเจนจัดในการวิเคราะห์สายรายงานเป็นอย่างยิ่งจน  ถูกขนานนามว่าเป็นปรมาจารย์ของนักปราชญ์ด้านหะดีษ  แต่กระนั้นท่านมิได้ทำการวินิจฉัยหลักฮุก่ม  ในทางตรงกันข้างท่านเจริญรอยตามแนวทางของท่านอิหม่ามอบูหะนีฟะฮฺในด้านฟิกฮฺ  ดังที่ตัวท่านเองได้กล่าวว่า “เรามิได้ถูกชักจูงให้เข้าใจต่ออัลลอฮฺอย่างผิด ๆ และเรามิเคยทราบเลยว่าการวินิจฉัยปัญหาทางศาสนาจะดีไปกว่าการวินิจฉัยของท่านอิหม่ามอบูหะนีฟะฮฺ และเราก็เจริญรอยตามคำวินิจฉัยของท่านโดยส่วนใหญ่”  (ดู: บันทึกโดยท่านอัซซาฮาบีย์, ในหนังสือตัซคีรอต อัลฮุฟฟัต, เล่ม 1, หน้า 307, และท่านอิบนุ หะญัร, ในหนังสือตะฮฺซีบ อัลตะฮฺซีบ, เล่ม 10, หน้า 450)

ในทำนองเดียวกัน ท่านมุฮัมมัด อิบนุ อับดุลลอฮฺ อิบนุ อับดุลฮากัม กล่าวว่า “ถ้าไม่มีอิหม่ามอัชชาฟีอียฺแล้วไซร้ ฉันไม่รู้จะตอบต่อคนอื่นเยี่ยงใด เพราะท่านอิหม่ามอัชชาฟีอียฺนี้เอง ฉันจึงได้ทราบในสิ่งที่ฉันทราบจนบัดนี้”  (ดู: บันทึกโดยอิบนุ อับดุลบัร, ในหนังสืออัลอินติกออฺ, หน้า 124)

เกี่ยวกับเรื่องของท่านมุฮัมมัด อิบนุ ยะหฺยา อัซซุฮฺลียฺ (เสียชีวิตในปี 258) จากเมืองคุรอซาน ซึ่งท่านเป็นบุคคลที่ท่านอบูซูรฺอาจัดให้เป็นผู้มีความช่ำชองด้านหะดีษเหนือกว่าท่านอิหม่ามมุสลิม และท่านยังถูกขนานนามว่า อามีรฺ อัลมุมินีน ฟี อัลหะดีษ (ผู้นำแห่งศรัทธาชนด้านหะดีษ)  เขามิเคยคิดว่าตนเองอยู่ในระดับของผู้ที่ไม่ตามมัซฮับ (กล่าวคือยังคิดว่าตนเองยังต้องตามมัซฮับ-ผู้แปล)  แต่ท่านกล่าวว่า “ท่านอิหม่ามอะหฺมัดเป็นบุคคลที่อยู่กึ่งกลางระหว่างฉันกับอัลลอฮฺ (ฉันเรียนรู้เรื่องศาสนาผ่านท่านอิหม่ามอะหฺมัด-ผู้แปล)”  (ดู: บันทึกโดยท่านอัซซาฮาบียฺ, ในหนังสือซิยารฺ, เล่ม 10, หน้า 205)

ท่านมิสอารฺ อิบนุ คิดาม กล่าวในทำนองเดียวกันนี้เกี่ยวกับท่านอิหม่ามอบูหะนีฟะฮฺ  (ดู: อิบนุ อบี อัลวาฟา, หน้าสุดท้ายฉบับที่แก้ไขจากเมืองจาราจี อัลจาวาฮีร อัลมุดียะฮฺ) - วัลลอฮุอะอฺลัม.....[to be continued]

11
Hadîth Misguides Those Devoid of Fiqh
ใครไม่รู้เรื่องฟิกฮฺ  รู้แต่หะดีษ  ระวังจะหลงทาง

Ibn Abî Zayd al-Mâlikî reports Sufyân ibn `Uyayna as saying: "Hadîth is a pitfall (madilla) except for the fuqahâ'," and Mâlik's companion `Abd Allâh ibn Wahb said: "Hadîth is a pitfall except for the Ulema. Every memorizer of hadîth that does not have an Imâm in fiqh is misguided (dâll), and if Allâh had not rescued us with Mâlik and al-Layth [ibn Sa`d], we would have been misguided." Ibn Abî Zayd comments: "He [Sufyân] means that other than the jurists might take something in its external meaning when, in fact, it is interpreted in the light of another hadîth or some evidence which remains hidden to him; or it may in fact consist in discarded evidence due to some other [abrogating] evidence. None can meet the responsibility of knowing this except those who deepened their learning and obtained fiqh."

Imâm al-Haytamî said something similar. Ibn Wahb is also reported to say: "I met three hundred and sixty learned people of knowledge but, without Mâlik and al-Layth, I would have strayed." Another versions states: "Were it not for Mâlik ibn Anas and al-Layth ibn Sa`d I would have perished; I used to think everything that is [authentically] related from the Prophet - Allâh bless and greet him - must be put into practice." Another version has: "I gathered a lot of hadîths and they drove me to confusion. I would consult Mâlik and al-Layth and they would say to me, 'take this and leave this.'" Ibn Wahb had compiled 120,000 narrations according to Ahmad ibn Sâlih.. Hence, Ibn `Uqda replied to a man who had asked him about a certain narration: "Keep such hadîths to a minimum for, truly, they are unsuitable except for those who know their interpretation. Yahyâ ibn Sulayman narrated from Ibn Wahb that he heard Mâlik say: 'Many of these hadîths are [a cause for] misguidance; some hadîths were narrated by me and I wish that for each of them I had been flogged with a stick twice. I certainly no longer narrate them!'" By his phrase, "Many of these hadîths are misguidance," Mâlik means their adducing them in the wrong place and meaning, because the Sunna is wisdom and wisdom is to place each thing in its right context.

Ibn al-Mubârak said: "If Allâh had not rescued me with Abû Hanîfa and Sufyân [al-Thawrî] I would have been like the rest of the common people." Al-Dhahabî relates it as: "I would have been an innovator."



อิบนุ อบี ซัยดฺ อัลมาลิกียฺ รายงานว่า ซุฟยาน อิบนุ อุยัยนา กล่าวในทำนองว่า “หะดีษ เป็นหลุมพลางสำหรับคนที่ไม่ใช่นักฟิกฮฺ”  และท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ วะฮฺบ์  ซึ่งเป็นสหายของท่านอิหม่ามมาลิก กล่าวว่า “หะดีษเป็นหลุมพรางแก่ผู้คนทั้งหลาย เว้นแต่อุละมาอ์”  นักท่องจำหะดีษทั้งหลายทั้งปวงที่ไม่ศึกษาผ่านผู้รู้ด้านฟิกฮฺอาจจะหลงทางได้  และหากอัลลอฮฺมิได้ทรงพระเมตตาต่อเราด้วยกับท่านอิหม่ามมาลิกและท่านอัลลัยษ์แล้วไซร้  แน่แท้เราหาได้อยู่บนแนวทางทีเที่ยงตรงไม่!  (ดู: อิบนุ อาบี ฮาติม ในบทนำของหนังสืออัลญะฮฺร์ วะอัลตะดีล, หน้า 22-23; และอิบนุ อบี ซัยด์ ในหนังสืออัลญามิอฺ ฟี อัลสุนัน, หน้า 118-119; และอิบนุ อับดุลบัร ในหนังสืออัลอินตีกออฺ, หน้า 61;  และอัลดะฮาบียฺ, และดูความคิดเห็นในประเด็นนี้ของชัยคฺ อับดุลฟัตตะฮฺ อบูคุดดา ในหนังสืออัรรอฟ วะอัตตัคมีล ของอัลลัคเนาวียฺ, พิมพ์ครั้งที่ 2, หน้า 368-369 และพิมพ์ครั้งที่ 3 หน้า 90-91)

ท่านอิบนุ อบี ซัยดฺ ให้ความเห็นว่า “เขา (ซุฟยาน) หมายความว่า ผู้ที่มิใช่นักนิติศาสตร์อิสลาม  อาจจะแปลความหมายตามตัวบทหะดีษแบบผิวเผิน  ทั้ง ๆ ในความเป็นจริงต้องนำหลาย ๆ หะดีษมาประกอบในการพิเคราะห์ พินิจพิจารณา หรือหะดีษที่ถูกยกเลิกเนื่องด้วยหลักฐานอื่น ๆ หามีผู้ใดที่จะมีคุณสมบัติครบถ้วนเช่นนี้  เว้นแต่ผู้ที่เข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องฟิกฮฺ”  ท่านอิหม่ามอัลฮัยตามีกล่าวในทำนองนี้เช่นกัน  (ดู: ในหนังสืออัลฟัตวา อัลอัลฮาดีซียา, หน้า 283)

มีรายว่าท่านอิบนุ วะฮฺบ์กล่าวว่า  “ฉันพบเจอผู้รู้ 360 คน แต่ถ้าฉันไม่พบเจอกับท่านอิหม่ามาลิกและท่านอัลลัยษ์  การออกนอกลู่นอกทางคงไม่รอดไปจากฉันเป็นแน่แท้”  (ดู: ท่านอิบนุ ฮิบบานได้รายงานไว้ในบทนำของหนังสืออัลมัจรูฮีน ซึ่งเขารายงานมาจาก อิบนุ วะฮฺบ์  ซึ่งมีสำนวนคล้ายคลึงกัน แต่เพิ่มชื่อของท่านอัมร์ อิบนุ อัลฮาริษ และท่านอิบนุ มาญิซฮูน)

อีกสำนวนหนึ่ง ความว่า “หากไม่มีท่านอิหม่ามมาลิกและท่านอัลลัยษ์  ฉันคงพินาศสิ้น  เพราะฉันเคยคิดว่าหะดีษของท่านเราะซูลสามารถนำมาใช้ได้เลย” (ดู: สายรายงานที่บันทึกโดยท่านอิบนุ อสากิร และท่านอัลบียฮากียฺ  ท่านอิบนุรอญับ และหนังสือชัรหฺ อัลอิลลาฮฺ, เล่ม 1, หน้า 413 และเอาวามา, หน้า 76)

บางสำนวน ความว่า “ฉันรวบรวมหะดีษไว้มากมาย  แต่หะดีษเหล่านั้นสร้างความสับสนให้กับฉัน  ฉันต้องปรึกษาหารือกับท่านอิหม่ามมาลิกและท่านอัลลัยษ์ และทั้ง 2 ท่านกล่าวแก่ฉันว่า  เอาหะดีษบทนี้ไว้ และเอาหะดีษบทนั้นทิ้งไป”  (ดู: รายงานโดยท่านกอฎี อียาด ในหนังสือตัรตีบอัลมาดาริก, เล่ม 2, หน้า 427)

ท่านอะหฺมัด อิบนุ ศอลิหฺ เล่าว่า  “ท่านอิบนุ วะฮฺบ์ รวบรวมหะดีษถึง 120,000 หะดีษ”  (ดู: อิบนุ อัสสุบกียฺ, ในหนังสือตาบากอต อัชชาฟีอียา อัลกุบรอ, เล่ม 2, หน้า 128)

ท่านอิบนุ อุกดา ตอบแก่ชายคนหนึ่งที่มาถามท่านเกี่ยวกับสายรายงานหะดีษว่า “เก็บหะดีษเหล่านี้ให้น้อยที่สุด  เพราะแม้จริงไม่มีผู้ใดที่จะเหมาะสมและรู้ดียิ่ง  นอกจากผู้ที่เจนจัดในการตีความและเข้าใจ”  ท่านยะหฺยา อิบนุ สุลัยมาน รายงานจากท่าน อิบนุ วะฮฺบ์ ว่า ตนได้ยินท่านอิหม่ามาลิกกล่าวว่า “หะดีษเหล่านี้อาจสร้างความฉิบหายให้แก่พวกท่าน  หะดีษบางบทฉันเป็นผู้บันทึก  ฉันหวังว่าหะดีษเหล่านี้ ซึ่งฉันได้ทำการโบยด้วยไม้ (ตรวจสอบ-ผู้แปล) 2 ครั้งแล้ว”  (บันทึกโดย อัลคอตีบ, ดู: อัลฟากีฮฺ วัลมุตาฟักกิฮฺ, เล่ม 2, หน้า 80)

จากสำนวนดังกล่าวที่ว่า “หะดีษเหล่านี้ อาจสร้างความฉิบหายแก่พวกท่าน”  ท่านอิหม่ามมาลิกหมายความว่า  “การที่พวกเขาอ้างหลักฐานผิดที่และผิดความหมาย  เพราะซุนนะฮฺเป็นวิทยปัญญาที่ต้องจัดวางให้เหมาะกับที่และเรื่องของมัน”  (ดู: ชัยคฺ อิสมาอีล อัลอันศอรียฺ ดังที่อ้างในหนังสือเอาวามา, อซาร, หน้า 77)

ท่านอิบนุ อัลมุบารอก กล่าวว่า “หากอัลลอฮฺไม่ทรงช่วยฉันด้วยกับท่านอบูฮานีฟะฮฺและท่านซุฟยาน (อัษเษารียฺ)แล้วล่ะก็  ฉันคงจะไม่แตกต่างกับคนทั่ว ๆ ไปเลย” ท่านอัซซาฮาบียฺ เล่าในสำนวนว่า “ฉันคงจะเป็นผู้ทำอุตริกรรมเป็นแน่แท้”  (ดู: อิบนุ หะญัร ในหนังสือตะฮฺดีบ อัลตะฮฺซีบ, เล่ม 10, หน้า 449-452; และในหนังสือมะนากิบ อบี ฮานีฟา ของท่านอัลซะฮาบียฺ) - วัลลอฮุอะอฺลัม

12
The Superiority of Fiqh Over Hadith
นักฟิกฮฺย่อมเหนือชั้นกว่านักหะดีษ

ภาษาอังกฤษโดย: ชัยคฺ ญิบรีล เอฟ ฮัดดัด (Shaykh Gibril F. Haddad)
ถอดความภาษาไทยโดย: โชคอนันต์ รักทรัพย์ [อัลมันญูวี่ยฺ]
พิสูจน์อักษรและออกแบบโดย: สุไลหมาน เกปัน [อัสสะตูลี่ยฺ]
วันที่: 13 ธันวาคม 2554
___________________________________________________________________________


บทนำ


{He gives wisdom to whomever He will, and whoever receives wisdom receives immense good} (2:269). "He for whom Allâh desires great good, He grants him (superlative) understanding in the Religion (yufaqqihhu/yufqihhu fî al-dîn). I only distribute and it is Allâh Who gives. That group shall remain in charge of the Order of Allâh, unharmed by those who oppose them, until the coming of the Order of Allâh."

Imâm al-Shâfi`î said: "You [the scholars of hadîth] are the pharmacists but we [the jurists] are the physicians." Mullâ `Alî al-Qârî commented: "The early scholars said: The hadîth scholar without knowledge of fiqh is like a seller of drugs who is no physician: he has them but he does not know what to do with them; and the fiqh scholar without knowledge of hadîth is like a physician without drugs: he knows what constitutes a remedy, but does not have it available."

Imâm Ahmad is related by his students Abû Tâlib and Humayd ibn Zanjûyah to say: "I never saw anyone adhere more to hadîth than al-Shâfi`î. No one preceded him in writing down hadîth in a book." The meaning of this is that al-Shâfi`î possessed the intelligence of hadîth after which Ahmad sought, as evidenced by the latter's statement: "How rare is fiqh among those who know hadîth!" This is a reference to the hadîth: "It may be one carries understanding (fiqh) - meaning: memorizes the proof-texts of fiqh - without being a person of understanding (faqîh)." The Salaf and Khalaf elucidated this rule in many famous statements showing that, for all the exalted status of the Muhaddith, yet the Faqîh excels him:

อัลลอฮฺตรัสว่า
"พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานวิทยปัญญาแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์  และผู้ใดได้รับมันเขาจะได้รับความดีงามอย่างล้นหลาม"  [อัลกุรฺอาน หมวด ๒: มาตรา ๒๖๙]

จากท่านมุอาวียะฮฺ เล่าว่า ท่านเราะซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า  "ผู้ที่อัลลอฮฺทรงประสงค์จะให้เขาได้รับความดีงามอันยิ่งใหญ่  พระองค์จะให้เขาเข้าใจในศาสนาอย่างลึกซึ้ง  ข้ามีหน้าที่เผยแผ่  และการให้นั้นเป็นของพระองค์  และไม่มีผู้ใดทำอันตรายต่อกลุ่มที่ยังยึดมั่นภาระหน้าที่ตามบัญชาของพระองค์จนกว่าพระบัญชาใช้ของพระองค์จะมาถึง"  [บุคอรียฺและมุสลิม]

ท่านอิหม่ามอัชชาฟิอียฺ กล่าวว่า  "พวกท่าน (ผู้เป็นนักหะดีษ) เปรียบเสมือนเภสัชกร  แต่เรา (นักฟิกฮฺ) เปรียบเสมือนแพทย์  ท่านมุลลา อะลี อัลกอรี แสดงความเห็นว่า  นักวิชาในยุคต้น ๆ นั้นกล่าวว่า  นักหะดีษที่ไม่รู้และเข้าใจเรื่องฟิกฮฺเปรียบดุจดังคนขายยาที่ไม่ใช่หมอ  เขามียา  แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรกับมัน  ส่วนนักฟิกฮิที่ไม่รู้และเข้าใจในเรื่องหะดีษเปรียบดุจดังหมอที่ไม่มียา  ซึ่งรู้ว่าจะรักษาอย่างไร  แต่ไม่มียาให้ใช้ในการรักษา"  (อัลกอรี, มุตากอด อบี ฮานีฟาตา อัลอิหม่าม ฟี อบาวัย อัรรอซูล อลัยฮี อัซซอลาต วาอัซซาลาม, หน้า ๔๒)

ท่านอบูฏอลิบและท่านฮุมัยดฺ อิบนุ ซันจูญะฮฺ ซึ่งเป็นสานุศิษย์ของท่านอิหม่ามอะหฺมัดได้ถ่ายทอดคำกล่าวของท่านอิหม่ามอะหฺมัดว่า "ฉันไม่เคยเห็นใครจะแม่นยำเรื่องหะดีษมากไปกว่าท่านอิหม่ามชาฟีอียฺเลย  ถ้าเรื่องการจดบันทึกหะดีษแล้วล่ะก็  ไม่มีใครเกินหน้าท่านอิหม่ามชาฟีอียฺเลย"  แปลว่าท่านอิหม่ามชาฟิอียฺมีความเจนจัดในเรื่องหะดีษเป็นอย่างมากหลังจากที่ท่านอิหม่ามอะหฺมัดได้ร่ำเรียนกับท่าน  ดังคำกล่าวที่ว่า  "ประเสริฐอะไรเช่นนี้ สำหรับนักฟิกฮฺที่อยู่ท่ามกลางหมู่นักหะดีษ"  ตรงกับหะดีษที่ว่า  "ผู้ที่เข้าใจอย่างถ่องแท้"  หมายถึง ท่องจำเรื่องราวหลักฐานจากตัวบทในเรื่องฟิกฮฺ  เป็นหะดิษมัชฮูรฺ (มีสายรายงานอย่างท่วมท้น)  ซึ่งบรรดาเศาะฮาบะฮฺหลายท่านได้เล่าสู่กันฟัง  และท่านอัตติรฺมีซียฺ ท่านอบูดาวู๊ด ท่านอิบนุมาญะฮฺ และท่านอะหฺมัด บันทึกไว้  ซึ่งชาวสลัฟและคอลัฟได้ให้ความกระจ่างในเรื่องนี้ว่า  สถานะภาพของนักหะดีษนั้นประเสริฐยิ่ง  แต่นักฟิกฮฺนั้นเหนือชั้นกว่า - วัลลอฮุอะอฺลัม


وَالسَّلَامُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُ اللهِ وَبَرَكَاتُهُ

13
The Superiority of Fiqh Over Hadith
นักฟิกฮฺย่อมเหนือชั้นกว่านักหะดีษ



ภาษาอังกฤษโดย: ชัยคฺ ญิบรีล เอฟ ฮัดดัด (Shaykh Gibril F. Haddad)

ถอดความภาษาไทยโดย: โชคอนันต์ รักทรัพย์

ณ ชายคาปอเนาะ

วันที่: 13 ธันวาคม 2554
___________________________________________________________________________

بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ
สารบัญ

0.  สารบัญ (นักฟิกฮฺย่อมเหนือชั้นกว่านักหะดีษ)
1.  บทนำ
2.  ใครไม่รู้เรื่องฟิกฮฺ  รู้แต่หะดีษ  ระวังจะหลงทาง
3.  ครั้นผู้รู้ด้านหะดีษยอมจำนนสิโรราบต่อผู้รู้ด้านฟิกฮฺ

มีทั้งหมด 9 เรื่อง  ก็จะทยอยแปลลงไปเรื่อย ๆ ครับ - อินชาอัลลอฮฺ.....[to be continued]

وَاللهُ أَعْلَمُ بِالصَّوَابِ

14
ควรจะละหมาดศพก่อนละหมาดวันศุกร์หรือไม่?!

ภาษาอังกฤษโดย: Shafiifiqh.com Fatwa Dept
ถอดความภาษาไทยโดย: นายโชคอนันต์ รักทรัพย์ [อัลมันญูวี่ย์]
วันที่: 11 ธันวาคม 2554
___________________________________________________________________________


Question:
If a person passes away on Friday, is it better to bury him after Jumuah or before Jumuah?
Country: United States.
Answer:
Wa alaykum salam wa rahmatuLlahi wa barakatuHu,
If a Friday prayer and funeral prayer enter, and time is not tight, then the funeral prayer must be made first. If time is tight, then the Friday prayer may be performed first. (Sharh al-Muhadhdhab v. 5, p. 56; Tuhfat al-Muhtaj v. 3, p. 64)
Ibn ‘Abd al-Salam was in charge of the Friday prayer in Egypt’s ‘Amr b. al-As mosque. He would perform the funeral prayer before the Friday prayer, and then give fatwa that those needed to carry the deceased and the deceased’s family should proceed for burial (without performing the Friday prayer first). (Tuhfat al-Muhtaj v. 3, p. 64)
And Allah knows best.

ปุจฉา: ถ้าหากมีคนเสียชีวิตในวันศุกร์ จะเหมาะสมไหมที่จะฝังเขาหลังละหมาดวันศุกร์
จากประเทศ: สหรัฐอเมริกา

วิสัชนา: หากว่าเข้าเวลาการละหมาดวันศุกร์และละหมาดศพ  และยังมีเวลาที่จะละหมาดวันศุกร์อีก  สมควรที่จะทำการละหมาดศพก่อนที่จะละหมาดวันศุกร์  แต่ถ้าเวลาในการละหมาดวันศุกร์สั้นกระชับ (ใกล้หมดเวลา) สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องละหมาดวันศุกร์ก่อน (หนังสือชัรหฺ มุฮฺฮัซซับ, เล่ม ๕, หน้า ๕๖ และหนังสือตุฮฺฟัต อัลมุฮฺตัจ, เล่ม ๓, หน้า ๖๔)

ท่านอิบนุ อับดัซซาลาม ผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบมัสยิด อัมรฺ บิน อัลอัส ในประเทศอียิปต์  ท่านได้ละหมาดศพก่อนที่จะละหมาดวันศุกร์  และท่านตัดสินว่าจำเป็นยิ่งกว่าที่จะต้องแบกศพเพื่อทำการฝังและครอบครัวผู้ตายควรทำการฝังต่อไป (สมควรที่จะหมาดวันศุกร์เมื่อฝังเสร์จ) (หนังสือตุฮฺฟัต อัลมุฮฺตัจ, เล่ม ๓, หน้า ๖๔)

อัลลอฮฺทรงรู้ดียิ่ง


وَالسَّلَامُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُ اللهِ وَبَرَكَاتُهُ

15


ขอแจมด้วยคน

๑) เรื่องอายาซีน จากที่อ่านคำตอบด้านบน จะเห็นว่าผู้ตอบเองเปิดกว้างในการตอบพอสมควร

เนื่องด้วยการอ่านในอัลกุรอานที่ท่านนบีกระทำคือ การอ่านซูเราะฮฺกาฟี (ตามคำอ้าง)

 แสดงว่าอีก ๑๑๓ ซุเราะฮฺอาจ  ไม่มีรายงานว่าท่านรอซูลได้อ่านในคำคืนนั้นก็เปนได้

 (แต่ผมว่าซูเราะฮฺฟาติหะฮฺ นบีอ่านแน่นอนเมื่อละหมาด)  ต่อมาหลักฐานการอ่านกุรอานนั้นเป็นหลังฐานกว้าง

ว่าให้อ่านกุรอานกันมากๆ ซึ่งหากเอาจุดนี้มาแปะ เท่ากับว่าอ่านซุเราะฮฺอื่นจากซูเราะฮฺกาฟีก็ได้อีก

ส่วนสุดท้าย การอ่านซุเราะยาซีนโดยบังเอิญ ถือว่ากระทำได้  หากยึดว่าท่านนบีอ่านซูเราะฮฺกาฟีอย่างเดียว

แม้จะโดยบังเอิญก็น่าจะอ่านไม่ได้ หมายความว่าเมื่อมาถึงซูเราะฮฺยาซีนก็ต้องหยุดเสีย เพราะนบีไม่ได้อ่านซูเราะฮฺ

ยาซีน

ต่อมาคนที่เขาอ่านได้เฉพาะซูเราะฮฺยาซีนล่ะจะว่าไง หากไม่ให้อ่าน เท่ากับว่าห้ามอ่านอัลกุรอานน่ะซิ

ต่อมาเห็นแว่วว่าที่อ่านไม่ได้มันเชื่อโยงกับหลักความเชื่อ แสดงว่าหากใครไม่เชื่ออย่างที่อ้าง ก็เป็นที่อนุญาต



๒) เรื่องตัวเงินตัวทองกินได้  แถมยังยืนยันว่า กินได้เพราะไม่มีหลักฐานห้าม ในส่วนนี้ผมเห็นด้วยแค่ครึ่งเดียว

เพราะ ผู้ตอบยังแถมท้ายอีกว่าเรื่อง ถ้ากินไปแล้วจะเป็นอันตรายกับผู้กินนั้นมันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

แสดงว่าการที่จะตอบคำถามอย่างนี้นั่นต้อง พิจารณา ๒ ส่วน คือ หนึ่ง สัตว์ที่ว่ามันถูกห้ามโดยตรงหรือไม่

สอง เหตุผลในการห้าม  ผมเลยคิดว่าจะดูแค่ส่วนเดียวแล้วตูมตอบ คงไม่บังควร

 เพราะเปนการวินิจฉัยที่ไม่รอบคอบ  ก็เพราะตอบฮุกมไปแล้ว แต่ส่วนที่สองยังไม่ถูกพิจารณา



หมายเหตุ : การตอบนี้เป็นความเข้าใจของผมเอง (ผิดพลาดชี้แนะด้วยครับ)


หน้า: [1] 2 3 ... 56