ผู้เขียนกล่าวว่า การอ้างคำพูดท่านอิบนุมัสอูด มาสนับสนุนว่าในศาสนามีบิดอะฮที่ดี (บิดอะฮหะสะนะฮ) คือจุดบอดอีกข้อหนึ่งของผู้ที่พิสมัยบิดอะฮ
เพราะคำพูดของอิบนิอับบัส (ร่อฎิยัลลอฮฺอัน) ซึ่งได้มีการวิจารณ์ไว้ว่า
انماأثرموقوف على ابن مسعود فليس بحجة
"ความจริงต้นตอ(คำพูดนั้น)หยุดอยู่ที่ อิบนิมัสอูด (หมายถึงหะดิษเมากูฟสืบไม่ถึงท่านนบี) ไม่ใช่เป็นหลักฐาน" อัลอิบดาอฺ หน้า 125
หมายความว่า เอามาเป็นหลักฐานในการสนับสนุนการทำบิดอะฮไม่ได้ และคำพูดนี้ท่านอิบนุมัสอูด(ร่อฎิยัลลอฮฺอัน)ได้กล่าวถึงการชมเชย
คุณคุณลักษณะความดีของเหล่าเศาะหาบะฮว่า
ان الله نظر في قلوب العباد، فوجد قلب محمد صلى الله عليه وسلم خير قلوب العباد، فاصطفاه لنفسه، وابتعثه برسالته، ثم نظر في قلوب العباد بعد قلب محمد صلى الله عليه وسلم، فوجد قلوب أصحابه خير قلوب العباد،فجعلهم وزراء نبيه،يقاتلون على دينه،فما رأه المسلمون حسنا فهو عند الله حسن، وما رأوه سيئا فهو عند الله سيء
"แท้จริงอัลลอฮ ได้ทรงพิจรณาในบรรดาหัวใจของบรรดาบ่าว แล้วทรงพบว่า หัวใจของ มุหัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นเป็น
หัวใจมีความประเสริฐยิ่งในบรรดาหัวใจของบ่าวทั้งหลาย แล้วพระองทรงคัดเลือกเขา ให้แก่พระองค์เอง และทรงแต่งตั้งเขาให้เป็นผู้นำสาส์นของ
พระองค์ หลังจากนั้น พระองค์ทรงพิจารณาในบรรดาหัวใจของบ่าว รองจากหัวใจของมุหัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วพบว่า บรรดา
หัวใจของบรรดาสาวกของเขา (มุหัมหมัด) เป็นหัวใจที่ มีความประเสริฐ ยิ่งในบรรดาหัวใจของบ่าวทั้งหลาย และพระองค์ให้พวกเขาเป็นที่
ปรึกษาของนบีของพระองค์ โดย พวกเขาทำการต่อสู้เพื่อปกป้องศาสนา ของพระองค์ ดังนั้น สิ่งใดที่พวกเขาเห็นว่าดี สิ่งนั้น อัลลอฮก็เห็นดีด้วยและ
สิ่งใดที่พวกเขาเห็นว่าไม่ดี ดังนั้น อัลลอฮ ก็เห็นว่าไม่ดี(เช่นกัน)
شرح العقيدة الطحاوية(ص531)وقال الألبان حسن موقوف،أخرجه الطيالسي وأحمد وغيرهما بسند حسن،وصححه الحاكم ووافقه الذهبي.
คำว่า “المسلمون “ (อัล-มุสลิมูน) เป็น วิสามานยนาม (อิสมุนมะอฺริฟะฮ) เป็นนามที่ชี้เฉพาะเจาะจง ไม่ได้หมายถึง “บรรดามุสลิมทั่วไป)
และ อลิฟ-ลาม ในคำว่า المسلمون เรียกว่า “อลิฟลาม ลิลอะฮดิซซิกริ” หมายถึง เป็นที่รู้กัน เพราะต้นเรื่อง ท่านอิบนุมัสอูด กล่าวถึงบรรดา
เศาะหาบะฮ คือ บรรดาเศาะหาบะฮ ไม่ใช่มุสลิมโดยทั่วไป และ นี่คือ อัล-อิจญาอฺ หมายถึง อิจญมาอฺของเหล่าเศาะหาบะอฺ คือสิ่งที่บรรดา
เหล่าเศาะหาบะฮ มีมติเห็นฟ้องกัน ซึ่ง อัจญมะอฺเศาะหาบะฮ นั้น ไม่มีใคร ปฏิเสธ"
วิจารณ์คำกล่าวของท่านอิบนุมัสอูด เรามิได้นำมาสนับสนุนบิดอะฮ์ลุ่มหลง แต่เรานำมาอ้างอิงเพื่อให้ทราบว่า บิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น ไม่ใช่จะมาคิดทำกันง่าย ๆ ต้องผ่านการวินิจฉัยบนรากฐานของศาสนา ไม่ขัดกับอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ อิจญ์มาอฺ เป็นต้น
ดังนั้น หากคำกล่าวของท่านอิบนุมัสอูด ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ หมายถึง อิจญ์มาอฺ(มติ) ของซอฮาบะฮ์ ก็ไม่ได้ความหมายว่า อิจญ์มาอฺเกิดขึ้นเพียงแค่ยุคสมัยของซอฮาบะฮ์ เพราะว่าหากยุคสมัยตาบิอีนและตาบิอิตตาบิอีน มีอิจญ์มาอฺเกิดขึ้น ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ณ ที่อัลเลาะฮ์ตาอาลา แต่ทว่าการอิจญ์มาอฺของซอฮาบะฮ์ถือว่าอิจญ์มาอฺที่ประเสริฐสุด
ดังนั้น คำกล่าวของท่านอิบนุมัสอูดนี้ หมายถึงซอฮาบะฮ์ เพราะว่าท่านอิบนุมัสอูดเป็นซอฮาบะฮ์และอยู่ในยุคศอฮาบะฮ์ แต่ทว่าคำกล่าวของท่านอิบนุมัสอูดนี้ นำมาจำกัดเกี่ยวกับเรื่องอิจญ์มาอฺโดยตรงหรือเปล่า? เราขอตอบว่า "ไม่" แต่ครอบคลุมในเรื่องของ อุรุฟ (ขนบธรรมเนียมประเพณี) ที่เห็นว่าไม่ขัดกับหลักศาสนาด้วย โปรดดู
islam-qaดังนั้น ตามหลักการแล้ว คำกล่าวของท่านอิบนุมัสอูด " "สิ่งที่บรรดามุสลิมมีนเห็นว่ามันดีนั้น มันก็ย่อมเป็น ตามทัศนะของอัลเลาะฮ์ด้วย" หมายถึง ความเห็นที่ว่าดีนั้น ต้องเกิดขึ้นจากการอิจญ์ฮาดวินิจฉัย เพราะความเห็นที่ไม่เกิดจากการอิจญ์ฮาดวินิจฉัยนั้น ย่อมเป็นที่ดีไม่ได้ และเงื่อนไขของการอิจญฺฮาดนั้น ต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักศาสนาที่เกี่ยวกับหลักอิจญ์ฮาด นั่นคือคุณลักษณะที่แท้จริงในการออกความเห็นในเรื่องศาสนา
อนึ่ง บรรดาซอฮาบะฮ์นั้นเป็นนักมุจญฺฮิดประมาณ 130 กว่าคน ส่วนซอฮาบะฮ์อื่น ๆ ที่เป็นคนเอาวามไม่ถึงขั้นระดับวินิจฉัย ก็ไม่สามารถออกความเห็นเกี่ยวกับหลักศาสนาได้ ดังนั้นคำกล่าวของท่านอิบนุมัสอูดนี้ หมายถึงซอฮาบะฮ์ที่มีคุณลักษณะที่ เป็นนักมุจญฺฮิด นักวินิจฉัยที่ทรงความรู้ ดังนั้น คุณลักษณะนี้ ย่อมมีอยู่ในบรรดา บรรดามุสลิมีนที่เป็นอุลามาอ์ฟิกห์ที่เป็นนักมุจญฺฮิด และด้วย คุณลักษณะนี้ก็เป็นคุณลักษณะของซอฮาบะฮ์ ฉะนั้น สิ่งที่บรรดาซอฮาบะฮ์ที่เป็นนักมุจญฺฮิดเห็นว่าดี สิ่งนั้นก็ดีด้วยตามทัศนะของอัลเลาะฮ์ เช่นเดียวกันคือ สิ่งที่บรรดามุสลิมีนที่เป็นนักปราชน์ฟิกห์ที่เป็นมุจญฺฮิดเห็นว่าดี สิ่งนั้นย่อมดีด้วยตามทัศนะของอัลเลาะฮ์ โดยมีเงื่อนไขเพิ่มมาอีกว่า ต้องไม่ขัดกับ อัลกุรอาน ซุนนะฮ์ และอิจญฺมาอ์ และนี่ก็คือความเข้าใจของอุลามอ์อุซูลผู้ทรงความรู้ด้วย
ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ ในการกล่าวว่า สิ่งที่ไม่ขัดกับอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ และอิจญ์มาอฺ เป็นสิ่งที่ชั่ว! และทำให้ตกนรก!
ดังนั้น จากคำนิยามดังกล่าว สรุปได้ว่าบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ คือ "ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่โดยมีรากฐานหรืออยู่บนพื้นฐานของหลักศาสนาและไม่ขัดกับหลักศาสนา ย่อมเป็นสิ่งที่กระทำได้" จึงไม่ใช่สิ่งที่ชั่วและไม่ทำให้ตกนรกครับ