จริงหรือที่บทการลงโทษของอิสลามมีเอกลักษณ์ที่ป่าเถื่อนและโหดร้าย?
1. อิสลามไม่ใช่ศาสนาที่นิยมความทารุณและชอบความรุนแรง แต่ในทางตรงกันข้าม ย่อมถูกต้องกว่า และอิสลามคือศาสนาที่เรียกร้องไปสู่ความเมตตา ปรองดองและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แต่ในขณะเดียวกัน อิสลามยังมีความปราถนาความสงบสุขที่ยั่งยืนและยอมรับในความสันติสุขในสังคมเพื่อเป็นหลักประกันความมีอิสระภาพแก่ปัจเจกชนและรักษาความปลอดภัยและให้ความคุ้มครองในสิทธิของพวกเขา ปกป้องชีวิต หลักความเชื่อ สติปัญญา ทรัพย์สิน และครอบครัวของพวกเขา ในขณะที่อิสลามได้วางระเบียบการลงโทษให้กับความผิดนั้น ได้มีการพิจารณาถึงสององค์ประกอบพื้นฐานด้วยกัน
(1) มนุษย์ไม่ได้รับการปกป้องจากความผิด แต่เขาสามารถเผชิญกับความผิดได้ทุกเวลา ด้วยเหตุ ณ ที่นี้ อิสลามจึงเปิดประตูแห่งการเตาบะฮ์ สำหรับผู้กระทำความผิดที่มีความสำนึกในสิ่งที่พวกเขาได้ก่อขึ้นและพวกเขาต้องการขัดเกลาหัวใจให้บริสุทธิ์
(2) ทุกคนในสังคัมมีปณิธานมุ่งมั่นว่าจะดำเนินชีวิตอย่าปลอดภัยและยังความสงบสุขแก่ตนเอง ครอบครัว และสิ่งที่พวกเขาครอบครอง และไม่อนุญาตให้บุคคลบางส่วนทำการเบี่ยงเบนไปสู่ปรากฏการณ์ส่อถึงการทำลายที่มาโหมกระหน่ำความมั่นคงในสังคมและสร้างความหวาดกลัวแก่ผู้ได้รับความคุ้มครอง
(3) เมื่ออิสลามได้วางบทการลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดแล้ว อิสลามก็ยังเรียกร้องไปสู่การยุติบทลงโทษด้วยความคลุมเครือต่าง ๆ และเรียกร้องไปสู่การยุติมันด้วยการเตาบะฮ์เมื่อผู้พิพากษามีความเห็นว่า ผู้ที่อยู่ในสถานการณ์อันอยากลำบากนี้ มีความสำนึกต่อการกระทำของเขาและได้ทำการเตาบะฮ์อย่างบริสุทธิ์ใจ ในสิ่งดังกล่าวนี้ ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
ادرءوا الحدود عن المسلمين ما استطعتم ، فإن وجدتم للمسلم مخرجاَ فخلوا عن سبيله ، فإن الإمام لأن يخطىء فى العفو خير من أن يخطىء فى العقوبة
"พวกท่านจงผลักการลงโทษให้พ้นจากบรรดามุสลิมีนเท่าที่มีความสามารถ ดังนั้น พวกพวกท่านพบว่ามีทางออกสำหรับมุสลิมคนหนึ่ง พวกท่านก็จงปล่อยเขาไป ดังนั้น ผู้นำที่ผิดพลาดในเรื่องการให้อภัยย่อมประเสริฐกว่าการผิดพลาดในการลงโทษ"
(1)หะดิษนี้ชี้ถึงให้มีการผ่อนปรนอย่างที่สุดแล้ว
3. การลงโทษในเรื่องผิดประเวณี เป็นส่วนหนึ่งจากเรื่องที่ยากแก่การดำเนินการ โดยพิจารณาว่า อิสลามได้ว่างเงื่อนไขในการยืนยันเรื่องความผิดของการผิดประเวณี ที่จำเป็นต้องมีพยายานรู้เห็นถึงสี่คน โดยพวกเขาต้องให้การว่าได้เห็นการทำผิดประเวณีอย่างชัดเจนโดยไม่มีข้อสงสัยใด ๆ ซึ่งกรณีนี้เกือบจะมีจำนวนพยานที่เป็นไปได้ยาก
จาก ณ ที่นี้ ได้มีสองเหตุการณ์เกี่ยวกับการขว้างผู้ผิดประเวณีที่ได้เคยเกิดขึ้นในหน้าประวัติศาสตร์อิสลาม ซึ่งทั้งสองเหตุการณ์นั้นขึ้นอยู่บนการรับยอมสารภาพเองทั้งสิ้น ไม่ใช่ด้วยการมีพยายาม 4 คน และท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม พยายามหลายครั้งหลายหนในการมืนหน้าหนีจากทั้งสองฝ่ายที่มารับสารภาพผิด แต่ทั้งสองยังยืนกรานดังกล่าวจึงทำท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่พบหนทางที่จะหลีกเลี่ยงจากการลงโทษที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยครั้งในประวัติศาสตร์อิสลาม เนื่องจากความยากลำบากในเรื่องพยานการยืนยันการกระทำผิดนี้ และเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ดำเนินการลงโทษโดยที่ท่านรังเกียจจากการดำเนินการเช่นนี้
4. อิสลามไม่ตัดมือโขมยผู้หิวโหยที่ทำการโขมยเพื่อนำมาเป็นอาหารแก่ตนเองและลูก ๆ ของเขา แต่อิสลามจะลงโทษขโมยที่มีความเต็มใจซึ่งทำการขโมยไม่ใช่เพื่อความจำเป็นสำหรับเขา แต่เพื่อโขมยจากจากผู้มีความอุตสาหะและทำงานหนักเพื่อเลี้ยงชีพตนเอง และพยายามก่อความเสียหายในสังคม ซึ่งผู้ก่ออาชญากรรมเช่นนี้ ไม่สมควรจะได้รับความเมตตาแม้สักคนเดียว เนื่องจากเขาไม่เอ็นดูและเมตตาต่อผู้ที่เขาได้ทำการโขมย และบางครั้งผู้ที่ถูกโขมยอาจจะมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดจากทรัพย์ที่เขาได้ถูกโขมย ดังนั้น จึงเป็นสิทธิของสังคมที่จำเป็นต้องปกป้องสิทธิต่าง ๆ ของเขา นอกเหนือจากนั้น การดำเนินการลงโทษในสังคมอิสลามนี้ - คือในขณะมีการปฏิบัติจริงเกิดขึ้น - ผลลัพธ์ของมันทำให้เกิดการโขมยน้อยลง ถึงระดับขั้นที่พ่อค้าสามารถปล่อยทิ้งสินค้าของเขาไว้โดยไม่ต้องเฝ้าระวัง บรรดาประตูบ้านเปิดทิ้งไว้โดยมิต้องเปิด และตามหลักดังกล่าวนั้น การโขมยต่าง ๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น และดังนี้นั้น ย่อมแตกต่างกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างแพร่หลายที่มีการลงโทษที่ละหลวม ซึ่งดังกล่าวทำให้ส่งเสริมการขโมยกันอย่างแพร่หลายและบ่อยครั้ง จนกระทั่งในบางสังคมกลับมีการกระทำกันอย่างเปิดเผยซึ่งเป็นอันตรายที่ร้ายแรง
(2)5. เงื่อนไขการลงโทษผู้โขมยนั้น เพื่อให้เกิดความยุติธรรมกับสังคมอย่างสมบูรณ์และการขจัดความยากจนที่แผ่กว้างในสังคมนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เขาไม่มีกรณีใด ๆ เป็นแรงจูงใจทำให้เขาต้องโขมย และด้วยเหตุนี้ ท่าน ค่อลิฟะฮ์ อุมัร อิบนุ ค๊อฏฏอบ งดการลงโทษเกี่ยวกับกรณีลักทรัพย์ในปีแห่งความหิวโหยที่ประเทศมุสลิมได้ประสบในขณะนั้น และในขณะที่บทการลงโทษได้ถูกนำมาใช้ตามวิถีทางที่ยุติธรรมในอิสลามในยุคสมัยแรก ผู้เดินทางจากมักกะฮ์ไปเมืองชาม ก็ไม่มีความหวาดกลัวในสิ่งใดระหว่างทางนอกจากอัลเลาะฮ์และหมาป่าที่จะมาจู่โจมฝูงแกะ
ดังนั้น ผู้โขมยทุกคนย่อมทราบดีก่อนแล้วถึงบทลงโทษ และด้วยเหตุดังกล่าว เขาย่อมใคร่ครวญเป็นพัน ๆ ครั้ง ก่อนที่จะทำการก่อจารกรรมและอาชญากรรมอื่น ๆ และด้วยเหตุนี้ จึงทำให้การลงโทษเกิดขึ้นน้อยลง ดังนั้น สิ่งใดย่อมดีกว่ากระนั้นหรือ? ความมีเสถียรภาพสงบสุขในสังคมซึ่งหากแม้ว่าสิ่งดังกล่าวจะนำไปสู่มาตรการลงโทษเพียงไม่กี่คนหรือต้องการให้ผู้ร้ายเต็มห้องขังและให้ความบริสุทธิ์ของสังคมต้องมัวหมองไป?
และผู้ใดหรือที่สมควรจะได้รับความเห็นใจ ผู้ก่ออาชญากรรมหรือความสงบสุขและความมีความเสถียรภาพในสังคม?
----------------------
(1) รายงานโดย อัตติรมีซีย์และอัลหากิมในหนังสือ มุสตัดร๊อกของเขา ดู หนังสือ ฟัยฏุลก่อดีร ของท่านอัลมุนาวีย์ เล่มหนึ่ง หน้า 226 และถัดจากนั้น ตีพิมพ์ เบรุต ค.ศ. 1972
(2) ดู หนังสือ มิอะฮ์ ซุอาล อะนัลอิสลาม ของท่านชัยค์ มุฮัมมัด อัลฆ่าซาลีย์ เล่ม 2 หน้า 41 และถัดจากนั้น
อ้างอิง จากหนังสือ حقائق إسلامية فى مواجهة حملات التشكيك "ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอิสลาม ในการเผชิญต่อการสร้างความสงสัย" ของท่าน ศาสตราจารย์ มะหฺมูด หัมดีย์ ซักซูก หน้า 89 - 90 - 91 ตีพิมพ์ อัลมัตตะบะฮ์ อัชชุรูก อัดเดาลียะฮ์ 2003 ค.ศ. - 1425 ฮ.ศ.
http://islamic-council.org/lib/FACTS-A-PDF/p5-110.pdf