แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - hadee

หน้า: [1] 2
1
 :salam:

ผมเคยรับรู้มาว่า ฉายาของท่านเชค "อิบนุ หะญัรฺ" (ซึ่ง แปลว่า ก้อนหิน) มีที่มาจากการที่ท่านนั้นมักจะอมก้อนหินไว้ในปากเสมอ
ทั้งนี้ เนื่องจาก เมื่อมีผู้มาถามปัญหากับท่านใดๆ ท่านก็จะได้คิดไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน แล้วจึงค่อยคายก้อนหินออกมาจากปาก
เพื่อทำการตอบคำถามดังกล่าว ครับ

ไม่ทราบว่า ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร
วอนผู้รู้ด้วยครับ

ญะซากุมุลลอฮูค็อยร็อน

วัสลาม

2
 :salam:

ลองฟังประวัติของ ซัลมาน อัล-ฟารีซีย์ ซึ่งเล่าโดย อ.อิสมาแอล วิสุทธิปราณี ดูนะครับ


<a href="http://www.youtube.com/watch?v=_nwtm1-Zq14" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=_nwtm1-Zq14</a>


3
 :salam:

ผมได้รวบรวมวิธีละหมาดสุนัตตะรอเวียะห์ทั้ง 20 รอกาอัต และละหมาดวิเตรฺ (พร้อมดุอาอ์) เป็นไฟล์ .pdf



โดยสามารถ Download ได้จาก Link ข้างล่างนี้ครับ :

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2C69E51B301JTQ[BZ8PKX4SXA9P63Z


ผิดพลาดประการใดต้องขอมาอัฟมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ

วัสลาม




4
 :salam:

นี่เป็นภาพบรรยากาศการทดสอบท่องจำอัลกุรอ่านของตัวแทนชาวไทย ครับ   smile:

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=hRxWH90MvpE" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=hRxWH90MvpE</a>


Name : Farihan  Saleh

Age : 18


และนี่เป็นผู้ที่ได้ที่ 1 ครับ (ตัวแทนจากประเทศลิเบีย)   mycool:

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=VSgJCgvYNS0" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=VSgJCgvYNS0</a>


Name : Khalid Mohamed Algardouz

Age : 21


5
 :salam:

อัสสะลามูอะลัยกุมวาเราะห์มาตุ้ลลอฮีวาบารอกาตุฮ์

ขอความสุขสันติ ความเอ็นดูเมตตา และความจำเริญจากอัลลอฮฺจงประสบแด่ท่าน

คือ ผมอยากทราบขอบเขตของอวัยวะที่เป็นทางเปิด เช่น จมูก หู ว่ามีความลึกขนาดไหนที่ทำให้เสียศิลอด หากมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเล็ดลอดเข้าไปโดยเจตนา



วอนผู้รู้ช่วยตอบคำถามด้วยครับ

และอัลลอฮฺทรงตอบแทนความดี มาล่วงหน้า ณ โอกาสนี้ด้วยครับ

วัสลาม


6
 :salam:


      สำนักงานศิลปวัฒนธรรม ร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ โรงภาพยนตร์พารากอนซินีเพล็กซ์

มอบรางวัลภาพยนตร์ดีเด่น แก่ นายมูฮำหมัดฟาริ สาและ นักศึกษาวิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ทีมบูซีเรส ฟิล์ม จากผลงานภาพยนตร์สั้น เรื่อง "กะลา"

ในงาน "คบเด็กสร้างหนัง 2010" SHORT FILMS AWARDS



และนี่คือผลงานภาคภูมิใจของลูกหลานเยาวชนมุสลิม


<a href="http://www.youtube.com/v/X8AEj3Eu00s?fs=1" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/X8AEj3Eu00s?fs=1</a>


7

 :salam:






Shollu v3.08.2

    เป็นโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) สัญชาติอินโดนีเซีย

คุณสมบัติของโปรแกรม :

1. แจ้งเตือนเวลาละหมาดตามเวลาของเมืองต่างๆทั่วโลก จากการคำนวณตามกลักการของมัซฮับชาฟีอีย์

และ ฮานาฟีย์ โดยจะแสดงข้อความแจ้งเตือนทุกครั้งที่ใกล้ถึงเวลาละหมาด

2. เล่นไฟล์เสียงอะซานทุกครั้งที่เข้าเวลาละหมาด พร้อมทั้งดุอาอ์รับอะซาน (หรือเลือกเป็นโหมดปิดเครื่องทันที)

3. แสดงทิศทางกิบลัตของแต่ละเมือง

4. แสดงเวลานับถอยหลังของเวลาละหมาดต่างๆทางหน้าจอทุกครั้งที่เปิดเครื่อง

5. แสดงการคำนวณปีฮิจเราะฮฺศักราช (สามารถแก้ไขใหม่ได้)

               นอกจากนี้ยังมีสกินสวยๆให้เลือกเปลี่ยนได้ตามใจชอบอีกด้วย...




โปรแกรม Shollu v3.08.2 (เลือกโหลดได้ตามใจชอบ ขนาดไฟล์ : 996 KB)

ลิงค์ที่ 1

http://www.softpedia.com/get/Others/Home-Education/Shollu.shtml


ลิงค์ที่ 2

http://www.download.com/Shollu/3000-2135_4-10818077.html


ลิงค์ที่ 3

http://www.4shared.com/file/247613677/97daa277/shollu_setup_3082.html


หมายเหตุ : ของเค้าดีจริงๆ  mycool:

วัสลาม


8
 salam


บทสัมภาษณ์ : "นิกอบ(ผ้าคลุมปิดหน้า) ฮิญาบ หรือ เปิดเผยความงาม..."

(พร้อมความหมายภาษาไทย)



<a href="http://www.youtube.com/v/tAYNwEBau1o?fs=1" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/tAYNwEBau1o?fs=1</a>



9
 salam


นาชีด Ya Ummi (พร้อมความหมายภาษาไทย)



<a href="http://www.youtube.com/v/0DHWjBffPJc&amp;amp;hl=en_US&amp;amp;fs=1" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/0DHWjBffPJc&amp;amp;hl=en_US&amp;amp;fs=1</a>






10
 salam

















11
 salam


บุคลิกของท่านศาสดา (ซ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวะซั่ลลัม) ด้านต่างๆ






1.  เป็นผู้ฟัง และผู้พูดที่ดี
  เมื่ออยู่ในวงสนทนา ท่านมักจะเป็นผู้ฟังมากกว่าจะเป็นผู้พูด  ท่านจะพูดแต่เฉพาะเวลาที่จำเป็นจะต้องพูดเท่านั้น  เสียงของท่านดังชัดเจน  การพูดก็ชวนฟัง และมีเสน่ห์ ท่านพูดและหยุดเป็นจังหวะ  เว้นวรรคระหว่างประโยค เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจและจดจำง่าย คำพูดของท่านไม่ยืดยาวจนเกินความจำเป็น และไม่สั้นจนไม่ได้ความ  หากแต่เป็นคำพูด ที่กระชับและสละสลวย  ท่านจะไม่พูดสอดแทรกขึ้น ในขณะที่ผู้อื่นกำลังพูดอยู่ แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ค้านกับบัญญัติศาสนา ท่านจะห้ามมิให้พูด หรือมิฉะนั้นท่านก็จะปลีกตัวออกจากที่นั่นเสีย  ท่านจะไม่กล่าวคำพูดที่ไร้ความหมาย หรือพูดสิ่งที่ไม่อยู่ในประเด็นที่กำลังสนทนากันอยู่  หากมีผู้ฟังอยู่หลายคน ท่านก็จะไม่จดจ่อแต่เฉพาะกลุ่มใด หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่ท่านจะหันหน้าไปยังผู้ฟังแต่ละคนสลับกันไป และ ท่านไม่ชอบการตะโกน หรือ ทำเสียงดัง


2.  พูดแต่ความจริง
  ท่านนาบีเคร่งครัดมากในการพูดความจริง  แม้แต่คำพูดหยอกล้อของท่านก็ยังเป็นความจริง   ท่านไม่เคยพูดสิ่งที่ไม่เป็นความจริงเลย   แม้แต่ศัตรูและผู้มุ่งร้ายต่อท่านต่างเคยเรียกท่านว่า คนบ้า และคนผีเข้า  แต่ไม่มีผู้ใดกล้าเรียกท่านเป็นคนโกหกเลย ครั้งหนึ่ง มีคนหลายคนได้พร้อมใจกันมาสารภาพกับท่านว่า “มูฮัมหมัด” พวกเราเชื่อทุกสิ่งที่ท่านพูด เพราะว่าเรายังไม่เคยได้ยินท่านพูดโกหกเลย...        
ในช่วงที่ท่านนาบีได้รับบัญชาให้เผยแพร่อิสลามอย่างเปิดเผย  และชาวอาหรับส่วนใหญ่ยังต่อต้าน ซึ่งที่บนภูเขา เศาะฟา ท่านลุกขึ้นพูดต่อหน้าชาวอาหรับที่มิใช่มุสลิมว่า    “ถ้าฉันบอกว่ามีกองทัพมหึมาซ่อนอยู่หลังภูเขานั้นและเตรียมจะจู่โจมพวกท่าน ท่านจะเชื่อฉันหรือไม่” เสียงนับร้อยตะโกนว่า “แน่นอนยิ่ง ท่านไม่เคยพูดเท็จเลย” นี่คือความซื่อตรงที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงสุดจากสังคม
ครั้งหนึ่งก่อนที่อัลลอฮฺจะทรงแต่งตั้งท่านเป็นผู้ประกาศศาสนา หุ้นส่วนธุรกิจคนหนึ่งบอกให้ท่านไปรอที่มุมถนนแห่งหนึ่ง โดยสัญญาว่าจะกลับมาในเวลาไม่กี่นาที  แต่ชายคนนั้นกลับลืมสัญญา ท่านนาบีจึงยืนรอชายผู้นั้นเป็นเวลาถึง  3 วัน  จนในวันที่ 4  ชายคนนั้นก็ผ่านมาทางนั้น เขาต้องก็ต้องตกตะลึงเมื่อเห็นท่านนาบียังยืนอยู่    เขาจึงเสียใจมากที่ลืมสัญญาอย่างสนิท ท่านนาบี  จึงกล่าวว่า “ทำใจให้สบายเถิด ฉันสัญญาแล้วว่าจะรอท่านจนกว่าท่านจะมา ฉันจึงต้องรักษาคำพูด...”


3.  เป็นคนขี้อาย

ท่านนาบีเป็นคนขี้อายยิ่งกว่าผู้หญิงเสียอีก เมื่อท่านเดินผ่านที่ชุมนุมชน ท่านก็มักจะผ่านไปอย่างเงียบๆ ท่านไม่เคยหัวเราะอย่างลืมตัวเลย แต่ถึงกระนั้นท่านก็จะยิ้มแย้มอยู่เสมอ


4.  รักความสะอาดเรียบร้อย
ท่านนาบีมีนิสัยรักความสะอาดเรียบร้อย ครั้งหนึ่งท่านเห็นชายหนุ่มคนหนึ่งนุ่งห่มเสื้อผ้าที่สกปรก ท่านจึงกล่าวว่า “ ชายคนนี้ช่างดูดายแม้แต่เสื้อผ้าของเขาเอง ”  
คนมั่งมีทรัพย์ผู้หนึ่งได้มาหาท่านนาบี โดยที่เขาแต่งกายอย่างซอมซ่อ ท่านนาบีจึง ได้ให้ข้อสังเกตว่า  “ พระเจ้าทรงทรงโปรดปรานให้ท่านมีทรัพย์มากมาย  ดังนั้น ท่านก็   ควรจะให้มันปรากฏให้เห็นบ้างที่เครื่องแต่งกายของท่าน ”
เมื่อใดที่ท่านนาบีแลเห็นรอยเปื้อนที่ผนังมัสยิด ท่านก็จะเอาไม้ขูดมันออกทันที
ท่านแนะนำให้เผาการบูร และไม้หอม(ไม้กฤษณา) ในที่ชุมนุมชน เพื่ออันเป็นสิริ มงคล และเพื่อให้กลิ่นหอมของมันกระจายทั่วสถานที่นั้น  ซึ่งท่านนาบีเองก็ใช้น้ำหอมอยู่บ่อยๆ ในโอกาสต่างๆ กัน
ครั้งหนึ่งเมื่อเห็นชายคนหนึ่งปล่อยผมเผ้า ยุ่งเหยิง ท่านจึงได้อุทานว่า “ อะไรกัน ! เขาทำไมไม่เอาใจใส่ แม้เพียงจะหวีผมให้เรียบร้อยสักหน่อย ”
ท่านนาบีไม่อาจทนดูผู้ที่ทำการอันน่ารังเกียจ หรือสร้างความเดือดร้อนบนทางสัญจรได้ ท่านได้แสดงความเกลียดชังต่อผู้ที่ชอบปัสสาวะหรืออุจจาระ บนทางสัญจร หรือใต้ร่มไม้ที่ผู้คนใช้เป็นที่พักร้อน
ท่านนาบีเคยห้ามมิให้ผู้ใดถ่ายปัสสาวะในกระโถน หรือภาชนะอื่นด้วยความมักง่าย และเกียจคร้าน  
ท่านนาบีรังเกียจสิ่งที่มีกลิ่นเหม็นฉุน ท่านเคยกำชับว่า ผู้ที่รับประทานหัวหอม กระเทียม หรืออาหารที่มีกลิ่นฉุน ไม่ควรเข้าไปในมัสยิด หรือ ทำละหมาดรวมกับคนมากๆ  ดังนั้นจึงควรล้างปาก หรือ แปรงฟันเสียก่อนที่จะไปร่วมในที่ชุมนุมชน


5.  เป็นคนเรียบง่าย  ใช้ชีวิตอย่างสมถะ
ท่านนาบีไม่ชอบชีวิตที่วุ่นวาย และท่านก็มักจะแนะนำผู้อื่นไม่ให้ใช้ชีวิตแบบนั้น ซึ่งชีวิตภายในครอบครัวของท่านเป็นไปอย่างเรียบๆ ง่ายๆ  โดยปกติแล้ว ท่านนาบีจะสวมเสื้อผ้าธรรมดา ไม่ฉูดฉาด ซึ่งแสดงถึงความเรียบง่าย และความเป็นสุภาพของท่าน ท่านนุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าหยาบๆ ที่ทำจากขนแกะอยู่เสมอ ซึ่งเสื้อผ้าที่ท่านสวมอยู่ในขณะสิ้นใจก็เป็นเสื้อผ้าชนิดหยาบๆ เช่นกัน ที่นอนของท่านก็ทำด้วยผ้าชนิดหยาบๆ หรือไม่ก็จากหนังสัตว์ยัดด้วยเปลือกต้นอินทผลัม บางทีก็เป็นเพียงผ้าธรรมดาพับ 2 ทบ
ในสมัยที่อาณาจักรอิสลาม มีอาณาเขตกว้างขวางตั้งแต่ยะมัน (เยเมน) จรด ซีเรียนั้น ที่บ้านของท่านนาบีมูฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ศาสดาแห่งอิสลาม มีเครื่องใช้เพียงเตียงนอนธรรมดาเตียงหนึ่ง กับถุงหนังสัตว์สำหรับใส่น้ำ ถุงหนึ่ง เท่านั้นเอง เสบียงอาหารที่เหลือติดบ้านอยู่ในวันที่ท่านสิ้นใจ  มีเพียงข้าวสารสองสามกำมือ เท่านั้นเอง


6.  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ท่านนาบีเป็นคนใจดีที่สุด ความใจดีและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เป็นนิสัยที่แท้จริงของท่าน  ท่านไม่เคยปฏิเสธต่อคนยากจนที่มาขอจากท่านเลย ท่านเคยพูดว่า “ ฉันเป็นแต่เพียงผู้หยิบยื่นให้ และ เป็นผู้รักษาทรัพย์เท่านั้นเอง อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอนุมัติการจ่าย… ”  
เมื่อมีคนยากจนมาขอจากท่าน ท่านจะให้เสมอ ถ้าท่านพอจะมีให้ได้ แต่ถ้าท่านไม่มี ท่านก็จะปลอบใจเขา หรือไม่เช่นนั้น ท่านก็จะบอกให้เขามาหาท่านใหม่ในโอกาสหน้า ท่านไม่เคยกินดื่มอาหารเพียงคนเดียว ท่านจะเรียกผู้อื่นให้มาร่วมกินกับท่านด้วยเสมอ เมื่อมีผู้ใดนำอาหารมามอบให้แก่ท่าน ท่านก็จะแจกจ่ายอาหารนั้นให้ได้กินกันทั่วถึงเสีย ก่อน แล้วท่านจึงจะกินอาหารนั้นได้อย่างเต็มใจ  


7.  ทำงานบ้านด้วยตัวเอง
ท่านนาบีทำงานทุกอย่างในบ้านด้วยตัวเอง  ท่านรีดนมแพะ  ซักเสื้อผ้าเอง  ท่านปะเสื้อด้วยตนเอง ซื้อข้าวของเอง  ช่วยภรรยาทำงานบ้าน เมื่อรองเท้าของท่านเกิดชำรุด ท่านจะซ่อมแซมเอง  ทำถังตักน้ำเอง  ท่านเคยนวดและทาน้ำมันอูฐ และเมื่อจำเป็น ท่านก็ตีตราอูฐด้วยตนเอง และ ท่านเคยช่วยคนใช้นวดแป้ง  
ครั้งหนึ่งมีคนสั่งน้ำมูกลงในมัสยิด ท่านนาบีได้เอาหิน เช็ดสิ่งที่น่ารังเกียจนั้นทิ้งไปด้วยตัวของท่านเอง นอกจากนี้ ท่านยังเคยซ่อมแซมบ้านเองด้วย


8.  ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ
“คอบ๊าบ” เป็นเพื่อนคนหนึ่งของท่านนาบี ที่บ้านของเขาไม่มีผู้ชายเลย มีแต่ผู้หญิงที่รีดนมวัวไม่เป็น  คราวหนึ่งคอบ๊าบต้องไปทำสงครามหลายวัน ท่านนาบีจึงได้ไปช่วยรีดนมวัวแทนเขาทุกวันในระหว่างที่เขาไม่อยู่บ้าน
ท่านช่วยหญิงหม้าย และคนอนาถาทำงานโดยไม่เคยถือตัว หรือเสียดายแรงเลย  พวกทาสหญิงในเมืองมาดีนะฮฺ มักจะมาหาท่านและพูดทำนองนี้ “ โอ้ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ พวกเราอยากจะขอร้องให้ท่านช่วยทำ (งาน) นี้ให้หน่อย ” ท่านนาบีก็จะกระตือรือร้นทำงานนั้นให้ ด้วยความเต็มใจเสมอ  
วันหนึ่งมีทาสหญิงที่สติไม่ดีคนหนึ่งมาหาท่าน และฉวยมือท่านไว้ (เพื่อขอความเห็นใจ) ท่านจึงพูดกับนางว่า “เธอจะไปนั่งพักผ่อนที่ตรงไหนก็ได้ในเมืองมาดีนะฮฺแห่งนี้ ตาม แต่เธอประสงค์ ฉันจะทำงานแทนเธอเอง ” แล้วท่านก็ทำงานให้เธอจนแล้วเสร็จ
วันหนึ่ง  ขณะที่ท่านนาบีกำลังยืนอยู่เพื่อจะทำละหมาด  มีคนเบดูอิน (คนอาหรับที่กางกระโจมอยู่ตามทะเลทราย) คนหนึ่งได้มาจับชายเสื้อของท่านไว้ แล้วกล่าวว่า “ งานของฉันยังมีค้างอยู่อีกเล็กน้อย อยากจะให้ท่านช่วยทำเสียก่อน เดี๋ยวท่านจะลืมเสีย ” ท่านนาบีจึงออกจากมัสยิดไปกับเบดูอินผู้นั้น เมื่อท่านทำงานเสร็จแล้ว ท่านจึงได้กลับมาละหมาด


9.  ถ่อมตนเสมอ
ท่านนาบีชอบก้มหน้า ถ้าเดินเป็นกลุ่ม ท่านก็มักจะเดินข้างหลัง และปล่อยให้คนอื่นๆ เดินข้างหน้า  เมื่อพบปะใคร ท่านจะทักเขาก่อนเสมอ  ท่านจะนั่งในลักษณะที่ถ่อมตน ไม่เคยนั่งวางผึ่งอย่างคนใหญ่คนโตเลย ท่านนั่งกินอาหาร เหมือนอย่างคนจนๆ คนหนึ่ง ไม่มีลักษณะของความหยิ่งผยองเลย  ท่านกินแต่พอควร ไม่กินมากจนอิ่มแปล้  ท่านไม่กินขนมปังที่ดีเป็นพิเศษ  ไม่ใช้ถ้วยชามที่งดงามเป็นพิเศษ ท่านเอาใจใส่ต่ออาหารที่มีผู้เอามาให้เสมอ ไม่ว่าจะมาก น้อย หรือ จะไม่ดีอย่างไร ท่านก็ไม่เคยต่อว่า ไม่เคยพูดว่าไม่ชอบ ไม่น่ากิน หรือ มีกลิ่นที่ไม่ดีแต่อย่างใด ทั้งสิ้น  ซึ่งหากว่าท่านไม่ชอบอาหารนั้น ท่านก็เพียงแต่ไม่กินมัน  ท่านเคยพูดว่า “ ฉันเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ  ฉันจึงกิน และนั่งตามสภาพของบ่าว ” ท่านจะกินขนมปังจากแป้งที่ไม่ร่อนกากออก  ท่านไม่เคยถือตัวว่าอยู่ในฐานะอันมีเกียรติเหนือผู้อื่น ท่านอยู่ร่วมกับคนทั้งหลายได้อย่างสนิทสนม ท่านได้เคยกำชับสาวกของท่านมิให้ยกย่องท่านเป็นพิเศษเหนือจากคนสามัญทั่วไป เมื่อเข้าไปสถานที่ที่มีผู้คนจำนวนมาก  ท่านจะไม่เดินข้าม คนที่กำลังนั่งอยู่ แต่ท่านจะหาที่นั่ง ที่ใกล้ที่สุดโดยไม่ต้องเดินเข้าไป
ท่านนาบีมักจะนั่งรวมกับทาส และคนยากจน  และท่านไม่เคยรังเกียจที่จะกินอาหารร่วมกันกับพวกเขา  ถ้าประชาชนลุกขึ้นยืนให้เกียรติเมื่อท่านปรากฏตัว ท่านจะพูดขึ้นว่า “ อย่าทำตามอย่างชาวต่างชาติ โดยการลุกขึ้นยืนให้เกียรติแก่ฉันเลย ”  ท่านไม่ชอบให้ผู้ใดเรียกขานท่านด้วยถ้อยคำอันแสดงถึงความยกย่องมากเกินไป  ถึงแม้ว่าอันที่จริงแล้ว ท่านก็สมควรที่จะได้รับการยกย่องเช่นนั้น
เมื่อครั้งที่ปราบมักกะฮฺลงได้ แทนที่ท่านจะเข้าเมืองอย่างวางอำนาจ แต่ท่านได้ขี่อูฐเข้าไปในเมืองโดยก้มศีรษะลงต่ำ จนศีรษะของท่านเกือบจะติดกับหลังของอูฐ มิได้วางท่าทางของผู้ชนะเลย
ท่านไม่ชอบการพิถีพิถันในเรื่องการแต่งกายเพื่อโอ้อวดกัน และ ท่านมีนิสัยที่ไม่ชอบในเครื่องประดับ


10. ให้เกียรติแก่แขกผู้มาเยือน
   ท่านนาบีเอาใจใส่ต่อการต้อนรับแขกเป็นอย่างยิ่ง  ท่านถึงกับมอบให้บิล้าล คอยทำหน้าที่ตอนรับแขก ดังนั้น แขกที่มาหาท่านจึงได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี  คราใดที่มีตัวแทนจากศาสนาอื่นมาหาท่าน  ท่านนาบีจะเอาใจใส่ดูแลพวกเขาแต่ละคนเป็นอย่างดี ยิ่งไปกว่านั้น ท่านยังอาจจะช่วยเหลือในเรื่องการเงิน และ คอยให้ความสะดวกแก่พวกเขาในการเดินทางผ่านดินแดนอีกด้วย
   ท่านนาบีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โดยไม่เลือกว่าเป็นมุสลิม หรือ ศาสนิกอื่น ซึ่งผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม ก็จะได้รับการต้อนรับในฐานะแขกผู้มีเกียรติจากท่าน เช่นเดียวกันกับมุสลิม
   มีอยู่บ่อย ๆ ที่ท่านจัดอาหารรับรองแขกโดยที่คนในบ้านต้องอดอาหาร เพราะไม่มีอาหารเพียงพอ  และท่านเตยตื่นขึ้นมาในตอนดึก เพื่อดูแลความสุขสบายของแขก


11. ไม่ชอบความฟุ่มเฟือย
   ท่านนาบีเคยพูดกับอาลีย์ว่า “ เป็นการไม่เหมาะสม สำหรับผู้ที่มีฐานะเป็นนาบี ที่จะเข้าไปในบ้านอันโอ่อ่า หรูหรา ” (คือ อยู่ในบ้านที่หรูหรา) และท่านเคยกล่าวไว้ว่า      “ การมีเตียงนอนเตียงหนึ่งสำหรับตัวเอง  อีกตัวหนึ่งสำหรับภรรยา และอีกตัวหนึ่งสำรองไว้สำหรับแขกที่มาพักก็พอเพียงแล้ว ซึ่งหากมีอีกหนึ่งเตียง เตียงนั้นก็เก็บไว้เพื่อชัยตอน ”
   ท่านนาบีเคยกล่าวไว้ว่า “ อาคารทั้งหลายที่สร้างขึ้นนอกเหนือจากที่จะใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้น เป็นสิ่งที่นำความหายนะมาสู่มนุษย์ ”
   เมื่อท่านเห็นฟาตีมะฮฺ บุตรีของท่านสวมสร้อยคอทองคำ  ท่านจึงติว่า “ ลูกเอ๋ย ลูกจะรู้สึกอย่างไร หากผู้คนพากันพูดว่า ลูกสาวของท่านศาสนทูต สวมสร้อยคอที่เป็นไฟ ”


12.  ไม่ชอบให้ใครขอทาน
   ท่านนาบีเกลียดชังคนขอทาน  เว้นแต่ในกรณีหมดหนทางจริงๆ  แต่ถึงกระนั้นท่านก็ไม่เห็นด้วยกับการขอทานเลย  ท่านได้กล่าวว่า “ หากผู้ใดจะเข้าไปตัดฟืนในป่าแล้วแบกใส่หลังเอามาขายในตลาด เพื่อแลกกับปัจจัยยังชีพ ก็ยังเป็นการดีกับตัวเขาเองเสียยิ่งกว่าที่เขาจะไปเที่ยวขอทานจากคนอื่น ”



13.  รักความเสมอภาค

   ท่านนาบีให้ความสำคัญแก่คนรวย คนยากจน คนชรา เด็ก นาย และ ทาส เท่ากันหมด  ท่านปฏิบัติต่อเชลยเหมือนกันหมดทุกคน  หากท่านได้รับหน้าที่ให้เป็นผู้แบ่งปันสิ่งของ ท่านจะเริ่มแจกจ่ายจากขวาไปซ้าย โดยไม่แบ่งแยกว่าคนไหนเป็นคนจน คนไหนเป็นคนรวย แต่จะแบ่งให้เท่ากันหมด  ท่านไม่เคยสั่งสอนให้แบ่งแยกกัน ระหว่างผู้ใหญ่ กับ เด็ก  หรือ คนร่ำรวย กับ คนยากจน แต่อย่างใด


14.  รักคนจน
   ท่านนาบีมีความรัก และความผูกพันต่อคนยากจนมาก วันหนึ่งท่านนาบีได้ขอพรต่อ
อัลลอฮฺว่า “ โอ้อัลลอฮฺ โปรดให้ฉันมีชีวิตอยู่เหมือนคนยากจนคนหนึ่งเถิด และขอให้ฉันเสียชีวิตจากโลกนี้ไปอย่างคนจนคนหนึ่ง และ ขอให้ฉันฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้งในหมู่คนจนด้วยเถิด ” ท่านเอาใจใส่ต่อคนยากจนเป็นอย่างดี  พวกเขาไม่รู้สึกน้อยเนื้อตำใจในความขาดแคลนสิ่งอำนวยความสุขสบาย   แต่พวกเขากลับถือว่า    ความเอาใจใส่ที่ท่าน
นาบีมีต่อพวกเขานั้นเป็นสมบัติที่มีค่ายิ่งกว่า
   ครั้งหนึ่งท่านนาบีเคยกล่าวไว้ว่า “ ความช่วยเหลือจากพระเจ้า และปัจจัยยังชีพ (ริซกี) ทั้งมวลที่พวกท่านได้รับก็เนื่องจาก (ความปรานีของพระเจ้า ที่มีต่อ) คนยากจนเหล่านี้นั่นเอง ”

   ในอีกวาระหนึ่ง ท่านได้กล่าวว่า “ จงแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้อพยพที่ยากจนด้วยเถิดว่า พวกเขาจะได้เข้าสวนสวรรค์ก่อนคนร่ำรวยถึง 40 ปี ” และ ท่านนาบีนั้นมีมิตรสหายที่เป็นคนจนมากกว่าคนร่ำรวย  โดยท่านนาบีได้เคยสั่งไว้ว่า “ หากมีมุสลิมที่ยากจนคนหนึ่งคนใดเสียชีวิตลง โดยมีหนี้สินติดตัวอยู่ ช่วยบอกฉันให้รู้ด้วย ฉันจะใช้หนี้ให้แก่เขา  ส่วนทรัพย์สินที่เป็นมรดกของเขาก็จะถูกมอบแก่ทายาทของเขา โดยที่ฉันจะไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งนี้เลย ”
   ในสมัยที่ท่านนาบีอยู่ที่นครมักกะฮฺ เมื่อท่านไปยังกะอฺบะฮฺ กับบรรดาสาวกที่ยากจนของท่าน  บรรดาชาวกุร็อยช์ที่ภูมิฐานก็มักจะหัวเราะเยาะ แต่ท่านนาบีมิได้เอาใจใส่ ท่านยังคงร่วมทำการนมัสการ ระลึกถึงอัลลอฮฺร่วมกับสาวกของท่านต่อไป


15.  มีอารมณ์ดี
   ท่านนาบีไม่เคยแสดงความประพฤติที่หยาบกระด้าง  ท่านไม่เคยดูหมิ่น หรือ แสดงกิริยาหยาบคายต่อผู้ที่มาหาท่านเลย  ท่านไม่เคยแสดงความขัดเคืองต่อเรื่องหยุมหยิมทางโลก แต่สำหรับเรื่องที่ขัดกับหลักศาสนาแล้ว ท่านจะแสดงความไม่พอใจอย่างรุนแรงเลยทีเดียว  ท่านนาบีไม่เคยอารมณ์เสียเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว หากท่านไม่พอใจผู้ใด ท่านก็เพียงแต่เบือนหน้าหนีจากผู้นั้น  แต่ท่านไม่เคยกล่าวถ้อยคำที่แสดงถึงความไม่พอใจออกมาเลย  ท่านนาบีให้อภัยเสมอแก่ทุกคนที่ทำในสิ่งที่ไม่สมควรต่อท่าน การให้อภัยเป็นนิสัยประจำตัวของท่าน  ท่านนาบีไม่เคยแก้แค้นแก่ผู้ที่เคยทำให้ท่านต้องเดือดร้อน ใบหน้าของท่านร่าเริง สดชื่นเสมอ  ท่านไม่เคยทำหน้าบึงตึงเลย และท่านจะหลีกเลี่ยงจากการงานที่ไม่มีประโยชน์ และไม่มีคุณค่า  ท่านไม่ชอบการคอยจับผิดผู้อื่น และ ท่านไม่ชอบการโอ้อวดในความสำคัญของตัวเอง


16.  อภัยให้แก่ศัตรู
   ท่านนาบีกล่าวว่า “ ฉันถูกส่งมามิใช่เพื่อเป็นมาร แต่เพื่อเป็นนิมิต (เครื่องหมาย) ที่ดีงาม สำหรับโลกนี้ ”
   เมื่อครั้งที่เกิดสงครามอูฮุด ถึงแม้ว่าหน้าผากของท่านจะนองไปด้วยเลือดจากบาด แผล แต่ท่านก็พร่ำขอดุอาอฺ (ขอพร) ให้แก่ศัตรูของท่านว่า “ โอ้อัลลอฮฺ ขอทรงโปรดอภัยโทษให้แก่พวกเขาด้วย พวกเขากำลังตกอยู่ในความเขลา ”
   ในวันที่ท่านนาบีได้รับชัยชนะเด็ดขาดต่อชาวมักกะฮฺนั้น บรรดาศัตรูที่เคยจองล้างจองผลาญท่านอย่างโหดร้ายในอดีต ได้ถูกนำมาให้ยืนอยู่ต่อหน้าท่าน ซึ่งขณะนั้นท่านมีอำนาจที่จะทำอย่างไรก็ได้กับศัตรูเหล่านี้ แต่ท่านกลับให้อภัยพวกเขาโดยกล่าวว่า “ ในวันนี้ จะไม่มีการกล่าวโทษต่อพวกท่าน  ท่านเป็นอิสระแล้ว ”
เมื่อครั้งที่ “ อิกรอมะฮฺ ” ซึ่งเป็นลูกชายของอะบูญะฮัล ศัตรูตัวฉกาจของท่านมาหา ท่านได้ลุกขึ้นต้อนรับด้วยความดีใจจนเห็นได้ชัด  ท่านรีบเข้าไปทักทายกับเขา ทั้งๆ  ที่ยังไม่ได้สวมเสื้อคลุม พร้อมกับกล่าวว่า “ โอ้ผู้ขี่ม้ามาจากแดนไกล เราขอต้อนรับท่าน ”


17.  ชอบเยี่ยมคนป่วย
   ท่านนาบีมักจะไปเยี่ยมคนป่วย  โดยไม่เลือกว่าผู้นั้นเป็นมิตร หรือ ศัตรู  เป็นมุสลิม หรือ ไม่ใช่มุสลิม  เมื่อญาติพี่น้องของผู้ป่วย มาตามท่านไปดูคนป่วยเป็นครั้งสุดท้าย ท่านมักจะไปด้วยทันที  และ ท่านได้วิงวอนขอต่ออัลลอฮฺ ให้ยกโทษแก่บุคคลผู้กำลังสิ้นใจผู้นั้น พร้อมทั้ง ไปร่วมพิธีศพด้วยเสมอ


18.  ระลึกถึงอัลลอฮฺอยู่เสมอ
   ท่านนาบีมีความสงบเสงี่ยมอยู่เสมอ ด้วยความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ ท่านจะระลึกถึงอัลลอฮฺอยู่เสมอ ไม่ว่าจะกำลังยืน หรือ นั่งอยู่ก็ตาม  ท่านเอาใจใส่กับการทำละหมาดเป็นพิเศษในเดือนรอมาฎอนอันประเสริฐ  ท่านอ่านคัมภีร์อัลกุรฺอ่านในทุกๆวัน โดยที่ทุกครั้งที่ท่านอ่านอัลกุรฺอ่าน ท่านมักน้ำตาไหลด้วยความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งอัลลอฮฺ  
   ท่านนาบีจะกล่าวคำระลึกถึงอัลลอฮฺเสมอ ในทุกอากัปกิริยา เช่น เมื่อลุกขึ้นยืน นั่ง เดิน เคลื่อนไหว กิน และ ดื่ม ทั้งเวลาเข้านอน หรือ ตื่นนอน เปลี่ยนเสื้อผ้า ขึ้นขี่พาหนะ ออกเดินทาง หรือ กลับบ้าน  เข้าไปในบ้าน และ เข้าไปในมัสยิด เป็นต้น
   

19.  มรดกของท่านนาบี
   ท่านนาบีไม่มีทรัพย์สมบัติใดๆ  เมื่อท่านนาบีได้ลาจากไป ท่านมิได้ละทิ้งทรัพย์สมบัติ เช่น เหรียญเงิน หรือ เหรียญทองสักเหรียญ  หรือ ทาสชายหญิง หรือ สิ่งอื่นในทำนองนี้ไว้เลย  สิ่งที่ท่านเหลืออยู่ก็มีเพียงลาสีขาวตัวหนึ่ง อาวุธ และที่ดิน ซึ่งท่านก็ได้อุทิศให้เป็นการกุศลแก่มุสลิม โดยทั่วไปแล้วท่านนาบีมีความเป็นอยู่อัตคัด ขัดสนมาก เสื้อเกราะของท่านก็เอาไปจำนำไว้  เพื่อแลกกับข้าวสารเพียงไม่กี่กำมือ  เสื้อผ้าของท่านมีรอยปะเต็มไปหมด เป็นสิ่งที่น่าสังเกตว่า ขณะนั้นเป็นเวลาที่ดินแดนอารเบียทั้งหมด ตกอยู่ในอำนาจของท่านนาบี ที่มาดีนะฮฺอันเป็นเมืองหลวงนั้นก็มีทรัพย์สมบัติเงินทองจนล้นคลัง แต่ฐานะของท่านนาบีผู้เป็นประมุขก็ยังยากจนเหมือนเดิม



รูปร่างของท่านนาบีมูฮัมหมัด
(ซ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวะซั่ลลัม)


   ท่านนาบีมีรูปร่างขนาดปานกลางได้สัดส่วน  ไม่เตี้ย ไม่สูงมาก  โครง สร้าง และกระดูกแข็งแรงได้ส่วน  ผิวขาวอมแดง เกลี้ยงเกลา ผมดำหยักโศรกน้อยๆ  คิ้วดก  ตาสีดำ  ขนตายาว  จมูกโด่ง  ใบหน้างาม  แต่ไม่อวบอูม  ท่านมีเคราดกดำ  ไหล่กว้าง แข็งแรง และ ตรงกึ่งกลางระหว่างช่วงไหล่ มีเครื่องหมายอันเป็นสัญลักษณ์แห่งการเป็นนาบี





12
salam

รำลึกเกียรติประวัติของท่านศาสดามูฮัมหมัด
( ซ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวะซั่ลลัม )






ชีวประวัติโดยสังเขปของท่านศาสดา (ซ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวะซั่ลลัม)

              “อารเบีย” เป็นแหลมขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของทวีปเอเชีย มีเนื้อที่ประมาณ 1/3 ของทวีปยุโรป โดยแคว้นใหญ่ที่เป็นบ่อเกิดของศาสนาอิสลาม คือ “ฮิยาซ ”  ตั้งอยู่ทางตะวันออกของทะเลแดง มีเมืองสำคัญอยู่ 2 เมือง คือ “มักกะฮฺ” กับ “มาดีนะฮฺ”  โดยที่ มักกะฮฺ  เป็นเมืองซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของท่านนาบี มูฮัมหมัด (ซ็อลฯ) และ เป็นที่ตั้งของกะอฺบะฮฺ  ส่วน มาดีนะฮฺ นั้น เป็นถิ่นอพยพหลบภัย เป็นศูนย์กลางแห่งการเผยแพร่ศาสนาอิสลาม ทั้งยังเป็นนครที่ท่านใช้ชีวิตบั้นปลาย และ เป็นที่ฝังพระศพของท่านนาบีมูฮัมหมัด (ซ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวะซั่ลลัม)

                 อาหรับ สมัยก่อนอิสลาม ได้ชื่อว่า สมัย “ ญาฮีลียะฮฺ ”  เป็นยุคที่มืดมน ป่าเถื่อน บูชารูปปั้น รูปเจว็ด มีการกระทำซินา (ผิดประเวณี) การพนัน มัวเมากับสุรา ฝังลูกสาวทั้งเป็น ซึ่งขณะนั้น มีรูปปั้นที่อยู่โดยรอบของ กะอฺบะฮฺ ประมาณ 360 รูป ซึ่งใช้บูชากันวันละรูป บ้างก็กราบไหว้บูชา ดวงตะวัน  และดวงดาวต่างๆ บ้างก็บูชาไฟ  บางพวกก็นับถืออัลลอฮฺ แต่ก็ถือว่ารูปปั้นเหล่านั้นเป็นสื่อถึงอัลลอฮฺ   พระองค์อัลลอฮฺ จึงได้ส่งท่านนาบีมูฮัมหมัด (ซ็อลฯ) เพื่อนำพามนุษย์จากการหลงผิดไปสู่หนทางที่ถูกต้องเที่ยงแท้
  
                เมื่อ ค.ศ. 570 เป็นปีที่ท่านนาบีมูฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้ถือกำเนิดขึ้น ณ นครมักกะฮฺ ซึ่งตรงกับวันจันทร์ ที่ 12 เดือน รอบีอุลเอ้าวัล ปีช้าง หรือ ตรงกับ พ.ศ. 1113  ท่านถือกำเนิดในตระกูล กุร็อยช์  ซึ่งเป็นตระกูลที่มีเกียรติสูง ในชนชาติอาหรับ  ปรากฏว่าเมื่อท่านนาบีทรงประสูติออกมาจากครรภ์ของพระนางอามีนะฮฺ ก็ได้เกิดเหตุการณ์อัศจรรย์มากมาย อาทิ พระวรกายมีรัศมี สว่างไสว ปราสาทเจ้าเมืองกิซรอได้พังทลายลง  ไฟที่เจ้าเมืองฟารีซี จุดไว้เพื่อบูชากราบไหว้ ก็ดับมอดลง พระวรกายของท่านนาบีสะอาด และ มีกลิ่นหอม สายสะดือเป็นมาในสภาพที่เรียบร้อย และ อื่น ๆ  เมื่อท่านอับดุลมุตตอลิบ ผู้เป็นปู่รับทราบข่าวนี้ ท่านได้รีบไปยังบ้านของอับดุลลอฮฺ และได้ตั้งชื่อให้แก่ทารกน้อยนั้นว่า “ มูฮัมหมัด ” แปลว่า “ ผู้ที่ได้รับการยกย่อง สรรเสริญ ”

              ท่านนาบีนั้น ต้องกำพร้าผู้เป็นบิดา ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาได้เพียง 2 เดือน เมื่อพระองค์คลอดมาได้ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ ท่านก็ได้ไปอยู่กับแม่นมชื่อ สุไวบะฮฺ บินตี กะอับ  ซึ่งเป็นทาสีของ อะบูละฮับ   ต่อจากนั้น   ท่านจึงถูกส่งให้ไปอยู่กับแม่นมอีกคนหนึ่ง  ที่ชานเมือง นามว่า  ฮาลีมะฮฺ
บินตี อบีซุอัยส์ อัสสะอฺดียะฮฺ  เพื่อต้องการให้บุตรน้อยของตนเติบโตท่ามกลางธรรมชาติอันบริสุทธิ์ รับรู้ภาษาอาหรับที่ชัดเจน เที่ยงแท้ เนื่องจากไม่มีอิทธิพลของภาษาอื่นมาแปลกปน เมื่อท่านนาบีอายุได้ 2 ขวบ แม่นมจึง ได้พามาพบกับมารดา และ ปู่ ณ ที่บ้านเกิดของท่าน และแล้วแม่นมก็รับท่านกลับไปอยู่ในอุปการะของตนอีก จนต่อมาเมื่อท่านนาบีอายุได้ 4 ขวบ อัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตะอาลา) ก็ได้มีบัญชาให้มลาอีกะฮฺ ญิบรีล ทำการผ่าท้องท่านนาบีมูฮัมหมัด (ซ็อลฯ) เพื่อเอากิเลสหยาบ และ สิ่งอันไม่สู้จะดี ที่สามัญชนคนธรรมดาต้องมีทุกคนนั้นออกจากท่านนาบีจนหมดสิ้น  พร้อมทั้งได้ประทับตราแห่งการเป็นนาบีแก่ท่านด้วย นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา (ท่านนาบีอายุ 4 ขวบ) นั้น ท่านก็ได้มีโอกาสกลับมาอยู่ในอ้อมอกของมารดาอีกชั่วระยะหนึ่ง เพียง 2 ปี มารดาของท่านก็ต้องจากท่านไปอีกคน  ที่ตำบล อั๊บวาอฺ ท่านจึงต้องถูกพรากจากอ้อมอกของผู้เป็นแม่ ตกอยู่ในฐานะกำพร้าทั้งบิดา และมารดาตั้งแต่อายุได้ 6 ขวบ เมื่อท่านต้องสูญเสียทั้งบิดา และมารดาแล้ว ท่านอับดุลมุตตอลิบ ซึ่งมี่ศักดิ์เป็นปู่ ซึ่งอยู่ในวัยชรา จึงรับท่านไปอยู่ในอุปการะ อีก 2 ปี ท่านปู่ ( วัย 80 ปี ) ก็ได้ถึงแก่กรรมไปอีกคน ซึ่งขณะนั้นท่านนาบี มีอายุได้ 8 ขวบ แต่ก่อนที่ท่านอับดุลมุตตอลิบจะสิ้นใจ ท่านได้เรียกอะบูตอลิบไปหา และ มอบเด็กน้อย นาบีมูฮัมหมัด ไว้ในการดูแลของอะบูตอลิบ   เมื่ออะบูตอลิบได้รับคำสั่งเสียจากอับดุลมุตตอลิบ ผู้เป็นพ่อแล้ว  อะบูตอลิบซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงของท่านนาบี ก็ได้รับท่านไปอยู่ในอุปการะของตน ซึ่งอะบูตอลิบนั้น มีฐานะค่อนข้างยากจน  ซึ่งตลอดเวลาที่ท่านนาบีมูฮัมหมัด ( ซ็อลฯ ) ได้อยู่ในอุปการะของลุงนั้น ท่านก็จะช่วยเหลืองานของอะบูตอลิบ โดยมิได้ว่างเว้น อาทิ การเลี้ยงแพะ เลี้ยงแกะ การค้าขาย และ อื่น ๆ  และด้วยมารยาทอันอ่อนโยน  สุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน มีระเบียบ เอื้ออารีย์ต่อผู้พบเห็น เพื่อนฝูง และ ญาติพี่น้อง พร้อมทั้งมีความเฉลียวฉลาดตั้งแต่ยังเยาว์วัย  จึงทำให้ท่านนาบีเป็นที่รักยิ่งของอะบูตอลิบ
 
                เมื่ออายุ 12 ขวบ ท่านนาบีได้ทางติดตามลุง ไปค้าขายยังประเทศชาม (ซีเรีย) และที่ซีเรียนี้เอง ท่านได้พบกับนักบวชชาวคริสเตียนคนหนึ่งที่มีชื่อว่า “บาฮีรอ” ซึ่งได้ทำนายว่ามูฮัมหมัด จะเป็นศาสดาองค์สุดท้ายและได้กล่าวไว้ว่า “ หลานชายของท่านมีลักษณะเป็นมหาบุรุษแท้ ๆ ท่านจงเลี้ยงดูเขาเป็นอย่างดีเถิด ” หลังจากนั้นท่านอะบูตอลิบจึงนำหลานชายของท่านกลับมายังมักกะฮฺ และรักษาความลับนี้ไม่ให้ใครรู้  
โดยปกติแล้ว ท่านนาบีมูฮัมหมัด (ซ็อลฯ) เป็นผู้มีมารยาทอ่อนโยน โอบอ้อมอารี มีระเบียบ และ รักเด็ก ข้อสำคัญที่สุดคือ เป็นคนซื่อสัตย์ ไม่เคยพูดจาเท็จเลย จนกระทั่งได้สมญานามว่า     “ อั้ล อามีน ” หมายถึง ผู้ซื่อสัตย์ เที่ยงธรรม และ ไว้วางใจได้  ท่านช่วยลุงทำมาหากินด้วยความ เหนื่อยยาก ด้วยความขยัน และ อดทน เพื่อต้องการแบ่งเบาภาระของลุงให้น้อยลง ท่านเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อมไปด้วยคุณธรรมต่างๆ จึงเป็นที่รักของลุง เวลาที่ลุงจะไปไหนก็จะพาท่านไปด้วย จนกระทั่งท่านอายุได้ 20 ปี การที่ท่านได้มีโอกาสเดินทางไปค้าขายต่างแดนกับลุงบ่อยครั้ง จึงทำให้ท่านกลายเป็นผู้ที่มีความสันทัดจัดเจน มีความชำนิชำนาญในการค้าขายเป็นอย่างดี

                 เมื่ออายุ 20 ปี กิติศัพท์แห่งคุณธรรม และ ความสามารถดังกล่าวของท่าน ทำให้พระนาง   คอดียะฮฺ เศรษฐีนีหม้าย จึงได้เชื้อเชิญให้ท่านเป็นผู้จัดการในการค้าของนาง โดยให้ท่านเป็นหัวหน้านำกองคาราวานสินค้า ไปค้าขายยังประเทศซีเรีย ผลปรากฏว่า การค้าดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และได้กำไรเกินความคาดหมาย จึงทำให้พระนางคอดียะฮฺ เศรษฐีนีวัย 40 ปี พอใจในความสามารถ และ ความซื่อสัตย์ของท่านเป็นอย่างมาก


                            เมื่ออายุ 25 ปี ท่านนาบี ก็ได้ทำการสมรสกับพระนางคอดียะฮฺ ที่มีอายุมากกว่าท่านนาบี 15ปี  ซึ่งสิ่งแรกที่ท่านนาบีได้กระทำหลังจากการสมรสได้ไม่กี่วัน คือ การปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระ ซึ่งในสมัยนั้น ไม่มีใครเคยคิดว่าจะมีผู้ใดทำได้ เพราะ ในอารเบีย เต็มไปด้วยสิ่งเลวร้าย มีแต่การรีดนาทาเร้น การทารุณกรรมต่างๆ แม้กระทั่งบุตรของตนเอง ถ้าไม่ชอบใจก็เอาไปเผาเสียทั้งเป็น หรือ ทำการฝังทั้งเป็น ประชาชนในยุคนั้นมัวเมาต่อกิเลส หลงใหลต่อตัณหาราคะ บ้าคลั่งต่อกามารมณ์ เชื่อถือศรัทธาต่อสิ่งต่างๆ นานา    ท่านนาบีมูฮัมหมัด (ซ็อลฯ)  เศร้าใจในสภาพของสังคมที่โหดร้าย ป่าเถื่อนเป็นอย่างมาก โดยปกติท่านเป็นคนช่างคิด และมองการไกล จึงมักปลีกตนไปอยู่ในถ้ำ “ ฮิรออ์ ” อยู่บ่อยครั้ง

                     
                                  เมื่ออายุได้ 30 ปี ท่านนาบีได้เข้าร่วมเป็นหัวหน้าสหพันธ์ ฟุดุ้ล ซึ่ง เป็นองค์การพิทักษ์สาธารณภัยประชาชน  เพราะในสมัยนั้นเต็มไปด้วยความเลวร้าย มีทั้งการปล้น แย่งชิง ฉุดคร่า และ การกระทำอนาจาร  ซึ่งฝ่ายปกครองไม่อาจปราบปรามให้เรียบร้อยได้ จึงได้จัดตั้งองค์การนี้ขึ้นมาเพื่อ ขจัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน ซึ่งภารกิจประจำวันของท่าน ก็คือ ประกอบแต่สิ่งดีงาม เปลื้องทุกข์ ขจัดความเดือดร้อน ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก และ บำรุงสาธารณกุศล

             เมื่อท่านอายุ 35 ปี อาคารกะอฺบะฮฺ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างภูเขา ได้เกิดฝนตกหนัก น้ำได้ไหลลงจากเขาสูงลงสู่ กะอฺบะฮฺ ซึ่งอยู่ต่ำกว่า ทำให้เกิดน้ำท่วม และส่งผลให้กะอบะฮฺ ได้รับความเสียหาย ชนเผ่าต่างๆ จึงได้ช่วยกันสร้างขึ้นใหม่จนคงสภาพเดิม แต่ได้เกิดกรณีขัดแย้งกันในการที่จะนำหินดำ(ฮาญาร็อล อัสวัด) ไปวางไว้ที่เดิม อันเป็นเหตุให้คนทั้งเมืองเกือบจะรบราฆ่าฟันกันเองเพราะแย่งหน้าที่อันมีเกียรติ ซึ่งต่างก็จะเป็นผู้นำเอาหินดำไปวางไว้ที่เดิม ซึ่งมีการโต้เถียงกัน  4 วัน  จนในที่สุด หัวหน้าเผ่าต่าง ๆ จึงมีมติว่า หากผู้ใดเข้ามาในสถานที่แห่งนี้ (ทางประตู บะนีซัยบะฮฺ) เป็นคนแรก ก็จะให้ผู้นั้นเป็นผู้ชี้ขาด    รุ่งขึ้นปรากฏว่า ท่านนาบีมูฮัมหมัด (ซ็อลฯ) เป็นบุคคลแรกที่เดินเข้ามา ประชาชนผู้เฝ้ารอจึงดีใจที่เป็นท่านผู้ซึ่งได้สมญานามว่า “อั้ลอามีน” ท่านจึงเป็นผู้มีอำนาจชี้ขาด และแล้วท่านก็ได้แก้ไขให้ทุกท่านมีโอกาสยกหินดำนั้นร่วมกัน ซึ่งเป็นการประนีประนอมกัน โดยการที่ท่านนำผ้าผืนหนึ่งปูลง   แล้วท่านก็ยกหินดำวางลงบนผืนผ้า  ให้หัวหน้าเผ่าต่างๆจับชายผ้ากันทุกคน แล้วยกขึ้นพร้อมๆกัน เอาไปใกล้ๆ กับที่สถิตหินดำ เสร็จแล้วท่านก็เป็นผู้นำเอาหินดำไปสถิตไว้ ณ ที่เดิม ทั้งนี้ก็ด้วยเชาว์ปัญญา และปฏิภาณไหวพริบอันเฉียบแหลมของท่าน

                เมื่ออายุได้ 40 ปี ท่านได้รับวะฮฺฮี (โองการจากอัลลอฮฺ) โดยในตอนแรก ได้รับในรูปของความฝันที่เป็นจริง คือ ไม่ว่าท่านฝันสิ่งใดในขณะหลับ ท่านก็จะพบว่ามันเป็นความจริงขณะท่านตื่นขึ้น ต่อมา ท่านได้รับโองการจากพระผู้เป็นเจ้าในถ้ำฮิรออ์ ซึ่งอยู่ ณ ภูเขา นูรฺ  โดยมาลาอีกะฮฺญิบรีล เป็นผู้นำมาบอกเป็นครั้งแรก เรียกร้องให้ท่านทำการปฏิรูปสังคม และ ประกาศให้ประชาชนนับถือพระเจ้าองค์เดียว ท่านจึงเผยแพร่ศาสนาแก่วงศ์ญาติ และสหายผู้ใกล้ชิดเป็นการภายในก่อน ต่อมาท่านได้รับโองการจากพระเจ้าให้ทำการเผยแพร่โดยเปิดเผย บรรดาญาติพี่น้อง และ ประชาชนที่หลงนับถือเทวรูป และสิ่งต่างๆ จึงพากันโกรธแค้น และ ตั้งตนเป็นศัตรูอย่างรุนแรง ถึงขั้นวางแผนที่จะฆ่าและกำจัดท่าน แต่ก็ไม่สำเร็จ ท่านก็หาได้หยุดยั้งการเผยแพร่ศาสนาตามคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้าไม่  เมื่อพวกศัตรูหาทางกำจัดท่านด้วยวิธีการรุนแรงไม่สำเร็จ  จึงได้ส่งตัวแทนเข้ามาเจรจากับอะบูตอลิบผู้เป็นลุงว่า ขอให้ท่านนาบีเลิกประกาศศาสนา ซึ่งลุงก็รับมาเจรจากับท่านนาบีมูฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ตามคำขอ  แต่ท่านนาบีมูฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ทรงตอบว่า “เรื่องนี้ หลานยอมไม่ได้ จนกว่าพี่น้องร่วมชาติของหลานจะเลิกนับถือสิ่งอื่น แล้วกลับมานับถือพระเจ้าองค์เดียว หรือไม่ ก็จนกว่าชีวิตของหลานจะสิ้นสลายไป”  เมื่อตัวแทนได้รับคำตอบแล้ว จึงกลับไป และ ได้ส่งบรรดาหัวหน้ามาเจรจากับท่านนาบีมูฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ใหม่อีกครั้ง โดยอ้างว่าเพื่อความสงบสุขของประชาชาติ   พวกข้าพเจ้าจะยอมทุกอย่าง   หากท่านต้องการทรัพย์สินเงินทองก็จะหามาให้  หากท่านต้องการเกียรติยศชื่อเสียงก็พร้อมที่จะยอมยกย่อง และคารวะต่อท่าน  หากท่านต้องการอาณาจักรก็จะแต่งตั้งท่านขึ้นเป็นกษัตริย์  เพียงแต่ขอให้ท่านเลิกประกาศศาสนาที่ให้นับถือพระเจ้าองค์เดียวเท่านั้น  ท่านนาบีมูฮัมหมัด (ซ็อลฯ) จึงทรงตอบว่า “ ฉันเสียใจ แม้ว่าพวกท่านจะนำเอาดวงตะวันมาวางลงบนมือขวา และ เอาดวงจันทร์มาวางลงบนมือซ้าย ฉันก็ไม่อาจรับข้อเสนอของท่านได้ นอกจากอย่างเดียว คือ ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของข้าพเจ้า (หมายถึง ให้พวกท่านเลิกนับถือสิ่งต่างๆ และ หันมานับถือพระเจ้าองค์เดียว) ”  เมื่อการเจรจาตกลงกันไม่ได้ ฝ่ายศัตรูก็เริ่มคุกคามด้วยการทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น  ท่านนาบีจึงจำต้องสั่งให้สาวกผู้เลื่อมใส ลี้ภัยไปอยู่ที่ประเทศอบิสสิเนีย (เอธิโอเปีย) เพราะมีกษัตริย์ที่มีคุณธรรม ส่วนตัวท่านต้องอพยพ  ไปอยู่ที่นคร มาดีนะฮฺ ตามคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้า เมื่อวันจันทร์ที่ 12 เดือน รอบีอุลเอ้าวัล เรียกว่า ฮิจญเราะฮฺหรือ  ปีแห่งการโยกย้าย ลี้ภัย ซึ่งศักราชอิสลามได้เริ่มต้นตั้งแต่ปีนั้น โดยผู้ที่ริเริ่มนับปีฮิจญเราะฮฺ ศักราช เป็นครั้งแรก คือ ท่าน อุมัรฺ บิน ค็อตต็อบ

              จากการลี้ภัยมาอยู่ที่นครมาดีนะฮฺ  อะบูญะฮัล กับพวกฝ่ายมักกะฮฺ ก็ได้หาทางกำจัดพวกที่นับถือศาสนาอิสลาม โดยได้นำทหารจำนวน 1,000 คนเข้าโจมตีครึ่งหนึ่ง จึงได้เกิดการรบขึ้น  ณ  ทุ่งบะดัรฺ   ฝ่ายมุสลิมมีกำลังคนเพียง 300 คนเศษ  ด้วยการช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ จึงทำให้ฝ่าย อะบูญะฮัล พ่ายแพ้กลับไป  โดยที่ทหารของกุร็อยช์ถูกฆ่าตาย 70 คน และถูกจับเป็นเชลยเป็นจำนวนมาก ส่วนฝ่ายมุสลิมตายชะฮีดแค่ 14 คนเท่านั้น ท่านนาบีได้สั่งให้สานุศิษย์ของท่านปฏิบัติต่อเชลยศึกที่ไม่มีเสื้อผ้าใส่ ก็รับแจกเสื้อผ้า และพวกเขาได้รับการเลี้ยงดูด้วยอาหารเช่น เดียวกับฝ่ายมุสลิม มุสลิมบางคนถึงกับสละขนมปังให้เชลยศึกกินส่วนตัวเองกินเพียงอินทผลัม      

                ต่อมา ท่านนาบีก็ตัดสินใจที่จะปล่อยเชลยศึกไปโดยให้มีการเสียค่าไถ่ตัว แม้แต่ญาติของท่านเองก็ให้สอนหนังสือให้แก่เด็กชายมุสลิมสิบคนแทนการเสียค่าไถ่  ส่วนพวกที่ยากจนไม่มีเงินค่าไถ่ก็ได้รับการปล่อยตัวไปโดยให้สัญญาว่าจะไม่ ต่อสู้กับมุสลิมอีกในภายหน้า การปฏิบัติของมุสลิมต่อเชลยศึกอย่างโอบอ้อมอารีเช่นนี้เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนเลยในประวัติศาสตร์  ต่อมาพวกกุร็อยช์ จึงได้ยกกองทัพมาใหม่ นำโดยอะบูซุฟยาน พร้อมด้วยกำลังพล 3,000 คน เข้าโจมตีเป็นครั้งที่สอง สงครามได้อุบัติขึ้น ณ เชิงเขาอูฮุด ทางตอนเหนือของมาดีนะฮฺ  ในระหว่างการสู้รบ ตอนแรกฝ่ายมุสลิมได้ชัยชนะ แต่ยังไม่ทันที่การรบจะสิ้นสุดลง กองทหารธนูเห็นชัยชนะเป็นของพวกตน จึงได้ลงมารุกไล่ฝ่ายศัตรูและช่วยกันเก็บทรัพย์สินสงครามโดยละทิ้งหน้าที่ ทั้งๆที่ท่านนาบี ได้สั่งแล้วว่าห้ามละทิ้งหน้าที่เป็นอันขาดไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น กองทัพฝ่ายมุสลิมจึงระส่ำระสายไม่เป็นระเบียบ คอลิด บิน วาลิด เห็นได้โอกาสจึงลอบเข้าโจมตีกองทัพมุสลิมจากด้านหลัง ทำให้ฝ่ายมุสลิมพ่ายแพ้แตกกระจัดกระจายไป ท่านศาสดาพยายามที่จะนำพวกเขากลับมาแต่ก็ไม่สำเร็จ ฝ่ายกุร็อยช์ได้ขว้างก้อนหินมายังท่านศาสดาจนทำให้ท่านล้มลงบนพื้นดิน ปากแตก ฟันหักไปหลายซี่ ท่านพยายามลุกขึ้นแต่ก็ยังล้มลงไปในหลุมที่พวกกุร็อยช์ขุดดักไว้ ท่านอะลี และ ตอลฮะฮฺ ก็ได้พยุงท่านให้ลุกขึ้นมา และในเวลานั้นมีข่าวลือไปว่าท่านศาสดาถูกฆ่าเสียแล้ว อันที่จริง ท่านเพียงแต่ตกตลึงไปเท่านั้น  ท่านได้ไต่เข้าไปซ่อนในถ้ำของภูเขาอุฮุดซึ่งกองทัพส่วนใหญ่ของท่านกำลังรออยู่  โดยที่ฝ่ายมุสลิมตายชะฮีด 70 คน  ในสงครามนี้มีเหตุการณ์ที่น่าเศร้าเกิดขึ้นกล่าวคือ นางฮินด์ ซึ่งเป็นภรรยาของอะบูซุฟยานได้ทำร้ายศพชาวมุสลิมโดยการตัดหู ตัดจมูกอย่างบ้าคลั่ง และที่น่าเศร้าที่สุดนางได้ผ่าท้องท่านฮัมซะฮฺ ซึ่งเป็นลุงของท่านนาบี ควักตับออกมาเคี้ยวกิน เพื่อแก้แค้นที่ท่านฮัมซะฮฺได้ฆ่าญาติพี่น้องของนางในสงครามบะดัรฺครั้งที่แล้ว

          การอพยพหลบภัยมาพักอยู่ที่นครมาดีนะฮฺนั้น  ท่านนาบีต้องทำศึกทั้งสองด้าน ภายนอก คือ อะบูซุฟยาน กับ พวกฝ่ายมักกะฮฺ  ส่วนภายใน คือ พวกที่ทรยศทั้งหลาย ได้แก่ พวกยาฮูดี (ยิว) พวก นัซรอนี (คริสเตียน) พวกมุนาฟิก (ผู้กลับกลอก) และ ชนเผ่าอื่นๆที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม ในนครมาดีนะฮฺ  ท่านจึงได้ทำการป้องกันนครมาดีนะฮฺร่วมกับกลุ่มชนมุสลิมด้วยความหนักใจตลอดมา  โดยที่ฝ่ายที่มิใช่มุสลิมได้ไปเป็นไส้ศึกให้กับศัตรู   ซึ่งแทบทุกครั้งที่มีกองทัพมาประชิดมาดีนะฮฺ  ด้วยความชาญฉลาด และเข้มแข็งของท่าน จึงทำให้ทั้งกลุ่มชนมุสลิมในมาดีนะฮฺ เคารพรักท่านมาก ต่างก็ร่วมใจกันอย่างเต็มกำลัง จึงทำให้สามารถป้องกันมาดีนะฮฺ เอาไว้ได้

          การรบครั้งที่สาม คือ สงครามค็อนดั๊ก (สนามเพลาะ)  โดยการรบครั้งนี้ ฝ่ายอะบูซุฟยาน กับ พวกจากนครมักกะฮฺ ผู้รุกราน มีกำลังพลถึง 10,000 คน ซึ่งฝ่ายของท่านนาบีมูฮัมหมัด (ซ็อลฯ) มีกำลังพลเพียง 3,000 คน จึงตั้งรับอยู่ภายในเมือง และ ได้ทำการขุดสนามเพลาะกั้นทัพศัตรู การรบขบเคี่ยวกันอยู่หลายวัน  ทัพของอะบูซุฟยานก็โดนพายุกระหน่ำ และ โรคร้ายคุกคามเสียหายอย่างหนัก จนต้องล่าถอยกลับไป  ต่อมาในปีฮิจญเราะฮฺที่ 6 จึงมีการเซ็นสัญญาพักรบ ซึ่งท่านนาบีมูฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้ยอมเสียเปรียบในข้อสัญญาเป็นส่วนมาก แต่มีเงื่อนไขอยู่ว่า จะต้องยอมเปิดเมืองมักกะฮฺ ให้มุสลิมเข้าไปประกอบพิธีฮัจญ์ และ อุมเราะฮฺ ได้โดยเสรี ดังนั้น ท่านนาบีจึงมีโอกาสนำประชากรเข้าไปทำฮัจญ์ - อุมเราะฮฺ  ณ  กะอฺบะฮฺตามสัญญา แต่ทว่า ต่อมาฝ่ายอะบูซุฟยานได้ละเมิดข้อตกลงโดยเปิดการรุกรานต่อประชากรของท่านนาบีก่อน ท่านนาบีมูฮัมหมัด (ซ็อลฯ) จึงต้องนำทหาร 1,000 คนเข้ายับยั้ง  ฝ่ายอะบูซุฟยานเห็นทีท่าว่าจะสู้ไม่ได้ จึงยอมจำนน  ท่านนาบีจึงได้ครอบครองนครมักกะฮฺ โดยเริ่มประกาศนิรโทษกรรม (ไม่ถือโทษ) ทันที  ทำให้ชาวมักกะฮฺ ตระหนักในความเมตตาจิตของท่านเป็นอย่างยิ่ง  ดังนั้นท่านจึงได้ประกาศสั่งสอนสัจธรรม และ มนุษยธรรมแก่ประชากรทั่วไป  จนกระทั่งเมื่อประชาชนเข้าใจหลักสัจธรรม และมนุษยธรรมของ อิสลามดียิ่งขึ้น  จึงส่งผลให้ประชาชนเลื่อมใสศรัทธาในหลักการ  และระบอบการของอิสลาม จึงได้หลั่งไหลกันเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม โดยทวีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จึงนับว่าท่านนาบีมูฮัมหมัด (ซ็อลฯ)  มีชัยชนะอันยิ่งใหญ่ในครั้งนี้  ท่านได้ทำการปฏิรูปสังคมจากความเลวร้ายนานาประการ ให้กลับคืนสู่สภาพมนุษยธรรม ตลอดชีวิตของท่าน จึงมีแต่ความเสียสละ ความเมตตาต่อผู้ยากไร้ จนในที่สุดท่านก็มีชื่อเสียง และ เกียรติก้องไปทั่วโลก โดยอาศัยคุณธรรม และ หลักมนุษยธรรมเป็นประการสำคัญ ทั้งๆที่ท่านได้ชื่อว่า เป็นจอมปฏิรูป  จอมนักสู้ แต่ท่านก็มิได้ใช้อำนาจใดๆกับใคร นอกเหนือไปจากหลักมนุษยธรรม เพราะอิสลามห้ามการรุกราน และ ล่วงละเมิดสิทธิมนุษยธรรม ยกเว้นกรณีจำเป็นที่ต้องป้องกันจากการถูกรุกราน  ดังกรณีของสงครามครูเสด ( สงคราม สะบีลิ่ลละฮฺ )  นักรบมุสลิมซึ่งมีจำนวนน้อยกว่า แต่ก็สามารถป้องกันจนเอาชนะกองทัพครูเสดได้ ก็เพราะอิสลามสอนไว้ว่า การตายเพื่อป้องกันประเทศชาติศาสนานั้น เป็นการตายที่ได้รับกุศล ผลบุญที่สูงส่ง และ มีเกียรติยิ่ง ฉะนั้น พลรบของท่านนาบีมูฮัมหมัด (ซ็อลฯ) จึง กล้าหาญ และ มีความเข้มแข็งยิ่งนัก

             ท่านนาบีมูฮัมหมัด (ซ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวะซั่ลลัม) สิ้นพระชนม์ที่นครมาดีนะฮฺ เมื่อวันจันทร์ที่ 12 รอบีอุลเอ้าวัล ปีฮิจญเราะฮฺที่ 10   รวมอายุได้  63  ปี และ ท่านใช้เวลาในการเผยแพร่ศาสนาอิสลามที่มักกะฮฺเป็นเวลา 13 ปี และ ที่มาดีนะฮฺเป็นเวลา 10 ปี รวมทั้งสิ้น 23 ปี









13

 salam


อัสสะลามูอะลัยกุม วาเราะฮฺมาตุ้ลลอฮีวะบารอกาตุฮฺ ( ขอความสุขสันติ ความเมตตา และ ความจำเริญจากอัลลอฮฺ จงมีแด่ท่าน... )

พอดีไปเจอหนังสือเกี่ยวกับประวัติโดยสังเขป และ บุคลิกภาพในด้านต่างๆ ของท่านนาบี (ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม)

ซึ่งเห็นว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ทุกท่าน

จึงได้จัดทำเป็นไฟล์ PDF และ Doc ดังนี้

1. ไฟล์ PDF (เปิดกับ Adobe Reader)  ขนาดไฟล์ 501.18 kb


http://www.mediafire.com/?qjnjtojzimz 

(ชื่อไฟล์  : Prophet Muhammad PDF.rar)



2. ไฟล์ Doc (เปิดกับ Microsoft Word)  ขนาดไฟล์ 747.30 kb


http://upload.one2car.com/download.aspx?pku=3CC1F5DC80A28[9VL22MZ[YNFVQ44R


หรือ ( Link สำรอง )


http://load1.uploadfile.biz/get.php?file=118i174i41i180date26092009pm160047


(ชื่อไฟล์  : Prophet Muhammad Doc.rar)




หากผิดพลาดประการใดก็ต้องขอมาอัฟทุกท่านไว้ด้วย ณ ที่นี้ด้วยนะครับ




14
 salam

อัสสะลามูอะลัยกุม (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน)

     คือว่า  ได้มีผู้หนึ่งตั้งข้อสังเกตว่า มีมุสลิมจำนวนมาก ที่เวลาเจอกัน หรือ หลังจากละหมาดแล้ว ได้จับมือกัน แล้วจึงนำมือมาแตะ

ที่หน้าอก สำหรับผู้ชาย และ นำมือมาจูบ หรือ ลูบหน้า สำหรับผู้หญิง  เขาจึงได้บอกว่า การกระทำดังกล่าว (การนำมือมาแตะ

ที่หน้าอก นำมือมาจูบ หรือ ลูบหน้า) นั้นเป็น บิดอะฮฺ เพราะที่ท่านนาบีกระทำนั้นแค่การจับมือเท่านั้น โดยเขาอยากรู้ที่มา หรือ หลัก

ฐานในเรื่องดังกล่าว (การนำมือมาแตะที่หน้าอก นำมือมาจูบ หรือ ลูบหน้า) ว่าเป็นมาอย่างไร ?

ดังนั้น เขาจึงได้ถามผม แต่ผมไม่กล้าตอบไป เพราะยังไม่ทราบหลักฐานที่แน่ชัด

ดังนั้นผมจึงขอวอนผู้รู้ทุกท่านที่ทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยนะครับ

ญะซากุมุลลอฮุค็อยร็อน ( ขอให้อัลลอฮฺทรงตอบแทนความดีแก่ท่านทั้งหลายด้วยเถิด )

วัสลาม...


15
2. คำว่า " มุสลิม "  ซึ่งเราชอบใช้เป็น " มุส - สะ - ลิม "

ซึ่งที่ถูกต้องคือ... " มุส - ลิม " ( مُسْلِم ) นะครับ...


3. คำว่า " มัสยิด "  ซึ่งเราชอบใช้เป็น " มัส - สะ - ยิด "

ซึ่งที่ถูกต้องคือ... " มัส - ยิด " ( مَسْجِد ) นะครับ...

4. สองคำปฏิญาณตน  ซึ่งมีมุสลิมไม่น้อย โดยเฉพาะทางภาคใต้ ที่กล่าวว่า

" อัช - ชา - ดู - อั้ล - ลา - อี - ลา - ฮา - อิ้ล - ลั่ล - ลอฮฺ... "

" วา - อัช - ชา - ดู - อัน - นา - มู - ฮัม - มะ - ดั๊รฺ - รอ - ซู - ลุล - ลอฮฺ... "

ซึ่งที่ถูกต้องคือ

" อัช - ฮา - ดู - อั้ล - ลา - อี - ลา - ฮา - อิ้ล - ลั่ล - ลอฮฺ... "

" วา - อัช - ฮา - ดู - อัน - นา - มู - ฮัม - มะ - ดั๊รฺ - รอ - ซู - ลุล - ลอฮฺ... " นะครับ...


5. คำกล่าวให้ และ รับสลาม ซึ่งมีมุสลิมจำนวนมากที่ยังให้กันผิดๆอยู่ นั่นคือ

ให้สลามว่า : " อัส - สะ - ลาม - มู - อะ - ลัย - กุม "

และ รับว่า : " วะ - อะ - ลัย - กุม - มุส - สะ - ลาม "

ซึ่งที่ถูกต้องคือ

ต้องให้สลามว่า : " อัส - สะ - ลา - มู - อะ - ลัย - กุม "

และ ให้รับสลามว่า : " วะ - อะ - ลัย - กุ - มุส - สะ - ลาม " นะครับ...


วัลลอฮุอ๊ะอฺลัม ( อัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือสิ่งอื่นใด )



หน้า: [1] 2