ผู้เขียน หัวข้อ: สาเหตุและเหตผล ที่อะชาอีเราะห์และอุลามะฮฺคอลัฟ ต้องตีความโองการอัลกุรอ่าน  (อ่าน 2930 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ lungmaprau

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 13
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด

วอนผู้รู้ ช่วยอธิบายสาเหตุและเหตุผล ที่อะชาอีเราะห์และอุลามะฮฺคอลัฟ ต้องตีความบางส่วนของโองการอัลกุรอ่าน ซื่งผิดกับอุลามะฮฺซะลัฟ ที่มอบหมายความหมายโองการนั้นให้พระองค์อัลลอฮ

ญาซากุมุลลอฮุลค็อยรฺ

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
ลองศึกษาจากข้อมูลข้างล่างนี้ดูครับ
--------------------------------------------


วะฮาบีย์กลุ่มหนึ่งในอียิปต์ กล่าวว่า

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่าง ตะอฺวีล กับตะฮฺรีฟ เสียก่อน

คำว่า ตะอฺวีล ความหมายของมันก็คือ เปลี่ยนจากความหมายที่ปรากฏอยู่ชัดเจนไปสู่อีกความหมายหนึ่งโดยมีหลักฐานมายืนยัน   

ส่วนคำว่า ตะฮฺรีฟ ก็คือ การเปลี่ยนจากความหมายของคำที่ปรากฏอยู่ชัดเจนไปสู่อีกความหมายหนึ่งโดยไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนมายืนยัน จากตัวบทและสติปัญญา เช่น อิสตาวา เป็น อิสเตาลา

ดังนั้น ก็สรุปได้แล้วว่า คำว่า "ตะรีฟ" กับ "ตะวีล" มีความแตกต่างกัน เราก็สรุปได้ว่าการตะวีลเป็นที่อนุญาตในอุลามาอฺสลัฟและคอลัฟ.


ชี้แจง

ช่างเป็นสิ่งที่น่าแปลกเหลือเกินที่คุณบอกว่า การตีความคำว่า "อิสติวาอฺ" ไปสู่ความหมาย "อิสเตาลา หรือ อิสตีลาอฺ" นั้นเข้าไปอยู่ในความหมายที่เรียกว่า "ตะห์รีฟ" (บิดเบือน)  ซึ่งคุณพยายามที่จะบอกว่าการตีความตามแนวทางของอะชาอิเราะฮฺด้วยความหมายนี้ไม่ถูกต้อง นั่นเอง   คุณหารู้ไม่ว่า กำลังหุก่มอุละมาอฺที่มีความรู้มากกว่าคุณเป็นแสนๆ เท่า  ว่าเป็นพวกบิดเบือนความหมายของอัลกุรอาน ทั้งๆ ที่คุณมีความรู้แค่หางอึ่ง หากจะเทียบกับบรรดาปราชญ์เหล่านั้น คุณบอกว่า การให้ความหมาย "อิสติวาอฺ" เป็น "อิสเตาลา หรือ อิสติลาอฺ" (การปกครอง) นั้น เป็นการบิดเบือน (ตะห์รีฟ) ไม่มีหลักฐานชัดเจนที่มายืนยันในเรื่องนี้   ที่คุณพูดแบบนี้  ผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าที่คุณพูดมานั้น คุณไปหามาหรือยังว่า  ไม่มีความหมายนี้จริงๆ หรือแค่พูดตามที่คนอื่นเค้าพูดกันมาเท่านั้น  ไม่เป็นไรคับ  ไม่ว่าคุณจะหามาแล้วหรือว่ายังไม่หาก็ตาม  ผมจะชี้แจงทุกอย่าง ต่อจากนี้ไป

ก่อนอื่นคุณต้องรู้จักแนวทางของอะชาอิเราะฮฺก่อน  เพราะวะฮาบีย์พยายามที่จะยัดเยียดให้กลุ่มอะชาอิเราะฮฺ คือ กลุ่มที่ทำการตะวีลอย่างเดียว

แต่หาใช่เช่นนั้นไม่ เพราะแนวทางของอะชาอิเราะฮฺมี 2 แนวทางที่เลื่องลือ และเป็นที่ทราบกันดีในบรรดาหมู่ปราชญ์อิสลาม คือ ปราชญ์ที่ทำการตะวีล (ตีความ)  กับปราชญ์ที่ทำการตัฟวีฎ (มอบหมาย)


ท่านอิมามอันนะวาวีย์ กล่าวอธิบายว่า

اعلم أن لأهل العلم في أحاديث الصفات وآيات الصفات قولين

"ท่านจงรู้เถิดว่า แท้จริงให้กับนักปราชญ์ เกี่ยวกับบรรดาหะดิษซิฟาตและบรรดาอายาตซีฟาตนั้น มี 2 ทัศนะ" คือ

أحدهما : وهو مذهب معظم السلف أو كلهم أنه لا يتكلم في معناها , بل يقولون : يجب علينا أن نؤمن بها ونعتقد لها معنى يليق بجلال الله تعالى وعظمته مع اعتقادنا الجازم أن الله تعالى ليس كمثله شيء وأنه منزه عن التجسم والانتقال والتحيز في جهة وعن سائر صفات المخلوق , وهذا القول هو مذهب جماعة من المتكلمين , واختاره جماعة من محققيهم وهو أسلم

ทัศนะที่หนึ่ง

คือมัซฮับส่วนมากของสะลัฟหรือทั้งหมด กล่าวคือ จะไม่มีการพูดกันในความหมายของมัน แต่พวกเขากล่าวว่า จำเป็นบนเราต้องศรัทธาเชื่อด้วยกับมัน(บรรดาอายะฮ์และหะดิษซีฟาต) และเราเชื่อมั่นกับความหมายที่เหมาะสมกับความเกรียงไกรและความยิ่งใหญ่ของอัลเลาะฮ์ ตะอาลา พร้อมกับให้เราเชื่อมั่นว่า แท้จริงอัลเลาะฮ์ ตะอาลา "ไม่มีผู้ใดที่มาคล้ายเหมือนกับพระองค์" และพระองค์ทรงปราศจากการเป็นร่างกาย(ตัวตน) ปราศจากการเคลื่อนไหว ปราศจากการอยู่ในทิศใดทิศหนึ่ง และปราศจากการเหมือนบรรดาคุณลักษณะอื่น ๆ ของบรรดามัคโลค และนี้คือทัศนะคำกล่าวของมัซฮับกลุ่มหนึ่งจากอุลามาอ์กะลาม และกลุ่มหนึ่งจากอุลามาอ์กะลามที่ทรงความรู้อันแน่นแฟ้นได้เลือกเฟ้น และมันคือทัศนะที่ปลอดภัยกว่า"

والقول الثاني : وهو مذهب معظم المتكلمين أنها تتأول على ما يليق بها على حسب مواقعها , وإنما يسوغ تأويلها لمن كان من أهله بأن يكون عارفا بلسان العرب وقواعد الأصول والفروع , ذا رياضة في العلم

ทัศนะที่สอง

คือมัซฮับส่วนมากของอุลามาอ์มากะลาม กล่าวคือ บรรดาอายะอ์และหะดิษจะถูกตีความ(ตะวีล)บนคุณลักษณะที่เหมาะสมตามแต่สถานที่ ของมัน และแท้จริง อนุญาตให้ทำการตีความมันได้ สำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติเท่านั้น โดยเขาต้องมีความรู้ภาษาอาหรับและกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ของหลักพื้นฐานและข้อปลีกย่อย อีกทั้งต้องมีความชำนาญปราดเปรื่องในวิชาความรู้"

ในขณะที่ท่านอิมามนะวะวีย์  ได้ทำการอธิบายถึงหะดิษที่เกี่ยวกับซิฟาตของอัลลอฮฺ ท่านได้อธิบายจุดยืนหลักอะกีดะฮ์ของ อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์  ว่า

هذا الحديث من أحاديث الصفات , وفيها مذهبان تقدم ذكرهما مرات في كتاب الإيمان . أحدهما : الإيمان به من غير خوض في معناه , مع اعتقاد أن الله تعالى ليس كمثله شيء وتنزيهه عن سمات المخلوقات . والثاني تأويله بما يليق به , فمن قال بهذا قال : كان المراد امتحانها , هل هي موحدة تقر بأن الخالق المدبر الفعال هو الله وحده , وهو الذي إذا دعاه الداعي استقبل السماء كما إذا صلى المصلي استقبل الكعبة ؟ وليس ذلك ; لأنه منحصر في السماء كما أنه ليس منحصرا في جهة الكعبة , بل ذلك لأن السماء قبلة الداعين , كما أن الكعبة قبلة المصلين , أو هي من عبدة الأوثان العابدين للأوثان التي بين أيديهم , فلما قالت : في السماء , علم أنها موحدة وليست عابدة للأوثان

ًًฮะดิษนี้  เป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาฮะดิษซีฟาต  และเกี่ยวกับบรรดาฮะดิษซีฟาตนั้น  มี  2  แนวทาง (ซึ่งทั้ง 2 แนวทางก็คือแนวทางของอัลอะชาอิเราะฮ์) ตามที่ได้กล่าวผ่านมาแล้วในกิตาบอัลอีหม่าน ก็คือ

(1) ให้ศรัทธาด้วยกับฮะดิษนี้  โดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในความหมายของมัน  พร้อมกับเชื่อว่าอัลเลาะฮ์ตะอาลานั้นไม่มีสิ่งใดคล้ายเหมือนกับพระองค์  และพระองค์ทรงบริสุทธิ์จากสัญลักษณ์ของบรรดามัคโลค (คือแนวทางสะละฟุศศอลิห์โดยรวม)

(2) ให้ทำการตีความ(ตะวีล) ฮะดิษนี้ด้วยสิ่งที่เหมาะสมต่อพระองค์  (คือแนวทางของค่อลัฟโดยรวม)


ดังนั้น  ผู้ที่ได้กล่าวด้วยกับการตีความนี้  เขาก็จะกล่าวว่า  จุดมุ่งหมายก็คือ  การทดสอบตัวนาง(ทาสหญิงผิวดำที่เป็นเด็ก)  ว่านางนั้นเป็นผู้ที่เชื่อในอัลเลาะฮ์องค์เดียวหรือไม่ ยอมรับว่าผู้ทรงสร้าง  เป็นผู้ทรงบริหาร  ผู้ทรงกระทำ(ตามที่พระองค์ทรงประสงค์) คืออัลเลาะฮ์องค์เดียวหรือไม่?  และพระองค์คือผู้ที่ผู้วอนขอต่อพระองค์ได้ทำการผินไปยังท้องฟ้าเหมือนกับที่ ผู้ทำการละหมาดได้ผินไปทางกิบลัตหรือไม่? 
ซึ่งดังกล่าวนั้น  ไม่ใช่เพราะพระองค์ทรงจำกัดอยู่ในฟ้ากฟ้าเฉกที่พระองค์ก็ไม่ได้จำกัดอยู่ใน ทิศกะบะฮ์  แต่ทว่าสิ่งดังกล่าวเพราะท้องฟ้าเป็นกิบลัต(ทิศ)ของผู้ที่วอนขอดุอา  เหมือนกับ  กะบะฮ์เป็นกิบลัต(ทิศ)ของผู้ที่ทำการละหมาด  หรือว่า(เพื่อสอบว่า)นางเป็นส่วนหนึ่งจากผู้ที่กราบไว้รูปปั้นที่อยู่ในมือของพวกเขาหรือไม่?ดังนั้นในขณะที่นางได้กล่าวว่า  อยู่ในฟ้า  ก็รู้เลยว่านางเป็นผู้ที่นับถือพระองค์เพียงองค์เดียวไม่ใช่เป็นผู้กราบไหว้ เจว็ด" ดู  ชัรหฺ ซอเฮี๊ยะหฺมุสลิม ของอิมาม อันนะวาวีย์ เล่ม 5 หน้า 24


ท่านอิมาม อัลมุจญฺฮิด อัลฟาฟิซฺ ตะญุดดีน อัศศุบกีย์ ปราชญ์อะชาอิเราะฮฺ กล่าวว่า

للأشاعرة قولان مشهوران في إثبات الصفات، هل تمر على ظاهرها مع اعتقاد التنزيه أو تؤول؟ والقول بالإمرار مع اعتقاد التنزيه هو المعزو إلى السلف، وهو اختيار الإمام في الرسالة النظامية، وفي مواضع من كلامه فرجوعه معناه الرجوع عن التأويل إلى التفويض، ولا إنكار في هذا، ولا في مقابله، فإنها مسألة اجتهادية، أعني مسألة التأويل أو التفويض مع اعتقاد التنزيه، إنما المصيبة الكبرى والداهية الدهياء الإمرار على الظاهر، والاعتقاد أنه المراد، وأنه لا يستحيل على الباري، فذلك قول المجسمة عُبَّاد الوثن، الذين في قلوبهم زيغ يحملهم على اتباع المتشابه ابتغاء الفتنة، عليهم لعائن الله تَتْرى واحدة بعد أخرى، ما أجرأهم على الكذب وأقلَّ فهمهم للحقائق.اهـ

"ให้กับ(แนวทาง)อัลอะชาอิเราะฮ์นั้น มีอยู่สองทัศนะที่เลื่องลือ เกี่ยวกับการยืนยันเรื่องซิฟาต , คือผ่านมันไปกับความหมายผิวเผิญของมัน พร้อมกับยึดมั่นกับความบริสุทธิ์(จากการไปคล้ายเหมือนกับมัคโลค) หรือว่าให้ทำการตีความ(ตะวีล)? และทัศนะคำกล่าว ด้วยการผ่านมันไป พร้อมกับการยึดมั่นกับความบริสุทธิ์นั้น ก็คืออ้างไปยังทัศนะของสะลัฟ และมันก็คือทัศนะที่อิมาม(อัลญุวัยนีย์) ได้ทำการเลือกเฟ้นไว้ในหนังสือ อัรริซาละฮ์ อันนิซฺอมียะฮ์ และในสถานที่ต่างๆ ที่มาจากคำกล่าวของเขา(ท่านอิมามอัลญุวัยนีย์) ดังนั้น การที่ท่านได้ยกเลิกจากการให้ความหมายมัน คือการที่ท่านอิมามได้ยกเลิกจากการตีความโดยกลับไปสู่การมอบหมาย โดยที่ไม่มีการตำหนิใดๆ ในสิ่งดังกล่าวนี้(คือการมอบหมาย) และไม่มีการตำหนิกับสิ่งที่ตรงข้ามกับมัน(คือการตีความ) ฉะนั้น บรรดาคำพูดของท่านอิมามอัลญุวัยนีย์ ก็อยู่ในประเด็นของการวินิจฉัย ฉันหมายถึง ประเด็นของการตีความและมอบหมายพร้อมกับยึดมั่นในความบริสุทธิ์ แต่ แท้จริง ความวิบัติอันยิ่งใหญ่และการหลอกลวงที่มีเล่ห์เหลี่ยม ก็คือการผ่านมันไปบนความหมายแบบผิวเผิญโดยยึดมั่นว่า แท้จริงความหมายแบบผิวเผิญนั้น  คือ  จุดมุ่งหมาย และไม่ถือว่า(ความหมายแบบผิวเผิน)เป็นสิ่งที่มุสติฮีลต่ออัลเลาะฮ์

ดังนั้น สิ่งดังกล่าวนี้ คือ คำกล่าวของกลุ่ม อัลมุญัสสิมะฮ์ ผู้อิบาดะฮ์กับรูปเจว็ด ที่บรรดาหัวใจของพวกเขานั้น มีความเบี่ยงเบนที่ทำให้พวกเขาอยู่บนการตามความเคลือบแคลง เพื่อแสวงหาความฟิตนะฮ์ บรรดาอัปเปหิของอัลเลาะฮ์ ได้ประสบแก่พวกเขาอย่างต่อเนื่องครั้งแล้วครั้งเล่า และมันเป็นความอาจหาญต่อความโกหกและขาดความเข้าใจกับบรรดาข้อเท็จจริงของพวก เขาเสียกระไรนี่!" ดู หนังสือ เฏาะบะก๊อต อัชชาฟิอียะฮ์ อัลก๊อบรอ เล่มที่ 5 หน้า 191

ดังนั้น

จึงเข้าใจได้ว่าปราชญ์อะชาอิเราะฮฺนั้น คือ ปราชญ์ที่ทำการมอบหมายความหมายและวิธีการสู่อัลลอฮฺ ตะอาลา และปราชญ์อะชาอิเราะฮฺอีกกลุ่มหนึ่ง คือ ปราชญ์ที่ทำการตีความกุรอานและหะดิษเพื่อให้เหมาะสมกับความสูงส่งและความยิ่งใหญ่ของพระองค์ พร้อมทั้งมอบหมายแด่อัลลอฮฺตะอาลา  แต่การโจมตีอัลอะชาอิเราะฮ์ของวะฮาบีย์ปัจจุบันนั้น  เขาจะพยายามยัดเยียดให้อัลอะชาอิเราะฮ์เป็นฝ่ายที่ตีความเพียงอย่างเดียวเท่านั้น  แล้วก็ทำการวิจารณ์   นั่นคือการกระทำของผู้ที่มีความอคติต่ออัลอะชาอิเราะฮ์  โดยไม่มุ่งหวังที่จะทำความเข้าใจหลักอะกีดะฮ์ของอัลอะชาอิเราะฮ์ที่นักปราชญ์ส่วนใหญ่ให้การรับรองเลย 


อ้างจาก "การตีความ "อิสติวาอฺ" ไปเป็น "อิสเตาลา" นั้น เป็นการบิดเบือน ตามทัศนะของวะฮาบีย์"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เม.ย. 10, 2012, 03:30 PM โดย Al Fatoni »
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ lungmaprau

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 13
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ลุงได้อ่านมาว่า "มุอตาซิละห์ได้พยายามตีความโองการอัลกุรอานให้อยู่ภายใต้ปราชญ์และปรัชญาของพวกเขา" นี่คือสาเหตุหรือเปล่า ที่อะชาอิเราะห์จำเป็นต้องตีความ(ตะวีล)โองการอัลกุรอาน เพื่อตอบโต้แนวคิดของกลุ่มมุตาซิละห์
ขอความกระจ่างด้วยครับ

จากลุงมะพร้าว ผู้เรียนมาน้อย

ออฟไลน์ hiddenmin

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2453
  • เพศ: ชาย
  • 404 not found
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
    • Ikhlas Studio
สะลัฟก็มีการตีความในบางส่วนครับ

ออฟไลน์ خيرالاخوان

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 168
  • เพศ: ชาย
  • بيار فوتيه تولڠ جاڠن فوتيه مات
  • Respect: +7
    • ดูรายละเอียด
สะลัฟก็มีการตีความในบางส่วนครับ

งั้นก็แสดงว่า ทั้งสะลัฟและคอลัฟต่างก็มีสองแนวเหมือนกันคือ ตะวีล และมอบหมาย????
+ปลื้มข้อความไหน หรือคิดว่าข้อความไหนเป็นประโยชน์แก่ท่านและสาธารณะ กดไลค์ด้วยนะครับ มุมขวาบน+

 

GoogleTagged