ผู้เขียน หัวข้อ: คำถามร้อนๆ เกี่ยวกับศีฟัต 20 ที่ต้องการคำตอบด่วนจี้  (อ่าน 15325 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Al Fatoni

  • บุคคลทั่วไป

อัสสลามุ อลัยกุม

         ใครก็ได้ช่วยไขข้อข้องใจของผม และคิดว่าหลายๆ คนด้วย ไม่ว่าจะเป็นวะฮะบียฺเอว หรือคนที่เป็นอะชาอิเราะฮฺระดับล่างๆ ก็ตาม คำถามร้อนๆ เจอทีไร ต้องสยบทุกที
         1.) ศีฟัต 20 จำเป็นด้วยหรอที่ต้องเรียน ไหนหละหลักฐานว่าวาญิบ?
         2.) นอกจากศีฟัต 20 ไม่มีวิธีอื่นๆ ที่จะนำเราสู่การรู้จักอัลลอฮฺได้เลยหรอ?
         3.) ทำไมต้องจำกัดการเรียนศีฟัตเพียงแค่ 20 ด้วยทั้งๆ ที่คุณลักษณของอัลลอฮฺมีตั้งมากมาย หรือเพียง 20 จริงๆ???
         4.) อื่นๆ ไว้นึกออก หรือโดนวะฮะบียฺตามมา หรือพี่น้องมีคำถามเด็ดๆ ตั้งคำเลย ก็ได้นะครับ แต่ขอให้อิงรูปแบบที่ผมวางเท่านั้น เพื่อจะได้ไม่มั่ว มิฉะนั้น ผมจะลบเสีย ขอร้องนะครับ

         * หมายเหตุ: ใครจะตอบข้อไหน ช่วยยกหัวข้อนั้นๆ ไปด้วยนะครับ พาดหัว แล้วทำการชี้แจง เพราะผมจะเอาข้อมูลไปเรียบเรียงใหม่ในภายหลัง จะเป็นส่วนหนึ่งในหนังสือเรียบเรียงฟารีดะฮฺ อินชาอัลลอฮฺ เน้นวิชาการ และให้เป็นระบบให้มากที่สุดนะครับ หรือมีข้อเก่าๆ อยู่แล้ว ก็ช่วยคัดลอกลงใหม่อีกทีก็ได้นะครับ ขอร้องนะครับ เพราะผมไม่ค่อยมีเวลามาหา เนื่องจากงานที่มหาลัยก็คาราคาซังเต็มประดาประตูอยู่แล้ว แต่ใจสู้เต็มร้อยครับ จะพยายามจนเสร็จให้ได้ ช่วยๆ กันนะครับ - ญาซากั้ลลอฮุ ค็อยร็อน

วัสสลามุ อลัยกุม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ส.ค. 26, 2011, 02:08 PM โดย Al Fatoni »

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com

بسم الله الرحمن الرحيم

ถาม : ศีฟัต 20 จำเป็นด้วยหรอที่ต้องเรียน เหตุใดจึงมีการบังคับจนถึงขั้นวาญิบต้องศึกษาศีฟัต 20 ด้วย แล้ววิธิอื่นๆ ไม่มีแล้วใช่ไหมในการทำการรู้จักต่ออัลลอฮฺ? ไหนหละหลักฐานว่าวาญิบ?

ตอบ : การเรียนซีฟัตวายิบสำหรับอัลเลาะฮ์นั้น  เป็นสิ่งที่จำเป็นวายิบต่อคนอัลมุกัลลัฟหรือผู้ที่บรรลุศาสนภาวะที่จำเป็นต้องรู้จัก   แต่ทว่า  สิ่งที่วายิบจำเป็นต้องรู้จักตามทัศนะของอัลอะชาอิเราะฮ์นั้น  มีอยู่  2 ประเภท

1. วายิบแบบอิจญ์มาลีย์  اَلْوَاجِبُ الإِجْمَالِيُّ  หมายถึง  จำเป็นต้องรู้แบบสรุป  กล่าวคือ  รู้หลักฐานแต่มิอาจที่จะโต้ตอบหรือชี้แจงข้อสงสัยที่เกิดขึ้นได้  เพียงแต่ในหลักความเชื่อนั้นอยู่ในความนึกคิดของเขานั้นเอง  คือถ้าหากถามเขาว่า อัลวุญูด اَلْوُجُوْدُ หมายถึงอะไร? บางทีเขาก็ไม่รู้เพราะแปลคำภาษาอาหรับไม่ได้  แต่ถ้าหากถามว่า  อัลเลาะฮ์ทรงมีใช่ไหม?  เขาก็จะตอบได้เลยว่าอัลเลาะฮ์ทรงมี  และหากถามว่าอัลเลาะฮ์ทรงมีอย่างไรใหนหลักฐาน?  เขาก็ตอบว่า  โลกนี้หรือสรรพสิ่งทั้งหลายชี้ถึงการมีผู้สร้าง  ก็ถือว่าพ้นสภาพจากการเป็นคนมุก๊อลลิด (ตามหลักความเชื่อของผู้อื่นโดยไร้หลักฐาน)  และวายิบแบบอิจญ์มาลีย์นี้  ถือว่าเป็น  ฟัรดูอีน  ที่ทุกคนจำเป็นต้องรู้

2. วายิบแบบตัฟซีลีย์  اَلْوَاجِبُ التَّفْصِيْلِيُّ  หมายถึง  เขารู้หลักฐานที่จะสามารถยืนยันและชี้แจงบรรดาความสงสัยที่เกิดขึ้นได้  และวายิบแบบตัฟซีลีย์นี้  คือการรู้จักซีฟัตทั้ง 20 นั่นเอง  ซึ่งวายิบตัฟซีลีย์ด้วยการรู้จักซีฟัต 20 ประการ  ถือว่าเป็นฟัรดูกิฟายะฮ์  ไม่จำเป็นต้องร่ำเรียนกันทุกคน  กล่าวคือในหมู่บ้านหนึ่งนั้น  ก็จำเป็นต้องให้รู้อย่างน้อย 1 คนหรือมากกว่านั้น

สำหรับหลักฐานที่จำเป็นต้องรู้แบบวายิบอิจญ์มาลีย์  เกี่ยวกับการมีของอัลเลาะฮ์นั้น   คืออัลกุรอานได้ยืนยันว่าอัลเลาะฮ์ทรงมี (อัลวุญูด)
พระองค์ทรงตรัสว่า

إِنَّنِي أَنَا اللَّهُ لَا إِلَهَ إِلَّا أَنَا

"แท้จริงข้าคืออัลเลาะฮ์  ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากข้า" ฏอฮา 14

แต่ทว่าการรู้ว่าอัลเลาะฮ์ทรงมีอย่างเดียวนั้น  ยังไม่เพียงพอ  เพราะต้องใช้สติปัญญาใคร่ควรญด้วยว่า ว่าอัลเลาะฮ์ทรงมีอย่างไร? ดังนั้น  อัลเลาะฮ์ทรงบัญชาให้ปวงบ่าวทำการใช้สติปัญญาเพื่อมาพิจารณาและนำมาสนับสนุนหลักอะกีดะฮ์ที่ได้รับการยืนยันจากตัวบทว่าอัลเลาะฮ์ทรงมี  ดังนี้

أَوَلَمْ يَنظُرُواْ فِي مَلَكُوتِ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ

 "และพวกเขาไม่พิจารณาดอกหรือ ในอาณาจักรฟากฟ้าและแผ่นดิน" อัลอะอฺร๊อฟ 185

ดังนั้น เมื่อผู้มีสติปัญญาได้ใคร่ครวญบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน  ก็จะทราบและยอมรับทันทีว่า  สรรพสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ต้องมีผู้สร้างยิ่งใหญ่เหนือมนุษย์  นั่นก็คือ  อัลเลาะฮ์ตะอาลา

ส่วนหลักฐานที่ต้องรู้แบบวายิบตัฟซีลีย์นั้น  คืออยู่ในหมวดของฟัรดูกิฟายะฮ์  ศึกษาร่ำเรียนเพื่อป้องกันหลักอะกีดะฮ์อิสลาม  ต่อต้านหลักอะกีดะฮ์ศาสนาอื่นที่เข้ามาคุกคามหลักอะกีดะฮ์อิสลาม  ดังนั้น  การปกป้องหลักอะกีดะฮ์อิสลามเป็นสิ่งที่วายิบ  ซึ่งการปกป้องดังกล่าวจะเกิดขึ้นมิได้หรือจะสมบูรณ์มิได้  นอกจากต้องร่ำเรียนศึกษา  ฉะนั้น  การเล่าเรียนศึกษาแบบข้อปลีกย่อยหรือแบบรายละเอียดนี้  จึงเป็นสิ่งวายิบอย่างมิต้องสงสัย

ดังนั้น  การเรียนซีฟัตยี่สิบ  เพื่อจะทราบถึงรายละเอียดว่าอัลเลาะฮ์ทรงมีซีฟัตอย่างไรตามที่เราสามารถรู้ได้  เช่นอัลกุรอานบอกว่าอัลเลาะฮ์ทรงมี  แล้วมีอย่างไร?  อัลกุรอานกล่าวว่า อัลเลาะฮ์ทรงเดิมไม่มีจุดเริ่มต้น  แล้วพระองค์ทรงเดิมอย่างไร?  อัลกุรอานกล่าวว่า อัลเลาะฮ์ทรงถาวร  แล้วพระองค์ทรงถาวรอย่างไร?  อัลกุรอานบอกว่าอัลเลาะฮ์ทรงแตกต่างกับของใหม่  แล้วพระองค์ทรงแตกต่างอย่างไร?  อัลกุรอานกล่าวว่าอัลเลาะฮ์ทรงอานภาพ  แล้วพระองค์ทรงเดชานุภาพอย่างไร?  อัลเลาะฮ์กล่าวว่าอัลเลาะฮ์ทรงรอบรู้  แล้วพระองค์ทรงรอบรูอย่างไร?  ซึ่งคำตอบเหล่านี้  มีอยู่ในการเรียนซีฟัต 20 ที่เราได้ร่ำเรียนกัน
 
สรุป : คืออัลอะชาอิเราะฮ์  มีหลักการว่า สิ่งจำเป็นที่ทุกคนต้องรู้นั้น คือ วายิบแบบอิจญ์มาลีย์  เพื่อทำการรู้จักอัลเลาะฮ์  ส่วนซีฟัต 20 นั้น  จำเป็นต้องรู้แบบตัฟซีลีย์  ซึ่งเป็นฟัรดูกิฟายะฮ์  ไม่จำเป็นสำหรับทุกคนที่จะต้องรู้   


ถาม : เราจะตอบเขาอย่างไร เมื่อมีคนหาว่า ศีฟัต 20 บิดอะฮฺ?

ตอบ : เรามิทราบว่า  ซีฟัต 20 ที่กลุ่มวะฮาบีย์บอกว่าเป็นบิดอะฮ์นั้น ในแง่ใหน?  หากพวกเขาอ้างว่า  ซีฟัต 20 บิดอะฮ์ตามหลักการนั้น  ถือว่าผู้กล่าวอ้างกลายเป็นผู้อุตริกรรมบิดอะฮ์เสียงเอง  เนื่องจากซีฟัตทั้ง 20 นั้น  ถูกรับรองด้วยหลักฐานจากอัลกุรอานที่มีข้อบ่งชี้และยืนอย่างเด็ดขาดโดยทั้งหมด ดังนั้นหากผู้กล่าวอ้างบอกว่า เขาปฏิเสธซีฟัตที่ 4 คือ  อัลมุคอละฟะตุลิลหะวาดิษ( อัลเลาะฮ์ทรงแตกต่างกับของใหม่)  แน่นอนว่า เขาเป็นกาเฟร  หรือหากผู้แอบอ้างกล่าวว่า เขาปฏิเสธซีฟัตที่ 7  อัลกุดเราะฮ์  อัลเลาะฮ์ทรงสามารถ  เขาย่อมเป็นกาเฟร  หรือเขาปฏิเสธซีฟัตที่ 10 คืออัลฮะยาต อัลเลาะฮ์ทรงเป็น  ถือว่าเขาเป็นกาเฟร

แต่กลุ่มวะฮาบีย์กล่าวว่า ซีฟัต 20 เป็นบิดอะฮ์ในเรื่องการแบ่ง  หมายถึงเป็นการแบ่งที่ไม่เคยมีในสมัยนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  เราก็ขอกล่าวว่า  การแบ่งเตาฮีด 3 ประเภทของวะฮาบีย์ก็บิดอะฮ์เช่นกัน  เพราะท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมไม่ได้แบ่งไว้  และสะละฟุศศอลิห์ก็ไม่ได้แบ่งไว้ตามนัยยะที่วะฮาบีย์ต้องการ  และเราก็ขอกล่าวว่า การแบ่งฮะดิษออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ซอฮิห์ , หะซัน ,และฏออีฟ  ก็ถือว่าเป็นบิดอะฮ์  เพราะท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยแบ่งไว้ และสะละฟุศศอลิห์ก็ไม่เคยแบ่งไว้เช่นกัน  และเราก็ขอกล่าวว่า  การแบ่งรุกุ่นของละหมาดเป็น 13 ประการ  หรือกุรุ่นของการอาบน้ำละหมาดมี 6 ประการนั้น  ก็เป็นบิดอะฮ์เช่นกัน เพราะว่าท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่แบ่งไว้ 

ดังนั้น  การแบ่งประเภทของหลักการต่าง ๆ นั้น  มาจากการอิจญ์ฮาด(วินิจฉัย) ของปวงปราชญ์ที่ดำรงอยู่บนพื้นฐานของศาสนา  และการอิจญ์ฮาดนั้น  อัลกุรอานและซุนนะฮ์ให้การส่งเสริมในทุกยุคทุกสมัยสำหรับผู้มีคุณสมบัติ  ดังนั้น การแบ่งประเภทในหลักวิชาการต่าง ๆ ที่อยู่บนหลักฐาน  เป็นสิ่งที่อัลกุรอานและซุนนะฮ์ส่งเสริม  ฉะนั้น  การแบ่งซีฟัต 20 จึงมิใช่เป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงแต่อย่างใดเนื่องจากมีหลักฐานจากอัลกุรอานที่แน่นอนและเด็ดขาดมารับรอง


ถาม : ในอัลกุรฺอานได้กล่าวถึงพระนามที่บ่งบอกถึงคุณลักษณะอันสูงส่งของอัลลอฮฺถึง 99 พระนาม. เห็นใดจึงมีการจำกัดให้เรียนรู้ และทำความเข้าใจเพียงแค่ 20 คุณลักษณะเท่านั้น อย่างนี้ไม่เรียกว่าอุละมาอฺฝ่ายอะชาอิเราะฮฺจงใจจะปกปิด หรือปฏิเสธ คุณลักษณะอื่นๆ ของอัลลอฮฺหรือ?

ตอบ : นักปราชญ์ส่วนมากของโลกอิสลามตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันคือนักปราชญ์อัลอะชาอิเราะฮ์  (อัลฮัมดุลิลลาฮ์ที่อัลเลาะฮ์ทรงทำให้พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของผู้แบกรับและปกป้องอัลอิสลามจนถึงปัจจุบัน) 

อนึ่ง  นักปราชญ์อัลอะชาอิเราะฮ์  ได้ให้การยืนยันและยึดมั่นว่า  อัลเลาะฮ์ตาอาลานั้น  มีความสมบูรณ์พร้อมอย่างไม่สิ้นสุด ไม่มีผู้ใดที่จะสามารถพรรณาความสูมบูรณ์ของพระองค์ได้ทั้งหมด  ดังนั้น  บรรดาซีฟัตที่สมบูรณ์ยิ่งของอัลเลาะฮ์จึงมีมากมายไม่สิ้นสุดและไม่สามารถคณานับได้  นี่คือหลักความเชื่อของอัลอะชาอิเราะฮ์ที่มีต่อซีฟัตของอัลเลาะฮ์ตาอาลา 

ดังนั้น  เมื่อนักปราชญ์อัลอะชาอิเราะฮ์รู้ดีว่า  อัลเลาะฮ์ตาอาลาทรงมีซีฟัตที่สมบูรณ์อย่างมากมายไม่สิ้นสุด  ซึ่งไม่มีมนุษย์คนใดสามารถรอบรู้ได้อย่างครบถ้วน  แต่ทว่าเมื่อพวกเขาต้องทำการสอนหลักอะกีดะฮ์หรือซีฟัตที่มุสลิมีนทั่วไปจำเป็น(วายิบ)ต้องเรียนรู้นั้น  นักปราชญ์อัลอะชาอิเราะฮ์ก็ไม่ได้กำหนดว่าวายิบให้บุคคลทั่วไปต้องทำการรู้จักบรรดาซีฟัตทั้งหมดของอัลเลาะฮ์ตาอาลา  เช่น พระนามอันวิจิตรทั้ง 99 ของอัลเลาะฮ์ตาอาลา หรือมากกว่า 99 พระนาม(คือเกินกว่า 100) หากเราได้ทำการตรวจสอบหรือสืบเสาะแสวงหาจากบรรดาฮะดิษต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับบรรดาซีฟัตของอัลเลาะฮ์   แน่นอนว่าคนเอาวามทั่วไป จะไม่มีความสามารถพอที่จะมานั่งเรียนซีฟัตของอัลเลาะฮ์เป็นร้อย ๆ ซีฟัตหรอกครับ  ยิ่งกว่านั้น  มุสลิมปัจจุบันบางคน แค่ถามว่าอัลเลาะฮ์ทรงมีอย่างไร? ใหนหลักฐาน? บางทีพวกเขายังตอบไม่ได้เลย!  ถามว่า อัลวุญูด แปลว่าอะไร? คืออะไร?  พวกเขาตอบว่าไม่รู้  เพราะไม่ได้เรียนมาเนื่องจากเรียนแต่สามัญตั้งแต่เด็ก!  พี่น้องมุสลิมบางคนเรียนจบสามัญมา  แล้วถูกถามว่าใครสร้างโลก  เขาตอบว่า  "ธรรมชาติสร้าง"  ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้ว  ทำให้พ่อแม่ต้องน้ำตาตกกันมาแล้วด้วย  วัลอิยาซุบิลลาฮ์ !

ท่านอิมาม อับดุลเลาะฮ์ อัชชัรกอวีย์  อัลฮุดฮุดีย์  ได้กล่าวอธิบาย มะตั่นอุมมุลบะรอฮีน ของท่านอิมามอันสะนูซีย์  ที่ว่า

فَمِمَّا يَجِبُ لِمَوْلاَنَا جَلَّ وَعَزَّ عِشْرُوْنَ صِفَةً

"ดังนั้น (ส่วนหนึ่ง)จากสิ่งที่วายิบสำหรับอัลเลาะฮ์ ผู้ทรงยิ่งใหญ่และทรงเกรียรติ นั้น มี 20 ซีฟัต"

ท่านอิมาม อับดุลเลาะฮ์ อัชชัรกอวีย์  อธิบายว่า

"คำว่า มิน مِنْ มีความว่า "ส่วนหนึ่งจาก" หมายถึง  ส่วนหนึ่งจากสิ่งที่วายิบ  เพราะว่าบรรดาซีฟัตวายิบสำหรับอัลเลาะฮ์นั้นมิได้ถูกจำกัดใน 20 ซีฟัตนี้  เนื่องจากบรรดาคุณลักษณะความสมบูรณ์พร้อมของพระองค์นั้นไม่สิ้นสุด  แต่ทว่าอัลเลาะฮ์ตาอาลา มิได้ทรงบังคับตกหนักบนเรานอกจากให้รู้จักสิ่งที่พระองค์ทรงกำหนดมาให้เป็นหลักฐานมายืนยันแก่เราได้  นั่นก็คือซีฟัต 20  และพระองค์ก็ทรงโปรดปรานแก่เราด้วยการให้ข้อบังคับที่เราไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานยืนยันแก่เราได้ตกไป"  ดู หนังสือ  อธิบาย อุมมุลบะรอฮีน หรือหนังสืออัชชัรกอวีย์ หน้า 45 - 46
 
ดังนั้น  สาเหตุที่ไม่จำเป็นต้องรู้ถึง 99 พระนามหรือมากกว่านั้น  ก็เพราะว่า  มันมีความยากลำบาก เป็นการบังคับในสิ่งที่พวกเขาไม่สามารถกระทำได้  ซึ่งมิใช่เจตนารมณ์ของศาสนาอิสลามอย่างแน่นอน

อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า

لاَ يُكَلِّفُ اللّهُ نَفْساً إِلاَّ وُسْعَهَا

"อัลเลาะฮ์มิทรงบังคับชีวิตใด(เกินไปจากขีดความสามารถ) นอกจากเท่าที่ความสามารถของเขาอำนวยให้เท่านั้น" อัลบะกอเราะฮ์ 286

ดังนั้น  เพื่อความสะดวกแก่คนทั่วไป  นักปราชญ์จึงทำการแบ่งบรรดาซีฟัตเพื่อให้สะดวกแก่การเรียนรู้และเข้าใจ   พวกเขาพยายามคัดสรรซีฟัตหลัก ๆ ที่คนทั่วไปจำเป็นต้องรู้เพื่อเป็นบทนำ  นั่นก็คือ ซีฟัตทั้ง 20 ประการ  ส่วนซีฟัตอื่น ๆ ถือว่าเป็นซีฟัตปลีกย่อยที่อยู่ภายใต้ซีฟัต 20  ดังนั้น  ซีฟัต 20 ประการจึงถูกเรียกว่า บรรดาซีฟัตแม่  اَلصِّفَاتُ الْأُمَّهَاتُ  (อัซซิฟาตุลอุมมะฮาต) ตามหลักการเรียกของนักปราชญ์บางส่วน

ขอยกตัวอย่างเพื่อให้กระจ่างชัดดังนี้ครับ  กล่าวคือ  เมื่อเราเชื่อและกว่าว่า  อัลเลาะฮ์คือผู้ทรงสร้างโลก  หมายถึงอัลเลาะฮ์ทรง اَلْخَالِقُ (อัล-คอลิก - ผู้ทรงสร้าง)  ซึ่งย่อมหมายถึง  อัลเลาะฮ์ทรงสร้างสิ่งหนึ่งที่ไม่มีขึ้นมาก่อน  แสดงว่าอัลเลาะฮ์ทรงมีความสามารถ (กุดเราะฮ์)  ดังนั้น  พระเจ้าผู้สร้าง  ก็ต้องมีกุดเราะฮ์  และเมื่อพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าทรงอานุภาพ(กุดเราะฮ์)  ก็จะไม่ทรงอานุภาพอย่างแท้จริงนอกจากพระองค์ต้องมีอิรอดะฮ์(ทรงเจตนาที่จะสร้างโดยไม่มีผู้ใดมาบังคับ)  ดังนั้นหากพระองค์ทรงสร้างโดยมิทรงเจตนาด้วยพระองค์ ก็แสดงว่าพระองค์ไม่มีอานุภาพ(กุดเราะฮ์)อย่างแท้จริง  และเมื่อพระองค์ทรงมีเจตนา(อิรอดะฮ์)แล้วนั้น  การเจตนาก็จะเกิดขึ้นไม่ได้นอกจากพระองค์ต้องทรงรอบรู้(อัลอิลมุ)  ซึ่งพระองค์จะทรงรอบรู้ไม่ได้นอกจากต้องทรงเป็น(อัลฮะยาต) และต้องทรงมี(อัลวุญูด)ด้วย และการทรงเป็นของพระองค์จะไม่สมบูรณ์นอกจากต้องทรงเห็น(อัลบะซ๊อร)  ทรงได้ยิน (อัซซัมอุ้)  นี่แหละครับ  ที่เขาเรียกว่า  ซีฟัตแม่  ซึ่งเราจำเป็นต้องรู้แบบรายละเอียด

และเราก็สามารถกล่าวได้เช่นกันว่า  บรรดาพระนามทั้ง 99 พระนามนั้น  อยู่ภายซีฟัต 20 แบบโดยรวม  เช่น  อัลเลาะฮ์ทรงมีพระนามว่า  อัลเกาะฮ์ฮาร (ผู้ทรงอานุภาพ) ,  อัลญับบาร (ผู้ทรงยิ่งใหญ่) , อัลอะซีซ (ผู้ทรงอำนาจยิ่ง) , อัลมุนตะกิม (อัลเลาะฮ์จะทำเอาโทษ) , อัลบะเดี๊ยะอฺ (ผู้ทรงปราณีตในกาสรรสร้าง) , อัลมุตะกั๊บบิร (ผู้ทรงยิ่งใหญ่) , อัลคอลิค (ผู้ทรงสร้าง) , อัลมุเซาวิร (ผู้ทรงสร้างให้เป็นรูปทรง) , อัลฟาฏิร (ผู้ทรงสร้าง) , อัรร๊อซซาก (ผู้ทรงประทานปัจจัยยังชีพ) , อัลมั๊วะห์ยี (ผู้ทรงทำให้มีชีวิต) , อัลมุมีต (ผู้ทรงทำให้ตาย)  เป็นต้น  ซึ่งพระนามเหล่านี้  ล้วนกลับไปยัง  ซีฟัต  "อัลกุดเราะฮ์"  อัลเลาะฮ์ผู้ทรงอานุภาพ ทั้งสิ้น  ดังนั้น  ซีฟัตอัลกุดเราะฮ์  จึงเป็นซีฟัตแม่ 

เช่น  อัรรอฏี (ผู้ทรงพอพระทัย) , อัรเราะห์มาน (ผู้ทรงกรุณา) , อัรร่อฮีม (ผู้ทรงปราณี) , ฟะอาลุลลิมายุรีด (ทรงกระทำตามที่พระองค์ทรงพระสงค์) , อัลฮะลีม (ผู้ทรงสุขุมยิ่ง) เป็นต้น  ล้วนกลับไปยัง ซีฟัต  "อัลอิรอดะฮ์"  กล่าวคือพระองค์ทรงประสงค์หรือต้องการที่จะพอพระทัย , ต้องการที่จะเมตตา , ต้องการที่จะปราณี , ต้องการที่สุขุม  เป็น   ดังนั้น ซีฟัต  อัลอิรอดะฮ์  จึงเรียกว่า ซีฟัตแม่

ดังนั้น  การเรียกซีฟัต 20 จึงมิได้เป็นการปกปิดซีฟัตอื่น ๆ ของอัลเลาะฮ์ตาอาลา  แต่เป็นการแบ่งซีฟัตเพื่อให้ง่ายแก่การศึกษาสำหรับผู้เริ่มเรียน  และหากเขาร่ำเรียนจนแก่กล้า  ก็สามารถเลื่อนระดับขึ้นไปเรียน  พระนามทั้ง 99 แบบรายละเอียด และร่ำเรียนซีฟัตอื่น ๆ อีกมากมาย  จากตำราของอุลามาอ์อัลอะชาอิเราะฮ์  เช่นหนังสือ  "อัลอัสมาอฺวัสซิฟาต" ของท่าน อิมามอัลบัยฮะกีย์  เป็นหนังสือที่นำเสนอเกี่ยวกับพระนามทั้ง 99 และบรรดาซีฟัตต่าง ๆ ของอัลเลาะฮ์ตาอาลา  และท่านอิมามอัลบัยฮะกีย์  ก็เป็นนักปราชญ์ของอัลอะชาอิเราะฮ์  ดังนั้น  จึงมากล่าวหาเราได้อย่างไรว่า  อุลามาอ์อัลอะชาอิเราะฮ์จงใจปกปิด ปฏิเสธคุณลักษณะอื่น ๆ ของอัลเลาะฮ์  ในเมื่อตำราของอุลามาอ์อัลอะชาอิเราะฮ์นั้น  มันเป็นลำดับขั้นตอนที่เหมาะสมกับระดับของผู้ศึกษา

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
อัสลามอุอะลัยกุ้มวะเราะห์มะตุลลอฮ์วะบารอกาตุฮ์

พี่น้องบางท่านอาจจะแปลกใจว่า  ทำไมคำถามที่ผมเขียนขึ้นถึงยาวกว่าคำถามที่น้องอัล-ฟาฏอนีย์ตั้งมา  ความจริงก็คือคำถามของน้องอัลฟาฏอนีย์ันั่นแหละครับ  แต่เป็นคำถามหลังไมค์ผ่านทางข้อความส่วนตัว  ผมจึงนำมาเพิ่มเติมเพื่อทราบถึงความคลุมเคลือที่กลุ่มอื่นพยายามตั้งมันขึ้นมาเพื่อสร้างความเข้าใจผิด  ซึ่งแน่นอนครับ  คนเราเป็นศัตรูของความไม่รู้  ดังนั้น  เมื่อไม่รู้และไม่เข้าใจแนวทางของคนอื่น อีกทั้งสผมผสานความอคิตเป็นทุนเดิมอยู่แล้วนั้น  อะไร ๆ ที่ถูกต้องเขาว่าผิดหรือบิดอะฮ์ทั้งนั้นแหละครับ  เพื่อจะได้ให้คนอื่นรู้ว่าแนวทางของตนนี่แหละถูำก ;D

วัสลาม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
ตอบ : เรามิทราบว่า  ซีฟัต 20 ที่กลุ่มวะฮาบีย์บอกว่าเป็นบิดอะฮ์นั้น ในแง่ใหน?  หากพวกเขาอ้างว่า  ซีฟัต 20 บิดอะฮ์ตามหลักการนั้น  ถือว่าผู้กล่าวอ้างกลายเป็นผู้อุตริกรรมบิดอะฮ์เสียงเอง  เนื่องจากซีฟัตทั้ง 20 นั้น  ถูกรับรองด้วยหลักฐานจากอัลกุรอานที่มีข้อบ่งชี้และยืนอย่างเด็ดขาดโดยทั้งหมด 

หากเราตั้งคำถามขึ้นมาว่า เหตุใดจึงจำเป็นต้องรู้ซีฟัต 20 (คือจำเป็นแบบตัฟซีลีย์) แต่ว่าไม่จำเป็นต้องรู้ซีฟัต  มือของอัลเลาะฮ์  ซีฟัตดวงตาของอัลเลาะฮ์  ซีฟัตเท้าของอัลเลาะฮ์ หน้าแข้งของอัลเลาะฮ์  ซีฟัตใบหน้าของอัลเลาะฮ์  ซีฟัตการนั่งของอัลเลาะฮ์  ตามนััยยะที่วะฮาบีย์พยายามนำมาเป็นประเด็น  เพื่อเรียกร้องให้กลุ่มตนได้ชื่อว่าเป็นอะฮ์ลิสซุนนะฮ์แท้ ^^ 

ดังที่ผมได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า  ซีฟัต 20 นั้น เสมือนกับเป็นซีฟัตแม่  เป็นซีฟัตที่อัลเลาะฮ์ตาอาลายืนยันและเรียกร้องให้เราทำการรู้จักมัน 

เช่นซีฟัตอัลเลาะฮ์ทรงมี  เพราะทรงตรัสว่า

إِنَّنِي أَنَا اللَّهُ لَا إِلَهَ إِلَّا أَنَا

"แท้จริงข้าคืออัลเลาะฮ์  ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากข้า" ฏอฮา 14

อัลเลาะฮ์ทรงมีซีฟัตกุดเราะฮ์(สามารถ)

 إِنَّ اللّهَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ

"แท้จริงอัลเลาะฮ์ทรงสามารถ(กุดเราะฮ์)เหนือทุก ๆ สิ่ง" อัลบะกอเราะฮ์ 148

อัลเลาะฮ์ทรง  อิรอดะฮ์  (ทรงต้อง) กระทำตามที่พระองค์ทรงต้องการ

فَعَّالٌ لِّمَا يُرِيدُ

"พระองค์กระำทำตามสิ่งที่ทรงประสงค์"

พระองค์ทรงรู้ (อัลอิลมุ)

وَاللّهُ بِكُلِّ شَيْءٍ عَلِيمٌ

"และอัลเลาะฮ์ทรงรู้เหนือทุก ๆ สิ่ง" อันนิซาอฺ 176

อัลเลาะฮ์ทรงได้ยิน(อัซซัมอุ) และทรงเห็น (อัลบะซ่อรุ)

وَهُوَ السَّمِيعُ البَصِيرُ

"และพระองค์ทรงได้ยินยิ่ง ทรงเห็นยิ่ง"

เห็นไหมครับพี่น้อง  อัลเลาะฮ์ตาอาลาทรงบอกและเรียกร้องให้เรารู้ว่า พระองค์ทรงสามารถ(มีกุดเราะฮ์) ทรงกระทำตามที่พระองค์ประสงค์(มีอิรอดะฮ์)  ทรงรอบรู้ (มีซีฟัตอิลมุ)  ทรงได้ยินและเห็น (คือมีซีฟัตอัซซัมอุและอัลบะซ่อรุ้)   เมื่อเป็นเช่นนี้  อัลอะชาอิเราะฮ์จึงนำบรรดาซีฟัตดังกล่าวมาเป็นซีฟัตแห่งบทนำหรือซีฟัตแม่  ที่มุสลิมสมควรต้องรู้จักมันเป็นอันดับแรก 

ส่วนซีฟัตมือของอัลเลาะฮ์ (ขอแปลตรงตัวตามที่พวกเขาต้องการครับ)  ซีฟัตดวงตาของอัลเลาะฮ์  ซีฟัตเท้าของอัลเลาะฮ์  ซีฟัตหน้าแข้งของอัลเลาะฮ์  ซีฟัตใบหน้าของอัลเลาะฮ์  ซีฟัตการนั่งของอัลเลาะฮ์  ตามนััยยะที่วะฮาบีย์พยายามนำมาเป็นประเด็นนั้น  คนเอาวามอย่างเรา ๆ ไม่จำเป็นต้องรู้จักครับ  และอัลเลาะฮ์ก็มิได้เรียกร้องให้ทำการรู้จักด้วย  เพราะว่าเป็นซีฟัตปลีกย่อย  หากคนมุกัลลัฟไม่รู้จัก  ก็ไม่เป็นปัญหาอะไร  ไม่บาป  ตายไปก็ไม่ถูกสอบสวน   ดังนั้น  อัลอะชาอิเราะฮ์จึงไม่นำซีฟัตเหล่านี้มาเป็นซีฟัตบทนำเพื่อให้คนมุกัลลัฟต้องรู้จักครับ   

และอีกอย่างหนึ่งคือ  บรรดาซีฟัตที่อัลอะชาอิเราะฮ์นำมาเป็นแม่บทหรือบทนำของซีฟัตทั้งหลายนั้น เพราะว่ามีหลักฐานยืนยันจัดเจนและเด็ดขาดทั้งในด้านของความหมายและที่มา  ส่วนซีฟัตที่วะฮาบีย์ชอบนำมาเป็นประเด็นนั้น  ถือว่ามีข้อบ่งชี้หรือมีความหมายหลายนัย  จึงถือว่าไม่เด็ดขาด  ดังนั้น อัลอะชาอิเราะฮ์จึงไม่นำมาเป็นซีฟัตที่คนมุกัลลัฟต้องเรียนรู้เป็นอับแรก

วัลลอฮุอะลัม 
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ colidlayla

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 111
  • Respect: -1
    • ดูรายละเอียด
 salam
 :alhamdulillah

SaFinah

  • บุคคลทั่วไป
อัสลามอุอะลัยกุ้มวะเราะห์มะตุลลอฮ์วะบารอกาตุฮ์

กระจ่างชัดเลยครับผม...บังอัลอัซฮารี... good

ญาซากัลลอฮ์ฮูค็อยร็อน

Al Fatoni

  • บุคคลทั่วไป
อัสสลามุ อลัยกุม

               ผมก็อบ และทำการเรียบเรียงเรียบร้อยแล้วนะครับ  แต่คำถามมีเรื่อยๆ เพราะผมจะลองไปเร่ถามพวกวะฮะบียฺ และคนเอาวามที่ไม่รู้เรื่องทั่วๆ ไป ใน มอ.ปัตตานี ที่ต้องการทราบ หรือไม่เข้าใจเกี่ยวกับศีฟัต 20 หรืออะชาอิเราะฮฺ มาถามในกระทู้นี้อีก จะทยอยถามเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น บางคำถามอาจจะดูดุเดือดหน่อยนะครับ ดูกวนๆ ธรรมดาครับ เพราะบางคำถามมาจากพี่น้องวะฮะบียฺของเรานี่เอง อินชาอัลลอฮฺ ผมจะนำไปเสนอ และตอบโต้พวกเอง เท่าที่มีความสามารถครับ ช่วยดุอาอฺให้ด้วย - ญาซากั้ลลอฮฺ สำหรับทุกๆ คำตอบนะครับ บังอัลฯ อาจจะเหนื่อยที่ต้องตอบของเดิมๆ แต่ถือว่าช่วยคนเอาวามที่โง่เขลา อีกทั้งต้อยต่ำอย่างผมคนหนึ่งที่ต้องการความรู้ละกันนะครับ

วัสสลามุ อลัยกุม

Al Fatoni

  • บุคคลทั่วไป
อัสสลามุ อลัยกุม

                   คำถามต่อไป คือ ...

                                1.) หากเราจะรู้จักอัลลอฮฺ ด้วยวิธีอื่น จะมีไหม (ขอตรงๆ เลยนะครับ หากมีช่วยบอกด้วย)
                                2.) การเชื่อแบบสลัฟจรงๆ เป็นเช่นไร เหตุใดวะฮะบียฺ จึงไม่ได้รับการยอมรับว่า มีอะกีดะฮฺแบบสลัฟ ทั้งๆ ที่พวกโพทนาว่า ตัวเองมีอะกีดะฮฺแบบเดียวกับนบี ศ.ล. เศาะฮะบะฮฺ และปวงสลัฟทั้งหมด ข้อนี้จะชี้แจงอย่างไร
                                3.) จริงหรือไม่ ที่มีการกล่าวว่า "อุละมาอฺเริ่มสงสัยว่า ท่านเชคมุหัมมัด อิบนุ อับดุวฺวะฮฺฮาบ" จะได้รับอิทธิพลทางอะกีดะฮฺจากมัซฮับดาวูด อัซ-ซอฮิรียฺ แล้วมัซฮับมีความเป็นมา และแนวคิดอย่างไรครับ อุละมาอฺอิสลามถึงไม่ไว้ใจ?
 
                                   วัลลอฮุ อะอฺลัม

                      แค่นี้ก่อนนะครับ - หวังว่าไม่เกินความสามารถที่จะตอบนะครับ - กติกาเช่นเดิมนะครับ กรุณาอ่านอ่านกติกาด้วย เพราะหากผิดรูปแบบ ผมอาจจะลบการตอบของท่านก็ได้ กรุณาให้ความร่วมมือด้วยนะครับ เพื่อง่ายต่อการอ่าน และนำไปเรียบเรียง - ญาซากั้ลลอฮุ ค็อยร็อน

วัสสลามุ อลัยกุม

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
อัสสลามุ อลัยกุม

                   คำถามต่อไป คือ ...

                                1.) หากเราจะรู้จักอัลลอฮฺ ด้วยวิธีอื่น จะมีไหม (ขอตรงๆ เลยนะครับ หากมีช่วยบอกด้วย)
                                2.) การเชื่อแบบสลัฟจรงๆ เป็นเช่นไร เหตุใดวะฮะบียฺ จึงไม่ได้รับการยอมรับว่า มีอะกีดะฮฺแบบสลัฟ ทั้งๆ ที่พวกโพทนาว่า ตัวเองมีอะกีดะฮฺแบบเดียวกับนบี ศ.ล. เศาะฮะบะฮฺ และปวงสลัฟทั้งหมด ข้อนี้จะชี้แจงอย่างไร
                                3.) จริงหรือไม่ ที่มีการกล่าวว่า "อุละมาอฺเริ่มสงสัยว่า ท่านเชคมุหัมมัด อิบนุ อับดุวฺวะฮฺฮาบ" จะได้รับอิทธิพลทางอะกีดะฮฺจากมัซฮับดาวูด อัซ-ซอฮิรียฺ แล้วมัซฮับมีความเป็นมา และแนวคิดอย่างไรครับ อุละมาอฺอิสลามถึงไม่ไว้ใจ?
 
                                   วัลลอฮุ อะอฺลัม
                   

วะอะลัยกุมุสลามวะเราะห์มะตุลลอฮ์วะบารอกาตุฮ์

บังจะตอบข้อ 1 เท่านั้นครับ  เพราะข้อ 2 และ 3 นอกประเด็นของกระทู้เกี่ยวกับซีฟัต  20  นี้   

วัสลาม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ JuyA

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 107
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
โห  แบย้ำตอบทั้งสองครั้งแน่ะ     wink:

 
อีหม่านที่ซอเเฮะห์  อามาลที่ซอและห์

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
بسم الله الرحمن الرحيم

ถาม :  หากเราจะรู้จักอัลลอฮฺ ด้วยวิธีอื่น จะมีไหม (ขอตรงๆ เลยนะครับ หากมีช่วยบอกด้วย)

ตอบ : คำว่ารู้จักอัลเลาะฮ์  ภาษาอาหรับเรียกว่า  มะริฟะตุลลอฮ์  คำว่ามะริฟะฮ์ اَلْمَعْرِفَةُ ตามหลักวิชาเตาฮีดหรืออะกีดะฮ์  หมายถึง : "การยึดมั่นอย่างเด็ดขาดที่สอดคล้องกับความเป็นจริงที่มาจากหลักฐาน" ซึ่งการเอี๊ยะอฺติก๊อตเช่นนี้  เกิดขึ้นจากเครื่องหมายที่แสดงว่าเป็นการเอี๊ยะอฺติกอตที่ถูกต้อง

ดังนั้น  การรู้ว่าอัลเลาะฮ์มีนั้น  มี 2 วิธี 

1.  รู้และเชื่อว่าอัลเลาะฮ์ทรงมี  โดยมีหลักฐานมายืนยัน

2.  รู้และเชื่อว่าอัลเลาะฮ์ทรงมี  โดยปราศจากจากหลักฐาน

ดังนั้น  การรู้จักอัลเลาะฮ์แบบวิธีที่หนึ่งนั้น  เป็นการรู้ที่สมบูรณ์ตามหลักการของอัลกุรอานและซุนนะฮ์  แต่การรู้จักอัลเลาะฮ์แบบที่สองนั้น  เป็นการรู้ที่บกพร่องอีกทั้งยังถูกตำหนิเนื่องจากไม่ตามหลักการของอัลกุรอานและซุนนะฮ์และยังถูกเรียกว่าเป็นคนมุก๊อลลิด  คือเป็นผู้ที่ตักลีดตามคนอื่นโดยปราศจากหลักฐาน 

หลักฐานที่ยืนยันระบุให้รู้จักอัลเลาะฮ์ตาอาลา  โดยสอดคล้องกับความเป็นจริงโดยมีหลักฐานมายืนยันนั้น  ดังนี้
หลักฐานที่จำเป็นต้องรู้แบบวายิบอิจญ์มาลีย์  เกี่ยวกับการมีของอัลเลาะฮ์นั้น   คืออัลกุรอานได้ยืนยันว่าอัลเลาะฮ์ทรงมี (อัลวุญูด)

พระองค์ทรงตรัสว่า

إِنَّنِي أَنَا اللَّهُ لَا إِلَهَ إِلَّا أَنَا

"แท้จริงข้าคืออัลเลาะฮ์  ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากข้า" ฏอฮา 14

แต่ทว่าการรู้ว่าอัลเลาะฮ์ทรงมีอย่างเดียวนั้น  ยังไม่เพียงพอ  เพราะต้องใช้สติปัญญาใคร่ควรญด้วยว่า ว่าอัลเลาะฮ์ทรงมีอย่างไร? ดังนั้น  อัลเลาะฮ์ทรงบัญชาให้ปวงบ่าวทำการใช้สติปัญญาเพื่อมาพิจารณาและนำมาสนับสนุนหลักอะกีดะฮ์ที่ได้รับการยืนยันจากตัวบทว่าอัลเลาะฮ์ทรงมี  ดังนั้นการใช้สติปัญญาพิจารณาใคร่ครวญจึงเป็นการสนองตามกิตาบุลลอฮ์  และผู้ใดที่ไม่ใช้สติปัญญาใคร่ครวญ  เขาจะต้องถูกถามและถูกสอบสวน 

อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า

وَلاَ تَقْفُ مَا لَيْسَ لَكَ بِهِ عِلْمٌ إِنَّ السَّمْعَ وَالْبَصَرَ وَالْفُؤَادَ كُلُّ أُولـئِكَ كَانَ عَنْهُ مَسْؤُولاً

"และเจ้าอย่าถือตามสิ่งที่เจ้าไม่มีความรู้  เพราะแท้จริง หู , ตา , และจิตใจ(สติปัญญา)  ทั้งหมดเหล่านั้น  จะต้องถูกสอบสวนทั้งสิ้น" อัลอิสรออฺ 36

พระองค์ทรงตรัสเช่นกันว่า

وَاللَّهُ أَخْرَجَكُمْ مِنْ بُطُونِ أُمَّهَاتِكُمْ لا تَعْلَمُونَ شَيْئاً وَجَعَلَ لَكُمُ السَّمْعَ وَالْأَبْصَارَ وَالْأَفْئِدَةَ لَعَلَّكُمْ تَشْكُرُونَ

"และอัลเลาะฮ์ทรงบันดาลให้พวกเจ้าออกมาจากท้องของมารดาของพวกเจ้า  โดยพวกเจ้าไม่รู้สิ่งใดเลย  และพระองค์ทรงบันดาลดวงตา , หู , และจิตใจ(สติปัญญา)แก่พวกเจ้าเพื่อพวกเจ้าจะได้กตัญญู" อันนะหฺลิ 78

ดังนั้น  ผู้ใดที่ไม่ใช้สติปัญญาทำการใคร่ครวญสรรพสิ่งทั้งหลายเพื่อนำไปสู่การรู้จักอัลเลาะฮ์   ก็แสดงว่าเขากำลังเนรคุณ(ไม่ชุโกร) ต่อเนี๊ยะอฺมัตสติปัญญาที่พระองค์ทรงประทานให้  และถือว่าเขากำลังกลายเป็นคนที่ไม่รู้หรือโง่เขลาตามหลักการของอะกีดะฮ์อิสลาม

ฉะนั้น  ความไม่รู้หรือความเขลาประเภทนี้ ย่อมไม่มีการผ่อนปรนให้ กล่าวคือ ผู้ที่รู้ถึงหลักข้ออ้างอันสมเหตุสมผลต่าง ๆ (คือสรรพสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นมาใหม่ และทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น  ต้องมีผู้สร้าง และผู้ที่สร้าง  ก็คืออัลเลาะฮ์ตาอาลา) แล้วเขาไม่ใส่ใจเกี่ยวกับผลลัพธ์ต่าง ๆ ที่ได้เหล่านั้น แน่นอน เขาต้องเป็นผู้รับผิดชอบจากการไม่ใส่ใจอันนั้น หมายถึง เขาต้องเป็นผู้รับผิดชอบความไม่รู้ของเขาต่อบรรดาผลลัพธ์ดังกล่าว และสิ่งที่ทำให้เขาต้องรับผิดชอบนั้น ก็เพราะว่า เขาทราบถึงหลักสมเหตุสมผลต่าง ๆ แล้ว เนื่องจากการมีหลักข้ออ้างอันสมเหตุสมผล ย่อมทำให้เขาไปสู่ความเป็นผู้รู้ถึงผลลัพธ์ต่าง ๆ เหล่านั้นซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่า เขาสามารถที่จะไปสู่จุดนั้นได้ แต่เขากลับเบี่ยงเบน เพิกเฉย และละเลยเกี่ยวกับมัน อันเนื่องมาจากอารมณ์ใฝ่ต่ำและความอคติอันโง่เขลาที่มาชักจูงเขาอยู่

ดังนั้น ความโง่เขลาอันนี้ ก็เป็นสาเหตุมาจากตัวของเขาเอง เพราะฉะนั้น เขาจึงต้องแบกรับความรับผิดชอบกับมัน

ท่านโปรดพิจารณาคำตรัสของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ที่ทรงวางบทบัญญัติข้อบังคับแก่มนุษย์ทั้งหมด  ซึ่งพระองค์ทรงตรัสไว้ในอัลกุรอานความว่า

أَوَلَمْ يَنْظُرُوا فِي مَلَكُوتِ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضِ

 "และพวกเขาไม่พิจารณาดอกหรือ ในอาณาจักรฟากฟ้าและแผ่นดิน" อัลอะอฺร๊อฟ 185

พระองค์ทรงตรัสว่า

قُلْ سِيرُوا فِي الْأَرْضِ فَانْظُرُوا كَيْفَ بَدَأَ الْخَلْقَ

"จงประกาศเถิด  พวกเจ้าจงจาริกไปในแผ่นดินเถิด  แล้วจงพิจารณาว่า  พระองค์ทรงบังเกิดสรรพสิ่งทั้งหลายอย่างไร?" อัลอังกะบูต 20

พระองค์ทรงตรัสเช่นกันว่า

قُلِ انظُرُواْ مَاذَا فِي السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ وَمَا تُغْنِي الآيَاتُ وَالنُّذُرُ عَن قَوْمٍ لاَّ يُؤْمِنُونَ

"จงประกาศเถิด ท่านทั้งหลายจงพิจารณาเถิดว่า อะไรบ้างที่มีอยู่ในฟากฟ้าและแผ่นดิน(ซึ่งล้วนเป็นสัญลักษณ์เตือนให้ยอมจำนนในเอกานุภาพและเดชานุภาพของอัลเลาะฮ์ทั้งสิ้น) และบรรดาสัญลักษณ์ต่าง ๆ (ที่แสดงถึงเอกานุภาพและเดชานุภาพของอัลเลาะฮ์) และบรรดา(ศาสนทูต)ผู้ตักเตือนนั้น ย่อมไม่ยังประโยชน์แก่กลุ่มชนที่ไม่ศรัทธา" ยูนุส 10

อัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ทรงบัญชาใช้บรรดาผู้มีสติปัญญาทั้งหมด ให้ทำการใคร่ครวญ พิเคราะห์ถึงมูลเหตุที่สมเหตุผลสมผลและพระองค์ก็ไม่ได้บัญชาใช้พวกเขาไปมากกว่านั้น เพราะผู้มีสติปัญญาที่ได้ใช้สติปัญญามาศึกษาวิเคราะห์ถึงมูลเหตุอันสมผลนี้แล้ว แน่นอนว่า ความรู้ของเขา จักชักนำไปสู่ความมั่นใจต่อบรรดาผลลัพธ์ที่ได้รับ

ดังนั้น จึงดูเหมือนว่า ในขณะที่พระองค์ทรงบัญชาให้ปวงบ่าวทำการพิจารณาด้วยสติปัญญาของพวกเขาว่า อะไรบ้างหรือ? ที่อยู่ในบรรดาฟากฟ้าและแผ่นดิน แล้วพระองค์ก็ตรัสแก่พวกเขาว่า หากพวกท่านได้กระทำสิ่งดังกล่าวแล้ว(คือพิจารณาด้วยสติปัญญา) พวกเขาก็จะรับรู้ได้ ? ถึงกฎสัมพันธ์ระหว่างมูลเหตุอันสมเหตุสมผลกับบรรดาผลลัพธ์ที่ได้ ? ว่า แท้จริง ให้กับภพจักรวาลนี้มีผู้สร้างมันขึ้นมา และผู้สร้างนั้นคือผู้ทรงเดชานุภาพ ทรงความปราณีในการบริหารจัดการ อีกทั้งทรงยุติธรรมในอำนาจคำบัญชาของพระองค์  และผู้ทรงเดชานุภาพนั้น  ก็คืออัลเลาะฮ์ตาอาลา

ดังนั้น ผู้ใดทำการวิเคราะห์ถึงมูลเหตุต่าง ๆ ของพิภพจักรวาลทั้งหลายและเขาก็มีความรอบรู้อย่างครอบคลุมเกี่ยวกับมัน หลังจากนั้น เขาก็หันเหออกจากสิ่งที่นำเขาไปสู่บรรดาผลลัพธ์ต่าง ๆ ในการมีของอัลเลาะฮ์ การรู้จัก(มะริฟัต) และมีความเกรงกลัวต่อพระองค์ แน่นอนว่า เขาย่อมเป็นผู้ที่โง่เขลา และเขาต้องรับผิดชอบจากความโง่เขลาอันนั้น เนื่องจากตัวของเขาก็คือผู้ที่จะมาทำการตัดสินตัวของเขาเองในวันโลกหน้า ซึ่งเป็นวันที่เขาจะได้ทราบอย่างประจักษ์ชัดตามที่อัลเลาะฮ์ทรงตรัสไว้ว่า

لَقَدْ كُنتَ فِي غَفْلَةٍ مِّنْ هَذَا فَكَشَفْنَا عَنكَ غِطَاءكَ فَبَصَرُكَ الْيَوْمَ حَدِيدٌ

"แท้จริง เจ้าเคยอยู่ในความหลงลืมต่อสิ่งนี้ แล้วเราก็เปิดผากั้นของเจ้าออกไป ดังนั้น การมองเห็นของเจ้าในวันนี้จึงแหลมคม(ชัดเจน)"

นั่นคือหลักการรู้จักอัลเลาะฮ์ตาอาลา  แบบเบื้องต้นตามแนวทางของอัลอะชาอิเราะฮ์และอัลมุดูรียะฮ์  ซึ่งเป็นแนวทางของอัลกุรอานและซุนนะฮ์  และเป็นหนทางเดียวที่จะนำไปสู่การรู้จักอัลเลาะฮ์ตาอาลาอย่างแท้จริง

การสร้างความคลุมเครือของวะฮาบีย์

วะฮาบีย์อ้างว่า  การรู้จักอัลเลาะฮ์นั้น  คือรู้จักได้โดยวิธีแบบฟิตเราะฮ์ (ตามธรรมชาติอันบริสุทธิ์ของมนุษย์ที่เกิดมา)  คือ  ธรรมชาติของมนุษย์นั้น  ยอมรับในการมีและรู้จักอัลเลาะฮ์ตาอาลา ด้วยเหตุนี้  วะฮาบีย์จึงมีอะกีดะฮ์ความเชื่อว่าการรู้จักอัลเลาะฮ์  โดยฟิตเราะฮ์! แล้วพวกเขาก็โจมตีอัลอะชาอิเราะฮ์ในการที่วายิบต้องใช้สติปัญญาใคร่ครวญในการมีอัลเลาะฮ์ตาอาลา โดยอ้างอัลกุรอานที่ว่า

فِطْرَةَ اللَّهِ الَّتِي فَطَرَ النَّاسَ عَلَيْهَا

"ฟิตเราะฮ์ของอัลเลาะฮ์(คือพลังที่อัลเลาะฮ์ทรงบรรจุไว้ในตัวของมนุษย์เพื่อการอีหม่าน) ซึ่งพระองค์ทรงบันดาลมนุษย์ให้อยู่บนมัน" อัรรูม 30

ฮะดิษนบี  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ที่ว่า

ما من مولود إلا يولد على الفطرة , فأبواه يهودانه وينصرانه ويمجسانه

"บุตรคนหนึ่งจะไม่เกิดมานอกจากเกิดมาบนฟิตเราะฮ์(ธรรมชาติในการยอมรับถึงการมีพระเจ้า) ดังนั้นบิดามารทั้งสองของเขาจะทำให้เขาเป็นยาฮูดีย์  ทำให้เป็นนัสรอนีย์ และทำให้เป็นมุญูซีย์(พวกบูชาไฟ)" รายงานโดยมุสลิม

อภิปรายหลักฐาน

การอ้างหลักฐานของวะฮาบีย์นี้  ยกหลักฐานมาแบบไม่สมบูรณ์   คำว่า  ฟิตเราะฮ์ตรงนี้  มิใช่มีความหมายอย่างที่วะฮาบีย์เข้าใจว่า มันคือ "ความบริสุทธิ์ตามธรรมชาติของมนุษย์ในการรู้จักอัลเลาะฮ์หรือรู้ว่าอัลเลาะฮ์มี"   แต่ความหมายที่ถูกต้องนั้นคือ  "อัลเลาะฮ์ทรงสร้างให้อยู่บนธรรมชาติของมนุษยในการเตรียมพร้อมสำหรับการรู้จักอัลเลาะฮ์ตาอาลา"  การมีสภาวะเตรียมพร้อมในการรู้จักอัลเลาะฮ์ตาอาลา  มิใช่หมายความว่าต้องรู้จักอัลเลาะฮ์ตาอาลาเสมอไป  ดังนั้น  หากบุคคลหนึ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงสร้างเขามาโดยอยู่ในสภาวะที่เตรียมพร้อมในการรู้จักอัลเลาะฮ์  ไม่ใช้สติปัญญาในการใคร่ครวญเพื่อทำการรู้จักอัลเลาะฮ์ตาอาลาแล้ว  แน่นอนว่า  เขาก็ยังมิได้เป็นผู้สนองคำบัญชาอัลเลาะฮ์ตามที่ระบุไว้ในอัลกุรอานที่ใช้ให้ทำการใคร่ครวญ

ฮะดิษนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ที่ท่านมุสลิมรายงาน  แบบสมบูรณ์  มีดังนี้

ما من مولود إلا يولد على الفطرة , فأبواه يهودانه وينصرانه ويمجسانه كما تنتج البهيمة بهيمة جمعاء , هل تحسون فيها من جدعاء ؟ ثم يقول أبو هريرة : اقرءوا إن شئتم :  فطرة الله التي فطر الناس عليها لا تبديل لخلق الله

""บุตรคนหนึ่งจะไม่เกิดมานอกจากเกิดมาบนฟิตเราะฮ์(ธรรมชาติในการยอมรับถึงการมีพระเจ้า) ดังนั้นบิดามารทั้งสองของเขาจะทำให้เขาเป็นยาฮูดีย์  ทำให้เป็นนัสรอนีย์ และทำให้เป็นมุญูซีย์(พวกบูชาไฟ) เหมือนกับสัตว์ที่ให้กำเหนิดลูกของมันในสภาพที่สมบูรณ์ (อวัยวะครบส่วน)  หรือพวกท่านรู้สึก(ชอบ)สัตวร์ที่มีอวัยวะพิการกระนั้นหรือ?  หลังจากนั้น อบูฮุร๊อยเราะฮ์  กล่าวว่า  พวกท่านจงอ่าน(อัลกุรอาน) หากมีความประสงค์ "ฟิตเราะฮ์ของอัลเลาะฮ์  ซึ่งพระองค์ทรงบันดาลมนุษย์ให้อยู่บนมัน โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงให้กับการสร้างของอัลเลาะฮ์"   รายงานโดยมุสลิม (2658) บทเรื่อง อัลก๊อดร์

ท่านอัรรอฆิบ อัลอัศฟิฮานีย์   ได้อธิบายความหมายในเชิงภาษาในหนังสือ  มุฟร่อดาตุล กุรอาน ของท่านว่า

وفطر الله الخلق ، وهو إيجاده الشيء وإبداعه علي هيئة مترشحة لفعلٍ من الأفعال

"อัลเลาะฮ์  ทรงฟิตเราะฮ์  กับโมคโลก  หมายถึง  พระองค์ทรงทำให้บังเกิดกับสิ่งงหนึ่ง  และทรงสร้างสรรสิ่งหนึ่งให้อยู่บนสภาพที่เตรียมพร้อมสำหรับการกระทำหนึ่งจากบรรดาการกระทำทั้งหลาย"

ดังนั้น  ความหมายฟิตเราะฮ์ในเชิงภาษานี้  ก็ถูกนำมาใช้ในอัลฮะดิษนี้เช่นกัน  ซึ่งหมายถึง : พลัง  หรือการเตรียมพร้อม  หรือการตอบรับให้กับศาสนา  และด้วยสิ่งนี้แหละที่มนุษย์เกิดมาบนมัน  ด้วยเหตุดังกล่าวนี้  ท่านอัรรอฆิบ  อัลอัศฟิฮานีย์  ได้กล่าวต่อว่า

وفطرة الله هي ما زكر فيه من قوّته علي معرفة الإيمان

"ฟิเตาะฮ์ของอัลเลาะฮ์   ก็คือ  สิ่งที่พระองค์ทรงบรรจุมันไว้จากพลังความสามารถบนการรู้จักอีหม่าน"
ท่านอิมามอันนะวาวีย์  อธิบายฮะดิษนี้ว่า

والأصح أن معناه أن كل مولود يولد مَُتهَيِّئاً للإسلام , فمن كان أبواه أو أحدهما مسلما استمر على الإسلام في أحكام الآخرة والدنيا , وإن كان أبواه كافرين جرى عليه حكمهما في أحكام الدنيا , وهذا معنى ( يهودانه وينصرانه ويمجسانه ) , أي يحكم له بحكمهما في الدنيا . فإن بلغ استمر عليه حكم الكفر ودينهما , فإن كانت سبقت له سعادة أسلم , وإلا مات على كفره

"ที่ถูกต้องยิ่งนั้น  แท้จริงความหมายของฮะดิษนี้  คือ  ทุกคนที่เกิดมานั้น  จะเกิดมาโดยมีลักษณะที่เตรียมพร้อมสำหรับอิสลาม  ดังนั้น  ผู้ที่บิดามารดาของเขาหรือคนหนึ่งคนใดเป็นมุสลิม  ก็ให้เด็กคนนั้นคงอยู่บนศาสนาอิสลามในหลักการของโลกหน้าและโลกนี้  ถ้าหากบิดามารดาของเขาเป็นกาเฟร  ก็ให้เด็กอยู่ในฮุกุ่มของทั้งสอง(คืออยู่ในฮุกุ่มกาเฟร)ในโลกดุนยา  และนี้ก็คือความหมายของฮะดิษที่ว่า "ดังนั้นบิดามารทั้งสองของเขาจะทำให้เขาเป็นยาฮูดีย์  ทำให้เป็นนัสรอนีย์ และทำให้เป็นมุญูซีย์(พวกบูชาไฟ)" หมายถึง  ให้ตัดสินเด็กที่กำเหนิดมาด้วยฮุกุ่มของบิดามารดาในโลกดุนยา (คือถ้าหากบิดามารดาของเด็กเป็นนัสรอนีย์ก็ให้ฮุกุ่มว่าเด็กเป็นนัสรอนีย์ในโลกดุนยาแต่อาคิเราะฮ์นั้นมอบหมายต่ออัลเลาะฮ์) ดังนั้น  ถ้าหากเด็กบรรลุศาสนภาวะและยังคงอยู่บนการกุฟุร  ก็ให้ฮุกุ่มว่าเป็นการเฟรและฮุกุ่มให้อยู่ในศาสนาของบิดามารดาของเขา  แต่ถ้าหากเด็กที่บรรลุศาสนภาวะได้ถูกกำหนด(โดยการรอบรู้ของอัลเลาะฮ์)ถึงความมีวาสนาแก่เขามาแต่เดิมแล้ว  เขาก็จะรับเข้ารับอิสลาม  และหากมิเป็นเช่นนั้น  เขาก็ตายบนการกุฟุร"  ชัรห์ซอฮิห์มุสลิม 8/462

ดังนั้น  เด็กที่เกิดมามิใช่อยู่บนฟิตเราะฮ์ของอีหม่านตามที่วะฮาบีย์เข้าใจ  เพราะฮะดิษนี้บ่งชี้ชัดว่า  หลักเดิมแล้ว  เด็กที่เกิดมาจะไม่ถูกกล่าวว่าเขาเป็นมุสลิมหรือเป็นกาเฟร  แต่ทว่าการตัดสินเขาเป็นมุสลิมหรือกาเฟรนั้น  ด้วยฮุกุ่มของการติดตามบิดามารดา  กล่าวคือ  หากบิดามารดาของเด็กอยู่ในสถานะภาพใด  เด็กอยู่ในสถานะภาพนั้น  เพราะฉะนั้นเมื่อเด็กเกิดมา  เขาย่อมมีสภาวะที่เตรียมพร้อมหรือแนวโน้มในการตอบรับสัจธรรมที่อัลเลาะฮ์ทรงสร้างมาแต่เดิม  แต่ทว่าบิดามารดาของเขาเป็นผู้ชักนำ  ซึ่งหากบิดามารดาเป็นยาฮูดี  เด็กก็อยู่ในฮุกุ่มอยู่ยาฮูดีย์  หากทั้งสองเป็นนัสรอนีย์เด็กก็อยู่ในฮุกุ่มของนัสรอนีย์  หากทั้งสองเป็นมุญูซีย์เด็กก็อยู่ในฮุกุ่มของมุญูซีย์  และหากทั้งสองเป็นมุสลิม  เด็กก็อยู่ในฮุกุ่มของมุสลิม

ฉะนั้น  การที่วะฮาบีย์อ้างว่า  การรู้จักอัลเลาะฮ์ด้วยฟิตเราะฮ์(ตามธรรมชาติของมนุษย์)เป็นวิธีการหนึ่งหรือเป็นประเภทหนึ่งของการรู้จักอัลเลาะฮ์นั้น  ถือว่าเป็นหลักการที่โมฆะและฟังไม่ขึ้น  เนื่องจากมันไปขัดแย้งกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและยังขัดแย้งกับอัลกุรอาน  ซึ่งอัลเลาะฮ์ทรงตรัสอย่างชัดเจนว่า

وَاللَّهُ أَخْرَجَكُمْ مِنْ بُطُونِ أُمَّهَاتِكُمْ لا تَعْلَمُونَ شَيْئاً وَجَعَلَ لَكُمُ السَّمْعَ وَالْأَبْصَارَ وَالْأَفْئِدَةَ لَعَلَّكُمْ تَشْكُرُونَ

"และอัลเลาะฮ์ทรงบันดาลให้พวกเจ้าออกมาจากท้องของมารดาของพวกเจ้า  โดยพวกเจ้าไม่รู้สิ่งใดเลย  และพระองค์ทรงบันดาลดวงตา , หู , และจิตใจ(สติปัญญา)แก่พวกเจ้าเพื่อพวกเจ้าจะได้กตัญญู" อันนะหฺลิ 78

สิ่งที่ได้จากอายะฮ์นี้คือ  มนุษย์นั้น  เมื่อเกิดมาจากครรภ์มารดา  เขาไม่มีความรู้อะไรเลย  ไม่ว่าจะเป็นการรู้แบบทั่วไปหรือข้อปลีกย่อย  แต่เมื่อเกิดมา พวกเขาเพียงแค่อยู่ในสภาวะแห่งการเตรียมพร้อมเพื่อรับสัจธรรมที่อัลเลาะฮ์ทรงสร้างมาเท่านั้น  อัลเลาะฮ์จึงประทานการได้ยิน  การมองเห็น  และสติปัญญาให้กับมนุษย์  เพื่อคิดพิจารณาใคร่ครวญในการรู้จักพระเจ้า

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ yunus

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 166
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ญะซากัลลอฮ์ค๊อยร๊อน

Al Fatoni

  • บุคคลทั่วไป
อัสสลามุ อลัยกุม

              ญาซากั้ลลอฮุ ค็อยร็อนมากๆ ครับ สำหรับคำตอบ แต่มีจะคำถามมาเรื่อยๆ นะครับ จนกว่าจะหมดคำถาม ต้องขอมาอัฟล่วงหน้าด้วยละกัน หากทำให้ผู้รู้ทั้งหลาย เกิดความลำบากใจกับคำถาม ที่ถามไปผมตั้งเองบ้าง จำจากเพื่อนๆ ที่มีความคิดคนละแนวบ้าง หวังว่าจะเข้าใจนะครับ คำถามต่อไปเลยนะครับ

               1.) เป็นที่ทราบกันดีว่า "ศีฟัต20" มีอีกชื่อหนึ่งคือ "อิลมุลกะลาม" ไม่ทราบว่าเหตุใดจึงเรียกเช่นนี้ด้วย  แล้วเหตุใดจึงเรียกเช่นนี้ แล้วชื่ออื่นๆ ยังมีอีกไหม แล้วที่มาเป็นอย่างไรบ้างครับ ขอความกรุณาอธิบายด้วยความกระจ่างด้วยครับ
 
               2.) ในหนังสือ Pelajaran Agama Islam (บทเรียนแห่งอิสลาม) ของ ดร.ฮัมกา นักวิชาการร่วมสมัยชาวอินโดนีเซียที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางถึงความรู้อันลึกซึ้งเกี่ยวกับอิสลามของท่าน หนังสือเล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์ที่อินโดนีเซีย และมาเลเซียหลายครั้ง ด้วยชื่อที่หลากหลาย ตามแต่ผู้จัดพิมพ์มุ่งประเด็นไหนในหนังสือดังกล่าว หนังสือของท่านจะออกแนวปรัชญาเพื่อการรู้จักพระเจ้า ซึ่งท้ายของหนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงศีฟัต 20 เป็นนัยๆ ด้วย อาจจะเด่นชัดบ้างในบางคุณลักษณะ แล้วแต่มุมมองของแต่ละครับ และหนังสือเล่มนี้ได้รับการแปล และเรียบเรียงเป็นภาษาไทย โดย อับดุลเลาะห์ ลออแมน (ผู้แต่ง และเรียบเรียงหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อัล-ฟาฏอนียฺหลายเล่ม) โดยใช้ชื่อว่า "การศรัทธาในพระเจ้า" ได้รับการตีพิมพ์มาแล้วถึง 5 ครั้ง ก็ยืดยาวพอสมควรแล้วนะครับ สำหรับการทำความรู้จักกับผู้เขียน และหนังสือดังกล่าว แต่ประเด็นที่จะถามอยู่ตรงนี้ มาจากย่อหน้าหนึ่งในหนังสือเล่มนี้ ฉบับภาษาไทย พิมพ์ครั้งที่ 5, หน้า 14 ความว่า "...(1) แม้ว่าท่าน (อัชอะรี) จะคัดค้านความคิดอิสระตามวิธีของมุอฺตะซิละฮฺ แต่วิธีที่ท่านใช้ก็อาศัยหลักปรัชญาเช่นเดียวกัน (2) เพราะเหตุนี้ อะฮฺลุล-หะดีษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง (3) ผู้ที่ถือตามแนวคิดของอิบนุ หันบัล ก็ยังไม่ยอมรับวิชา "กะลาม" (ศีฟัต20) ตามวิธีของอัชอะรี อยู่นั่นเอง" ผมขอถามเป็นข้อๆ จากย่อหน้าดังกล่าวดังนี้นะครับ
                           2.1.) จากข้อ (1) แสดงว่า ความคิดแบบปรัชญาของมุอฺตะซิละฮฺยังมีอิทธิต่อท่านนะสิครับ ถึงขนาดที่ท่านอิม่ามอิบนุ หันบัลไม่ยอมรับ มันเกิดข้อผิดพลาดอะไรหรือป่าวครับ ตรงนี้จะอธิบายว่าอย่างไรครับ?
                           2.2.) จากข้อ (2) แสดงว่า นอกจากทฤษฎีอัชอะรียฺ และทฤษฎีมะตูรีดียฺแล้ว ยังมีอีกทฤษฎีหนึ่งที่แตกต่างใช่ไหมครับ นั่นก็คือ "ทฤษฎีของท่านอิม่ามอิบนุหันบัล" เพื่อใช้ในการอธิบายหลักอะกีดะฮฺตามแบบซุนนะฮฺ? นี่แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ท่านอิม่ามอบุล หะซัน อัล-อัชอะรียฺ กับท่านอิม่ามอิบนุหันบัล มีการอธิบายเรื่องอะกีดะฮฺที่แตกต่าง ซึ่งอาจจะนำไปสู่การเข้าใจที่แตกต่างกันก็ได้ หรืออาจจะบานปลายถึงขั้นการมีอะกีดะฮฺที่ไม่เหมือนกัน? ด้วยประเด็นข้อนี้ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความแคลงใจต่อนักศึกษาในสถาบันอิสลามต่างๆ บางแห่ง ซึ่งบางสถาบันพยายามที่จะแยกทั้งสองออกจากกัน โดยให้ท่านอิม่ามอิบนุหันบัลเป็นฝ่ายซุนนะฮฺที่ถูกต้อง และท่านอิม่ามอบุลหะซัน อัล-อัชอะรียฺ อยู่ฝ่ายซุนนะฮฺที่ค่อนจะนอกลู่นอกทาง ทำให้ตำราในบางสถาบันพยายามสร้างความเข้าใจแก่นักศึกษาว่า ยังมีแนวคิดแบบมุอฺตะซิละฮฺอยู่ในความคิดของท่าน หรือบางครั้งให้เข้าใจว่า ยังเป็นซุนนะฮฺลูกครึ่งมุอฺตะซิละฮฺ ด้วยเหตุผลที่ว่า ยังยึดการอธิบายอะกีดะฮฺด้วยหลักปรัชญาอยู่นั่นเอง???
                          2.3.) จากข้อ (3) "ผู้ที่ถือตามแนวคิดของอิบนุ หัมบัล" เราอาจจะเข้าใจว่าคือพวก วะฮะบียฺ หรือที่พวกเขาเรียกตัวเองว่า "สะละฟียะฮฺ" นั้น ไม่ทราบว่าเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องหรือไม่? (ขอถามนอกประเด็นหน่อยนะครับ แต่เกี่ยวข้องกัน ขอมาอัฟด้วยนะครับ)

                  3.) ถ้าเกิดว่า...การเข้าใจศีฟัต 20 เป็นที่ยากเกินไปสำหรับคนเอาวามบางคนแล้ว  อันเนื่องด้วยเหตุผลที่ว่ามันต้องอุทิศให้แก่การเรียนอย่างจริงจัง แต่เวลาที่เขามีให้กลับไม่เพียงพอ หรืออาจจะไม่มีเสียด้วยซ้ำ จะเนื่องด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม วัลลอฮุ อะอฺลัม แต่ประเด็นคือ ถ้าเขาจะเลี่ยงการรู้จักอัลลอฮฺ โดยไม่เรียนศีฟัต 20 แต่หันไปเรียนแบบสลัฟแทน คือว่า "อัลกุรฺอานว่าไปอย่างไรก็ว่าไปตามนั้น โดยไม่มีการตีความ และอื่นๆ" แต่สลัฟที่หมายถึงนี้ เป็นสลัฟจริงๆ ไม่ใช่แบบสะละฟียะฮฺปัจจุบัน ไม่ทราบว่าอนุญาตหรือไม่ สำหรับมุสลิม โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันนี้?


                 * แต่ละคำถามอาจจะยาวไปหน่อยนะครับ เพราะผมเข้าใจว่าคงมีอยู่หลายคนที่เฝ้าใจจดใจจ่อกับคำตอบของกระทู้นี้มากพอสมควร ดังกล่าว บางอุละมาอฺ หนังสือ หรือบางคำศัพท์ ผมจำเป็นต้องอธิบายหน่อย เพื่อให้พี่น้องได้เกิดความเข้าใจตามไปด้วย หากสิ่งใดที่ผมไป ทำให้เกิดความยากลำบากแก่ทั้งผู้อ่านทั่วไป และผู้ตอบแล้ว ก็ขอมาอัฟจริงๆนะครับ เพราะแต่ละคำถาม ถามไป เพราะความอยากรู้ทั้งของผม และคนทั่วไป

วัสสลามุ อลัยกุม

ออฟไลน์ almadany

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 346
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อัสลามุอะไลกุ้ม...

เป็นคำตอบ...ที่เหมาะสำหรับอุซตาซ...หรืออาจารย์ที่ต้องการสอนเตาฮีดซีฟัต 20 ..  โดยนำคำตอบเหล่านี้...ไปสอนเป็นบทนำ...เพื่อทำความเข้าใจแก่นักเรียน...เกี่ยวกับซีฟัต 20 ได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว...ยอมรับว่าที่เคยเรียนซีฟัต 20 มา..ยังไม่เคยได้ยินครูอธิบายบทนำเกี่ยวกับซีฟัต 20 ..เช่นนี้...จึงทำให้เข้าใจอะไรเยอะเลย...อัลฮัมดุลิลลาห์...วัสลาม

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
1.) เป็นที่ทราบกันดีว่า "ศีฟัต20" มีอีกชื่อหนึ่งคือ "อิลมุลกะลาม" ไม่ทราบว่าเหตุใดจึงเรียกเช่นนี้ด้วย  แล้วเหตุใดจึงเรียกเช่นนี้ แล้วชื่ออื่นๆ ยังมีอีกไหม แล้วที่มาเป็นอย่างไรบ้างครับ ขอความกรุณาอธิบายด้วยความกระจ่างด้วยครับ

         เหตุที่เรียกวิชากะลามหรืออิลมุลกะลาม  เพราะว่าจุดเด่นหรือซีฟัตของอัลเลาะฮ์ที่มีการถกเถียงกันจนประวัติศาสตร์ต้องบันทึกเอาไว้  คือ  เรื่องซีฟัตกาลาม ของอัลเลาะฮ์หรือเรื่องอัลกุรอานนั้นเอง  ในสมัยคอลิฟะฮ์อัลมะอฺมูน  เขาได้ยอมรับในแนวทางของมั๊วะตะซิละฮ์  ซึ่งประเด็นหลักที่มั๊วะตะซิละฮ์เรียกร้องคือ พวกเขากล่าวว่า อัลกุรอานนั้นมัคโลค  ซึ่งเกี่ยวข้องกับซีฟัตกะลามโดยตรง  คอลิฟะฮ์อัลมะอฺนูนผู้น้อบรับในอะกีดะฮ์มั๊วะตะซิละฮ์  จึงร่วมมือกันบังคับให้อุลามาอ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์ในสมัยนั้น  ทำการยอมรับว่าอัลกุรอานเป็นมัคโลค บรรดาอุลามาอ์ทั้งหลายจึงถูกทดสอบกันทั่วไปหน้า  ผู้ที่ขัดขืนและให้การปฏิเสธหลักอะกีดะฮ์ของพวกมั๊วะตะซิละฮ์นี้คือ  ท่านอิมามอะห์มัด บิน ฮัมบัล และบุคคลอื่น ๆ  ผลสุดท้ายคือ ท่านอิมามอะห์มัด  ได้ถูกเฆี่ยนและคุมขังตามมาตรการของพวกมั๊วะตะซิละฮ์ 

        ดังนั้น การขัดแย้งเรื่องอะกีดะฮ์ครั้งใหญ่ก็ได้เกิดขึ้นในสมัยดังกล่าว  และขัดแย้งกันเรื่อง ซีฟัตกะลาม (เรื่องอัลกุรอานนั่นเอง)  เพราะฉะนั้นเมื่อซีฟัตกะลามเป็นจุดเด่นสุด  จึงนำมาตั้งว่า อิลมุลกะลาม  เหมือนกับคนเรานั่นแหละครับ  เวลาจากกันนาน  เมื่อเจอกันก็จะพูดว่า "ไม่เห็นหน้านานเลยน่ะ"  จริง ๆ น่าจะพูดว่า ไม่เห็นตัว แขน ขา จมูก นานเลยน่ะ  แต่ทว่า ใบหน้ามีจุดเด่นมากกว่า จึงนำมาแทนตัวของเรา 


2.1.) จากข้อ (1) แสดงว่า ความคิดแบบปรัชญาของมุอฺตะซิละฮฺยังมีอิทธิต่อท่านนะสิครับ ถึงขนาดที่ท่านอิม่ามอิบนุ หันบัลไม่ยอมรับ มันเกิดข้อผิดพลาดอะไรหรือป่าวครับ ตรงนี้จะอธิบายว่าอย่างไรครับ?

        ความจริงที่เกิดขึ้นในอดีต  ได้ปรากฏชัดแล้วว่า แนวทางของอะฮ์ลุลฮะดิษเพียงอย่างเดียว  ไม่สามารถทำให้กลุ่มฮะกีดะฮ์ที่นอกลู่หรือกลุ่มนอกศาสนาต้องพ่ายแพ้หรือยอมรับ  การปกป้องอะกีดะฮ์อิสลาม  จำเป็นต้องปกป้องทั้งภายในและภายนอก  ยุคนั้นปรัชญาเริ่มขึ้นมาแทรกซึมหลักอะกีดะฮ์อิสลาม  จนทำให้กลุ่มมั๊วะตะซิละฮ์รับหลักการมาเต็ม ๆ แบบใช้สติปัญญาล้วน ๆ ในการพิจารณาเรื่องอะกีดะฮ์  เมื่อเป็นเช่นนี้  อิสลามเราต้องปกป้องทั้งพวกนอกลู่ภายในและพวกปรัชญากรีกที่เข้ามาคุกคาม  อัลกุรอานและฮะดิษพวกเขาไม่เชื่อ  แล้วเราจะทำอย่างไร?  ซึ่งไม่สามารถที่จะล้มล้างพวกเขาให้หมดไปได้  นอกจาก ใช้หลักการที่ว่า "จากปากของพวกเขานั่นแหละ ที่จะให้ตัวพวกเขายอมรับเอง"  หมายถึงเราเอาหลักการของพวกเขาเองนั้น  มาทำการโต้ตอบพวกเขา แบบเกลือจิ้มเกลือ  ให้หลักปัญญาที่อยุ่บนพื้นฐานของอิสลามทำการตอบโต้กับหลักปัญญาของพวกปรัชญาและพวกมั๊วะตะซิละฮ์

       เมื่อเป็นเช่นนี้  เราจะพบว่าในหน้าประวัติศาสตร์ ได้ยืนยันแล้วว่า  อัลอะชาอิเราะฮ์คือผู้ที่สามารถล้มล้างพวกมั๊วะตะซิละฮ์และพวกปรัชญาลงได้  นั่นก็เพราะว่าเราใช้อาวุธของพวกเขาทำการตอบโต้ต่อพวกเขาเอง  ดังนั้นอัลเลาะฮ์ ซุบฮานะฮูวะตาอาลา มิได้ให้กลุ่มผู้อ้างว่าตามอิมามอะห์มัดมีหน้าที่ปกป้องอะกีดะฮ์อิสลาม  แต่พระองค์ทรงทำให้อุมมะฮ์กลุ่มอื่น ๆ เช่น อัลอะชาอิเราะฮ์  มีบทบาทในการปกป้องอิสลามด้วยเช่นกันและเป็นผลเห็นได้อย่างชัดเจน   

        กระผมอยากจะกล่าวว่า  กลุ่มมั๊วะตะซิละฮ์  เป็นแนวทางอะกีดะฮ์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในยุคสมัยก่อน  อัลอะชาอิเราะฮ์เท่านั้นที่สามารถปราบปรามลงได้  ด้วยหลักการที่วะฮาบีย์ในปัจจุบันให้การปฏิเสธโดยอ้างว่าเป็นหลักปรัชญา     วัลลอฮุอะลัม   

 

GoogleTagged