ผู้เขียน หัวข้อ: บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์  (อ่าน 53851 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ อัล-อุม

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 92
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #30 เมื่อ: พ.ย. 15, 2006, 04:19 PM »
0
บังคนอยากรู้ครับ...
สบายดีไหมครับอย่าหายไปนานละ

น้องอัล-อุมคิดถึง555

คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #31 เมื่อ: พ.ย. 16, 2006, 11:10 AM »
0
พี่น้องครับ..ต่อไปเรามาดู ในหัวข้อเรื่อง บิดอะของวะฮาบีย์ในข้อต่อไปครับ

บิดอะ ถัดมาของวะฮาบีย์คือ..

บิดอะลุ่มหลงที่มาจากการไม่เข้าใจในคำว่าบิดอะ


 หลายๆครั้ง ที่เรามักจะได้ยินคำว่า บิดอะ แต่เรากลับไม่รู้ความหมายของมันว่าด้วยคำกล่าวท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า

 (  كل بدعة ضلالة )  

"ทุกบิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง"

จริงๆแล้วอุลามะหรือ  ผู้รู้ส่วนมากเขาหมายถึงอะไร และจริงหรือวะฮาบีย์ถึงมักอ้างว่า..คนที่ทำบิดอะนั้น ห้ามพูดคุยหรือปรองดองเรื่องใดๆกับเขา...
ด้วยเหตุผลดังกล่าวนั้น วะฮาบีย์ส่วนมากจึงไม่จะเชื่อฟังและทำตามในตัวขแองผู้นำ หรือท่านจุฬา คนปัจจุบัน


ด้วยกับคำพูดอิบนุกุดามะฮ ที่กล่าวว่า...

 كان السلف ينهون عن مجالسة أهل البدع ، و النظر في كتبهم

"ปรากฏว่าชาวสลัฟ พวกเขาห้ามนั่งร่วมกับชาวบิดอะฮ และดูหนังสือพวกเขา"

 الآداب الشرعيّة ، لابن مفلح : 11/232 ].

โดยเขาให้ความหมายคำว่า"นั่งร่วม คือ การเข้านั่งร่วมกับพวกที่ทำบิดอะฮ ในทัศนะของวะฮาบีย์

โดยเขาลืมคิดไปว่า พี่น้องมุสลิมนั้นห้ามตัดญาติและห่างไกลจากพวกเข่าคนหนึ่งคนใด  ตราบใดที่เขามยังเป็นมุสลิมอย่างน้อนการนั่งร่วม เพื่อปรึกษาหรือชี้แจงและตักตือนนั้นในความจริงแก่พวกเขาและหวังที่จะให้พวกเขาละทิ้งบิดอะฮนั้น   จริงๆแล้ว คือ มันเป็นสิ่งจำเป็นมาก และเป็นหน้าที่ของผู้รู้และมุสลิมทุกๆคน...แต่วะฮาบีย์นั้น เมื่อสิ่งใดที่เขาไม่เห้นด้วยกับการกระทำที่ค้านกับทัศนะของตน  เขาจะถือว่า สิ่งนั้นคือ  บิดอะ..และต้องหลีกหนีให้ไกล..

ในคำสอน ของอัล อิสลามนั้นสอนให้คนหลีกเลี่ยงผู้ที่ทำบิดอะฮ์นั้น ตามความหมายของผู้รู้ส่วนมากหรือผู้รู้ในอะลิอสซุนนะ หรือจากแนวทางผู้รู้ของ(มัสหับทั้ง4)

ไม่ใช่ ตามทัศนะของผู้รู้ในทัศนะของวะฮ่าบีย์ที่เป็นกลุ่มส่วนน้อย
แต่ต้องเป็นบิดอะฮ์ในความหมายตามทัศนะของอิสลามในชนส่วนมาก  
เนื่องจากผู้รู้ วะฮาบีย์บางคนเลยเถิดในเรื่องการกล่าวหาและฮุกุ่มพี่น้องมุสลิมสในทัศนะอื่นผู้อื่น  
ดังนั้นบิดอะฮ์ตามทัศนะของวะฮาบีย์   ไม่สามารถนำมายึดเป็นหลักการได้กับมติของผู้รู้ในความหมายกับว่า บิดอะกับ มุสลิมไทยทั่วโลกได้

พี่น้อง ครับถ้อยคำ

لا إله إلا الله محمد رسول الله.... นั้นสูงส่งยิ่งนัก และบรรดานบีของพระองค์ก็สูงส่งถัดมาเช่นกัน ตามแนวการศรัทธาของรูกนอีหม่าม6ข้อ

ฉนั้น  วะฮาบีย์นั้น นอกจากจะไม่เข้าใจคำว่าلا إله إلا الله محمد رسول الله...แล้ว..ก็ยังไม่ยอมเข้าใจ ในชารีอัตตัวท่านนบี..
ซุนนะนบี นั้นนอกจาก การกระทำต่างๆที่ให้เราได้เห็นนั้นยังมี การนิ่งเฉยและการยอมรับแล้ว ซึ่งเรา ก็ไม่อาจจะมองออกเป็นอาการกริยาได้ และก็ปฏฺเสธไม่ได้ว่า บางครั้ง การนิ่งหรือสงบนั้นเป็นซุนนะของท่านเช่นกัน..

วะฮาบีย์ไม่เข้าใจในสิ่งที่ท่านนบีกล่าว
(  كل بدعة ضلالة )  

"ทุกบิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง" ..ว่าบิดอะที่ว่านั้นหมายความว่าอย่างไร..

ตรงนี้..อุลามะส่วนมากบอกว่า สิ่งที่ท่านกล่าวมานั้นคือบิดอะทุกชนิดที่ดอลาละ และการดอลาละนี้แหละจะนำไปสู่ไฟนรก..ยันหันนัม..

 เช่นในบางครั้ง วะฮาบีย์ชอบยกคำอ้างของท่าน อิบนุกุดามะฮ์ และท่านอิบนุมุฟลิหฺ

โดยที่ตนเองก็ไม่รู้ว่า สิ่ง  ที่ท่านอิบนุมุฟลิหฺและท่านอิบนุกุดามะฮ์กล่าวถึงนั้น เป็น การกระทำบิดอะของพวกใหนและทำอย่างไร  ท่านจึงห้ามเราคบหาคนพวกนี้..?

บางครั้ง หาได้เป็นอย่างที่ เป็นพวกบิดอะฮ์ที่วะฮาบีย์เข้าใจกันเอง.

 แต่ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของวะฮาบีย์สลัฟพันธ์เทียมนั้น เลยยกมาอธิบายให้เข้าข้างตนเองเพราะมันสอดคล้องกับสิ่งที่ตนฮุกมผู้อื่นอยู่อย่างเหมาะเจาะแบบนี้

ฉนั้น ผู้ที่กระทำการอย่างนี้ ก็เป็นคนที่อยู่ในขอบข่ายที่มุสาไม่มีอะมานะฮ์ในการอ้างอิง..


แต่ในบางครั้ง การยกคำอ้างของผู้รู้ในวะฮาบีย์นั้น ..กลับ เป็นหนามยอกอกวะฮาบีย์เสียเอง ..

เช่น การที่ท่านอิบนุมุฟลิหฺ กล่าวว่า การละหมาด แล้ว...มอบผลบุให้แก่มัยยิดนั้น เป็นสิ่งที่กระทำได้...นั้น  มันเป้นสิ่งที่ขัดแย้งกับทัศนะของวะฮาบีย์อย่างเบ้อเร้อเห้อ.....ดังหลักฐานข้างล่างที่ว่า.  
ท่าน อิบนุ มุฟลิหฺ (ศิษย์ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์) กล่าวไว้ว่า

وأى قرب فعلها من دعاء واستغفار وصلاة وصوم وحج وقراءة وغير ذلك وجعل ثواب ذلك للميت المسلم نفعه ذلك . قال أحمد : الميت يصل إليه كل شيء من الخير للنصوص الواردة فيه ولأن المسلمين يجتمعون فى كل مصر ويقرؤون ويهدون لموتاهم من غير نكير، فكان ذلك إجماعا وكالدعاء والإستغفار حتى لو اهداها للنبى صلى الله عليه وسلم، جاز ووصل اليه الثواب، ذكره المجد


" ไม่ว่าอิบาดะฮ์ใด ที่กระทำขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการดุอา อิสติฆฟาร การละหมาด การถือศีลอด การทำฮัจญฺ การอ่านอัลกุรอาน และอื่น ๆ จากสิ่งดังกล่าว และเอาผลบุญดังกล่าวนั้น มอบฮะดียะฮ์ให้แก่มัยยิดมุสลิม เขาย่อมได้รับผลประโยชน์จากสิ่งดังกล่าว ท่านอิมามอะหฺมัด กล่าวว่า ผู้ตายนั้น (ผลบุญ)ทุกๆ สิ่งจากความดีงามจะถึงไปยังเขา เพราะมีบรรดาตัวบทได้รายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ และเพราะบรรดามุสลิมีนในทุกเมือง ได้ทำการรวมตัวกัน และพวกเขาทำการอ่านอัลกุรอาน และพวกเขาก็ทำการฮะดียะฮ์(มอบผลบุญของทุกๆ สิ่งจากความดีงาม) ให้แก่บรรดาผู้ตายของพวกเขา โดยไม่ได้รับการตำหนิเลย ดังนั้น ดังกล่าวย่อมเป็นมติ(อิจญฺมาอ์) และเช่นการขอดุอา และการอิสติฆฟาร นั้น หากแม้ว่า จะฮาดิยะฮ์มอบแก่ท่านร่อซูล(ซ.ล.) ก็ถือว่าอนุญาติ และผลบุญก็ถึงไปยังเขา . ซึ่งได้กล่าวมันโดยท่านอัลมุจญฺ" ดู หนังสือ อัลมุบดิอ์ ชัรหฺ อัลมุกเนี๊ยะอฺ ของท่าน อิบนุ มุฟลิหฺ เล่ม 2 หน้า 254

เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่ทราบว่า วะฮาบีย์ปลายแถวนอกคอก..อย่างมุรีดและเชคริดอ และคนอื่นๆจะกล้าฮุกมบรรดาอุลามะที่เป็นลูกศิษย์ของท่านอิบนุตัยมียะที่เป็นชื่นชอบของวะฮาบีย์ หลายๆคน ว่า ท่านนั้นทำบิดอะฮ์หรือเป็นพวกบิดอะในความเข้าใจของตนหรือเปล่า?

คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #32 เมื่อ: พ.ย. 16, 2006, 11:28 AM »
0
พี่น้องครับ

เมื่อมาถึงตรงนี้แล้ว   ผู้รู้ที่ดีใจเป็นธรรมนั้นเขาต้องจะต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบ ดูก่อนว่า
หะดิษบทนี้นั้นท่าน นบีหมายถึง พวกบิดอะฮ์ใหน?  
และเป็นพวกบิดอะฮ์ตามที่ท่านนบี(ซ.ล.)และซอฮาบะฮ์เข้าใจหรือไม่

ไม่ใช่ว่า พอเห็นหะดิษที่ฉันชอบแล้วก็แอบอ้างคำพูดพร้อมสอดเเทรกสิ่งที่ตนเห็นดีด้วย เหมือนกับนิสัยที่ตนชอบกระทำบิดอะในทำนองนี้มาเสมอ
ซึ่งยากทีจะแก้ได้ กับบิดอะที่วะฮาบีย์อุตริกรรมขึ้นมากับความเข้าใจในตัวบทหะดิษ ...

หรือว่าหะดิษ ดังกล่าวข้างบนนั้นมันเป็นแค่ความเห็น ตามทัศนะที่วะฮาบีย์เข้าใจเท่านนั้น


ซึ่งถ้าเป็นเข้าใจในความหมายของคำว่าบิดอะฮ์ตามทัศนะที่วะฮาบีย์เข้าใจล่ะก็  

ท่าน ชัยคุลอิสลาม อิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย์ ,
ท่านอิมาม อัศสายูฏีย์ , ท่านอิมามอันนะวาวีย์ ,  
ท่านอิบนุรอญับ , ท่านอบูชามะฮ์ ,
ท่านอิบนุกะษีร ,
ท่านอัซซะฮะบีย์ ,
และบรรดาปวงปราชญ์แห่งโลกอิสลามอีกมากมาย ที่ทัศนะว่า..การทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)นั้นสามารถกระทำได้

คงต้อง ถูกอัลเลาะฮ์สาปแช่ง  มะลาอิกะฮ์สาปแช่ง และบรรดามนุษย์ทั้งหลายสาปแช่ง  ตามทัศนะของวะฮาบีย์!!  ซุบหานัลลอฮ์ !!

ผมขอกล่าวว่า
لا إله إلا الله محمد رسول الله เพียง2สิ่งนี้เท่านั้น ที่อะกีดะของเราจะต้องเป็นหนึ่ง..

หรือว่าความเข้าใจของผมจะผิดพลาด ถ้าผมอยากจะบอกว่า..
ตัวอักษารที่อ่านและเขี่ยนว่า มูฮำมัดนั้น ที่แท้จริงนั้นมันคือ รูปร่างของมนุษย์หรือนูรของมุฮำมัดนั้นเอง..โดยสามารถ จะเขียนได้ใกล้เคียงที่สุดในแนวนอนโดย4ตัวอักษร เปรียบมาจากธาตุ ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ  ซึ่ง4 ธาตุเหล่านี้เป็นสิ่งที่ประกอบตัวในการสร้างให้เป็นมนุษย์ขึ้นมา..
แต่ผมคงจะโดน ฮุกมจากวะฮาบีย์ว่า  อุตริกรรมอีกเช่นเคยฮ้าๆๆ

คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #33 เมื่อ: พ.ย. 16, 2006, 11:51 AM »
0
ในบางครั้งวะฮาบีย์ก็ยกคำอ้างของท่านอัศเศาะบูนีย์ได้เล่าถึงชาวอะฮลิส
สุนนะอ ว่า
و يبغضون أهل البدع الذين أحدثوا في الدين ما ليس منه ، و لا يحبونهم ، و لا يصحبونهم )

พวกเขาโกรธชาวบิดอะฮ ซึ่งพวกเขาอุตริสิ่งใหม่ขึ้นมาในศาสนา สิ่งซึ่งไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งจากมัน ,พวกเขาไม่รักและไม่เป็นมิตรกับพวกเขา
 . [ عقيدة السلف أصحاب الحديث ، للصابوني ، ص : 118


ด้วยการแปลคำพูดของท่านอัศศอบูนีย์ ว่า

ما ليس منه

"สิ่งซึ่งไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งจากมัน"

คำว่า " منه " ว่า "ส่วนหนึ่งจากมัน"  โดยใช้ความหมาย  من  นี้ للتبعيض  "คือให้ความหมายเพียงบางส่วน"  ถือไม่ถูกต้องและแปลผิด  เพราะ من ตัวนี้ للبيان  "ซึ่งหมายถึง อุตริกรรมสิ่งที่ไม่มี(พื้นฐาน)มาจากศาสนา" แล้วถ้าหากกระทำขึ้นใหม่มาโดยที่มีพื้นฐานของศาสนาล่ะ  แน่นอนว่า  ท่านอิบนุรอญับ กล่าวว่า มันเป็น "ซุนนะฮ์"
มีรายงานจากท่านหญิง อาอิชะฮ์ (ร.ฏ.)ท่านกล่าวว่า ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)  

من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد                                                                  
หมายความว่า "ผู้ใดที่กระทำขึ้นมาใหม่  ในการงาน(ศาสนา)ของเรานี้  กับสิ่งที่ไม่มีมาจากมัน(คือจากการงานของเรา)แล้ว   สิ่งนั้นย่อมถูกปฏิเสธ"  (รายงานโดย บุคอรีย์ หะดิษที่ 2698 และมุสลิม  หะดิษที่ 1718)

ในสายรายงานหนึ่งของ มุสลิม  กล่าวว่า

من عمل عملا ليس عليه أمرنا فهو رد                                                                  
ความว่า "ผู้ใดที่ปฏิบัติ  งานหนึ่งงานใดขึ้นมา  ที่การงาน(ศาสนา)ของเรา  ไม่ได้ครอบคลุมถึงมัน  สิ่งนั้นย่อมถูกปฏิเสธ" (รายงานโดยมุสลิม  หะดิษที่  1718)

จริงๆแล้ว ท่านนบี(ซ.ล.)  ไม่ได้กล่าวเลยว่า  

من أحدث فى أمرنا هذا فهو رد                                                                    

"ผู้ใดที่กระทำขึ้นมาใหม่ ในการงาน(ศาสนา)ของเรานี้  มันย่อมถูกปฏิเสธ"

และท่านนบี(ซ.ล.)ก็ไม่ได้กล่าวว่า

من عمل عملا فهو رد                                                                      

"ผู้ใดที่ปฏิบัติ  การกระทำอันใดอันหนึ่งขึ้นมา  มันย่อมถูกปฏิเสธ"

หะดิษนี้  จำต้องเอาหะดิษที่มีคำจำกัดความหมาย.มาทอนความหมายแบบ
กว้าง  ของหะดิษนี้ (มุตลัก) เพราะ บรรดาอุลามาอ์ผู้เคร่งครัดในกลุ่มนักปราชญ์แห่งมูลฐานนิติบัญญัติอิสลามได้  กล่าวว่า  "หากปรากฏว่ามีหะดิษที่อยู่ในความหมายแบบกว้าง ๆ ( มุฏลัก) และในตัวบทหะดิษเดียวกันนี้  ก็มีความหมายที่บ่งถึงการจัดกัดความ( ( มุก๊อยยัด )   ก็จำเป็นจะต้องตีความกับความหมายแบบกว้าง ๆ นี้  ให้อยู่บนความหมายแบบจำกัดความ ( حمل المطلق على المقيد ) โดยที่ไม่อนุญาติให้ปฏิบัติตามหะดิษที่มีความหมายแบบกว้าง ๆ นี้  

เมื่อเป็นนี้  เราจึงเข้าใจหะดิษนี้ได้ว่า  

من أحدث فى أمرنا هذا ما هو منه فهو مقبول                                                            

"ผู้ใดที่กระทำขึ้นมาใหม่  ในการงานของเรานี้  สิ่งที่มีมาจากการงานของเรา  สิ่งนั้นย่อมถูกตอบรับ"

من عمل عملا عليه أمرنا فهو مقبول                                                              

 "ผู้ที่ปฏิบัติ  กับการปฏิบัติหนึ่ง  โดยที่การงานของเรา(มีรากฐาน)อยู่บนมัน  การปฏิบัตินั้นย่อมถูกตอบรับ"

********************************************
 
 สำหรับความเข้าใจของวะฮาบีย์นั้นเขาคิดว่า  "บิดอะฮ" นั้น ไม่ดีทั้งหมด  ไม่ว่าจะเป็นบิดอะฮระดับไหน  ใหญ่ หรือ เล็ก  ล้วนแล้วไม่ดีทั้งสิ้น  คนที่กระทำเช่นนี้..ที่อยู่ของมันก็คงจะไม่แคล้ว  ไฟนรกอย่างแน่นอน..55

วะฮาบีย์นั้นส่วนมากจะฮุกมพี่น้องมุสลิมไม่เลือกหน้าไม่ว่าจะเป็นอุลามะหน้าไหนก็ตาม

อย่าเช่นท่านอิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย์  หรือท่านอิมามซายูฏีย์ และ ท่านอิมามอันนะวาวีย์ซึ่งได้ร่วมปรากฏตนในเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)
คงจะไม่แคล้วพ้นการฮูกมของวะฮาบีย์อย่างหลีกเลบี่ยงไม่ได้

.เอ..ถ้าเป็นเช่นนั้นวะฮาบีย์ ที่ชื่อ เชค ริดอ คงจะฮุกมผู้ที่ละหมาดในมัสยิสอัลที่เป็น มุบัลลิค (ลูกคู่) ที่มัสยิดหะรอม  ที่ชอบกล่าวว่า "ร๊อบบะนาละกัลฮัมด์" นั้น คงเป็นบิดอะฮ์ เช่นกัน ก็คงตกนรกอีกคนแน่ฮ้าๆๆๆ
แถมมีการละหมาด ตารอเวียะ20รอกาอัตและยังบิดอะเพิ่มคำว่า  صلاة القيام أثابكم الله  อีกด้วย..

สงสัย  มุบัลลิก ที่กล่าวว่าเช่นนี้ คงทำบิดอะฮ์ต่อศาสนาตัวเองและฝ่าฝืนท่านนบีที่ไม่เคยทำ และไม่เคยใช้ มาก่อน
แล้วเช่นนี้ เขาต้องลงนรกหรือเปล่าครับ??

สงสัยสวรรค์คงเหงา เพราะมีแต่วะฮาบีย์  
ผมขอกล่าวคำว่า لا إله إلا الله محمد رسول الله วะฮาบีย์มันช่างอุตรกรรมที่ลุ่มหลงเหลือเกิน ในการสร้างบิดอะแบบฉบับ วะฮาบีย์ด้วยการ ฮุกมมวลมนุษยชาติซึ่งเป็นอุมมะของท่านรอซุ้ลอย่างน่าเกลียดยิ่งนัก.
.

คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #34 เมื่อ: พ.ย. 16, 2006, 12:32 PM »
0
พี่น้องครับ

แต่เมื่อมีการถามว่า.... การรวบรวมอัลกุรอ่านเป็นบิดอะหรือไม่ ..ก็ในเมื่อ วะฮาบีย์อ้างว่า สิ่งไหนที่ไม่มีในสมัยท่านนบี (ซล)แม้ว่าจะเป็นเรื่องความดีในเรื่องศาสนาก็ตามสิ่งนั้นจะถูกผลัก  เพราะการกระทำนั้นท่านบีไม่รับรองและไม่รู้ไม่เห็น..

วะฮาบีย์กลับตอบว่า..
 การรวบรวมอัลกรอานนั้นเพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้และเพื่อปกป้องสัจธรรมอิสลาม เป็นสิ่งที่เป็นวายิบ ไม่ใช่บิดอะอ  และยังอ้างถึงว่า การรวบรวมอัลกุรอ่าน เป็นการกระทำของเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน ที่ท่านนบี  สอนให้อุมมะฮยึดเอามาเป็นแบบอย่าง ...

นี้แหละครับ ไม้เด็ดของวะฮาบีย์..ด้วยการก้าวล้ำอัลลอฮ์และรอซุ้ล ในการอ้างในสิ่งข้างบนว่า ..เป็นวายิบ..วะฮาบีย์ นั้นสามารถกำหนดวายิบฮานรามได้ตามใจตนชอบ..
ครั้งหนึ่งผมเคยสนทนาเริ่อง..การที่จะออกฮูกมต่างๆในสิ่งที่ไม่มีในสมัยท่านนบีนั้น บรรดาอุลามะที่มีความรู้นั้นสามารถใช้ผลการอิติญาด มุตะญิดได้  เช่น ในบรรดาผู้รู้มัสหับทั้ง4 นั้น..ที่กล่าวว่า ..การละหมาดนั้น..จำเป็นหรือวายิบต้องอ่าน..ฟาตีหะ...ซึ่งสิ่งเหล่านี้บรรดาอุลามะมีมติด้วยกัน..

แต่วะฮาบีย์กลับกล่าวว่า ..จะอ่านหรือไม่ก็ตามได้ทั้งนั้น อุลามะเหล่านั้นเพราะเราไม่ใช่เป็น อัลลอฮ์และท่านนบี..

แต่มาถึงยกนี้ วะฮาบีย์กลับมาตั้งฮุกมเสียเองว่า การรวบรวมอัลกรุอานนั้นเป็นวายิบไม่ใช่บิดอะ..แม้ว่าไม่มีบอกในอัลกรุอ่านและท่านนบีไม่ได้สั่งก็ตาม....นะอูซูบิ้ลา..
 

ท่านนบี ศอลฯกล่าวว่า

عليكم بسنتي وسنة الخلفاء الراشدين المهديين من بعدي ، تمسكوا بها وعضوا عليها بالنواجذ ، وإياكم ومحدثات الأمور ، فإن كل محدثة بدعة ، وكل بدعة ضلالة ) أخرجه أحمد 4/126 ، والترمذي برقم 2676


..พวกท่านมีหน้าที่ปฏิบัติตามสุนนะฮ(แบบอย่าง)ของฉัน และบรรดาเคาะลิฟะฮผู้ชี้ทางที่ถูกต้อง ผู้ได้รับทางนำหลังจากฉัน จงยึดถือมัน และจงกัดกรามต่อมัน(หนักแน่นอดทน) และพึงระวังสิ่งที่ถูกอุตริขึ้นใหม่ในศาสนา และแท้จริงทุกสิ่งอุตริขึนใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ และทุกบิดอะฮ นั้น เป็นการหลงผิด" - บันทึกโดยอะหมัด และ อัตติรมิซีย์

วะฮาบีย์นั้น พยายามเหลือเกินที่จะบอกว่า  การรวบรวมอัลกุรอานเป็นวายิบซึ่งเป็นสิ่งที่น่าอับอายด้วยความเขลาของเขาที่กล่าวเช่นนี้

และถ้ามันเป็นสิ่งวายิบจริง วายิบ  ท่านบีก็เป็นอีกคนหนึ่งที่เป็น ผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งนี้ ..และก็ต้องโดนฮูกมว่า ทำบิดอะและต้องลงนรก เพราะไปขัดคำสั่งใช้ของอัลเลาะฮ์..นี่ขนาดท่านนบี ยังไม่ร฿เลยหรือว่า การรวบรวมอัลกรอานเป็นวายิบ...ท่านจึงได้ปล่อยมาถึงมือ คุลีฟะคนที่ 3 คืออุสมาน..

ถ้าเช่นนั้นจริง
ท่านอบูบักร์ ท่านอุมัร ท่านอุสมาน ท่านอะลี(รด) ไม่รู้เลยหรือ..ว่ามันป็นสิ่งวายิบที่ต้องกระทำและต้องพลอยรับแบบภาระมาเกือบ30-40ปี

พี่น้องครับ
อัลเลาะฮ์ไม่ได้สั่งใช้ให้รวบและนบีไม่ได้สั่งใช้ให้รวบรวมเป็นเล่มเลย  มีแจ่วะฮาบีย์สลัฟจอมปลอมเท่านั้น ที่บอกว่าและนำมาบัญญัติว่าเป็น "วายิบ"   การกล่าวว่า...วายิบ..ต้องรวบรวมอัลกุรอานเพราะอัลเลาะฮ์ใช้และร่อซูลใช้นั้น ย่อมเป็นการกล่าวอ้าง ..ที่ตอแหล ตลบตะแลงและโง่เขลาแบบลาที่ขาดสติ
เพราะอัลเลาะฮ์และร่อซูลไม่เคยสั่งให้กระทำมาก่อนเลย..  

แต่การที่ท่านอุมัร(รด)เห็นความสำคุญของการกระทำดังกล่าวนั้น ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดี และที่ท่านอบูบักร์ไม่คิดอย่างนั้น ก็ไม่ใช่ว่าท่าน..จะฝ่าฝืน..แต่ด้วยอำนาจของพระองค์ที่จะทรงฮีดายะให้ใครก่อน
และหากเป็นสิ่งจำเป็นอันเนื่องมาจากอัลเลาะฮ์และร่อซูลของพระองค์ไม่ได้สั่งนั้น ซึ่งการกระทำของท่านซอฮาบะนั้นก็ถือว่า เขาเรียกว่า "บิดอะฮ์ที่ดี ที่สมควรจะกระทำหรือส่งเสริมมัน หรือเรียกอีกแบบว่า "ซุนนะฮ์(แนวทาง)ที่จำเป็น..
*******************************************
..
เมื่อเป็นเช่นที่วะฮาบีย์เข้าใจว่า...การกระทำใดๆก็ตามที่ไม่มีในสมัยท่านนบีนั้นเป็นบิดอะและไม่ถูกตอบรับแล้ว..

แล้วบรรดาคอลิฟะฮ์อัรรอชิดีน เขาทำการรวบรวมอัลกุรอานนั้น
เขาใช้หลักฐานอะไรมาเป็นบรรทัดฐานหรือ  ก็ในเมื่อคอลิฟะฮ์อัรรอชิดีนทั้ง4 ไม่เคยแอบอ้างตนเองว่า ...สิ่งที่ตนเองทำขึ้นโดยที่ท่านนบีไม่เคยทำนั้น "เป็นสุนัต"..หรือวายิบ.ก็ไม่มี เพราะนบีไม่เคยสั่งใครไว้เลย
แต่บรรดาคอลิฟะฮ์อัรรอชิดีนได้กระทำนั้นขึ้น เนื่องจากพิจารณาจากหลักการและเจตนารมของอิสลาม  เกรงว่าอัลกุรอานและสูญหายอันเนื่องจากบรรดานักอ่านถูกฆ่าตายในสงครามที่รบกับพวกตกมุรตัด  

ท่านอุมัรได้เล็งเห็นถึงกรณีดังกล่าว คือในการรวบรวมอัลกุรอาน  เลยไปปรึกษาท่านอบูบักร  แต่ในช่วงแรกท่านอบูบักรก็ไม่เห็นด้วยโดยท่านอบูบักรกล่าวว่า "ท่านจะให้ฉันกระทำในสิ่งที่ท่านนบีไม่เคยกระทำหรอ?"  แต่ท่านอุมัรก็พยายามทบทวนให้คำปรึกษากับท่านอบูบักร ดังนั้น อัลเลาะฮ์จึงเปิดใจให้ท่านอบูบักรทำการรวบรวมอัลกุรอาน  แล้วท่านอบูบักรและท่านอุมัร จึงเรียกตัวท่านซัยด์ บิน ษาบิต มา เพื่อรับคำสั่งการรวบรวมอัลกรุอาน

จะเห็นว่า การที่ท่านซัยด์ บิน ษาบิตจึงกล่าวถามว่า "ท่านทั้งสองจะใช้ให้ฉันกระทำสิ่งที่ท่านนบีไม่เคยกระทำหรือ?"
[/b]..

แต่ไม่มีเคยมีซอฮาบะท่านใดกล่าวว่า ท่านนั้นกระทำการบิดอะ หรือเป็นซุนนะท่านนบีกระทำหรือเป็นสิ่งวายิบที่อัลเลาะฮ์ใช้ .แต่ทุกคนพากันปฏิบัติตามในสิ่งที่ได้รับมอบหมาย..

จะมีก็เพียงวะฮาบวม สเลียมพันธ์ทัพ  เท่านั้นที่กล่าวอ้าง..

คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #35 เมื่อ: พ.ย. 16, 2006, 12:38 PM »
0
จะเห็นว่า
 มีบรรดาหลายหะดิษที่กล่าวถึงเรื่องบิดอะฮ์  ซึ่งบางหะดิษกล่าวถึงเรื่องบิดอะฮ์โดยให้ความหมายที่ครอบคลุม( อุมูม )  แต่บางหะดิษกล่าวถึงเรื่องบิดอะฮ์โดยมีความหมายที่เจาะจงถ้อยความ( ตัคซีซ )

ดังนั้น  ส่วนหนึ่งจากหะดิษที่ให้ความหมายในเรื่องบิดอะฮ์โดยความหมายที่ครอบคลุม  คือ  หะดิษของท่าน ญาบิร บิน อับดุลเลาะฮ์  เขากล่าวว่า  ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า

أما بعد: فإن خير الحديث كتاب الله وخير الهدى هدى محمد وشر الأمور محدثاتها وكل محدثة بدعة وكل بدعة ضلالة

 ความว่า" จากนั้น  แท้จริงถ้อยความที่ดีที่สุด คือกิตาบุลเลาะฮ์  แต่ทางนำที่ดีที่สุด  คือทางนำของมุหัมมัด  แต่บรรดาการงานที่ชั่วที่สุด  คือบรรดาสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่  และทุกสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่นั้น  เป็นบิดอะฮ์  และทุกๆ บิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง"  ( รายงานโดยมุสลิม  หะดิษที่  867  อิมามอะหฺมัด  รายงานไว้ในมุสนัด เล่ม 3 หน้า 310   ท่านอันนะซาอีย์  รายงานไว้ในสุนันของท่าน  เล่ม 3 หน้า 188  และท่านอื่นๆ )

      คำว่า"บิดอะฮ์" ในหะดิษนี้  ครอบคลุมถึง  บิดอะฮ์เดียว หรือหลายๆ บิดอะฮ์  และครอบคลุมถึงบิดอะฮ์หะสะนะฮ์(ที่ดี) และบิดอะฮ์ซัยยิอะฮ์(น่ารังเกียจ)

 มีหะดิษอีกส่วนหนึ่งที่รายงานด้วยถ้อยคำที่เจาะจงและทอนความหมายของคำ"บิดอะฮ์"  คือคำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า

من ابتدع بدعة ضلالة لا يرضاها الله ولا رسوله كان عليه مثل آثام من عمل بها لا ينقص ذلك من أوزارهم شيئا

       ความว่า" ผู้ใดที่อุตริทำบิดอะฮ์อันลุ่มหลง  ที่อัลเลาะฮ์และร่อซูลของพระองค์ไม่พอใจ  แน่นอน  เขาย่อมได้รับบาปเหมือนกับผู้ที่ได้ปฏิบัติมัน  โดยที่บาปของพวกเขาดังกล่าวจะไม่ทำให้สิ่งใดลงน้อยลง  จากบรรดาบาปของพวกเขา"  อิมาม  อัตติรมีซีย์  กล่าวว่า  หะดิษนี้  หะซัน ( ดู  อัล-อาริเฏาะฮ์ เล่ม 10 หน้า 148)  

       ในหะดิษนี้  ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ได้เจาะจงและทอนความหมายของคำว่า "บิดอะฮ์ที่หะรอม" นั้น  คือบิดอะฮ์อันน่ารังเกียจที่ไม่สอดคล้องกับหลักชาริอะฮ์

       ฉะนั้น  ตามหลักอุซูล ( อัลกออิดะฮ์ อัลอุซูลียะฮ์) คือ  เมื่อมีตัวบทที่รายงานมาจากหลักการของชาเราะอฺ  โดยมีถ้อยคำที่ครอบคลุม ( อาม ) และถ้วยคำที่เจาะจง ( ค๊อซ )  ก็ให้นำเอาถ้อยคำที่เจาะจง ( ค๊อซ )มาอยู่ก่อนในการนำมาพิจารณา  เนื่องจากในการนำถ้อยคำที่เจาะจง ( ค๊อซ ) มาอยู่ก่อนนั้น  ทำให้สามารถปฏิบัติได้ทั้ง 2 ตัวบทไปพร้อมๆ กัน  ซึ่งแตกต่างกับการที่  เอาถ้อยคำที่ครอบคลุม ( อาม  ) มาอยู่ก่อน  เนื่องจากจะทำให้ยกเลิกหรือละทิ้งกับตัวบทที่ให้ความหมายเจาะจงไป ( ดู  ชัรหฺ อัลเกากับ อัลมุนีร เล่ม 3 หน้า 382)

       ฉะนั้น  จุงมุ่งหมายของคำกล่าวท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า

 (  كل بدعة ضلالة )  

"ทุกบิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง"

      หมายถึง  บิดอะฮ์อันน่ารังเกียจ  คือ  สิ่งที่อุตริขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่มีหลักฐานจากชาเราะอฺ  ไม่ว่าจะด้วยหนทางที่ครอบคลุมหรือเจาะจง

       และหลักการนี้  ก็อยู่ในนัยยะเดียวกับคำกล่าวของท่านร่อซูลุเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า

كل عين زانية

      " ทุกๆสายตานั้น  ทำซินา" ( นำเสนอรายงานโดย อิมามอะหฺมัด ในมุสนัด เล่ม 3 หน้า 394 - 413   อบูดาวูด ได้รายงานไว้ใน สุนันของท่าน หะดิษที่ 4173   อัตติรมิซีย์  หะดิษที่ 2786   ท่านอันนะซาอีย์  เล่ม 8 หน้า 135  และท่านอัตติรมิซีย์กล่าว  หะดิษนี้  หะซันซอเฮี๊ยะหฺ  

      ดังนั้น  ถ้อยคำของหะดิษนี้ไม่ใช่หมายถึงทุกๆสายตานั้นทำซินา   แต่ทุกๆสายตาที่มองสตรีโดยมีอารมณ์ใคร่ต่างหาก  คือสายตาที่อยู่ในความหมายของซินา  (ดู หนังสือ  อัตตัยซีร บิชัรหฺ อัลญาเมี๊ยะอฺ อัศซ่อฆีร  ของท่าน อัลมะนาวีย์  เล่ม 2 หน้า 216)

       ท่านอัล-หาฟิซฺ  อิมาม  อันนะวะวีย์ (ร.ฏ.) กล่าวว่า
" คำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า  (  كل بدعة ضلالة ) " ทุกบิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง" นั้น  

คืออยู่ในความหมายของ คำคลุมที่ถูกเจาะจง (คือถ้อยคำที่มีความหมายที่ครอบคลุมแต่ถูกเจาะจงหรือทอนความหมายด้วยหะดิษอื่น)  
จุดประสงค์ของท่านนบี(ซ.ล.) ก็คือ บิดอะฮ์ส่วนมากนั้นลุ่มหลง ในลักษณะจุดมุ่งหมายจากคำกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.)ก็คือ ส่วนมากของบิดอะฮ์(นั้นลุ่มหลง)
   และเช่นเดียวกันกับบรรดาหะดิษต่างๆที่มีหลักการเหมือนกับหะดิษนี้   และได้ทำการสนับสนุนกับสิ่งที่เราได้กล่าวมาแล้ว  โดยคำกล่าวของท่านอุมัร(ร.ฏ.) เกี่ยวกับละหมาดตะรอวิหฺ  ที่ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี  คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"  

        และการที่หะดิษมีความหมายที่ครอบคลุมที่ต้องถูกเจาะจง (คือถ้อยคำที่มีความหมายที่ครอบคลุมแต่ถูกเจาะจงหรือทอนความหมาย)นั้น  ก็จะไม่ไปห้ามกับคำกล่าวของร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า (  كل بدعة ) "ทุกบิดอะฮ์"  โดยตอกย้ำด้วยคำว่า ( كل ) "ทุกๆ"  แต่จะต้องทำการเจาะจงหรือทอนความหมายของคำว่า ( كل ) "ทุกๆ" นี้ด้วย   กล่าวคือ ( ความหมายที่ครอบคลุมนี้คือ "ทุกบิดอะฮ์นั้นลุ่มหลง"  โดยทำการเจาะจงหรือทอนความหมายด้วยหะดิษอื่น  จึงได้ความว่า  มีบิดอะฮ์อื่นที่ไม่ได้อยู่ในความหมายของบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง   ซึ่งเหมือนกับคำตรัสของอัลเลาะฮ์ ที่ว่า ( تدمر كل شيء ) " มันเป็นลมที่จะทำลายทุกๆสิ่ง" (นอกบ้านเรือนของพวกเขาเป็นต้น)  (ดู  ชัรหฺ ซ่อเฮี๊ยะหฺ มุสลิม  ของอิมาม อันนะวะวีย์  เล่ม 3 หน้า 42
3) ..



ฉนั้น เราจะเห็นว่า วะฮาบีย์นั้นจะกระทำบิดอะเรื่อยมาโดยอ้างหลักเกินของตัวองมาตลอด  แต่น่าสงสาร ความคิดบิดอะในงวะฮาบีย์เกี่ยวกับหะดิษนั้น

กลับไม่เป็นที่ยอมรับของปวงปราญช์สมัยแล้วสมัยเล่า ..เพราะเป็นการสร้างฮุกมเพื่อ กมตัวเองเท่านั้น..

ออฟไลน์ sufriyan

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 526
  • เพศ: ชาย
  • 0000
  • Respect: +16
    • ดูรายละเอียด
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #36 เมื่อ: พ.ย. 16, 2006, 02:21 PM »
0
สลามครับ บังๆทั้งหลาย และคุณอัชฮารี งั้นเดี๋ยวผมจะติดตามเฝ้าดูแถวๆไกล้ๆผมบ้างละกันครับ มีอะไร จะมาเล่าสู่กันฟังนะครับ

คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #37 เมื่อ: พ.ย. 16, 2006, 03:44 PM »
0
:o หรือว่าความเข้าใจของผมจะเป็นบิดอะที่ลุ่มหลง.อีกคน
ถ้าผมอยากจะบอกว่า..

ตัวอักษรที่อ่านและเขี่ยนว่า มูฮำมัด..นั้น ที่แท้จริงนั้นมันคือ รูปร่างของมนุษย์หรือนูรของมุฮำมัดนั้นเอง..โดยสามารถ จะเขียนได้ใกล้เคียงที่สุดในแนวนอนโดย4ตัวอักษร เปรียบมาจากธาตุ ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ ซึ่ง4 ธาตุเหล่านี้เป็นสิ่งที่ประกอบตัวในการสร้างให้เป็นมนุษย์ขึ้นมา..
แต่ผมคงจะโดน ฮุกมจากวะฮาบีย์ว่า อุตริกรรมอีกเช่นแน่ อะกึยๆๆๆ/size]

ออฟไลน์ อัล-อุม

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 92
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #38 เมื่อ: พ.ย. 16, 2006, 03:56 PM »
0
อืมเข้ามา อ่าน..นะครับ..แฮ้ะๆๆๆๆ

คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #39 เมื่อ: พ.ย. 16, 2006, 04:13 PM »
0
:oops: และต่อไปเรามารู้จักบิดอะของวะฮาบีย์ ในหลักการแบ่งเตาฮีดออกเป็น3ประเภท

เป็นที่รู้ว่า ...ทัศนะของกมมูดอหรือวาฮาบีย์นั้นจะแบ่งเตาฮีดออกเป็น3 ประเภท  และบรรดาพวกวะฮาบียะหรือกลุ่มผู้รู้ของทัศนะนี้  ...พวกเขาจะทำการแบ่งเตาฮีดออกเป็น3ประเภท
1.เตาฮีดอัล-รูบูบียะ
2.เตาฮํ อัล-อูลูฮียะ
3.เตาฮีดอัล-อัสมาวัตซีฟัต.

ซึงการแบ่งดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นบิดอะที่ลุ่มหลงของทัศนะวะฮาบีย์วึ่งใช้เป็นที่สอนเรียนของโรงเรียนวะฮาบีย์ส่วนใหญ่

ที่ ไม่มีในสมัยท่านนบีและซอฮาบะ   ตาบีอีน    ตาบีอีต      ตาบีอีนและสลัฟแต่อย่างใด.แต่วะฮาบียะทำการแบ่งเอาเองโดยกหลักฐานจาสกอะยะกรุอ่านที่ 39//62ว่า..อัลเลาะฮ์นั้นผู้ทรงบันดาลทุกสิ่งทุกอย่าง
และอายะที่ว่า ..
แท้จริงองค์อภิบาลของพวกเจ้าทั้งหลายคือ อัลเลาะฮ์ ผู้ทรงบันดาล(สร้าง)

ฟากฟ้าและแผ่นดินใน6วัน หลังจากนั้นพระอง๕ได้ทรงประทับบนบรรลังค์ และบรหารจัดการทุกสิ่ง
 10//3จากหนังสือของวะฮาบีย์เขียนโดย อับดุลกอเดร บินอะหมัด อัล-ไซน์..
ซึ่งการแบ่งดังกล่าวถือว่ามีความผิดมากกับทัศนะของอุลามะและมติปวงปราชญ์ทั่วโลก[/u][/u][/color][/size]

คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #40 เมื่อ: พ.ย. 17, 2006, 11:36 AM »
0
การแบ่งเตาฮีด

การแบ่งเตาฮีดของทัศนะวะฮาบีย์นั้น แตกต่างกับการแบ่งเตาฮีดของมุสลิมชาวอะลิสซุนนะส่วนใหญ่ของโลกทีมีมา ตั้งแต่ยุคซอฮาบะ ของท่านนบี(ซล)

ในเรื่องหลักการศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้านั้น พวกเขาเหล่านั้นล้วนมีความเชื่อในเอกภาพต่ออัลเลาะเหมือนๆกัน เพียงแต่หลักฐานทาง  ด้านลายลักษณ์อักษรในด้านความเชื่อในสมัยนั้น หาได้ไม่มากนัก ในด้านการจัดเก็บหรือการบันทึกข้อมูลทางความเชื่อนั้น ด้วยเหตุผลที่ว่านั้นสมัยนั้น ยังไม่มีความสมบุรณของอุปกรณ์และเครื่องมือในการจัดเก็บ

แต่การจัดเก็บจะอยู่ในรูปของการท่องจำไว้ในสมอง  

ดังนั้น..ความเชื่อที่เป็นลายลักษร์อักษรเหล่านั้นเลยไม่ได้ถูกถ่ายทอดเป็นตัวอักษรแบบทุกวันนี้ ..จึงเป็นเป้าหมายของนักวิชาการสมัยใหม่ที่..เขาไม่ให้การนยอมรับว่า  แท้จริงแล้ว แนวทางความเชื่อเรืองเตาฮีดส่วนมากแล้ว ใน ความเชื่อที่ตรงและสอดคล้องกันตลอด..

ว่ากันว่า การจดบันทึกที่สมบูรน์นั้นเริ่มตั้งสมัย ราชวงค์อับบารียะตั้งแต่นั้นมา

ยังไรก็ตาม

 บรรดาผู้รู้ตั้งแต่อดีตนั้น เป็นหลักฐานหรือตัวอย่างที่ดีในการสืบค้นถึง  การกระทำต่างๆที่เกี่ยวกับงานศาสนาของเขาในอดีตได้ดีกว่า.เหตุผลอื่นๆ.. หรือเกือบจะกล่าวได้ว่า ...การกระทำของผู้รู้ก่อนๆบางอย่างนั้นชี้ให้เห็นถึงที่มาของการกระทำของคนในสมัยนี้ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะ คนที่มีความรู้ที่ดีในยุค 300ปี...เช่นอีหม่ามทั้ง4..

ซึ่งแนวทางการศรัทธาต่อเอกภาพของอัลเลาะของคนเหล่านั้น มีลักษณะไปทิศทางเดียวกัน...เช่น ลูกศิษย์ของอีหม่ามฮานาฟีที่มีชื่อเสียงและเป็นอุลามะใหญ่คนหนึ่งที่ชื่อ อัลมุตะรียะ ช่วยกันค้นคว้าหาหลักฐานจากอัลกรุอ่านกับบรรดาลูกศิษย์ของท่านอีหม่ามชาฟีอิ โดยพยายามหาหลักฐานที่มาเกี่ยวกับซีฟัตหรือคุณลักษณะของอัลเลาะในอัลกรุอาน ซึ่งจากเดิม นั้นซีฟัตสำหรับอัลเลาะห์ที่ท่าน ฮะซัน อัลอัศฮารีย์ค้นคว้านั้นมีเพียง7คุณลักษณะ แต่จากการรวมมือช่วยเหลือกันศึกษาเกี่ยวกับการรู้จักในเอกภาพอัลเลาะนั้น จากบรรดาลูกศิย์ของิหม่ามทั้ง2นั้น เป็น20ข้อ

คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #41 เมื่อ: พ.ย. 17, 2006, 11:49 AM »
0
ตรงนี้เราจะเห็นว่า บรรดาผู้รู้ในอดีตนั้นมีความเข้าใจตรงกัน ในแนวทางอาชาอิเราะ..ที่บอกว่า เรามุสลลิมนั้นต้องเรียนรู้ คุณลักษณะของอัลเลาะทั้20ประการ  ก่อน เพราะมันจำเป็นในการุ้จักกับพระเจ้าของเราทุกคน

แต่เมื่อมีนักวิชาการสมัยใหม่ หลัง400ปีถัดมา ความคิดที่เป็นบิดอะของนักวิชาการสมัยใหม่ในทัศนะของวะฮาบียะ นั้นเริ่มทำการค้นคิดบิดอะในแบบฉบับของวะฮาบีย์โดยการปรุงแต่งหลักสูตรและตำราต่างๆ.. ในหลักการแบ่งเตาฮีดออกเป็น3ประเภทโดยที่จะไม่ให้มีความเหมือนกับ..แนงวทางเดิม ที่มีมาในอดีต..

ในที่สุดพวกเขาก็ได้สูตรสำเร็จรูปในการค้นคิดบิดอะดอลาละตัวใหม่ขึ้นนั้นคือ..การแบ่งเตาฮีดออกเป็น3ประเภท

1.เตาฮีดอัล-รูบูบียะ

2.เตาฮีด อัล-อูลูฮียะ

3.เตาฮีดอัล-อัสมาวัตซีฟัต.

ซึงการแบ่งดังกล่าวนั้นถือว่า

เป็นบิดอะที่ลุ่มหลงของทัศนะวะฮาบีย์ที่ไม่เป็นที่รู้จักมาคุ้นของอุลามะในอดีตที่เป็นทั้ง ซอฮาบะ ตาบีอีน ตาบีอิตตาบีอีนและคนสลัฟ

สิ่งเหล่านี้ เป็นการคัดค้านกับความรู้ของอุลามะในอดีตอย่างสิ้นเชิงซึ่งการแบ่งดังกล่าวถือว่ามีความผิดแผกกับทัศนะของอุลามะและมติปวงปราชญ์ส่วนใหญ่ของทั่วโลก..ที่พวกเขานั้น จะมีลักษณะความเชื่อในเอกภาพต่ออัลเลาะในแนวทางหรือเส้นทางเดียวกัน..โดยไม่ขัดแย้งกัน..

ดังนั้น..เราจึงกล่าวได้ว่า  การแบ่งเตาฮีดของวะฮาบีย์นั้นเป็น บิดอะที่ลุ่มหลง

และเป็น อุตริกรรมหรือสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ ที่ไม่มีในสมัยท่านนบี

ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า

من ابتدع بدعة ضلالة لا يرضاها الله ولا رسوله كان عليه مثل آثام من عمل بها لا ينقص ذلك من أوزارهم شيئا

ความว่า" ผู้ใดที่อุตริทำบิดอะฮ์อันลุ่มหลง ที่อัลเลาะฮ์และร่อซูลของพระองค์ไม่พอใจ แน่นอน เขาย่อมได้รับบาปเหมือนกับผู้ที่ได้ปฏิบัติมัน โดยที่บาปของพวกเขาดังกล่าวจะไม่ทำให้สิ่งใดลงน้อยลง จากบรรดาบาปของพวกเขา" อิมาม อัตติรมีซีย์ กล่าวว่า หะดิษนี้ หะซัน ( ดู อัล-อาริเฏาะฮ์ เล่ม 10 หน้า 148)

...เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว  ตำรับตำราของทัศนะวะฮาบีย์ที่ใช้สอนเรียนในหนังสือของเขานั้น ก็เป็นการอุตริขึ้นมาทั้งสิ้น เพื่อ ที่จะสอนให้ผู้ที่อยู่ในแนวทางเดียวกับตนได้เข้าใจ ในสิ่งเดียวกัน  ถือว่า เป็นการโง่งมงายยิ่งนัก.

พวกเขาไม่ได้เข้าใจในคำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) หรือไรที่ว่า

( كل بدعة ضلالة )

"ทุกบิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง"

หมายถึง บิดอะฮ์อันน่ารังเกียจ คือ สิ่งที่อุตริขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่มีหลักฐานจากชาเราะอฺ ไม่ว่าจะด้วยหนทางใดๆ

--เมื่อสิ่งที่ตนประดิษฐ์ขึ้นมาแล้วอ้างว่า ดีนั้น .ไม่ได้มีการรยอมรับและผ่านการรับรู้มาจาก บรรดาผู้รู้ในอดีตมาก่อนนั้น

ย่อมเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจสำหรับความคิดสมัยใหม่ของทัศนะหลังนี้..นะอูซูบิ้ลลา..

คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #42 เมื่อ: พ.ย. 19, 2006, 04:52 PM »
0
เราจะเห็นว่า ทัศนะของวะฮาบีย์นั้น จะไม่ยอมให้ความหมายใดๆเกี่ยวกับเรื่องนี้ พวกเขากล่าวว่า คำว่าบิดอะนั้นมีอย่างเดียว โดยอ้างหะดิษที่ท่านนบีกล่าวว่า..
( كل بدعة ضلالة )

"ทุกบิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง"

ในความเป็นจริงนั้น ..ท่านนบีหมายถึง บิดอะที่ลุ่มหลงที่ไม่มีจากกีตาบุลลอฮ์และซุนนะนบีมาก่อน..โดยหมายถึง บิดอะฮ์อันน่ารังเกียจ คือ สิ่งที่อุตริขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่มีหลักฐานจากชารีอัตหรือการปฏฺบัติของท่าน ( ไม่ว่าจะด้วยหนทางที่ครอบคลุมหรือเจาะจง)

ซึ่งเราจะเห็นจากหะดิษที่ให้ความหมายในเรื่อง..บิดอะฮ์..โดยความหมายที่ครอบคลุม

คือ หะดิษของท่าน ญาบิร บิน อับดุลเลาะฮ์ เขากล่าวว่า ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า

أما بعد: فإن خير الحديث كتاب الله وخير الهدى هدى محمد وشر الأمور محدثاتها وكل محدثة بدعة وكل بدعة ضلالة

ความว่า" จากนั้น แท้จริงถ้อยความที่ดีที่สุด คือกิตาบุลเลาะฮ์ แต่ทางนำที่ดีที่สุด คือทางนำของมุหัมมัด แต่บรรดาการงานที่ชั่วที่สุด คือบรรดาสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ และทุกสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ์ และทุกๆ บิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง"
จาก รายงานโดยมุสลิม หะดิษที่ 867

และจากรายงานของท่านอิหมามอะหฺมัด ที่รายงานไว้ในมุสนัด เล่ม 3 หน้า 310
และหลักฐานจากท่านอีหม่ามอันนะซาอีย์ รายงานไว้ในสุนันของท่าน เล่ม 3 หน้า 188 และท่านอื่นๆ )

โดยให้ความหมายของ คำว่า"บิดอะฮ์" ในหะดิษนี้ ครอบคลุมถึง บิดอะฮ์เดียว หรือหลายๆ บิดอะฮ์ และครอบคลุมถึงบิดอะฮ์หะสะนะฮ์(ที่ดี) และบิดอะฮ์ซัยยิอะฮ์(น่ารังเกียจ)

มีหะดิษอีกส่วนหนึ่งที่รายงานด้วยถ้อยคำที่เจาะจงและทอนความหมายของคำ"บิดอะฮ์" คือคำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า

من ابتدع بدعة ضلالة لا يرضاها الله ولا رسوله كان عليه مثل آثام من عمل بها لا ينقص ذلك من أوزارهم شيئا

ความว่า" ผู้ใดที่อุตริทำบิดอะฮ์อันลุ่มหลง ที่อัลเลาะฮ์และร่อซูลของพระองค์ไม่พอใจ แน่นอน เขาย่อมได้รับบาปเหมือนกับผู้ที่ได้ปฏิบัติมัน โดยที่บาปของพวกเขาดังกล่าวจะไม่ทำให้สิ่งใดลงน้อยลง จากบรรดาบาปของพวกเขา" อิมาม อัตติรมีซีย์ กล่าวว่า หะดิษนี้ หะซัน ( ดู อัล-อาริเฏาะฮ์ เล่ม 10 หน้า 148)

ดังนั้นสิ่งที่ทัศนะวะฮาบีย์ไม่ยอมรับว่า บิดอะนั้นมีทั้ง บิดอะที่ดีและบิดอะที่เลวนั้น แท้จริงเขานั้นเป็นผู้ฉ้อฉล และไม่ยอมรับ ในหะดิษที่ท่าน ญาบิร บิน อับดุลเลาะฮ์ ที่ท่านมุสลิมนำมารายงานและอีกยังไม่เข้าใจในในความรู้ของอุลามะกับ สิ่งที่ท่านอีม่ามอะหมัดและท่านอันนาซะอีย์กล่าวในสุนันของท่าน..

เป็นที่ทราบดีว่า บรรดาผู้รู้และอุลามะรุ่นก่อนนั้นย่อมมีความเข้าใจในเรื่องบิดอะไปในทิศทางเดียวกัน  ยังคงมีแต่ทัศนะวะฮาบีย์เท่านั้นที่ไม่ยอมเปิดตาเปิดห๔กับสิ่งที่บรรดาผู้รู้ของอัลลอฮ์ให้ความกระจ่าง


และบรรดาผู้รูเหล่านั้น ไม่ได้เป็นผู้โง่เขลาเลยที่ได้แยกแยกในคำว่าบิดอะนั้น ซึ่งแบ่ง 2ประเภท  

คือ บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ที่ ต้องไม่ไปขัด หรือ ค้าน กับตัวบทหนึ่ง จากบรรดาตัวบทของศาสนา  เช่นอัลกุรอาน  หะดิษ และอิจญฺมาอฺ และในขณะเดียวกัน..บิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น ต้องไม่ทำให้มีการยกเลิก หรือลบล้าง ซุนนะฮ์ใด ซุนนะฮ์หนึ่งของศาสนา

อิมาม อัลฆ่อซาลีย์ได้กล่าวไว้ว่า "บิดอะฮ์ที่ถูกตำหนินั้น คือสิ่งที่ไปคัดค้านกับซุนนะฮ์ที่มีอยู่เดิม หรือเกือบจะทำการเปลี่ยนซุนนะฮ์นั้น"    

เช่น การซิกิรในการำลึกถึงอัลลออ์(ซบ) โดยการนับด้วยลูกตัสเบี๊ยะหฺ ซึ่งตามทัศนะของเรา(อัชชาฟีอี)นั้น มันคือบิดอะฮ์หะสะนะฮ์  กล่าวคือ เช่น เราได้ถูกใช้ให้ทำการ ตัศเบี๊ยะหฺ หนึ่งร้อยครั้ง  โดยที่การนับจำนวนนั้น ต้องมีสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือนับ ที่มาช่วยกำหนดจำนวนนั้นไว้ และท่านร่อซูลก็ไม่ได้สอนเราไว้ว่า ให้เรากำหนดนับมันอย่างไร และไม่ได้กำหนดเครื่องมือในการใช้นับ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่า สิ่งใดก็ตามที่ ที่ช่วยในการนับได้ ก็ย่อมเป็นสิ่งที่สุนัต เพราะหลักการแห่งนิติศาสตร์อิสลาม (อัลกออิดะฮ์)ได้กำหนดไว้ว่า

ما لا يتم الواجب إلا به فهو واجب                                                                                

 "สิ่งหนึ่ง ที่วายิบจะไม่สมบูรณ์ นอกจากด้วยกับมัน ดังนั้น มันย่อมเป็นสิ่งที่วายิบด้วย"
เพราะฉะนั้น  สิ่งหนึ่ง ที่ศาสนาได้ส่งเสริมจะไม่สมบูรณ์ นอกจากด้วยกับสิ่งนั้น  แน่นอน  สิ่งดังกล่าวก็ย่อมเป็นสิ่งที่ศาสนาส่งเสริมด้วย"

       ฉะนั้น ผู้ใดที่ต้องการจะซิกิร ด้วยจำนวนดังกล่าว ก็สุนัตให้เขา เอาสิ่งหนึ่งมาช่วยนับการซิกิรกับจำนวนที่ถูกใช้ ไม่ว่าจะเป็นการนับด้วย ลูกตัสเบี๊ยะหฺ ก้อนหิน ปมเชือก หรืออื่นๆ  ถือว่าได้ทั้งหมด


และได้มีรายงานจากท่านร่อซุลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ว่า ท่านได้ทำการตัสเบี๊ยะหฺด้วยการนับด้วยข้อของนิ้วมือ หลังละหมาด และนบีก็ส่งเสริม

ซึ่งมีรายงานเช่นกัน
จากท่านอบี อัดดัรดาอ์ ท่านอบูฮุรอยเราะฮ์ ท่านสะอัด บิน อบีวักก๊อซ และท่านอบี ซ่อฟียะฮ์  ว่าพวกเขาได้ทำการตัสเบี๊ยะหฺ ด้วยเมล็ดอินทผาลัม และลูกหิน  

ดังนั้น หากเรามีเครื่องมืออื่นอีก ในการนับการซิกิร ก็ถือว่าให้กระทำได้ เนื่องจากมันไม่ได้ไป ค้านกับซุนนะฮ์ หรือไปทำลายหลักการของซุนนะฮ์ท่านนบี(ซ.ล

ดังนั้น การกระทำเหล่านี้..ไม่ได้เป็นบิดอะอย่างที่วะฮาบีย์เข้าใจเลย  แต่ยนั้นคือซุนนะของท่านนบีเช่นกัน

ฉนั้นคำว่าบิดอะในฮาดิษ..นั้นถ้าเราพิจรณาที่มานั้นเป็นแค่ฮะดิส ระดับฮาซันเท่านั้นและในขณะเดียวกัน อุลามะบางท่านกล่าว่ามันเป็นแค่ดออีฟแค่นั้น


แต่สำหรับทัศนะใหม่แบบวะฮาบีย์นั้น พวกเขาฮะดิสที่ไม่ใช้ซอเหียะประเภทนี้ กับเราผู้ที่อยู่ในมัสหับชาฟีอี(รฮ)...ทั้งที่ ในความจริงพวกเขามักอ้างว่า

การกระทำใดๆก็ตามหรือจะฮุกมอะไรก็ตามตัวบทฮะดิสนั้นจะต้องซอเหียะเท่านั้น
มาวันนี้วะฮาบีย์มาแนวใหม่เพื่อที่จะฮุกมเรา(มัสหับชาฟีอี) โดยการอ้างในตัวบท ทแค่ระดับ ฮะซันคำว่า ทุกๆบิดอะคือการหลงผิด  และการหลงผิดจะนำสู่ไฟนรก..

ทุกครั้งที่ขึ้นบรรยาย  พวกเขาช่างไม่ยุติธรรมต่อผู้รู้ในมัสหับทั้ง4เลย  ที่พวกเขาไม่ยอมเอาความเข้าใจของผู้รู้ที่ต่างทัศนะกับตนมารับฟัง  ตรงกันข้ามพวกเขาจะรับฟังเฉพาะผู้รู้ในทัศนะเขาเท่านั้น

คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #43 เมื่อ: พ.ย. 22, 2006, 04:38 PM »
0
:o

ฉนั้น ด้วยฮาดิสฮะซันนี้เอง วะฮาบีย์จึงกล้าที่จะฮุกมพี่น้องมุสลิมที่มีทัศนะต่างจากตนว่าเป็นชาวอะลุ้ลบิดอะ..ทั้งที่ตนเองก็ไม่เข้าใจว่าความหมายที่แท้จริงของฮาดิสนี้ท่านนบีหมายความว่าอย่างไร

 كل بدعة ضلالة )

"ทุกบิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง"

ทั้งที่อุลามะส่วนมากทั้ง4มัสหับต่างก็เข้าใจว่า สิ่งท่านนบีกล่าวนั้นหมายถึง บิดอะฮ์อันน่ารังเกียจ คือ สิ่งที่อุตริขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่มีหลักฐานจากการกาะทำ ไม่ว่าจะด้วยหนทางใดๆ ..

ไม่ใช่ทุกๆบิดอะ ตามที่ผู้รู้ในทัศนะของวะฮาบีย์เข้าใจเลย..

ออฟไลน์ ubaid

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 19
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
จริงหรือเท็จ
« ตอบกลับ #44 เมื่อ: พ.ย. 22, 2006, 04:51 PM »
0
มันเป็นเรื่องที่อธรรมที่สุด การที่ใครบ้างคนกุคำพูดหนึ่งหรือทัศนะหนึ่ง แล้วพาดพิงคำพูดนั้นหรือทัศนะนั้นถึงคนๆหนึ่ง ทั้งๆที่เขาไม่ได้กล่าวหรือยึดถือแต่ประการใด หนึ่งในคำพูดที่อุปโลกขึ้นนั้นคือ

1. การกล่าวว่าพวกวะหะบีย์ (ศัพย์ที่บางคนพาดพิงถึงบางกลุ่ม ทั้งๆที่พวกเขาไม่ได้ยอมรับแต่ประการใด) ว่า พวกเขานั้น ((ไม่ยอมรับทัศนะจากผู้รู้ทั้ง4 ))
ทั้งๆ ที่จริงแล้ว พวกเขายอมรับทัศนะของอุละมาอฺทั้งสี่ และอุละมาอฺอื่นๆก่อนหน้าท่านและหลังจากท่าน เพราะความรู้ศาสนาจะถ่ายทอดสู่ชนรุ่นหลังได้อย่างไร หากไม่มีพวกท่านเหล่านั้น ที่จริงแล้วพวกเขาไม่ยึดติดกับมัซฮับทั้งสี่หรือยึดติดกับอุละมาอฺคนใดคนหนึ่งต่างหาก ไม่ใช่ไม่ยอมรับทัศนะของพวกท่าน เพราะท่านนบีให้ปฏิบัติตามท่าน ไม่ใช่ให้ปฏิบัติตามมัซฮับใดมัซฮับหนึ่ง มัซฮํบใดพ้องกับซุนนะฮฺของท่านนบีในปัญหาหนึ่งๆ เราก็ปฏิบัติตามมัซฮับนั้น
ส่วนการกล่าวคำพูดเช่นนั้นลอยๆโดยไม่มีหลักฐาน ไม่ว่าจะกล่าวขึ้นมาเอง หรือตักลีดเขามา เช่นนี้จะเรียกว่าอย่างๆไร

2. การกล่าวว่าพวกวะหะบีย์หรือแนวคิดของอิบนุตัยมียยะฮฺ คือแนวคิดของ มุชับบิฮะฮฺ หรือ มุชัสสิมะฮฺ นี้ก็แล้วไปใหญ่
กล่าวขึ้นมาลอย โดยไม่มีหลักฐาน การที่พวกเขายอมรับว่าอัลลอฮฺมีพระหัตถ์ มันก็ไม่จำเป็นว่าพระหัตถ์ของอัลลอฮฺจะต้องเหมือนกับพระหัตถ์ของท่าน ๆ แต่ทว่าพวกเขายอมรับว่าพระองค์มีพระหัตถ์ แต่พระหัตถ์ของพระองค์ไม่เหมือนกับมัคลูก ไม่มีการเปรียบเทียบ
ดังจะเห็นได้จากคำกล่าวของท่านอิบนุตัยมิยะฮฺเอง ในหนังสือของท่านหลายๆเล่มเช่นในหนังสือ อัตตัดมุรียยะฮฺ มีอยู่บทหนึ่งท่านจะตอบโต้ของพวกมุชัสสิมะฮฺและมุชับบิฮะฮ (อัตตัดมุรียยะฮฺ หน้า 35,มักตะบะฮฺ อัลอุบัยกาน)
และท่านกล่าวในตอนหนึ่งว่า ((และแนวทางของพวกเขา(สลัฟ) รวมถึงการยอมรับในพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮฺ พร้อมกับปฏิเสธการเหมือนกับมัคลูก และยอมรับโดยไม่มีการเปรียบเทียบ .... )) (อัตตัดมุรียยะฮฺ หน้า8)

 

GoogleTagged