อายะฮ์ที่ 7 ซูเราะอ์ อาลิอิมรอน ที่ว่า......
هُوَ الَّذِيَ أَنزَلَ عَلَيْكَ الْكِتَابَ مِنْهُ آيَاتٌ مُّحْكَمَاتٌ هُنَّ أُمُّ الْكِتَابِ وَأُخَرُ مُتَشَابِهَاتٌ فَأَمَّا الَّذِينَ في قُلُوبِهِمْ زَيْغٌ فَيَتَّبِعُونَ مَا تَشَابَهَ مِنْهُ ابْتِغَاء الْفِتْنَةِ وَابْتِغَاء تَأْوِيلِهِ وَمَا يَعْلَمُ تَأْوِيلَهُ إِلاَّ اللّهُ وَالرَّاسِخُونَ فِي الْعِلْمِ يَقُولُونَ آمَنَّا بِهِ كُلٌّ مِّنْ عِندِ رَبِّنَا وَمَا يَذَّكَّرُ إِلاَّ أُوْلُواْ الألْبَابِ
"พระองค์ทรงประทานคำภีร์ให้ลงมายังเจ้า ซึ่งมีบางส่วนมีความชัดเจน(จะตีความเปนอื่นไม่ได้) โองการเหล่านั้นเป็นแม่บทแห่งคำภีร์ และโองการอื่นๆ ที่มีโวหารคลุมเคลือ (ที่มีความหมายหลายนัยต้องตีความถึงจะเข้าใจ) อนึ่งบรรดาผู้ที่มีความรวนเรในหัวใจของพวกเขานั้น พวกเขาก็จะถือตามข้อความที่คลุมเคลือจากมัน เพื่อหวังสร้างวิกฤติกาล และหวังที่จะตีความมัน (ตามใจชอบของพวกเขาเอง) และไม่(มีใคร)รู้การตีความมันได้หรอก นอกจากอัลเลาะฮ์เท่านั้น และบรรดาผู้ที่เชี่ยวชาญในความรู้ พวกเขาจะกล่าวว่า "เราขอศรัทธาต่อโองการนั้น ทุกๆ โองการล้วนมาจากองค์อภิบาลของเราทั้งสิ้น" และจะไม่สำนึกหรอกนกจากโดยผู้มีวิจารณญาณเท่านั้น"
ท่านอิมามอันนะวาวีย์ได้อธิบายว่า
وَيُطْلَق عَلَى مَا وَرَدَ فِي صِفَات اللَّه تَعَالَى مِمَّا يُوهِم ظَاهِره الْجِهَة وَالتَّشْبِيه , وَيَحْتَاج إِلَى تَأْوِيل . وَاخْتَلَفَ الْعُلَمَاء فِي الرَّاسِخِينَ فِي الْعِلْم هَلْ يَعْلَمُونَ تَأْوِيل الْمُتَشَابِه ؟ وَتَكُون الْوَاو فِي { وَالرَّاسِخُونَ } عَاطِفَة أَمْ لَا ؟ وَيَكُون الْوَقْف عَلَى { وَمَا يَعْلَم تَأْوِيله إِلَّا اللَّه } , ثُمَّ يَبْتَدِئ قَوْله تَعَالَى : { وَالرَّاسِخُونَ فِي الْعِلْم يَقُولُونَ آمَنَّا بِهِ } وَكُلّ وَاحِد مِنْ الْقَوْلَيْنِ مُحْتَمَل , وَاخْتَارَهُ طَوَائِف , وَالْأَصَحّ الْأَوَّل , وَأَنَّ الرَّاسِخِينَ يَعْلَمُونَهُ لِأَنَّهُ يَبْعُد أَنْ يُخَاطِب اللَّه عِبَاده بِمَا لَا سَبِيل لِأَحَدٍ مِنْ الْخَلْق إِلَى مَعْرِفَته , وَقَدْ اِتَّفَقَ أَصْحَابنَا وَغَيْرهمْ مِنْ الْمُحَقِّقِينَ عَلَى أَنَّهُ يَسْتَحِيل أَنْ يَتَكَلَّم اللَّه تَعَالَى بِمَا لَا يُفِيد . وَاَللَّه أَعْلَم .
"คำที่มีความหมายคลุมเคลือ(หลายนัย)นั้น ถูกนำมาใช้กับตัวบทที่รายงานมาเกี่ยวกับบรรดาซีฟาตของอัลเลาะฮ์ตะอาลา ที่ความหมายผิวเผินของมันทำให้เข้าใจผิดไปว่าอัลเลาะฮ์ทรงมีทิศหรือมีคุณลักษณะคล้ายคลึงกับมัคโลค และบรรดานักปราชญ์ได้มีทัศนะแตกต่างกันเกี่ยวกับ บรรดาผู้เชี่ยวชาญในความรู้นั้น พวกเขารู้การตีความอายะฮ์ที่มีความหมายหลายนัยหรือเปล่า? และอักษรวาวในคำว่า { وَالرَّاسِخُونَ } นั้นเป็นวาวอะฏัฟ(เชื่ยมโยง)กับคำว่าอัลเลาะฮ์หรือไม่? (คือหมายถึงอัลเลาะฮ์และผู้เชี่ยวชาญในความรู้นั้นรู้เกี่ยวกับอายะฮ์ที่มีความหมายหลายนัย) หรือให้อ่านหยุดบนถ้อยคำที่ว่า { وَمَا يَعْلَم تَأْوِيله إِلَّا اللَّه } แล้วทำการเริ่มอ่านคำตรัสของพระองค์ใหม่ว่า { وَالرَّاسِخُونَ فِي الْعِلْم يَقُولُونَ آمَنَّا بِهِ } ดังนั้น ทุก ๆ ทัศนะคำพูดจากทั้งสองนั้น ก็มีการตีความกันไป และมีปราชญ์หลายกลุ่มเลือกทัศนะที่สอง (คือให้อ่านหยุดบนถ้อยคำ....หมายถึงอัลเลาะฮ์องค์เดียวเท่านั้นที่รู้)
แต่ทว่าทัศนะที่ถูกต้องชัดเจนยิ่งคือ ทัศนะแรก (คือหมายถึงอัลเลาะฮ์และผู้เชี่ยวชาญในความรู้นั้นรู้เกี่ยวกับอายะฮ์ที่มีความหมายหลายนัย) คือแท้จริงบรรดาผู้เชี่ยวชาญในความรู้นั้น ต่างก็รู้การตีความ(อายะอ์ที่มีความหมายหลายนัย) เพราะถือว่าห่างไกล(เป็นไปไม่ได้)เหลือเกินที่อัลเลาะฮ์ทรงตรัสกับปวงบ่าวของพระองค์ด้วยกับสิ่งที่ไม่มีหนทางใดที่มัคโลค(จากปวงปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญในความรู้)จะทำการรู้จักความหมายมันได้ และบรรดาปวงปราชญ์แห่งเราและปราชญ์ท่านอื่น ๆ ที่เน้นแฟ้นในวิชาความรู้ ได้เห็นพร้องต้องกันว่า เป็นไปไม่ได้ที่อัลเลาะฮ์จะทรงตรัสด้วยกับสิ่งที่ไม่มีประโยชน์(คือด้วยกับสิ่งที่นักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญในความรู้ไม่เข้าใจ) วัลลอฮุอะลัม" หนังสือชัรห์ซอฮิห์มุสลิม : 8/471