ผู้เขียน หัวข้อ: บรรดาความหมาย ของ “บาอฺ” ที่มิได้ระบุไว้ใน ตำรา “อัล-อาวามิ้ล อัล-มิอะฮ์”(ตอนที่ 3)  (อ่าน 2399 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มารบูรพาอึ้งเอี๊ยะซือ

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 23
  • Respect: +14
    • ดูรายละเอียด

บรรดาความหมาย ของ “บาอฺ” ที่มิได้ระบุไว้ใน ตำรา “อัล-อาวามิ้ล อัล-มิอะฮ์”:



 ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าเจ้าของตำรา “ชัรห์ อัล-อัชมุนีย์” ได้ระบุไว้ในตำราของท่านว่า ความหมายของ “บุพบท อักษร บาอฺ” นั้น มีอยู่ 15 ความหมาย (ซึ่งจะกล่าวเพิ่มเติมไปจากบรรดาความหมายเดิมที่ได้นำเสนอไปแล้ว จากความหมายที่ หนึ่ง ถึง ความหมายที่แปด) มีดังนี้ :

 (9) ความหมายที่เก้า : (البَدَلِيَّة) “อัล-บ่าดาลี้ยะฮ์” (หมายถึง การทดแทน) . 
ซึ่งข้อสังเกต : คือ สามารถนำคำว่า “بَدَلٌ” (แทน) มาวาง ณ ตำแหน่งของ “บุพบท บาอฺ” ได้อย่างเหมาะสม .
ตัวอย่างเช่น :
- ฮาดิษที่ว่า   ( مَا يَسُرُّنِي بِهَا حُمُرُ النَّعَمِ) “ไม่ปิติใจแก่ฉันเลยโดยการที่จะให้อูฐแดงมาแทนที่มัน(ละหมาดศุกร์)” (รายงานโดย  อัล-บัยฮะกีย์ 1453  ในตำรา อัส-สุนัน อัล-กุบรอ)
- และคำกล่าวของท่าน รอฟิอฺ บิน คอดีจญฺ ซึ่งเป็นอัครสาวก ของท่านศาสดา(ซอลลัลลอฮุ อะลัยฮิวาซัลลัม)ที่ว่า (ما يَسُرُّني أني شَهِدتُ بَدْراً بالعَقَبَة) أي بَدَلها  “ไม่ปิติใจแก่ฉันเลยโดยการที่ฉันจะมรณสักขี ณ สมรภูม บะดัร มาแทนที่ (เหตุการณ์สนธิสัญญา) อัล- อะกอบะฮ์ ”.
และ ข้อแบ่งแยกระหว่าง “บาอฺ อัล-บะดั้ล” (بَاء البَدَل)  และ “บาอฺ อัล-อิวัฎด์” (بَاء العِوَض)  ก็ได้กล่าวไปแล้วใน ความหมายที่สี่ : (المُقَابَلة) “อัล-มุกอบะละฮฺ”.

(10) ความหมายที่สิบ : (السَبَبِيَّة) “อัส-สะบาบียะฮ์” (หมายถึง สาเหตุอันเนื่องมาจาก) . 
ตัวอย่างเช่น :
-โองการที่ว่า (إِنَّكُمْ ظَلَمْتُمْ أَنْفُسَكُمْ بِاتِّخَاذِكُمُ الْعِجْلَ)  “(โอ้หมู่คณะ)แท้จริงท่านทั้งหลายได้ฉ้อฉลตัวของพวกท่านเองด้วย(สาเหตุ)ที่ท่านทั้งหลายได้หลอมรูปลูกวัวขึ้น(เพื่อการบูชา)”(อัล-บากอเราะฮ์ :54).
-และโองการที่ว่า (فَكُلًّا أَخَذْنَا بِذَنْبِهِ)   “แท้จริงแต่ละคนนั้นเราได้ทำลายล้างด้วย(เพราะสาเหตุ)บาปของพวกเขา”(อัล-อังกาบูต :40 ).
-และโองการที่ว่า  (فَبِمَا نَقْضِهِمْ مِيثَاقَهُمْ لَعَنَّاهُمْ)   “เป็นเพราะพวกเขาทำลายสัญญาของพวกเขาเอง เราจึงสาปแช่งพวกเขา(ไม่ให้ได้รับความเมตตาของเรา)”(อัล-มาอิดะฮ์ :13 ).
ความสัมพันธ์ระหว่าง  (السَبَبِيَّة) “อัส-สะบาบียะฮ์”และ   (التَّعْلِيْل)“อัต-ตะอฺลี้ล” :
นักวิชาการบางท่าน (เช่นท่าน อัล-อัชมุนีย์) ได้ระบุเพิ่มความหมาย   (التَّعْلِيْل)“อัต-ตะอฺลี้ล” ให้กับบุพทบาอฺ โดยนับเอกเทศ แยกย่อยออกมาเป็นหนึ่งความหมายโดยลำพัง ทว่า ตามทัศนะที่มีน้ำหนักแล้ว สมควรที่จะจัดเข้าไปอยู่ภายใต้ ความหมายของ  (السَبَبِيَّة) “อัส-สะบาบียะฮ์” ดังที่ได้ระบุไว้ ใน ตำรา “อัลมุฆนีย์” และตำราเล่มอื่นๆ  อันเนื่องมาจากกฏเกณฑ์ทีว่า  (لأن التعليلية والسببية شيء واحد)  “เพราะว่า“อัต-ตะอฺลีล” และ“อัส-สะบาบียะฮ์”  นั้นเป็นสิ่งเดียวกัน” เฉกเช่นที่ได้กล่าวไว้โดย ท่าน อาบูหัยยาน  ท่าน อัซ-ซูยูตีย์ และ ท่านอื่นๆ .
     แต่ท่าน ยะยา (อาบู ซะการียา อิบนุ ซียาด อัลฟัรรออฺ) ได้ทำการแบ่งแยกระหว่าง  ระหว่าง العلة  (อัลอิ้ลละฮ์) และ السبب (อัส-สะบับ) กล่าวคือ :
-อัล-อิลละฮ์  : จะตกหลังในการเกิด(นอกจิตใจ) และตกก่อนภายในจิต นั่นคือ เหตุผล ที่ซุ่มซ่อนอยู่ และเป้าหมายต่างๆ.
-อัส-สะบับ :  จะตกก่อนทั้งในจิต และนอกจิต.
ความสัมพันธ์ระหว่าง  (السَبَبِيَّة) “อัส-สะบาบียะฮ์”และ  (الاسْتِعَانَة)“อัล-อิสติอานะฮฺ”:
เราก็ได้ทราบกันไปแล้วสำหรับ ข้อแบ่งแยกระหว่างทั้งสองความหมายนี้ใน ความหมายที่สอง  (الاسْتِعَانَة) “อัล-อิสติอานะฮฺ” (การขอความช่วยเหลือ)(ซึ่งการแบ่งแยกดำเนินไปตามทัศนะของ นักวิชาการ  อัล-อันดาลุซิยูน الأندلوسيون).
     อันเนื่องมาจากความคล้ายคลึงและไกล้เคียงกันของทั้งสองความหมาย ทำให้ นักวิชาการบางท่านจัดให้  “อัล-อิสติอานะฮฺ” เข้าอยู่ภายใต้ ความหมายของ   “อัส-สะบาบียะฮ์” ด้วยเหตุนี้เองท่าน ท่านอาบู หัยยาน กล่าวว่า “ตามทัศนะของท่าน อิบนิมาลีกที่ว่าบาอฺ“อัล-อิสติอานะฮฺ” เข้าอยู่ภายใต้ ความหมายของ  บาอฺ “อัส-สะบาบียะฮ์” นั้นเป็นคำพูดที่เขา(อิบนุมาลีก)มีทัศนะแยกออกไปลำพังเพียงผู้เดียว ”.
     แต่ท่าน อัร-ริฎอ กล่าวว่า   (السَّبَبِيَّة فرع الِاسْتِعَانَة) ”อนึ่ง“อัส-สะบาบียะฮ์” เป็นแขนงหนึ่งของ “อัล-อิสติอานะฮฺ” ด้วยเหตุนี้เองท่าน อิบนุ มาลีกได้กล่าวไว้แค่ “อัล-อิสติอานะฮฺ” ในตำรา “อัล-กาฟิยะฮ์ อัล-กุบรอ”ในทางกลับกัน ท่าน ได้กล่าวไว้แค่ “อัส-สะบาบียะฮ์” ในตำรา “อัต-ตัสฮี้ล”.
      ทว่า ท่าน อิบนุมาลีก ได้ระบุทั้งสองความหมายไว้ในตำรา”อัล-คุลาเซาะฮ์”ของท่าน และ ท่าน อิบนุ หิชาม ก็ได้ทำเช่นเดียวกัน ในตำรา “อัล-มุฆนีย์”.
      ซึงกรณีดังกล่าวนี้มีผลอย่างยิ่งต่อ หลักวิชา อัล-อากีดะฮ์ กล่าวคือ การใช้สำนวน “อัส-สะบาบียะฮ์”  ในหมวด “อัฟอ้าลของอัลลอฮ์”(الأَفْعَال المَنْسُوْبَة إِلَى اللّه) เป็นที่อนุญาตให้กระทำได้ ในขณะที่การใช้ สำนวน“อัล-อิสติอานะฮฺ”  นั้นกลับเป็นที่ต้องห้าม.
 
(11) ความหมายที่สิบเอ็ด : (التَّبْعِيْض) “อัต-ตับอีฎ” (หมายถึง ส่วนหนึ่ง) . 
ตัวอย่างเช่น :
-โองการที่ว่า (عَيْنًا يَشْرَبُ بِهَا عِبَادُ اللَّهِ)  “มันเป็นสายน้ำ(ในสวรรค์) ซึ่งบรรดาข้าทาส(ผู้ภักดี)แห่งอัลลอฮ์ดื่มจากมัน”(อัล-อินซาน:6).
นักวิชาการมีความขัดแย้งกันถึง ความหมายของบาอฺ ในโองการ (وَامْسَحُوا بِرُءُوسِكُمْ وَأَرْجُلَكُمْ إِلَى الْكَعْبَيْنِ ) “และพวกเจ้าจงเช็ดศรีษะ และ (จงล้าง) เท้าของพวกเจ้าจงถึงตาตุ่ม”  (อัล-มาอิดะฮ์ : 6)
   -   ท่านอิบนุ ญินนีย์ และ ส่วนมากจาก นักวิชาการนะฮู ปฏิเสธ ความหมาย“อัต-ตับอีฎ”  นี้ในบุพบทบาอฺ
   -  นักวิชาการ สำนัก “อัลกูฟียูน (الْكُوْفِيُّوْن)” และ ท่าน “อัล-อัศมะอีย์” ท่าน “อัล-ฟาริซีย์” ท่าน “กุตาบีย์” ตลอดจนท่าน “อิบนุมาลีก” ได้มีทัศนะว่า “อัต-ตับอีฎ” เป็นหนึ่งจากความหมายของบุพบท บาอฺ โดยท่านได้อิงหลักฐานด้วยอายะฮ์ อัล-กุรอ่าน โองการ(عَيْنًا يَشْرَبُ بِهَا عِبَادُ اللَّهِ)    ข้างต้น.
ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้ มีผลอย่างยิ่งต่อ นักปราชญ์ฟิกฮฺ นิติศาสตร์อิสลาม ตามสำนัก มัซฮับทั้งสี่ ในการวินิจฉัยฮุก่มจากอัลกุรอ่าน ในเรื่องการเช็ดศรีษะในการอาบน้ำละหมาด กล่าวคือนักวิชาการมีความขัดแย้งกันถึง ความหมายของบาอฺ ในโองการ (وَامْسَحُوا بِرُءُوسِكُمْ وَأَرْجُلَكُمْ إِلَى الْكَعْبَيْنِ)  ข้างต้น โดย
- ท่าน อีหม่าม มาลีกีย์ เห็นว่า บาอฺ ในโองการนี้มีความหมาย “อัล-อิลศอก”(الْإَلْصَاق)(ซึ่งเราได้ทราบไปแล้วในควมหมายที่หนึ่งของ “บุพบท บาอฺ”) ดังนั้นมัซฮับ มาลีกีย์ จึงมีความเห็นว่า การเช็ดศีรษะนั้นต้องเช็ดทั้งหมดของเขตศรีษะ เพราะ “ บาอฺ อิลศอก” จะให้ความหมายที่ครอบคลุมทั้งหมด.
-ขณะที่ท่าน อีหม่าม อัชชาฟีอีย์ เห็นว่า บาอฺ ในโองการนี้มีความหมาย “อัต-ตับอีฏ” ดังนั้นมัซฮับ ชาฟีอีย์ จึงมีความเห็นว่า การเช็ดศีรษะนั้นเพียงพอและใช้ได้แล้วเพียงแค่เช็ดส่วนหนึ่งของเขตศรีษะ เพราะ “บาอฺ อัต-ตับอีฏ” จะให้ความหมายว่าส่วนหนึ่ง แต่ก็สุนัตให้เช็ดทั่วเขตศีรษะ เพื่อให้ออกจากทัศนะที่เห็นต่างนี้.

(12) ความหมายที่สิบสอง : (الْمُجَاوَزَة) “อัล-มุญาวะซะฮ์” ซึ่งมีความหมายว่า (عَنْ) (จาก) . 
     ตัวอย่างเช่น :  โองการ  (فَاسْأَلْ بِهِ خَبِيرًا) “ดังนั้นจงถามผู้ทรงภูมิรู้ ถึงเรื่อง(ที่เกี่ยวกับการบันดาลต่างๆ)นั้นเถิด”  (อัล-ฟรุกอน :59).
-นักวิชาการบางท่านมีทัศนะว่า : ความหมายนี้จะใช้เฉพาะการถาม (السُّؤَال)  เท่านั้น โดยอ้างหลักฐานจากโองการ (يَسْأَلُونَ عَنْ أَنْبَائِكُمْ) “ซึ่งพวกเขาจะคอยถามข่าวคราวของพวกท่าน”(ซูเราะฮ์ อัล-อะห์ซาบ : 20) .
-ในขณะที่นักวิชาการบางท่านให้ทัศนะว่า : ความหมายนี้ไม่ได้เฉพาะแค่การถาม (السُّؤَال)  แต่เพียงอย่างเดียว  โดยอ้างหลักฐานเช่นกัน จากโองการ (ييَسْعَى نُورُهُمْ بَيْنَ أَيْدِيهِمْ وَبِأَيْمَانِهِمْ) “รัศมีของพวกเขา(ผู้ศรัทธาทั้งชายหญิง)โชติช่วง ต่อเบื้องหน้าของพวกเขา และจากเบื้องขวาของพวกเขา”(ซูเราะฮ์ อัล-หะดีด : 12) .
     จากโองการข้างต้นท่าน อาบู หัยยาน กล่าวว่า “ปรากฏว่าท่าน อุซตาซ อาบู อาลี ทำ การตะวีลตีความความหมาย ว่า (اسْأَل بِسَبَبِهِ خَبِيرا) ดังนั้นจงถามผู้ทรงภูมิรู้ ถึงสาเหตุของเรื่อง(ที่เกี่ยวกับการบันดาลต่างๆ)นั้นเถิด ” ซึ่งดังกล่าววนี้ คือ การตะวี้ลตีความของ สำนักมัซฮับ อัล-บะซอรียูน (البَصَرِيُّوْن)  เนื่องจากพวกเขามีทัศนะ ว่า บาอฺในโองการข้างต้นนั้น มีความหมาย “อัซซะบะบียะฮ์”(ดังที่ได้อธิบายมาแล้วในความหมายที่สิบ) โดยพวกเขาเห็นว่า บุพบท บาอฺ นั้นไม่ได้มีความ (عَنْ)  อยู่เลย.
ซึ่งทัศนะของ  ”อัล-บะซอรียูน”ข้างต้นไม่ถูกยอมรับ เนื่องจากยังห่างไกล(เมื่อเทียบกับความเป็นจริง) เนื่องจาก ถ้อยความในขณะนั้น ไม่ได้ให้ความหมายว่า ตัวที่ถูก ญาร ด้วย บุพบท บาอฺ (المَجْرُوْر بِالْبَاء)  คือ สิ่งที่ถูกทวงถามถึง (المَسْؤُوْلُ عَنْه)    ทั้งๆที่มันคือเป้าประสงค์ จุดมุ่งหมาย.

(13) ความหมายที่สิบสาม :  (الاسْتِعَلَاء) “อัล-อิสติอฺลาอฺ” ซึ่งมีความหมายว่า (عَلَى) . 
ซึ่งความหมายนี้ถูกเชื่มโยงสืบไปยัง สำนักมัซฮับ “อัลกูฟียีน”  และท่าน “อัล-อัคฟัช”.
ตัวอย่างเช่น :
- โองการ   (مَنْ إِنْ تَأْمَنْهُ بِقِنْطَارٍ ) “(ชาวคัมภีร์บางคน)เป้นผู้ซึ่งถ้าเจ้าวางใจเขาด้วย(การฝาก)ทรัพย์มหาสาล(ไว้)(เขาก้จะส่งมันคืนแก่เจ้า)” (อาลาอิมรอน :75). ซึ่งหลักฐานที่บ่งชี้ว่า บาอฺในโองการนี้ มีความหมายว่า (عَلَى)  นั้น ก็ด้วยโองการที่ว่า (هَلْ آمَنُكُمْ عَلَيْهِ إِلَّا كَمَا أَمِنْتُكُمْ عَلَى أَخِيهِ مِنْ قَبْلُ ) (ยูสุฟ :64) กล่าวคือ เราจะเห้นได้ว่า ในอายะฮ์นี้ คำว่า ” أمن “ จะ “มุตะอัดดีย์” เชื่อมกับคำอื่นโดยใช้บุพบท ” عَلَى”  ในสองที่ด้วยกันคือ “آمَنُكُمْ عَلَيْهِ”  และ “أَمِنْتُكُمْ عَلَى أَخِيهِ”.
- โองการ    (وَإِذَا مَرُّوا بِهِمْ يَتَغَامَزُونَ)”และเมื่อเขา(ชาวศรัทธา)ผ่านมายังพวกนั้น พวกนั้นก็จะหลิ่วตาอย่างเย้ยหยัน” (อัล-มุฏอฟฟิฟีน :30). ซึ่งหลักฐานที่บ่งชี้ว่า บาอฺในโองการนี้ มีความหมายว่า (عَلَى)  นั้น ก็ด้วยโองการที่ว่า (وَإِنَّكُمْ لَتَمُرُّونَ عَلَيْهِمْ مُصْبِحِينَ) (อัศ-ศ๊อฟฟ๊าต :137) กล่าวคือ เราจะเห้นได้ว่า ในอายะฮ์นี้ คำว่า ” مرّ “ จะ “มุตะอัดดีย์” เชื่อมกับคำอื่นโดยใช้บุพบท ” عَلَى”  ใน “لَتَمُرُّونَ عَلَيْهِمْ ” .

(14) ความหมายที่สิบสี่ :  (الانْتِهَاء) “อัล-อินติฮาอฺ” ซึ่งมีความหมายว่า (إِلَى) . 
ตัวอย่างเช่น :  โองการ  (وَقَدْ أَحْسَنَ بِي)  أَي إِلَيّ  “และองค์อภิบาลของฉันทรงโปรดปรานความดีงามแก่ฉัน” (ยูสุฟ :100).
     นักวิชาการ บางท่านมีทัศนะว่า คำว่า “أَحْسَنَ”  ข้างต้นนั้นครอบคลุมถึงความหมายของ  “لطف”  เมื่อเป็นเช่นนี้ ดังนั้น บาอฺใน อายะฮ์ ที่กล่าวมานี้จึงมีความหมาย “อัล-อิลศอก” อันเนื่องมาจากว่า ความอ่อนโยน ความเมตตา (لطف) นั้น ติดพันอยู่กับผู้พูด.

(15) ความหมายที่สิบห้า :  (القَسَمُ) “อัล-กอซัม” ซึ่งมีความหมายว่า “สาบาน” . 
ซึ่ง บาอฺ นับว่าเป็น อัศล์ (รากฐาน) (الْأًصْل)  ของ บุพบทที่ใช้ในการสาบาน (حُرُوفُ القَسَم)  (ซึ่งมีอยู่สามตัว  บาอฺ วาว และ ตาอฺ) ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บาอฺ มีคุณสมบัติพิเศษ กว่า วาว และตาอฺ ดังนี้  :
     หนึ่ง  : อนุญาตให้ กล่าวกริยา (ฟิอฺล์)ที่บ่งชี้ถึงการสาบานหลังจาก  บาอฺ ได้ เช่น (أُقْسِمُ باللّه لتًفْعَلَنّ) ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮ์ท่านต้องทำ แต่สำหรับ วาว และ ตาอฺ กลับไม่อนุญาต จึงไม่สามารถกล่าวได้ว่า             (أُقْسِمُ تاللّه ) หรือ (أُقْسِمُ واللّه) .
     สอง  : อนุญาตให้  บาอฺเข้าหน้า คำสรพพนาม (الضَمِيْر)  ได้ เช่น  (بكَ لأفْعَلَنّ)  แต่สำหรับ วาว และ ตาอฺ กลับไม่อนุญาต จึงไม่สามารถกล่าวได้ว่า  (تكَ لأفْعَلَنّ) หรือ (وكَ لأفْعَلَنّ).
     สาม  : อนุญาตให้  บาอฺใช้ในการสาบาน “อัล-อิสติอฺฏอฟีย์” (الْقَسَم الاسْتِعْطَافِيّ)  ได้  (คือการ สาบานที่คำตอบของมันเป็นประโยค “อินชาอีย์” الإنْشَائِيّ เช่นคำถาม และ การสาบาน  เป็นต้น )  ตัวอย่างเช่น        (بالله هَلْ قَامَ زَيْدٌ؟)  แต่สำหรับ วาว และ ตาอฺ กลับไม่อนุญาตเช่นนี้ .
     แต่นักวิชาการบางท่าน กลับมีความเห็นว่า บาอฺในตัวอย่างข้างต้นนี้ ไปเกี่ยวข้อง (مُتَعَلِّقَة)  กับ คำกริยา “أَسْألُكَ”  ซึ่งถูกตัดไปเสียแล้ว ไม่ใช่เกี่ยวข้องกับ คำกริยา “أَقْسِمُ”  ฉะนั้นทัศนะนี้จึงไม่นับ การสาบาน “อัล-อิสติอฺฏอฟีย์”.
นักวิชาการมีทัศนะ ต่างกันในโองการ :
 ( يَا بُنَيَّ لَا تُشْرِكْ بِاللَّهِ إِنَّ الشِّرْكَ لَظُلْمٌ عَظِيمٌ ) “โอ้ลูกของฉัน เธออย่าตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์ เพราะแท้จริงการตั้งภาคีนั้นเป็นความอธรรมอย่างใหญ่หลวง” (ลุกมาน :13).
-นักวิชาการบางท่าน (อัล-อิตกอน ฟี อุลู้มิ้ล กุร-อาน  1/86) มีทัศนะว่า : บาอฺในโองการข้างต้น มีความหมาย “การสาบาน” โดยอ่านหยุดที่คำว่า “لَا تُشْرِكْ” และเริ่มอ่านใหม่ว่า “بِاللَّهِ” แม้กระนั้นก็ตาม ทว่า ทัศนะนี้ถือว่า เป็นทัศนะที่แปลก (ฆอรีบ) (غًرِيْبٌ) กล่าวคือ สาเหตุที่แปลกเนื่องจากว่า บริบทการสาบาน ที่ปรากฏในอัลกุรอ่านที่ไม่ถูกกล่าวกริยาที่บ่งชี้ถึงการสาบานนั้นจะถูกใช้กับ อักษร วาวเท่านั้น ส่วน อักษร บาอฺ  -ในลักษณะนี้- นั้นจะต้องกล่าว กริยามาด้วย (ดู ตำรา มะนารุ้ล ฮุดา ฟีบะยานิ้ล วักฟ์ วั้ลอิบติดา : อะหมัด อัล-อัชมุนีย์ หน้า 303).
- ทว่า ปรมาจารย์บางท่านของ ท่าน อัซ-ซันฮูรีย์ ไม่ยอมรับในทัศนะข้างต้น โดยกล่าวว่า “อนึ่งการที่ บาอฺมีความหมาย การสาบานอยู่ด้วยนั้น เรายอมรับ แต่ ในโองการนี้ไม่ได้เป็นเช่นนั้น”

หมายเหตุ :
(1)  ทัศนะที่หนึ่ง : ทัศนะ “อัล-บะศอรียูน”  มีความเห็นว่า บุพบท ( ฮุรุฟ ) จะไม่มาแทนซึ่งกันและกันดังเช่นสภาพ ของ “ตัวบังคับอัล- ญัซม์” (عَامِلُ الجَزْم) และ “ตัวบังคับอัน- นัสบ์” (عَامِلُ النَّصْب)  ส่วนในกรณีที่เราอาจเข้าใจไปได้ว่า เป็นแทนซึ่งกันและกันระหว่าง ฮุรุฟ นั้น ตามทัศนะนี้เขาจะจัดเข้าในเรื่องของ
-1) การ ตะวีล ตีความ(التَّأوِيْل)   เช่น โองการ  ( وَلَأُصَلِّبَنَّكُمْ فِي جُذُوعِ النَّخْلِ ) “และข้า(ฟิรเอาน์)จะตรึงพวกเจ้าไว้กับลำต้นของอินทผาลัม” (ฏอฮา : 71) ซึ่งคำว่า “فِي”  ในอายะฮ์มิได้หมายความว่า “عَلَي” แต่ทว่าจะถูกจัดอยู่ในประเภทของ การยืมคำ (الاسْتِعَارَة) “อัลอิสติอาเราะฮ์”.
-2) หรือไม่ก็จะถูกจัดอยู่ในเรื่องของ การครอบคลุมความหมายอื่น (التَّضْمِيْن)  “อัต-ตัฏมีน” เช่น โองการ   (وَقَدْ أَحْسَنَ بِي)  أَي إِلَيّ “และองค์อภิบาลของฉันทรงโปรดปรานความดีงามแก่ฉัน” (ยูสุฟ :100).
     นักวิชาการ บางท่านมีทัศนะว่า คำว่า “أَحْسَنَ”  ข้างต้นนั้นครอบคลุมถึงความหมายของ  “لطف” 
  (2)ทัศนะที่สอง ทัศนะ “อัล-กูฟียูน”และนักวิชายุคหลัง  มีความเห็นว่า บุพบท ( ฮุรุฟ ) มาแทนซึ่งกันและกัน โดยไม่ต้อง มีการตีความตะวีล ไม่มีการ ยืมคำ  หรือ การมีความหมายครอบคลุม (ตัฏมีน) แต่อย่างใด.



บรรณานุกรม :

ตำราที่ใช้ประกอบ(ซึ่งสามาถรค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้จากตำราเหล่านี้) :-
-   “เอาเดาะหุ้ล มะซาลีก อิลา อัลฟียะฮ์ อิบนิ มาลิก” เล่มที่ 3 หน้า 30-31.
-   “หาชียะฮ์ อัล-คุฎอรีย์ อะลา ชัรห์ อิบนิ อะกีล อะลา อัลฟียะฮ์ อิบนิ มาลิก
เล่มที่ 1 หน้า 527-528.
-   “หาชียะฮ์ อัด-ดุซูกีย์ อะลา มุฆนิ้ลละบีบ อัน กุตุบิ้ล อะอารีบ” เล่มที่ 1 หน้า 280-302.
-   “ชัรหฺ อัล-อาญูรรูมียะฮ์ ฟี  อิลม์ อัลอารอบียะฮ์” : เชค อัส-สันฮูรีย์ เล่มที่ 1 หน้า 111-114.
-   “หาชียะฮ์ อัศ-ศ๊อบบาน  อะลา ชัรห์  อัล-อัชมูนีย์” เล่มที่ 2 หน้า 328-332.
-    “อัล-มุอฺญัม อัล-วาฟีย์ ฟี อัน-นะหฺว์ อัล-อะรอบีย์ ” หน้า 107-108.[/size]

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 10, 2013, 04:48 AM โดย มารบูรพาอึ้งเอี๊ยะซือ »

ออฟไลน์ Muftee

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด
รอติดตาม ตอนต่อไปคับ .. ถ้าตัวอักษรใหญ่กว่านี้สักนิด ก็คงดีไม่น้อย  hehe
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

ออฟไลน์ solo2513

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 7
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
รอติดตาม ตอนต่อไปคับ .. ถ้าตัวอักษรใหญ่กว่านี้สักนิด ก็คงดีไม่น้อย  hehe
เห็นด้วย

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
ปัญหาเรื่องตัวอักษรเล็กสำหรับผู้อ่านสามารถแก้ไขให้ดูใหญ่ได้
ด้วยการปรับตัวอักษรบนเมนูบาร์ของบราวเซอร์ที่เราใช้ในการเข้าอินเตอร์เนต  เช่น safari opera และ บราวเซอร์อื่นๆ
ก็จะสามารถปรับตัวอักษรในเว็บให้ใหญ่ได้ค่ะ...

ซึ่งปุ่มนี้ถูกสร้างมาเพื่อผู้ที่ต้องเพ่งสายตาเวลาอ่านข้อความ
ในอินเตอร์เนต เพื่อที่จะไม่ต้องเพ่งอักษรเล็กๆ
ให้เหนื่อยสายตาอีกต่อไป...

ลองใช้ปุ่มดังกล่าวปรับตัวอักษรดูนะคะ...

ซึ่งนี่คือข้อดีในการอ่านข้อมูลในอินเตอร์เนตที่หนังสือไม่สามารถ
ทำให้เราได้...เพราะหากตัวอักษรในหนังสือเล็กอย่างไรมันก็จะเล็กอยู่อย่างนั้น

แต่หากเป็นข้อความในเว็บต่างๆที่ปรากฏบนอินเตอร์เนต
มันมีปุ่มหรือเครื่องมือคอยช่วยเหลือเรา
ในการปรับขนาดตัวอักษรให้เราได้ค่ะ...แม้ว่าผู้พิมพ์ข้อความ
จะใช้ขนาดอักษรเล็กแค่ไหน แต่เราผู้อ่านก็สามารถทำให้มัน
ดูใหญ่ได้เวลาจะอ่านด้วยปุ่มดังกล่าวค่ะ....^^



วัสลามค่ะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ต.ค. 13, 2013, 08:05 PM โดย nada-yoru »
"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

 

GoogleTagged