ผู้เขียน หัวข้อ: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม  (อ่าน 45798 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #60 เมื่อ: ม.ค. 31, 2007, 10:58 AM »
0
ดีมากเลยครับ คุณ อัสวาร ครับ  ช่วยแปลเป็นไทยให้หน่อยซิครับ  ;D
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ muhib

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #61 เมื่อ: ก.พ. 01, 2007, 12:03 AM »
0
อัสลามุอะลัยกุม ทุกท่าน
:
انتقلنا بسبب ظروف معينة إلى السكن في دولة الباكستان ، وقد تغيرت علي عدد من الأمور من أوقات الصلاة إلى غير ذلك ..... أردت أن أسألكم بأنني راغبة في صيام يوم عرفة ، ولكن يختلف التاريخ الهجري في باكستان عن المملكة بحيث قد يكون التاريخ في باكستان 8 والذي يوافق 9 في المملكة ... فهل أصوم يوم 8 أي تاريخ 9 في المملكة أم أصوم على حسب تاريخ باكستان ؟؟
อันเนื่องมากจากสถานการณ์ส่วนตัวทำให้พวกเราย้ายมาอยู่ในปากีสถานซึ่งมีหลายสิ่งหลายอย่างแตกต่างไปจากเดิม เช่นเวลาละหมาดเป็นต้น ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า เมื่อข้าพเจ้าตั้งใจจะถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺ แต่วันตามปฏิทินฮิจญเราะฮฺของปากีสถานแตกต่างจากวันในสะอุดี ขณะที่ปากีสถานเป็นวันที่แปดของเดือนแต่มันเป็นวันที่เก้าในสะอุดี  ข้าพเจ้าควรจะถือศีลอดในวันที่แปด ซึ่งตรงกับวันเก้าของสะอุดี  หรือว่าข้าพเจ้าควรจะถือศีลอดตามวันเดือนปีของปากีสถาน?


ออฟไลน์ muhib

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #62 เมื่อ: ก.พ. 01, 2007, 11:37 AM »
0
อัสลามุอะลัยกุม

ขอแทรกทัศนะเรื่องการกำหนดวันอีดิ้ลอัฎฮา หน่อยนะครับ

ทุกครั้งที่ใกล้เทศกาลฮัจญ์ มักมีการพูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องของการกำหนดวันอีดิ้ลอัฎฮาประจำปี ซึ่งก็มีมาตรฐานในการกำหนดวันอีดิ้ลอัฎฮาอยู่หลายประการด้วยกัน มาตรฐานประการหนึ่งซึ่งใช้ในการกำหนดวันอีดิ้ลอัฎฮาประจำปีนั้นๆ ก็คือ การรอฟังผลการประกาศจากประเทศซาอุดิอาระเบีย ซึ่งในมาตรฐานนี้จะยึดเอาวันอะเราะฟะฮฺของประเทศซาอุดิอาระเบียเป็นเกณฑ์ อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามุสลิมหลายประเทศมีความพยายามที่จะให้วันอีดิ้ลอัฎฮาตรงกับวันวุxxxฟ หรือวันอะเราะฟะฮฺในประเทศซาอุดิอาระเบีย แต่ก็ยังมีมุสลิมอีกหลายกลุ่มที่มีความเห็นว่า การยึดเอาวันในของประเทศซาอุดิอาระเบียเป็นเกณฑ์ เพื่อกำหนดวันอีดิ้ลอัฎฮาของแต่ละประเทศนั้นไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขของหลักการอิสลาม ดังหลักฐานและเหตุผลต่อไปนี้ :

1. ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กำหนดวันอีดิ้ลอัฎฮาให้เป็นวันสำคัญของชาวมุสลิมในปีที่lสองของการอพยพ ซึ่งก่อนการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ของท่านถึง 9 ปี ดังนั้น หากวันอีดิ้ลอัฎฮาตั้งอยู่บนเงื่อนไขของวันในการประกอบพิธีฮัจญ์ในมักกะฮฺแล้ว ด้วยเหตุใด ท่านนบี (ศ็อลฯ)จึงกำหนดให้มีการเฉลิมฉลองวันอีดิ้ลอัฎฮาถึง 9 ปี ก่อนการกำหนดให้มีการประกอบพิธีฮัจญ์

2. ท่านนบี (ศ็อลฯ) กำหนดวันอีดิ้ลอัฎฮาด้วยการปรากฏของจันทร์เสี้ยว/การเห็นจันทร์เสี้ยวเพียงเท่านั้น ดังที่ปรากฏในหะดีษว่า ?หิลาล (จันทร์เสี้ยว)ของซุลฮิจญะฮฺ นั้นสำหรับการเชือดสัตว์พลี?

3. ท่านนบี (ศ็อลฯ)ถือศีลอดในวันที่ 9 ซุลฮิจญะฮฺ ไม่ใช่วันอะเราะฟะฮฺในมักกะฮฺ

4. ถ้าวันอีดิ้ลอัฎฮาตั้งอยู่บนเงื่อนไขของวันในการประกอบพิธีฮัจญ์แล้ว ด้วยเหตุใดท่านนบี (ศ็อลฯ) จึงไม่มีความพยายามที่จะสอบถามถึงวันอะเราะฟะฮฺในมักกะฮฺเพื่อกำหนดการเฉลิมฉลองวันอีดิ้ลอัฎฮาในมะดีนะฮฺ เพราะภายหลังการพิชิตมักกะฮฺแล้ว ไม่มีความยากลำบากใดๆ ที่ท่านขอให้เศาะฮะบะฮฺแจ้งข่าวของวันอะเราะฟะฮฺในนครมักกะฮฺให้ท่านทราบ และท่านนบี (ศ็อลฯ)เองก็ไม่มีความพยามยามที่จะรับทราบ หรือ แจ้งให้ชาวเมืองมะดีนะฮฺทราบว่า การประกอบพิธีฮัจญ์ในนครมักกะฮฺจะมีขึ้นเมื่อใด อีกทั้งประชาคมมุสลิมทั้งหมดต่างก็ทำการเฉลิมฉลอง และทำการนมาซอีดิ้ลอัฎฮาตามการปรากฏเห็นของจันทร์เสี้ยวของเดือนซุลฮิจญะฮฺ นอกจากนี้ท่านนบี (ศ็อลฯ)ยังเคยทำการนมาซอีดิ้ลอัฎฮาในระหว่างที่ท่านอยู่ในการเดินทาง และยังได้ทำกุรฺบานภายหลังการนมาซในวันที่ 10 ของเดือนซุลฮิจญะฮฺเช่นดียวกัน

5. บรรดาคุละฟาอฺและบรรดาเศาะฮาบะฮฺต่างทราบกันดีว่า จันทร์เสี้ยวของเดือนซุลฮิจญะฮฺนั้นไม่สามารถปรกฏให้เห็นได้ทุกๆ ที่ในวันเดียวกัน ดังนั้น ท่านเหล่านั้นจึงไม่มีความพยายามที่จะประกาศแจ้งให้พี่น้องมุสลิมในเมืองใกล้เคียงทราบถึงการกำหนดวันในการประกอบพิธีฮัจญ์ ด้วยเหตุนี้ พี่น้องมุสลิมทั้งหมดจึงทำการเฉลิมฉลองวันอีดิ้ลอัฎฮาตามสถานที่และวันที่มีการปรากฏเห็นของจันทร์เสี้ยว

6. บรรดาฟุเกาะฮาอฺทั้งหมดต่างลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ว่าวันอีดิ้ลอัฎฮานั้น คือวันที่ 10 ซุลฮิจญะฮฺ และให้ใช้การปรากฏเห็นของจันทร์เสี้ยวในการกำหนดวันดังกล่าว และไม่มีผู้ใดที่กล่าวว่าวันอีดิ้ลอัฎฮา คือ วันที่ 10 ซุลฮิจญะฮฺในมักกะฮฺ หรือ วันหลังจากวันอะเราะฟะฮฺที่มักกะฮฺ คือวันอีดิ้ลอัฎฮา

7. อัล-กุรฺอานกล่าวว่า ?อะหิลละฮฺ (จันทร์เสี้ยวทั้งหลาย) นั้นสำหรับการกำหนดวันต่าง (ตามปฏิทินอิสลาม) และการประกอบพิธีฮัจญ์" ดังนี้ จะทำอย่างไรสำหรับผู้ที่ปฏิบัติตามประเทศซาอุดิอาระเบียหากว่า

7.1 วันในการประกอบพิธีฮัจญ์นั้น ได้รับการยืนยันอย่างแน่นอนว่า ไม่ได้กำหนดโดยการเห็นจัทร์เสี้ยวเดือนซุลฮิจญะฮฺของมักกะฮฺ หรือ

7.2 จันทร์เสี้ยวเดือนซุลฮิจญะฮฺไม่ปรากฏเห็น ในวันที่ทางการซาอุดิอาระเบียประกาศ หรือ อ้างว่าเป็นวันสุดท้ายของเดือนซุลเกาะดะฮฺ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.พ. 02, 2007, 06:56 AM โดย al-azhary »

ออฟไลน์ muhib

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #63 เมื่อ: ก.พ. 02, 2007, 03:33 PM »
0
อัสลามุอะลัยกุม

คำตอบ: มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ

ชัยคฺ อิบนุอุษัยมีน(ขออัลลอฮฺทรงเมตตาท่าน)เคยได้รับคำถามว่า : ถ้าหากวันอะเราะฟะฮฺแตกต่างกัน อันเนื่องมาจากการมองเห็นจันทร์เสี้ยวในช่วงเวลาที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ เราควรจะถือศีลอดตามการเห็นจันทร์เสี้ยวของประเทศที่เราอาศัยอยู่ หรือว่าควรถือศีลอดตามการเห็นของฮะเราะมัยนฺ(สถานศักดิ์สิทธิ์ทั้งสองแห่ง (มักกะฮฺและมะดีนะฮฺ)) ?

ท่านตอบว่า : ประเด็นนี้มีที่มาจากความเห็นที่แตกต่างกันของบรรดาอุลามาอ์ ในเรื่องที่ว่าการมองเห็นจันทร์เสี้ยวในที่หนึ่งแล้วให้ถือพร้อมกันทั่วโลก หรือว่ามันแตกต่างกันไปตามการขึ้นของดวงจันทร์ของแต่ละพื้นที่?

ความเห็นที่ถูกต้องก็คือว่ามันแตกต่างกันไปตามความแตกต่างของท้องที่ที่ดวงจันทร์ขึ้น ตัวอย่างเช่นหากเห็นจันทร์เสี้ยวที่มักกะฮฺและวันนี้เป็นวันที่เก้า ส่วนท้องที่อื่นไม่ว่าจะเป็นที่ใดก็ตามมองเห็นจันทร์เสี้ยวก่อนมักกะฮฺหนึ่งวัน ดังนั้นวันอะเราะฟะฮฺในมักกะฮฺจึงเป็นวันที่สิบสำหรับพวกเขา มันไม่อนุญาตสำหรับพวกเขาที่จะถือศีลอดในวันนี้เนื่องจากมันเป็นวันอีด

เช่นเดียวกันถ้าหากพวกเขามองเห็นจันทร์หลังการเห็นของมักกะฮฺและวันที่เก้าของมักกะฮฺคือวันที่แปดสำหรับพวกเขา ดังนั้นพวกเขาจะถือศีลอดในวันที่เก้าตามวันเดือนปีของพวกเขาซึ่งมันตรงกับวันที่สิบในมักกะฮฺ นี้คือความเห็นที่ถูกต้อง เนื่องจากท่านนบีฯเคยกล่าวไว้ว่า ?เมื่อพวกท่านเห็นมัน(จันทร์ ใหม่)จงถือศีลอด และเมื่อพวกท่านเห็นมันจงงดถือศีลอด? ผู้ที่ไม่เห็นจันทร์เสี้ยวในท้องถิ่นของพวกเขาถือว่าเป็นผู้ไม่เห็นจันทร์ เช่นเดียวกับมติเอกฉันท์ของประชาชนที่ว่าเวลาสำหรับดวงอาทิตย์ขึ้นและดวงอาทิตย์จะแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นของพวกเขา เช่นเดียวกับดวงจันทร์ซึ่งจะใช้ได้ตามแต่ละท้องที่ เหมือนกับเวลาในรอบวัน ( มัจญมูอฺ อัลฟะตาวา 20)


ออฟไลน์ muhib

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #64 เมื่อ: ก.พ. 03, 2007, 07:31 PM »
0
เคยมีคำถามถึงท่านเกี่ยวกับบางคนที่ทำงานในสถานทูตซาอุดีที่อยู่นอกประเทศ(ซาอุดี) ซึ่งเปรยว่าพวกเขามีปัญหาเกี่ยวกับการถือศีลอดในเดือนรอมฏอนและการถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺ พี่น้องที่นั่นได้แบ่งออกเป็นสามฝ่าย

ฝ่ายแรกกล่าวว่า เราจะถือศีลอดตามซาอุฯและงดถือศีลอดตามซาอุฯฝ่ายต่อมากล่าวว่า เราจะถือศีลอดตามท้องที่ที่พวกเราอาศัยและงดถือศีลอดตามพวกเขาฝ่ายสุดท้ายกล่าวว่า เราจะถือศีลอดในเดือนรอมฏอนตามประเทศที่พวกเราอาศัย แต่เราจะถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺตามซาอุฯพวกเราของร้องชัยคฺ ให้ตอบคำถามเกี่ยวกับการถือศีลอดในเดือนรอมฏอนและในวันอะเราะฟะฮฺอย่างละเอียด ซึ่งในระหว่างห้าปีที่ผ่านมาจะสังเกตเห็นว่า ประเทศที่เราอาศัยอยู่นั้นไม่มีวันใดเลยที่เดือนรอมฏอนและวันอะเราะฟะฮฺจะตรงกันกับซาอุฯ รอมฏอนของพวกเขาจะเริ่มหลังจากที่ซาอุฯประกาศไปแล้ววันหนึ่งหรือสองวัน และบางครั้ง ถึงสามวัน

ท่านตอบว่า : ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ บรรดาอุละมาอ์มีความเห็นแตกต่างกันในกรณีที่ว่าเมื่อมองเห็นจันทร์เสี้ยวที่ใดที่หนึ่งในโลกมุสลิมโดยทีส่วนอื่นๆมองไม่เห็น มุสลิมทั่วโลกจะต้องยึดตามนั้น หรือเฉพาะผู้ที่มองเห็นและผู้ที่อยู่ในท้องถิ่นเดียวกันเท่านั้น หรือเฉพาะผู้ที่มองเห็นและอยู่ภายใต้อำนาจรัฐเดียวกัน? ประเด็นนี้มีความเห็นที่แตกต่างกันไป

ความเห็นที่ถูกต้องทีสุดก็คือว่า ประเด็นดังกล่าวนี้จะต้องจะอ้างกลับไปยังผู้ที่มีความรู้ในเรื่องนี้ หากดวงจันทร์ขึ้นตำแหน่งเดียวกันสำหรับสองประเทศ ถือว่าพวกเขาเป็นเสมือนประเทศเดียวกัน ดังนั้นประเทศใดประเทศหนึ่งจากทั้งสองดังกล่าวมองเห็นจันทร์เสี้ยวกฎนี้จะใช้กับอีกประเทศหนึ่งด้วย แต่หากตำแหน่งที่ขึ้นปรากฎของดวงจันทร์แตกต่างกัน แต่ละประเทศก็จะใช้กฎของแต่ละประเทศ นี้คือความเห็นที่ตรงกันกับ ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมิยะฮฺ นี่คือความหมายอันชัดเจนจากตัวบทของอัลกุรอานและซุนนะฮฺและสิ่งที่บ่งชี้จากการเปรียบเทียบ

อัลกุรอานกล่าวไว้ว่า ? ดังนั้นผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้นและผู้ใดป่วย หรืออยู่ในการเดินทางก็จงถือใช้ในวันอื่นแทน อัลลอฮฺทรงประสงค์ให้มีความสะดวกแก่พวกเจ้า และไม่ทรงให้มีความลำบากแก่พวกเจ้า และเพื่อที่พวกเจ้าจะได้ให้ครบถ้วน ซึ่งจำนวนวัน(ของเดือนรอมฎอน) และเพื่อพวกเจ้าจะได้ให้ความเกรียงไกรแด่อัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์ทรงแนะนำแก่พวกเจ้าและเพื่อเจ้าจะขอบคุณ? ( อัลบะเกาะเราะฮฺ 2:185)

สิ่งที่อายะฮฺนี้ให้เห็นก็คือ ใครที่ไม่เห็นดวงจันทร์ไม่บังคับให้ถือศีลอด ในหะดีษของท่านนบีฯท่านกล่าวไว้ว่า ?เมื่อพวกท่านเห็นมัน(จันทร์ใหม่)จงถือศีลอด และเมื่อท่านเห็นมันจงงดศีลอด?

กรณีเปรียบเทียบเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการถือศีลอดในแต่ละวันจะต้องเป็นไปตามเวลาของแต่ละประเทศสอดคล้องกับเวลาดวงอาทิตย์และดวงอาทิตย์ตกของแต่ละท้องถิ่น นี่คือความเห็นที่ตรงกันของอุลามาอฺ ดังนั้นท่านจะเห็นผู้คนในเอเชียตะวันออกเริ่มถือศีลอดก่อนคนในเอเชียตะวันตกและละศีลอดก่อนพวกเขา เนื่องจากแสงอรุณของพวกเขาขึ้นก่อนประเทศที่อยู่ถัดไปและดวงอาทิตย์ก็ตกก่อนประเทศที่อยู่ถัดไป

นี้เป็นข้อพิสูจน์ในเรื่องการเริ่มต้นและการสิ้นสุดการถือศีลอดในแต่ละวัน มันยังใช้กับการเริ่มต้นและสิ้นสุดการถือศีลอดของเดือน ซึ่งไม่มีความแตกต่างในเรื่องนี้ แต่ถ้าหากท้องถิ่นต่างๆอยู่ภายใต้อำนาจรัฐเดียวกันและผู้ปกครองได้ออกคำสั่งในเรื่องการเริ่มต้นและสิ้นสุดการถือศีลอด ดังนั้นจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของเขา เพราะประเด็นข้างต้นเป็นเรื่องที่อุลามาอฺถกเถียงกันอยู่ แต่คำสั่งของผู้ปกครองจะทำให้การถกเถียงดังกล่าวตกไป

จากหลักการข้างต้นพวกท่านควรถือศีลอดและงดศีลอดสอดคล้องกับประชาชนของประเทศที่ท่านอาศัยอยู่ ไม่ว่ามันจะตรงกันกับประเทศเดิมของท่านหรือไม่ก็ตาม เช่นเดียวกับวันอะเราะฟะฮฺทีให้ท่านปฏิบัติตามประเทศที่ท่านอาศัยอยู่(โดย มุฮัมมัด อัลศอลิหฺ อัลอุษัยมีน 28/8/1420 ฮ.ศ. มัจญมูอฺ อัลฟะตาวา 19)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.พ. 04, 2007, 08:29 AM โดย al-azhary »

ออฟไลน์ muhib

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #65 เมื่อ: ก.พ. 04, 2007, 11:03 AM »
0
อัสลามุอะลัยกุม
 http://www.qasweb.org/Crescent/1428/1/the_new_crescent_of_muhrram_1428_qas.wmv

ภาพที่ถ่ายไว้ในวันที่20 มค. 50
21 มค.50 จึงเริม 1 ของซุลหิจญะฮฺ 1428
 
นักดาราศาสตร์ของสาอุดีได้ถ่ายภาพฮิลาลเมื่อ 20 มกราคม 2550 ไว้ได้ซึ่งเราจะเห็นว่าผิวหน้าของจันทร์เสี้ยวบางมาก
และ ในวันที่ 19 มค. นั้นไม่สามารถเห็นได้  20มค.เป็นวันสุดท้ายของซุลหิจญะฮฺ1427
แล้ว 21 มค.50 จึงเรื่ม 1 มุหัรรอม 1428
แล้ว 30 มค. เป็นวัน อาชูรอ
แล้ว ปฎิทิน ของท่าน อัซฮารี มนเว็บไซท์นี้ เป็นวันที่เท่านไร
แล้วปากิสตานบังกลาเดส 21มค.50 พวกเจายังไม่เห็นจันทร์เสี้ยวกันเลย
ดังนั้นปากิสตานจะนับวันอย่างไรครับ

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #66 เมื่อ: ก.พ. 05, 2007, 09:26 PM »
0
เห็น ฟัตวาของ ชัยค์ อุษัยมีน แล้ว  บ่งชี้ถึงความชัดเจนในสิ่งที่ คุณ มุฮิบ นำเสนอมาก ๆ เลยครับ 

ออฟไลน์ muhib

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #67 เมื่อ: ก.พ. 14, 2007, 01:40 AM »
0
ฮิลาลจันทร์เสี้ยวของเดือนเศาะฟัรจะเห็นได้ในตะวันออกกลางและอัฟริกา
ในวันอาทิตย์ที่18 กพ.2550 
ฉะนั้น อรับ อัฟริกา จะเริ่ม 19 กพ เป็นวันที่1 เดือนเศาะฟัร

ในประเทศไทยจะเห็นได้วันจันทร์ที่ 19 กพ.50
วันอังคารที่ 20 กพ จะเริ่มต้น 1 เดือนเศาะฟัร ฮศ.1428

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #68 เมื่อ: ก.พ. 14, 2007, 03:55 AM »
0
มีภาพประกอบ  เริ่มมีมาตรฐาน  เหมือนได้ศึกษาในห้องเรียน กันเลยครับ 
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ muhib

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด

ออฟไลน์ muhib

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #70 เมื่อ: ก.พ. 18, 2007, 05:52 PM »
0
อัสลามุอะลัยกุม

จันทรุปราคาเต็มดวง 4 มีนาคม 2550
เตรียมตื่นตอนดึกเเล้วยาวจนละหมาดฟะญัร
แล้วเรียกเพื่อนมาร่วมละหมาดสุนนะฮฺกันคุศุฟกันปีหนึ่งเราจะมีโอกาสเพียงสี่ครั้ง
 
คืนวันเพ็ญเมื่อดวงจันทร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ โอกาสที่เงาของโลกจะไปบังดวงจันทร์ก็เกิดขึ้น
 ถ้าตำแหน่งของดวงจันทร์อยู่ใกล้กับจุดโหนด
(จุดตัดของวงโคจรของดวงจันทร์กับเส้นสุริยะวิถี) พอดี
ในเดือนมีนาคมวันเสาร์ที่ 3 ตรงกับคืนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ จะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงขึ้นอีกครั้ง
 แต่สำหรับประเทศไทยจะเกิดขึ้นช่วงที่ดวงจันทร์กำลังจะตกและไม่เห็นตลอดช่วงของปรากฏการณ์ ทำให้ผู้ที่อยู่ในประเทศไทย
และโซนเอเซียเห็นปรากฏการณ์ครั้งนี้หลังเที่ยงคืนวันที่ 3 มีนาคมไปแล้ว หรือใกล้รุ่งเช้าของวันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม นั่นเอง
 ในขณะที่ทางโซนยุโรปและอาฟริกาสามารถเห็นได้ตลอดช่วงปรากฏการณ์ ส่วนทางอเมริกาเหนือ
และอเมริกาใต้จะเห็นปรากฏการณ์นี้ช่วงที่ดวงจันทร์กำลังขึ้นจากขอบฟ้าเช่นกัน

ดวงจันทร์จะเริ่มสัมผัสแรก (P1) กับเงามัวก่อนเมื่อเวลา 20.16 UT หรือ 03.16 น.ของวันที่ 4 มีนาคม 2550
 ตามเวลาในประเทศไทย ซึ่งความสว่างของดวงจันทร์จะยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก หลังจากนั้นอีก 1 ชั่วโมง 14 นาที
ดวงจันทร์จะเริ่มสัมผัสแรก (U1) ของเงามืดเวลา 04.30 น. และมืดมิดหมดดวงเวลา 05.43 น.
กินเวลาอยู่นาน 1 ชั่วโมง 15 นาที ดวงจันทร์ก็จะเริ่มออกจากเงามืด (U3) เวลา 06.58 น.
 แต่ดวงจันทร์จะตกลับฟ้าในวันนั้นเวลา 06.35 น.
นั่นหมายความว่าประเทศไทยจะมองไม่เห็นช่วงการออกจากคราส ดวงจันทร์ก็ตกขอบฟ้าไปก่อนแล้ว

จันทรุปราคาเต็มดวง 28 สิงหาคม 2550

ความรู้เกี่ยวกับจันทรุปราคา


ข้อมูลจากhttp://sunearth.gsfc.nasa.gov/eclipse/eclipse.html http://darasart.com/startonight/eclips2007/mar2007-lunar.htm

 

 จันทรุปราคา   
 
 Partial Eclipse Begins: 21:30:22 UT
Total Eclipse Begins: 22:44:13 UT
Greatest Eclipse: 23:20:56 UT
Total Eclipse Ends: 23:57:37 UT
Partial Eclipse Ends: 01:11:28 UT

 
 
 

ออฟไลน์ muhib

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #71 เมื่อ: ก.พ. 21, 2007, 08:25 PM »
0
18/02/2550  เวลามัฆริบ 18.25 น.
อายุดวงจันทร์ 22 ชม.

ออฟไลน์ Goddut

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 854
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #72 เมื่อ: มี.ค. 15, 2007, 05:43 PM »
0
เพิ่มเติม คำตอบ #23 ครับ  ตรง ปล. 2

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ ( 19 มีนาคม ) เราจะพบกับ การเกิด สุริยุปราคาบางส่วน ที่ประเทศไทยได้

ใน พื้นที่ กทม. สามารถเห็นได้ เวลาประมาณ  7.50 - 8.55 นาฬิกา ( 7 โมง เช้า 50 นาที )

สนับสนุนการละหมาดซุนนะ เช่นเดียวกับ จันทรุปราคา ครับ

ข้อมูลบางส่วน
http://darasart.com/startonight/eclips2007/mar2007-solar.htm

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ความรู้เรื่อง สุริยุปราคา

มันเกิดขึ้นเมื่อใด ?
เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันโดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เมื่อสังเกตจากพื้นโลก จะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์
ซึ่งสุริยุปราคาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านบริเวณจุดตัดของระนาบวงโคจรทั้งสองในวันจันทร์ดับ
ใน 1 ปี จะเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคา ได้ 2 ครั้งบนโลก คือช่วงต้นปี  และ ท้ายปี  ในบางครั้งก็จะมีจันทรุปราคาเกิดขึ้นด้วย โดยมีทั้งเกิดก่อน และเกิดหลัง หรือจะเกิดพร้อมกันแต่ต่างที่กันก็ได้ เนื่องจากเป็นช่วงที่ดวงจันทร์กำลังอยู่บนในวงโคจรพอดี

สุริยุปราคา นั้น ถูกแบ่ง ออกได้ 4 ประภท
1. สุริยุปราคาบางส่วน หมายถึง ดวงจันทร์เคลื่อนที่บดบังดวงอาทิตย์เพียงบางส่วนเท่านั้น
2. สุริยุปราคาวงแหวน หมายถึง ดวงจันทร์เคลื่อนที่บดบังดวงอาทิตย์ทั้งดวง แต่ดวงจันทร์มีขนาดที่เล็กกว่า อันเนื่องมาจากดวงจันทร์อยู่ไกลโลก และอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ทำให้มองเห็นแสงเป็นรูปวงกลมเหมือนแหวน
3. สุริยุปราคาเต็มดวง  หมายถึง ดวงจันทร์เคลื่อนที่บดบังดวงอาทิตย์ทั้งดวง และดวงจันทร์มีขนาดที่พอดี หรือใหญ่กว่า อันเนื่องมาจากดวงจันทร์อยู่ใกล้โลก และอยู่ไกลดวงอาทิตย์ มองเห็นเป็นเพียงสีดำมืด
4. สุริยุปราคาผสม       หมายถึง เมื่อโลกกลมความโค้งของโลก จะทำให้การเกิดสุริยุปราคา ในแต่ละท้องถิ่นนั้นมีความต่างกัน โดยบางส่วนอาจจะเห็นสุริยุปราคาแบบบางส่วน บ้างอาจจะเห็นสุริยุปราคาแบบวงแหวน หรือบางส่วนอาจจะเห็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวงก็ได้

อนึ่ง เราจะได้ว่า การสังเกตุ สุริยุปราคา นั้น เปรียบเสมือนเป็นฮิกมะ จากพระองค์อัลลอฮฺ ก็ว่าได้
มันเปรียบเสมือน เครื่องมือ หรือตัววัดชี้ขาด ที่เราใช้ตรวจสอบ การดูเดือน และการคำนวณเดือนต่างๆ ของเรา อันเนื่องมากจาก การเกิดของสุริยุปราคาตามที่ได้กล่าวไว้แล้ว

คือ การเกิดขึ้นเมื่อเกิด ปรากฎการณ์ จันทร์ดับ หรือ นิวมูน นั้นหมายถึง ในวันนั้น จะเป็นเดือนใหม่ต่อไป เนื่องจาก นิวมูนนั้น เราไม่สามารถมองเห็นดวงจันทร์ด้วยตาเปล่าได้
หากเมื่อเราเห็น สุริยุปราคา เป็นวันที่ 1 ของเดือนอิสลามใดๆ ก็ตาม เราจะกล่าวได้แน่นอนว่ามันผิด



หวังว่าพี่น้องคงไม่พลาด อิอิ ^^  (วิธีการดูสุริยุปราคา สามารถใช้ ใส่ในแผ่นดิสเก็ต 3 แผ่นซ้อนกัน หรือมากกว่า)
อินชาอัลลอฮฺ
วัสลาม...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มี.ค. 16, 2007, 12:56 AM โดย Goddut »

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #73 เมื่อ: มี.ค. 16, 2007, 08:02 AM »
0
جزاك الله ครับ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ muhib

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การดูเดือน...ด้วยดาราศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #74 เมื่อ: มี.ค. 18, 2007, 02:21 AM »
0
ฮิลาลเดือนเราะบีอุลเอาวัล 1428

 ฮิลาลจันทร์ดับ  19 มีนาคม2550 เวลา9.44 น. ตอนเย็นจะยังไม่เห็นใน ไทย  อินโดนีเซีย ปากิสตาน อรับตะวันออกกลาง และอัฟริกา
แต่จะเห็นฮิลาลจันทร์เสี้ยวที่อเมริกา คานาดา
ประเทศไทยจะเห็นจันทร์เสี้ยว ในวันที่20 มีนาคม 50
อัลลอฮุอะอฺลัม พระองค์อัลลอฮฺสุบหานะฮุวะตะอาลา ทรงรู้ดียิ่ง

 

GoogleTagged