แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - muhib

หน้า: [1] 2 3 ... 9
1
 salam
ดาวเคราะห์เดือนสิงหาคม 2553
1 สิงหาคม 2553 วรเชษฐ์ บุญปลอด
ดาวเคราะห์
ท้องฟ้าทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำของเดือนนี้จะพบกับดาวเคราะห์ที่เห็นได้ด้วยตาเปล่ามากถึง 4 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร และดาวเสาร์ ส่วนดาวพฤหัสบดีจะขึ้นมาอยู่เหนือขอบฟ้าตะวันออกในเวลาประมาณ 4 ทุ่ม และเป็นดาวเคราะห์สว่างดวงเดียวที่ปรากฏเหนือขอบฟ้าในเวลาเช้ามืดก่อนฟ้าสาง

ดาวพุธกำลังเคลื่อนอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต สังเกตเห็นได้บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำต่อเนื่องมาจากเดือนกรกฎาคม มันอยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้ามากที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ 4 ดวงที่ปรากฏในเวลาหัวค่ำ วันที่ 7 สิงหาคม ดาวพุธอยู่ห่างดวงอาทิตย์มากที่สุดด้วยมุมห่างมากถึง 27.4 องศา ซึ่งปกติค่านี้สามารถแปรผันได้ระหว่าง 18 ถึง 28 องศา ที่ห่างได้มากเช่นนี้เนื่องจากเดือนนี้ตรงกับช่วงที่มันผ่านบริเวณจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด (aphelion) ในวงโคจรของตัวเอง ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากนั้นเพียงวันเดียว

หากฟ้าเปิดเราจะสามารถสังเกตดาวพุธได้ทุกวันไปจนถึงราวปลายสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน เมื่อถึงเวลานั้นดาวพุธจะเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นและอยู่ต่ำจนสังเกตได้ยาก วันที่ 12 สิงหาคม มองเห็นจันทร์เสี้ยวอยู่ห่างไปทางซ้ายมือของดาวพุธด้วยระยะเชิงมุม 7 องศา โดยสูงกว่าดาวพุธเล็กน้อย ช่วงวันที่ 1-21 สิงหาคม ดาวพุธจางลงจากโชติมาตร +0.1 ไปที่ +1.3 เวลาส่วนใหญ่ดาวพุธจึงสว่างดาวเสาร์และดาวอังคาร อย่างไรก็ตาม มุมเงยที่ไม่สูงนักจะทำให้ดาวพุธแลดูสว่างน้อยกว่านี้ได้ ช่วงดังกล่าวดาวพุธมีขนาดเชิงมุมเพิ่มขึ้นจาก 7.0 พิลิปดา เป็น 9.7 พิลิปดา พื้นผิวด้านสว่างลดลงจาก 57% ไปที่ 21% โดยสว่างครึ่งดวงในช่วงวันที่ 5 และ 6 สิงหาคม

เยื้องขึ้นไปทางซ้ายมือเหนือดาวพุธจะเห็นดาวเคราะห์เกาะกลุ่มกันอีก 3 ดวงบริเวณกลุ่มดาวหญิงสาว ดาวศุกร์สว่างที่สุดในสามดวงนี้ ดาวเสาร์สว่างกว่าดาวอังคารเล็กน้อยแต่ก็เทียบไม่ได้กับความสว่างของดาวศุกร์ เราเรียกดาวศุกร์ขณะปรากฏบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำว่า "ดาวประจำเมือง" ตลอดเดือนสิงหาคมดาวศุกร์มีขนาดปรากฏเพิ่มขึ้นจาก 20.0 ไปที่ 28.1 พิลิปดา พื้นผิวด้านสว่างลดลงจาก 58% เป็น 42% โดยสว่างครึ่งดวงในค่ำวันที่ 17 สิงหาคม นับเป็นเวลา 3 วันก่อนที่ดาวศุกร์จะทำมุมห่างดวงอาทิตย์มากที่สุด แม้ว่าดาวศุกร์จะมีสัดส่วนของพื้นผิวด้านสว่างลดลงเรื่อย ๆ คือเปลี่ยนจากสว่างมากกว่าครึ่งดวงไปเป็นเสี้ยว แต่การที่มันเคลื่อนเข้าใกล้โลกมากขึ้น ทำให้เดือนนี้ดาวศุกร์มีขนาดที่เห็นในกล้องโทรทรรศน์ใหญ่ขึ้นและยังคงมีความสว่างเพิ่มขึ้นจากโชติมาตร -4.3 ไปที่ -4.6 ค่ำวันที่ 31 สิงหาคม และ 1 กันยายน จะเห็นดาวศุกร์อยู่ใกล้ดาวรวงข้าวในกลุ่มดาวหญิงสาว

ดาวเสาร์กับดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์อีก 2 ดวงที่อยู่ใกล้ดาวศุกร์ เดือนนี้ขนาดปรากฏตามแนวเส้นศูนย์สูตรของดาวเสาร์ลดลงจาก 16.4 ไปเป็น 15.9 พิลิปดา ความสว่างลดลงจากโชติมาตร +1.1 ไปที่ +1.0 ส่วนดาวอังคารมีขนาดเล็กกว่ามาก เดือนนี้ขนาดดาวอังคารลดลงจาก 4.7 เป็น 4.3 พิลิปดา ความสว่างเกือบไม่เปลี่ยนแปลงที่โชติมาตร +1.5 เมื่อเทียบตำแหน่งของดาวเคราะห์ทั้งสามกับดาวฤกษ์ที่เป็นฉากหลัง ดาวศุกร์เปลี่ยนตำแหน่งเร็วที่สุดด้วยอัตราประมาณ 1 องศาต่อวัน ดาวอังคารอยู่ที่ 0.6 องศาต่อวัน ส่วนดาวเสาร์ช้าที่สุดด้วยอัตรา 0.1 องศาต่อวัน ดาวเคราะห์ 3 ดวงนี้เข้าใกล้กันที่สุดในคืนวันที่ 8 สิงหาคม 2553 ด้วยระยะห่าง 5 องศา ซึ่งทำให้สามารถส่องเห็นดาวเคราะห์ทั้ง 3 ดวงได้พร้อมกันผ่านกล้องสองตาขนาด 7x50 โดยมีดาวพุธอยู่ไกลออกไปทางขวามือด้านล่างด้วยระยะเชิงมุมประมาณ 20 องศา

ดาวพฤหัสบดีอยู่ในกลุ่มดาวปลา ต้นเดือนสิงหาคมดาวพฤหัสบดีขึ้นเหนือขอบฟ้าทิศตะวันออกตั้งแต่เวลาประมาณ 4 ทุ่มหรือหลังจากนั้นเล็กน้อย มันขึ้นเร็วกว่าเดิมทุกวันราววันละประมาณ 4 นาที ปลายเดือนจึงเห็นได้ตั้งแต่เวลา 2 ทุ่ม หลังจากนั้น 6 ชั่วโมง ดาวพฤหัสบดีจะเคลื่อนสูงขึ้นไปอยู่สูงกลางฟ้าเหนือศีรษะ และคล้อยลงไปทางทิศตะวันตกในเวลาเช้ามืด ตลอดเดือนนี้ขนาดเชิงมุมตามแนวเส้นศูนย์สูตรของดาวพฤหัสบดีเพิ่มขึ้นจาก 45.8 เป็น 49.1 พิลิปดา ความสว่างเพิ่มขึ้นจากโชติมาตร -2.7 ไปที่ -2.9 ดาวพฤหัสบดีจะใกล้โลกที่สุดในเดือนหน้า ลักษณะปรากฏในบรรยากาศของดาวพฤหัสบดีดูแปลกไปจากที่เคยเห็นมาหลายปี เนื่องจากขณะนี้แถบเมฆคล้ำที่พาดทางใต้ของเส้นศูนย์สูตรบริเวณละติจูดใกล้เคียงกับจุดแดงใหญ่ (Great Red Spot) ได้จางหายไป คืนวันที่ 27 สิงหาคม เวลา 22:49 - 23:15 น. กล้องโทรทรรศน์กำลังขยายสูงจะส่องเห็นเงาของดาวบริวาร 2 ดวง คือ เงาของไอโอและแกนิมีด ปรากฏพร้อมกันบนบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี

ดาวยูเรนัส (โชติมาตร +5.8) อยู่ในกลุ่มดาวปลา ไม่ห่างจากดาวพฤหัสบดีมากนัก เวลาที่สังเกตดาวยูเรนัสได้ดีคือตั้งแต่ราว 5 ทุ่มไปจนถึงช่วงก่อนที่ท้องฟ้าจะสว่างในเวลาเช้ามืด ดาวเนปจูน (โชติมาตร +7.8) อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ เดือนนี้ดาวเนปจูนซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลดวงอาทิตย์ที่สุดจะเคลื่อนมาอยู่ตรงตำแหน่งที่ทำมุม 180 องศากับดวงอาทิตย์ จึงเป็นช่วงที่ดาวเนปจูนสว่างและใกล้โลกที่สุดในรอบปี สามารถสังเกตดาวเนปจูนได้ตั้งแต่เวลาที่ท้องฟ้าเริ่มมืดสนิทไปจนถึงก่อนฟ้าสาง โดยจำเป็นต้องใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องดูจากสถานที่ที่ฟ้ามืด ไม่มีแสงไฟและแสงจันทร์รบกวน แผนที่ตำแหน่งดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนแสดงไว้ในวารสารทางช้างเผือกฉบับคู่มือดูดาวประจำปี 2553 ข้อมูลดวงจันทร์ขึ้น-ตก ดูที่ เวลาดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ขึ้น-ตก

ดวงจันทร์
ช่วงแรกของเดือนเป็นข้างแรม ดวงจันทร์อยู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดโดยสว่างครึ่งดวงในวันที่ 3 สิงหาคม สองวันถัดมามองเห็นจันทร์เสี้ยวอยู่ต่ำกว่ากระจุกดาวลูกไก่ด้วยระยะห่าง 3 องศา วันที่ 9 สิงหาคม เป็นโอกาสสุดท้ายที่จะเห็นดวงจันทร์เหลือส่วนสว่างเป็นเสี้ยวอยู่เหนือขอบฟ้าขณะท้องฟ้าเริ่มสว่างในเวลาเช้ามืด หลังวันที่ 10 สิงหาคม ซึ่งดวงจันทร์จะอยู่ในทิศทางเดียวกับดวงอาทิตย์ จากนั้นดวงจันทร์จะย้ายไปปรากฏบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ วันที่ 11 สิงหาคม หากฟ้าเปิดอาจเห็นจันทร์เสี้ยวบาง ๆ อยู่เหนือขอบฟ้าทิศตะวันตกโดยอยู่ต่ำกว่าดาวพุธขณะท้องฟ้าเริ่มมืด

ค่ำวันที่ 12 และ 13 สิงหาคม ดวงจันทร์เคลื่อนไปอยู่ท่ามกลางดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร และดาวเสาร์ นับเป็นปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือนที่น่าสนใจครั้งหนึ่งของปี เพราะตรงกับช่วงที่ดาวเคราะห์ 3 ดวงมาอยู่ใกล้กันด้วย วันที่ 17 สิงหาคม ดวงจันทร์สว่างครึ่งดวงขณะอยู่ใกล้ดาวแอนทาเรสในกลุ่มดาวแมงป่อง เดือนนี้ดวงจันทร์สว่างเต็มดวงในเวลา 5 นาทีหลังเที่ยงคืนของคืนวันที่ 24 สิงหาคม (เข้าสู่วันที่ 25) เป็นดวงจันทร์เต็มดวงที่มีขนาดเล็กที่สุดในรอบปี เนื่องจากใกล้เคียงกับช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ไกลโลกที่สุด แต่ด้วยตาเปล่าอาจสังเกตไม่พบความแตกต่างนี้ เช้ามืดวันที่ 27 สิงหาคม ดวงจันทร์จะอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดี หลังจากนั้นอีกหลายชั่วโมงจะมองเห็นดวงจันทร์อยู่ทางซ้ายมือของดาวพฤหัสบดีในค่ำคืนวันเดียวกัน เช้ามืดวันที่ 1 กันยายน ดวงจันทร์ผ่านใกล้กระจุกดาวลูกไก่อีกครั้ง แต่ครั้งนี้ใกล้กว่าครั้งก่อนด้วยระยะห่างจากกระจุกดาวลูกไก่เพียง 1 องศา
http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/planets/img/2010-08chart.gif

ดูเพิ่ม
ดาวเคราะห์ในปี 2553
อุปราคาในปี 2553
ฝนดาวตกในปี 2553
เวลาดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ขึ้น-ตก
เวลาเกิดแสงสนธยาและเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น-ตก
สารพันคำถามเกี่ยวกับดาราศาสตร์ : หมวดระบบสุริยะ
อ้างอิงจาก สมาคม ดาราศาสตร์ไทยhttp://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/planets/
 http://www.hilalthailand.com/oursky/modules/newbb/viewtopic.php?topic_id=125&forum=2&post_id=416#forumpost416

2
 salam

ขอฝากให้คุณก้อดดัรช่วยเสนอ พรรคพวกกรรมการที่ศูนย์กลางลองจัดสัมนาดาราศาสตร์กันด้วย
ผมและ อ.ชาฟิอี มีงะ  หนองจอก และ อ.บรรจงสมานตระกูล ลำไทร จะทำหนังสือถึง บรรดาสมาคมชมรมมุสลิมต่าง
ให้มีการอบรมหรือสัมนาเรื่องดาราศาสตร์อิสลามด้วย สถานที่ ศูนย์กลางก็น่าจะเหมาะสมที่สุด
ในงานควรมี การบรรยาย การฉายสไลท โปรเจ็คเตอร์ เอกสาร แจก การบรรยายน่าจะเชิญทางสมาคมดาราศาสตร์ไทยมาร่วมบรรยายด้วย
ผู้สนใจ ติดต่อกับผมได้ทางโปรแกรม skype  ชื่อ intaplam หรือ hilalth หรือ muhib ได้

3
http://www.phys.uu.nl/~vgent/islam/ummalqura.htm

http://www.phys.uu.nl/~vgent/islam/1431/1431g.pdf

http://www.phys.uu.nl/~vgent/islam/1431/1431m.pdf

ดูปฏิทินที่คำนวนไว้ล่วงหน้าของอุมมุลกุรอ ของสอูดี นะครับ

4
 salam
ควรอ่านและศึกษาให้รอบคอบก่อน
การคำนวน จันทร์ดับเกิดใหม่ ไม่ใช่บอกเราว่าเห็นจันทร์เสี้ยว แม้ว่าสมาชิกจะเห็นทางโปรแกรมดาราศาสตร์ว่าดวงจันทร์ตกหลังดวงอาทิตย์ก็ตาม
หลังจันทร์ดับ  แต่หลัง หนึ่งวันหรือสองวัน เราถึงจะเห็นด้วยสายตาคน  เราจะเห็นแสงสะท้อนของดวงจันทร์ได้เมื่อดวงจันทร์ได้โคจรพ้น
เส้นระนาบเดียวกันของโลกดวงจันทร์และดวงอาทิตย์  พ้นไปแล้วไม่ต่ำกว่า ยี่สิบ ชั่วโมง หรืออายุของดวงจันทร์เกินยี่สิบ ชม.หลังจันทร์ดับ
แล้วยังไปสัมพันฺธ์กับการเบี่ยงองศาประมาณ หกองศาของจุดศูนย์กลางของโลกกับดวงอาทิตย์อีกว่าเดือนนั้นๆดวงจันทร์ปัดอยู่ด้านบนหรือด้านล่างของแกนโลก  น้องๆลูกๆหลานๆทั้งหลายควรเข้าไปอ่านความรู้ด้านดาราศาสตรของ สมาคมดาราศาสตรไทยด้วยจะทำให้ท่านเข้าใจได้ง่ายขึ้นครับ
 อย่างปฎิทินคำนวนผมทำได้ล่วงหน้าร้อยปีได้
เมื่อยี่สิบห้าปีก่อนก็ทำปฏิทินอิสลาม ห้าสิบปี ซึ้งน่าจะเอามาลงได้ให้เด็กได้ศึกษาต่อไป

5
بسم الله الرحمن الرحيم
الحمد لله رب العالمين وبه نستعين
เรียนท่าน จุฬาราชมนตรี และคณะกรรมการในสำนักจุฬาฯ

จากการติดตามการปฏิบัติศาสนกิจของมุสลิมในเดือนอันจำเริญต่างๆ รวมทั้งเดือน เราะมะฎอน เดือนซุลหิจญะฮ ซึ่งมีความเกี่ยวพัน กับการสังเกตการปรากฏของฮิลาลจันทร์เสี้ยว ที่จะปรากฏให้เห็นในแต่ละเดือน ตามประเทศ และท้องถิ่นต่างๆ และที่ปรากฏในบ้านเมืองเรา ประเทศไทยด้วย ผม และสมาชิกอวุโสหลายท่านในชมรมดาราศาสตร์มุสลิมไทย ได้ทำการติดตามการสังเกตุการณ์ฮิลาลจันทร์เสี้ยวมาตลอดระยะเวลา 40 ปีกว่า ทั้งครูอิ่น ครูหม่าน ฮาซาไนย์ อ.สมชัย เรืองทอง (ศอลิห อัลฟะละกี) อ.ชาฟิอี มีงะ และบรรดาผู้สนใจอีกมาก เราติดตามการดูเดือนฮิลาล ด้วยสายตา และทำปฏิทินไว้ทุกๆปีและเอาวิชาการดาราศาตร์ และการคำนวนมาช่วยบ้างในเรื่องทิศทางองศา หรือเวลาขึ้นตก ของดวงจันทร์ในแต่ละวันมาช่วยทำให้สะดวกง่ายดายในการตั้งกล้องดูดาว และการติดตามมาตลอด จึงทำให้ทราบว่า การปรากฏของฮิลาลในแต่ละภูมิภาคของโลกนั้น ไม่สามารถ ปรากฏให้นับได้พร้อมกันทั่วโลก คือ ไม่สามารถ เข้าหรือออกเดือนเราะมะฎอนได้พร้อมกันทั้งโลก ด้วยสาเหตุของการเอียงองศาของแกนโลก การเคลื่อนที่ของดวงจันทร์รอบโลก เร็วช้า ไม่เท่ากันทั้งปี เวลาปรากฏของฮิลาลตามภูมิภาคต่างๆของประเทศที่อยู่ทางซีกเหนือหรือใต้ ต่างกันได้ถึงสามวัน อย่างเช่นในเราะมะฎอนปี 1431 นี้ ปลายเดือนชะอบาน เส้นเดินทางของดวงจันทร์จะปรากฏทางซีกใต้ประเทศที่อยู่ทางเหนือ เช่น แคนาดา ยุโรป รัซเซีย นอร์เวย์ ประเทศเหล่านี้จะไม่สามารถเห็นฮิลาลที่ปรากฏในวันที่ 11 ส.ค.ได้ ต้องรอฮิลาล 1-2 วัน การเข้าเราะมะฎอนของประเทศทางเหนือ จังช้ากว่าทางเอเชีย ออสเตรเลยเสียในปีนี้ และก็มีบางปี ที่ประเทศทางเหนือ ก็จะเห็นก่อนประเทศทางใต้

ผม และสมาชิกชมรมดาราศาสตร์มุสลิมไทย หวังว่า ท่านจุฬาราชมนตรี และคณะฯ โปรดพิจรณาในเรื่องนี้อย่างรอบคอบ เพราะเคยมีการวิพากษ์ว่ามีพี่น้องมุสลิมบางท่านต้องการให้เข้า-ออก เราะมะฎอน พร้อมกันกับทางสะอุดีฯถึงกับลงทุนแจ้งข่าวโดยไม่เห็นฮิลาลจริง ซึ่งหากเราได้ติดตามความจริง เราจะทราบว่า สะอูดีฯนั้น ใช้การคำนวนเป็นหลักมาตลอด และได้ละทิ้งการดูเดือนจริงๆ ได้มีการตอบจดหมายถึงถึงสมาคมดาราศาสตร์ของจอร์แดนมาแล้ว และในปฏิทินอุมมุนกุรอ ของสะอูดีเขา จะคำนวนทำล่วงหน้าไว้ 20 ปี หรือปฏิทินดาราศาตร์เหล่านี้ ใช้การคำนวนเมื่อเริ่มการเกิดจันทร์ดับ หรือนิวมูน ทั้งสิ้นโดยไม่คำนึงถึงว่าจะเห็นหรือไม่  ฉนั้นการเอาปฏิทินเหล่านั้นมาใช้ จะต้องควบคู่กับการออกดูเดือนเสี้ยวด้วยสายตาคนจริง (รุอยะฮฺ) การปรากฏของฮิลาลด้วยสายตาของคนเราที่เห็นในพื้นที่ที่บ้านเมืองนั้นๆแล้วนำมาบวกเพิ่มวันจากปฏิทินที่เราคำนวนไว้ การดูโดยรุอฺยะฮฺ จึงเป็นสุนนะฮที่พึงปฏิบัติ เราทราบมาตลอดว่าก่อนหน้าท่านนั้น ท่านจุฬาราชมนตรีต่วนสุวรรณศาตร์ จนถึงท่านจุฬาฯสวาทสุมาลย์ศักด์ ก็สนับสนุนให้มีการดูเดือนในเมืองไทยเป็นหลักทั้งสิ้น และแบบอย่างที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยท่านนบีมุฮัมมัด ศ้อลลัลลอฮุฯ และบรรดาศอหาบะฮ์ของท่านนบีฯ ที่ใช้ให้มีการดูเดือนในท้องถิ่นบ้านเมืองของตนเองเป็นหลัก และอณุญาติยืดหยุ่นโดยให้มีการสอบสวนเมื่อมีการเห็นฮิลาล ตามชานเมืองมะดีนะฮ์ (ความหะดีษเกี่ยวกับกองคาราวานที่เห็นฮิลาลนอกเมืองชานเมืองมะดีนะฮฺ )ซึ่งไม่ใช่มีระยะทางห่างไกลนับพันๆ กม. อย่างปัจจุบันนี้ ที่รับฟังกันทั้งทั่วโลก โดยขาดความรู้ทางภูมิศาตร์ และดาราศาตร์ ไม่ทำความเข้าใจ เวลาหรือรอบวันของดวงจันทร์ ที่โคจรผ่านประเทศไทย ไปสับสนกันกับวันของดวงอาทิตย์ว่ามีกลางคืนร่วมกัน ทั้งๆที่ดวงจันทร์ที่โคจรผ่านมาและได้ตกก่อนดวงอาทิตย์ตอนเวลามัฆริบ ของวันนั้นมีเวลาที่สั้นน้อยมาก เมื่อตกลับพ้นไปแล้ว เมืองไทยก็ควรนับเป็นค่ำที่ 30 ทันที หากไม่เห็นจันทร์เสี้ยว เพราะเวลานั้น ดวงจันทร์ได้โคจรไปอยู่เหนือทวีปแอฟริกาแล้ว.

ตามหลักฐานที่ผมได้เคยยกมาอ้างอิงในหลายบทความหรือกระทู้ต่างๆในเว็บไซท์นี้ ตามที่มีหะดีษการเห็นหรือไม่เห็นในท้องถิ่น ตามที่ท่านนบีฯได้กล่าวว่า หากในพื้นที่นั้นมีเมฆมืดปกคลุมท้องฟ้าไม่สามารถเห็นฮิลาลก็ให้นับค่ำนั้นครบสามสิบวัน
เป็นคำสั่งเฉพาะโดยกำหนดพื้นที่ ท่านนบีฯไม่ได้สั่งว่าหากในพื้นที่นั้นไม่เห็นแล้วก็ให้ติดตามหาฟังข่าวจากต่างประเทศ หรือบ้านเมืองอื่นที่อยู่ห่างกันหลายพันกิโลเมตรอย่างที่เราเห็นปฏิบัตอย่างหละหลวมอย่างในปัจจุบันนี้ ส่วนคำสั่งที่ท่านอับดุลลอฮฺบินอับบาส ได้บอกว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิ วะสัลลัมได้สั่งเรา ตามหะดีษกุเรบ ท่านไม่นับตามการเห็นของเมืองอื่น ไม่ว่าจะเข้า หรือออกในเราะมะฎอน

จากหลักฐานย่อๆสั้นๆที่นำมากล่าวก็เพื่อให้ท่านได้นำมาประกอบในการพิจารณาด้วย ก่อนเข้าเดือนเราะมะฏอนนี้ วันที่ ๒๙ ชะอฺบานตามปฏิทินรุอฺยะฮฺของไทยเรา จะตรงกับวันที่ ๑๑ สิงหาคม 53 และค่ำลงของวันที ๑๑นี้หากเห็นฮิลาล ก็นับขึ้น ๑ เรามะฎอน ในวันที่๑๒ สค. หากไม่เห็นเราก็จะเริ่ม วันที่๑๓ สค.
ขอพระองค์อัลลอฮฺตะอาลา โปรดประทาน บะเราะกัต เราะหฺมัต ทางนำแด่ท่านและคณะกรรมการสำนักฯ และแด่พี่น้องมุสลิมทุกท่าน

ขอแสดงความนับถือ วัสลาม
ฮิลาล อุษมาน อัลกะรีมี
รองประธานชมรมดาราศาตร์มุสลิมไทย


นำมาจากเว็บไซท์ ฮิลาลไทยแลนด์  http://www.hilalthailand.com/oursky/modules/news/


6
 salam

ขอความสันติจงมีแด่ทุกท่าน  เรื่องนี้คงจะไปกันใหญ่แล้ว  ขอให้ท่านอัซฮารี ท่านบาชีร อัยนาวีและทุกท่าน ยุติหัวข้อนี้ก่อนนะครับ
วัสลาม

7
 salam
นำภาพการโคจรของดวงจันทร์ในวันที่ ๑๖ธันวาคมอยู่ที่ไหน  ในขณะที่ไทยเรากำลังเข้าเวลามัฆริบ


8
ขออภัยภาพยังเล็กอยู่

9
วันก่อนลงภาพถ่ายมาในเสวนาร้านน้ำชา แล้วหาไม่เจอขอนำภาพมาลงใหม่ครับ
ฮิลาลของเดือนซุลหิจญะฮฺ

10
ทดลองส่งอีกภาพครับ วันที่ ๑๘ พย ๕๒ เวลา ๑๗.๔๖น.
เข้ามาข้างต้นไม้เพื่อบังแสงไฟฟ้าส่องเข้ากล้อง

ปี้นี้ท่านจุฬาไม่ได้เข้าร่วมประชุมทำให้ไทยเราเข้าวันผิดเร็วไป ๑วัน
ในประเทศอรับไม่มีที่ไหนเห็นจันทร์เสี้ยว แต่ก็นับเข้าตามปฏิทิน
น้องๆคนไหนอยู่ใกล้มัสญิด กรุณาบอก ว่าควรเชือดกุรบาน ในวันเสาร์หลังออกอีด ๑วัน
เพราะจะตรงกับอายุดวงจันทร์๑๐วัน จริงตามรุอ์ยะฮ์

11
 salam

ภาพที่ส่งมาใหญ่มาก เว็บมาสเตอร์ช่วยลบออกด้วยครับ
เรียน คุณอิลฮาม หากท่านไม่เคยนับจันทร์เสี้ยวตาม รุอ์ยะฮ์ท่านจะดูแต่ปฏิทินที่คำนวนเท่านั้น

12
 salam

ภาพที่ผู้สนใจดาราศาสตร์ต้องลองค้นฮิลาลจันทร์เสี้ยวให้เจอ
ภาพถ่ายดวงจันทร์ที่อบูซอบี  อรับอิมารอต ในวันพุธที่ ๑๘ พย.๕๒ (๒๙ซุลเกาะอ์ดะฮ์)
ดวงจันทร์อยู่สุงกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ ๑๓องศา
ในอังคารที่ ๑๗ พย.พยายามหาแล้วแต่ไม่พบจันทร์เสี้ยวเพราะ อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากสูงกว่า ๓องศาครึ่ง
และ๑๗พย.นั้นเพิ่งจะได้๒๘ค่ำของซุลเกาะอ์ดะฮ์


13
 salam

ขออเชิญน้องก๊อดดัรเข้าไปอ่านกระทู้ใน  www.hilalthailand.com/  หน่อยครับ เผื่อมี่ทัศนะมุมมองเรื่องดาราศาสตร์ การเห็นฮิลาลนั้นเราควรแยกเมืองใครเมืองมันกันได้หรือไม่

14
๒๙ชะอฺบาน ๑๔๓๐ =๒๑ สิงหาคมจะปรากฏฮิลาล
ในสะอูดี จะมีจันเสี้ยวอยู่สูงกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ ๖.๕ องศา
เมืองไทยให้น้องๆทางใต้แถวฝั่งทะเลอันดามัน พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล
ช่วยออกไปดูด้วยในเย็นวันศุกร์เตรียมตัวก่อนมัฆริบ ให้ท่านสังเกตดูดวงอาทิตย์
  ตกเวลา๑๘.๓๘น. วันนี้ดวงจันทร์จะตกอยู่ทางซ้ายของดวงอาทิตย์ ไม่เกิน๑๐ องศา  ดวงจันทร์ ตกเวลา ๑๙.๑๕ น.ดวงจันทร์ ตกหลังมัฆริบประมาณ๓๗ นาที
ดวงจันทร์จะสูงกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ ๙ องศา
New moon 2o aug 2009
http://www.crescentmoonwatch.org/assets/F2009Aug20.png
http://www.qasweb.org/media/files/1071582128.jpg
http://www.qasweb.org/media/files/1071582617.jpg


moon 21 Aug 2009 Thai &middle east can start on 22 aug
Pakistan china Russia can be on 23 aug 2009
http://www.crescentmoonwatch.org/assets/F2009Aug21.png
http://www.qasweb.org/media/files/1071584084.jpg


15
 salam
ต้องขออภัยที่พิมพ์วันผิดครับ คือครบ๒๙วัน คือวันศุกร์
และเย็นวันศุกร์ คือค่ำวันเสาร์ หากเราเห็นจันทร์เสี้ยวก็ขึ้น ๑เราะมะฏอน ในวันเสาร์ เราจะเรื่มถือศีลอด  แต่หากว่าเราไม่เห็นจันทร์เสี้ยวในเมืองของเรา วันเสาร์
คือวันสุดท้ายของเดือนชะอฺบานคือครบชะอฺบานสามสิบวัน
วันอาทิตย์ที่ ๒๓ สค.ก็จะเริ่มต้น ๑ เราะมะฏอน  ฮิจญเราะฮฺศักราชที่๑๔๓๐
บางท่านคงจะงง ว่าทำไมผมถึงนับช้าในปฎิทิน เพราะเดือนชะอฺบานนั้นผมติดตามเดือนเสี้ยวมาก่อนแล้วหลายๆเดือน ชะอฺบานนั้นเมืองไทยเราเริ่มต้นเมื่อวันที่ศุกร์ที่๒๔ กค.นั่นเอง

หน้า: [1] 2 3 ... 9