ผู้เขียน หัวข้อ: อีดอีดิลอัฎฮา ????  (อ่าน 5751 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ read

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 130
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อีดอีดิลอัฎฮา ????
« เมื่อ: ธ.ค. 14, 2007, 04:39 PM »
0

 salam
ผมของเสนอ บทความเกี่ยวกับการออกอีดอีดิลอัฎฮา ทั้งสอง บทความ บทความหนึ่งเป็นของ อาจารย์ มูรีด อีกบทความหนึ่ง เป็นของ อาจารย์  ฟัยรูซ 
ถ้าเป็ไปได้ อยากให้พี่น้องช่วย วิจารย์ หน่อยครับ ว่าเหมาะสม หรือ ไม่ เหมาะสม อย่างไร

ออฟไลน์ read

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 130
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อีดอีดิลอัฎฮา ????
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธ.ค. 14, 2007, 04:41 PM »
0
อาจารย์ มูรีด

เนื่องด้วยปีนี้ (พ.ศ. 2549) เมืองไทยออกอีดอีดิลอัฎฮา 2 วัน นั่นคือวันเสาร์ที่ 30 ธ.ค. 49 และวันอาทิตย์ที่ 31 ธ.ค. 49 จึงสร้างความสับสนให้แก่พี่น้องมุสลิมในเมืองไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยพวกเขาตัดสินใจไม่ได้ว่าตนเองจะออกอีดอีดิลอัฎฮาวันไหนกันแน่? บางคนกล่าวว่า ฉันจะออกตามคำประกาศของประเทศซาอุดิอาระเบีย เพราะวันวุกุฟ ( وقوف )  หรือวันอะเราะฟะฮฺ ( عرفة  ) มีที่ประเทศซาอุดิอาระเบียเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ส่วนอีกใจหนึ่งก็ยังกังวลกับคำประกาศจากสำนักจุฬาราชมนตรีว่าด้วยความเชื่อเดิมที่ว่าต้องปฏิบัติตามผู้นำ สิ่งต่างๆ ข้างต้นเป็นความกังวลที่ทวีเพิ่มมากขึ้นในการออกอีดอีดิลอัฎฮาปีนี้ (2549) เป็นอย่างยิ่ง ผู้เขียน (มุรีด ทิมะเสน) ขอชี้แจงตัวบทหลักฐานที่เป็นข้อสรุปว่าเราจะได้ตัดสินใจว่าปีนี้ (2549) เราจะออกอีดอีดิลอัฎฮาวันไหนกันแน่?

 

 

     ประการแรก ท่านรสูลุลอฮฺสั่งใช้พวกเรา หมายถึงมุสลิมทั้งหมดออกอีดิลฟิฏริ ( عيدالفطر ) และอีดิลอัลอัฎฮา (عيدالأضحي ) โดยพร้อมเพรียงกัน

 

     ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า " صومكم يوم تصومون وفطركم يوم يفطرون وأضحاكم يوم تضحون " ความว่า "การถือศีลอดของพวกท่าน คือวันที่พวกท่านทั้งหลายถือศีลอด และวันอีดิลฟิฏริของพวกท่าน คือวันที่พวกท่านทั้งหลายออกอีดิลฟิฎริกัน และวันอีดิลอัฎฮา (หรือวันเชือด) ของพวกท่าน คือวันที่พวกท่านทั้งหลายออกอีดิลอัฎฮา (หรือเชือดสัตว์พลี) กัน"

     (บันทึกโดยอบูดาวูด หะดีษที่ 2324,บัยหะกีย์ หะดีษที่ 8300 และอัดดารุฎนีย์ หะดีษที่ 34)

 

     อีกหลักฐานหนึ่ง ท่านหญิงอาอิชะฮฺเล่าว่า " الفطر يوم يفطر الناس والأضحي يوم يضحي الناس " ความว่า "วันอีดิลฟิฏริ คือวันที่ผู้คนทั้งหลายออกอีดิลฟิฏริกัน และวันอีดิลอัฎฮาคือวันที่ผู้คนทั้งหลายออกอีดิลอัฎฮากัน"

     (บันทึกโดยอัดดารุฏนีย์ หะดีษที่ 31 และท่านอับดุรฺเราะซาก หะดีษที่ 7304)

 

     หลักฐานทั้งสองข้างต้นบ่งชี้ให้เห็นอย่างชัดเจน กล่าวคือท่านรสูลุลลอฮฺระบุว่าวันอีดิลอัฎฮาของพวกท่าน ก็คือวันที่พวกท่านทั้งหลายออกอีดิลอัฎฮา ประโยคที่ระบุว่า พวกท่านทั้งหลายออกอีดิลอัฎฮา หมายถึง ประชาชาติของมุสลิมทั้งหมดไม่พิจารณาว่ามุสลิมผู้นั้นจะอยู่ในประเทศใด,ดินแดนใด หรือเชื้อชาติใดก็ตาม, อีกทั้งท่านหญิงอาอิชะฮฺยังกล่าวไว้ว่า "วันอีดิลอัฎฮาคือวันที่ผู้คนทั้งหลายเขาออกอีดิลอัฎฮากัน" คำว่าผู้คนทั้งหลายก็หมายถึงประชาชาติมุสลิมทั้งหมดนั่นเอง เฉกเช่นท่านนบีเคยกล่าวว่า " صلوا كما رأيتموني أصلى " ความว่า "พวกท่านทั้งหลายจงนมาซเสมือนเห็นฉันนมาซ" (บันทึกโดยบุคอรีย์) หะดีษข้างต้นท่านนบีพูดกับนบรรดาเศาะหาบะฮฺ แต่มิได้หมายความว่าเฉพาะบรรดาเศาะหาบะฮฺเท่านั้นที่นมาซเหมือนการนมาซของท่านบีเท่านั้น แต่นั่นหมายรวมว่า มุสลิมทุกคนไม่ว่ามุสลิมผู้นั้นจะอยู่ประเทศไหน,ดินแดนไหน หรือเชื้อชาติไหนวาญิบจะต้องนมาซเสมือนการนมาซของท่านนบีมุหัมมัดทุกคนนั่นเอง

 

     ประการที่สอง วันอีดิลอัฏฮาต้องเป็นวันเดียวกัน เนื่องจากมีหะดีษระบุชัดเจนว่า วันอีดิลอัฎฮาเป็นวันสำคัญของมุสลิมทั่วโลก ดั่งหลักฐานต่อไปนี้

 

     ท่านอุกบะฮฺ บุตรของอามิรฺเล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า

     " يوم عرفة ويوم النحر وأيام التشريق عيدنا أهل الإسلام وهي أيام أكل وشرب " ความว่า "วันอะเราะฟะฮฺและวันนะหฺริและวันตัชรีก คือวันอีดของพวกเราชาวอิสลาม คือวันแห่งการกินและการดื่ม"

     (บันทึกโดยอบูดาวูด หะดีษที่ 2066 บทว่าด้วยการถือศีลอด,ติรฺมิซีย์ หะดีษที่ 704, นะสาอีย์ หะดีษที่ 2954, อะหฺมัด หะดีษที่ 16739 และอัดดาริมีย์ หะดีษที่ 1699) สถานะของหะดีษถือว่า เศาะหี้หฺ (صحيح) อ้างจากหนังสือ " صحيح سنن الترمذي" เล่ม 1 หน้า 407-408 ลำดับหะดีษที่ 773

 

     หะดีษข้างต้นท่านรสูลุลลอฮฺพูดไม่คลุมเครือ, ท่านรสูลกล่าวว่า "วันอะเราะฟะฮฺ" ซึ่งท่านรสูลมิได้กล่าวว่าวันที่ 9 ซุลหิญะฮฺ หากท่านรสูลกล่าวว่า วันที่ 9 ซุลหิจญะฮฺ เราอาจจะอ้างได้ว่า 9 ซุลหิจญะฮฺของประเทศใครประเทศมัน แต่นี้ท่านรสูลกล่าวชัดเจนว่า วันอะเราะฟะฮฺ ซึ่งวันอะเราะฟะฮฺบรรดาผู้ประกอบพิธีหัจญ์จะไปรวมตัวกันที่ทุ่งอะเราะฟะฮฺ บางคนจึงเรียกวันอะเราะฟะฮฺว่าวันวุกูฟ (وقوف คือการหยุดพำนัก) ก็มี, เมื่อท่านนบีบอกว่าวันอะเราะฟะฮฺ คำถามต่อมาคือ วันอะเราะฟะฮฺ หรือวันวุกูฟนั้นมีที่ไหนบ้าง? คำตอบคือ เมืองไทยไม่มีวันอะเราะฟะฮฺ หรือวันวุกูฟหรอกนะครับ มีแต่ที่ประเทศซาอุดิอาระเบียแห่งเดียวเท่านั้น ฉะนั้นเมื่อวันอะเราะฟะฮฺมีที่เดียวจึงไม่ต้องแปลกใจ เพราะเมื่อเป็นเช่นนั้นเราก็ต้องฟังการประกาศวันวุกูฟที่ประเทศซาอุฯ เท่านั้น โดยปีนี้ (2549) ทางรัฐบาลซาอุฯ ประกาศวันวุกูฟ หรือวันอะเราะฟะฮฺตรงกับวันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม 2549

 

      ประการต่อมา ท่านรสูลุลอฮฺพูดต่อว่า "วันนะหฺริ" คือวันเชือด วันเชือดคือวันอีดิลอัฏฮา หรือวันที่ 10 ซุลหิจะฮฺนั่นเอง ฉะนั้นเมื่อเรารู้ว่าวันอะเราะฟะฮฺเป็นวันใดวันถัดไปก็เป็นวันอีดิลอัฎฮา (ซึ่งปีนี้วันอีดิลอัฏฮาก็ตรงกับวันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม 49)

 

     ประการต่อมา ท่านรสูลุลลอฮฺพูดต่อว่า "วันตัชรีก" คือวันที่ 11,12 และ 13 ซุลหิจญะฮฺ ซึ่งเป็นวันที่ศาสนายังอนุญาตให้เชือดเนื้อกุรฺบานได้ (ซึ่งปีนี้ก็จะตรงกับวันที่ 31 ธ.ค. 49 และวันที่ 1 และ 2 มกราคม 2550)

 

     ประการต่อมา ท่านรสูลุลลอฮฺก็พูดต่ออีกว่า (วันอะเราะฟะฮฺ,วันอีดิลอัฎฮา และวันตัชรีก) คือวันอีด (วันรื่นเริง) ของพวกเราชาวอิสลาม ซึ่งเป็นที่อนุญาตให้กินให้ดื่มนั่นเอง (ยกเว้นวันอะเราะฟะฮฺที่มีสุนนะฮฺให้ถือศีลอด), พี่น้องมุสลิมทุกท่านครับ สำนวนของหะดีษข้างต้นไม่คลุมเครือเลยแม้แต่น้อย วันอะเราะฟะฮฺ,วันอีดิลอัฎฮา และวันตัชรีกคือวันอีดของพวกเราชาวอิสลาม ฉะนั้นพูดง่ายๆ ท่านนบีมุหัมมัดระบุว่าให้พี่น้องมุสลิมทั้งหมดที่เป็นประชาชาติของท่านบีมุหัมมัดให้ร่วมกันเฉลิมฉลองวันต่างๆ ข้างต้น ไม่ว่ามุสลิมในประเทศใด,ทวีปใด,ดินแดนใด หากเป็นมุสลิม (อะฮุลอิสลาม) จำเป็นจะต้องออกอีดิลอัฎฮาด้วยความพร้อมเพรียงกันทั้งหมด เมื่อเป็นเช่นนั้นมุสลิมคนใดหรือองค์กรมุสลิมใดที่มีวันอะเราะฟะฮฺไม่ตรงกัน และออกอีดิลอัฎฮาไม่ตรงกันนั้น ต้องชี้แจงแล้วละครับว่าเป็นเพราะสาเหตุใดจึงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของท่านนบีมุหัมมัด (صلى الله عليه وسلم ) ?

 

     อีกหลักฐานหนึ่ง ท่านอบูเกาะตาดะฮฺเล่าว่า " أن رسول الله صلى الله عليه وسلم سئل عن صوم يوم عرفة فقال يكفر السنة الماضية الباقية " ความว่า "ท่านรสูลุลลอฮฺเคยถูกถามเกี่ยวกับการถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺ ท่านรสูลกล่าวตอบว่า (บุคคลที่ถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺ) เขาจะถูกอภัยโทษ (บาปเล็ก) ในปีที่ผ่านมาและในปีถัดไป" (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 1977 และติรฺมิซีย์ หะดีษที่ 698)

 

     โปรดสังเกตว่า หะดีษข้างต้นระบุว่า ถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺ ไม่ใช่ถูกถามว่าถือศีลอดในวันที่ 9 ซุลหิจญะฮฺ หากมีผู้ถามว่าถือศีลอดในวันที่ 9 ซุลหิจญะฮฺ เราก็ยังพออนุมานได้ว่า วันที่ 9 ซุลหิจญะฮฺของประเทศใครประเทศมัน แต่นี่ระบุชัดเจนว่า ถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺ ซึ่งวันอะเราะฟะฮฺมีสถานที่เดียวนั่นคือที่ประเทศซาอุฯ ซึ่งเป็นวันที่ 9 ซุลหิจญะฮฺนั่นแน่นอนครับ แต่เป็นวันที่ 9 ซุลหิจญะฮฺที่ต้องตรงกับวันอะเราะฟะฮฺด้วยเช่นกัน ฉะนั้นประเด็นที่อ้างว่าวันที่ 9 ซุลหิจญะฮฺของแต่ละประเทศก็ถือว่าฟังไม่ขึ้นและไม่มีน้ำหนักที่เพียงพอ

 

     ประการต่อมา ท่านอบูสะอีด อัลคุดรีย์เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า

" نهى رسول الله صلى الله عليه وسلم عن صيامين يوم الأضحى ويوم الفطر " ความว่า "ท่านรสูลุลลอฮฺห้ามการถือศีลอด 2 วันด้วยกันคือ วันอีดิลอัฏฮา และวันอีดิลฟิฏริ" (บันทึกโดยติรฺมิซีย์ หะดีษที่ 772) สถานะของหะดีษถือว่า เศาะหี้หฺ, อ้างจากหนังสือ " صحيح سنن الترمذي " เล่ม 1 หน้า 407 ลำดับหะดีษที่ 772.

 

     หะดีษข้างต้นชัดเจนครับว่า ท่านรสูลห้ามถือศีลอดในวันอีดิลฟิฎริ และอีดิลอัฎฮา เมื่อเป็นเช่นนั้นปีนี้ก็จะต้องสับสนแล้วละครับ กล่าวคือ วันอะเราะฟะฮฺตรงกับวันศุกร์ 29 ธันวาคม 2549 และวันอีดิลอัฎฮาตรงกับวันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม 2549 แต่มุสลิมบางกลุ่มในประเทศไทยออกอีดิลอัฎฮาในวันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม 2549 ฉะนั้นหากมุสลิมที่ออกอีดในวันอาทิตย์มีสุนนะฮฺให้ถือศีลอดในวันเสาร์ แต่ไปตรงกับวันอีดิลอัฏฮาของมุสลิมที่ออกตามประเทศซาอุฯได้ประกาศ  ก็เท่ากับว่าบุคคลผู้นั้นฝ่าฝืนคำสั่งของท่านนบีที่ถือศีลอดในวันอีดิลอัฏฮา ซึ่งเป็นวันที่ท่านรสูลห้ามถือศีลอดนั่นเอง  (อีกทั้งผู้ที่จะถือศีลอดในวันเสาร์จะเนียตวันถือศีลอดสุนนะฮฺวันอะเราะฟะฮฺก็ไม่ได้ เพราะถือศีลอดไม่ตรงกับวันอะเราะฟะฮฺที่ประเทศซาอุฯ ซึ่งเป็นวันศุกร์)

 

     ประเด็นคำถาม อาจจะมีผู้กล่าวอ้างว่า "มุสลิมในประเทศไทยรอฟังการกำหนดวันอะเราฟะฮฺ หรือวันวุกูฟที่ประเทศซาอุฯ นั่นย่อมหมายความว่า มุสลิมทำอิบาดะฮฺตามคำสั่งของประเทศซาอุฯ ซึ่งอันนี้ก็ไม่มีข้อบัญญัติในศาสนาไว้เลยมิใช่หรือ?"

 

     คำตอบคือ ข้ออ้างข้างต้นถือว่าไม่มีน้ำหนักที่เพียงพอนะครับ กล่าวคือการที่เรายึดถือวันอะเราะฟะฮฺ (วันวุกูฟ) หรือวันสำคัญอื่นๆ ในศาสนานั้นเนื่องจากเป็นบทบัญญัติที่ระบุไว้ในหะดีษเศาะหี้หฺซึ่งกล่าวมาแล้วข้างต้น แต่ด้วยสถานที่ซึ่งเรียกว่าอะเราะฟะฮฺมีแห่งเดียวบนโลกดุนยานี้คือ มีที่ประเทศซาอุฯ เท่านั้น เราจึงต้องฟังการประกาศจากรัฐบาล หรือองค์กรสูงสุดที่ชี้ขาดเกี่ยวกับศาสนาของประเทศซาอุฯ ว่าประกาศวันอะเราะฟะฮฺตรงกับวันไหน ไม่ใช่เราตามประเทศซาอุฯ  ซึ่งประเทศซาอุฯ ไม่ได้บัญญัติให้บุคคลใดถือศีลอด, นมาซอีด หรือเชือดกุรฺบาน แต่สิ่งข้างต้นที่เรียกว่าอิบาดะฮฺนั้น พระองค์อัลลอฮฺทรงเป็นผู้กำหนดไว้แต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น 

 

     ประเด็นต่อมา อาจมีบางคนอ้างว่า "เรานมาซอีดิลอัฏฮาตามมักกะฮฺได้อย่างไร เพราะเวลาต่างกันตั้งหลายชั่วโมง?"

 

     คำตอบคือ คำกล่าวอ้างข้างต้นนั้นไม่ถูกประเด็นนะครับ วันอะเราะฟะฮฺ หรือวันอีดิลอัฏฮาถูกระบุในเรื่องของ "วัน" ไม่ใช่พูดประเด็นของ "เวลา"  อนึ่ง เวลาของการนมาซเราก็พูดไปตามท้องถิ่นนั้นๆ เช่นได้เวลาดวงอาทิตย์ตกดินเราก็นมาซมัฆริบ นี่เราพูดถึงเวลา อย่าว่าแต่ประเทศซาอุฯ เลยครับ แม้แต่เวลานมาซในประเทศไทยยังไม่ตรงกันเลยนะครับ เช่นเวลานมาซมัฆริบของมุสลิมกรุงเทพฯ กับมุสลิมภาคใต้ก็ไม่ตรงกัน ต่างกันก็ตั้งหลายนาที ฉะนั้นโปรดเข้าใจใหม่ว่า เรื่องวันอีดิลอัฏฮานั้นจะต่างกันก็เพียงแค่เวลา ส่วนเรื่องวันนั้นไม่ต่างกัน

 

     ประเด็นต่อมา  อาจมีบางคนตั้งคำถามว่า "ศาสนากำหนดวันอีดทั้งสองในครั้งที่ท่านนบีมุหัมมัดฮิจญ์เราะฮฺ (อพยพ) มายังนครมะดีนะฮฺใหม่ๆ ส่วนวันอะเราะฟะฮฺเพิ่งจะมาบัญญัติทีหลัง จึงถือว่าวันอะเราะฟะฮฺไม่เกี่ยวกับวันอีดิลอัฏฮาเลยนี่?"

 

     คำตอบคือ ประการแรก โปรดเข้าใจก่อนว่า เรื่องของหัจญ์นั้นมีมาตั้งแต่สมัยนบีอิบรอฮีมแล้วนะครับ  อีกทั้งนักวิชาการก็ระบุว่า เรื่องของหุกุมหัจญ์นั้นถูกประทานมาก่อนแล้ว ส่วนที่ท่านนบียังไม่ได้ประกอบพิธีหัจญ์ในช่วงแรกนั้น อาจจะะมีสาเหตุอันจำเป็น ส่วนจะเป็นสาเหตุใดนั้น วัลลอฮุอะอฺลัม (พระองค์อัลลอฮฺทรงรู้ดียิ่ง)

 

     ประการที่สอง ความจริงเรื่องสิ่งที่ถูกประทานมาทีหลังนั้นย่อมเป็นการยืนยันในสิ่งที่ผ่านมา แม้ว่าวันอะเราะฟะฮฺจะมาทีหลังก็ตาม แต่เมื่อวันอีดิลอัฏฮาถูกกำหนดให้อยู่หลังวันอะเราะฟะฮฺนั่นก็เท่ากับว่า เป็นบทบัญญัติที่ท่านรสูลสั่งใช้ให้เราปฏิบัติตามสุนนะฮฺดังกล่าวนั่นเอง ตัวอย่างเช่น

     ช่วงแรกของการเผยแพร่อิสลามท่านนบีกล่าวว่า " من قال لا إله إلا الله دخل الحنة " ความว่า บุคคลใดที่กล่าว ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ ได้เข้าสวรรค์" (บันทึกโดยติรฺมิซีย์ หะดีษที่  2562) ซึ่งท่านซุฮฺรีย์ถูกถามเกี่ยวกับคำพูดของท่านรสูลุลลอฮฺที่กล่าวว่า " من قال لا إله إلا الله دخل الحنة " ความว่า บุคคลใดที่กล่าว ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ ได้เข้าสวรรค์" เขากล่าวว่า " إنما كان هذا في أول الإسلام قبل نزول الفرائض والإمر النهي" ความว่า " แท้จริงหะดีษข้างต้นถูกกล่าวในช่วงแรกของอิสลามก่อนการประทานสิ่งที่เป็นฟัรฺฎุและคำสั่งห้าม (ต่างๆ) ของศาสนา" (บันทึกโดยติรฺมิซีย์ หะดีษที่ 2562 และอะหฺมัด หะดีษที่ 21572)

 

     จากหะดีษที่กล่าวมาข้างต้นพอสรุปได้อย่างชัดเจนแล้วว่า วันอะเราะฟะฮฺ จะต้องฟังการประกาศจากประเทศซาอุดิอาระเบียเท่านั้นเพราะมีสุนนะฮฺให้มุสลิมทั่วไปถือศีลอดตรงกับวันอะเราะฟะฮฺ และวันอีดิลอัฏฮานั้นเป็นวันอีดของพวกเรา หมายถึงมุสลิมทั้งหมดที่เป็นประชาชาติของท่านนบีมุหัมมัดซึ่งออกอีดโดยพร้อมเพรียงกัน. والله أعلم

http://www.mureed.com/article/Eid_No_Wait/Eid_No_Wait.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธ.ค. 14, 2007, 04:44 PM โดย read »

ออฟไลน์ read

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 130
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อีดอีดิลอัฎฮา ????
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธ.ค. 14, 2007, 04:43 PM »
0
 อาจารย์  ฟัยรูซ

อีดิ้ลอัฎฮา หรือ อีดิ้ลฮัจญ์.


อีดิ้ลอัฎฮา หรือ อีดิ้ลฮัจญ์

เรียบเรียงโดย  ฟัยรูซ  อยู่เป็นสุข

ทุกครั้งที่ใกล้เทศกาลฮัจญ์ มักมีการพูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องของการกำหนดวันอีดิ้ลอัฎฮาประจำปี ซึ่งก็มีมาตรฐานในการกำหนดวันอีดิ้ลอัฎฮาอยู่หลายประการด้วยกัน มาตรฐานประการหนึ่งซึ่งใช้ในการกำหนดวันอีดิ้ลอัฎฮาประจำปีนั้นๆ ก็คือ การรอฟังผลการประกาศจากประเทศซาอุดิอาระเบีย ซึ่งในมาตรฐานนี้จะยึดเอาวันอะเราะฟะฮฺของประเทศซาอุดิอาระเบียเป็นเกณฑ์ อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามุสลิมหลายประเทศมีความพยายามที่จะให้วันอีดิ้ลอัฎฮาตรงกับวันวุกูฟ หรือวันอะเราะฟะฮฺในประเทศซาอุดิอาระเบีย แต่ก็ยังมีมุสลิมอีกหลายกลุ่มที่มีความเห็นว่า การยึดเอาวันในของประเทศซาอุดิอาระเบียเป็นเกณฑ์ เพื่อกำหนดวันอีดิ้ลอัฎฮาของแต่ละประเทศนั้นไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขของหลักการอิสลาม  ดังหลักฐานและเหตุผลต่อไปนี้ :

1. ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กำหนดวันอีดิ้ลอัฎฮาให้เป็นวันสำคัญของชาวมุสลิมในปีที่lสองของการอพยพ ซึ่งก่อนการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ของท่านถึง  9 ปี ดังนั้น หากวันอีดิ้ลอัฎฮาตั้งอยู่บนเงื่อนไขของวันในการประกอบพิธีฮัจญ์ในมักกะฮฺแล้ว ด้วยเหตุใด ท่านนบี (ศ็อลฯ)จึงกำหนดให้มีการเฉลิมฉลองวันอีดิ้ลอัฎฮาถึง 9 ปี ก่อนการกำหนดให้มีการประกอบพิธีฮัจญ์

2. ท่านนบี (ศ็อลฯ) กำหนดวันอีดิ้ลอัฎฮาด้วยการปรากฏของจันทร์เสี้ยว/การเห็นจันทร์เสี้ยวเพียงเท่านั้น  ดังที่ปรากฏในหะดีษว่า “หิลาล (จันทร์เสี้ยว)ของซุลฮิจญะฮฺ นั้นสำหรับการเชือดสัตว์พลี”

3. ท่านนบี (ศ็อลฯ)ถือศีลอดในวันที่ 9 ซุลฮิจญะฮฺ ไม่ใช่วันอะเราะฟะฮฺในมักกะฮฺ

4. ถ้าวันอีดิ้ลอัฎฮาตั้งอยู่บนเงื่อนไขของวันในการประกอบพิธีฮัจญ์แล้ว ด้วยเหตุใดท่านนบี (ศ็อลฯ) จึงไม่มีความพยายามที่จะสอบถามถึงวันอะเราะฟะฮฺในมักกะฮฺเพื่อกำหนดการเฉลิมฉลองวันอีดิ้ลอัฎฮาในมะดีนะฮฺ  เพราะภายหลังการพิชิตมักกะฮฺแล้ว  ไม่มีความยากลำบากใดๆ ที่ท่านขอให้เศาะฮะบะฮฺแจ้งข่าวของวันอะเราะฟะฮฺในนครมักกะฮฺให้ท่านทราบ  และท่านนบี (ศ็อลฯ)เองก็ไม่มีความพยามยามที่จะรับทราบ หรือ แจ้งให้ชาวเมืองมะดีนะฮฺทราบว่า การประกอบพิธีฮัจญ์ในนครมักกะฮฺจะมีขึ้นเมื่อใด  อีกทั้งประชาคมมุสลิมทั้งหมดต่างก็ทำการเฉลิมฉลอง และทำการนมาซอีดิ้ลอัฎฮาตามการปรากฏเห็นของจันทร์เสี้ยวของเดือนซุลฮิจญะฮฺ  นอกจากนี้ท่านนบี (ศ็อลฯ)ยังเคยทำการนมาซอีดิ้ลอัฎฮาในระหว่างที่ท่านอยู่ในการเดินทาง และยังได้ทำกุรฺบานภายหลังการนมาซในวันที่ 10 ของเดือนซุลฮิจญะฮฺเช่นดียวกัน

5. บรรดาคุละฟาอฺและบรรดาเศาะฮาบะฮฺต่างทราบกันดีว่า จันทร์เสี้ยวของเดือนซุลฮิจญะฮฺนั้นไม่สามารถปรกฏให้เห็นได้ทุกๆ ที่ในวันเดียวกัน  ดังนั้น ท่านเหล่านั้นจึงไม่มีความพยายามที่จะประกาศแจ้งให้พี่น้องมุสลิมในเมืองใกล้เคียงทราบถึงการกำหนดวันในการประกอบพิธีฮัจญ์  ด้วยเหตุนี้ พี่น้องมุสลิมทั้งหมดจึงทำการเฉลิมฉลองวันอีดิ้ลอัฎฮาตามสถานที่และวันที่มีการปรากฏเห็นของจันทร์เสี้ยว

6. บรรดาฟุเกาะฮาอฺทั้งหมดต่างลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ว่าวันอีดิ้ลอัฎฮานั้น คือวันที่ 10 ซุลฮิจญะฮฺ และให้ใช้การปรากฏเห็นของจันทร์เสี้ยวในการกำหนดวันดังกล่าว และไม่มีผู้ใดที่กล่าวว่าวันอีดิ้ลอัฎฮา คือ วันที่ 10 ซุลฮิจญะฮฺในมักกะฮฺ หรือ วันหลังจากวันอะเราะฟะฮฺที่มักกะฮฺ  คือวันอีดิ้ลอัฎฮา

7. อัล-กุรฺอานกล่าวว่า  “อะหิลละฮฺ (จันทร์เสี้ยวทั้งหลาย) นั้นสำหรับการกำหนดวันต่าง (ตามปฏิทินอิสลาม) และการประกอบพิธีฮัจญ์"  ดังนี้ จะทำอย่างไรสำหรับผู้ที่ปฏิบัติตามประเทศซาอุดิอาระเบียหากว่า

7.1 วันในการประกอบพิธีฮัจญ์นั้น ได้รับการยืนยันอย่างแน่นอนว่า ไม่ได้กำหนดโดยการเห็นจัทร์เสี้ยวเดือนซุลฮิจญะฮฺของมักกะฮฺ  หรือ

7.2 จันทร์เสี้ยวเดือนซุลฮิจญะฮฺไม่ปรากฏเห็น ในวันที่ทางการซาอุดิอาระเบียประกาศ หรือ อ้างว่าเป็นวันสุดท้ายของเดือนซุลเกาะดะฮฺ

ทั้งนี้เนื่องจาก วันตามปฏิทินของประเทศซาอุดิอาระเบียนั้น ได้รับการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านดาราศาสตร์ และบรรดาอุละมาอฺในหลายประเทศว่า ไม่ถูกต้องมาเป็นเวลาหลายทศวรรษแล้ว เช่นในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 1419 ซึ่งทางการซาอุดิอาระเบียประกาศการเข้าเดือนเราะมะฎอน และการกำหนดวันอีดทั้งสอง รวมทั้งวันในการประกอบพิธีฮัจญ์นั้น ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นวันก่อนวันที่จะเกิดจันทร์ดับ (New Moon) ทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตามเราในฐานะชาวไทยมุสลิม  แน่นอนว่าไม่มีความสามารถที่จะดำเนินการในการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานในเรื่องของการกำหนดวันต่างๆ ของประเทศซาอุดิอาระเบียได้ แต่เรามีสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามการประกาศการเข้าเดือนใหม่ (หรือเดือนซุลฮิจญะฮฺ)ของประเทศซาอุดิอาระเบีย เพื่อใช้ในการกำหนดวันอีดิ้ลอัฎฮาของเรา (ในประเทศไทย)  เพราะเราจะทำอย่างไรถ้าหากปรากฏว่าวันที่ 10 ซุลฮิจญะฮฺมี 2 วัน หรือมาตรฐาน คือ วันที่ 10 ซุลฮิจญะฮฺตามวันที่สำหรับการประกอบพิธีฮัจญ์ และวันที่ 10 ซุลฮิจญะฮฺตามการปรากฏเห็นของจันทร์เสี้ยว? และเราจะทำอย่างไร หากเรากำหนดวันอีดิ้ลอัฎฮาในประเทศไทยด้วยกับวันในการประกอบพิธีฮัจญ์ของซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเดือน

ซุลฮิจญะฮฺมีทั้งหมด 31 หรือ 32 วัน แต่ในขณะเดียวกันเดือนซุลเกาะดะฮฺกับมีเพียง 28 วันเท่านั้น? และเราจะทำการเฉลิมฉลอง และทำการนมาซอีดิ้ลอัฎฮาในวันที่ 8 หรือ 9 ซุลฮิจญะฮฺได้อย่างไร เพราะทางการซาอุดิอาระเบียกำหนดวันตามปฏิทินอิสลามผิด?

8. เอกภาพของประชาชาติอิสลามในการร่วมเฉลิมฉลองวันอีดิ้ลอัฎฮาอย่างพร้อมเพียงกันทั่วโลกนั้น  เป็นเรื่องที่ได้รับการพูดคุยกันอย่างกว้างขวาง  แต่เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยากมากตามทฤษฎีของวิชาธรณีฟิกส์ เพราะปัจจุบันนี้พี่น้องมุสลิมอาศัยอยู่ทั่วทุกมุมโลก ทั้งหมดนี้ไม่สามารถร่วมเฉลิมฉลองในวันอะระฟะฮฺของมักกะฮฺได้อย่างพร้อมเพียงกัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าบางประเทศนั้นอาจจะเฉลิมฉลองวันอีดิ้ลอัฎฮาก่อนบรรดาฮุจญาจ 1 วัน หรือ หลังบรรดาฮุจญาจ 1 วัน และบางประเทศจะทำการเฉลิมฉลอง และนมาซอีดหลังการเสร็จสิ้นพิธีฮัจญ์ของวันที่ 10 ซุลฮิจญะฮฺในมักกะฮฺเป็นเวลาหลายชั่วโมงด้วยกัน

9. หากประเทศซาอุดิอาระเบียเคร่งครัดในการปฏิบัติตามเดือนซุลฮิจญะฮฺของมักกะฮฺ แล้ว ดังนั้นประเทศซาอุดิอาระเบียจะต้องเห็นจันทร์เสี้ยวภายหลังประเทศต่างๆ ในแถบทิศ / ฝั่งตะวันตกของซาอุดิอาระเบียอย่างน้อย 1 วัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศแถบอเมริกาเหนือ และถ้าหากวันอีดิ้ลอัฎฮาถูกผูกติดกับวันในการประกอบพิธีฮัจญ์ของประเทศซาอุดิอาระเบีย ก็จะทำให้ประเทศในแถบอมริกาเหนือเฉลิมฉลองวันอีดิ้ลอัฎฮาในวันที่ 11 ซุลฮิจญะฮฺ  ไม่ใช่วันที่ 10 ซุลฮิจญะฮฺตามที่ศาสนากำหนด

ดังนั้น หากเราต้องการความถูกต้องและความชัดเจนในเรื่องนี้แล้ว ก็ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การประกอบพิธีฮัจญ์และการเฉลิมฉลองวันอีดิ้ลอัฎฮานั้นไม่ได้ผูกติดหรือผูกพันธุ์กันด้วยเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น  ทั้งนี้ เราจะเห็นว่าในการประกอบพิธีฮัจญ์ และพิธีการในการเฉลิมฉลองวันอีดิ้ลอัฎฮานั้น จะมีเรื่องของการเชือดสัตว์พลี เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมเหมือนกัน แต่จะมีความแตกต่างกันในบางอย่างที่สำคัญๆ ดังรายละเอียดข้างล่าง       

ตารางเปรียบเทียบการประกอบพิธีฮัจญ์ กับพิธีกรรมของมุสลิมทั่วไปในวันอีดิ้ลอัฎฮา 

พิธีกรรมที่เหมือน

 การเชือดสัตว์พลีในวันที่ 10 ซุลฮิจญะฮฺ


 


พิธีกรรมที่ความแตกต่าง
 
 
   ไม่มีการนมาซอีดสำหรับผู้ที่ประกอบพิธีฮัจฮฺ
 
 
   การทำกุรฺบานสำหรับผู้ที่ความสามารถ / แต่ไม่บังคับสำหรับผู้ที่ทำฮัจญ์แบบอิฟรอด หรือ มุฟร็อด
 
 
   ไม่มีการทำววุกูฟ  กล่าวตัลบียะฮฺ หรือ พิธีกรรมใดๆ สำหรับมุสลิมทั่วไป ในวันที่ 9 ซุลฮิจญะฮฺ
 
 
  การกล่าวตักบีรในช่วงสามวันของวันตัชรีก (วันตากเนื้อ) สำหรับมุสลิมทั่วไป / แต่ไม่มีการกล่าวสำหรับผู้ที่ประกอบพิธีฮัจญ์

http://www.muslimchonburi.com/index.php?page=show&id=755
 


ออฟไลน์ musalmarn

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 796
  • เพศ: ชาย
  • สักวัน... ฉันจะขี่ม้า
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
    • ชมรมศาสนศึกษา แผนกอิสลาม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
Re: อีดอีดิลอัฎฮา ????
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ธ.ค. 15, 2007, 05:19 PM »
0
'โลกอิสลามอาจมีวันอีดหลายวันที่ไม่ตรงกัน แต่ทุกญามาอะฮล้วนละหมาดไปในทิศทางเดียวกัน พวกเขานอบน้อมโค้งคำนับแด่พระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกัน ผู้ทรงเอกะ ซึ่งบรรดาศรัทธาชนทำสัญญาณกระดิกนิ้วในเวลาละหมาดตามแบบฉบับศาสนฑูตคนเดียวกัน และต่างศิโรราบใต้ร่มเงาคัมภีร์อัลกุรอานธรรมนูญแห่งขีวิตเล่มเดียวกัน'

โดย ซะการีย์ยา อมตยา

Al Fatoni

  • บุคคลทั่วไป
Re: อีดอีดิลอัฎฮา ????
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ธ.ค. 15, 2007, 05:34 PM »
0
อัสสลามุ อลัยกุม

       ใกล้รายอฮาญีแล้ว ก็ขอมาอัฟ ซอฮิรฺ ดานบาบาฏิน กันทุกๆ คนนะครับ

วัสสลามุ อลัยกุม

ออฟไลน์ SAIFULLOH

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 12
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อีดอีดิลอัฎฮา ????
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ธ.ค. 15, 2007, 05:52 PM »
0
อัสสลามมุอาลัยกุม   
                               
                            ขออนุญาติ copy ถ้อยคำ ของ คุณ  Al Fatoni 


                           ขอมาอัฟ ซอฮิรฺ ดานบาบาฏิน กันทุกๆ คนนะครับ


                                                                                                               waalaikumussalam
แม้ว่าข้าจะไม่ได้ทุกสิ่งที่ข้ารัก แต่ข้าก็ไม่ได้สูญเสียทุกสิ่งที่ข้าห่วง ชีวิตข้าอยู่ใต้อำนาจผู้ห้ามและผู้ให้ ขอเพียงหนึงเดียวที่คงใว้ ด้วยใจที่ภักดียิ่ง
ข้ามีชีวิตด้วยลิขิตของพระองค์  ข้าจึงขอมีชีวิตเป็นหรือตาย ด้วยใจที่ภักดีต่อพระองค์ตลอดไปและตลอดไป  อัลลอฮุอักบัร

ออฟไลน์ GeT

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 453
  • اللهم اعط منفقا خلفا
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
Re: อีดอีดิลอัฎฮา ????
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ธ.ค. 15, 2007, 10:03 PM »
0
เห็นว่ามีการโพสต์บทความเปรียบเทียบเรื่องวันอีดอัฎฮา จึงขออนุญาตนำอีกบทวามหนึ่งมาโพสต์ให้พี่น้องได้ร่วมกันอ่านและวิจารณ์ด้วย ถ้าผู้ดูแลเห็นว่าไม่เหมาะไม่ควรก็ขอให้จัดการลบด้วยก็แล้วกัน
------------------------------------
วันอะเราะฟะฮฺจริงคือวันไหน?

ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถูกถามเกี่ยวกับการถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺ ท่านตอบว่า “(การถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺ) สามารถลบล้างบาปในปีที่ผ่านมาและปีถัดไป” (มุสลิม,เศาะหีหมุสลิม หะดีษที่ 1977, อัตติรมิซีย์, สุนัน อัตติรสิซีย์ หะดีษที่ 696)

ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ไม่มีวันใดที่อัลลอฮฺจะทรงปลดปล่อยบ่าวของพระองค์ให้พ้นจากไฟนรกมากยิ่งกว่าการปลดปล่อยของพระองค์ในวันอะเราะฟะฮฺ” (มุสลิม,เศาะหีหฺมุสลิม หะดีษที่ 1348, อันนะสาอีย์ 6/251-252)

ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า “และวันอะเราะฟะฮฺ คือวันที่พวกเจ้าต่างรู้กัน” (หมายถึงวันที่มีการชุมนุมกัน ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺ (อัล-อมม์ ของ อัชชาฟิอีย์ 1/230, อัลมัจญ์มุอฺ ของ อันนะวะวีย์ 5/35)

หะดีษต่างๆข้างต้นได้ระบุวันที่ส่งเสริมให้ชาวมุสลิมที่ไม่ได้ประกอบพิธีหัจญ์ให้ถือศีลอดด้วยคำว่า “วันอะเราะฟะฮฺ” โดยไม่ได้เจาะจงว่าเป็นวันที่ 8 หรือ 9 หรือ 10 ของเดือนซุลหิจญะฮฺแต่อย่างใด

ด้วยเหตุนี้บรรดาอุละมาอฺจึงระบุว่า วันอะเราะฟะฮฺคือ “วันที่บรรดาหุจญาจญ์เดินทางไปชุมนุมกัน ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺ” โดยไม่ได้พาดพิงว่าต้องเป็นวันที่ 8 หรือ 9 หรือ 10 ซุลหิจญะฮฺตามจันทรคติแต่อย่างใด

อิหม่าม อันนะวะวีย์กล่าวว่า “วันอะเราะฟะฮฺ คือวันที่ประจักษ์แก่ประชาชนทั้งหลายว่าเป็นวันอะเราะฟะฮฺ (หมายถึง วันที่บรรดาหุจญาจญ์กำลังชุมนุมและวุกูฟอยู่ ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺ) ไม่ว่าวันนั้นจะตรงกับวันที่ 9 หรือ วันที่ 10 (ของเดือนซุลหิจญะฮฺ) ก็ตาม” (อันนะวะวีย์, อัลมัจญ์มูอฺ 5/35)

เช่นเดียวกับการกำหนดวันอีดอัฎฮา ซึ่งอุละมาอฺจะระบุเพียงว่า เป็นวันที่ถัดจากวันวุกูฟจริงของบรรดาหุจญาจญ์ ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺ หรือวันที่บรรดาหุจญาจญ์ได้ทำการเชือดสัตว์ฮัดย์หรืออุฎหิยะฮฺ โดยไม่ได้คำนึงว่า วันนั้นจะเป็นวันที่เท่าไหร่ของเดือนซุลหิจญะฮฺ

ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า “วันอีดอัฎฮาคือวันที่ประชาชน (หุจญาจญ์) เชือดอุฎหิยะฮิกัน” (สุนันอัตติรมิซีย์, (799))

หมายความว่า “การถือศีลอดวันอะเราะฟะฮฺและการออกอีดอัฎฮาชาวมุสลิมจำเป็นต้องปฏิบัติให้พร้อมๆกัน” (ตุหฺฟะตุลอะหฺวะซีย์ 3/515) และการที่จะให้การถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺ และการออกอีดอัฎฮามีความพร้อมเพรียงกันทั่วทุกมุมโลก มีเพียงทางเดียว นั่นคือ ทุกคนต้องอาศัยหรือยึดวันที่มีการวุกูฟจริง ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺของบรรดาหุจญาจญ์เป็นเกณฑ์ว่านั่นคือวันอะเราะฟะฮฺ และวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันนะหัรหรือวันแห่งการเชือดสัตว์เป็นวันอีดอัฎฮา ไม่ใช่อาศัยการดูเดือนของแต่ประเทศหรือแต่ละท้องถิ่น

ดังนั้นอิมามอัชชาฟิอีย์จึงกล่าวว่า “วันอีดอัฎฮาคือวันที่ถัดจากวันอะเราะฟะฮฺ” (อัลอุมม์ 1/230)

จะเห็นได้ว่า อิหม่ามอัชชาฟิอีย์ได้เชื่อมโยงวันอีดอัฎฮาเข้ากับวันอะเราะฟะฮฺ ในขณะที่อิหม่ามอันนะวะวีย์ได้เชื่อมโยงวันอะเราะฟะฮฺเข้ากับวันที่มีภาระกิจการวุกูฟจริง ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺของบรรดาหุจญาจญ์

ความหมายของวันอะเราะฟะฮฺตามคำนิยามของอิมามอันนะวะวีย์ข้างต้นสอดคล้องกับหะดีษมุรสัลที่รายงานโดย อับดุลอะซีซ อิบนุ อับดุลลอฮฺว่า ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า “วันอะเราะฟะฮฺคือวันที่เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนว่าเป็นวันนั้น” (บันทึกโดย อบูดาวูด ใน อัลมะรอสีล หะดีษที่ 149, อัดดาเราะกุฏนีย์ ในอัสสุนัน หะดีษที่ 2411, อัลบัยฮะกีย์ ในอัสสุนันอัลกุบรอว์ หะดีษที่ 9828 และมะอฺริฟะตุสสุนัน หะดีษที่ 10398)

ด้วยเหตุนี้ ดร. อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา จึงกล่าวว่า “วันอะเราะฟะฮฺเป็นวันที่เกี่ยวเนื่องกับสถานที่เฉพาะที่มีชื่อว่า “อะเราะฟาต” ซึ่งมีเพียงแห่งเดียวและวันเดียวเท่านั้นในโลกนี้ และวันอะเราะฟะฮฺยังเกี่ยวเนื่องกับภารกิจการชุมนุมกันของบรรดาหุจญาจญ์ ซึ่งเสมือนกับเป็นตัวแทนของประชาชนจากทั่วทุกมุมโลก ณ ทุ่งอะเราะฟาต (ดูบทความของท่านเรื่อง อีดิลอัฎฮาตามวันอะเราะฟะฮฺ เป็นบัญญัติของอัลลอฮฺที่นำไปสู่ความเป็นเอกภาพของประชาชาติ)

จะกำหนดวันอะเราะฟะฮฺได้อย่างไร?
จากข้อมูลข้างต้น จึงสรุปได้ว่า การกำหนดวันอะเราะฟะฮฺต้องขึ้นอยู่กับวันที่บรรดาหุจญาจญ์ได้ไปชุมนุมและวุกูฟจริง ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺเป็นหลัก เพราะทุ่งอะเราะฟะฮฺมีอยู่เพียงแห่งเดียวเท่านั้นในโลกนี้ และวันอะเราะฟะฮฺก็มีวันเดียวเท่านั้น โดยที่ประเทศมุสลิมทั่วโลกไม่สามารถจะกำหนดเองตามการคำนวณทางดาราศาสตร์หรือการดูเดือนของแต่ละประเทศได้ ว่าวันอะเราะฟะฮฺเป็นวันใด นอกจากต้องรอกำหนดที่แน่นอนของวันที่บรรดาหุจญาจญ์จะไปวุกูฟจริง ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺเท่านั้น หรือรอการประกาศอย่างเป็นทางการจากอามีรุลหัจญ์ หรือสภาวินิจฉัยสูงสุดของประเทศซาอุดีอาระเบียเท่านั้น เพราะการเดินทางไปวุกูฟจริง ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺของบรรดาหุจญาจญ์จะขึ้นกับการประกาศอย่างเป็นทางการของสภาดังกล่าว

เชคฟัยศ็อล เมาละวีย์ รองประธานสภามุสลิมยุโรปว่าด้วยการวิจัยและฟัตวา กล่าวว่า “ความขัดแย้งด้านมะฏอลิอฺในการดูเดือนเพื่อระบุวันแรกของเดือนเราะมะฎอน หรือเพื่อออกอีดฟิฏรฺเป็นสิ่งที่อนุโลมกันได้ ถึงแม้ว่าอุละมาอฺส่วนใหญ่จะเห็นว่า มุสลิมทั่วทุกมุมโลกควรจะถือศีลอดเมื่อมีการเห็นเดือนในภูมิภาคใดก็ตาม ส่วนการดูเดือนเพื่อกำหนดวันอีดอัฎฮานั้นไม่ควรจะมีความขัดแย้งกันเป็นอันขาด และไม่อนุญาตให้กำหนดวันดังกล่าวด้วยการคำนวณทางดาราศาสตร์หรือการดูเดือนของแต่ละภูมิภาค แต่ทว่าต้องดูวันที่บรรดาหุจญาจญ์เดินทางไปยังทุ่งอะเราะฟะฮฺจริงเท่านั้น ดังนั้นวันอะเราะฟะฮฺ (ที่แท้จริง) จึงเป็นวันที่บรรดาหุจญาจญ์กำลังชุมนุมกัน ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺนั้นเอง และการดูเดือนของแต่ละภูมิภาคไม่สามารถใช้เป็นเกณฑ์เพื่อกำหนดวันอะเราะฟะฮฺได้ ถ้าขัดแย้งกับสภาพความเป็นจริงดังกล่าว” วัลลอฮุอะอฺลัม (ฟัตวาเมื่อวันที่ 20/กุมภาพันธ์ 2002 ใน http://www.islamonline.net/fatwa/arabic/FatwaDisplay.asp

ที่มาของข้อมูล http://iqraonline.org/index.php?option=com_content&task=view&id=217&Itemid=146

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: อีดอีดิลอัฎฮา ????
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ธ.ค. 15, 2007, 10:16 PM »
0
โดยที่ประเทศมุสลิมทั่วโลกไม่สามารถจะกำหนดเองตามการคำนวณทางดาราศาสตร์หรือการดูเดือนของแต่ละประเทศได้ ว่าวันอะเราะฟะฮฺเป็นวันใด นอกจากต้องรอกำหนดที่แน่นอนของวันที่บรรดาหุจญาจญ์จะไปวุกูฟจริง ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺเท่านั้น หรือรอการประกาศอย่างเป็นทางการจากอามีรุลหัจญ์ หรือสภาวินิจฉัยสูงสุดของประเทศซาอุดีอาระเบียเท่านั้น เพราะการเดินทางไปวุกูฟจริง ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺของบรรดาหุจญาจญ์จะขึ้นกับการประกาศอย่างเป็นทางการของสภาดังกล่าว

เชคฟัยศ็อล เมาละวีย์ รองประธานสภามุสลิมยุโรปว่าด้วยการวิจัยและฟัตวา กล่าวว่า “ความขัดแย้งด้านมะฏอลิอฺในการดูเดือนเพื่อระบุวันแรกของเดือนเราะมะฎอน หรือเพื่อออกอีดฟิฏรฺเป็นสิ่งที่อนุโลมกันได้ ถึงแม้ว่าอุละมาอฺส่วนใหญ่จะเห็นว่า มุสลิมทั่วทุกมุมโลกควรจะถือศีลอดเมื่อมีการเห็นเดือนในภูมิภาคใดก็ตาม ส่วนการดูเดือนเพื่อกำหนดวันอีดอัฎฮานั้นไม่ควรจะมีความขัดแย้งกันเป็นอันขาด และไม่อนุญาตให้กำหนดวันดังกล่าวด้วยการคำนวณทางดาราศาสตร์หรือการดูเดือนของแต่ละภูมิภาค แต่ทว่าต้องดูวันที่บรรดาหุจญาจญ์เดินทางไปยังทุ่งอะเราะฟะฮฺจริงเท่านั้น ดังนั้นวันอะเราะฟะฮฺ (ที่แท้จริง) จึงเป็นวันที่บรรดาหุจญาจญ์กำลังชุมนุมกัน ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺนั้นเอง และการดูเดือนของแต่ละภูมิภาคไม่สามารถใช้เป็นเกณฑ์เพื่อกำหนดวันอะเราะฟะฮฺได้ ถ้าขัดแย้งกับสภาพความเป็นจริงดังกล่าว” วัลลอฮุอะอฺลัม

السلام عليكم ورحمة الله وبركاته

ในการการทำฮัจญ์ก็ดี  การวุกูฟที่อะรอฟะฮ์ก็ดี  มิใช่คนซาอุฯ เท่านั้นที่ทำอิบาดะฮ์ฮัจญ์  แต่พี่น้องมุสลิมทั่วไปโลกต่างหากที่เข้ามาบำเพ็ญฮัจญ์กัน  แต่ทำไมการกำหนดวันอะรอฟัตให้สำหรับพี่น้องมุสลิมทั่วโลก  ถึงอยู่ในมือการฟัตวาของซาอุฯ เท่านั้น  ซึ่งมีการฟัตวาเกี่ยวกับดูเดือนมักผิดพลาดบ่อย  คนที่เห็นเดือนก็มิใช่ผู้ที่มีความสันทัดและไม่รู้หลักการในการเห็นเดือน   

อนึ่ง  การกำหนดวันอะรอฟะฮ์  มีผลต่อคนทั่วโลก  สภาฟัตวาซาอุฯ  น่าจะตั้งคณะกรรมการจากอุลามาอ์ทั่วโลกที่มีความชำนาญไม่ยิ่งหย่อนเลยและจะยิ่งกว่าด้วยซ้ำ  เข้ามามีส่วนร่วมในการวินิจฉัยและกำหนดการดูเดือนตรงนี้   

มักกะฮ์  บัยตุลลอฮ์  เป็นของพี่น้องมุสลิมทั่วโลกครับ

วัลลอฮุอะลัม

أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ GeT

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 453
  • اللهم اعط منفقا خلفا
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
Re: อีดอีดิลอัฎฮา ????
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ธ.ค. 15, 2007, 11:43 PM »
0
เห็นด้วยกับคุณอัซฮารีเรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมจากอุละมาอ์ทั่วโลกในการวินิจฉัยและกำหนดวันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺและการกำหนดวันอารอฟะฮฺ

ออฟไลน์ yala

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 50
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อีดอีดิลอัฎฮา ????
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: ธ.ค. 16, 2007, 06:27 AM »
0
อีดิลอัฎฮาตามวันอะเราะฟะฮฺเป็นบัญญัติของอัลลอฮฺที่นำไปสู่ความเป็นเอกภาพของประชาชาติ
เขียนโดย ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา, อบู อัชบาล แปล
1. วันอะเราะฟะฮฺ

วันอะเราะฟะฮฺหมายถึงวันที่บรรดาหุจญาจต่างพำนักอยู่ ณ ทุ่ง อะเราะฟะฮฺ
ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า

وَعَرَفَةُ يَوْمَ تُعَرِّفُوْنَ
ความว่า “และวันอะเราะฟะฮฺคือวันที่พวกเจ้าต่างชุมนุมกัน ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺ”

อิมามอันนะวะวีย์กล่าวว่า

وَكَذَا يَوْمُ عَرَفَةَ هُوَ الْيَوْمُ الَّذِي يَظْهَرُ لِلنَّاسِ أَنَّهُ عَرَفَةُ سَوَاءٌ التَّاسِعَ أَوِ الْعَاشِرَ

ความว่า “เช่นเดียวกับวันอะเราะฟะฮฺ มันคือวันที่ประจักษ์แก่มนุษย์ว่ามันคือวันอะเราะฟะฮฺ (นั่นคือวันที่บรรดาหุจญาจกำลังชุมนุมกัน ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺ) ไม่ว่าจะตรงกับวันที่เก้า หรือวันที่สิบ(ของเดือนซุลหิจญะฮฺ ก็ตาม)” [ii]
นั่นแหละคือวันอะเราะฟะฮฺ เพราะวันอะเราะฟะฮฺเป็นวันที่เกี่ยวเนื่องกับสถานที่เฉพาะที่มีชื่อว่า “อะเราะฟาต” ซึ่งมีเพียงแห่งเดียวและวันเดียวเท่านั้นในโลกนี้ และวันอะเราะฟะฮฺยังเกี่ยวเนื่องกับภารกิจการชุมนุมกันของบรรดาหุจญาจ ซึ่งเสมือนกับเป็นตัวแทนของประชาชนจากทั่วทุกมุมโลก ณ ทุ่งอะเราะฟาต พร้อมกับภารกิจการถือศีลอดสุนนะฮฺสำหรับผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติหัจญ์ที่กระจัดกระจายอยู่ทั้วโลก
เพื่อจะให้ทราบถึงวันอะเราะฟะฮฺ อะมีรุลหัจญ์ที่พำนักอยู่ ณ มหานครมักกะฮฺต้องทำการดูเดือนของเดือนซุลหิจญะฮฺ ดั่งที่อิมามชาฟิอีย์ได้กล่าวว่า
وَالشَّهَادَةُ فيِ هِلاَلِ ذِي الحِْجَّةِ لِيَسْتَدِلَّ عَلَى يَوْمِ عَرَفَةَ وَيَوْمِ الْعِيْدِ وَأَيَامِ مِنىَ كَهِيَ فيِ الْفِطْرِ لاَ تَخْتَلِفُ فيِ شَيْءٍ
ความว่า “และการดูเดือนของเดือนซุลหิจญะฮฺเพื่อจะระบุเจาะจงวันอะเราะฟะฮฺ วันอีดอัฎฮา และวันต่างๆของมินานั้นเหมือนกับการดูเดือนของวันอีดฟิฏรฺ ไม่มีความแตกต่างกันเลยแม้แต่นิด” [iii]
เนื่องจากไม่มีตัวบทหะดีษที่ระบุอย่าชัดเจนให้ทำการดูเดือนเพื่อกำหนดวันอีดอัฎฮา ดังนั้นอิมามชาฟิอีย์จึงใช้หลักการกิยาส(เปรียบเทียบ) เพื่อกำหนดวันอะเราะฟะฮฺและวันอีดอัฎฮา กับการกำหนดวันอีดฟิฏรฺ นั่นคือการดูเดือน
ในเชิงที่ว่า การกำหนดวันอะเราะฟะฮฺสำหรับอมีรุลหัจญ์หรือเคาะลีฟะฮฺนั้น ต้องขึ้นอยู่กับการดูเดือนเท่านั้น ไม่เพียงพอกับความรู้ทางดาราศาสตร์หรือการคำนวณของเครื่องอิเล็กทรอนิก(คอมพิวเตอร์) ถึงแม้ว่าการคำนวณดังกล่าวจะถูกต้อง และถึงแม้ว่าสุดท้ายจะพบว่าเกิดความผิดพลาดของการดูเดือนก็ตาม เพราะการดูเดือนนั้นเป็นสิ่งที่พึงกระทำมากกว่าเพื่อให้ทราบถึงวันอะเราะฟะฮฺซึ่งตามด้วยวันอีดอัฎฮาและต่อด้วยวันตัชรีกทั้งสาม
2. ความประเสริฐของวันอะเราะฟะฮฺ
วันอะเราะฟะฮฺมีวันเดียวเท่านั้นในหนึ่งปี มันเป็นวันที่ประเสริฐที่สุดในรอบปี และเป็นวันที่ประเสริฐยิ่งกว่าวันอีดอัฎฮา เพราะมันมีความประเสริฐที่มากมาย อาทิเช่น
1. ท่านรสูลศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
أَفْضَلُ الدُّعَاءِ دُعَاءُ يَوْمِ عَرَفَةَ
ความว่า “ดุอาอ์ที่ประเสริฐที่สุดคือดุอาอ์วันอะเราะฟะฮฺ” [iv]
อัลบะเฆาะวีย์และอุละมาอ์ที่เชื่อถือได้ท่านอื่นๆกล่าวว่า “วันอะเราะฟะฮฺคือวันที่ประเสริฐที่สุดในรอบหนึ่งปี” [v].
หมายความว่า วันอะเราะฟะฮฺนั้นประเสริฐยิ่งกว่าวันอีดอัฎฮาและอีดฟิฏรฺ แต่น่าเสียดายที่สังคมเราส่วนใหญ่กลับมองข้ามและเห็นว่าวันอะเราะฟะฮฺเป็นวันธรรมดาๆวันหนึ่งเท่านั้น. ดังนั้นการอิบาดะฮฺต่างๆในวันนี้ อาทิเช่น การถือศีลอดและการขอดุอาอ์ จึงไม่ค่อยมีใครชอบปฏิบัติกัน...ขออัลลอฮฺโปรดช่วยเหลือ
3. ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
َا مِنْ يَوْمٍ أَكْثَرَ مِنْ أَنْ يَعْتِقَ اللهُ فِيْهِ عَبْدًا مِنَ النَّارِ مِنْ يَوْمِ عَرَفَة
ความว่า “ไม่มีวันใดที่อัลลอฮฺจะทรงปลดปล่อยบ่าวของพระองค์ออกจากไฟนรกมากยิ่งกว่าการปลดปล่อยของพระองค์ในวันอะเราะฟะฮฺ” [vi].
ดังนั้นจึงส่งเสริม(สุนัต)ให้มุสลิมที่ไม่ได้ปฏิบัติหัจญ์ทำการถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺ เพื่อจะได้รับการตอบแทนอันยิ่งใหญ่ที่พระองค์ทรงสัญญาไว้
ดังนั้นจึงไม่เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่เราจะหมกมุ่นและให้ความสำคัญกับการกำหนดวันอีดอัฎฮามากกว่าการให้ความสำคัญในการกำหนดวันอะเราะฟะฮฺ และไม่ควรที่แสวงหาวันอะเราะฟะฮฺในวันอื่นจากวันที่บรรดาหุจญาจกำลังรวมตัวกัน ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺ วัลลอฮุ อะอฺลัม
อบูเกาะตาดะฮฺเล่าว่า มีคนถามท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิ วะสัลลัม ถึง (ความประเสริฐของ) การถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺ ท่านตอบว่า
يُكَفِّرُ السَّنَةَ الْمَاضِيَةَ وَالْبَاقِيَةَ
ความว่า “สามารถลบล้าง (บาป) ของปีที่ผ่านมาและปีเหลืออยู่” [vii].
วันอีดอัฎฮาและการดูเดือน
ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
الأَضْحَى يَوْمَ يُضَحِّي النَّاسُ
ความว่า “วันอีดอัฎฮาคือวันที่คนทำการเชือดสัตว์กุรบานกัน” [viii].
อัตติรมิซีย์ได้กล่าวขยายความหะดีษนี้ว่า “บรรดาอุละมาอ์กลุ่มหนึ่งได้อธิบายหะดีษว่า การถือศีลอดและวันอีดนั้นต้องปฏิบัติให้พร้อมๆกับชุมชนและสังคมทั้งหลาย” [ix]. อย่าให้ถึงกับพี่น้องมุสลิมที่กำลังพำนักอยู่ ณ มหานครมักกะฮฺกำลังเชือดสัตว์ กุรบานอยู่ต่อหน้าเราในจอโทรทัศน์ ในขณะที่เรากำลังถือศีลอดวันอะเราะฟะฮฺที่บ้าน เพราะเหตุผลที่ว่าเรามองไม่เห็นเดือน!!!
อิมามชาฟิอีย์มีทัศนะเกี่ยวกับวันอีดว่า “วันอีดอัฎฮานั้นคือวันที่ถัดจากวันอะเราะฟะฮฺ”
  • . นั่นคือวันที่สิบของเดือนซุลฮิจญะฮฺ โดยท่านได้เชื่อมโยงวันอีดอัฎฮาเข้ากับวันอะเราะฟะฮฺ ในขณะที่อิมามอันนะวะวีย์ได้เชื่อมโยงวันอะเราะฟะฮฺเข้ากับภารกิจการวุกูฟของบรรดาหุจญาจ ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺ...

และพึงตระหนักว่า วันแห่งภารกิจการวุกูฟ ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺนั้นมีเพียงวันเดียวเท่านั้นของทุกๆปี
อีดอัฎฮาตามวันอะเราะฟะฮฺ
เพื่อความเป็นเอกภาพของประชาชาติมุสลิมและเพื่อให้สอดคล้องกับบัญญัติของอัลลอฮิและสุนนะฮฺของท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิวะสัลลัม จึงขอเสนอให้ยึดการกำหนดวันอีดอัฎฮาตามประกาศอย่างเป็นทางการของมหานครมักกะฮฺเกี่ยวกับวันอะเราะฟะฮฺ หมายความว่า วันอัดอัฎฮานั้นต้องเป็นวันที่ถัดจากวันอะเราะฟะฮฺเท่านั้น ด้วยเหตุผลต่างๆที่จะได้กล่าวต่อไปนี้

1. วันอะเราะฟะฮฺมีความเกี่ยวเนื่องกับสถานที่และภารกิจของบรรดาหุจญาจที่กำลังวุกูฟอยู่ ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺ และทุ่งอะเราะฟะฮฺมีเพียงแห่งเดียวเท่านั้นบนโลกนี้และการวุกูฟ ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺก็มีวันเดียวเท่านั้นในรอบหนึ่งปี
2. วันอะเราะฟะฮฺเป็นวันที่ประเสริฐที่สุดในรอบหนึ่งปี ซึ่งประชาชาติอิสลามไม่ควรมองข้ามและไม่ควรจะให้มีสองวัน
3. ตามคำยืนยันของอิมามชาฟิอีย์ที่ว่า วันอีดอัฎฮานั้นเป็นวันที่ถัดจากวันอะเราะฟะฮฺ
4. บรรดาอุละมาอ์อิสลามที่น่าเชื่อถือมีทัศนะตรงกันว่าอนุญาตให้ประชากรประเทศใดประเทศหนึ่งถือศีลอดหรืออกอีดตามอีกประเทศหนึ่งที่มองเห็นเดือน ถึงแม้ว่าจะอยู่ในเขตละติจูดที่ต่างกันก็ตาม เพียงแต่ว่าพวกเขามีความเห็นไม่ตรงกันว่า เป็นการวาญิบหรือจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องปฏิบัติตามประเทศที่มองเห็นเดือนดังกล่าวเท่านั้นเอง[xi].
ถ้าหากว่าทัศนะของอุละมาอ์ที่เห็นว่าวาญิบต้องถือศีลอดและออกอีดด้วยการมองเห็นเดือน ณ ประเทศใดประเทศหนึ่งนั้นเป็นทัศนะที่ถูกต้อง ดังนั้นเราก็ต้องเป็นฝ่ายที่ผิดพลาด เพราะไม่ยอมปฏิบัติตามการยืนยันถึงการมองเห็นเดือนดังกล่าว ดังที่ประเทศซาอุดิอารเบียได้ยืนยันถึงการเห็นเดือนของปีนี้ในคืนวันพุธที่ 1 ซุลหิจญะฮฺ 1422 ซึ่งตรงกับวันที่ 13/2/2002 และทางกลับกัน ถ้าหากว่าทัศนะของอุละมาอ์ที่ว่าไม่ว่าญิบหรือไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามการมองเห็นเดือนของประเทศอื่นนั้นเป็นทัศนะถูกต้อง เราก็ไม่เสียหายที่ไปปฏิบัติตามดังกล่าว เพราะบรรดาอุละมาอ์อิสลามมีความเห็นพ้องกันว่าอนุญาต(ไม่ห้าม)ให้ปฏิบัติตามได้ ถึงแม้ว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่วาญิบและไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามก็ตาม เพราะคำว่า “ไม่วาญิบหรือไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม” นั้นไม่ได้หมายความว่าไม่อนุญาตให้ปฏิบัติตาม. วัลลอฮุ อะอฺลัม
5. ประชาชาติอิสลามทั่วทุกมุมโลกน่าจะมีจุดยืนในการกำหนดวันอีดอัฎฮาและวันตัชรีก ด้วยการยึดวันอะเราะฟะฮฺเป็นหลัก เนื่องจากว่าวันอีดอัฎฮานั้นมีความเกี่ยวพันธ์กับการกำหนดวันอะเราะฟะฮฺมากยิ่งกว่าการดูเดือนตามประเทศต่างๆ เพราะตามหลักฐานจากหะดีษต่างๆทำให้เข้าใจว่าการดูเดือนนั้นจะมีความเกี่ยวพันธ์กับการถือศีลอดรอมฎอนและการออกอีดฟิฏรฺมากกว่าการดูเดือนเพื่อกำหนดวันอีดอัฎฮาของแต่ละประเทศ ดังนั้นจึงไม่ควรเน้นและยึดการดูเดือนเป็นหลักเพื่อกำหนดวันอีดอัฎฮาของแต่ละประเทศมากกว่าการยึดเอาวันอะเราะฟะฮฺเป็นหลัก วัลลอฮุ อัอฺลัม
6. การกำหนดวันอีดอัฎฮาตามวันอะเราะฟะฮฺ ของมหานครมักกะฮฺนั้น เป็นพื้นฐานแห่งการสร้างเอกภาพให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชาติอิสลามทั่วทุกมุมโลก อันเป็นเป้าหมายหลักของวันอีด
7. ด้วยความทันสมัยของอิเล็กทรอนิกและการสื่อสารในยุคปัจจุบันทำให้ประชาชาติอิสลามทั่วทุกแหล่งหล้าสามารถรับทราบอย่างชัดเจนและง่ายดายถึงวันอะเราะฟะฮฺ
8. การกำหนดวันอีดอัฎฮาตามวันอะเราะฟะฮฺนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องและสะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน เพราะบรรดาผู้ที่ประสงค์จะปฏิบัติตามสุนนะฮฺการถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺสามารถถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺจริงๆ โดยปราศจากการบิดเบือน เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิ วะสัลลัม ได้ถูกถามถึงการถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺ (หมายถึง วันที่ บรรดาหุจญาจกำลังวุกูฟอยู่ ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺ) ไม่ใช่วันที่เก้า ของเดือนซุลหิจญะฮฺ ดังที่ได้ประจักษ์จากหะดีษที่เล่าโดยอบูเกาะตาดะฮฺที่ผ่านมา
9. ส่วนคำกล่าวอ้างที่ว่า “แล้วเราสามารถถือศีลอดวันอะเราะฟะฮฺหรือออกอีดก่อนมักกะฮฺตั้งหลายชั่วโมงได้หรือ ? คำตอบก็คือ คำว่า “วัน” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง “เวลา” แต่หมายถึง “วัน”ที่ประกอบด้วยกลางวันและกลางคืน. เพราะตามศัพท์ของหะดีษ ระบุว่า “วันอะเราะฟะฮฺ” ไม่ใช่ “เวลาอะเราะฟะฮฺ” หรือ “ชั่วโมงอะเราะฟะฮฺ” เช่นเดียวกับคำว่า “วันเชือดกุรบาน” หรือ “วันอีดอัฎฮา” โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนับวันตามเวลาจันทรคตินั้นจะเริ่มต้นจากเวลากลางคืนหลังจากที่ดวงอาทิตย์เริ่มลับขอบฟ้า
ดวงเดือนของเดือนซุลหิจญะฮฺ
วันอะเราะฟะฮฺคือวันที่บรรดาหุจญาจกำลังวุกูฟอยู่ ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺ ซึ่งได้ถูกกำหนดขึ้นด้วยการมองเห็นดวงเดือนของต้นเดือนซุลหิจญะฮฺ ไม่ใช่ด้วยการคำนวนทางดาราศาสตร์ เพราะการคำนวนทางดาราศาสตร์เพียงอย่างเดียวเพื่อกำหนดวันถือศีลอดและวันออกอีดนั้นไม่เคยเป็นที่ยอมรับและไม่เป็นที่อนุมัติของบรรดาเศาะหาบะฮฺ บรรดาตาบิอีน บรรดาแกนนำมัซฮับต่างๆ และบรรดาอุละมาอ์ที่น่าเชื่อถือ เพียงแต่ว่าการคำนวณดังกล่าวสามารถใช้ประโยชน์เพียงเพื่อเป็นการสนับสนุน หรือใช้ยืนยันถึงความถูกต้องของการดูเดือนเท่านั้น[xii] หรือเพื่อประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้น ไม่ใช่ประชาชาติทั้งหมดหรือสังคมใดสังคมหนึ่ง
สรุปแล้ว
วันอีดอัฎฮา คือวันที่ถัดจากวันอะเราะฟะฮฺ ซึ่งเป็นวันที่บรรดาหุจญาจกำลังวุกูฟอยู่ ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺนั้น เป็นบัญญัติของอัลลอฮฺและสุนนะฮฺของท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิวะสัลลัม ทั้งยังสอดคล้องกับการวินัจฉัย (อิจญ์ติฮาด) ของบรรดาแกนนำมัซฮับต่างๆ โดยเฉพาะอีมามชาฟิอีย์ และบรรดาอุละมาอ์อิสลามที่เชื่อถือได้ ซึ่งผลที่ตามมาคือ ความเป็นเอกภาพของประชาชาติและความน่าเกรงขามของอิสลาม พร้อมกับความมีเกียรติของประชาชาติมุสลิม วัลลอฮุ อะอฺลัม
ดร.อิสมาอีล ลุตฟี ฟาฏอนีย์
สมาชิกสภาผู้ก่อตั้งสันนิบาตโลกมุสลิมประจำประเทศไทย
มัสญิด อิบาดุรเราะหฺมาน : 5 ซุลหิจญะฮฺ 1422
<http://iqraonline.org/index.php?option=com_content&task=view&id=195&Itemid=146>
ผมขอถามคุณ อัซฮารีว่า ฮะดิษทั้งหลาย ข้างบนนั้น เกิดขึ้นก่อนที่ท่าน นบี ศล.จะไปกระทำฮัจย์หรือว่าในขนะที่ท่านกำลังกระทำอยู่หรือว่าหลังจากที่ท่าน นบี ศล.เสร็จจากฮัจย์
ขอบคุณครับ

ออฟไลน์ read

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 130
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อีดอีดิลอัฎฮา ????
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: ธ.ค. 16, 2007, 07:50 AM »
0
 salam

อยากเรียนถามผู้รู้ว่า
    1)การกำหนดวัน อีดิลอัฎฮา ใช้หลักฐาน อะไรเป็นตัวกำหนด

อาจารย์  ฟัยรูซ
2. ท่านนบี (ศ็อลฯ) กำหนดวันอีดิ้ลอัฎฮาด้วยการปรากฏของจันทร์เสี้ยว/การเห็นจันทร์เสี้ยวเพียงเท่านั้น  ดังที่ปรากฏในหะดีษว่า “หิลาล (จันทร์เสี้ยว)ของซุลฮิจญะฮฺ นั้นสำหรับการเชือดสัตว์พลี”

หรือ

อาจารย์ มูรีด

 
ท่านอุกบะฮฺ บุตรของอามิรฺเล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า

     " يوم عرفة ويوم النحر وأيام التشريق عيدنا أهل الإسلام وهي أيام أكل وشرب " ความว่า "วันอะเราะฟะฮฺและวันนะหฺริและวันตัชรีก คือวันอีดของพวกเราชาวอิสลาม คือวันแห่งการกินและการดื่ม"

     (บันทึกโดยอบูดาวูด หะดีษที่ 2066 บทว่าด้วยการถือศีลอด,ติรฺมิซีย์ หะดีษที่ 704, นะสาอีย์ หะดีษที่ 2954, อะหฺมัด หะดีษที่ 16739 และอัดดาริมีย์ หะดีษที่ 1699) สถานะของหะดีษถือว่า เศาะหี้หฺ (صحيح) อ้างจากหนังสือ " صحيح سنن الترمذي" เล่ม 1 หน้า 407-408 ลำดับหะดีษที่ 773

 

     หะดีษข้างต้นท่านรสูลุลลอฮฺพูดไม่คลุมเครือ, ท่านรสูลกล่าวว่า "วันอะเราะฟะฮฺ" ซึ่งท่านรสูลมิได้กล่าวว่าวันที่ 9 ซุลหิญะฮฺ หากท่านรสูลกล่าวว่า วันที่ 9 ซุลหิจญะฮฺ เราอาจจะอ้างได้ว่า 9 ซุลหิจญะฮฺของประเทศใครประเทศมัน แต่นี้ท่านรสูลกล่าวชัดเจนว่า วันอะเราะฟะฮฺ ซึ่งวันอะเราะฟะฮฺบรรดาผู้ประกอบพิธีหัจญ์จะไปรวมตัวกันที่ทุ่งอะเราะฟะฮฺ บางคนจึงเรียกวันอะเราะฟะฮฺว่าวันวุกูฟ (وقوف คือการหยุดพำนัก) ก็มี, เมื่อท่านนบีบอกว่าวันอะเราะฟะฮฺ คำถามต่อมาคือ วันอะเราะฟะฮฺ หรือวันวุกูฟนั้นมีที่ไหนบ้าง? คำตอบคือ เมืองไทยไม่มีวันอะเราะฟะฮฺ หรือวันวุกูฟหรอกนะครับ มีแต่ที่ประเทศซาอุดิอาระเบียแห่งเดียวเท่านั้น ฉะนั้นเมื่อวันอะเราะฟะฮฺมีที่เดียวจึงไม่ต้องแปลกใจ เพราะเมื่อเป็นเช่นนั้นเราก็ต้องฟังการประกาศวันวุกูฟที่ประเทศซาอุฯ เท่านั้น โดยปีนี้ (2549) ทางรัฐบาลซาอุฯ ประกาศวันวุกูฟ หรือวันอะเราะฟะฮฺตรงกับวันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม 2549

 



ออฟไลน์ read

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 130
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อีดอีดิลอัฎฮา ????
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ธ.ค. 16, 2007, 07:57 AM »
0
2) หลักฐานจาก อาจารย์ มูรีด ใช้มาเป็นเงื่อนไข ในการกำหนดวันออกอีดได้ หรือไม่ ประการใด และอย่างไร


อาจารย์ มูรีด

 
ท่านอุกบะฮฺ บุตรของอามิรฺเล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า

     " يوم عرفة ويوم النحر وأيام التشريق عيدنا أهل الإسلام وهي أيام أكل وشرب " ความว่า "วันอะเราะฟะฮฺและวันนะหฺริและวันตัชรีก คือวันอีดของพวกเราชาวอิสลาม คือวันแห่งการกินและการดื่ม"

     (บันทึกโดยอบูดาวูด หะดีษที่ 2066 บทว่าด้วยการถือศีลอด,ติรฺมิซีย์ หะดีษที่ 704, นะสาอีย์ หะดีษที่ 2954, อะหฺมัด หะดีษที่ 16739 และอัดดาริมีย์ หะดีษที่ 1699) สถานะของหะดีษถือว่า เศาะหี้หฺ (صحيح) อ้างจากหนังสือ " صحيح سنن الترمذي" เล่ม 1 หน้า 407-408 ลำดับหะดีษที่ 773

 

     หะดีษข้างต้นท่านรสูลุลลอฮฺพูดไม่คลุมเครือ, ท่านรสูลกล่าวว่า "วันอะเราะฟะฮฺ" ซึ่งท่านรสูลมิได้กล่าวว่าวันที่ 9 ซุลหิญะฮฺ หากท่านรสูลกล่าวว่า วันที่ 9 ซุลหิจญะฮฺ เราอาจจะอ้างได้ว่า 9 ซุลหิจญะฮฺของประเทศใครประเทศมัน แต่นี้ท่านรสูลกล่าวชัดเจนว่า วันอะเราะฟะฮฺ ซึ่งวันอะเราะฟะฮฺบรรดาผู้ประกอบพิธีหัจญ์จะไปรวมตัวกันที่ทุ่งอะเราะฟะฮฺ บางคนจึงเรียกวันอะเราะฟะฮฺว่าวันวุกูฟ (وقوف คือการหยุดพำนัก) ก็มี, เมื่อท่านนบีบอกว่าวันอะเราะฟะฮฺ คำถามต่อมาคือ วันอะเราะฟะฮฺ หรือวันวุกูฟนั้นมีที่ไหนบ้าง? คำตอบคือ เมืองไทยไม่มีวันอะเราะฟะฮฺ หรือวันวุกูฟหรอกนะครับ มีแต่ที่ประเทศซาอุดิอาระเบียแห่งเดียวเท่านั้น ฉะนั้นเมื่อวันอะเราะฟะฮฺมีที่เดียวจึงไม่ต้องแปลกใจ เพราะเมื่อเป็นเช่นนั้นเราก็ต้องฟังการประกาศวันวุกูฟที่ประเทศซาอุฯ เท่านั้น โดยปีนี้ (2549) ทางรัฐบาลซาอุฯ ประกาศวันวุกูฟ หรือวันอะเราะฟะฮฺตรงกับวันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม 2549

 

ออฟไลน์ read

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 130
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อีดอีดิลอัฎฮา ????
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ธ.ค. 16, 2007, 08:18 AM »
0
3) หรือ ไม่มีหลักฐานชัดแจ้งเลยในการกำหนด วันอีดิลอัฎฮาตามวันอะเราะฟะฮฺ 
     หรือ เป็นทัศนะหนึ่ง  ของบรรดาอุลามา เท่านั้น

อีดิลอัฎฮาตามวันอะเราะฟะฮฺเป็นบัญญัติของอัลลอฮฺที่นำไปสู่ความเป็นเอกภาพของประชาชาติ
เขียนโดย ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา, อบู อัชบาล แปล

อิมามชาฟิอีย์มีทัศนะเกี่ยวกับวันอีดว่า “วันอีดอัฎฮานั้นคือวันที่ถัดจากวันอะเราะฟะฮฺ”
  • . นั่นคือวันที่สิบของเดือนซุลฮิจญะฮฺ โดยท่านได้เชื่อมโยงวันอีดอัฎฮาเข้ากับวันอะเราะฟะฮฺ ในขณะที่อิมามอันนะวะวีย์ได้เชื่อมโยงวันอะเราะฟะฮฺเข้ากับภารกิจการวุกูฟของบรรดาหุจญาจ ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺ...

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: อีดอีดิลอัฎฮา ????
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: ธ.ค. 16, 2007, 08:31 AM »
0
และวันอะเราะฟะฮฺยังเกี่ยวเนื่องกับภารกิจการชุมนุมกันของบรรดาหุจญาจ ซึ่งเสมือนกับเป็นตัวแทนของประชาชนจากทั่วทุกมุมโลก ณ ทุ่งอะเราะฟาต พร้อมกับภารกิจการถือศีลอดสุนนะฮฺสำหรับผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติหัจญ์ที่กระจัดกระจายอยู่ทั้วโลก
เพื่อจะให้ทราบถึงวันอะเราะฟะฮฺ อะมีรุลหัจญ์ที่พำนักอยู่ ณ มหานครมักกะฮฺต้องทำการดูเดือนของเดือนซุลหิจญะฮฺ ดั่งที่อิมามชาฟิอีย์ได้กล่าวว่า
وَالشَّهَادَةُ فيِ هِلاَلِ ذِي الحِْجَّةِ لِيَسْتَدِلَّ عَلَى يَوْمِ عَرَفَةَ وَيَوْمِ الْعِيْدِ وَأَيَامِ مِنىَ كَهِيَ فيِ الْفِطْرِ لاَ تَخْتَلِفُ فيِ شَيْءٍ
ความว่า “และการดูเดือนของเดือนซุลหิจญะฮฺเพื่อจะระบุเจาะจงวันอะเราะฟะฮฺ วันอีดอัฎฮา และวันต่างๆของมินานั้นเหมือนกับการดูเดือนของวันอีดฟิฏรฺ ไม่มีความแตกต่างกันเลยแม้แต่นิด” [iii]
เนื่องจากไม่มีตัวบทหะดีษที่ระบุอย่าชัดเจนให้ทำการดูเดือนเพื่อกำหนดวันอีดอัฎฮา ดังนั้นอิมามชาฟิอีย์จึงใช้หลักการกิยาส(เปรียบเทียบ) เพื่อกำหนดวันอะเราะฟะฮฺและวันอีดอัฎฮา กับการกำหนดวันอีดฟิฏรฺ นั่นคือการดูเดือน
ในเชิงที่ว่า การกำหนดวันอะเราะฟะฮฺสำหรับอมีรุลหัจญ์หรือเคาะลีฟะฮฺนั้น ต้องขึ้นอยู่กับการดูเดือนเท่านั้น ไม่เพียงพอกับความรู้ทางดาราศาสตร์หรือการคำนวณของเครื่องอิเล็กทรอนิก(คอมพิวเตอร์) ถึงแม้ว่าการคำนวณดังกล่าวจะถูกต้อง และถึงแม้ว่าสุดท้ายจะพบว่าเกิดความผิดพลาดของการดูเดือนก็ตาม เพราะการดูเดือนนั้นเป็นสิ่งที่พึงกระทำมากกว่าเพื่อให้ทราบถึงวันอะเราะฟะฮฺซึ่งตามด้วยวันอีดอัฎฮาและต่อด้วยวันตัชรีกทั้งสาม

ในเรื่องนี้  ผมเห็นผู้เขียนพยายามนำอิมามชาฟิอีย์มาอ้างเยอะ  ด้วยนำถ้อยคำของอิมามจากหนังสืออัล-อุมมาอ้างอิง  ซึ่งผมเองก็ไม่ทราบว่า  คำอ้างอิงนี้มันเกี่ยวกับเรื่องการ เห็นเดือนซุลฮิจหิจญะฮ์  หรือว่า  เรื่องการเป็นพยายาน  กันแน่ะครับ   เพราะคำว่า وَالشَّهَادَةُ فيِ هِلاَلِ ذِي الحِْجَّةِ  นี้เขาแปลว่า "การดูเดือนของเดือนซุลหิจญะฮ์"  ทั้งที่ความจริงน่าจะแปลว่า  "การเป็นพยายานในเรื่องฮิล้าลซิลหิจญะฮ์" (ซึ่งเหมือนกับเรื่องพยายานในเรื่องการเห็นเดือนเสี้ยวของเดือนเชาวาลเพื่อออกบวช คือมี 2 คนขึ้นไป ตามทัศนะของอิมามชาฟิอีย์)   

คำพูดของอิมามชาฟิอีย์เต็ม ๆ มีดังนี้ครับ

وَالشَّهَادَةُ فِي هِلاَلِ ذِي الْحِجَّةِ لِيُسْتَدَلَّ عَلَى يَوْمِ عَرَفَةَ، وَيَوْمِ الْعِيدِ، وَأَيَّامِ مِنًى كَهِيَ فِي الْفِطْرِ لاَ تَخْتَلِفُ فِي شَيْءٍ يَجُوزُ فِيهَا مَا يَجُوزُ فِيهَا، وَيُرَدُّ فِيهَا مَا يُرَدُّ فِيهَا

ความว่า "การเป็นพยายานในเรื่องฮิล้าลซุลหิจญะฮ์เพื่อนำมาบ่งถึงวันอะร่อฟะฮ์ , วันอีด , และวันต่าง ๆ ของมีนา  ซึ่งเหมือนกับการเป็นพยายานในเรื่องการออกบวช  ซึ่งการเป็นพยานนั้นไม่มีความแตกต่างกันแม้แต่น้อย  ซึ่งอนุญาตในการเป็นพยานยืนยันในเรื่องฮิล้าลซิลฮิจญะฮ์เหมือนกับการอนุญาตให้เรื่องพยานยืนยันการออกบวช  และการเป็นพยานในเรื่องฮิล้าลซุลฮิจญะฮ์จะถูกปฏิเสธเหมือนกับเป็นการพยานในยืนยันการออกบวช"

แต่หากเขาแปล  คือแปลว่า  การดูเดือน  ก็จะได้ความหมายดังนี้ครับ

وَالشَّهَادَةُ فِي هِلاَلِ ذِي الْحِجَّةِ لِيُسْتَدَلَّ عَلَى يَوْمِ عَرَفَةَ، وَيَوْمِ الْعِيدِ، وَأَيَّامِ مِنًى كَهِيَ فِي الْفِطْرِ لاَ تَخْتَلِفُ فِي شَيْءٍ يَجُوزُ فِيهَا مَا يَجُوزُ فِيهَا، وَيُرَدُّ فِيهَا مَا يُرَدُّ فِيهَا

ความว่า “และการดูเดือนของเดือนซุลหิจญะฮฺเพื่อจะระบุเจาะจงวันอะเราะฟะฮฺ วันอีดอัฎฮา และวันต่างๆของมินานั้นเหมือนกับการดูเดือนของวันอีดฟิฏรฺ ไม่มีความแตกต่างกันเลยแม้แต่นิด ซึ่งอนุญาตในการดูเดือนของเดือนซุลฮิจญะฮ์เหมือนกับการดูเดือนเหมือนกับการดูเดือนวันอีดฟิฏรฺ และปฏิเสธการดูเดือนของเดือนซุลฮิจญะฮ์เหมือนกับการปฏิเสธการดูเดือนอีดฟิฏรฺ” [iii]

เราจึงไม่เข้าใจครับว่า "ซึ่งอนุญาตในการดูเดือนของเดือนซุลฮิจญะฮ์เหมือนกับการดูเดือนเหมือนกับการดูเดือนวันอีดฟิฏรฺ และปฏิเสธการดูเดือนของเดือนซุลฮิจญะฮ์เหมือนกับการปฏิเสธการดูเดือนอีดฟิฏรฺ"  มันเป็นอย่างไรกัน ตามทัศนะของอิมามชาฟิอีย์ 

ดังนั้น  พี่น้องท่านใดที่เป็นศิษย์ของท่าน ดร.อิสมาอีล ลุตฟี ฟาฏอนีย์ เข้ามาอ่านกระทู้นี้  ก็ฝากช่วยอธิบายให้เราเข้าใจในคำกล่าวของอิมามชาฟิอีย์ตรงนี้ด้วยครับ 

วัลลอฮุอะลัม (จริง ๆ )ครับ ^^
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ julee

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 97
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
Re: อีดอีดิลอัฎฮา ????
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: ธ.ค. 17, 2007, 12:22 AM »
0
ในเรื่องนี้  ผมเห็นผู้เขียนพยายามนำอิมามชาฟิอีย์มาอ้างเยอะ  ด้วยนำถ้อยคำของอิมามจากหนังสืออัล-อุมมาอ้างอิง  ซึ่งผมเองก็ไม่ทราบว่า  คำอ้างอิงนี้มันเกี่ยวกับเรื่องการ เห็นเดือนซุลฮิจหิจญะฮ์  หรือว่า  เรื่องการเป็นพยายาน  กันแน่ะครับ   เพราะคำว่า وَالشَّهَادَةُ فيِ هِلاَلِ ذِي الحِْجَّةِ  นี้เขาแปลว่า "การดูเดือนของเดือนซุลหิจญะฮ์"  ทั้งที่ความจริงน่าจะแปลว่า  "การเป็นพยายานในเรื่องฮิล้าลซิลหิจญะฮ์" (ซึ่งเหมือนกับเรื่องพยายานในเรื่องการเห็นเดือนเสี้ยวของเดือนเชาวาลเพื่อออกบวช คือมี 2 คนขึ้นไป ตามทัศนะของอิมามชาฟิอีย์)   

คำพูดของอิมามชาฟิอีย์เต็ม ๆ มีดังนี้ครับ

وَالشَّهَادَةُ فِي هِلاَلِ ذِي الْحِجَّةِ لِيُسْتَدَلَّ عَلَى يَوْمِ عَرَفَةَ، وَيَوْمِ الْعِيدِ، وَأَيَّامِ مِنًى كَهِيَ فِي الْفِطْرِ لاَ تَخْتَلِفُ فِي شَيْءٍ يَجُوزُ فِيهَا مَا يَجُوزُ فِيهَا، وَيُرَدُّ فِيهَا مَا يُرَدُّ فِيهَا

ความว่า "การเป็นพยายานในเรื่องฮิล้าลซุลหิจญะฮ์เพื่อนำมาบ่งถึงวันอะร่อฟะฮ์ , วันอีด , และวันต่าง ๆ ของมีนา  ซึ่งเหมือนกับการเป็นพยายานในเรื่องการออกบวช  ซึ่งการเป็นพยานนั้นไม่มีความแตกต่างกันแม้แต่น้อย  ซึ่งอนุญาตในการเป็นพยานยืนยันในเรื่องฮิล้าลซิลฮิจญะฮ์เหมือนกับการอนุญาตให้เรื่องพยานยืนยันการออกบวช  และการเป็นพยานในเรื่องฮิล้าลซุลฮิจญะฮ์จะถูกปฏิเสธเหมือนกับเป็นการพยานในยืนยันการออกบวช"

แต่หากเขาแปล  คือแปลว่า  การดูเดือน  ก็จะได้ความหมายดังนี้ครับ

وَالشَّهَادَةُ فِي هِلاَلِ ذِي الْحِجَّةِ لِيُسْتَدَلَّ عَلَى يَوْمِ عَرَفَةَ، وَيَوْمِ الْعِيدِ، وَأَيَّامِ مِنًى كَهِيَ فِي الْفِطْرِ لاَ تَخْتَلِفُ فِي شَيْءٍ يَجُوزُ فِيهَا مَا يَجُوزُ فِيهَا، وَيُرَدُّ فِيهَا مَا يُرَدُّ فِيهَا

ความว่า “และการดูเดือนของเดือนซุลหิจญะฮฺเพื่อจะระบุเจาะจงวันอะเราะฟะฮฺ วันอีดอัฎฮา และวันต่างๆของมินานั้นเหมือนกับการดูเดือนของวันอีดฟิฏรฺ ไม่มีความแตกต่างกันเลยแม้แต่นิด ซึ่งอนุญาตในการดูเดือนของเดือนซุลฮิจญะฮ์เหมือนกับการดูเดือนเหมือนกับการดูเดือนวันอีดฟิฏรฺ และปฏิเสธการดูเดือนของเดือนซุลฮิจญะฮ์เหมือนกับการปฏิเสธการดูเดือนอีดฟิฏรฺ” [iii]

เราจึงไม่เข้าใจครับว่า "ซึ่งอนุญาตในการดูเดือนของเดือนซุลฮิจญะฮ์เหมือนกับการดูเดือนเหมือนกับการดูเดือนวันอีดฟิฏรฺ และปฏิเสธการดูเดือนของเดือนซุลฮิจญะฮ์เหมือนกับการปฏิเสธการดูเดือนอีดฟิฏรฺ"  มันเป็นอย่างไรกัน ตามทัศนะของอิมามชาฟิอีย์ 

ดังนั้น  พี่น้องท่านใดที่เป็นศิษย์ของท่าน ดร.อิสมาอีล ลุตฟี ฟาฏอนีย์ เข้ามาอ่านกระทู้นี้  ก็ฝากช่วยอธิบายให้เราเข้าใจในคำกล่าวของอิมามชาฟิอีย์ตรงนี้ด้วยครับ 

วัลลอฮุอะลัม (จริง ๆ )ครับ ^^


จากการอ่านดูแล้วปรากฏว่าการให้ความหมายของอัล-อัชฮารีถูกต้องกว่า  เพราะหากเรากลับไปทบทวนหนังสืออัล-อุม  ของอิหม่ามชาฟีอีก่อนหน้านั้น  ปรากฏว่าอีหม่ามชาฟีอีพูดถึงเรื่องการเป็นพยาน  ดังนั้นการให้ความหมายว่าดูเดือนจึงผิดพลาดและไม่สมควรนำมายึดถือครับ  นอกจากนั้นแล้วมันอาจจะนำพาความสับสนให้เกิดขึ้นกับพี่น้องมุสลิมของเราครับ
الفخر كل الفخر أني اشعري

 

GoogleTagged