salam
เห็นว่ามันตรงกับกระทู้นี้เป็นอย่างมากและอธิบายหลักการดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php?topic=3968.0อ. ปราโมทย์ ได้อ้างอิงคำกล่าวของอิมามอะห์มัดและนักวิชาการฟิกหฺท่านอื่น ๆ ว่า : แท้จริง พื้นฐานของเรื่อง อิบาดะฮ์ ทั้งมวลก็คือ ให้ระงับ (จากการปฏิบัติ)...เพื่อจะบอกเป็นนัยว่า การอ่านอัลกุรอานที่กุบูรต้องมีหลักฐานเจาะจงว่าท่านนบีเคยกระทำไว้เท่านั้น!
ท่านอิบนุตัยมียะฮ์กล่าวว่า
كَانَ أَحْمَدُ وَغَيْرُهُ مِنْ فُقَهَاءِ أَهْلِ الْحَدِيْثِ يَقُوْلُوْنَ : إِنَّ اْلأَصْلَ فِى الْعِبَادَاتِ التَّوْقِيْفُ، فَلاَ يُشْرَعُ مِنْهَا إِلاَّ مَا شَرَعَهُ اللهُ
"ท่านอิหม่ามอะห์มัดและท่านอื่นๆจากนักวิชาการฟิกฮ์ผู้เชี่ยวชาญหะดีษต่างกล่าวว่า : แท้จริง พื้นฐานของเรื่อง อิบาดะฮ์ ทั้งมวลก็คือ ให้ระงับ (จากการปฏิบัติ) ..ดังนั้นจะไม่มีอิบาดะฮ์ใดถูกกำหนดขึ้นมา (เพื่อปฏิบัติ) เว้นแต่ต้องเป็นสิ่งที่พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงบัญญัติ (คือสั่ง) มันเท่านั้น"มัจญฺมั๊วะอัลฟะตาวา 29/17
ท่านอิมามอัชชาฎิบีย์กล่าวเช่นกันว่า
اَلأَصْلُ فِي العِبَادَاتِ عَدَمُ الإِقْدَامِ عَلَيْهَا إِلاَّ بِدَلِيْلٍ
"พื้นฐานเดิมในเรื่องอิบาดะฮ์นั้น ไม่ให้ย่างก้าวเข้าไปกระทำมัน นอกจากด้วยหลักฐาน" หนังสืออัลมุวาฟะก็อต
เมื่อบางคนได้ยินหลักการนี้ ก็จะคิดไปว่า อิบาดะฮ์นั้นต้องมีหลักฐานมายืนยันเจาะจง(ค็อซ)หรือจำกัด(มุก็อยยัด)ให้กระทำเท่านั้น แต่เมื่อเราได้ยินคำว่า "เว้นแต่ต้องมีหลักฐาน" دَلِيْلٌ นั้น เราก็สมควรต้องเข้าใจตามหลักพื้นฐานนิติศาสตร์อิสลามเกี่ยวกับประเภทของหลักฐานว่ามีอะไรบ้าง? ซึ่งตัวอย่างของหลักฐานแบบสรุป ๆ มีดังนี้ อาทิเช่น
1. หลักฐานแบบมัฏลัก الدَّلِيْلُ المُطْلَقُ คือหลักฐานที่บ่งชี้แบบกว้าง ๆ
2. หลักฐานแบบมุฏ็อยยัด الدَّلِيْلُ المُقَيَّدُ คือหลักฐานที่มาจำกัดหลักฐานที่มีข้อบ่งชี้แบบกว้าง ๆ
3. หลักฐานแบบครอบคลุ الدَّلِيْلُ العَامُّ คือหลักฐานที่มีข้อบ่งชี้แบบครอบคลุมทุกส่วน
4. หลักฐานแบบเจาะจง الدَّلِيْلُ الخَاصُّ คือหลักฐานที่มาเจาะจงหรือทอนความหมายหลักฐานที่มีข้อบ่งชี้แบบครอบคลุม
ดังนั้นเมื่อมีหลักฐานประเภทใดประเภทหนึ่งจากสิ่งดังกล่าวนี้มารับรอง ก็อนุญาตให้กระทำอิบาดะฮ์ได้ตามหลักการที่กระผมได้นำเสนอมาแล้วข้างต้นนั่นเอง
ตัวอย่างที่หนึ่ง
ท่าน อบู นุอัยม์ ได้รายงานไว้ว่า
وَكَانَ لِأَبِىْ هُرَيْرَةَ رَضِىَ اللهُ عَنْهُ خَيْطٌ فِيْهِ أَلْفُ عُقْدَةٍ لاَ يَنَامُ حَتَّى يُسَبِّحُ بِهِ
"ท่านอบูหุรอยเราะฮ์(ร.ฏ.) มีเชื่อกที่มีหนึ่งพันปุ่ม เขาจะไม่นอน จนกว่าจะทำการตัสบีห์ด้วยกับมัน(พันครั้ง)" หนังสือฮิลยะตุลเอาลิยาอฺ 1/383
การตัสบีห์นั้นมีหลักฐานของศาสนาแบบกว้าง ๆ ได้รับรองไว้ แต่จะทำการตัสบีห์ 1000 ครั้งก็กระทำได้ซึ่งเป็นรูปแบบกว้าง ๆ ที่ไม่ขัดกับหลักศาสนา แม้ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยกำหนดเจาะไว้ก็ตาม
ตัวอย่างที่สอง
ท่านอัซซะฮะบีย์ กล่าวไว้ใน หนังสือ ซิยัร อะลาม อันนุบะลาอ์ว่า
قَالَ عَبْدُ اللهِ بْنُ الِإمَامِ أَحْمَدَ بْنِ حَنْبَلَ : كَانَ أَبِىْ يُصَلِّىْ كُلَّ يَوْمٍ ثَلَاثَمِائَةِ رَكَعَةٍ ، فَلَمَّا مَرِضَ مِنْ تِلْكَ الأَسْوَاطِ أَضْعَفَتْهُ فَكَانَ يُصَلِّىْ كُلَّ يَوْمٍ وَلَيْلَةٍ مِئَةً وَخَمْسِيْنَ رَكَعَةً
"ท่านอับดุลเลาะฮ์ บุตร ท่านอิมามอะหฺมัดบินหัมบัล กล่าวว่า บิดาของฉันเคยละหมาด 300 ร่อกะอัต ในทุกวัน แต่เมื่อขณะที่ท่านป่วยจากการถูกโบยดังกล่าวนั้น ทำให้ท่านสุขภาพอ่อนแอลง ดังนั้นท่านจึงทำการละหมาดเพียง 150 ร่อกะอัต ในหนึ่งวันและหนึ่งคืน" ดู ซิยัร อะลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 11 หน้า 212
การละหมาดสุนัตมีหลักฐานจากศาสนามารับรองแบบกว้าง ๆ แต่รูปแบบการละหมาดโดยกำหนดหรือจำกัด 300 ร่อกะอัต หรือจำกัด 150 ร่อกะอัตนั้น เป็นรูปแบบที่ไม่ขัดกับหลักศาสนา แม้ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่ได้เคยระบุเจาะจงไว้ก็ตาม
ตัวอย่างที่สาม
ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ฟัตวาไว้ว่า
إِذَا هَلَّلَ الإِنْسَانُ هَكَذَا : سَبْعُوْنَ اَلْفاً، أَوْ أَقَلَّ أَوْ أَكْثَرَ وَأُهْدِيَتْ إِلِيْهِ نَفَعَهُ اللهُ بِذَلِكَ، وَلَيْسَ هَذَا حَدِيْثاً صَحِيْحاً وَلَا ضَعِيْفاً
"เมื่อคนหนึ่งได้ทำการกล่าว ตะฮ์ลีล(ลาอิลาฮะอิลลัลเลาะฮ์) เช่นนี้70000 ครั้ง หรือน้อยกว่านั้น หรือมากกว่านั้น แล้ว(การตะลีล)ดังกล่าวก็ถูกฮะดียะฮ์ให้แก่มัยยิด แน่นอนอัลเลาะฮ์จะทรงให้(ผลบุญการตะฮ์ลีล)ดังกล่าวมีผลประโยชน์แก่มัยยิด และหะดิษดังกล่าว(ที่มาระบุเจาะจงให้ตะฮ์ลีลเจ็ดหมื่นครั้ง)นั้น ไม่ใช่หะดิษที่ซอฮิหฺ และฏออีฟ" ดู ฟาตาวา อิบนุตัยมียะฮ์ เล่ม24 หน้า 301
การที่บุคคลหนึ่งกล่าวลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์นั้น มีหลักฐานมารับรองแบบกว้าง ๆ ส่วนจะกล่าวกี่ครั้งนั้นเป็นรูปแบบกว้าง ๆ ที่จะกล่าวเจ็ดหมื่นครั้ง มากกว่านั้นหรือน้อยกว่านั้นก็ได้ ถือว่าไม่ขัดกับหลักศาสนา แม้ไม่มีตัวบทมารับรองเจาะจงก็ตาม ดังนั้นสิ่งที่ไม่ขัดกับหลักศาสนาหรือตัวบท ย่อมไม่เป็นสิ่งต้องห้ามแต่ประการใด
ตัวอย่างที่สี่
ท่านอิบนุก็อยยิม ศิษย์เอกของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ได้กล่าวว่า
وَاخْتَلَفُوْا فِي العِبَادَةِ البَدَنِيَّةِ كَالصَّوْمِ وَالصَّلاَةِ وَقِرَاءَةِ القُرْآنِ وَالذِّكْرِ فَمَذْهَبُ الإِمَامِ أَحْمَدَ وَجُمْهُوْرِ السَّلَفِ وُصُوْلُهَا وَهُوَ قَوْلُ بَعْضِ أَصْحَابِ أَبِى حَنِيْفَةِ نَصَّ عَلىَ هَذَا الِإمَامُ أَحْمَدُ فِيْ رِوَايَةِ مُحَمَّدِ بْنِ يَحْيىَ الْكَحَّالِ قَالَ قِيْلَ لِأَبِىْ عَبْدِ اللهِ الرَّجُلُ يَعْمَلُ الشَّيْءَ مِنَ الخَيْرِ مِنْ صَلاَةٍ أَوْ صَدَقَةٍ أَوْ غَيْرِ ذَلِكَ فَيَجْعَلُ نِصْفَهُ لِأَبِيْهِ أَوْ لِأُمِّهِ قَالَ أَرْجُوْ أَوْ قَالَ الْمَيِّتُ يَصِلُ إِلِيْهِ كُلُّ شَيْءٍ مِنْ صَدَقَةٍ أَوْ غَيْرِهَا وَقَالَ أَيْضاً اِقْرَأْ آَيَةَ الْكُرْسِيِّ ثَلاَثَ مَرَّاتٍ وَقُلْ هُوَ اللهُ أَحَدٌ وَقُلِ اللَّهُمَّ إِنْ فَضْلَهُ لِأَهْلِ المَقَابِرِ
ท่าน อิบนุก๊อยยิม ได้กล่าวไว้เช่นกันว่า "บรรดานักปราชญ์ได้ขัดแย้งเกี่ยวกับอิบาดะฮ์ที่กระทำด้วยร่างกาย เช่น การถือศีลอด การละหมาด การอ่านอัลกุรอาน และการซิกรุลลอฮ์ ท่านอิมามอะห์มัด และปราชญ์สะลัฟส่วนมาก มีทัศนะว่า ผลบุญการถือศีลอด การละหมาด การอ่านอัลกุรอาน การซิกรุลลอฮ์ นั้นถึงผู้ตาย และมันยังเป็นทัศนะบางส่วนของสานุศิษย์อิมามอบูหะนีฟะฮ์ และท่านอิมามอะห์มัดได้กล่าวระบุไว้ในสายรายงานของมุฮัมมัด บิน อะห์มัด อัลกะห์ฮาล เขากล่าวว่า "ได้กล่าวถามแก่ท่านอบีอับดิลลาฮ์ (คือท่านอิมามอะห์มัด) ว่า ชายคนหนึ่งได้กระทำความดี จากการละหมาด การซอดาเกาะฮ์ และอื่น ๆ แล้วมอบผลบุญครึ่งหนึ่งให้แก่บิดาหรือมารดาของเขา ท่านอิมามอะห์มัดตอบว่า "ฉันหวัง(ว่าผลบุญนั้นถึงมัยยิด)" หรือท่านอิมามอะห์มัดกล่าวว่า "ทุก ๆ สิ่งจากการซอดาเกาะฮ์และอื่น ๆ นั้น ผลบุญจะถึงแก่มัยยิด" และท่านอิมามอะห์มัดกล่าวเช่นเดียวกันว่า "ท่านจงอ่านอายะฮ์กุรซีย์ 3 ครั้ง ท่านกุลฮุวัลลอฮุอะฮัด และท่านจงกล่าวว่า "โอ้ผู้อภิบาลแห่งข้า ความดีงามของมันนั้น มอบแด่บรรดาชาวกุบูร" หนังสือ อัรรั๊วะห์ ของท่านอิบนุก๊อยยิม 1/117
ท่านอิมามอะห์มัดใช้ให้ชายคนหนึ่งอ่านอัลกุรอาน เช่น อายะฮ์อัลกุรซีย์และอ่านกุลฮุวัลลอฮุอะฮัด เพราะมีหลักฐานเดิมที่ใช้ให้อ่านอัลกุรอาน ส่วนรูปแบบให้อ่าน 3 ครั้ง และขอดุอาต่ออัลเลาะฮ์ฮะดียะฮ์ผลบุญแก่ผู้ล่วงลับในกุบูรนั้น ไม่ขัดกับหลักศาสนา ยิ่งกว่านั้นยังถูกรับรองจากหลักฐานของศาสนาตามนัยยะแบบกว้าง ๆ ว่าผลบุญจะถึงบรรดาผู้ล่วงลับไปแล้ว
ตัวอย่างที่ห้า
ท่านอิบนุก็อยยิมได้กล่าวไว้เช่นกันว่า
فَإِنْ قِيْلَ هَذَا لَمْ يَكُنْ مَعْرُوْفاً عَنِ السَّلَفِ وَلاَ أَرْشَدَهُمْ إِلَيْهِ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَالْجَوَابُ: إِنْ كَانَ مُوْرِدُ هَذَا السُّؤَالِ مَتَعَرِّفاً بِوُصُوْلِ ثَوَابِ الحَجِّ وَالصِّيَامِ وَالدُّعَاءِ، قِيْلَ لَهُ: مَا الفَرْقُ بَيْنَ ذَلِكَ وَبَيْنَ وُصُوْلِ ثَوَابِ القِرَاءَةِ؟ وَلَيْسَ كَوْنُ السَّلَفِ لَمْ يَفْعَلُوْهُ حُجَّةً فِيْ عَدَمِ الْوُصُوْلِ!! وَمِنْ أَيْنَ لَنَا هَذَا النَّفْيُ الْعَامُّ؟!
ً"หากถามว่า การอ่านอัลกุรอานฮะดียะฮ์ผลบุญให้ผู้ตายนั้น ไม่เป็นที่รู้กันจากสะลัฟและท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมก็ไม่ได้แนะนำพวกเขาไว้ คำตอบก็คือ หากผู้ที่นำคำถามนี้มา ได้ยอมรับว่าผลบุญการทำฮัจญ์ , การถือศีลอด , และการขอดุอาอ์ , นั้นถึงไปยังผู้ตาย ก็ขอกล่าวตอบแก่เขาว่า อะไรคือข้อแบ่งแยก(หรือความแตกต่าง)ระหว่างสิ่งดังกล่าวกับผลบุญการอ่านอัลกุรอานถึงผู้ตาย? และการที่สะลัฟไม่เคยกระทำมันนั้นมิใช่เป็นหลักฐานว่าผลบุญไม่ถึงผู้ตาย และแล้วจากใหนล่ะ(หลักฐาน)ที่มาปฎิเสธ(ห้าม)แบบโดยรวมต่อพวกเรา?! " หนังสืออัรรั๊วะห์ 1/143
ท่านอิบนุก็อยยิมได้กล่าวว่า การอ่านอัลกุรอ่านฮะดียะฮ์ผลบุญแก่ผู้ตายนั้น แม้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยกระทำ และไม่เป็นที่รู้กัน แต่มีหลักฐานให้ทำการอ่านอัลกุรอานและยืนยันว่าผลบุญของอิบาดะฮ์นั้นถึงแก่ผู้ตาย ก็ถือว่าไม่เป็นบิดอะฮ์แต่ประการใด เพราะไม่มีหลักฐานมาปฏิเสธหรือห้ามแบบโดยรวม
ตัวอย่างที่หก
ท่านอิบนุก็อยยิม กล่าวว่า
وَمِنْ تَجْرِيْبَاتِ السَّالِكِيْنَ الَّتِيْ جَرَّبُوْهَا فَأَلِفُوْهَا صَحِيْحَةٌ : أَنَّ مَنْ أَدْمَنَ يَا حَيُّ يَاقَيُّوْمُ لاَ إِلهَ إِلَّا أَنْتَ أَوْرَثَهُ ذَلِكَ حَيَاةَ الْقَلْبِ وَالْعَقْلِ وَكَان شَيْخُ الإِسْلاَمِ ابْنُ تَيْمِيَّةَ قَدَّسَ اللهُ رُوْحَهُ شَدِيْدَ اللَهْجِ بِهَا جِدًّا وَقَالَ لِيْ يَوْمًا : لِهَذَيْنِ الاِسْمَيْنِ وَهُمَا الَحَيُّ الْقَيُّوْمُ تَأْثِيْرٌ عَظِيْمٌ فِيْ حَيَاةِ الْقَلْبِ وَكَانَ يُشِيْرُ إِلَى أَنَّهُمَا الاِسْمُ الأَعْظَمُ وَسَمِعْتُهُ يَقُوْلُ : مَنْ وَاظَبَ عَلَى أَرْبَعِيْنَ مَرَّةً كُلَّ يَوْمٍ بَيْنَ سُنَّةِ الْفَجْرِ وَصَلاَةِ الْفَجْرِ يَاحَيُّ يَاقَيُّوْمُ لاَإِلَهَ إِلاَّ أَنْتَ بِرَحْمَتِكَ أَسْتَغِيْثُ حَصَلَتْ لَهُ حَيَاةُ الْقَلْبِ وَلَمْ يَمُتْ قَلْبُهُ
"ส่วนหนึ่งจากบรรดาการทดสอบของนักตะเซาวุฟ ซึ่งพวกเขาได้ทดสอบมัน แล้วพบว่ามันเป็นความถูกต้องจริง ก็คือผู้ใดที่บากบั่นกล่าวว่า "ยาฮัยยุ ยาก็อยยูม ลาอิลาฮะอิลลา อันต้า" แน่นอนว่าดังกล่าวนั้นจะทำให้เขามีหัวใจและสติปัญญาที่มีชีวิตชีวา และท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮ์ ขออัลเลาะฮ์ทรงปลดเปลื้องวิญญาของท่านให้บริสุทธิ์ ได้กล่าวมันอย่างสม่ำเสมอเป็นอย่างมาก และวันหนึ่งท่านได้กล่าวแก่ฉันว่า ให้กับสองพระนามนี้ คือ อัลฮัยยุ อัลก็อยยูม ยังผลอันยิ่งใหญ่ต่อการทำให้หัวใจมีชีวิตชีวา และท่านได้แนะนำว่า ทั้งสองพระนามนั้นเป็นพระนามที่ยิ่งใหญ่สุด และฉันได้ยินท่านอิบนุตัยมียะฮ์กล่าวว่า ผู้ใดได้กล่าวเป็นประจำถึง 40 ครั้งในทุกวันระหว่างละหมาดสุนัต(ก่อน)ซุบฮ์กับละหมาดซุบฮ์ว่า ยาฮัยยุ ยาก็อยยูม ลาอิลาฮะอิลลาอันต้า บิเราะห์มะติก้า อัสตะฆีษุ การมีชีวิตชีวาของจิตใจก็จะเกิดขึ้นแก่เขาและหัวใจของเขาจะไม่ตาย" หนังสือ มะดาริจญ์ อัสสาลิกีน 1/448
เป็นที่ทราบกันดีว่า ไม่มีซุนนะฮ์นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ระบุสั่งเจาะจงไว้เลยว่า ให้ทำการกล่าวพระนามของอัลเลาะฮ์ทั้งสองถึง 40 ครั้งทุกวันระหว่างละหมาดสุนัตซุบฮ์กับละหมาดซุบฮ์ แต่อนุญาตได้กระทำได้เพราะยึดหลักฐานแบบกว้าง ๆ (มัฏลัก) ที่ส่งเสริมให้ทำการซิกิร
จากตัวอย่างที่ผมได้หยิบยกมานั้น แม้ท่านอิมามมอะห์มัดและท่านอิบนุตัยมียะะฮ์เอง ก็ทำอิบาดะฮ์ประเภทที่ไม่มีซุนนะฮ์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มาระบุรูปแบบเจาะจงให้กระทำ แต่เมื่อมีหลักฐานแบบกว้าง ๆ มารับรองแล้ว ก็อนุญาตให้กระทำได้นั่นเอง