หลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับน้ำท่วม
ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ ณ ตอนนี้เราได้ย้อนรำลึกถึงชนชาติบางกลุ่มที่ถูกทำลาย
โดยที่เรื่องราวดังกล่าวได้ถูกกล่าวไว้แล้วในอัลุรอาน
จากหลักฐานทางโบราณคดีชี้ความจริงข้อหนึ่งว่ามีความเป็นไปได้ที่ชนชาติที่ถูกทำลายอย่างทันทีทันใดนั้น
คือชนชาติเดียวกับที่เราได้เจอร่องรอยเศษกระดูก
ซึ่งในกรณีนี้หลักฐานดังกล่าวมักจะมีความสมบูรณ์ค่อนข้างสูง
ยังคงมีร่องรอยของบ้านเรือนและเครื่องใช้ต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ถูกฝังอยู่ใต้ดินเป็นระยะเวลานาน
ไม่เคยผ่านการแตะต้องจากมือมนุษย์ ซึ่งหลักฐานเหล่านี้เมื่อขุดค้นขึ้นมา
จะมีประโยชน์ต่อการศึกษาเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต
และมีประโยชน์มากต่อเรื่องราวที่เรากำลังศึกษา
เมื่อเรานึกย้อนถึงสิ่งที่เคยเกิดขึ้นอดีต ในช่วง 3000 ปีก่อนคริสตกาล
จะเห็นว่าทุกทกภัยได้ทำลายอารยธรรมทั้งหมดภายในพริบตา
แล้วก็จะเกิดอารยธรรมใหม่ขึ่นมาแทนที่
สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจริงจากหลักฐานที่ถูกฝังอยู่ใต้ดินนานนับพันปี
ดังนั้นพวกเราควรใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง
จากการค้นคว้าของนักโบราณคดี พบว่ามีเมืองทั้งหมด 4 เมืองที่เคยประสบอุทกภัยในเมโสโปเตเมีย
ซึ่งแต่ละเมืองก็เป็นเมืองที่สำคัญ เมืองเหล่านี้ก็คือ เมืองอูร์ ( Ur ) เมืองอีเร็ซ ( Erech )
เมืองคิช ( Kish ) และชุรุปปัก ( Shurup pak )
การขุดค้นในเมืองอูร์ ซึ่งเป็นเมืองแรกที่มีการขุดค้น
ในปัจจุบันก็คือ เมืองเทล อัลมุก็อยยารฺ ( Tel Al Muqqayar )
ย้อนอดีตไปประมาณ 7000 ปีก่อนคริสกาล เมืองนี้เป็นเมืองหนึ่งที่มีอารยธรรมเก่าแก่ที่สุด
และเป็นศูนย์ลางวัฒนธรรมในสมัยโบราณ
การศึกษาทางโบราณคดีพบว่าหลังจากเกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่ในบริเวณเมืองนี้
อารยธรรมของเมืองอูร์ก็หยุดชะงักลง และได้เกิดอารยธรรมใหม่เข้ามาแทนที่
นักโบราณคดีที่เข้ามาขุดค้นในเมืองนี้เป็นคนแรก คือ อาร์.เอช.ฮอลล์ ( R.H. Hall )
จากพิพิธภัณฑ์แห่งประเทศอังกฤษ ( British Museum )
คนต่อมาคือ ลีโอนาร์ด วูลีย์ ( Leonard Woolley )
ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะสำรวจของพิพิธภัณฑ์แห่งประเทศอังกฤษ และมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
โดยอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของวูลลีย์ เริ่มทำการสำรวจตั้งแต่ปี 1922-1934
บริเวณที่เซอร์วูลลีย์ได้ทำการขุดสำรวจก็คือทะเลทรายระหว่างกรุงแบกแดดและอ่าวเปอร์เซีย
สิ่งแรกที่ทีมสำรวจขุดเจอในเมืองอูร์ก็คือ โครงกระดูกของมนุษย์วพวกหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า
"อุบัยเดียน" ( Ubaidian ) ซึ่งได้อพยพมาจากตอนเหนือของเมโสโปเตเมีย
โครงกระดูกของมนุษย์เหล่านี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการค้นคว้าและเก็บข้อมูลโดย
วอร์เนอร์ เคลเลอร์ ( Warner Keller ) นักโบราณคดีชาวเยอรมัน
เขาได้ทำการอธิบายการขุดค้นดังกล่าวดังนี้
"สุสานแห่งกษัตริย์อูร์" ..........
โปรดติดตามต่อไป...
ด้วยจิตคารวะ