بسم الله الرحمن الرحيم
الحمد لله رب العالمين و الصلاة والسلام على سيدنا محمد وعلي اله وصحبه أجمعين
ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้แบ่งมรดก มีหน้าที่แบ่งมรดกเท่านั้น ส่วนสิทธิในการได้รับมรดกนั้น คือทายาท ซึ่งหากทายาทเรียกร้องให้แบ่งมรดก ก็จำเป็นต่อผู้จัดการมรดก ดำเนินการตามหลักการอิสลาม การล่าช้าแบ่งมรดก จะสร้างความเดือนร้อนแก่ทายาทผู้มีสิทธิ์ได้รับมรดกอย่างแท้จริง และผู้ล่าช้าในการแบ่งมรดกในขณะที่ทายาทมีความต้องการนั้น ถือว่าเขาเป็นผู้สร้างความกระด้างกระเดื่องและตัดขาดสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติ ถือว่าเป็นบาปใหญ่
กรณีที่ปู่ของคุณเสียชีวิต
ย่า (ภรรยาของปู่) จะได้รับ เศษ 1 ส่วน 8
แม่ของปู่ จะได้รับ เศษ 1 ส่วน 6
ส่วนบรรดาลูก 3 คน และลูกสาว 2 คนนั้น จะได้รับ อะซ่ะเบาะฮ์ (มรดกส่วนที่เหลือ) ร่วมกัน ชายจะได้ 2 ส่วน และหญิงจะได้ 1 ส่วน
คือสมมุติว่า หากส่วนมรดกที่เหลือ มี 300000 บาท (สามแสนบาท) ลูกชายจะได้รับ 200000 บาท (สองแสนบาท) แล้วนำไปหารกับ 3 ตามจำนวนของลูกชาย แล้วก็นำมาแบ่งให้ลูกชาย 3 เท่า ๆ กันตามจำนวนหารดังกล่าว ส่วนลูกหญิงจะได้รับ 1 ส่วน คือ 100000 บาท (แสนบาท) แล้วนำมาหารกับ 2 ตามจำนวนลูกหญิงที่มีอยู่ แล้วนำมาแบ่งตามจำนวนหารดังกล่าว
والله أعلى وأعلم