بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم
اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ آلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ ،،، وَبعْدُ ؛
การถือศีลอดในสภาพที่มีญุนุบนั้น ถือว่าใช้ได้
เพราะท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุฮันฮา ได้รายงานว่า
قَدْ كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يُدْرِكُهُ الْفَجْرُ فِي رَمَضَانَ وَهُوَ جُنُبٌ مِنْ غَيْرِ حُلُمٍ فَيَغْتَسِلُ وَيَصُومُ
“ปรากฏว่าตอนซุบฮิท่านนบีอยู่ในสภาพมีญุนุบที่ไม่ใช่มาจากความฝัน หลังจากนั้นท่านได้อาบน้ำและทำการถือศีลอด” รายงานโดยมุสลิม, ฮะดีษเลขที่ 1109.
ดังนั้น เมื่อเข้าเวลาละหมาดซุบฮิ์ในสภาพที่ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ยังมีญุนุบอยู่ เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า อนุญาตให้อาบน้ำญุนุบหลังจากเข้าเวลาซุบฮิ์แล้ว แต่ที่ดียิ่งนั้น ให้อาบน้ำญุนุบก่อนเข้าเวลาซุบฮิ์ เพื่อไม่ให้น้ำเข้าไปในรูหูและจมูก เป็นต้น
ท่านอิมามอันนะวาวีย์ ได้กล่าวว่า
وَيُسْتَحَبُّ أَنْ يَغْتَسِلَ عَنْ الْجَنَابَةِ قَبْلَ الْفَجْرِ
“มุสตะฮับ(ส่งเสริมให้กระทำ)การอาบน้ำญุนุบก่อนแสงอรุณขึ้น” มินฮาญุฏฏอลิบีน หน้า 32.
แต่การอาบน้ำยกฮะดัษตอนตะวันขึ้นแล้วนั้น แสดงว่าขาดละหมาดซุบฮิ์!
وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ